พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 788


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๗๘๘

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


    ท่านอาจารย์ ถ้าจะกล่าวเพียงชื่อ ไม่กล่าวถึงสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ไม่มีทางจะเข้าใจธรรม ก็มีแต่ชื่อทั้งนั้นเลย ใช่ไหม จิตมีกี่ประเภท มีจำนวนเท่าไหร่ แต่ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มี ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ หรือว่าขณะที่เสียงปรากฏ ก็ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มีในขณะที่เสียงปรากฎ ว่ามีได้ยิน ซึ่งกำลังได้ยินเสียง ถ้าไม่มีได้ยิน เสียงก็ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม คือ สิ่งที่มีจริง ก็จะทำให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ชื่อ ให้รู้ความหลากหลายของสิ่งที่มี แต่หมายความว่า ถ้าจะเข้าใจจริงๆ ต้องสิ่งนั้นกำลังมีเช่น ถ้าจะพูดถึงจิต ใช้คำว่าจิต แต่ไม่พูดถึงเห็นที่กำลังเห็น เข้าใจได้ไหม พูดเรื่องราวของจิตมากมาย ในขณะที่จิตกำลังเห็น แต่ไม่พูดถึงเห็นเลยสักนิดเดียว จะเข้าใจได้ไหม แต่ในขณะที่กำลังเห็นนี้ ก็พูดถึงกำลังเห็น ว่าขณะนั้น คือ อะไร เห็นมีจริงๆ และสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็มีจริง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นไม่ใช่ตัวเห็น หรือสภาพที่กำลังเห็น

    เพราะฉะนั้น ก็มีสองอย่าง ก็เป็นจิตอย่างหนึ่ง ที่เห็น จิตที่คิดมีไหม ก็เป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง ที่คิด เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นความหลากหลายในวันหนึ่งๆ ว่ามีจิตมากมาย แต่ละขณะก็เป็นสภาพที่สามารถที่จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฎ กำลังเห็นไม่เรียกว่าจิตเห็น แต่กำลังรู้ ว่ากำลังเห็น ถูกต้องไหม กำลังเห็น ไม่ต้องนึกถึงคำว่าจิตเห็น ไม่ต้องเรียกว่าจิตเห็น แต่รู้ว่ากำลังเห็น แต่ที่ไม่เข้าใจ ก็คือว่า ไม่รู้ว่า ที่ว่ากำลังเห็น เพราะเห็นเกิดขึ้น คิดว่าเป็นเราเห็น เพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้น จึงฟังแม้เรื่องเห็นให้เข้าใจตามความเป็นจริง กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ กำลังเห็น ทุกคนกำลังเห็น ไม่ต้องเรียกว่าจิตเห็น แต่กำลังรู้ว่าเห็น โดยความเป็นเรา กำลังเห็นเป็นเรา นั่นไม่ใช่ความจริง เพราะเหตุว่า เวลานอนหลับไม่มีเห็นเลย เวลาได้กลิ่นก็ไม่มีเห็นเลย เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีความเข้าใจจริงๆ ว่า ในขณะที่กำลังเห็น ไม่ต้องเรียกว่าเห็น แต่กำลังรู้ว่าเห็น และเริ่มเข้าใจถูก ว่าเห็นเกิดเห็นแล้วก็หมดไป นี่คือ เริ่มรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ความจริงเป็นอย่างนี้เอง คือ ไม่ใช่เราบังคับบัญชาไม่ได้ เกิดแล้วตามเหตุตามปัจจัยเพียงแต่ให้เข้าใจให้ถูกว่า จะรู้จักเห็นก็ต่อเมื่อ เดี๋ยวนี้กำลังเห็น ไม่ต้องเรียกว่า กำลังเห็นด้วย แต่กำลังเข้าใจว่า ขณะนี้ที่กำลังเห็น เกิดเห็นเท่านั้นเอง แล้วก็หมดไป ได้ยินไม่ใช่เห็น นี่คือ ความรวดเร็ว เพราะฉะนั้น แม้สิ่งที่มีจริงก็ยากแล้วก็ลึกซึ้งต้องฟังเพื่อเป็นความเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่มีแต่ละหนึ่ง เช่น กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ รู้ว่ากำลังเห็นถูกต้อง แต่ก่อนไม่เคยเข้าใจเลยคิดว่าเป็นเราเห็น ซึ่งความจริงเห็นเดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น เป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเห็นเท่านั้นเอง

    อ.กุลวิไล จะรู้จักเห็น ต้องขณะที่กำลังเห็น ก็เหมือนกับสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏ แล้วเราพูดถึงเช่นความโกรธ หลายท่านอาจจะพูดถึงความโกรธ แต่ความโกรธก็ไม่ได้ปรากฏในขณะนี้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ควรรู้ เพราะว่ากำลังมีในขณะนี้ เพราะฉะนั้นขณะที่กำลังเห็น รู้ความเป็นธรรมได้ หรือเปล่า หรือว่ายังเป็นเราที่เห็นอยู่

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วก็คือว่า ขณะที่กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ ฟังให้เข้าใจ สิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดเรื่องเห็น เดี๋ยวนี้เองกำลังเห็น กำลังเห็น พูดเพื่อให้เข้าใจความจริงของสิ่งที่มีในขณะนั้น เพราะฉะนั้น กำลังเห็นแต่ก่อนนี้ไม่สนใจ ผ่านไปแล้ว เห็นทั้งวันเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่รู้เลยว่ากำลังเห็นนี้เป็นหนึ่งขณะ เดี๋ยวนี้ กำลังเห็นแล้วก็ไม่เคยรู้ว่า เป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นเห็น เห็นไหม ฟังให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะนี้เป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นเห็นเท่านั้นเอง พอเข้าใจไหม ว่าไม่ใช่เราอีกต่อไป เริ่มรู้ความจริงว่า เป็นสิ่งที่มีจริง ที่เกิดขึ้นเห็น เพื่อที่จะคลายการยึดถือเห็นว่าเป็นเราเห็น กว่าจะคลายได้ก็ต้องฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง และสิ่งที่กำลังฟังขณะนี้ ก็มีจริง คือ เห็นเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าขณะนี้ใครฟังเรื่องเห็นแล้วกำลังเข้าใจเห็นที่กำลังเห็นตามที่ได้ฟัง นั่นคือประโยชน์ของการฟัง

    อ.กุลวิไล เห็นไม่ใช่เราอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เราเกิดแล้วดับ หรือเปล่า ถ้าเป็นเรา อะไรเป็นเรา เราอยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีเห็น ก็ไม่มีเราใช่ไหม แต่เมื่อมีเห็น แล้วเห็นจะเป็นเราได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีเรา เมื่อสักครู่นี้ ไม่มีเห็นไม่มีเรา ไม่มีเราเห็น เมื่อไม่มีเห็น ยังไม่มีเห็น ก็ไม่มีเราเห็น ใช่ไหม ไม่มีเรา และพอมีเห็นเกิดขึ้น จะเป็นเราได้อย่างไร เมื่อสักครู่ไม่มีเรา และพอเห็นเกิดขึ้น จะเป็นเราได้ยังไงเมื่อสักครู่นี้ไม่มีเราที่เห็น หรือว่าในขณะที่เห็นยังไม่เกิด มีเราไหม

    อ.กุลวิไล ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เห็นยังไม่เกิด มีเราไหม เกิดมานี่ มีเราไหม มีเราเกิด หรือเปล่า เกิดมานี่เป็นเราเกิดมา หรือเปล่า เกิดมา เป็นเราเกิดมา หรือเปล่า ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นเป็นเราหมด เพราะไม่รู้ถูกต้องไหม ไม่ว่าอะไรที่เกิดขึ้นเป็นเราไปหมดเลย แม้ไม่รู้ก็เป็นเราที่ไม่รู้เป็นไง แม้ไม่รู้ก็ยังเป็นเราที่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น เพราะความไม่รู้ เป็นเราทั้งหมด เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีเห็น มีเราในขณะอื่น และพอมีเห็นเกิดขึ้น เห็นนั้นก็กลายมาเป็นเราแล้ว ซึ่งขณะอื่นยังไม่มีเห็นเลย และก็ไปเป็นเราในขณะที่ไม่ใช่เห็น แต่พอเห็นเกิดขึ้น ย้ายเรามาที่เห็นแล้ว

    เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่มี ก็มีความไม่รู้ และยึดถือสภาพนั้นๆ ว่าเป็นเราอยู่ตลอดเวลา พอที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังในขณะนี้ กำลังเป็นจริงอย่างนั้น เพราะว่า ก่อนเห็นไม่มีเห็น แต่มีเรา พอเห็นเกิด เห็นนั้นกลายเป็นเราอีกแล้ว ไม่ว่าอะไรที่เกิดเป็นเราทั้งนั้นเพราะไม่เข้าใจ จากเห็น ก็มีคิดถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่เห็น ถ้าไม่คิด ดอกไม้ไม่ปรากฏ โต๊ะ เก้าอี้ปรากฏ ถ้าคิดถึงรูปร่างของโต๊ะๆ ปรากฏ คิดรูปร่างของเก้าอี้ๆ ปรากฏ คิดรูปร่างของนาฬิกาๆ ก็ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น เปลี่ยนจากเห็นเป็นคิด เปลี่ยนอยู่ทุกขณะ ตั้งแต่เกิดจนตาย เปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยไม่เคยรู้เลยว่า สภาพธรรมเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ดับไป เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา แสดงถึงความไม่เที่ยง ความไม่คงที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้วจะไม่เปลี่ยน คือไม่ดับไปไ ม่มีเลย และก็เป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่น เกิดสืบต่อไม่มีระหว่างคั่นเลยเหมือนกับว่าติดกันจนกระทั่งไม่รู้ว่าอะไรเกิด อะไรดับ แน่นอนมีเห็น ไม่ใช่แค่เห็นเพราะเห็นดับไปแล้ว มีคิดถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็มีดอกไม้ และก็คิดถึงรูปร่างของหนังสือ ดอกไม้ก็ไม่ปรากฏ ก็เปลี่ยนไปเป็นหนังสืออีก เพราะฉะนั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ได้มีแต่เฉพาะสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถ้าเข้าใจความหมายของคำว่า ธรรม สิ่งที่มีจริงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะว่า ถ้าไม่เปลี่ยน ก็จะมีคำถามว่าทำไมไม่เปลี่ยน เห็นไหม ก็มีแต่ความคิด แต่ไม่ได้มีความเข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏ นี่เป็นความต่างกัน ของการฟังธรรมให้เข้าใจความจริง ของสิ่งที่มีจริง ซึ่งใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ใครจะไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดแล้วดับ ว่าไม่ให้เกิด ไม่ให้ดับ ก็ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น การที่จะพูดถึงอะไร ทำให้เกิดขึ้น ก็ต้องรู้ความจริงว่า แต่ละหนึ่งหลากหลายมาก เพราะมีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นหลากหลาย เดี๋ยวก็จะมีคำถามว่า ทำไมดอกไม้ดอกนี้สีขาว ทำไมดอกไม้ดอกนั้นสีแดง แล้วทำไมใบไม้นี่สีเขียว ก็เป็นเรื่องของทำไม แต่ว่าไม่ได้เข้าใจว่า แม้แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะเกิดเป็นไปก็ต้องเพราะเหตุปัจจัย ที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดแล้วเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง กำลังพูดเรื่องจิต เพราะว่า แม้มีจิตก็รู้ยากเหลือเกินว่า จิตที่มีเมื่อไหร่ ขณะไหน และก็ไม่ใช่เราอย่างไร แต่ละขณะต้องเข้าใจไปเป็นเรื่องๆ ยังไม่ได้พูดถึงเจตสิก เพราะเขาถามถึงเจตสิกด้วย ยังไม่ได้พูดถึงรูปด้วย พูดแต่จิต ผู้ถามใหม่มาก ได้ยินคำว่า จิต ก็อยากจะเข้าใจให้ถูกต้องจริงๆ ว่า จิต คือ อะไร รู้แต่ว่ามีจิต แต่ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เป็นจิต ขณะไหนเป็นจิต

    เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็เข้าใจสิ่งนั้นให้ถูกต้อง แม้ว่ายังไม่ได้ประจักษ์ลักษณะความจริงของสิ่งนั้น แต่ก็รู้ว่าเมื่อไหร่เป็นจิต ขณะเห็นไม่ต้องเรียกว่าจิตได้ แต่ว่าขณะใดก็ตาม ที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏ เพราะมีธาตุ หรือธรรม หรือสิ่งที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างหนึ่ง พอถึงได้ยินอีกอย่างหนึ่ง แล้วรู้ว่ามีเสียงเพราะเหตุว่า มีธาตุที่กำลังได้ยิน ถ้าได้ยินไม่มี ใครจะรู้ว่ามีเสียงบ้าง เสียงก็ไม่ปรากฏว่ามี เพราะฉะนั้น เมื่อจะเข้าใจเรื่องจิต ก็คือ ทุกขณะตั้งแต่เกิดจนตาย มีสภาพที่รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ไม่เคยรู้ความจริงว่า สิ่งนั้นเพียงเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป ไม่ใช่เรา แต่ว่าคนที่เกิดมาแล้วไม่ได้ฟังธรรม เป็นเราไปหมดเลย เพราะฉะนั้น เป็นความไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ และมีโอกาสจะได้ฟังพระธรรมจากผู้ที่ได้ทรงตรัสรู้ ด้วยความเคารพในพระธรรมที่ได้ทรงตรัสรู้ ที่ทรงอนุเคราะห์ ก็ทำให้ฟังด้วยการพิจารณาไตร่ตรองแต่ละคำที่ได้ยิน ได้ฟัง ว่าถูกไหม เพื่อที่จะเข้าใจจิตเดี๋ยวนี้จริงๆ เพิ่มขึ้น เพราะพูดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วไม่เข้าใจสิ่งนั้น ก็เปล่าประโยชน์ พูดถึงจิตทั้งวัน แต่ไม่เข้าใจจิตที่กำลังมีในขณะนี้สักหนึ่ง ก็ไม่มีประโยชน์เลย ใช่ไหม แต่ในเมื่อจิตกำลังมีก็พยายามที่จะให้ทุกคนได้พิจารณา ได้ไตร่ตรอง ว่าสภาพที่มีจริงมีลักษณะที่เกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเท่านั้นเอง แต่ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสัณฐาน ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่กลิ่น เป็นธาตุรู้ล้วนๆ คิดถึง เกิดขึ้นรู้ แล้วก็ดับไป

    ไม่ทราบผู้ถาม ยังมีข้อสงสัยจิตที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปในขณะนี้ หรือเปล่า เห็น มีแน่ๆ ไม่ใช่เรา จะใช้คำว่า จิตเห็น ก็ได้ เพราะว่า สามารถรู้ว่า สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เป็นอย่างนี้ชัดเจน ไม่เป็นอย่างอื่น หรือว่าในขณะที่เสียงหนึ่งเสียงใดปรากฏ ขณะนั้นก็ไม่ใช่เรา แต่เพราะเหตุว่ามีสิ่ง หรือธรรม หรือธาตุที่มีจริงๆ เกิดขึ้น ได้ยินเฉพาะเสียงนั้น รู้แจ้งในเสียงนั้น ไม่เป็นเสียงอื่น เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็เป็นสิ่งที่กำลังรู้ เสียงจึงได้มี ทั้งวันขาดจิตบ้างไหม เพราะมีสิ่งที่ปรากฏอยู่เสมอ

    อ.กุลวิไล แม้แต่ขณะที่กำลังได้ยิน ก็ไม่มีเรา เพราะว่าขณะนั้น ก็เพียงแต่จิต ที่เกิดขึ้นได้ยินนั่นเอง

    ท่านอาจารย์ ถ้าคิดอย่างคร่าวๆ ง่ายๆ ที่อาจจะชอบ ก็คือ ว่าตายแล้วไม่มีจิต ง่ายดีไหม ตายแล้ว คือ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ทั้งนั้นเลย ไม่หิว ไม่โกรธ ไม่อะไร เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ที่ตาย ขณะนั้นจึงไม่มีจิต แต่ยังไม่ตาย ก็ต้องมีจิตที่ทำให้โลกนี้ปรากฎ นี่เป็นความต่างของคนเป็นกับคนตาย คนตายกล่าวได้ว่าไม่มีจิต เพราะไม่เห็น จึงกล่าวว่าไม่มีจิต ไม่ได้ยินก็ไม่มีจิต ไม่คิดนึกก็ไม่มีจิต เพราะฉะนั้น พอจะรู้เงาๆ ไหม ว่าจิต คือ อะไร

    อ.วิชัย เมื่อสักครู่ท่านอาจารย์กล่าวถึงการตาย ก็คือ เป็นบุคคลนั้นต่อไปไม่ได้อีกแล้ว ก็คือ จะให้บุคคลนั้นมีชีวิตเป็นไปอย่างนี้ต่อไป ไม่ได้อีกแล้ว ก็คือสิ้นจากความเป็นบุคคลนี้ไป แต่ถ้าเราคิดถึงว่า ธรรมเมื่อเกิดก็ย่อมมีดับ เพราะเหตุว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนั้น เมื่อสิ่งนั้น คือ ขณะที่กำลังเกิดขึ้น จิตเห็นกำลังเกิดขึ้นเห็น สิ่งที่ปรากฏ คือ ธาตุรู้ สภาพรู้ ไม่ใช่เฉพาะเห็นอย่างเดียว แต่ว่ายังมีการที่จะคิดถึง สิ่งที่กำลังเห็นด้วย ดังนั้น ธรรมก็เป็นสิ่งที่ละเอียด อย่างเช่น กล่าวถึงเรื่องของจิต ที่มีคำมากมาย เพราะเหตุว่า จิตไม่ใช่มีจิตประเภทเดียว จิตก็มีหลากหลายประเภท แต่ว่าลักษณะของจิตไม่เปลี่ยนแปลง ก็คือ ต้องเป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้แจ้งอารมณ์ คือ สิ่งที่จิตกำลังรู้ในขณะนั้น แต่การที่จิตเกิดขึ้น มีปัจจัยปรุงแต่งให้จิตเกิด อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ ก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง

    เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังเห็น สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ ก็เป็นจิตประเภทหนึ่ง จิตที่เกิดขึ้นกำลังรู้เสียง ก็เป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง คือ จะกล่าวว่าเป็นจิตประเภทเดียวกันไม่ได้ แต่ลักษณะของจิตไม่เปลี่ยน ก็คือ เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้แจ้ง สิ่งที่กำลังรู้ หรือจะใช้คำว่า อารมณ์ ก็ได้ จิตที่กำลังรู้กลิ่น ก็เป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง รู้รส ก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง รู้อ่อนแข็งตึงไหว ก็เป็นอีกประเภทหนึ่ง จิตต่างกันออกเป็นประเภทต่างๆ เพื่อให้รู้ให้เข้าใจว่า เป็นจิตประเภทอะไร กล่าวถึงธรรมที่เป็นธาตุที่รู้แจ้ง รู้แจ้งอะไร อะไรกำลังปรากฏแก่จิตในขณะนั้น กล่าวว่า เห็น ใช่ไหม ก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นธาตุรู้ ที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นธรรม ซึ่งขณะนี้ก็กำลังปรากฏ คือ กำลังเห็นอยู่ แต่ว่าไม่ใช่ว่าจิตจะมีเพียงเห็น ได้ยินได้กลิ่น รู้รส หรือว่า รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว เท่านั้น แต่ว่าจิตยังมีการเกิดขึ้น โดยถูกปรุงแต่งด้วยอกุศลก็มี ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ ว่าชีวิตประจำวันก็ยังมีความพอใจบ้าง หรือไม่พอใจบ้าง แสดงว่าขณะนั้นก็มีจิต โกรธก็มีจิตขณะนั้น โลภก็มีจิตในขณะนั้น แต่ว่าจิตที่กำลังเกิดขึ้นรู้แจ้ง สิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นไปด้วยความโกรธ ความโกรธเป็นจิต หรือเปล่า โกรธไม่ใช่จิต แต่ว่าจิตขณะนั้น เกิดขึ้นพร้อมกับความโกรธ ดังนั้น ธรรมก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาจริงๆ เพราะเหตุว่า ทรงตรัสรู้ธรรมตามความเป็นจริง ว่าธรรมแต่ละลักษณะ ก็มีลักษณะต่างๆ กัน ทางฝ่ายอกุศลก็มี ทางฝ่ายของกุศลก็มี และธรรมที่ไม่ใช่ทั้งกุศล ไม่ใช่ทั้งอกุศลก็มี

    ถ้าถามว่า จิตเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตอบว่า จิตเป็นได้ทั้งกุศล เป็นได้ทั้งอกุศล เป็นได้ทั้งวิบาก เป็นได้ทั้งกิริยา แล้วแต่ว่า ขณะนั้นจิตเกิดขึ้นมีธรรมที่ปรุงแต่ง ให้จิตเกิดขึ้นเป็นกุศล หรืออกุศล อย่างเช่น ขณะที่ฟังธรรมเป็นกุศลเป็นไปเพื่อความเข้าใจไม่ได้โกรธ ขณะนั้นจิตปรุงแต่งเกิดแล้ว สำเร็จแล้ว เป็นกุศลจิต ที่เป็นไปพร้อมกับกุศลธรรมอื่นๆ ด้วย มีศรัทธา มีสติ มีหิริ มีโอตัปปะ มีอโลภะ มีอโทสะ เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ก็เป็นธรรมที่เป็นกุศล ขณะนั้น จิตปรุงแต่งเกิดขึ้นเป็นกุศลจิต กุศลจิตไม่ใช่จิตเห็น ดังนั้น จิตก็มีหลากหลายประเภท ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ว่าการเกิดขึ้น และดับไปของจิต เกิดอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ เห็น ได้ยิน พร้อมกัน หรือเปล่า จริงๆ ก็คือไม่พร้อมกัน แต่ว่าความรวดเร็วของจิต ก็ไม่ให้รู้ตามความเป็นจริง ว่าเห็นก็เป็นขณะหนึ่ง แม้เห็นดับไปแล้ว ก็มีจิตระหว่าง จิตเห็นกับจิตได้ยินอีกหลายประเภทที่เกิดดับสืบต่อกัน และธรรมก็เป็นเรื่องที่ละเอียด แต่ก็ต้องเริ่มที่จะฟัง และเข้าใจขึ้น

    อ.กุลวิไล แล้วจะรู้จักเจตสิก ที่กำลังมีในขณะนี้ ได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ไปที่เจตสิก อยากจะให้เพียงแต่ ถ้าถามว่า ขณะนี้ มีจิตไหม จะตอบว่าอย่างไร มี จิตอะไร เพราะว่า จะได้แยกจิตกับสภาพธรรมอื่นๆ มีสภาพธรรมที่ต่างกับจิตแล้วเราได้ยินคำว่า จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ นี้ไม่เปลี่ยนเลย นี่คือ ลักษณะแท้ๆ ของธาตุรู้ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้คำว่า ปัณฑระ ก็ได้ หมายความว่า จิตนั้นไม่ชั่ว ไม่เลว ไม่ดี ไม่งาม อะไรทั้งสิ้น เป็นสภาพล้วนๆ ที่ผ่องใส คือว่า ไม่มีสิ่งอื่นมาประกอบมาเจือให้เป็นอย่างอื่น

    เพราะฉะนั้น ลักษณะของจิตแท้ๆ คือ เป็นธาตุที่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ สิ่งนี้จะทำให้เข้าใจลักษณะของจิต ซึ่งต่างกับสภาพธรรมอื่นๆ อีกมากหลายอย่าง แต่ให้มีความเข้าใจที่มั่นคง ว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ ทุกคนรู้ว่ามีจิต เพราะมีสภาพที่รู้ แต่ก็ต้องมีความชัดเจนขึ้น ขณะนี้ มีจิตอะไร รู้อะไร ขณะเห็นบอกได้เลย เห็น คือ จิตไม่ต้องไปพูดถึงอะไรอีกเลย ใช่ไหม เพราะเห็นมีจริงๆ เพราะฉะนั้น ชัดเจนว่า จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ ๖ ทาง คือ จิตเกิดขึ้นเห็น ขณะนี้ ถ้าไม่มีตา ไม่มีทางที่จะเกิดจิตนี้ได้เลย แต่ยังไม่พูดถึงปัจจัย แต่ให้รู้ว่าวันหนึ่งๆ มีเห็น เฉพาะเห็น นี้คือจิต เฉพาะเห็น และขณะที่กำลังได้ยิน ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องราวอะไรเลยทั้งสิ้น ไม่ต้องไปคิดถึง ว่าจำเป็นคนโน้นคนนี้อะไรทั้งสิ้น แต่ขณะที่เสียงปรากฏ ขณะนั้นเป็นจิตที่ได้ยินเสียงนั้นชัดเจน แจ้ง ในลักษณะของเสียง เพราะว่าเสียงก็มีหลายอย่าง เราเรียกว่าดนตรีนานาชาติ แต่ละชาติก็มีเสียงหลากหลายออกไป แต่ว่าจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งจึงรู้ว่าเสียงต่างกัน แม้เสียงเบาจนกระทั่งเสียงดัง เสียงแหลม จนกระทั่งเสียงทุ้มนานาเสียงทั้งหมด จิตเป็นสภาพที่กำลังรู้เฉพาะเสียงที่ปรากฏ จึงเห็นว่าแต่ละหนึ่งนั้นต่างกัน เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งสิ่งที่กำลังปรากฎ ด้วยเหตุนี้ ขณะนี้ จิตอะไรมีจิตแน่จิตอะไร จิตเห็นกำลังเห็น จิตได้ยินกำลังได้ยิน ไม่ใช่ขณะอื่น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 185
    22 ธ.ค. 2566