ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1282


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ปกิณณกธรรม ตอนที่ ๑๒๘๒

    สนทนาธรรม ที่ บ้านธัมมะ ลำพูน

    วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑


    ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้จักนิพพาน เพราะว่าเห็นยังไม่รู้จักเลย คิดก็ยังไม่รู้จักแล้วจะไปรู้จักพระนิพพาน ซึ่งขณะนี้ไม่มีไม่ปรากฏได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเมื่อนิพพานไม่เกิดไม่ดับ นิพพานก็เป็นสิ่งที่เที่ยง

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าไม่เกิด เพราะฉะนั้นความหมายของเกิดดับ ต้องเกิดจึงดับได้ ถ้าไม่เกิดแล้วจะดับได้ยังไง

    ผู้ฟัง ถ้าเที่ยงก็ไม่ขัดกับคำที่ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาหรือ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมต้องรู้ แต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ถ้าไม่ต่างกันก็เป็นอย่างเดียวกัน แต่เพราะต่างกันจึงเป็นแต่ละ ๑ จิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก รูปเป็นรูปนิพพานเป็นนิพพาน จะให้นิพพานเป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ซึ่งเกิดดับก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง ที่ว่าจำอย่างเหนียวแน่นว่าเป็นตัวเรา ทำไมเราไม่ลืม ในเมื่อสัญญามันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง

    ท่านอาจารย์ เคยลืมไหม

    ผู้ฟัง เคยลืม

    ผู้ฟัง เคยลืม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสัญญามีจริงไหม

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ ขณะที่ลืม จำว่าเราลืมใช่ไหม ตรงกับที่ถามเมื่อกี้นี้ใช่ไหม ทำไมเราไม่ลืมสักทีว่าไม่มีเรา แม้แต่ลืมก็เราลืม

    ผู้ฟัง มันเหมือนเข้าใจ ฟังธรรมก็เห็นว่าเป็นจริงตามนั้น โต้แย้งไม่ได้เลย แต่ว่าพอไม่ได้ฟังใช้ชีวิตประจำวันปกติ ท่านอื่นมันก็หลงไปอีก หลงไปในโลกของสมมุติ ก็มีเรา มีเขา เกิดโลภ โกรธหลง วนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่พอฟังธรรมแล้วก็เข้าใจตามนั้น

    ท่านอาจารย์ หลงมานานเท่าไหร่

    ผู้ฟัง ก็ไม่ทราบแต่ว่านานมากๆ เกิดมาก็หลง

    ท่านอาจารย์ แล้วฟังธรรมนานเท่าไหร่

    ผู้ฟัง ไม่ได้เสี้ยวของชีวิต

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะจำธรรม และเข้าใจธรรมได้ อย่างที่เคยหลงมาหรือ เท่ากันได้หรือ

    ผู้ฟัง เท่าที่ฟังอาจารย์ เข้าใจว่าต้องฟังคือขาดไม่ได้เลย มีทางเดียวเท่านั้น การที่จะหลุดพ้น คือฟังธรรม

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นคนตรงด้วย ขณะนี้เห็นมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เห็นเกิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิด

    ท่านอาจารย์ เห็นดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ดับ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ประจักษ์ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ประจักษ์ ขั้นฟัง

    ท่านอาจารย์ ขั้นฟังไม่ใช่ประจักษ์ขั้นเข้าใจ ประจักษ์คือเดี๋ยวนี้ เกิดจริงๆ ดับจริงๆ ไม่มีอะไรเลย

    ผู้ฟัง เห็นตรงทุกขณะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจนกว่าจะเป็นอย่างนั้น จึงจะรู้ว่าไม่ใช่เราเห็น ตอนนี้ฟังเริ่มเข้าใจว่าไม่มีเรา แต่ก็เป็นเรานั่นแหละที่เข้าใจ เพราะฉะนั้นกว่าจะหมด ไม่มีความเป็นเราในทุกอย่าง ซึ่งเคยเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็จะรู้ว่าความจริงก็ไม่มีสิ่งนั้น เพราะว่าถ้าไม่เกิดก็ไม่มี ต่อเมื่อมีปัจจัยทำให้เกิด จึงเกิดได้ แล้วก็หมดไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก เพราะฉะนั้นจะเป็นเรา จะเป็นเขา จะเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร ไม่เหลือเลยสักอย่างเดียว ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ความรู้มี ๓ ระดับขั้น ขั้นฟังเข้าใจ เพราะว่าบางคนฟังไม่เข้าใจ ยังมีความเป็นตัวตนหนาแน่นมาก แต่ว่าถ้าฟังแต่ละคำทีละคำ คำไหนไม่จริง เมื่อเป็นความจริง ก็สามารถที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นถูกต้อง เพียงแต่ว่าปัญญาขั้นฟังยังไม่ถึงการที่จะเข้าใจ ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ตรงตามที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้นก็มีความเข้าใจที่จะต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งภาษาบาลีก็ใช้คำว่าปัญญา แต่จะพูดคำนี้หรือไม่พูดคำนี้สำคัญที่เข้าใจ แต่ว่าปัญญา แต่ไม่เข้าใจก็ไม่ใช่ ใช่ไหม เพียงแต่เรียกชื่อ

    ผู้ฟัง วิปัสสนานี่กับความเข้าใจของผม ก็คือต้องไปทำสมาธิประกอบ

    ท่านอาจารย์ รู้จักสมาธิหรือยัง

    ผู้ฟัง คือจิตที่จดจ่อกับอารมณ์

    ท่านอาจารย์ จิตกับสมาธิต่างกันหรือเหมือนกัน

    ผู้ฟัง อันนี้ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปทำอะไรที่ไม่รู้

    ผู้ฟัง แล้ววิปัสสนาในความหมายที่ว่าประจักษ์แจ้ง นั่นคือขณะฟัง

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดปรากฏ สิ่งนั้นดับ

    ผู้ฟัง ถ้าเข้าใจตามนี้ก็คือวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ เข้าใจนี่คือขั้นเข้าใจ

    ผู้ฟัง ถ้าเห็นจริงว่าเกิดแล้วดับทุกขณะ

    ท่านอาจารย์ แล้วจะเห็นจริงได้ยังไง

    ผู้ฟัง เพราะว่าพอเราหยุดไม่ได้ฟังก็ลืม

    ท่านอาจารย์ แต่นี่ไม่ใช่วิปัสสนา ไม่ใช่เห็นจริง แค่เข้าใจ

    ผู้ฟัง แล้วการฟังไปเรื่อยๆ นี้จะถึงขั้นวิปัสสนาได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ฟังไปเข้าใจหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เข้าใจแล้วก็ลืม

    ท่านอาจารย์ และก็ฟังอีก เข้าใจหรือเปล่า เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ว่าฟังไปอย่างนี้แล้วจะถึงนิพพาน ก็ต้องหมายความว่าฟังแล้วเข้าใจขึ้นละคลายความไม่รู้ และสามารถที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ทีละ ๑ ฟังตรงตามที่ได้ฟัง และเริ่มเข้าใจทีละ ๑ นั้น ละเอียดขึ้นมั่นคงขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้งการเกิดดับ เพราะฉะนั้นมีปริยัติ ซึ่งถ้าไม่มีความรอบรู้ในคำที่ได้ฟัง ก็ไม่มีปฏิปัติ ซึ่งกำลังรู้ตรงลักษณะ ที่ใช้คำว่าสติปัฎฐาน หรือสติสัมปชัญญะ และถ้าไม่มีสติปัฎฐานสติสัมปชัญญะ ความรู้ขั้นฟังก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจแต่ละ ๑ ได้ ตั้งแต่เรื่องราวของสภาพธรรมแต่ละ ๑ แต่ยังไม่ได้เข้าใจจริงๆ ในแต่ละ ๑ เดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจแต่ละ ๑ จนกว่าจะหมดความสงสัย ค่อยๆ ละความเป็นเรา สภาพธรรมก็จะปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตามลำดับ ประจักษ์แจ้งตาม

    ผู้ฟัง ฟังไปก็ทุกวันนี้ก็เหมือนกับว่า เป็นเข้าใจ เรื่องราวของธรรมเฉยๆ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ยังเป็นเราที่เข้าใจ เมื่อกี้นี้พูดคำว่าขันธ์ ๕ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ อะไรบ้าง

    ผู้ฟัง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ท่านอาจารย์ เป็นเราใช่ไหม ทั้ง ๕ ขันธ์ เรารู้สึก

    ผู้ฟัง ใช่ ไปยึดว่าเป็นเรา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะต้องหมดความเป็นเราทั้ง ๕ ขันธ์ ไม่เหลือเลย จึงจะสามารถประจักษ์แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริงละคลายกิเลส ดับกิเลสได้

    ผู้ฟัง โดยการฟังไปเรื่อยๆ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าฟังขณะนี้ พูดเรื่องเห็นใช่ไหม รู้ตรงเห็นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง รู้ตรงเห็นไหม ก็ยังไม่ตรง

    ท่านอาจารย์ ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถ ที่จะประจักษ์การเกิดดับได้ ต้องมีปัญญาที่สามารถรู้ตรงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่มีลักษณะนั้นที่กำลังปรากฏ ยังไม่ถึงขั้นนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่มีทาง ที่จะถึงอีกขั้นหนึ่ง คือการปฏิเวธ ประจักษ์แจ้งความจริง

    ผู้ฟัง งั้นการฟังไปเรื่อยๆ ก็ไม่มีทางที่จะ

    ท่านอาจารย์ ถามว่าฟังแล้วเข้าใจไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเข้าใจอีกไหม

    ผู้ฟัง ก็เข้าใจมากขึ้น

    ท่านอาจารย์ ฟังแล้วเข้าใจอีกไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจมากขึ้นมากขึ้น

    ท่านอาจารย์ ก็เข้าใจขึ้นๆ จนสามารถที่จะรู้ตรง สภาพธรรม ๑ ที่กำลังปรากฏ โดยความเป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง อ่๋เข้าใจละ

    อ.อรรณพ สะสมความจำว่าเป็นเรามามาก มากขนาดไหน มากขนาดที่ว่าแม้ขณะที่ลืม ก็ยังจำว่าเป็นเราที่ลืม บางคนก็จะรู้สึกรำคาญตัวเองว่าทำไมเราขี้ลืม ลืมโน่นลืมนี่ ก็บ่นกันว่าเดี่ยวนี้ขี้หลงขี้ลืม ก็เป็นเราที่ลืม แต่จริงๆ แล้ว ลืมก็ต้องไม่ใช่เราใช่ไหม ท่านอาจารย์ ก็ยังต้องเป็นอย่างนี้ไป

    ท่านอาจารย์ ฟังธรรมแล้วต้องไม่ลืม คำที่ได้ฟังแล้วทุกคำ ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่ไม่จริงทั้งหมดไม่ใช่เรา ฟังแค่นี้ก็ต้องจำละ ใช่ไหม เพื่อเข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เราเพราะอะไร เพราะว่าเพียงเกิดขึ้นและก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ฟัง จะไปเร่งรัดให้ทุกคน เข้าใจธรรมหมดเดี๋ยวนี้ได้ไหม ไม่มีทางเลย ไม่ใช่หนทาง โดยความเป็นตัวตน ที่จะไปทำให้ความรู้กัเกิารละขึ้น แต่ต้องเป็นความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย เพราะไม่รู้จึงติดข้อง แต่รู้แล้วก็ค่อยๆ ละคลายความติดข้อง

    อ.อรรณพ ที่ว่าเมื่อเกิดจึงปรากฏ ก็คือกล่าวถึงสภาพธรรมที่อาศัยปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิด เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดับ จึงปรากฏเมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดปรากฏอยู่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกคำต้องสอดคล้องกัน สัพเพสังขาราอนิจจา หมายความอะไร สังขารา สังขารทั้งหลาย สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่งทั้งหมด อนิจจาไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นก็ต้องมีปัจจัย ที่ทำให้เกิดปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ที่ไม่รู้ว่าขณะนี้มีปัจจัยทำให้เกิด จึงติดข้องว่าเป็นเราใช่ไหม ขณะนี้เห็นเป็นเรา ได้ยินเป็นเรา ทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นเรา เพราะไม่รู้ปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น สัพเพสังขารา อนิจจา สิ่งที่เกิดดับยังไม่เห็นว่าเป็นทุกข์

    เพราะฉะนั้นปัญญาไม่ได้มากตามลำดับเลย ไม่ได้เจริญขึ้นตามลำดับ แค่ฟังแล้วก็คิดเท่านั้นเอง แต่ถ้าไตร่ตรองในขณะที่ สภาพธรรมนั้นปรากฏ ปัญญาก็จะเพิ่มขึ้นจริงๆ หมายความว่าจากการฟัง ทุกอย่างเป็นธรรม พอไหม ก็แค่คิดว่าทุกอย่างเป็นธรรมแต่ ๑ อย่างที่ปรากฏ ถ้าไม่รู้ทีละ ๑ ก็ไม่ปรากฏการเกิดดับ เพราะฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏการเกิดดับ ก็ไม่รู้ปัจจัยที่ทำให้เกิด ก็ยังมีความติดข้อง และก็มีปัจจัยที่ทำให้ติดข้อง ทำให้เกิดจนกว่าจะรู้ปัจจัย จนกระทั่งละคลายความติดข้อง ก็จะรู้ว่าเมื่อนั้นแหละหมดความติดข้อง ไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น สภาพธรรมนั้นถึงการดับคือไม่เกิดอีก แต่ข้อสำคัญฟังพอที่จะรู้ลักษณะ ที่กำลังเห็นหรือยัง ฟังพอที่จะเข้าใจความจริงของแข็ง ที่กำลังปรากฏตามปกติหรือยัง ถ้ายังก็คือการฟังยังไม่พอ เพราะว่าไม่มีใครสามารถที่จะทำให้ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏได้ เพียงฟังไม่กี่ครั้ง แต่ก็เป็นผู้ตรง ทำไมใช้คำว่าตรัสรู้สำหรับ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่ขณะนี้เห็นเกิดดับก็ไม่รู้ คนธรรมดาก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นความรู้ต้องมากกว่า กี่แสนกี่หมื่นกี่ล้านกี่โกฏเท่า ประมาณไม่ได้เลยเพราะเห็นแท้ๆ เดี๋ยวนี้

    ผู้ที่ประจักษ์ความจริง ทรงแสดงความจริงว่าเห็นไม่เที่ยง ก่อนเห็นไม่มีเห็น เห็นเกิดขึ้น แล้วเห็นก็ดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย แต่เหมือนสิ่งที่อยู่ตรงหน้าก็ยังเหมือนเดิม เห็นก็ยังเห็นอย่างนี้ ดูคล้ายกับว่าเป็นสิ่งเดียว ที่ยังมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเห็น หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม เพราะฉะนั้นเราอยู่ในโลกของความไม่รู้ใช่ไหม อยู่ในโลกของความหลง และความลวง คิดว่ามีเรา และคิดว่ามีทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ว่าผู้ที่ประจักษ์แจ้งความจริงก็คืออยู่ในโลกที่ไม่มี เมื่อไม่มีอะไรเกิดขึ้น และเกิดขึ้นนิดเดียวแล้วก็หมดไป แล้วก็อยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะไม่รู้จึงมีความติดข้อง เป็นเหตุปัจจัยที่จะให้สภาพธรรม เกิดแล้วก็ดับ แล้วก็เกิดอีกตลอดเวลา เหมือนเดี๋ยวนี้เลย ฟังธรรมเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมี ในขณะนี้ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์อีกประเด็นหนึ่ง ตามความเข้าใจของคนทั่วไปๆ ว่าฟังธรรมแล้วก็ไป ลงมือปฏิบัติ ไปตามวัด ไปเดินจงกรม นั่งสมาธิ อันนี้คือความเข้าใจกับชาวบ้านทั่วไป คิดว่านั่นคือปฏิบัติ

    ท่านอาจารย์ นั่นคือความไม่เข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจ

    ผู้ฟัง แต่ว่าปฏิบัติจริงๆ ในความหมายของท่านอาจารย์ ก็คือการฟังธรรมแล้วก็ไตร่ตรอง เห็นตรงสภาวะที่เกิดดับนั้นๆ ทุกขณะ นั่นคือปฏิบัติ แล้วก็จะเกิดผลเป็นปฏิเวธใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ปฏิบัติคืออะไร

    ผู้ฟัง คือการรู้เฉพาะ

    ท่านอาจารย์ มาจากไหน กว่าจะรู้เฉพาะมาจากไหน

    ผู้ฟัง จากการฟัง

    ท่านอาจารย์ ถ้าฟังเพียงแค่นี้รู้เฉพาะหรือยัง

    ผู้ฟัง ฟังจนกว่าจะจำได้ว่า

    ท่านอาจารย์ จนกว่าจะเป็นสัจจญาณ ไม่น้อย ไม่ใช่คำสองคำ แต่มีความมั่นคงว่าเดี๋ยวนี้เป็นธรรม ถ้ารู้ก็รู้สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ เป็นนิมิตของสิ่งที่เกิดดับ

    ผู้ฟัง นี่คือคำที่อาจารย์บอกว่า ฟังแล้วยังไม่ต้องไปทำอะไรใช่ไหม นี่คือคำตอบ

    ท่านอาจารย์ ใครทำล่ะ

    ผู้ฟัง ก็คือคนที่

    ท่านอาจารย์ คนที่ก็ไม่ใช่ธรรมแล้ว ไม่ใช่ความเข้าใจละ เป็นคนก็เป็นความไม่รู้แล้ว

    ผู้ฟัง ก็สรุปว่าปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อาจจะเกิดได้ในขณะที่ฟังธรรม

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นปัญญา ถูกต้องไหม ต้องเป็นความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่ชื่อว่าปริยัติ แล้วก็ไปปฏิบัติ และก็เป็นปฏิเวธ แต่ต้องรู้เพราะเหตุว่าพระพุทธเจ้าเป็นใคร ผู้ทรงตรัสรู้ความจริงใช่ไหม ทรงแสดงธรรมทุกคำนำมาซึ่งความเข้าใจ เพราะแต่ละคำเกิดจากปัญญาที่ได้ทรงตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้นต้องรู้เลย คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกคำ ประโยชน์คือทำให้คนฟัง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าไม่ได้ฟังก็คิดเองหมดไม่ว่าใครไม่มีทางที่จะถูกด้วย เพราะว่าไม่ได้ตรัสรู้ แต่เมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ทุกคำของพระองค์มาจากพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ อย่างที่เคยพูด เราพูดคำเดียวกับที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสได้ เช่นคำว่าธรรม พระองค์ก็ตรัสคำว่าธรรมเราก็พูดว่าธรรม ปัญญาเท่ากันไหม พูดได้คำเดียวกัน แต่ปัญญาที่พูดต่างกันใช่ไหม

    ผู้ฟัง ต่างกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกคำของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือปัญญา ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่าปริยัติ และก็ไปเอามาปฏิบัติ ความเข้าใจอยู่ไหน ไม่ใช่เราปฏิบัติ แต่ปัญญาทุกขั้น ปัญญาทุกคำ คำไหนบ้างที่ไม่ใช่ปัญญา

    ผู้ฟัง สมัยพุทธกาลก็มีพระที่ฟัง แล้วก็บรรลุธรรมได้เลย

    ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่างสักท่านหนึ่งสิ

    ผู้ฟัง ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ

    ท่านอาจารย์ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ทราบไหมว่าท่านบำเพ็ญบารมีกี่แสน กัปป์ หรือว่ากี่กัปป์ หรือว่ากี่พัน ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม ก่อนนั้นถ้าไม่มีการฟังเลย ท่านอัญญาโกณทัญญะ มานั่งฟังเฉยๆ จะมีการรู้แจ้งอริยสัจธรรมไหม

    ผู้ฟัง ไม่รู้ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นฟังเผินได้ไหม ว่าใครก็ตามกำลังฟัง สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ แต่ต้องรู้ว่าเพราะอะไร ไม่ใช่ว่าทุกคนมาฟังแล้ว ก็รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่จะรู้แจ้งสัจจธรรมเมื่อไหร่ เป็นอนัตตา ธรรมทั้งหมดทุกคำ ต้องน้อมนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เป็นอนัตตาไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรมแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ถ้าเป็นความเห็นถูกต้อง ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าเป็นความเห็นผิดก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ ถ้าเป็นความรู้ก็เป็นปัญญา ถ้าเป็นความไม่รู้ก็เป็นอวิชชา ความรู้ก็เป็นวิชชา เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่อเข้าใจ เข้าใจแค่ไหนใครรู้

    ผู้ฟัง ตัวเราเอง

    ท่านอาจารย์ ตัวเราเองรู้ เพราะฉะนั้นก็จะรู้ได้ว่าฟังอย่างนี้ แล้วจะไปปฏิบัติอะไร อะไรไปปฏิบัติ ก็ความไม่รู้กับเราไปปฏิบัติ

    ผู้ฟัง ทางโลกที่เขาทำกันนี่คือผิดหมด

    ท่านอาจารย์ ทางโลกไหน

    ผู้ฟัง ที่ไปเข้าวัดแล้วก็

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้แต่ละคำว่า เขาฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัส ให้ใครไปทำอะไรหรือเปล่า มีสำนักปฏิบัติในครั้งพุทธกาลไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ แล้วใครมาแนะนำให้ไปสำนักปฏิบัติ

    ผู้ฟัง รุ่นหลังๆ

    ท่านอาจารย์ แล้วเขาฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าใจหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ถึงได้มีสำนักปฏิบัติซึ่งทำลายคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    อ.อรรณพ ใช่ ก็ไปทำ ไปจดจ้อง ตามความเข้าใจกัน

    ท่านอาจารย์ ไปจดจ้อง เพราะฉะนั้นขณะนั้นก็เป็นความไม่รู้จริงจดจ้อง ไม่เห็นความเป็นอนัตตาเลยว่าขณะนี้ ความเข้าใจไม่ใช่เราก็ไม่รู้ จนกว่าจะฟังมั่นคงว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา และไม่ใช่แต่เฉพาะปัญญา หรือความเข้าใจหรือความไม่รู้ ทุกอย่าง ไม่ใช่ให้เว้นนุ้นเว้นนี่ และคิดว่าเรารู้แล้ว แล้วจะไปปฏิบัติ แต่ให้รู้ว่าปฏิบัติจะเกิดมีได้โดยความเป็นอนัตตาเท่านั้น ตราบใดที่ยังเป็นเรา แล้วก็อยาก แล้วก็อยากปฏิบัติ ก็ไม่ได้เข้าใจว่าไม่มีเราแต่เป็นธรรม จนกว่าธรรมจะปฏิบัติหน้าที่ หรือกิจการงานของธรรมแต่ละ ๑ แต่ละ ๑ ซึ่งไม่ใช่เรา ต้องความมั่นคงในความไม่ใช่เราเพิ่มขึ้น และต้องมีความมั่นคงกับเพื่อละไม่ใช่เพื่อได้ หรือเพื่อทำ ที่จะไปปฏิบัติ ต้องการได้อะไรใช่ไหม

    อ.อรรณพ ต้องการ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่การเข้าใจธรรม เพราะเป็นเราที่จะได้ ไม่ใช่เป็นการเข้าใจธรรมเดี๋ยวนี้ค่อยๆ ฟังก็ค่อยๆ เข้าใจ แล้วก็ค่อยๆ ละความไม่รู้ และก็รู้ตรงว่าขณะไหนเมื่อไร ความเข้าใจมั่นคง พอที่สติสัมปชัญญะจะเกิด โดยความเป็นอนัตตากำลังเข้าใจลักษณะของธรรมถึงเฉพาะ ๑ ตรงตามที่ได้ฟัง นั้นคือปฏิบัติ เพราะฉะนั้นคนไทย ได้ยินคำว่าปฏิบัติก็เข้าใจว่าทำ ก็มีสำนักวิปัสสนา ทำวิปัสสนาด้วยความเป็นเราทั้งหมด ด้วยความไม่รู้ทั้งหมด แต่ปฏิปัติเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง สูงกว่าคขั้เพียงฟังเข้าใจ เพราะว่าขั้นเข้าใจระดับนี้ เข้าใจเรื่องราว เห็นเกิดแล้วดับ แต่ขณะนี้ก็ไม่ได้รู้ตรงเห็นที่จะประจักษ์การเกิดของเห็น และการดับของเห็น เพราะฉะนั้นต้องเป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งจะเกิดไม่ได้เลย ถ้าไม่มีความเข้าใจอย่างมั่นคง ซึ่งใช้คำว่าปริยัติและสัจจญาณ ไม่ใช่อยู่ดีๆ สติสัมปชัญญะเกิด อยู่ดีๆ ใครจะไปทำสตินี่ก็ผิดหมดอยู่ดีๆ ใครจะไปทำสมาธิ โดยไม่รู้ว่าขณะที่กำลังคิดอย่างนั้น ก็มีสมาธิืแต่เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด เพราะว่าเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ไม่น้อมพระทัยที่จะทรงแสดง ในขณะที่เห็นความลึกซึ้ง อย่างยิ่งของธรรมแต่ไม่รู้ว่าคนที่มีโอกาสได้ฟัง สามารถเข้าใจได้ ด้วยการที่พระองค์สะสมบารมีถึงความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะมีคำแต่ละคำ ซึ่งเป็นปัญญาทำให้คนฟังเกิดความเห็นถูกความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นจึงได้ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจ ไม่ใช่ให้ไปปฏิบัติ เพราะฉะนั้นความรู้ขั้นปริยัติมั่นคงหรือยัง ถ้ามั่นคงคือไม่ไป ข้อสำคัญที่สุดไปทำอะไรก็ไม่รู้ คนที่เคยไปแล้วบอกได้เลย ไปทำอะไรมาบ้าง รู้อะไรไม่รู้เลย แต่ทำ นั่งเดิน แล้วอย่างไร มีหรือที่จะให้นั่งให้เดินแล้วจะรู้อะไร อยากนั่งหรือเปล่า อยากเดินหรือเปล่า ถ้าไม่อยากเดินทำไม ถ้าไม่อยากนั่งทำไม เพราะไม่รู้ความจริง ของแต่ละ ๑ ซึ่งเป็นธรรม ต้องแยกโดยขั้นฟังจนไม่เหลือจริงๆ เป็นธรรมซึ่งเกิดดับเร็วสุดที่จะประมาณได้ ขณะนี้อยู่ในโลกของความจำ เพราะว่าสภาพจำเกิดกับจิตทุกขณะ จิตไม่ได้จำ แต่จิตรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นสัญญาเจตสิก คือสภาพจำเกิดทุกขณะจิตปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น แต่ไม่รู้เลยใช่ไหม เห็นก็ไม่รู้ว่าเป็นจิต จำก็ไม่รู้ว่าไม่ใช่เรา เพราะเห็นกับจำเกิดพร้อมกัน พอเห็นก็จำเลย เพราะฉะนั้นอยู่ในโลกของความจำตั้งแต่เกิดจนตายหรือเปล่า แล้วเมื่อไหร่จะรู้ว่าจำไม่ใช่เห็น แค่นี้จะปฏิบัติอะไร จะไปปฏิบัติอย่างไร ให้เกิดความเข้าใจอย่างนี้ได้ นอกจากการฟังนั่นเอง ทุกขณะที่ความเข้าใจเกิดขึ้นและดับไป ขณะนั้นแหละสะสมความเข้าใจขึ้น เมื่อมีความเข้าใจอีกก็เพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า ตั้งกายตรง ดำรงสติ หายใจเข้ารู้ออกรู้ ยังไม่เข้าใจตรงประเด็นนี้ อยากให้แสดงตรงจุดนี้

    ท่านอาจารย์ เอามาจากตอนไหนของพระไตรปิฎก

    ผู้ฟัง อันนี้จำไม่ได้จริงๆ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นพระธรรม ที่ทรงแสดงมากกว่านั้นมาก ที่ไม่มีตั้งกายตรงดำรงสติมั่น รู้ลมหายใจมีไหม
    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ แล้วทำไมจะมาสงสัยอันนี้ เพราะปกติ คนอินเดียก็นั่งขัดสมาธิเป็นท่าที่สบายที่สุด แล้วก็ทำไมถึงพูดเรื่องลมหายใจ ในเมื่อที่อื่นก็พูดเรื่องอื่น ทำไมไม่สนใจเรื่องอื่นที่พูด แต่มาสนใจเรื่องลมหายใจ

    ผู้ฟัง ก็น่าจะเป็นสภาวะที่ปรากฏเดี๋ยวนี้

    ท่านอาจารย์ จริงหรือ

    ผู้ฟัง ที่พอจะเห็นได้

    ท่านอาจารย์ จริงหรือ

    ผู้ฟัง นี่แหละ

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม ต้องเป็นคนตรง เวลาอ่านพระไตรปิฎก ต้องรู้เลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความจริงของทุกอย่าง สำหรับทุกอัธยาศัยของแต่ละบุคคล แต่ไม่มีสักคำว่าให้ทำอย่างนั้น แม้แต่มหาสติปัฎฐานสูตร ภิกษุไปแล้วสู่ป่า ไม่ใช่ให้ไปป่าภิกษุจะไปไหน ไปบ้านหรือ ก็ไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นคฤหัสถ์อ่านคำนี้แล้วไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ก็จะไปป่าอย่างภิกษุ แล้วก็จะไปตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 188
    25 พ.ค. 2568