สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ ๖๑
วันจันทร์ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๔๕
ผู้ฟัง เรียนถามว่าฌานลาภีบุคคลเวลาเข้าฌานแล้วคือเกิดแต่ชวนะๆ ๆ ได้ไม่รู้จบใช่ไหม ถึงได้ไม่มีตทาลัมพนะถูกไหม และขอถามต่อเนื่อง ในกรณีที่เป็นกามบุคคลต้องเป็นอติปริตรตารมณ์ที่ตรงข้ามกับปริตรตารมณ์นั้นใช่ไหม จึงจะไปที่ตทาลัมพนะอีก ๒ ขณะ แม้จะเป็นพระอริยบุคคลบุคคล ถ้าอารมณ์นั้นชัดเจนก็ต้องไปลงที่ตทาลัมพนะด้วยใช่ไหม ขอคำถามเรื่องฌาณก่อน
อ.สุภีร์ ฌานลาภีบุคคล คำว่า "ฌานลาภี" ลาภีแปลว่าว่าบุคคลผู้ที่ได้ฌาน ก็คือฌาน ฌานลาภีบุคคลคือบุคคลผู้ที่ได้ฌาน สามารถที่จะเข้าฌานได้ตลอดเท่าที่ท่านต้องการ แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน เพราะว่าในโลกมนุษย์อาหารสามารถดำรงชีวิตได้เพียง ๗ วันเท่านั้น ก็คือสามารถเข้าได้สูงสุดไม่เกิน ๗ วัน แต่อันนี้สำหรับบุคคลท่านที่ชำนาญสามารถที่จะเข้าฌานตอนไหนก็ได้เรียกว่าบุคคลที่มีวสี สำหรับอารมณ์ของฌานเป็นอารมณ์ที่เป็นบัญญัติเรียกว่านิมิต นิมิตอารมณ์ อย่างเช่นบุคคลที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์อย่างนี้ ไม่ใช่ว่าเอาดินหรือว่าตัวดินที่เราเห็นนี้เป็นอารมณ์ แต่ว่าเอานิมิตของดินเป็นอารมณ์ ฉะนั้นอารมณ์ของฌานนี้เป็นบัญญัติ ฉะนั้นจึงไม่มีการสืบต่อไปถึงตทาลัมพนะ เพราะว่าตทาลัมพนะต้องเป็นการรู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเท่านั้น คำถามที่ ๒
ผู้ฟัง คำถามที่ ๒ คือว่าในกรณีที่เป็นพระอริยบุคคลหรือว่าไม่เป็นพระอริยบุคคล แต่ในเมื่อเกิดในกามภูมิ ถ้าอารมณ์นั้นยิ่งใหญ่หรือว่าชัดเจน ถ้าถึงจะไปถึงตทาลัมพนะใช่ไหม ที่คำถามต่อเนื่องที่ว่าถึงแม้เป็นพระอริยเจ้าก็ต้องมีตทาลัมพนะก็เพราะว่าเป็นอย่างนี้ใช่หรือไม่ เนื่องจากว่าอารมณ์นั้นยิ่งใหญ่จึงเหลือไป ๒ ขณะ
อ.สุภีร์ อันนี้เป็นเรื่องของอารมณ์ ๔ อารมณ์ที่สามารถรู้ได้ทางวิถีต่างๆ คือถ้าเป็นอารมณ์ ๔ อารมณ์นี้ เราเรียกชื่อตามวิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้ทางปัญจทวารก็คือ ๑ อติปริตรตารมณ์ "อติ" ก็คืออย่างยิ่ง "ปริตร" ก็คือเล็กน้อย อติปริตรตารมณ์ก็คืออารมณ์ที่เล็กน้อยอย่างยิ่ง หมายถึง เมื่อมีอารมณ์กระทบกับปสาทแล้วไม่มีวิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นเลย อันนี้เรียกว่าอติปริตรตารมณ์ อันที่ ๒ ก็คือปริตรตารมณ์ อารมณ์ที่เล็กน้อยเมื่อมีอารมณ์กระทบกับทวารก็คือปสาทรูปเรียบร้อยแล้ว อย่างเช่น ถ้าเป็นทวารตามีรูปารมณ์ก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตากระทบกับทวาร คือจักขุปสาทแล้วมีวิถีจิตเกิดขึ้นถึงโวฏฐัพพนจิตเท่านั้น ไม่ขึ้นชวนะเพราะเหตุว่าตอนที่ภวังคจลนะนั้น ภวังค์ไหวหลายครั้ง ฉะนั้นอายุของรูปก็หมดไปด้วย เพราะว่ารูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เมื่อภวังค์ไหวหลายครั้งรูปก็หมดอายุไปด้วย ฉะนั้นจึงไม่ถึงชวนวิถีถึงแค่โวฏฐัพพนวิถีเป็นปริตรตารมณ์ ที่ชื่อว่าปริตรตารมณ์หรือว่าอารมณ์เล็กน้อยเพราะว่านับตามวิถีของจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น
ต่อไปเป็นมหันตารมณ์ วิถีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นถึงชวนวิถีจนจบชวนะ อันนี้ก็นับอารมณ์นี้ตามวิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นี้ ก็เลยได้ชื่อว่ามหันตารมณ์อารมณ์ที่เป็นใหญ่หรือว่าชัดเจน ส่วนอารมณ์สุดท้ายก็คืออติมหันตารมณ์ก็คืออารมณ์ที่ใหญ่มาก หรือว่าชัดเจนมากก็จะทำให้รู้จนถึงตทาลัมพนวิถี เรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ ๔ อารมณ์ทางปัญจทวาร แต่ถ้าเป็นทางมโนทวารมี ๒ อารมณ์ คือวิภูตารมณ์กับอวิภูตารมณ์
อวิภูตารมณ์ก็คืออารมณ์ที่ไม่ชัดเจนอันนี้ถึงชวนวิถี ส่วนวิภูตารมณ์นี้อารมณ์ที่ชัดเจนก็ถึงตทาลัมพนวิถี ถ้าเป็นทางมโนทวารนี้เรียกอารมณ์เป็น ๒ อารมณ์ก็คือ วิภูตารมณ์กับอวิภูตารมณ์ ถ้าเป็นทางปัญจทวารก็เรียก ๔ ชื่อก็คือ อติปริตรตารมณ์ ปริตรตารมณ์ มหันตารมณ์ และอติมหันตารมณ์ ชื่ออารมณ์เหล่านี้เรียกตามวิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นว่ามากหรือเปล่า ถ้ามากก็ชัดเจนมาก ไม่ใช่ว่าฟ้าผ่าแล้วจะชัดเจนถ้านอนอยู่บนบ้านแล้วก็ฝนตกฟ้าผ่า มีเสียงมากระทบโสตปสาท ถ้าไม่มีจิตหรือว่าวิถีจิตเกิดขึ้นรู้เสียงนั้นเลย เสียงนั้นก็เป็นอติปริตรตารมณ์
อ.กฤษณา ท่านผู้ร่วมสนทนาคงได้ทราบศัพท์หลายๆ ศัพท์ อาจจะค่อนข้างยากไปสักหน่อยสำหรับท่านที่เพิ่งมาร่วมสนทนาใหม่ๆ แต่ก็ไม่เป็นไร เราจะค่อยๆ สนทนากันไป ทราบไว้ก่อนล่วงหน้าก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยๆ ทำความเข้าใจไป สำหรับในวันนี้ก็ตั้งใจว่าจะสนทนากันเรื่องของกรรม ขอกลับมาที่เจตนาเจตสิกที่เป็นสหชาตกัมมะ และเป็นนานักขณิกกัมมะ และที่เป็นอวิชชาเป็นปัจจัยให้แก่สังขารซึ่งเป็นเจตนาเจตสิกเป็นตัวกรรมจะเป็นปัจจัยอย่างไร ก็ขออาจารย์สุภีร์กลับมาที่สหชาตกัมมะ นานักขณิกกัมมะ และอภิสังขารทั้ง ๓
อ.สุภีร์ เจตนานั่นเองเป็นกรรม ตอนนี้พูดถึงเรื่องกรรมก็คือพูดถึงเจตนาเจตสิกนั่นเอง ฉะนั้นเมื่อเจตนาเจตสิกเกิดขึ้นเรียกว่ากรรมทั้งนั้น เพราะว่าเจตนานั้นเป็นกรรม เมื่อเจตนาเกิดขึ้นเมื่อใดเรียกว่าเป็นกรรมทั้งนั้น และเจตนาเจตสิกนี้เป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท ฉะนั้นก็มีกรรมเกิดกับจิตทุกประเภทด้วยเรียกว่าสหชาตกัมมะ "สหะ" แปลว่าร่วมกัน "ชาตะ" แปลว่าเกิด สหชาตกัมมะก็คือกรรมที่เกิดร่วมกับจิตทุกประเภท อันนี้ก็คือเจตนาเจตสิกนั่นเอง เพราะเหตุว่าเจตนาเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ฉะนั้นจิตทุกๆ ประเภทก็จะมีกรรมชนิดนี้เรียกว่าสหชาตกัมมะ ถ้าว่าโดยปัจจัยที่เจตนาเจตสิกเป็นปัจจัยให้จิต และเจตสิกอื่นๆ ก็เรียกว่าสหชาตกัมมปัจจัยนั่นเอง และก็มีกรรมอีกประการหนึ่งก็คือกรรม หรือว่าเจตนานี้ที่เกิดกับกุศล และอกุศลที่จะสามารถให้ผลต่อไปในอนาคตได้ในจิตต่อๆ ไปได้ เพราะเหตุว่าในชวนะถ้าเป็นกุศลหรืออกุศลที่ไม่มีกำลังก็ไม่ให้ผล อย่างเช่นโลภมูลจิตที่เกิดขึ้น แล้วก็ล้างหน้าล้างตาอะไรอย่างนี้ ธรรมดาอันนี้ไม่มีการให้ผลเพราะว่าเป็นโลภะหรือว่าเป็นอกุศลที่ไม่มีกำลัง เป็นเพียงการสะสมสืบต่อไปเรื่อยๆ เมื่อมีกำลังมากขึ้นจนสามารถล่วงอกุศลกรรมบถหรือว่าไม่ล่วงกุศลกรรมบถก็ตาม และทำอกุศลกรรมบถที่ไม่ครบองค์อันนี้ก็สามารถให้ผลได้เช่นเดียวกัน
สำหรับกุศลหรืออกุศลที่สามารถให้ผลในกาลต่อๆ ไป หรือว่าให้ผลในจิตต่อๆ ไปได้เรียกว่านานักขณิกกัมมะ กรรมที่ให้ผลในจิตต่างขณะออกไป นานักขณิกกัมมะก็มาจากคำว่า "นานา" แปลว่าต่างกัน "ขณิก" ก็คือในขณะ นานักขณิกกัมมะก็คือเจตนาที่เกิดกับกุศลและอกุศลที่จะให้ได้รับวิบากต่อไปในจิตที่ต่างขณะกันออกไป ไม่ใช่เป็นสหชาตกัมมะเพราะเหตุว่าสหชาตกรรมนี้กล่าวถึงเจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกประเภทเลย ซึ่งนานักขณิกกัมมะนี่เองเรียกว่าอภิสังขาร เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าอภิสังขารเพราะว่าปรุงแต่งอย่างยิ่ง "สังขาร" แปลว่าปรุงแต่ง "อภิ" แปลว่าอย่างยิ่ง ปรุงแต่งอย่างยิ่งคืออะไร ก็คือปรุงแต่งผลของกุศลกรรม และอกุศลกรรมนี้ให้ได้รับวิบากต่อไปในอนาคต หรือว่าให้ได้รับรูปชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กัมมชรูป รูปที่เกิดจากกรรมเรียกว่าอภิสังขารหมายถึงการปรุงแต่งอย่างยิ่ง
คำว่าสังขารที่เราสนทนากันมาก็มีหลายคำ มีสังขารธรรม มีสังขารขันธ์ และวันนี้ก็เพิ่ม อภิสังขาร สังขารธรรมก็คือธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งๆ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป อันนี้เรียกว่าสังขารธรรมได้แก่ จิต เจตสิก และรูป ส่วนสังขารธรรมทั้ง ๓ นี้เองก็จำแนกเป็นขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ซึ่งสังขารขันธ์ก็ได้แก่เจตสิก ๕๐ ประเภท ยกเว้นเวทนา และสัญญา ก็รวมเจตนาด้วยเป็น ๑ ในสังขารขันธ์ ฉะนั้นทุกท่านก็จะค่อยๆ เรียงกันมาว่ามีสังขารธรรมนี้ครอบอยู่แล้วก็ลงมาที่สังขารขันธ์ ซึ่งได้แก่เจตสิก ๕๐ ประเภท ต่อมาก็เป็นอภิสังขารซึ่งได้แก่เจตนาเจตสิก ซึ่งเป็น ๑ ในสังขารขันธ์นั่นเอง นำมาเฉพาะเจตนาเจตสิกหนึ่งในสังขารขันธ์
ผัสสเจตสิกนี้ก็เป็นสังขารขันธ์เหมือนกันแต่ไม่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าผัสสเจตสิกทำหน้าที่กระทบอารมณ์ พอกระทบเสร็จแล้วดับไป ไม่ได้กระทำหน้าที่ปรุงแต่งให้วิบากหรือว่ากัมมชรูปเกิด แต่ถ้าเป็นเจตนาที่เกิดกับกุศลและอกุศลที่จะให้ผลได้ ปรุงแต่งอย่างยิ่ง โดยจะทำให้วิบากหรือกัมมชรูปเกิด ฉะนั้นจึงชื่อว่าอภิสังขาร ถ้าเป็นเจตสิกประการอื่นๆ อย่างเช่นโทสะนี้ก็ไม่เป็นอภิสังขาร ซึ่งโทสะมีลักษณะประทุษร้ายต่ออารมณ์ ประทุษร้ายเสร็จแล้วดับไป ถ้ามีเจตนาที่จะกระทำกรรมเพราะว่ามีโทสะนั้นเป็นมูลจึงจะสามารถที่จะเป็นอภิสังขารได้ แต่ถ้าเป็นตัวโทสะเฉยๆ และก็ไม่มีเจตนาที่จะทำกรรมที่รุนแรงนี้จะไม่เป็นอภิสังขารเลย จะเป็นแค่การประทุษร้ายอารมณ์แล้วก็ดับไป เหมือนเราเดินเข้าไปในบ้านเห็นบ้านสกปรกชอบใจไหม ไม่ชอบใจใช่ไหม เป็นโทสมูลจิตให้ผลอะไร ไม่ได้ผลเลย เพราะเหตุว่าไม่ได้เป็นอภิสังขารจนกว่าจะมีเจตนาที่จะประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น หรือว่าทำให้คนอื่นเสียประโยชน์ เบียดเบียนคนอื่น อันนี้จึงจะเป็นอภิสังขารคือการปรุงแต่งอย่างยิ่ง
โลภะในชีวิตประจำวันก็มีเยอะใช่ไหม แต่โลภะนั้นไม่ได้เป็นอภิสังขารเลย จนกว่าจะมีเจตนาที่จะเบียดเบียนคนอื่น หรือว่าหาวิธีที่จะได้สิ่งนั้นมาด้วยวิธีการที่ทุจริตด้วยโลภะที่เป็นมูล ฉะนั้น โลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี เป็นมูลเท่านั้น แต่ว่าที่จะเป็นอภิสังขารจริงๆ ก็คือเจตนาเจตสิกที่เกิดกับมูลเหล่านั้นนั่นเอง จึงจะเป็นการปรุงแต่งอย่างยิ่งเรียกว่าอภิสังขาร ซึ่งอภิสังขารนี้ก็มีอยู่ ๓ ประเภทก็คือ ๑ ปุญญาภิสังขาร ๒ อปุญญาภิสังขาร และ ๓ อาเนญชาภิสังขาร โดยสรุปก็คือทั้ง ๓ ชื่อนี้ก็คือการกระทำกุศลและอกุศลที่จะทำให้ได้รับผลต่อไปในอนาคตนั่นเอง ทั้ง ๓ อย่าง ถ้าเป็นอปุญญาภิสังขารก็คืออกุศลนั่นเองที่จะทำให้เกิดผลต่อไปในอนาคต ส่วนปุญญาภิสังขารก็ได้แก่การทำกุศลที่เกี่ยวข้องกับรูป กุศลที่เกี่ยวข้องกับรูปก็มี ๒ ประเภท ก็คือมหากุศลก็คือกุศลในชีวิตประจำวันของเรากับรูปาวจรกุศล ส่วนอาเนชาภิสังขารนี้เป็นกุศลที่ไม่เกี่ยวข้องกับรูปได้แก่ อรูปาวจรกุศล สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นเหตุให้ปรุงแต่งวิบาก และกัมมชรูปที่จะเกิดต่อไปในอนาคตตามความเหมาะสม ถ้าเป็นอรูปาวจรกุศลก็จะไม่ให้เกิดรูป ก็จะมีความละเอียดต่อไป
ผู้ฟัง ในกรณีที่เป็นปุญญาภิสังขารซึ่งเกี่ยวข้องกับรูปจะกล่าวได้ไหมว่าเป็นกุศลที่ไม่ก่อให้เกิดปัญญา ซึ่งจะสอดคล้องกับปฏิจสมุปบาท
อ.สุภีร์ กุศลทุกประการถ้าเป็นรูปาวจรกุศลนี้ต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ รูปาวจรกุศลต้องประกอบด้วยปัญญาเสมอ แต่ถ้าเป็นมหากุศลนี้มี ๘ ประเภท มีทั้งประกอบด้วยปัญญาด้วย และไม่ประกอบด้วยปัญญาด้วย ฉะนั้น ทั้งที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบด้วยปัญญาก็เป็นอภิสังขารทั้งนั้น กุศลที่ไม่เป็นอภิสังขารก็คือกุศลที่เป็นโลกุตรกุศลเท่านั้น กุศลที่ไม่เป็นอภิสังขารมีอย่างเดียวก็คือโลกุตรกุศลเท่านั้น นอกจากนั้นกุศลที่เป็นญาณสัมปยุตต์ก็คือมีปัญญาประกอบร่วมด้วย กุศลที่ประกอบด้วยปัญญานั้นสามารถให้ผลปฏิสนธิได้ กุศลที่ไม่สามารถให้ปฏิสนธิได้ก็คือโลกุตรกุศล เพราะว่าให้ผลไม่มีระหว่างก็คือให้โลกุตรวิบากคือผลจิตต่อไปในชวนะเดียวกันนั่นเอง
ผู้ฟัง อยากเรียนถามว่าในปุญญาภิสังขารนั้นหมายถึงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ใช่ไหม
อ.สุภีร์ ไม่ใช่ทั้งหมด ก็คือบุญกิริยาวัตถุนี้เป็นส่วนหนึ่งของปุญญาภิสังขารเท่านั้นเพราะเหตุว่าบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ นี้เกิดจากมหากุศลทั้ง ๘ ประการที่เกิดกิริยาอาการที่กระทำที่เป็นบุญเรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อันนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ต้องเพิ่มรูปาวจรกุศลเข้ามาด้วยจึงจะครบปุญญาภิสังขาร ฉะนั้นถ้ากล่าวถึงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ก็ได้ไม่ครบ ก็คือได้เฉพาะมหากุศล ๘ ประการเท่านั้นเอง ทำไมจึงเรียกว่ามหากุศลก็เพราะว่าเป็นไปในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี่เอง เพราะว่ากุศลนี้สามารถเกิดได้หลากหลายทาง คำว่ามหาก็คือมากทางหรือว่าหลายอารมณ์นั่นเอง เกิดทางตาก็ได้ เกิดทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็ได้ เกิดด้วยการให้ทานก็ได้ รักษาศีลก็ได้ เจริญภาวนาก็ได้ มีเมตตากับคนอื่นก็ได้ หรือว่ากระทำสิ่งต่างๆ มากมายเลย ฉะนั้นจึงชื่อว่ามหากุศล แต่ถ้าเป็นรูปาวจรกุศลนี้เกิดได้ทวารเดียว และมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยก็คือมีอารมณ์เป็นนิมิต และก็เกิดได้ทางมโนทวารเท่านั้น
ผู้ฟัง เรียนถามต่อเนื่องว่าถ้าเพื่อฟังธรรม ในขณะที่ฟังธรรมแล้วน้อมพิจารณาตามนี้จะอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หรือไม่ หรือว่าอยู่ในอันไหนที่จะจัดเป็นปุญญาภิสังขารจากที่เมื่อครู่กล่าวว่าปุญญาภิสังขารประกอบด้วยมหากุศล และก็รูปาวจรกุศล ในมหากุศลนั้นก็คือมีบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ซึ่งประกอบด้วย ไม่มีปัญญาแล้วก็มีปัญญาก็มีใช่ไหม อย่างเช่นการฟังธรรมก็ต้องมีปัญญาต่างระดับ
อ.สุภีร์ ทำกุศลประการใดประการหนึ่งก็คือถ้ากุศลจะเกิดก็คือเกิดในมหากุศลทั้ง ๘ ประการนั่นเอง จิตที่เป็นกุศลนี้มีมากมาย กุศลขั้นนิดหน่อยก็มี เล็กๆ น้อยๆ ก็มี แต่ทำไมจึงเป็นมหากุศลแค่ ๘ ประเภทเท่านั้นเอง จิตที่เป็นกุศลมีมากมายเยอะแยะที่เป็นมหากุศล ๘ ประเภท เพราะว่าจำแนกโดยเวทนา จำแนกโดยญาณสัมประยุตต์ และจำแนกโดยสสังขาริก และอสังขาริกเท่านั้น แต่ถ้าโดยความละเอียดแล้วมีมากจนนับไม่ถ้วน แต่เมื่อจำแนกโดยว่าถ้าเป็นจิตที่เป็นกุศลที่เกิดกับโสมนัสเวทนา และเป็นญาณสัมประยุตต์ เป็นอสังขาริก จะละเอียดขนาดไหนก็ตามเป็นมหากุศลประเภทที่ ๑ อย่างนี้ก็คือมีโสมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย เป็นญาณะสัมปะยุตต์เป็นอสังหาริก แต่ลักษณะของกุศลประเภทนี้มีเยอะมาก ฉะนั้น ระดับของปัญญาหรือว่าระดับของโสมนัสที่เกิดขึ้นกับมหากุศลนี้ก็แตกต่างกัน แต่ว่าที่แยกเป็น ๘ เพราะเหตุว่าจำแนกโดยเวทนา จำแนกโดยญาณสัมประยุตต์ ญาณวิปยุตต์ แล้วก็จำแนกโดยอสังขาริก หรือสสังขาริกเท่านั้น
ผู้ฟัง ขอความกรุณาอาจารย์สุภีร์แยกศัพท์สังขารอีกครั้ง
อ.สุภีร์ สังขาระก็มาจากคำว่า "สัง" แปลว่าด้วยดี หรือว่าโดยชอบโดยถูกต้อง "การะ" แปลว่ากระทำๆ ให้พร้อมขึ้น หรือว่ากระทำด้วยดี เพื่อให้สิ่งนั้นมีขึ้นก็คือสำเร็จรูปเป็นสังขาระ ที่ภาษาไทยเราเอามาใช้คำว่า ปรุงแต่ง ซึ่งก็ตรงความหมายคือกระทำให้มีสิ่งนั้นเกิดขึ้น ก็คือมาจากคำว่า"สัง" แปลว่าพร้อม หรือว่าด้วยดี "การะ" แปลว่ากระทำด้วยวิธีการ ทางไวยากรณ์ก็จะสำเร็จรูปเป็นสังขาระแปลว่าปรุงแต่ง เช่น การเห็นขณะนี้มีสิ่งที่ปรุงแต่งมากมายก็คือ มีสิ่งที่ปรากฏทางตามีจักขุปสาทรูป และก็มีเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยอย่างนี้เป็นต้น เรียกว่าสังขาระสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง
อ.กฤษณา สังขารสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ถ้าอภิสังขารก็คือปรุงแต่งอย่างยิ่ง ซึ่งก็คือเจตนาเจตสิกซึ่งเป็นกรรมนั่นเอง ซึ่งเจตนาเจตสิกที่เป็นกรรมที่ว่าเกิดกับจิตทุกดวงที่เป็นสหชาตกัมมะนั้น ก็ยังเป็นกรรมที่ไม่สามารถที่จะให้ผลในขณะเดียวกับที่เจตนานั้นเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อกรรมที่ดับไปแล้วนั้นสามารถให้ผลของตนเกิดขึ้นในขณะที่ต่างกัน คือคนละขณะกับที่ตนเกิดก็เรียกว่านานักขณิกกัมมะ กรรมที่ทำไว้และดับไปแล้วนั้นก็เป็นคนละขณะกับวิบากนั่นเอง เจตนาที่เกิดพร้อมกับจิตที่เป็นอกุศลจิตรึกุศลจิตจึงจะเป็นนานักขณิกกัมมะ อกุศลเจตนาหรือกุศลเจตนาเป็นกรรมที่จะให้ผลคือวิบากในข้างหน้า ซึ่งเมื่อพูดถึงเรื่องกรรมก็มีกรรมอยู่หลายๆ ประเภทก็จะขออาจารย์ประเชิญได้กล่าวถึงประเภทต่างๆ ของกรรม ตั้งแต่กรรมที่จำแนกโดยตามเวลาที่ให้ผลด้วย
อ.ประเชิญ วันนี้เราได้ทราบชื่อที่เป็นภาษาบาลีมากมาย ซึ่งจริงๆ แล้วก็อย่างที่เรียนให้ทราบว่า เป็นชีวิตของเราที่ต้องค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เรียนรู้ไปก็จะคุ้นเคย ซึ่งจะสนทนากันต่อไป ก็เป็นเรื่องชื่อใหม่ๆ ซึ่งท่านหลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่จริงๆ แล้วก็คือชีวิตความเป็นไปของชีวิตนั่นเอง อย่างที่อาจารย์กฤษณา และอาจารย์สุภีร์ได้กล่าวแล้วว่า เมื่อมีการทำกรรมคือมีเจตนาที่จะกระทำกรรมทางกาย ทางวาจาหรือทางใจ ไม่จบเพียงแค่นั้น เมื่อทำขึ้นแล้วก็สามารถที่จะมีผลที่ต่างๆ กันออกไปตามโอกาส ตามคติ ตามกาล ตามปโยคะด้วย อย่างเช่นเมื่อทำลงไปแล้วจะให้ผลตามเวลา ซึ่งกรรมบางประเภทจะให้ผลทันตาเห็น คือให้เห็นในชาตินี้เลย เมื่อทำแล้วก็จะได้รับในชาตินี้ ภาษาบาลีก็เรียกว่า ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันชาติ
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 061
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 062
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 063
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 064
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 065
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 066
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 067
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 068
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 069
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 070
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 071
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 072
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 073
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 074
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 075
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 076
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 077
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 078
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 079
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 080
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 081
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 082
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 083
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 084
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 085
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 086
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 087
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 088
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 089
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 090
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 091
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 092
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 093
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 094
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 095
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 096
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 097
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 098
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 099
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 100
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 101
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 102
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 103
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 104
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 105***
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 106
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 107
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 108
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 109
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 110
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 111
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 112
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 113
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 114
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 115
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 116
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 117
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 118
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 119
- สนทนาธรรมที่รัฐสภา ตอนที่ 120