ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1054


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๐๕๔

    สนทนาธรรม ที่ บริษัทสยามแฮนด์ส จ.นครปฐม

    วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐


    ท่านอาจารย์ ทุกขณะเป็นจิตตั้งแต่เกิด เพราะว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ แล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ถ้าจิตขณะแรกยังไม่ดับ จิตขณะต่อไปเกิดไม่ได้ เพราะจะต้องมีจิตทีละหนึ่ง แต่ละชีวิตมีจิตทีละหนึ่ง และเมื่อจิตนั้นดับ การดับไปของจิตที่ดับแล้วเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด เพราะฉะนั้นจิตขณะต่อไปมีทุกอย่างที่สะสมอยู่ในจิตขณะแรก นี่เป็นเหตุที่คนเราเกิดมาต่างกัน รูปร่างก็ต่างกัน จิตใจก็ต่างกัน เพราะฉะนั้นจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง เวลานี้ เห็นก็เป็นจิต รู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏเป็นอย่างนี้ ได้ยินก็เป็นจิต เพราะรู้เสียงที่กำลังได้ยินว่าเสียงที่ได้ยินเป็นอย่างนี้ พอกลิ่นปรากฏ กลิ่นปรากฏเพราะจิตรู้กลิ่นนั้นที่ปรากฏอย่างนั้น รู้อื่นไม่ได้เลย กลิ่นเป็นอย่างไรจิตก็รู้กลิ่นที่ปรากฏอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจิตก็เป็นสภาพที่รู้แจ้ง ทาง ลิ้นก็ลิ้มรส ทางกายก็กระทบสัมผัส แล้วก็มีคำที่แสดงอาการต่างๆ จากการที่ได้กระทบสัมผัส ให้เข้าใจได้ว่าจิตรู้สิ่งนั้นๆ

    เพราะฉะนั้นก็มีจิตหนึ่ง และก็เจตสิกหนึ่ง รูปหนึ่ง รวมเป็นปรมัตถธรรม ๓ ที่เกิดดับ มีปรมัตถธรรมอีก๑ สิ่งที่มีจริงซึ่งไม่เกิดไม่ดับ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป นั่นคือนิพพาน เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงธรรมะสิ่งที่มีจริงใช้คำว่าปรมัตถะ มาจากคำว่า ปะ-ระ-มะ บรม ที่เราใช้ภาษาไทยเราชอบใช้ตัว บ แทนตัว ป แทนที่จะเป็นปรม ก็เป็นบรม อัตถะ แล้วก็ธรรมะ ธรรมะทุกอย่างมีลักษณะเฉพาะตนจึงมีอัตถะของตน ที่จะกล่าวถึงเฉพาะตนๆ เป็นปรมัตถธรรม แข็งจะเป็นอื่นไม่ได้เลย อ่อนหรือแข็งเป็นธรรมะอย่างเดียวกัน แสดงว่ามากหรือน้อยถ้าน้อยมากก็เหมือนอ่อน แต่เพิ่มความแข็งขึ้นอีก แข็งกับเพิ่มขึ้นเป็นแข็งจนกระทั่งเป็นแข็งอย่างเหล็กเลยเ นื้อคนนี้เหมือนเหล็กไหม

    ผู้ฟัง ไม่เหมือน

    ท่านอาจารย์ แต่เราก็บอกว่าแข็ง ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้นตอนเกิด ก็คือจิต เจตสิก รูปเกิด จะกล่าวว่าธรรมะเกิดก็ได้ จะกล่าวว่านามธรรม รูปธรรมเกิดก็ได้ จะกล่าวให้ชัดลงไปว่าจิต เจตสิก รูปเกิดก็ได้ เจตสิกคือสภาพที่เกิดกับจิต จิตเกิดไม่ได้ตามลำพัง ทุกอย่างที่เกิดต้องอาศัยปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเจตสิกกับจิตเกิดพร้อมกัน อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยจิตก็เกิดไม่ได้ ถ้าจิตไม่เกิดเจตสิกก็เกิดร่วมด้วยไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ในขณะนี้มีจิตไหม

    ผู้ฟัง จิตมี

    ท่านอาจารย์ เจตสิกมีไหม

    ผู้ฟัง ต้องมีด้วย

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง รูปมีไหม

    ผู้ฟัง รูปมี

    ท่านอาจารย์ จิตดับไหม

    ผู้ฟัง จิตดับ

    ท่านอาจารย์ เจตสิกดับไหม

    ผู้ฟัง ดับ

    ท่านอาจารย์ เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน จิต และเจตสิกเป็นสภาพรู้ รู้สิ่งเดียวกัน จิตรู้อะไรเจตสิกก็รู้สิ่งนั้น เพราะฉะนั้นจิต เจตสิก เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้สิ่งเดียวกัน และเกิดที่เดียวกันด้วย เพราะเหตุว่าจิตไม่ได้เกิดนอกรูป จิตต้องเกิดอาศัยรูปหนึ่งรูปใดที่กายเกิด ได้ยินต้องเกิดตรงโสตปสาทรูป ใครเห็นบ้าง เห็นไหม หู เห็นแต่หูสีต่างๆ ใช่ไหม รูปร่างต่างๆ แต่ตัวปสาทะไม่เห็นเลย แต่มี สำหรับกระทบเสียง ถ้าไม่มีเสียงกระทบไม่ได้ ได้ยินก็เกิดไม่ได้ อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเข้าใจเจตสิกแล้วนะ จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง เกิดแล้วต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยอย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภท เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภททำให้จิต หลากหลายเป็น ๘๙ ประเภทเ พราะบางขณะก็มีเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยเป็นประเภทหนึ่ง บางขณะก็มีเจตสิกฝ่ายที่ไม่ดีเกิดร่วมด้วยก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง ต่างออกไป ทรงแสดงจิตไว้ จิตมี ๘๙ ทั้งหมดเลยสากลจักรวาล พรมโลก เทวโลก สวรรค์ นรกทั้งหมด โดยประเภทใหญ่ๆ มี ๘๙ ประเภท

    เพราะฉะนั้นมีจิต ๘๙ จริงทั้งหมดเลย แต่ขณะที่เกิด แต่ละขณะนี้โดยเฉพาะ ทุกคนมีจิตไม่ครบทั้ง ๘๙ ประเภท พระอรหันต์ก็ไม่มีอกุศลจิต กุศลจิต ใช่ไหม เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ก็มีจิตไม่ครบ เราก็มีจิตไม่ครบ เพราะเราไม่ได้มีจิตของพระอรหันต์ที่ดับกิเลสแล้ว ก็ไม่ครบ เพราะฉะนั้น รู้ไหมว่าเรามีจิตเท่าไหร่ ถ้าไม่ศึกษาไม่ฟัง จิตแท้ๆ ยึดมั่นมาเป็นเราแท้ๆ ตั้งแต่เกิดจนตายไม่รู้อะไรเลยสักอย่างเดียว ว่าคืออะไร เป็นอะไร เกิดยังไง ดับยังไง จิตไหนเป็นเหตุจิตไม่เป็นผล ก็ไม่รู้หมด เพราะฉะนั้นถ้าไม่ฟังธรรมะก็คือเหมือนตาบอด ในสังสารวัฎ เพราะนี่คือสังสารวัฏ การเกิดดับสืบต่อไม่สิ้นสุด เพราะมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดก็ต้องเกิด ดับไม่ได้เลย ไม่ได้มีพรุ่งนี้ได้ไหม ไม่ให้มีเย็นนี้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ อย่างไรๆ ก็ทีละหนึ่งขณะก็ไปเรื่อยๆ จากแสนโกฎกัลป์มาจนถึงเดี๋ยวนี้ จนถึงต่อไป จนถึงต่อไป ไปอีกแสนโกฎกัลป์ถ้าไม่รู้ความจริงก็เหมือนตาบอดอยู่ในสังสารวัฎ ตอนนี้ชัดเจนขึ้นใช่ไหม จิตเกิดที่ไหน จิตเกิดรึเปล่า

    ผู้ฟัง เกิดเป็นตามธรรมดา

    ท่านอาจารย์ ไม่ให้จิตเกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้ เขาเกิด เขาเกิดเอง

    ท่านอาจารย์ เพราะปัจจัยมี เปลี่ยนจิตนี้ให้เป็นจิตอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะจิตเกิดแล้วดับ แล้วใครจะไปทันเปลี่ยนอะไร

    ผู้ฟัง แค่เปลี่ยนความเข้าใจได้ ใช่ไหม ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ดับแล้ว เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ สืบต่อ เพราะฉะนั้นจากจิตขณะแรกที่เกิด แล้วดับ จิตขณะต่อไปก็เกิดแล้วก็ดับ แล้ว จิตต่อไปก็เกิดแล้วดับ สืบต่อ เดี๋ยวนี้จิตกำลังเกิดดับ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เกิดดับ

    ท่านอาจารย์ ที่ไหน จิตต้องมีที่เกิด ในภูมิที่มีขันธ์๕ คือที่มีรูป จิตเกิดที่ตัว จิตไม่เกิดนอกกายเลย

    ผู้ฟัง ต้องเกิดในกายเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ ที่หนึ่งที่ใด จิตเห็นเกิดที่กลางตาคือจักขุปสาทรูป รูปก็มีเยอะ ตาก็เป็นรูปหนึ่ง หูก็เป็นรูปหนึ่ง จมูกก็เป็นรูปหนึ่ง ลิ้นก็เป็นรูปหนึ่ง กายก็เป็นรูปหนึ่ง เดี๋ยวนี้กำลังเห็น อะไรเกิดบ้าง จิตเกิดเจตสิกเกิด รูปเกิด ต้องมีจักขุปสาทะ ไม่อย่างนั้นสิ่งที่กำลังกระทบตาที่กำลังปรากฏจะกระทบได้อย่างไร แล้วจิตก็ต้องเห็นด้วย ทั้ง ๓ อย่างต้องมีในขณะนั้น เพราะฉะนั้นมีจิตใช่ไหม เจตสิก และก็มีตาแล้วก็มีสิ่งที่กระทบตา ได้ยินคำว่าอายตนะบ่อยๆ หารู้ไม่ว่าขณะนี้กำลังพูดถึงอายตนะ ภายใน และภายนอก เพราะฉะนั้นแต่ละคำไม่ใช่สำหรับให้งง แต่ละคำทำให้เข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ ถึงจะไม่ใช่ภาษาอะไรเลยสิ่งนี้ก็มีแต่จำเป็นต้องใช้คำเพื่อที่จะให้รู้ว่าหมายความถึงสิ่งใด เพราะฉะนั้นถ้าตาขณะนั้นไม่เกิดหู แล้วก็สิ่งที่กระทบตาไม่เกิดกระทบกันไม่ได้ จิตก็เกิดไม่ได้ เจตสิกก็เกิดไม่ได้ แต่เมื่อมีสิ่งเหล่านี้เกิดพร้อมกันประชุมกันคือ สิ่งที่กำลังกระทบตา ก็กระทบ ยังไม่ดับไปตาก็ยังไม่ดับ กำลังกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นจิต และเจตสิกเกิดขึ้นเห็น ในขณะที่สิ่งต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ดับ เป็นอายตนะภายในคือจักขุปสาทะ ภายนอกคือสิ่งที่กระทบจักขุปสาทะ จิตก็เป็นภายใน ละเอียดกว่านั้นมากเลย ที่ทรงแสดงจนกว่าเราจะค่อยๆ คลายความยึดถือว่าเป็นเรา กว่าปัญญาแต่ละขั้นจะเกิด จนกระทั่งเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ไม่ใช่มาจากความไม่รู้แต่ต้องมาจากความรู้จริงๆ เข้าใจจริงๆ

    เพราะฉะนั้นไม่เผิน ศึกษาธรรมะใครเขาบอกว่าอายตนะ ตอนนี้รู้จักอายตนะแล้วใช่ไหม ค่อยๆ เรียนภาษาบาลีไปทีละคำประกอบกันไป เพราะฉะนั้นขณะเห็นนี่แหละอายตนะภายใน ภายนอกต้องมีตาต้องมีสิ่งที่กระทบตา ภายในก็คือจิตแล้วก็จักขุปสาทะ ภายนอกก็คือสิ่งที่กระทบ อันนี้เรายังไม่ต้องพูดถึงละเอียดเลย เพียงแต่ให้ทราบว่าคำภาษาบาลีที่คุ้นหูเรายังไม่ได้เข้าใจ เพียงแต่รับมารับมาแล้วก็พูดตามไม่เป็นประโยชน์ แต่จะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อได้เข้าใจธรรมะ ไม่ใช่พูดตามแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง สะสมไปเพื่อชาติต่อไป ต้องเกิดแน่

    เพราะฉะนั้นตอนเกิด ย้อนไปถึงจิตขณะแรกที่เกิดไม่รู้เลยว่าจะถึงวันนี้ ที่จะเห็น ได้ฟังธรรมะ แต่ก็มีปัจจัยที่สะสมอยู่ในจิตตั้งแต่เกิด ที่เมื่อถึงเวลา เลือกไม่ได้ ถ้าจะตายเดี๋ยวนี้ก็เลือกไม่ได้ เพราะว่าถึงเวลาที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดก็ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้นให้มีความมั่นคงในธรรมะไม่ใช่เรา เพื่อที่จะได้รู้ความจริงว่ากิเลสทั้งหลายมาจากความไม่รู้ และยึดถือว่าเป็นเรา เมื่อมีเราก็รักตัวที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างแสวงหาถ้าไม่ได้ทางสุจริตก็ทุจริต ก็ยังกล้าที่จะทำสิ่งที่เป็นโทษ เพราะความรักตัว แต่ความจริงเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าถ้ารักตัวต้องไม่ทำทุจริต นั่นเพราะไม่รู้ ต้องไม่ลืม จิตขณะนี้ เดี๋ยวนี้ มาจากตั้งแต่เกิด จะเป็นวันนี้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เกิดมาแล้วก็มาถึงวันนี้ พอพรุ่งนี้ก็คือผ่านมาจากวันนี้ แหละค่อยๆ สะสมไป แต่ละขณะจนถึงพรุ่งนี้ พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไรก็มาจากวันนี้ มาจากแต่ละหนึ่ง หนึ่งขณะ

    เพราะฉะนั้นทำดี ถ้าทำดีความดีก็เพิ่มขึ้น แต่ละหนึ่งขณะสะสมไปด้วยเหตุนี้ตั้งแต่เกิดมาคนเราก็ต่างกันโดยอุปนิสัย นิสสยะที่อาศัย อุปะที่มีกำลัง จากการที่ได้พบ ได้เห็น ได้คิด ได้ทำ มาแล้วจนกระทั่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ และเป็นต่อๆ ไปข้างหน้าตามสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่ละหนึ่งขณะจิต เบื่อไหม

    ผู้ฟัง ไม่เบื่อ ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ แสดงว่าเข้าใจประโยชน์ ใครกำลังเบื่อคนนั่นแหละไม่ได้เข้าใจประโยชน์ที่เกิดจากการได้ฟังพระธรรม เบื่อเป็นธรรมะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ บังคับได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม

    ผู้ฟัง เป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นจิต หรือเจตสิก

    ผู้ฟัง เป็นจิตด้วยเป็นเจตสิกด้วย

    ท่านอาจารย์ ต้องอย่างหนึ่งอย่างใด อันนี้แสดงว่าเรายังไม่ได้แยก จิตไม่ทำอะไรเลยทั้งสิ้น นอกจากเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น จิตเป็นธาตุรู้ เจตสิกเป็นธาตุรู้ เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน สิ่งที่จิต และเจตสิกรู้ ใช้คำว่าอารัมมณะในภาษาบาลี หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า อาลัมพนะ แต่ภาษาไทยคุ้นหูกับคำว่าอารมณ์มาจากคำว่าอารัมมณะ

    ผู้ฟัง อาจารย์ ถ้าอย่างนี้เราเรียกเจตสิก ว่าอาการของจิตได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ไปเรียกทำไม

    ผู้ฟัง ในความเข้าใจของเรา

    ท่านอาจารย์ เจตสิกเขาก็เป็นเจตสิกแต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง แต่เพราะว่าเจตสิกเหล่านั้นเกิดกับจิตก็ทำให้จิตประกอบด้วยเจตสิกนั้นประเภทหนึ่ง ก็แยกเป็นทั้งหมด ๘๙ ประเภท หลากหลายเพราะเจตสิกที่เกิดร่วมกัน มีการประดิษฐ์คิดคำใหม่อีกหน่อยก็ประดิษฐ์อีกเยอะ เลื่อนๆ ไปทุกทีจนกระทั่งคำเก่าไม่เหลือ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วแต่ละคำเป็นเพียงให้เข้าใจว่าหมายความถึงอะไร แต่ถ้าเราใช้คำที่เป็นภาษาเดิมอย่างภาษาบาลี โดยที่ว่าไม่ว่าชาติไหนภาษาไหนศึกษาธรรมะก็ต้องมาจากภาษาบาลี ถ้าแปลเป็นภาษาอื่นทั้งหมดในที่สุดก็เคลื่อนไป เพราะฉะนั้นจึงต้องดำรงรักษา ภาษาบาลีไว้เพื่อความถูกต้อง ไม่ว่าจะแปลไปเป็นภาษาอื่นก็ต้องให้ถูกต้อง ยากที่จะมีภาษาที่จะทำให้เข้าใจชัดเจน แต่ก็เวลาเข้าใจแล้ว ไม่ต้องมีภาษา คิดดูไม่ต้องพูดอะไรสักคำ ขณะนั้นเพราะกำลังรู้ความจริงของสิ่งนั้น แต่ที่ต้องพูดก็เพื่อที่จะให้เข้าใจว่าหมายความถึงอะไร ตอนหลับมีจิตไหม

    ผู้ฟัง ก็มีอยู่

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ทำไมว่ามี

    ผู้ฟัง ยังฝันได้เลย

    ท่านอาจารย์ ยังฝันได้ แล้วตอนไม่ฝันมีไหม

    ผู้ฟัง ก็มีอยู่

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง จนกว่าจะตาย หมายความว่าสิ้นสุดการเกิดดับของจิตประเภทที่เป็นคนนี้ในชาตินี้ ซื้อได้ไหมว่าอย่าตายเลย เงินมากมายมหาศาลได้ไหม

    ผู้ฟัง ซื้อไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีใครได้เลย ต่อให้เป็นพระเจ้าอโศกมหาราชหรือใครก็ตาม ถึงเวลาสิ้นกรรม ที่เราใช้คำว่าสิ้นกรรมถึงเวลาที่กรรมจะให้ผล หมายความทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ เป็นบุคคลอีกต่อไปไม่ได้เลย แต่จิตเจตสิกรูปเกิดสืบต่อไม่มีระหว่างคั่นเลย เพราะฉะนั้นจิตนี้ จะว่าเก่าหรือวจะว่าใหม่ พราะเหตุว่าสืบต่อมาจากแสนโกฎกัลป์ แต่ไม่ใช่อันนั้น ต้องเป็นหนึ่งขณะที่แต่เกิดดับสืบต่อ จากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่ง แลกกันได้ไหม เอาจิตอันนี้ไปสลับกับอันโน้น ไม่ได้เลย จิตไหนดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ก็ต้องมาจากจิตนั้นที่ดับไป เพราะฉะนั้นแต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง ตอนเกิดต้องไม่ลืม จิตเจตสิกรูปเกิด เพราะฉะนั้นรูปในขณะที่เกิด จิต และเจตสิกเกิดเพราะกรรมหนึ่ง ที่ได้กระทำแล้ว และรูปที่เกิดพร้อมจิตก็เพราะกรรมนั้นแหละ เพราะฉะนั้นจะเกิด แล้วก็ต่อไปเป็นงู เป็นช้างเ ป็นนก เป็นแมวเป็นคนหญิงหรือชาย ก็แล้วแต่กรรม เพราะที่ตัวนี้ มีรูปที่เกิดจากกรรมก็มี เกิดจากจิตก็มี เกิดจากอุตุก็มีความเย็นความร้อน เกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปก็มี

    ผู้ฟัง ถ้าตาย หัวใจหยุดเต้น จิตไปยังไง

    ท่านอาจารย์ จิตไม่ไป

    ผู้ฟัง เป็นยังไง

    ท่านอาจารย์ จิตไม่ไป ไฟดับแล้วไฟไปไหน จิตไม่ใช่รูปยิ่งกว่ารูปอีก คิดดูเรายังเห็นไฟดับ และไฟไหม้ได้ไปไหนให้เห็นกับตา แต่นี่ไม่มีรูปที่จะให้เห็นเลย เดี๋ยวนี้จิตดับเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด จิตก่อนไม่มีเลย ถ้าจิตก่อนยังเหลืออยู่จิตนี้เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นดับคือไม่เหลือเลย ไปไหนได้ ไม่เหลือจริงๆ

    ผู้ฟัง แล้วการเกิดที่ว่าไปเกิดเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นเทวดา

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ไป กรรมทำให้เกิดคิดดู เป็นมนุษย์ เกิดในพรหมโลก ด้วยกรรมไม่ต้องมีใครพาไปเลย แรงของกรรมทำได้ทุกอย่าง น่าอัศจรรย์จริงๆ ว่าทำได้อย่างไรถึงอย่างนั้น ไม่ว่าโรคภัยไข้เจ็บประหลาดๆ ยังไงก็ตามก็แรงของกรรมทั้งนั้นทำได้ทุกอย่าง แรงของกรรมนี่เป็นการสืบต่อของของกรรมได้แก่เจตสิก ๑ ประเภท เพราะเจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ ประเภท กรรมได้แก่เจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่จงใจตั้งใจ ดีหรือชั่วก็แล้วแต่สภาพธรรมะที่เป็นฝ่ายดี เจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วย หรือเจตสิกฝ่ายไม่ดีเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นจำแนกเจตสิกออกเป็นประเภท ที่เกิดกับจิตทุกประเภทประเภทหนึ่ง ที่เป็นอกุศลเกิดกับอกุศลประเภทหนึ่งเป็นเจตสิกที่ไม่ดี แล้วก็เจตสิกฝ่ายดีเกิดกับกุศลจิต และวิบากจิตที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้น เกิดมาแล้ว เป็นมนุษย์เป็นผลของกรรมอะไร ลองคิด ไม่ได้เกิดเป็นนก ไม่ได้เกิดเป็นแมว ไม่ได้เกิดเป็นงู เกิดเป็นนก แมว เป็นผลของกรรมอะไร

    ผู้ฟัง มนุษย์นี่กรรมดีนะอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ดีไหมล่ะ เป็นมนุษย์ คิดได้ มีโอกาสได้ฟังพระธรรมด้วย

    ผู้ฟัง ดี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นผลของกุศลกรรม เข้าใจธรรมะใช่ไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ กุศลนั้นประกอบด้วยปัญญา เพราะว่าถ้าไม่มีปัญญาเกิดกับจิตที่ปฏิสนธิจะฟังธรรมะไม่รู้เรื่อง แต่ว่าก็สามารถจะค่อยๆ เข้าใจทีละเล็กทีละน้อยสะสมไปได้ เป็นธรรมะหรือเปล่า เป็นเราหรือเปล่าอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครหรือเปล่า เป็นไปไม่ได้เลย มองก็ไม่เห็นด้วย แต่มี กำลังเห็นใช่ไหม

    ผู้ฟัง กำลังเห็น

    ท่านอาจารย์ เห็นอะไร คงงงน่ะ เห็นต่างเยอะ แล้วถามว่าเห็นอะไร เห็นธรรมะชนิดหนึ่ง แม้แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นมีจริงๆ เป็นธรรมะหนึ่ง ในบรรดาธรรมะทั้งหลายที่เป็นรูปธรรม รูปธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดงไว้ ๒๘ ประเภท เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ที่กำลังเห็นสิ่งที่ถูกเห็น

    ผู้ฟัง เป็นรูปธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นรูปธรรมหนึ่งใน ๒๘ อะไรเป็นรูปอีก อะไรเป็นรูปอีก มี ๑ เองหรือ ตอนนี้รู้แล้วรูปเยอะเลย เท่าที่รู้จัก เอาเท่าที่รู้จักอะไรเป็นรูปบ้าง ลองบอกมา หนึ่งล่ะไม่พูดอะไรเลยก็มีใช่ไหม สิ่งที่ปรากฏทางตา บางคนก็ใช้คำว่าสีก็ได้ใช่ไหม เพราะว่าเขียวบ้างน้ำตาลบ้าง ขาวบ้าง ก็เป็นเห็นสีไป แต่ว่าให้เข้าใจว่าที่ว่าเห็นสี ต้องหมายความถึงไม่ใช่ดำ เขียว แดง แต่ภาวะที่ปรากฏให้เห็นได้ จะสีอะไรก็ตามแต่ เพราะฉะนั้นเป็นรูปชนิดหนึ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาทะแล้วจิตเห็นเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงปรากฏว่าไม่จริงๆ หนึ่งรูปแล้วภาษาบาลีจะใช้คำว่าวรรโณ นิภา อะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าให้ทราบว่า ขณะนั้นปรากฏให้เห็นได้ จิตรู้อะไรทางตา เหมือนกับจิตเห็นอะไรไหม

    ผู้ฟัง เหมือน

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง คือต้องคิดเอง แล้วก็ต้องเป็นความเข้าใจว่าจะต่างกันอย่างไร ก็จิตใช่ไหมล่ะที่เห็น ใช่ไหม แล้วก็จิตเป็นสภาพรู้แต่ขณะนั้นไม่ได้รู้กลิ่น ไม่ได้รู้รส แต่รู้สิ่งที่ปรากฎจึงเรียกว่าเห็น แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าจิตรู้ ต้องมีสิ่งที่จิตกำลังรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จิตกำลังรู้เรียกว่าอะไร อารัมมณะในภาษาบาลีภาษาไทยเรียกว่าอารมณ์ เพราะฉะนั้นมีจิตต้องมีอารมณ์ เมื่อมีธาตุรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ วันนี้อารมณ์ดีไหม

    ผู้ฟัง อารมณ์ดี

    ท่านอาจารย์ ทำไมว่าอารมณ์ดีล่ะวันนี้

    ผู้ฟัง ไม่อึดอัดขัดข้องใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง มาฟังธรรมะ ไม่ยึดอะไร

    ท่านอาจารย์ แล้วฟังธรรมะ พอจะได้เค้าน่ะ แต่ต้องรู้ว่าอารมณ์ดีต้องไม่ทิ้งคำว่าเพราะจิตรู้สิ่งที่ดี ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ดีตอนนั้นอารมณ์ไม่ดีล่ะ เพราะฉะนั้นคนไทยเราใช้คำปลายเหตุ แต่ไม่รู้ว่าอารมณ์ที่เราพูดทุกวันๆ นี่มาจากสิ่งที่จิตกำลังรู้ทั้งนั้น ถ้าจิตรู้สิ่งที่ดีเราบอกได้อารมณ์ดี ภาษาบาลีใช้คำว่าอิฏฐารมณ์ อิฏฐารัมมณะ อนิฏฐารมณ์ อนิฏฐารัมมณะ ก็ค่อยๆ เรียนบาลีไปทีละคำ สองคำ เพราะเราเข้าใจความหมายแล้ว เข้าใจแล้ว รู้คำไม่ยากเลย ตรงกันแต่ถ้ารู้แต่คำไม่รู้ความหมายไม่มีทางที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้รู้จักอารมณ์ไหม อารมณ์ก็คือสิ่งที่จิตรู้ ไม่ว่าจิตรู้อะไรสิ่งนั้นเป็นอารมณ์หมด ขอประทานโทษ ชื่ออะไร

    ผู้ฟัง ชื่อดวงดาว

    ท่านอาจารย์ ดวงดาว จิตรู้ไหม

    ผู้ฟัง จิตรู้

    ท่านอาจารย์ จิตต้องได้ยินเสียง แล้วจิตก็รู้คำว่าดวง แล้วจิตก็ได้ยินเสียงดาว แล้วจิตก็รู้คำว่าดาว เพราะฉะนั้นพอบอกว่าดวงดาว จิตรู้ เป็นอารมณ์ของจิต ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏตั้งแต่ลืมตา เป็นอารมณ์ของจิต ที่เกิดดับสลับกันสืบต่อ เร็วสุดที่จะประมาณได้ จนลืมจิตไปเลย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 181
    8 ก.ค. 2567