พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 761


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๗๖๑

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


    อ.กุลวิไล ที่เราได้ฟังพระธรรม ก็จะเป็นการคลายความเคลือบแคลงสงสัยในพระธรรมที่ทรงแสดงเพราะว่า พระธรรมที่ทรงแสดงๆ ความจริงแม้แต่ขณะนี้ เพราะขณะนี้ทั้งหมด เป็นธรรม แต่ถ้าฟังพระธรรมแล้วไม่รู้ว่า เป็นธรรมทั้งหมด ก็ยังเป็นเรา ในช่วงแรก ก็จะกราบเรียนท่านอาจารย์ เพราะว่า เนื่องมาจาก เจโตขีลสูตร ซึ่งกล่าวสภาพธรรมทั้งหมดเช่นกัน แต่สภาพธรรมเหล่านี้ก็จะต้องเป็นสิ่งที่มีจริงเพราะว่า ความเคลือบแคลงสงสัย ความไม่เชื่อแน่ และ ความไม่เลื่อมใสแม้ในพระธรรมที่กำลังฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ เพื่อความเข้าใจถูกในพระธรรมที่ทรงแสดง

    ท่านอาจารย์ ก็คือไม่ลืมเลยว่า เดี๋ยวนี้เป็นธรรม ยากไหม ฟังมานานแสนก็ได้ยินคำนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง และสิ่งที่กำลังมีขณะนี้ ก็เป็นธรรม แต่ก็เห็นได้ว่า กว่าจะเข้าใจจริงๆ ในความเป็นธรรมก็ต้องอาศัยพระสูตรบ้าง พระวินัยบ้าง พระอภิธรรมบ้าง ที่ทรงแสดงเพื่ออนุเคราะห์ให้ความเข้าใจของเราค่อยๆ มี เพราะเหตุว่า ความไม่รู้ที่สะสมมา นานมาก

    เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน และมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร แต่ละภพ แต่ละชาติ การที่มีโอกาสที่จะได้เข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดงว่า ขณะนี้เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏเพียงชั่วคราว ไม่เคยมีใครคิดอย่างนี้เลย เพราะเหตุว่า ก็มีสิ่งที่ปรากฏจากสิ่งหนึ่ง เป็นอีกสิ่งหนึ่ง เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่เช้าจนถึง ณ ขณะนี้ก็เป็นอย่างนี้ แต่ถ้าไม่ได้ฟังบ่อยๆ เราก็จะไม่จำ ไม่ระลึก ไม่รู้ ไม่เข้าใจจริงๆ ว่า สิ่งที่ได้กล่าวแล้ว กำลังมีในขณะนี้ ตามความเป็นจริง เพื่อที่จะได้ให้เห็นความเป็นธรรมซึ่งเกิดแล้วปรากฏ และก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ของใคร ปรากฏก็เพียงชั่วคราวแล้วก็ดับไป

    อ.กุลวิไล ความเข้าใจขั้นฟัง สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรม แล้วก็ปรากฏชั่วคราว ขั้นระดับฟัง ก็ยังไม่สามารถที่จะคลายความเคลือบแคลงสงสัยสำหรับผู้ที่ศึกษา

    ท่านอาจารย์ จะคลายเลยหรือ ใครก็ตามที่คิดว่า ฟังธรรมแล้วจะคลาย เลิกคิดอย่างนั้นเสียที เพราะว่า ทุกคำที่ได้ยินผ่าน “โสตวิญญาณ” จิตที่กำลังได้ยินๆ ๆ รู้ว่ากี่คำใช่ไหม แต่กว่าจะถึงการที่เข้าใจจริงๆ ว่า ขณะนี้เป็นธรรม โดยที่ว่า สามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ ในขณะนี้ เป็นสิ่งซึ่งเราจะรู้ไหมว่า เมื่อไหร่ และวันไหน แต่ถ้าไม่มีการเคยฟังมาก่อนมากๆ ก็จะไม่สามารถเข้าใจได้เลยว่า ขณะนี้เป็นธรรมแต่ละ ๑ เช่น เห็นขณะนี้ก็มี ได้ยินก็มี คิดก็มี ฟังทีไรก็จริงทุกที แต่ก็ยังไม่เข้าใจเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม แต่ละ ๑ ด้วยปัญญาที่สามารถ ละความไม่รู้ ละความสงสัย แล้วจนถึงกาลที่ละความติดข้องว่า เป็นเรา

    เพราะฉะนั้น การฟังก็คือ ไม่ประมาทในการที่จะได้ยินได้ฟังความลึกซึ้งอย่างยิ่งของแต่ละคำ ให้รู้ว่า การที่เราได้ฟังคำมากมายแต่ละชาติ กับความ (นาทีที่ ๓.๕๘ แก้เป็น การ) การที่เราที่จะสามารถเข้าใจความลึกซึ้งของคำ ๑ ซึ่งลึกซึ้งจริงๆ เช่น ขณะนี้ พูดถึงเห็น ความลึกซึ้งของเห็นก็คือ “ธาตุรู้” แค่นี้ ต่างกับสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่สามารถจะรู้อะไรเลย ฟังไปอีกๆ จนกว่าจะไม่ติดข้อง และมีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังว่า เพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้อง ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในแต่ละ ๑ ของธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้

    ผู้ฟัง แต่ว่า ชีวิตจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่ากุศลเกิดขึ้นหรือกิเลสเกิดขึ้น เราก็จะเดือดร้อนใจว่า เป็นเราอีกแล้วที่มีกิเลส หรือว่าอิ่มอกอิ่มใจว่า เป็นเราอีกแล้วได้ทำกุศล ได้เป็นคนดี แต่คำพูดที่บอกว่า ไม่ได้เคลือบแคลงสงสัยเลยว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ทำไมคำพูดนั้นจึงขัดกับสิ่งที่เป็นจริงๆ ในชีวิตประจำวัน

    ท่านอาจารย์ เห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม สามารถที่จะกล่าวความจริงให้คนอื่นได้รู้ว่า สิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่เรา ค่อยๆ คิด ไม่ใช่ให้รู้ทันที แต่ว่า กว่าจะได้ยินได้ฟังว่า “สิ่งที่มีจริงไม่ใช่เรา” ก็ขัดกับการที่เราเคยสะสมมาแล้วว่า เป็นเราเห็น เราได้ยิน เราคิด เราจำ ทั้งหมดเป็นเรา ใช่ไหม แต่ๆ ละคำเมื่อไตร่ตรองก็จะเกิดความเห็นถูก เข้าใจว่า จริงหรือเปล่า สิ่งที่มีจริงๆ เช่น อย่างเห็น ถ้าไม่ได้ฟังธรรม เป็นเราเห็นแน่นอน ถึงฟังแล้ว ขณะที่ยังไม่ได้เข้าใจลักษณะที่เห็น ก็ยังคงเป็นเราเห็น

    เพราะฉะนั้น อาศัยการฟัง ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละน้อยว่า ขณะนี้ที่เห็นเป็นสิ่งที่มีจริงแน่นอน และถ้าไม่มีการฟังธรรม วันนี้เราก็ยังคงไม่รู้ ว่าเห็นเป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดแล้วดับ แต่เวลาที่ได้ฟังธรรมแล้ว ไม่ใช่หมายความว่า ให้ความไม่รู้ และความสงสัยของเราหมดสิ้นไปโดยเร็ว เพราะว่า ตามความเป็นจริง แม้ว่า สภาพธรรมขณะนี้เป็นจริงอย่างนี้คือ เกิด ดับ แล้วก็เห็น ใช่ไหม แต่ไม่ได้ประจักษ์ลักษณะที่เพียงเห็นแล้วก็เกิดแล้วก็ดับ ทั้งๆ ที่รู้ว่า จริง ความจริงจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย แต่เมื่อมีความเข้าใจที่มั่นคงว่า สิ่งนี้เป็นจริง ความไม่รู้ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ยังคงเป็นเรา ก็แสดงให้เห็นว่า สะสมความไม่รู้ และความเป็นเรามานานมาก เพียงได้ฟังแค่นี้ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงซึ่งกำลังเกิดดับในขณะนี้ ซึ่งสามารถจะรู้ได้ เพราะเป็นความจริง แต่เมื่อไม่เคยรู้มานานแสนนาน จะรู้ได้ทันทีเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เหมือนกับสิ่งซึ่งตรึงใจใช่ไหม เราจะคิดอย่างไร เราก็วนเวียนอยู่ที่ความไม่รู้ และความเป็นเรา และความสงสัย เพราะเหตุว่า สิ่งที่ได้ยินไม่ใช่สิ่งที่เราได้รู้จริง เพียงแต่ว่าได้ฟังตามเหตุตามผลว่า ถูกต้อง แต่ก็ยังไม่ได้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น ก็ยังต้องมีความสงสัย

    เพราะฉะนั้น ธรรมก็เป็นเรื่องจริง จะให้ไม่มีความสงสัย เพียงได้ฟังเรื่องของสภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิดขึ้น และดับไป แม้ว่าจะโดยละเอียดอย่างไรก็ตามแต่ว่า ปัญญาต้องเจริญขึ้นตามลำดับ คือขณะที่ฟังกำลังเข้าใจเห็นหรือเปล่า อย่าลืม กำลังฟัง กำลังเข้าใจเห็นที่กำลังเห็นหรือเปล่า หรือว่า เพียงฟังเรื่องเห็นแต่ยังไม่ใช่ขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจเห็นที่กำลังเห็นจริงๆ คือไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว และสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะว่า ขณะนี้กำลังมีเห็น ไม่คำนึงถึงอื่นที่เกิดแล้วดับไป และสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้น แต่ละคำเป็นคำจริงซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจตามลำดับขั้น ด้วยการที่รู้ความจริงว่า กว่าจะรู้ได้จริงๆ ว่า ขณะนี้มีสภาพธรรมมากมาย เห็นมี ได้ยินมี คิดนึกมี แข็งมี แต่ว่า ได้รู้ลักษณะจริงๆ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดเฉพาะสิ่งนั้นหรือเปล่า เมื่อยัง ก็แสดงให้เห็นว่า ยังไม่ถึงเวลาที่สามารถที่จะเริ่มเข้าใจเฉพาะ ๑ จริงๆ ที่ปรากฏโดยไม่หวั่นไหวด้วย เพราะว่า เป็นการรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นเป็นธรรม สงสัยเกิดขึ้น หวั่นไหวแล้วใช่ไหม เพราะไม่ได้รู้จริงๆ ว่า เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ฟังธรรมเข้าใจกับการรู้จริงๆ ว่า เป็นธรรมก็ต้องต่างกัน ถ้ามีปัญญาแค่นี้ เป็นไปได้ไหมที่จะไม่มีความสงสัย

    ผู้ฟัง เป็นไปไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ก็ยังต้องสงสัยอยู่เป็นธรรมดา ให้รู้ว่า เป็นธรรมดา แล้วก็เป็นธรรม เพราะเกิดแล้วเป็นจริงอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ที่เราตอบว่า เราไม่สงสัยเลยว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็เป็นคำตอบที่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ตอบความคิด ตามความเข้าใจขั้นฟัง ถ้าคนที่ได้ฟังแล้วบอก “ผิด ต้องมีอัตตา” “ต้องเป็นเราที่เห็น” นั่นคือ ไม่เข้าใจคำที่ได้ยินได้ฟัง

    ผู้ฟัง แต่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ประโยชน์จริงๆ คือ การได้ฟัง และเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ว่า เป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ ตามลำดับ จากขั้นฟังจะนำไปสู่ความเข้าใจขึ้น จนกระทั่งสภาพธรรมขณะนี้ ปรากฏตามความเป็นจริงกับปัญญาที่อบรมแล้ว ที่เข้าใจแล้ว

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่อยู่ในขั้นการฟัง การอบรมเข้าใจอย่างนี้ แน่นอนความเคลือบแคลงสงสัย ก็ยังเกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวันเพราะยังไม่ได้ละไป

    ท่านอาจารย์ ถึงได้รู้จริงว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ สงสัยก็มีจริงๆ ห้ามความสงสัยไม่ได้ นี่คือ ลักษณะของธรรมซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เมื่อมีปัจจัยจึงเกิด ถ้ายังไม่มีปัจจัยก็เกิดไม่ได้ ใครจะไปทำให้เกิดก็เกิดไม่ได้ เริ่มเข้าใจแล้วก็เป็นปกติ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ความเคลือบแคลงสงสัยนี้ ก็ยังเป็นปกติสำหรับปุถุชนที่เริ่มสดับตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ มีจริงๆ เปลี่ยนลักษณะนั้นไม่ได้ เพราะเกิดแล้วเป็นอย่างนั้นแล้ว แล้วดับไปแล้วด้วย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะว่า ตะปูตรึงใจ คือ ความไม่รู้ที่ตรึงในใจตลอดเวลาที่ทำให้เคลือบแคลงสงสัย

    ท่านอาจารย์ กำลังสงสัยจะให้เข้าใจได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะที่สงสัย ตรึงใจไว้ชั่วขณะที่สงสัยหรือเปล่า และตราบใดที่ไม่ได้ฟังจนคลายความสงสัย ตะปูนั้นก็ตรึงแน่นเข้าไปอีก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่มีความเข้าใจ ตรงกันข้ามกับความไม่รู้ และความสงสัย ก็จะค่อยๆ คลายสิ่งที่ตรึงไว้แน่น จนกระทั่งสามารถที่จะคลายลงไปได้ด้วยปัญญาที่มีความเข้าใจถูกต้องเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่า การฟังเพื่อความเข้าใจความจริงคือ คลายตะปู ความสงสัยที่ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะว่า ความสงสัยเกิดจากความไม่รู้ เพราะไม่รู้จึงสงสัย แต่ถ้ารู้แล้วก็ค่อยๆ คลายความสงสัย เพราะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นธรรมซึ่งไม่ใช่เรา แต่ยังต้องมี เพราะว่า มีปัจจัยที่จะเกิดก็เกิดเท่านั้นเอง เกิดแล้วหมดแล้ว ก็ฟังเรื่องเห็นไม่ใช่ขณะที่กำลังสงสัย ฟังเรื่องได้ยิน ฟังเรื่องคิดนึก ซึ่งมีจริงๆ ฟังเรื่องความไม่รู้ว่า ความไม่รู้มากแค่ไหน เห็นทุกอย่าง แต่ไม่เห็นความไม่รู้

    ผู้ฟัง เช่นนั้น จุดประสงค์ส่วนหนึ่งของการฟังคือ เพื่อจะคลายความสงสัยที่เกิดจากการไม่รู้ความจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง ถ้าไม่เข้าใจก็ยังคงเป็นตะปูตรึงใจ ยังสงสัยวันยังค่ำ แต่พอเข้าใจขึ้นก็รู้ว่า ความสงสัยเพียงเป็น (นาทีที่ ๑๒.๒๓ เป็นเพียง) ธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับไป เดี๋ยวนี้อยู่ไหน ไม่ได้กลับมาอีกเลย มีปัจจัยจึงเกิดขึ้นอีกแล้วก็ดับไปแล้วหายไปเลย ทุกอย่างเพียงปรากฏแล้วก็หายไปๆ ๆ ไม่ได้กลับมาอีกเลยสักอย่าง แต่ว่า มีสิ่งอื่นซึ่งเกิดสืบต่อจนทำให้เหมือนกับว่า ยังคงมีอยู่ แต่ความจริงไม่ใช่ สิ่งที่เกิดแล้วดับไป

    ผู้ฟัง ความสงสัยถูกปกปิดไว้ด้วยตะปูตรึงใจ ความไม่รู้ที่ปกปิดไว้

    ท่านอาจารย์ เป็นตัวตะปู ความสงสัย ไม่ใช่ต้องไปหาตะปูอื่นมาอีก กำลังสงสัยจะไปไหน ก็ยังอยู่ตรงนั้นแหละ สงสัยไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง ที่ว่าสงสัย เกิดจากความที่ไม่รู้ความจริง

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้แล้วจะสงสัยไหม

    ผู้ฟัง ถ้ารู้แล้วก็ไม่สงสัย ที่ว่า “ถ้ารู้แล้ว” หมายถึง ต้องเป็นปัญญาที่เริ่มค่อยๆ เข้าใจความจริงอย่างนั้น หรือประจักษ์แจ้ง

    ท่านอาจารย์ “ถ้ารู้แล้ว” ก็คือว่า ขณะนี้อะไรเกิด อะไรดับ

    ผู้ฟัง ถ้ารู้แล้วคือ ขณะนี้อะไรเกิด อะไรดับ ไม่ได้รู้ถึงขั้นนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้รู้อย่างนั้นก็คือ ยังต้องสงสัย

    ผู้ฟัง ถ้ายังไม่รู้ถึงขั้นเกิดดับก็ยังต้องสงสัย

    ท่านอาจารย์ แน่นอน อะไรที่ดับความสงสัยให้หมดสิ้น ไม่เกิดอีกเลย

    ผู้ฟัง ต้องเป็นวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม โสตาปฏิมรรคจิตดับวิจิกิจฉานุสัย

    ผู้ฟัง คือสงสัยจึงต้องมาถามให้คลายความสงสัยจากความไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพื่อเข้าใจถูกว่า เป็นธรรม

    อ.กุลวิไล การฟังพระธรรมก็เพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ความรู้เพิ่มขึ้น แล้วค่อยๆ คลายความสงสัยในสภาพธรรมที่เป็นจริงนั่นเอง ซึ่งท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวว่า “สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ไม่ใช่เรา” จริงหรือเปล่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นอนัตตาก็ต้องไม่ใช่เรา

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีใครกำลังเดือดร้อนบ้าง ตามความเป็นจริง คุณนิรันดร์เดือดร้อนไหม เมื่อสักครู่นี้เดือดร้อนไหม ก่อนที่จะมาถามเดือดร้อนหรือเปล่า แม้แต่สงสัยก็ไม่เดือดร้อนหรือ

    ผู้ฟัง เดือดร้อน แต่ไม่รู้ เพราะสภาพธรรมไม่ได้ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทุกคนที่ฟังธรรม ควรจะได้เข้าใจขณะที่กำลังฟัง เพราะว่า บางคนเดือดร้อนก่อนมาฟัง ใช่ไหม ฟังมาแล้วเข้าใจได้แค่ไหน ตรงนั้นก็ยังไม่เข้าใจ ตรงนี้ก็ยังไม่เข้าใจ เดือดร้อนไหม

    ผู้ฟัง เดือดร้อน

    ท่านอาจารย์ เดือดร้อน ไม่รู้ตัวเลยว่า เดือดร้อน เพราะฉะนั้น มาด้วยความเดือดร้อนใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ และบางคนก็ฟังมาแล้ววันนั้น วิทยุเรื่องนั้น “อยากจะถามตรงนี้จัง” คำนั้นยังไม่เข้าใจ เดือดร้อนไหม

    ผู้ฟัง เดือดร้อน

    ท่านอาจารย์ ก็เดือดร้อน มาด้วยความเดือดร้อนแต่ว่า จริงๆ แล้วควรจะมาเพื่อที่จะฟังความจริง ไม่ใช่มาหาความเดือดร้อน หรือว่ามาคลายความเดือดร้อน หรือว่าต้องการอย่างนั้น ต้องการอย่างนี้ แต่เพราะรู้ว่า มีสิ่งที่มีจริงๆ แล้วใครจะให้รู้ความจริงนี้ได้ ถ้าไม่ใช่ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงจากการที่ทรงตรัสรู้ จากการที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีนานแสนนาน จะมีที่พึ่งอื่นไหมที่จะทำให้สามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ทั้งๆ ที่มีจริงก็ไม่รู้

    เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ได้สะสมบุญไว้แต่ปางก่อน และอย่าลืม ขณะนี้เป็นปางก่อนของชาติหน้าแน่นอน และพอถึงเวลานั้นก็จำไม่ได้ เคยมาที่นี่ เคยฟังอย่างนี้ เรื่องนั้นเคยคิดอย่างนั้น เคยรับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนฝูง เคยสนทนาธรรมกัน ก็จะหายไปหมดเลย เป็นเพียงกาลครั้งหนึ่งซึ่งจำไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ขณะนี้ก่อนที่จะเป็นอย่างนั้น ก็ควรที่จะได้ประโยชน์จริงๆ ว่า มาฟังความจริง ไม่ใช่ว่า มาแก้ความเดือดร้อน หรือว่า มาหาความเดือดร้อนต่างๆ

    เพราะฉะนั้น ทุกคนที่กำลังฟังธรรมขณะนี้ ก็ควรจะรู้จักตัวเอง เดือดร้อนหรือเปล่าขณะที่ฟัง หรือไม่เดือดร้อน ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ยาก ลึกซึ้ง ที่จะเข้าใจได้ ต้องอาศัยการค่อยๆ เข้าใจจากการที่ฟังแล้วพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ใช่ฟังแล้วก็เดือดร้อนว่า “ทำไมเราไม่รู้อย่างนี้” “แล้วเมื่อไหร่เราจะรู้” “ขณะนี้สภาพเกิดดับแล้วไม่ใช่ตัวตน แต่เห็นทีไรก็เป็นเราทุกที” แล้วเดือดร้อนอะไร ในเมื่อฟังเพื่อที่จะรู้ความจริงว่า ความจริงเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่นเลยใช่ไหม แต่ไม่รู้

    เพราะฉะนั้น ความไม่รู้ตั้งแต่เกิด แล้วก็จะไม่รู้จนตายถ้าไม่มีการฟังธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ ในภาษาที่ตนเองเข้าใจได้ ไม่มีอะไรมาปิดบัง เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า “ธรรม” คำเดียวก็ปิดบังแล้ว ศึกษาธรรม ศึกษาอะไร เห็นไหม รู้จักหรือเปล่าว่า ธรรมจริงๆ คืออะไร ต้องในภาษาของตนเอง ศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังเป็นจริงในขณะนี้ ไม่ต้องใช้คำว่า “ธรรม” เลย เพราะว่า “ธรรม” ไม่ใช่ภาษาไทย

    เพราะฉะนั้น คนที่ได้ยินคำว่า “ธรรม” ได้ยินคำว่า “นิพพาน” ได้ยินคำว่า “สติปัฏฐาน” ไม่รู้จักคำเหล่านั้นเลยทั้งสิ้น แต่อยากทำ อยากได้ อยากถึง อยากมี แทนที่จะ “สิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้คืออะไร” เห็นไหม ต่างกันไหม คนที่ “สิ่ง (นาทีที่ ๑๘.๒๙ คำว่า ที่มี ตกหล่น) จริงๆ เดี๋ยวนี้คืออะไร” กับคนที่ “อยากจะเข้าใจธรรม” “อยากจะทำสติปัฏฐาน” “อยากจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม” โดยไม่รู้จักคำเหล่านั้นเลย ไม่รู้ความจริงว่า ขณะนั้นเป็นอะไร

    เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว จากไม่รู้ จึงได้ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง สบายใจไหม ขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงได้ นั่นก็เป็นประโยชน์ไม่ทำให้เดือดร้อนใจ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่า ขณะที่มาเดือดร้อนหรือเปล่า ขณะฟังเดือดร้อนหรือเปล่า ถ้ากำลังเดือดร้อน ฟังแล้วต่อไปเดือดร้อนยิ่งขึ้นหรือเปล่า เพราะว่า ยิ่งลึกซึ้งก็ยิ่งอยากจะรู้หรือเปล่า แต่ตามความเป็นจริงก็คือว่า ฟังเพื่อเข้าใจตามที่สามารถเข้าใจได้ เพราะเหตุว่า สิ่งที่มีจริง ถ้าใครๆ ก็เข้าใจได้ พระโพธิสัตว์ไม่ต้องทรงบำเพ็ญบารมีที่จะตรัสรู้คือ รู้จริงๆ รู้ความจริงที่แน่นอนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลยของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง และรู้ว่า การฟังธรรมไม่ใช่เพื่อให้เราเดือดร้อนว่า “เรายังไม่รู้จักเห็น” “เมื่อไหร่เราจะประจักษ์แจ้งการเกิดดับ” “จะใช้วิธีไหนดี” หาวิธีสั้นๆ หรือว่า วิธีลัดต่างๆ เหล่านี้ นั่นคือ เป็นความเดือดร้อนทั้งหมด แต่ฟังเพื่อเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง เข้าใจได้แค่ไหนก็เป็นความจริงขณะนั้น ดีกว่าไม่เข้าใจเสียเลยหรือเปล่า และเมื่อเข้าใจแค่นี้ ยิ่งเห็นความลึกซึ้งของธรรมว่า ทำไมจึงเข้าใจได้เพียงเท่านี้ ทั้งๆ ที่ความลึกซึ้งของธรรมมีมากกว่านี้มาก แต่ละคำๆ ที่ได้ยิน เช่น สิ่งที่มีจริงในภาษาไทย ภาษาบาลีหรือภาษามคธีใช้คำว่า “ธรรม” เหมือนกันเลยจะพูดคำไหน พอถามว่า “ธรรมคืออะไร” “อะไรเป็นธรรม” ก็จะตอบเป็นภาษาไทยว่า เห็นมีจริง ได้ยินมีจริง คิดนึกมีจริง ชอบมีจริง ทุกอย่างมีจริงในชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตายมีจริง เป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าแปลเป็นภาษามคธี ภาษาบาลีก็พูดในภาษานั้นเลย เหมือนกันทุกอย่าง

    เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะศึกษาสิ่งซึ่งปิดบังเรา คือ คำที่เราคิดว่า เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ โดยที่ไม่ได้เข้าใจว่า แท้ที่จริงคือ สิ่งที่มีจริงในขณะนี้ จะไปรู้อย่างอื่นได้อย่างไร ที่ไม่มีจริงในขณะนี้ ก็ฟังด้วยความเบาใจ สบายใจว่า เพราะลึกซึ้งจึงค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพื่อละความไม่เข้าใจ และความเดือดร้อนใจ แต่ว่าถ้าถามก่อนจะไม่รู้เลยว่า แม้สงสัยก็เดือดร้อนแล้ว หาเดือดร้อนไม่เจอ แต่ความจริงขณะไหนที่เป็นอกุศลทั้งหมด เดือดร้อน

    ผู้ฟัง ฟังท่านอาจารย์ถามว่า “เดือดร้อนไหม” เดือดร้อนแล้ว ไม่ทราบเลย ไม่สามารถตอบได้เลยว่า เดือดร้อนไหม เดือดร้อนหรือยัง เดือดร้อนแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะสภาพธรรมเกิด และก็ดับเร็ว ถ้าไม่มีปัญญาที่จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มี ตามความเป็นจริงแต่ละ ๑ ก็จะไม่รู้ว่า ขณะนั้นเดือดร้อนหรือไม่เดือดร้อน

    ผู้ฟัง ขออ้างอิงคุณนิรันดร์ที่ท่านอาจารย์ถามว่า “การที่ออกมาถาม หรือก่อนออกมาถาม เดือดร้อนหรือเปล่า” ท่านอาจารย์เปลี่ยนคำถามนั้นมาถามดิฉันว่า “คุณอรวรรณเดือดร้อนหรือเปล่า ก่อนออกมาถาม” ก็ไม่ทราบเช่นกัน

    ท่านอาจารย์ เดือดร้อนหรือเปล่า ไม่ใช่ให้ไปคิดมาตอบ แต่ว่า ขณะนั้นสภาพธรรมเกิดแล้วดับแล้วจึงไม่รู้ คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก เพราะว่า ขณะนี้ไม่ใช่ขณะนั้น ถ้าขณะนี้กำลังเห็นแล้วจะถามว่า เดือดร้อนไหม เห็นไม่ได้เดือดร้อน เห็นจำเป็นต้องเกิดเมื่อมีปัจจัยที่เกิดเห็นแล้วก็ดับไป ไม่ทันรู้อะไรเลยทั้งสิ้น แต่สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ปรากฏเพราะเห็นมี ถ้าเห็นไม่มีสิ่งนี้ก็ปรากฎไม่ได้เลย แต่เห็นก็ไม่ได้ไปรู้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร เพียงมีหน้าที่เกิดขึ้นเห็นแค่นี้ นี่คือความจริง

    เพราะฉะนั้น ศึกษาความจริงเข้าใจว่า ความจริงบังคับบัญชาไม่ได้ เห็นก็คือ เพียงแค่เกิดเห็นแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น แม้แต่ความเดือดร้อนก็ไม่ใช่ว่า ให้ใครคนหนึ่งคนใด ไปพยายามหามาตอบ แต่ว่า สภาพธรรมขณะนี้หลากหลาย และรวดเร็ว


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 184
    12 ม.ค. 2567