พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 763


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๗๖๓

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


    ท่านอาจารย์ เมื่อวันก่อนก็ถามว่า “มาที่มูลนิธิฯ เห็นอะไร?” คุณคำปั่นจะทบทวนไหม

    อ.คำปั่น ท่านอาจารย์ถามว่า “มาที่นี่เห็นอะไร?” หลายท่านก็ตอบว่า “เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา” เห็นอะไรต่างๆ มากมาย ท่านอาจารย์ก็กล่าวให้ได้คิดว่า “เห็นอะไรมามากมายแล้ว เห็นความไม่รู้บ้างหรือยัง”

    ท่านอาจารย์ เพราะได้แต่เรียกชื่อ “อวิชชา” แล้วก็บอกว่า ขณะนี้สภาพธรรมก็กำลังปรากฏ แต่อวิชชาไม่สามารถที่จะเห็นถูกเข้าใจถูกได้ จำเรื่องได้หมดเลย จำชื่อได้หมดด้วยว่า ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏแล้วก็ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ลึกยิ่งกว่านั้น ความไม่รู้อยู่ที่ไหน เห็นไหม เมื่อสักครู่นี้ก็เข้าใจแล้ว ว่าที่ไม่สามารถรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะมีธาตุหรือธรรมอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่เรา แต่กำลังไม่รู้ความจริงของสิ่งซึ่งกำลังปรากฏ เห็นเป็นคน ไม่รู้ว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ นี่คือความไม่รู้ ได้ยินเหมือนได้ยินคำ แต่ได้ยินเสียง เป็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้รู้ได้

    หมายความว่า ความไม่รู้ละเอียดมาก และมีมาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งว่า “แล้วความไม่รู้อยู่ที่ไหน” พอบอกว่าหรือรู้ว่า อยู่ที่จิต ไม่ใช่อยู่ที่ภายนอกเลย ไม่ใช่อยู่ที่ดอกไม้ รูปร่างสัญฐานอย่างนี้ ทำให้เราเข้าใจผิด ไม่รู้ความจริงว่า สิ่งนั้นเกิดดับ นั่นคือ สิ่งที่เป็นปกติของการเกิดดับสืบต่อ แต่ธาตุที่ไม่รู้หรือความไม่รู้อยู่ที่จิต เกิดกับจิต และสะสมมานานมาก

    เพราะฉะนั้น การที่จะละกิเลส ละความไม่รู้ ก็ต้องรู้ด้วยว่า ไม่รู้ที่ไหน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จะเอาความไม่รู้ที่มีอยู่มากมายมหาศาลในจิตออกได้อย่างไร นานแสนนานที่สะสมความไม่รู้ และการฟังเพียงเล็กน้อยจะไปให้หมดความไม่รู้เป็นไปไม่ได้ แต่ต้องเริ่มเข้าใจอย่างละเอียด เพราะความไม่รู้นั้นมี อยู่ที่จิตจริง แต่ไม่ต้องไปคิดถึงจิต เห็นไหมความละเอียด เพียงแต่ว่า สิ่งที่ไม่รู้แม้ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ สิ่งนั้นคือ ความไม่รู้ต้องเป็นธรรมอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่าง แต่ว่าไม่ใช่จิต นี่คือ การฟังธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยไม่หวังว่า ขณะไหนสภาพธรรมจะปรากฏ เมื่อปัญญาเข้าใจขึ้นๆ ละความไม่รู้ไปเรื่อยๆ สภาพธรรมจึงสามารถที่จะปรากฏได้ เพราะฉะนั้น อย่างนี้จึงจะตั้งจิตไว้ชอบ แล้วก็ไม่ใช่เมื่อไหร่ แต่เดี๋ยวนี้เอง เพราะถ้าไม่มีขณะนี้ ขณะไหนก็ไม่มี

    อ.คำปั่น การอบรมเจริญปัญญานี้ ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปจริงๆ จนกว่าจะทำลายกองของโมหะได้ในที่สุด

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏบ้างไหม แม้แต่ว่า อวิชชาอยู่ที่ไหน ไม่ต้องไปหา ไปหาคือ โลภะ อยากรู้ว่า อวิชชาอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น โลภะเป็นนายนานแสนนาน ไม่เคยปล่อยให้เป็นอิสระเลย เพราะฉะนั้น ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะที่เป็นอิสระชั่วคราวเวลาที่กำลังเริ่มเข้าใจธรรม เพราะเหตุว่า โลภะไม่เข้าใจ อวิชชาไม่เข้าใจ แต่ว่าขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้นพ้นจากโลภะ และอวิชชาเพียงเล็กน้อยชั่วคราว แล้วก็กลับไปเป็นธาตุของอวิชชาอีก เช่น พอได้ยินว่า “อวิชชาอยู่ที่จิต” มองไม่เห็นเลย เป็นธาตุชนิดหนึ่ง “ธาตุ” เป็นนามธรรมซึ่งเป็นความไม่รู้

    เพราะฉะนั้น จะเปลี่ยนให้เป็นความรู้ได้อย่างไรในเมื่อธาตุนั้นยังมีอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าตั้งจิตไว้ไม่ชอบก็อยากจะหาอวิชชามารู้ว่า เดี๋ยวนี้อวิชชาอยู่ที่ไหน แต่ว่า ตามความเป็นจริง แม้นามธาตุมีจริง กำลังรู้ กำลังเห็น กำลังคิด กำลังจำ กำลังชอบ ไม่ชอบ ทุกอย่าง แต่ก็ไม่รู้เลยว่า ทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธาตุจริงๆ ไม่ใช่ของใคร มีปัจจัยก็เกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ใช่ว่า “เมื่อไหร่เราจะรู้” แต่ว่า ฟังแล้วก็เข้าใจ ขณะที่เข้าใจ ก็ละความไม่รู้ และความไม่เข้าใจทีละเล็กทีละน้อย

    นี่เป็นหนทางเดียว ที่วันหนึ่งก็จะรู้ความจริง และอวิชชาความไม่รู้จะค่อยๆ หมดไปจนกระทั่งไม่เหลือเลย ถึงความเป็นพระอรหันต์ก็คือ ด้วยปัญญาที่สามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏแล้วก็กำลังฟังเรื่องของสภาพธรรม ก็ลองคิดดู ฟังเรื่องอนัตตาแต่ก็จะทำ จะหา แสดงว่า เข้าใจหรือเปล่า หรือว่าเข้าใจแค่ไหน และขณะที่กำลังต้องการ ไม่มีทางเลยที่จะรู้ธรรมที่เกิดแล้วตามความเป็นจริง แต่ถ้าเป็นปกติจะเห็นชัด ทุกอย่างตั้งแต่เช้ามา และขณะนี้ ก็เกิดขึ้นเป็นไปตามปัจจัยเป็นปกติ ไม่ต้องมีใครไปทำอะไรเลย ถ้าสามารถที่จะไม่ดิ้นรน แต่ว่าเริ่มที่จะรู้ความเป็นปกติ และการฟังที่เริ่มเข้าใจก็จะเป็นปัจจัยทำให้สามารถเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ นั้นคือ การที่สามารถที่จะรู้ธรรมตามความเป็นจริง

    พูดกันพอสมควรแล้วก็อยากจะให้พิจารณาตามความเป็นจริงทุกคน ถ้าจะอุปมาอาจจะค่อยๆ รู้ว่า ความจริงเป็นอย่างนี้หรือเปล่า เหมือนทุกคนอยู่ในห้วงน้ำใหญ่ ว่ายทุกวัน เช้า สาย บ่าย ค่ำ เที่ยงครึ่งหรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ค่อยๆ ว่ายไป แต่ก็ถูกคลื่นซัดใหญ่ (นาทีที่ ๖.๓๒ คำสลับกัน) มา ไปไหน ที่ว่ายไปข้างหน้าก็ถอยกลับไปข้างหลังอีกแล้วใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็ว่ายใหม่ ก็ฟังไปเรื่อยๆ และก็ยังไม่ถูกคลื่น อาจมีคลื่นเบาๆ ไม่แรง แต่ถ้าถูกคลื่นใหญ่ซัดก็ไปอีกแล้วใช่ไหม

    เพราะฉะนั้น เหมือนกันทุกคนหรือเปล่า แต่ที่สำคัญคือ เป็นผู้ที่มีวิริยะ ความเพียรที่รู้ว่า หนทางเดียวก็คือ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อไหร่ก็ตาม ถ้าไม่มีการที่จะค่อยๆ ก้าวไป จะถูกคลื่นซัดกลับมาอีกแรงเท่าไหร่ หายไปเท่าไหร่ มากเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้น ที่ฟังมาก็ยังไม่ได้รู้ลักษณะของเห็น นานแสนนานก็รู้ว่า เป็นสิ่งที่มีจริง เห็นอย่างนี้แหล่ะ และกำลังเห็น ฟังแค่นี้ แต่คลื่นเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันก็มาอยู่เรื่อยๆ แล้วพอถึงคลื่นใหญ่ หายไปอีกแล้ว ใช่ไหม

    เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริงคือว่า ปัญญาเกิดขึ้นน้อยมากเหมือนน้ำทีละหยด แต่เวลาที่ถูกคลื่นกระทบถอยไปถอยมาจนกระทั่งคลื่นแรงก็ทำให้ถอยกลับไป แต่ว่าไม่หมดความเพียร เพราะยังมีความมั่นใจ และเข้าใจว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่มี ซึ่งเมื่อเกิดมาแล้วต้องมีทุกคน คือ เห็นบ้าง ได้ยินบ้างแต่ไม่รู้ รู้บ้างนิดหน่อยแล้วก็ไม่รู้ เพราะเหตุว่า ไม่ใช่การประจักษ์สภาพธรรมด้วยปัญญาที่แทงตลอด แต่ว่าหนทางมี แต่ต้องเป็นผู้ที่รู้ว่า อกุศลทั้งหลายไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม แต่ว่าเป็นเครื่องปิดกั้นด้วยความไม่รู้ เพราะว่า ไม่ว่าขณะใดที่เป็นอกุศลซึ่งทุกคนก็รู้ว่ามากก็ต้องมีอวิชชาอยู่ด้วย

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของปัญญาที่จะเห็นความจริงว่า ยากแต่ก็อบรมเป็นบารมีได้ ไม่ท้อถอย และเมื่อมีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรมขณะใด สะสมความเห็นถูกคือ ความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ฟังแล้วก็วันนั้นก็ไม่รู้ วันนี้ก็เป็นอย่างนั้น แล้วก็นึกถึงแต่เรื่องอย่างนี้ตลอดไป แต่ว่า ตามความเป็นจริง “อนุสฺสตานุตฺตริยะ” การระลึกถึงที่ประเสริฐกว่าการระลึกถึงอย่างอื่น คือ ระลึกถึงธรรมที่ได้ฟังเพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ

    เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมดอุปการะโดยนัยประการต่างๆ แม้แต่ความคิดทุกคนก็คิด การระลึกทุกคนก็ระลึก โน่นบ้างนี่บ้าง เรื่องนั้นบ้างเรื่องนี้บ้าง คนนั้นบ้างคนนี้บ้าง แต่ประโยชน์อยู่ที่ไหน ถ้าไม่ระลึกถึงพระธรรมที่ได้ฟังแล้วบ่อยๆ แล้วก็ไตร่ตรองจนกระทั่งเห็นประโยชน์แล้วก็มีความมั่นคงขึ้น แต่ถ้าขณะนี้ฟังอย่างนี้แต่คิดเรื่องอื่น ก็เป็นอันว่าไม่ได้ฟังสิ่งที่กำลังฟัง เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจริงๆ ที่ว่า รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง และก็ใครก็ไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนคนอื่นได้เลย เพราะว่า เป็นธาตุแต่ละธาตุซึ่งต้องเป็นไปตามลักษณะของธาตุนั้นๆ เพราะฉะนั้น แต่ละบุคคล แต่ละ ๑ ก็ต้องมีตนเป็นที่พึ่งคือ มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง

    อ.คำปั่น สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรมเพราะว่า มีจริงๆ แล้วก็สามารถที่จะศึกษาแล้วก็เข้าใจได้ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าสิ่งที่มีจริงนั้นไม่พ้นไปจากขณะนี้เลย ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย ตั้งแต่เกิดจนตายไม่ปราศจากธรรม แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ชาติเดียวที่เป็นอย่างนี้ เป็นมานานแล้วในสังสารวัฏฏ์ อาจารย์อรรณพจะมีอะไรเพิ่มเติมไหม เกี่ยวกับความต่างกันระหว่างสภาพธรรมที่เป็นสภาพรู้กับไม่ใช่สภาพรู้

    อ.อรรณพ ก่อนที่จะได้สนใจความต่างของธรรมซึ่งต่างกัน ๒ อย่าง คือ เป็นสภาพรู้คือ นามธรรมกับสภาพที่ไม่รู้คือ เป็นรูปธรรม ก่อนที่ได้เข้าใจนี้ ท่านอาจารย์ได้ให้ความเข้าใจเบื้องต้นโดยถามว่า การศึกษา ศึกษาสิ่งที่มีจริงหรือศึกษาธรรม เพราะว่า ถ้าคนเข้าใจว่า ต้องศึกษาเป็นคำว่า ธรรมหรือเป็นคำว่า อภิธรรม หรือเป็นคำว่า ศึกษาปรมัตธรรม ก็จะดูว่า เป็นตำรับตำราหรูหราเหมือนกับเราต้องศึกษาอย่างนั้นใช่ไหม แต่จริงๆ แล้วก็คือ สิ่งที่มีจริงนั่นเอง ซึ่งเมื่อมีความเข้าใจถูก ตั้งจิตไว้ชอบตั้งแต่แรกว่า ศึกษาสิ่งที่มีจริง

    ถ้าขาดการตั้งจิตไว้ชอบว่าศึกษาอะไรแล้ว ถ้าจิตนั้นไม่ได้ตั้งไว้ชอบ เพราะไม่ชอบ เพราะต้องการศึกษาคำ ศึกษาเรื่อง เพื่อเป็นวิชาการ เพื่อเป็นศาสตร์ ขณะนั้นไม่ใช่การตั้งจิตไว้ชอบเบื้องต้น แต่ถ้ามีความตั้งจิตไว้ชอบว่า เป็นการศึกษาสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องใช้คำว่า ศึกษาธรรม ไม่ต้องใช้คำว่า ศึกษาปรมัตถธรรม อภิธรรม ปริยัติธรรมหรืออะไรทั้งสิ้น หรือพุทธศาสตร์ หรือคำอะไรอาจจะมีมาอีกมากมาย ในเรื่องของคำ และภาษาที่จะดูหรูหราอลังการ แต่จริงๆ แล้วคือ ศึกษาเพื่อเข้าใจสภาพสิ่งที่มีจริงๆ เมื่อตั้งจิตไว้ชอบเช่นนี้แล้ว ก็มีโอกาสที่จะตั้งจิตไว้ชอบที่จะใคร่ครวญในความต่างของสิ่งที่มีจริงว่า เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย แต่มี เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัยก็คือ รูป

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้คำว่า รูป คือ สิ่งที่มีจริง แต่ว่า ไม่ได้เป็นสภาพรู้แต่มีจริงๆ อย่างแข็ง อย่างเสียง มีจริงๆ แต่ไม่ได้รู้อะไร เสียงก็เกิดจากปัจจัย มีการกระทบกันของของแข็ง เสียงก็เกิดขึ้น เสียงเกิดขึ้นมีจริงๆ มีปัจจัยให้เกิดคือ อุตุ การกระทบกันของของแข็ง ไม่รู้อะไรแต่มีจริง เพราะฉะนั้น กำลังศึกษาเพื่อความเข้าใจสิ่งที่มีจริงว่า สิ่งที่มีจริงที่ไม่รู้อะไรนั้น พระองค์ใช้คำว่า “รูป” หรือ “รู-ปะ” ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง

    เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีจริงที่ไม่รู้อะไรเลยจึงใช้คำว่า “รูปธรรม” เพราะว่า ธรรรมก็คือสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงที่ไม่รู้อะไรเลย ก็คือ รูปธรรม ส่วนสภาพที่มีจริงอีกอย่างหนึ่งเป็นสภาพรู้ เกิดขึ้นแล้วรู้ อย่างเห็นขณะนี้ต้องเป็นสภาพรู้ ธรรมดาเลยเห็น โต๊ะ เก้าอี้ คนตายจะไปเห็นไหม ไม่

    เพราะฉะนั้น สภาพที่เห็นขณะนั้นคือ “นามธรรม” เพราะฉะนั้น คือ สภาพที่มีจริง แต่เกิดขึ้นต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด นี้คือ ความเข้าใจที่ตั้งจิตไว้ชอบ ซึ่งขณะที่ตั้งจิตไว้ชอบให้ทราบว่า กว่าที่ท่านจะมีการปรุงแต่งของกุศลธรรมที่ตั้งจิตไว้ชอบ เพราะว่า ต้องได้ทำกุศลที่ประกอบด้วยปัญญามาในกาลก่อนแล้วเป็นสมบัติ และสมบัตินี้จะทำให้หมุนไปที่จะทำให้เกิดในที่ๆ มีธรรมให้ฟัง ได้พบกับพระธรรมพบกับผู้ที่เข้าใจธรรมแล้วเกื้อกูลประโยชน์ แล้วก็มีโอกาสที่จะตั้งจิตไว้ชอบในการที่จะรู้ว่าศึกษาเพื่ออะไร แล้วธรรม คือสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องใช้คำก็ได้ ศึกษาสิ่งที่มีจริงแล้วก็มี การตั้งจิตไว้ชอบที่จะศึกษาเพื่อเข้าใจว่า สิ่งที่มีจริงนั้นมีความละเอียดอย่างไรบ้าง เป็นรูปธรรม เป็นนามธรรม แล้วก็ต่อไปท่านก็มีความสนใจโดยความเข้าใจถูกที่ตั้งจิตไว้ชอบว่า สภาพรู้ คือนามธรรมที่ต่างกันเป็นจิตคือ เป็นใหญ่ เป็นประธานของการรู้ คือ จิต และสภาพที่เกิดประกอบกับจิตเป็นเจตสิก แม้การตั้งจิตไว้ชอบในขั้นปริยัติก็เป็นประโยชน์ที่จะทำให้มีความเข้าใจธรรม

    เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นปรุงแต่งให้เข้าใจธรรม ขณะนั้นเป็นสมบัติ “อัตตสัมมาปณิธิ”ก็เป็นการตั้งจิตไว้ชอบ เป็นสมบัติที่จะหมุนเวียนไปที่จะทำให้ทั้งกุศลกรรม และกุศลจิตที่จะมีการสะสมกรรมไว้ในจิต และสะสมอุปนิสัยที่ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงว่า กุศลที่ประกอบด้วยปัญญานี้แหละจะเป็น “ปุพเพกตปุญญตา” ที่จะเป็นสมบัติต่อไป ที่จะทำให้หมุนมาอีก ที่จะได้เกิดในที่อันสมควร แล้วก็มีโอกาสได้ฟังพระธรรม

    เพราะฉะนั้น ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอยๆ เพราะมีเหตุ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเหตุที่ดีงามที่เป็นสมบัติ จากที่เป็นสมบัติคือ สภาพที่เป็นสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่จะนำไปสู่ความเจริญก็ตั้งแต่การสะสม อย่างขณะนี้กำลังสะสมความเข้าใจ กุศลที่ประกอบด้วยความเข้าใจนั่นแหละจะเป็นปุพเพกตปุญญตา ที่จะทำให้หมุนไป ที่จะได้เกิดในที่อันสมควร แล้วก็มีการที่จะได้พบกับสัตบุรุษ พบกับสัตบุรุษแล้วอย่างไร มีโอกาสที่จะตั้งจิตไว้ชอบ ด้วยศรัทธา ด้วยปัญญา ที่จะค่อยๆ เข้าใจ เพราะฉะนั้น กว่าที่จะเข้าใจธรรมก็ต้องมีเหตุ แต่เมื่อมีเหตุแล้ว เหตุปัจจุบันคือ การที่ตั้งจิตไว้ชอบเป็นเหตุในปัจจุบันที่จะทำให้มีการสะสมสมบัติเหล่านี้ แล้วก็หมุนเวียนไปสู่ความเจริญคือ เจริญจากการพ้นอกุศลทั้งปวง

    อ.วิชัย เรื่องของการศึกษาสภาพธรรมก็เริ่มที่จะฟังแล้วก็เข้าใจ และมีปัจจัยให้กุศลจิตเกิดที่จะน้อมไป ที่จะรู้ในลักษณะของธรรม ถ้ากล่าวเรื่องของความสงสัยคือ “วิจิกิจฉา” คือ ต้องละด้วยโสตาปัตติมรรค เพราะฉะนั้น การเริ่มที่จะพิจารณาลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งขั้นแรกก็รู้ว่ายังไม่รู้มีอีกมาก แต่ก็เริ่มมีการน้อมไปที่จะรู้ในลักษณะของสภาพธรรม ก็กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ลักษณะของความสงสัยที่เป็นความละเอียด ถ้าเพียงเริ่มรู้ในลักษณะ ความสงสัยจะเกิดขึ้นมีปัจจัยในลักษณะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้สงสัยหรือเปล่า

    อ.วิชัย ไม่สงสัย

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ไม่สงสัย “แล้วก็เห็นนี่เป็นยังไงนะ?” กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ เห็นเป็นอย่างไร

    อ.วิชัย ก็มีจิต มีนามธาตุเกิดขึ้นเห็น

    ท่านอาจารย์ เป็นชื่อ แต่ถ้าไม่เรียกชื่อ เห็นอย่างนี้แหละมี ไม่ต้องไปหาที่ไหนด้วย โดยมากพอได้ยินอะไร เรามักจะหาว่า อยู่ที่ไหน ใช่ไหม เช่น พอรู้ว่า มีอวิชชา “อวิชชาอยู่ไหน?” “ไปอยู่ที่ดอกไม้นี่หรือเปล่า?” ใช่ไหม เพราะไม่รู้ความจริงของดอกไม้ก็เข้าใจว่า อวิชชาไปอยู่ที่นั่น แต่ถ้ารู้ความจริง อวิชชาอยู่ที่ใจมากมายมหาศาล เอาออกไม่ได้เลยใช่ไหม แล้วก็ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงจะหมดสงสัยหรือ ในสิ่งที่ “นี่หรือสิ่งที่ปรากฏทางตาหรือคุณวิชัย” เพราะว่า แม้แต่จะคิด วันหนึ่งๆ ที่ได้ฟังแล้วคิดบ้างไหม ยังไม่ต้องไปสะสมความเข้าใจที่จะทำให้ละคลายว่า ด้วยความมั่นคงแค่เพียงสิ่งที่ปรากฏโดยไม่ต้องพูด

    เพราะฉะนั้น ที่ว่าน้อมไปคือ ขณะนี้กำลังน้อม คือสังขารขันธ์ ไม่ใช่เราจะไปน้อมเมื่อไหร่ ไม่ใช่ว่า วันนี้เราฟังเพื่อที่จะน้อม แต่เข้าใจเมื่อไหร่ สภาพที่เข้าจะที่เข้าใจจะค่อยๆ น้อมไปสู่ความจริงของสภาพธรรมที่เข้าใจขึ้น แล้วก็จะค่อยๆ คลายความสงสัย อย่างขณะนี้ถ้าฟังเผิน ระลึกลักษณะของสภาพธรรม มีความเป็นเราโดยไม่รู้เลย ทันทีที่ได้ฟังที่จะระลึกใช้คำว่า “ระลึก” รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นเพียงนิดเดียวก็คือ “เรา” แต่ว่าไม่รู้ใช่ไหม ก็หลงคิดว่า ทำอย่างนั้นกำลังพากเพียร มีวิริยะที่จะเข้าใจโดยการที่พยายามน้อมไปได้ ว่าขณะนี้เป็นสิ่งที่มีจริงๆ นึกคิดทั้งนั้นเลย แต่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เพียงปรากฏจริงๆ

    เพราะฉะนั้น จากการที่ได้ฟังแล้วทำ เหมือนไม่ได้ทำ แต่ความจริงโลภะทำใช่ไหม คือ อยากจะรู้ขณะนั้นกับการที่ฟังแล้วเข้าใจแล้วละต้องการไปเรื่อยๆ จะเป็นอิสระที่พ้นจากความต้องการที่จะไประลึก แม้แต่ “จะไประลึก” ก็เห็นได้ว่า ถ้าไม่แยบคายจริงๆ ก็คิดว่า ให้ทุกคนขณะนี้ระลึกที่แข็ง แต่ความจริงไม่ใช่เลย เพียงแต่ว่า ลักษณะของแข็งปรากฏดีเมื่อไหร่ นั่นคือ สติเกิดแล้ว เพราะขณะนี้กำลังน้อมไปที่สติสัมปชัญญะจะรู้ลักษณะนั้น ซึ่งต่างกับขณะที่เราจับแข็งตลอดวัน แต่ไม่เคยรู้ลักษณะแข็ง

    เพราะฉะนั้น แข็งขณะนั้นก็เพียงปรากฏกับกายวิญญาณเป็นปกติธรรมดา ไม่มีปัญญาที่จะเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนั้นเป็นเพียงสิ่งที่มีลักษณะนั้นอย่างเดียว ไม่มีเรา ไม่มีโลก ไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้น การฟัง และความเข้าใจทั้งหมดกำลังน้อมไปที่จะได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม และไม่ต้องไปคิดถึงสติด้วย จะไปใช้คำว่า สติ จะไปใช้คำว่า ระลึก นั่นคือ กำลังคิด แต่ไม่ใช่สติที่ระลึก ต่อเมื่อไหร่สภาพธรรมปรากฏดี ขณะนั้นรู้เลยว่า เมื่อเช้านี้ไม่ได้เป็นอย่างนี้ เมื่อก่อนนี้ ขณะก่อนก็ไม่ใช่อย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ลักษณะนั้นปรากฏความเป็นธรรมกับสติ และปัญญาซึ่งกำลังรู้ตรงนั้น และเข้าใจตรงนั้น

    อ.วิชัย ลักษณะของสติคือ ท่านอาจารย์กล่าวว่า “ระลึกได้” แต่ว่า การเริ่มที่จะมีการน้อมไป การที่จะระลึก โดยการที่เป็นปัญญาที่ชัดเจน หรือว่ามีกำลังก็คงเป็นไปไม่ได้ ต้องค่อยๆ ที่จะรู้ขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นปริยัติ คือ ความรอบรู้ในสิ่งที่ได้ฟัง เมื่อเราฟังแล้วเราเข้าใจจะไม่คิดหรือ เราก็ต้องคิดถึงสิ่งที่เราได้ฟังแล้ว อย่าง “อนุสสตานุตริยะ" อยู่ที่ไหน อนุตตริยะ ๖ ใช่ไหม แล้วก็มีการระลึกอยู่เสมอ แต่ถ้าเมื่อไหร่ระลึกถึงพระธรรม เมื่อนั้นก็จะทำให้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแค่นั้นจริงๆ จนกว่าจะมั่นคงขึ้นใช่ไหม ขณะนั้นที่กำลังเข้าใจสติใช่ไหมหรือเรา ก็เริ่มรู้ว่า ธรรมแม้ไม่ต้องเรียกชื่อ แต่ก็เกิดแล้ว ทำหน้าที่นั้นแล้ว แล้วก็สามารถที่จะเข้าใจคำที่ใช้คำว่า “สติสัมปชัญญะ” หรือ "สติปัฎฐาน" ก็หมายถึง ขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏด้วยดีกับจิตที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ที่น้อมไปที่จะเกิดขึ้นแล้วก็รู้เฉพาะลักษณะนั้นที่เป็นธรรม

    อ.วิชัย ขณะที่รู้ว่า เป็นสติ หรือว่า เป็นเรา ก็ต้องเป็นปัญญาที่รู้ในขณะนั้นด้วย

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมดตามลำดับขั้น แม้แต่เพียงเป็นสิ่งที่เพียงปรากฏ ก็เป็นปัญญาขั้นหนึ่ง จนกว่าจะพอระลึกคือ คิด ทั้งวันไม่เคยคิด แต่พอคิด และคิดจนกระทั่งรู้เลยว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นเอง ทั้งวันมีแต่สิ่งที่เพียงปรากฏเท่านั้น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 184
    12 ม.ค. 2567