ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1450
ตอนที่ ๑๔๕๐
สนทนาธรรม ที่ บ้านพลตรีเสริม ภู่หิรัญ
วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าให้เขาได้ยิน ได้ฟัง ทีละเล็ก ทีละน้อย ใครจะปฏิเสธความจริง
ผู้ฟัง คือ เขาจะสงสัย ว่าคำสั่งสอนเกิดตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว เราก็เกิดไม่ทัน เด็กก็ถามว่าแล้วนี่เชื่อมั่นได้อย่างไรว่าเป็นคำของพระพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ สมัยพระพุทธกาล มีเห็นไหม มีได้ยินไหม มีคิดไหม มีเสียงดนตรีต่างๆ ไหม เหมือนสมัยนี้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่ากาลไหน ก็มีสิ่งที่มี ประจำโลก เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่าโลกนี่ ก็ไม่รู้จัก ก็พูดกันโลกบ้าง โน่นบ้าง นี่บ้าง แต่โลก คือ ทุกคำเว้นไม่ได้เลย เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง และทรงบัญญัติคำให้เข้าใจว่าความจริงนั้นเป็นอย่างใด
เพราะฉะนั้น โลก ในภาษาบาลี ซึ่งคนไทยก็เรียกสั้นๆ โลก หมายความถึง สิ่งที่เกิดแล้วดับ และอีกสภาพธรรมหนึ่ง โลกุตระ หรือ โลกมีอย่างเดียวที่เหนือโลก คือ นิพพานแต่ว่าเรายังไม่สามารถที่จะรู้จักสิ่งที่ไม่ปรากฏ เพราะแม้สิ่งที่ปรากฏ ก็ยังไม่รู้จัก ความเข้าใจ ในการถ้าจะรู้จริงๆ ต้องตามลำดับ จนหมดความสงสัย
เห็นไหม เด็กสงสัยว่า สมัยก่อนนี่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ธรรม ที่ทรงแสดงคงไม่ใช่ยุคนี้ สมัยนี้แน่ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ไม่ว่าสมัยไหน มีเห็น มีได้ยิน มีคิด มีนึก มีจำ มีสัตว์โลก เทวะโลก พรมโลก ตามปัจจัยพอที่จะให้สภาพธรรมเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้น ถ้าเขาเข้าใจจริงๆ ว่า เดี๋ยวนี้นี่ เขาทำอะไรเกิดขึ้นได้ไหม ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไร ได้ยินคำว่า ธรรม ทั้งหลายเป็นอนัตตา จริงหรือเปล่า หรือว่าอะไรเป็นอัตตา และทำไมเข้าใจว่า เป็นอัตตา คือ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะอะไร ทุกยุค ทุกสมัย เมื่อกี้นี้ได้ยินคำว่า ธรรม แล้วพูดคำว่า อภิธรรม สองคำนี้ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร
ผู้ฟัง ธรรม ก็คือ สิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ มันเป็นสิ่งจริงที่เกิดขึ้น อย่างต้นไม้นี่ เรามองไป มันก็เป็นพืชใบสีเขียวใบหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ใบไม้สีเขียวเป็นธรรมชาติ
ผู้ฟัง เกิดมาตามธรรมชาติ เขาเกิดใบอ่อน สีเขียวมาเสร็จ เขาแก่ลงแล้ว เขาเหลืองก็ร่วงลง อันนี้ คือ สิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ
ท่านอาจารย์ นั่นคือ ความคิด ใบไม้ใบเดียวเป็นอย่างนี้ใช่ไหม แต่ก่อนอื่นต้องรู้ว่าสิ่งที่มีจริงเป็นธรรม ถูกต้องไหม ต้องถูกต้องจริงๆ หมดจดไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่มีจริงนี่เป็นสิ่งที่มีจริง ภาษาบาลีนี่ใช้คำว่า ธรรม
เห็นไหมคะ คือ คือ เรารับคำที่คนอื่นกล่าวง่ายมาก แล้วก็ตามอย่างรวดเร็วด้วย ทุกคนก็เรียกว่า ธรรม คือ ธรรมชาติหมดเลย แต่ถ้าถามว่า คืออะไร ชาติ คือ อะไร ธรรม คืออะไร กระดาษเป็นธรรมชาติ หรือเปล่า ต้องมีตัวอย่างให้ไตร่ตรองให้คิดว่า ที่เข้าใจอย่างนั้น อยู่ครบถ้วนถูกต้อง หรือว่ายังไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นแต่เพียงความคิดที่ตามไปทันทีเพราะใครบอกว่าธรรมชาติ เราก็ธรรมชาติไปด้วย แต่ถ้าเราไตร่ตรอง
ธรรม กับธรรมชาติ มีอะไรที่ต่างกัน สำหรับคนพูดเหมือนกันด้วย ต่างกัน ธรรมกับธรรมชาติ เห็นไหม เพราะฉะนั้น ทุกคำ ถ้าไม่ละเอียด หลงทาง ง่ายมากเพราะว่าคนฟัง แทรกความคิดของตนเองเข้ามา ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถึงที่สุดตรงละเอียดอย่างยิ่ง ลึกซึ้งอย่างยิ่ง แม้แต่คำว่าธรรม
เพราะฉะนั้น สภาพธรรม นี่ ไม่ง่ายกำลังมีเดี๋ยวนี้ทั้งหมด แต่ไม่มีใครรู้ความจริงที่เป็นธรรม พอมารวมๆ กันก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด และกล่าวว่าเป็นธรรมชาติ เช่น ใบไม้เมื่อกี้เนี่ยบอกว่าเป็นธรรมชาติ แต่ธรรมที่เกิดที่ปรากฏเป็นใบไม้ มันคืออะไร นี่คือ ความลึกซึ้งไม่ใช่ตามไปเลยว่าธรรมชาติ กระดาษเป็นธรรมชาติไหม ก็ต้องคิดละ จะตอบว่าไงดี
นี่ วันหนึ่ง วันหนึ่งนี่ ไม่ใช่ตาม แต่ให้ไตร่ตรอง และให้คิด จนกระทั่งเป็นความเข้าใจมั่นคงที่ถูกต้อง สิ่งที่มีทั้งหมด ต้องเกิด จึงมี ถ้าไม่เกิด ไม่มี และเกิดแล้วก็ดับไป แต่สิ่งที่มีจริงทั้งหมด และเรายังไม่รู้ว่าสิ่งที่มีจริงๆ นั้นคือ อะไร อย่างกระดาษนี่ คืออะไร ใบไม้อ่อนๆ คืออะไร แล้วก็คิดถึงว่า เพิ่งเกิดมามันก็สีอย่างนี้แหละ ใช่ไหม แล้วต่อไปมันก็เปลี่ยนแปลงนั่น คือ ความคิดของเรา ใช้คำว่า ธรรม กับคำว่า ธรรมชาตินี่ ยังไม่ได้มีความเข้าใจที่มั่นคง แล้วพอมาถึงคำว่า อภิธรรม จึงสงสัย เอ๊ะเป็นอะไร เป็นธรรมหรือเปล่า หรือว่าเป็นธรรมประเภทไหนยังไง แต่ความจริงก็ อภิ คือว่า ละเอียดยิ่ง ลึกซึ้งอย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้น ที่เรากำลังฟัง เป็นสิ่งที่ละเอียดใหญ่หญิงเล็กสื่อใหญ่ยิ่งถ้าจนกว่าจะรู้ความจริงว่าธรรมะจริงๆ ที่เราเข้าใจว่าเป็นดอกไม้ เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ นี่ ความจริงนั้นคืออะไร ถ้ากระทบสัมผัส หลับตาดอกไม้ก็อ่อน นุ่ม โต๊ะแข็ง มีอ่อน มีแข็ง ไม่ว่าจะเมื่อไหร่ก็ตามแต่ยังไม่เห็นเลย ว่ารูปร่างอะไร เขาหลับตา พอหลับตาเนี่ย มีดอกไม้ ไม่มี โต๊ะมีเก้าอี้ไม้หรือมีสิ่งที่ปรากฏเป็นเสียงไม่เป็นแข็ง แรง เป็นจำบ้าง นั่นแหละ คือ ตัวจริงของธรรม ไม่ใช่ตอนที่มารวมกันแล้วปรากฏ และเป็นจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด และก็เรียกว่า ธรรมชาติ
เพราะฉะนั้น ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงใครไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นได้เลยทั้งสิ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ได้เปลี่ยนสภาพธรรม นั้น แต่ตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น จึงทรงแสดงความจริงของธรรม จึงชี้ว่า พระธรรม ประกาศพระธรรม ที่พระองค์ได้ตรัสรู้ไม่ใช่คนอื่นคิด
ด้วยเหตุนี้ ธรรมที่มีจริง แต่ใครไม่สามารถที่จะเปลี่ยน เช่น ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเสียงให้เป็นหวาน ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแข็ง ให้เป็นร้อน แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง และมีลักษณะเฉพาะตน
เพราะฉะนั้น สภาพธรรม นั้นเป็นปรมัตถ์ธรรม มาจากคำสองคำ คือ ปรมะ ซึ่งภาษาไทยจะใช้คำว่า บรม ปรมัตถ์ยิ่งใหญ่ ใครไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลย ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหมดที่มีลักษณะเป็นธรรมจริงๆ ไม่ใช่มารวมกันแล้ว เข้าใจว่าเป็นสิ่งอื่นไป
แต่ว่าความจริงลึกๆ ต้องมีธรรม ตัวจริงๆ ซึ่งเกิดและมารวมกัน ปรากฏ รูปร่างสัณฐานเป็นดอกกุหลาบบ้าง เป็นไปไม้บ้าง เป็นอะไรบ้าง แต่ต้องมีสิ่งที่มีจริงซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ธรรม ใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ด้วยเหตุนี้ ธรรมทั้งหมดที่มีจริง เป็นปรมัตถ์ธรรมและเป็นอภิธรรม เพราะเหตุว่า ลึกซึ้งอย่างยิ่ง กว่าจะรู้ว่าที่เห็นนี่ เราเข้าใจว่าเป็นดอกกุหลาบ เป็นใบไม้ ต่างๆ ถ้าหลับตา ไหนละ จับดูสิ ดอกอะไรก็ไม่รู้ เพราะไม่ปรากฏ รูปร่าง สีสัน ที่จะจำไว้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ด้วยเหตุนี้ ละเอียดทุกคำ ลึกซึ้งทุกคำ เพราะว่าเป็นธรรม เช่น ไม่สามารถที่จะคิดเองได้จริงเป็นปรมัตธรรม และเป็นอภิธรรม
เพราะฉะนั้น ธรรม นั่นเอง ไม่ใช่อย่างอื่น เป็นปรมัตถ์ธรรมและเป็นอภิธรรม จากธรรมคำเดียว ทรงแสดง ๔๕ พรรษาโดยประการทั้งปวงทุกอย่าง โดยละเอียดอย่างยิ่ง เพราะว่าธรรมหลากหลาย เสียงก็เป็นธรรมมีจริง เพราะกระทบหูได้ ไม่ใช่อ่อน ไม่แข็งทั้งๆ ที่ตรงเสียง มีอ่อนมีแข็งด้วย
แต่ว่าเฉพาะเสียง สามารถจะกระทบหู และเมื่อจิตเกิดขึ้น ธาตุรู้เกิดขึ้น ก็ได้ยิน และก็ดับไปไม่ใช่เรา นี่อภิธรรมหรือเปล่า ประจักษ์แจ้งใหญ่นี้ถึงที่สุด ทรงแสดงหนทาง
เพราะฉะนั้น จึงมีปริยัติ ปฏิ ปฏิ และปฏิเวธ แต่คนไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด ก็ปฏิบัติโดยไม่มีปริยัติ เพราะฉะนั้น ไม่สามารถที่จะถึงปฏิเวธได้ ทุกคำต้องละเอียด ต่อไปใครพูดอะไร ก็แล้วแต่เขาคิด แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร นี่เป็นสิ่งที่จะนำทางไปสู่ความเข้าใจ ความจริง มิฉะนั้นก็หลงผิด เข้าใจผิด ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ ด้วยเหตุนี้ ต่อไปนี้ ได้ยินคำว่า ธรรม ก็เป็นปรมัตถ์ธรรม ถ้าอื่นเป็นปรมัตทำอะไรล่ะจะไปเป็นปรมัตถ์ธรรม
เพราะฉะนั้น เพื่อนก็คือต้องมีจริงเป็นธรรม และธรรมที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ก็แสดงความยิ่งใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปลี่ยนหวานให้เป็นเค็มได้ไหม ไม่ได้ ใครก็ไม่ได้ทั้งหมด ทรงตรัสรู้ความจริงจริงที่สุด และธรรม เป็นธรรม จึงเป็นปรมัตถ์ธรรม และเป็นอภิธรรม
มีคนหนึ่ง บอกว่า เขาจะฟังธรรมจะเรียนธรรม แต่ไม่เรียนอภิธรรม พูดได้อย่างไร พอฟังแค่นี้ คนรู้ก็รู้แล้วว่าผิด ถ้าคนไม่รู้ ก็อ้อจริงนะ อภิธรรมไม่ลึกซึ้ง เราไม่เรียน เราจะเรียนแต่ธรรม เห็นไหมเห็นผิดตั้งแต่ต้น น่าจะรู้ความจริงได้อย่างไร
เพราะฉะนั้น ทางถูก ต้องถูกทุกคำ เว้นกำลังเดินอยู่นะคะ ท่ามกลางน้ำ ยอมรับต้องระมัดระวังที่จะไม่ถูกแทงให้เจ็บ คือ ความเห็นผิด ความเข้าใจผิด ด้วยความคิดเอง และเผยแพร่ความคิดเองกันไป จนกระทั่งคนนี่ไม่เข้าใจ ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร
อ.อรรณพ บอกว่าธรรม คือ สิ่งที่มีจริงจริงแล้วธรรม ก็ละเอียดเป็นอภิธรรมแล้วธรรมก็มีลักษณะมีสภาวะอย่างนั้นจริงๆ จึงเป็นปรมัตถ์ธรรม แต่นี่คนทั่วไปนี่ เขาได้ยินคำว่าอภิธรรม เขาก็นึกว่ามาสวดงานศพ ได้ยินปรมัตถธรรมเขาก็นึกว่านี่ต้องเข้าไปเรียนโรงเรียนปริยัติธรรมกันมา อะไรอย่างเงี้ย คนจะมีพื้นฐานความคิดอย่างนี้ แต่ถ้าอาจารย์จะช่วยกรุณากล่าวว่า ธรรมที่เป็นอภิธรรม หรือ เป็นปรมัตถ์ธรรม คือ ขณะนี้ครับ
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้คุณอรรณพพูดคำหนึ่ง แม้ฉากใครฟัง และจำหรือเปล่า สภาว ถ้าได้ยิน เหตุละเอียด ไม่ข้ามทุกคำ แต่ถ้า เอ๊ะ ไม่ได้ยินผ่านๆ คำนั้นไปแล้วเพราะคิดว่าเข้าใจแล้ว แต่อย่าลืม ทุกคำต้องเข้าใจ อย่างมั่นคง เพราะเป็นความจริงตลอดไปไม่เปลี่ยน
เพราะฉะนั้น มีคำว่า สะ กับ ภาวะ จึงเป็น สภาวะ ภาษาไทยจะใช้คำว่า สภาพธรรมตัว ว กับตัว พ ใช้แทนกันได้ ขอเชิญคุณคำปั่น
อ.คำปั่น สภาวธรรม หรือว่า สภาพธรรม นี่ จริงๆ ไหน พยัญชนะภาษาบาลีนะครับ คือ สภาวธรรม ธรรม คือ สิ่งที่มีจริงใช่ไหมครับ และสิ่งที่มีจริงนั้น ก็มีสภาวะก็คือ มีความเป็นจริงอย่างนั้น มีความเป็นจริงอย่างนั้น ของแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง
ซึ่งในวันนี้ก็ได้ฟังหลายหนึ่งใช่ไหม เห็นก็มีลักษณะมีภาวะ มีความเป็นของเห็น ซึ่งก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ใครๆ ก็เปลี่ยนไม่ได้ ความจำก็มีจริงๆ เป็นสิ่งที่มีจริง ที่มีความเป็นอย่างนั้น ใครๆ ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็เปลี่ยนความเป็นจริงของธรรมไม่ได้ เพราะว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริง มีสภาวะคือ มีความเป็นจริงอย่างนั้น โดยที่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ครับท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องละเอียด บอกว่ามีจริง อย่างที่คำถาม แล้วจะรู้ยังไงว่าจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือเปล่า คำสอนของพระองค์มีจริงหรือเปล่า หรือว่าเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะเขาไม่ได้ศึกษาและไม่ได้เข้าใจคำที่พระองค์ตรัสไว้
เพราะฉะนั้น จะจริงได้อย่างไร จริงหรือไม่จริง เอาอะไรตัดสิน ภาวะความเป็นสิ่งนั้น ใช่ไหมคะ ภาวะของสิ่งนั้น หมายความว่า สิ่งนั้นมีภาวะของตน ที่จะไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นภาวะของร้อน คือร้อนใช่ไหม มีความเป็นร้อน ไม่เป็นอย่างอื่น
เพราะฉะนั้น ร้อนมีจริงไหม สิ่งที่มีจริง มีสภาวะ มีภาวะความเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น เฉพาะแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้น สภาวธรรมนี่ก็คือ สิ่งที่มีจริง เพราะว่ามีลักษณะอย่างนั้น เปลี่ยนไม่ได้ เป็นเฉพาะลักษณะของสิ่งนั้น ที่จะต้องเป็นอย่างนั้นถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ แข็งนี่ เป็นสภาวะ มีสภาวะไหม ก็มีภาวะ คือ เป็นแข็งไม่เป็นอย่างอื่น เป็นธรรมหรือเปล่า เป็น ก็เป็นสภาวธรรม ธรรมที่มีลักษณะว่ามีจริงๆ
เพราะฉะนั้น เราไม่ได้ฟังเรื่องเท็จ ไม่ได้ฟังเรื่องไม่มี ไม่ได้ฟังเรื่องมีเฉพาะกาลสมัยหนึ่ง ให้อีกสมัยหนึ่งไม่มี แต่สิ่งที่มี คงไว้ซึ่งภาวะของตนเปลี่ยนไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เห็นเป็นสภาวะ คือ มีภาวะเห็น ไม่ใช่อย่างอื่น
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ทุกคำนี่ สอดคล้องกันหมด ถ้ารู้จักคำว่าธรรมมีจริง แต่ลักษณะนั้น ต้องเป็นนั้น ไม่เป็นอื่น เป็นภาวะที่ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นสภาวะเติมคำว่าธรรม ธรรมที่มีภาวะของตน ที่จะเป็นอื่นไม่ได้แล้วก็เป็นปรมัตถ์ธรรม ใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้เป็นอภิธรรมเพราะ ลึกซึ้งอย่างยิ่งกว่าจะรู้ว่าไม่มีเรา เป็นแต่เพียงธรรม
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดเป็นธรรม ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น จำเป็นเรา หรือเปล่า กำลังจำไม่ใช่เป็นสภาพจำ ซึ่งเกิดขึ้นดีภาวะที่ต้องจำ จะเป็นอื่นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จำจะเป็นสุขได้ไหม ไม่ได้จำเป็น จำนะ สุขละ ภาวะความเป็นสุขก็อย่างหนึ่ง ใช่ไหม สภาวะสุขเกิดขึ้น ไม่ต้องเรียกก็ได้ แต่รู้ว่ามีจริงๆ เกิดแล้ว เป็นอย่างนั้น ถ้ายังไม่เกิด ใครไปทำให้สุขเกิดสิทำไม่ได้
เพราะฉะนั้น แต่ละหนึ่ง ที่ปรากฏ ก็ปรากฏตามภาวะสิ่งที่เป็น ที่มีของตน เป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ นี่คือ สัจธรรม แล้วเด็กสมัยนี้ หรือผู้ใหญ่สมัยนี้ หรือ คนสมัยก่อนหรือสมัยไหนจะเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ได้ไหม จะบอกว่า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี ได้หรือในเมื่อพระองค์กลับถึงสิ่งที่กำลังมี ทุกอย่างละเอียดอย่างยิ่ง ตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น พื้นฐานต้องมั่นคง เพราะว่าจะไม่เปลี่ยนเลย แข็งมีจริงไหม
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ เสียงมี จริงไหม
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมหรือเปล่า เป็นธรรม อะไรทั้งหมดที่มีจริงๆ ในภาษาไทยคือคำว่า ธรรม ในภาษาบาลี เพราะฉะนั้น จะพูดว่า เสียง คือ สิ่งที่มีจริง ชาวมคธไม่เข้าใจ แต่คนไทยเข้าใจ แต่ก็บอกว่าธรรม ชาวมคธเข้าใจได้ ก็หมายความถึง สิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น ภาษาหนึ่ง ก็ใช้คำอย่างอีกภาษาหนึ่ง ก็ใช้คำอีกอย่างหนึ่ง แต่ธรรม เป็นธรรมไม่เปลี่ยน เพราะฉะนั้น เห็นมีจริงไหม
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมเท่านั้นเอง ใช่ไหม ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม แล้วเกิดขึ้นเห็น แล้วจะเปลี่ยนเห็นให้เป็นได้ยินได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะธรรม ทุกอย่างที่มีจริง ต้องมีสภาวะความเป็นของตน ที่จะต้องเป็นอย่างนั้น มีภาวะ คือ ความเป็น ความเป็นแข็ง เป็นแข็งเป็นอื่นไม่ได้ ความเป็นเสียงเป็นเสียง เปลี่ยนอย่างอื่นไม่ได้ ความจำเป็นจำ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ทั้งหมด ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนได้เลย จึงเป็นปรมัต บรม ยิ่งใหญ่ ลักษณะต้องมีไม่ใช่ว่าพูดลอยๆ แต่ไม่มีลักษณะที่ปรากฏ และก็ทำทุกอย่าง เป็นปรมัตถ์ธรรม คือไม่มีใครสามารถเปลี่ยนความเป็นจริงของสภาวะนั้นได้เลยเป็นปรมะ บรมจริงๆ
ลักษณะนั้นเปลี่ยนไม่ได้ จึงเป็น ปะ ระ มะ อัต ถะ ธรรม รวมเป็น ปรมัตถ์ธรรม อย่างเดียวกันกับธรรม ใช่ไหม แต่ขยายให้เข้าใจอีกว่า ธรรม นั่นแหละใครไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เพราะฉะนั้น พอเข้าใจคำว่าธรรม ได้ยินคำว่า ปรมัตถ์ธรรม ก็เข้าใจเลย ธรรมนั่นแหละเปลี่ยนไม่ได้ จึงภาษาบาลี ปรมัตถ์ธรรม แล้วลึกซึ้งไหม เพราะเหตุแรกมีดอกไม้จริงๆ หรือเปล่า มีโต๊ะจริงๆ หรือเปล่าหรือแข็งมีจริง ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง สัณฐานอย่างหนึ่งหรืออีกอย่างหนึ่ง ด้วยอีกอย่างก็แข็ง จะเป็นต้นไม้ จะเป็นใบไม้ จะเป็นผลไม้ จะเป็นรากไม้ก็แข็งใช่ไหม
เพราะฉะนั้น จะลักษณะที่แข็งเปลี่ยนไม่ได้ แต่เปลี่ยนชื่อใบไม้ได้ใช่ไหม แต่เปลี่ยนลักษณะของแข็งไม่ได้ เพราะฉะนั้น นี่ คือ ธรรม เป็นปรมัตถ์ธรรมแล้ว ก็เป็นอภิธรรมเพราะอะไร พูดอย่างนี้ใครรู้บ้าง เห็นไหม แค่ฟังยังไม่รู้เลยว่าความจริงเลยนะคะ ที่เรียกว่าเป็นดอกไม้ และถ้าเพียง แค่หลับตาก็แข็ง ดอกไม้ก็แข็ง อะไรก็แข็ง
เพราะฉะนั้น อะไรมีจริงเป็นปรมัตถ์ธรรม คือ แข็ง แต่ดอกไม้เป็นชื่อเรียกสิ่งที่มารวมกันรูปร่าง สัณฐานต่างกัน ใบไม้ก็ สัณฐานอย่างหนึ่งสีเขียว ดอกไม้ก็อีกอย่างหนึ่ง โต๊ะเคียงแต่ทั้งหมดก็แข็ง
เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริง จริงๆ จะเรียกอะไรก็ตามแต่จะเป็นรูปร่าง สัณฐานอะไรก็ตามแต่ ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ธรรม มีจริง ใครเปลี่ยนลักษณะไม่ได้ ไม่ได้กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เลย เปลี่ยนเห็นให้เป็นแข็งได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปรมัตถ์ธรรม และเป็นอภิธรรม คือ ไม่มีเรา
ผู้ฟัง คำว่า อภิธรรม สำหรับนิมนต์พระมาสวดหน้าศพ กับพระธรรมเทศนาที่พระท่านขึ้นเทศน์นี่แหล่ะ สองคำนี้ต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ ภาษาต่างใช่ไหม แต่ต้องมีความหมายต่างด้วย เชิญคุณคำปั่น
อ.คำปั่น ตอนนี้เริ่มแล้วใช่ไหม กับคำว่า อภิธรรม มาก ก็คือ ขณะนี้เอง เป็นอภิธรรมเพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ จึงเป็นอภิธรรมอยู่ทุกขณะเลย เพราะฉะนั้น อภิธรรมไม่ใช่สำหรับสวดในงานศพ แต่เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ที่ควรจะได้ศึกษา ให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า ไม่ใช่เรา
ถ้ากล่าวถึงพระธรรมเทศนา ก็คือ การแสดงในสิ่งที่มีจริง ตรงตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่ผู้ฟัง จะได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความจริง
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังชี้แจง คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าใจถูกต้องใช่ไหมที่เราสนทนากัน
ผู้ฟัง ครับผม
ท่านอาจารย์ เป็นเทศนาหรือเปล่า ประกาศ เปิดเผย ชี้แจง ให้เข้าใจถูกต้องในธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมเทศนาไม่ใช่เรื่องอื่น ไม่ใช่เรื่องสนุกสนาน เรื่องการเกษตรไปช่วยชาวนาทำอะไร แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ถ้าเป็นธรรมเทศนาเทศนา ก็คือประกาศชี้แจงกล่าวถึงธรรมเดี๋ยวนี้เป็นงานศพหรือเปล่า กำลังพูดถึงธรรม ที่เป็นอภิธรรมด้วย เดี๋ยวนี้เป็นงานศพหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่ครับ
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องงานศพ ก็เข้าใจได้ทำไมไปแสดงอภิธรรมในงานศพ คนฟังเข้าใจหรือเปล่า เป็นการชี้แจงหรือเปล่า หรือเป็นการพูดคำที่ไม่มีใครรู้จัก หรือว่าใครเป็นงานศพ และได้ยิน และรู้จักเข้าใจได้
เพราะฉะนั้น ก็ต่างกัน ไม่ใช่เทศนาด้วย เพราะเหตุว่า เพียงแต่กล่าวคำที่มีในพระสูตรบ้าง อยู่ในพระอภิธรรมบ้าง แต่ว่าไม่ได้มีใครเข้าใจเลย เพราะฉะนั้น จะเป็นการประกาศชี้แจงหรือเปล่า
เพราะฉะนั้น ธรรมควรที่จะเข้าใจทุกโอกาส ทุกกาล เพราะเป็นมงคล การฟังธรรมเป็นมงคล การสนทนาธรรมเป็นมงคล มงคล คือเ ริ่มมีความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งยากยิ่งที่จะเข้าใจได้
เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่า ถ้ามีการเข้าใจธรรมเมื่อไหร่ เมื่อนั้น ก็คือ ได้ชี้แจงข้อความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สำหรับไปงานศพ หรือสวดศพเพราะเหตุว่า สวดแล้วไม่เข้าใจ ไม่มีประโยชน์เลย พูดคำที่ไม่รู้จักดีไหม หรือเปล่า มานั่งกันตรงนี้แล้วพูดคำที่ไม่รู้จักเลย เรื่องโน้น เรื่องนี้ แต่ไม่ใช่คำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว นี่คือความต่างกันอย่างยิ่ง ของพุทธบริษัท
เพราะเหตุว่า ชื่อว่า พุทธบริษัท หมายความว่า เป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรม ถ้าเป็นบรรพชิต ก็เป็นพระภิกษุ และสามเณร ถ้าเป็นคฤหัสถ์ใช้คำว่า อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งใกล้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออะไร ทำไมนั่งใกล้ เพื่อฟังคำของพระองค์ ไม่ใช่เพื่อไปนั่งเฝ้าแล้วก็ดูพระองค์ แต่เพื่อฟังคำของพระองค์
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจในเหตุผล และในประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งคงจะไม่มีใครรู้ว่า เท่าที่ได้ฟังและเข้าใจ ประโยชน์ยิ่งใหญ่ คือ ถ้าไม่มีคำเหล่านี้เป็นเบื้องต้น จะไม่มีวันได้เข้าใจพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกับเฉิน เข้าใจแล้วใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ครับผม
ท่านอาจารย์ เป็นบุญหรือเปล่าเกิด
ผู้ฟัง บุญ
ท่านอาจารย์ เป็นบุญ บุญ คือ อะไร เราได้ยินคำ เฉียดๆ เหมือนเข้าใจ แต่ว่าคำมีมาก ซึ่งแสดงความต่างกันหลากหลาย แม้เพียงเล็กน้อย ขอเชิญคุณคำปั่น
อ.คำปั่น ก็เป็นอีกคำหนึ่ง ที่คุ้นหูใช่ไหม บุญ ภาษาบาลี คือ บุญ สภาพธรรมที่ชำระจิตให้สะอาด ปราศจากอกุศล เพราะฉะนั้น ก็กล่าวถึงขณะที่ คุณความดีเกิดขึ้นนั่นเองเป็นบุญ
ท่านอาจารย์ ถ้าฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ จิตดีงามไหม
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ ไม่ดี เป็นอกุศลหรือกุศล
ผู้ฟัง อกุศล
ท่านอาจารย์ ตอบได้ เป็นอกุศล ถ้าเข้าใจ
ผู้ฟัง เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ เป็นกุศล เพราะฉะนั้น ขณะนั้น เป็นกุศลที่เป็นบุญ ไม่ใช่ครูสอนเอง แต่เป็นกุศลที่ชำระจิตจากความไม่รู้ ให้มีความเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น จนกว่าจะหมดจดบริสุทธิ์จากความไม่รู้ ไม่เหลือเลย ลึกซึ้งแค่ไหน เพราะตอนนี้ยังไม่รู้เลยว่า อกุศลอยู่ในมากแค่ไหน อย่างไร เพราะฉะนั้น ความลึกซึ้งของธรรม ทำให้เป็นผู้ที่ละเอียด เพราะฉะนั้น ไปงานศพฟังสวดอภิธรรมเป็นบุญไหม
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ เป็นอย่างไร เข้าใจไหม
ผู้ฟัง เข้าใจบางตอน
ท่านอาจารย์ เข้าใจคำไหน ลองเราบอกสิ
ผู้ฟัง นะโม ตัสสะ ก็รู้แล้ว
ท่านอาจารย์ คนที่ได้ฟัง นะโม ตัสสะ ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ได้ยินหมด แต่ใครจะรู้ว่า นะโม คืออะไร แล้วพระพุทธเจ้าพระองค์ ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะใช่ไหม
เพราะฉะนั้น ความซาบซึ้งมีไหม ว่าเรากำลังฟังอะไร เรากำลังนอบน้อมอะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น อย่างนั้นที่ไม่รู้ ความไม่รู้เป็นบุญหรือเปล่า ต้องตรง ถ้าไม่ตรงจะไม่สามารถรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถที่จะเข้าใจธรรม ต้องตรงอย่างยิ่ง ตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้น ฟังสวดพระอภิธรรมเข้าใจไหม ถ้าไม่เข้าใจเป็นบุญหรือเปล่า
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1480
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1500