ปกิณณกธรรม ตอนที่ 1031


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๑๐๓๑

    สนทนาธรรม ที่ บ้านคุณสมบูรณ์ ผดุงไทยธรรม จ.ชลบุรี

    วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐


    ท่านอาจารย์ อีกหลายๆ ปี หลายๆ เดือน ต่อมาก็มีเห็นอย่างนี้ อย่างเดี๋ยวนี้ เป็นเห็นที่ไม่ใช่ ๒๐ ปีก่อน กับเห็นเดี๋ยวนี้คิดอย่างไร ความคิดที่เกิดจากการเห็น ต่างกันเพราะก่อนนั้นไม่เคยรู้ ไม่เคยฟังว่าเห็นไม่ใช่เรา ใช่ไหม แต่ ณ.วันนี้จากการที่ได้ฟังมาบ้าง จนถึงเดี๋ยวนี้ ก็เริ่มพูดได้ว่าเห็นเป็นวิบาก เข้าใจในคำในเรื่องราวของเห็น แล้วก็รู้ว่าคิดไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่ไปรู้สิ่งที่ปรากฏเพราะอาศัยตา แล้วก็เกิดขึ้นเห็นแล้วก็ดับไป แต่คิดไม่ได้อาศัยตาเลย เพราะฉะนั้นจะเห็นหรือไม่เห็นก็ต้องเป็นผลของกรรมอีก ซึ่งจะมีตาหรือไม่มีตาก็ต้องเป็นผลของการอีก แต่มีตาหรือไม่มีตาก็คิดตามการสะสม ใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็เริ่มเห็นเริ่มเข้าใจความต่างพอที่จะค่อยๆ รู้ขึ้น อย่างนั้นเป็นผลของกรรมอย่างนี้ไม่ใช่เป็นผลกรรม ตรงตามที่ได้ฟัง หมายความว่าเรื่องราวที่ได้ฟังมาทั้งหมดปรากฏ ค่อยๆ เห็นตัวจริงของสภาพธรรม ทั้งๆ ที่มีแต่ถูกปกปิดไว้ด้วยความไม่รู้ จนกระทั่งเป็นปกติอย่างนี้ ขณะหนึ่งเป็นผลของกรรม ขณะต่อไปเป็นตัวกรรมที่จะให้เกิดผลต่อไปข้างหน้า แม้แต่เดี๋ยวนี้ที่จะกล่าวว่าเห็นเป็นผลของกรรม ยังไม่รู้เลยว่ากรรมไหน ชาติไหน แต่แน่นอนว่าไม่ใช่คิด พอรู้ว่าแน่นอนว่าไม่ใช่คิด และมีความหลากหลายต่างกัน ก็จะแยกได้ว่า เห็นก็แค่เห็น ใช่ไหมส่วนคิดเดี๋ยวดีอเดี๋ยวชั่ว เดี๋ยวเข้าใจ เดี๋ยวไม่เข้าใจ

    เพราะฉะนั้นก็เริ่มเห็นว่าความเป็นวิบาก ต่างกับขณะที่เป็นกรรม หรือเป็นกุศล อกุศล เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงโดยไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้ แต่ว่าลักษณะที่ต่างกัน แสดงความต่างของสภาพธรรม ๒ อย่าง คือสภาพธรรมที่เป็นวิบาก บ้างก็ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เห็น แล้ว ก็ส่วนเรื่องอื่นนอกจากนั้นทั้งหมด เท่าที่ปรากฏในชีวิตประจำวันคือ นอกจากนี้แล้วไม่ใช่วิบากคือผลของกรรม เป็นตัวกรรมที่เกิดขึ้นเพราะการสะสม แม้แต่ความคิด ตรงหรือเปล่าค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าความหลากหลายที่ทรงแสดงก็เรียกชื่อ เห็นอย่างนี้ก็บอกว่าเป็นผลของกรรม เพราะเป็นผลจริงๆ ส่วนสภาพธรรม ที่คิดนึก สุข ทุกข์ กุศลอกุศล ก็ไม่ใช่เห็น เหตุก็ต่างกัน ใช่ไหม กิจหน้าที่ก็ต่างกัน เพราะฉะนั้นก็ใช้คำว่าผลของกรรมกับกรรม แสดงเห็นความต่างว่า ๒ อย่างนี้ต่างกันจริงๆ อย่างหนึ่งก็เป็นผลที่ได้เกิดแล้ว จากการที่ได้กระทำเหตุ ไม่มีใครไปทำให้เห็นเหมือนกันได้ บางครั้งเห็นสิ่งที่ดี บางครั้งเห็นสิ่งที่ไม่ดี อะไรล่ะเป็นเหตุ

    อ.อรรณพ ตอนนี้ก็ฟังมาก็พอจะคล้อยตามได้ว่า เห็นก็ไม่คิด คิดดีก็มี คิดไม่ดีก็มี เพราะฉะนั้นเห็นต้องไม่ใช่การคิดดีหรือคิดไม่ดี เห็นเป็นเพียงเห็น เป็นธาตุรู้เป็นเพียงผลของกรรม กรรมดีก็ให้เห็นสิ่งที่น่าพอใจ กรรมไม่ดีก็ให้เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่เป็นเพียงเห็นเท่านั้น แต่หลังจากนั้นแล้ว จะเป็นกุศล อกุศลคนละขณะ เท่านี้ก็ยังพอจะโดยขั้น การฟังก็ยังพอจะเห็นว่าไม่มีเรา ตอนเห็นก็เป็นเห็น แล้วหลังจากนั้นก็คิดดีคิดไม่ดีตามการสะสม ซึ่งก็เป็นธาตุรู้

    ถ้าท่านอาจารย์ถามว่าเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ต่างกันไหม พอจะไตร่ตรองตอบได้ว่าต่างกัน เป็นธาตุรู้ที่ต่างๆ กัน เพราะเห็นต้องไม่ใช่ได้ยินต้องไม่ใช่กลิ่น ใช่ไหม แต่ท่านอาจารย์ถามว่าทำไมเห็นถึงเป็นวิบาก หรือเห็นผลของกรรม ถ้าจะตอบจริงๆ ก็ต้องมีปัญญารู้แจ้งในสภาพที่เป็นอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าคนฟังทุกคนบอก ไม่เห็นมีใครตอบไม่ได้เลย เห็นเป็นวิบากก็ตอบได้ทุกคนเลย ได้ยินก็เป็นวิบากพูดได้หมดทุกอย่าง

    อ.อรรณพ พูดตาม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะฉะนั้นเห็นความลึกซึ้งว่าตัวธรรมจริงๆ ถ้าเราไม่รู้ธรรมก่อน ไม่มีทางที่เราจะรู้ความต่างที่จะเห็นว่าต่างจริงๆ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นลักษณะของความคิดนึกซึ่งไม่ใช่เห็น ก็ต้องไม่ใช่ผลของกรรม เพราะว่าไม่ได้เป็นไปตามกรรมที่ทำให้มีสิ่งที่ปรากฏดีหรือไม่ดี น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ

    อ.อรรณพ หรือง่ายๆ อย่างคนที่เขาตาบอดเขาก็ไม่เห็น แต่เขาคิดได้ไหม ได้ เพราะฉะนั้นเห็นต้องไปคิด คนตาบอดก็ยังคิด แต่ก็ไม่ได้คิดจากสิ่งที่เห็น เพราะไม่มีการเห็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นฟังธรรมอย่าลืม เข้าใจธรรม ไม่ใช่คิดเอง แต่ทำไมคิดเอง

    อ.อรรณพ สะสมมาที่จะคิดเอง อย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะประมาทคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คิดว่าคิดเองก็ได้ ได้ยินมาแค่นี้ก็คิดต่อ ผิดหมดเลย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ที่มูลนิธิเมื่อวันอาทิตย์ผู้ถาม สนทนาเรื่องที่คิดว่าเป็นประโยชน์แต่ตอนนั้นเวลาหมดไป ก็คือคำจากในพระไตรปิฎกที่ว่า

    อ.อรรณพ คนพาล ผู้มีปัญญาทราม ย่อมประพฤติกับตนเอง ดั่งศัตรู

    ท่านอาจารย์ ศัตรูอยู่ไหน มีใช่ไหม แล้วศัตรูอยู่ไหน มีแล้วก็ต้องรู้ว่าอยู่ไหน

    ผู้ฟัง ศัตรู คือเดิมก็ไม่รู้ว่าศัตรูอยู่ไหน ก็คิดว่าเป็นคน เป็นใครที่ไม่ชอบเรา เป็นศัตรู

    ท่านอาจารย์ เราไม่ชอบเขาหรือเขาไม่ชอบเรา ต้องละเอียดมากจริงๆ ถ้าเราไม่ชอบใครเมื่อไร ศัตรูอยู่ไหน ต้องฟังดีๆ

    ผู้ฟัง ที่ใจ

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่ใจไม่ไกลเลย ไม่ใช่อยู่ที่คนนั้น ใช่ไหม แต่อยู่ที่ใจที่ไม่ชอบ

    ผู้ฟัง ใจอยู่ตรงไหน อาจารย์

    ท่านอาจารย์ มีใจไหม

    ผู้ฟัง ก็ทั่วไปพอพูดใจ คนก็คิดว่าเป็น ก็ชี้เข้าไปในหัวใจ

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้นหัวใจเป็นใจหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นใจคืออะไร อยู่ไหน ต้องฟังธรรมทั้งหมด มิช่นนั้นจะไม่สามารถจะรู้ได้เลย จะขาดการฟังแล้วไปนึกกันเอง ไปพูดกันเองก็ผิดหมด

    ผู้ฟัง ใจกับจิต ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เหมือนกันไหม

    ผู้ฟัง จิตสภาพรู้

    ท่านอาจารย์ แล้วใจล่ะ

    ผู้ฟัง คิดว่าเหมือนกัน สภาพรู้

    ท่านอาจารย์ สภาพรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน แยกจากสภาพซึ่งรู้โดยไม่ใช่ฐานะที่เป็นใหญ่เป็นประธาน แต่โดยฐานะที่ชอบหรือไม่ชอบ หรือจำ หรือรู้สึก หลากหลายกันไป ด้วยเหตุนี้สภาพที่กำลังเห็น พูดถึงเห็น เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งว่า สิ่งที่ปรากฏหลากหลายต่างกันอย่างไร รู้แจ้งในลักษณะที่ต่างกัน แต่จะชอบหรือไม่ชอบไม่ใช่สภาพที่กำลังรู้แจ้ง เพราะฉะนั้นสภาพที่รู้แจ้งจริงๆ ก็คือจิต แต่จิตเกิดตามลำพังไม่ได้เลย ทุกอย่างที่เกิดต้องมีปัจจัย อาศัย อุปถัมภ์ เกื้อกูลกันให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นมีธาตุรู้ซึ่งอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น คือจิต และเจตสิก จิตก็เป็นใหญ่เป็นประธานในการเห็น ในการได้ยิน แต่ถ้าไม่มีเจตสิก จิตเกิดไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ แม้จิตเรายังไม่รู้ แล้วเจตสิกซึ่งไม่ปรากฏ จะรู้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ ผัสสะเจตสิก

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามจะรู้เมื่อสิ่งนั้นปรากฏ แล้วเข้าใจ จึงจะรู้ความจริงได้ การฟังธรรมต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ถ้าไม่มีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน ไม่มีทางที่จะรู้แจ้ง ปัญญาไม่สามารถที่จะรู้ชัดตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นได้ ต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง ที่กล่าวว่าศัตรูอยู่ในใจ และก็ใจอยู่ภายในใกล้ที่สุด

    ท่านอาจารย์ เวลาที่โกรธ กับเวลาที่ไม่โกรธต่างกันไหม

    ผู้ฟัง เวลาโกรธ หนัก ขัดเคือง

    ท่านอาจารย์ ใครไม่สบาย

    ผู้ฟัง ใจจิตใจ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องมีใครทำร้ายเลยเจ็บเอง เพราะกิเลสที่มีอยู่ในจิต เพราะฉะนั้นศัตรูนั่นแหละที่ทำร้ายใกล้ชิดมาก ไม่ห่างเลย แต่ไม่รู้ว่าอยู่ในบ้านของศัตรู

    ผู้ฟัง แต่เข้าใจว่าเป็นคนอื่นที่ทำเรา เป็นเพราะเขาทำให้เราโกรธ

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสเลย จะโกรธไหม

    ผู้ฟัง ไม่โกรธ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นศัตรูอยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง อยู่ที่ใจเรา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่ไม่ดีงาม ใช่ไหม ป็นอกุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่ทำให้จิตมีมลทิน เพราะลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ดีนั้นเกิดกับจิต

    ผู้ฟัง คนพาล ปัญญาทราม ฟังดูแล้วเศร้าเลย ว่าเราก็เป็นคนพาล

    ท่านอาจารย์ ก็เราทั้งนั้นแหละ จนกว่าจะเป็นธรรม กว่าคำว่าทุกอย่างเป็นธรรมจะซึมเข้าไปถึงใจที่ไม่ลืม ฟังแล้วฟังอีก ฟังแล้วฟังอีก กว่าจะค่อยๆ เข้าไปทีละเล็กทีละน้อย จนมั่นคง จนกระทั่งไม่สงสัยเลย อะไรเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรา แต่เมื่อคบควรคบบัณฑิตคือกุศลธรรมที่ทำให้เกิดปัญหา

    ผู้ฟัง คบบัณฑิตแต่เราเป็นคนพาล

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่คบบัณฑิตจะเป็นบัณฑิตได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วคบหมายความอย่างไร คนพาลไปคบกับบัณฑิต แล้วพาลก็เป็นพาลไปเรื่อยๆ อย่างนั้นหรือ หรือว่าจากการคบคุ้นเคยได้ยิน ได้ฟังบ่อยๆ ก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ถูกต้องขึ้น เพราะว่าใครจะรู้มาตั้งแต่เกิด ใช่ไหม ถ้าคุณกนกวรรณไม่ฟังธรรมเลย จะรู้ไหมว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา แม้แต่จะได้ยินก็ไม่ได้ยิน

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจากการฟังทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะมั่นคงว่าเป็นธรรม ต้องฟังทั้งหมด จนกว่าจะมั่นคงว่าเป็นธรรมคือไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ประโยคนี้ต้องการที่จะเตือนอะไร คนพาล..

    ท่านอาจารย์ หลายอย่าง เดี๋ยวนี้อยู่ไหน หาให้เจอ พูดถึงสิ่งที่มองไม่เห็นใช่ไหมทั้งๆ ที่มีจนกว่าจะเห็น

    ผู้ฟัง เตือนให้เข้าใจถึงสภาพธรรมว่าถ้าไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ มีสิ่งที่ไม่รู้แต่มี เพราะฉะนั้นฟังจนกว่าจะเข้าใจถูกในสิ่งที่มี

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ อย่างนี้คนพาลในนัยนี้ก็คือ คนที่ยังไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้ก็ มีหลายระดับไหม ใช่ไหม อย่างเรามาศึกษาพระธรรมเราก็เริ่มรู้บ้าง

    ท่านอาจารย์ ระดับไหนก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่รู้ทุกระดับ

    ผู้ฟัง อย่างนั้นขณะที่ไม่รู้นั่นคือขณะที่เป็นคนพาล

    ท่านอาจารย์ จะไปหาคนพาลที่ไหนอีกล่ะ บางทีการสนทนาธรรม ผู้ถามคิดเองอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่พูดตอบก็ตอบแล้ว แต่ก็ไม่ฟังคำตอบ ก็ยังคิดเองอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นเครื่องกั้น คือไม่พิจารณาคำที่ได้ฟัง

    อ.ธีรพันธ์ จริงๆ แล้วคนพาลมาจากอะไร ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เป็นพาล จะเรียกคนพาลไหม เพราะว่าพาลก็ได้แก่สภาพธรรมที่เกิดกับจิตนั่นเอง ซึ่งเป็นอกุศลธรรม นี่คือความเป็นพาล แล้วก็ความเป็นพาลก็มีอยู่หลายระดับ เป็นอันธพาลปุถุชน เป็นปุถุชนที่มืดบอด เป็นทั้งผู้ที่หนาไปด้วยกิเลส ปุถุคือหนา ทั้งหนา ทั้งบอด หนักเลย เพราะว่าไม่ได้ยินได้ฟังพระธรรมเลย แต่ว่าจะเป็นบุคคลที่พ้นจากความเป็นพาลได้ ต้องมีการคบบัณฑิต บัณฑิตก็คือผู้ที่มีจิตใจที่มีสภาพธรรมที่ดีงาม จนสามารถดับกิเลสได้ แต่ว่าจะพ้นจากความเป็นพาลได้ ก็ต่อเมื่อได้ยินได้ฟังพระธรรม เห็นว่าสภาพธรรมใดที่เป็นพาล สมควรละ สภาพธรรมใดที่ทำให้จะเจริญขึ้นจนกว่าจะเป็นบัณฑิต ก็ต้องรู้ตามความเป็นจริง ก็ต้องอาศัยปัญญา เพราะปัญญาสามารถรู้สภาพธรรมที่เป็นพาล สภาพธรรมที่เป็นบัณฑิต

    อ.คำปั่น ก็มีข้อความในอันตรามลสูตร ที่แสดงถึงว่า กิเลส ๓ ประการ ซึ่งเป็นหลักเลย ก็คือโลภะ โทสะ โมหะ เป็นศัตรูภายใน เป็นอมิตรภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน ซึ่งก็แสดงเพื่อเกื้อกูลสำหรับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่จริงๆ เพื่อเตือนว่ายังมากไปด้วยกิเลส แล้วก็มีข้อความที่แสดงถึงว่าถ้าเป็นศัตรูภายนอก อย่างเช่นบางคนอาจจะถูกประทุษร้ายจากศัตรูคือคนอื่น ที่ทำให้ตัวเองได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน ท่านก็แสดงว่าเป็นเพียงการได้รับทุกข์เพียงในชาตินั้น แต่ว่าศัตรูภายในคือกิเลสที่สะสมอยู่ในจิต ติดตามไปทุกภพทุกชาติน่ากลัวมากเลย สะสมอกุศล เพราะฉะนั้นการที่มีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรมก็เป็นเครื่องเตือนที่ดี ให้เข้าใจความจริงว่าอกุศลธรรมทั้งหลาย มีแต่โทษโดยส่วนเดียว ไม่นำมาซึ่งประโยชน์ใดๆ เลย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวว่าถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจให้ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถึงเวลาที่เราทุกคน ไม่ใช่คนอื่น แต่เราด้วยทุกคนที่จะมีชีวิตที่มีประโยชน์ โดยการที่ได้เข้าใจธรรม แล้วก็มีเมตตาให้คนอื่นได้ฟังได้เข้าใจเพิ่มขึ้น ด้วยตามกำลังความสามารถ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเขาไม่เข้าใจเราจะไปทำอย่างไรให้เขาเข้าใจ หรือเราจะไปฝ่าฝืนอย่างไรให้เขาเข้าใจ เพียงแต่ว่าเราทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้นเอง เต็มกำลังความสามารถที่จะทำได้ ส่วนใครจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็เป็นเรื่องของเขา โดยเฉพาะนั่นก็คือความเป็นอนัตตา แต่จะกั้นไม่ให้เราพูด ไม่ให้เราแสดงความคิดเห็น ไม่ให้เราแสดงความถูกต้อง เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าการที่จะให้คนอื่น ได้เข้าใจธรรมรวมทั้งเราก็ศึกษา เพื่อที่จะได้เข้าใจธรรมยิ่งขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และสมควรไหม เมื่อรู้ประโยชน์ก็ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เท่านั้นเอง ส่วนผลจะเป็นอย่างไรไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ใครจะเห็นผิดเห็นถูก รักชังประการใด คิดว่าเป็นการเพ่งโทษ ติเตียน ประการใดก็แล้วแต่ เพราะว่าคนเราคิดได้ต่างๆ กัน แต่ความหวังดีของเรา ก็หวังดีที่จะให้คนได้เข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เดือดร้อนเลย เขาจะไม่เข้าใจ ไม่ต้องคิดว่าเราจะทำอะไรต่อไป เข้าใจธรรมแล้วก็ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่จะให้คนอื่นได้เข้าใจเต็มความสามารถของทุกคน


    สนทนาธรรม ที่

    โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี

    วันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐


    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ ในช่วงก่อนการสนทนาก็มีคนปรารภว่า คนใหม่ที่เพิ่งเคยได้ยินคำว่าธรรม ก็ดูเหมือนกับเป็นสิ่งที่ยาก จะมีการกล่าวหรือสนทนาอย่างไรที่จะเป็นเบื้องต้น

    ท่านอาจารย์ ความจริงเป็นธรรมดา เพราะเหตุว่าการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะฉะนั้นธรรมคือเดี๋ยวนี้ ฟังธรรมต้องค่อยๆ คิด ค่อยๆ ไตร่ตรอง เพราะเหตุว่าเป็นความรู้ของผู้ที่ฟังเอง ไม่ใช่ความรู้ของผู้ที่พูดหรือของใครก็ตาม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไปหยิบยกยื่นให้ใครได้ แต่ว่าการที่แต่ละคนจะได้ประโยชน์จากการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ก็คือได้ฟังแต่ละคำแล้วไม่ประมาท เพราะรู้ว่าผู้ที่ตรัสคำนั้นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำนี้ทุกคนก็ได้ยิน เคารพสูงสุดกราบไหว้มานาน แต่การที่จะรู้คุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทุกคนในสากลจักรวาลแสดงความนอบน้อมอย่างยิ่ง ในพระปัญญาคุณ ซึ่งทำให้พระองค์เป็นผู้ที่บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสใดๆ ที่ชาวโลกมีในสังสารวัฏอีกต่อไป ไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้นปัญญาที่สามารถที่จะทำให้กิเลสหมดสิ้นไปได้ ลองคิดดูว่าจะยาก ประเสริฐสักแค่ไหน เพราะเหตุว่า แม้แต่เดี๋ยวนี้ กำลังมีกิเลสก็ไม่รู้ แล้วจะละได้อย่างไร เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรม ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาท พระปัจฉิมวาจาสุดท้ายก่อนที่จะปรินิพพาน ซึ่งเตือนชาวพุทธทั้งหมด " จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม" แต่ละคำ จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม หมายความว่าทุกเรื่องประมาทไม่ได้เลยสักอย่างเดียว รับประทานอาหารประมาทได้ไหม ก้างติดคอ หรือแม้แต่กลืนอะไรเข้าไปก็ได้ไปติดคอ อาจจะถึงแก่สิ้นชีวิตก็ได้

    เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ละคำถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจประโยชน์จริงๆ ในทางที เป็นประโยชน์ มิเช่นนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจัตรัสทำไม และเป็นพระปัจฉิมวาจาสุดท้าย ก่อนที่จะไม่มีอีกแล้ว ไม่ใช่เฉพาะจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น แต่ไม่มีอีกเลย ปรินิพพานหมายความว่า ดับโดยรอบ จากการที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมี นานทุกชาติที่เป็นพระโพธิสัตว์ ยากลำบาก บางชาติก็เป็นผู้ที่ยากจนเข็ญใจมาก ไร้ทรัพย์เป็นผู้ที่ขัดสนจริงๆ บางชาติก็เป็นพระมหากษัตริย์สารพัดอย่าง บางชาติก็เป็นฤาษีดาบสต่างๆ ทั้งหมดเพื่อรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะฉะนั้นการที่จะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือไม่ประมาทแต่ละคำ ทุกคำเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น แม้แต่คำว่าธรรม สิ่งที่มีจริง ถ้าไม่จริงไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะพูดถึง เพราะเหตุว่าไปพูดถึงสิ่งที่ไม่มีทำไม แล้วใครสามารถที่จะไปรู้ได้ในเมื่อไม่มี เพราะฉะนั้นแม้การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสรู้สิ่งที่มีจริงทุกขณะ อย่างละเอียดยิ่ง ซึ่งใครก็ไม่สามารถที่จะรู้ตามได้ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม

    ด้วยเหตุนี้จากการที่คนไม่มีความรู้ความเข้าใจพอได้ยินคำ ที่ทำให้สามารถเข้าใจขึ้น ลองคิดดู คำนั้นคนอื่นกล่าวไม่ได้ พูดถึงไม่ได้เลย ไม่สามารถที่จะให้รู้อย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ แต่คำของพระองค์แต่ละคำทำให้คนที่ไม่เคยรู้อะไรมาเลย ได้เริ่มรู้ ได้เริ่มเข้าใจถูกในทุกสิ่งที่มี ในชีวิตแต่ละขณะตามความเป็นจริง ยากไหม ต้องยากแน่ประมาทไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นใครจะบอกว่าพระพุทธศาสนาง่าย พระธรรมง่าย ไม่ต้องทำอะไรเลย ไปที่ไหนที่หนึ่ง แล้วก็ไปเดิน ไปนั่ง สักประเดี๋ยวก็คงจะได้เป็นพระโสดาบัน รู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลส เป็นไปไม่ได้ ทุกอย่างที่จริงต้องจริง ถูกคือถูกผิดคือผิด

    เพราะฉะนั้นมีคนที่ไม่ได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วไม่คิดจะฟังก็มี แต่ผู้ที่ไม่เคยได้ฟังคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ตามพระไตรปิฏก แต่สนใจที่จะรู้ว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อะไร และเป็นประโยชน์แค่ไหน และสิ่งที่เป็นประโยชน์ต้องเป็นประโยชน์ทุกกาลสมัย ไม่ใช่เป็นประโยชน์แต่เฉพาะในสมัยของพระองค์ แต่ไม่ว่ากาลเวลาจะล่วงเลยไปนานซักเท่าไหร่ ความจริงที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ก็ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะได้ทรงตรัสรู้ความจริงถึงที่สุด เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจที่จะเข้าใจพระธรรม เห็นคุณของผู้ที่ไม่มีใครเปรียบได้เลยในสากลจักรวาล ก็ใคร่ที่จะได้เข้าใจคำของพระองค์แต่ละคำทีละคำ ประมาทไม่ได้เลย แม้แต่คำว่าธรรม ไม่ใช่ภาษาไทยใช่ไหม

    อ.วิชัย เป็นภาษาบาลี

    ท่านอาจารย์ เรื่องของภาษาบาลี ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แล้วก็มีรากศัพท์ มีอะไรทุกอย่าง แต่คนไทยก็คุ้นหูรับมา แต่สิ่งที่ขาดก็คือว่าไม่ได้เข้าใจคำที่ได้ยินได้ฟังให้ถูกต้อง รับมาใช้ง่ายๆ ตามสบาย แต่ว่าเหมือนทุกภาษา คนไทยก็ชอบเก็บภาษาอื่นมาพูดมาใช้ง่ายๆ แต่ว่าไม่ได้เข้าใจว่าคำนั้นจริงๆ หมายความว่าอะไร โดยเฉพาะคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 181
    24 พ.ค. 2567