พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 802


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๐๒

    ณ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


    อ.วิชัย ท่านอาจารย์กล่าวถึง ความเป็นเราของบุคคลที่ไม่ศึกษาพระธรรม ก็เข้าใจได้แต่ ในส่วนของบุคคล ที่เริ่มมีความเข้าใจบ้าง ที่ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างเกี่ยวกับ แม้จะรู้ว่าเป็นแข็ง แต่ก็ยังเป็นเราที่มีความคิด มีความเข้าใจอย่างนั้น ดังนั้นความยึดถือความเป็นเรา แม้ศึกษาเข้าใจธรรมบ้าง ก็ยังคอยที่จะยึดถือเสมอ

    ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ ที่จะดับ การยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเราไม่เกิดอีกเลย จึงเป็นปัญญาที่เป็นโลกุตตรปัญญา เป็นโสตาปัตติมรรคจิต แล้วตอนนี้เป็นปัญญาระดับไหน วิปัสสนาญานหรือเปล่า ก็ยังไม่ใช่สักอย่างหนึ่ง ใช่ไหม และกว่าจะถึงอย่างนั้น แล้วมาจากไหน ถ้าไม่มาจากการฟัง และเข้าใจ แล้วก็ในขณะที่เข้าใจก็ละการที่จะไปพยายามทำอย่างอื่น เพราะรู้ว่าเข้าใจ ไม่ใช่ไปทำ แต่เพราะฟัง และก็ไตร่ตรอง แล้วก็เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ สืบเนื่องมาจากพระสูตรเมื่อวาน ซึ่งพระสูตรเมื่อวาน คือ มักกฏสูตร ซึ่งมาจากพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกายมหาวารวรรค ซึ่งว่าด้วยอารมณ์อันมิใช่โคจร ซึ่งท่านก็หมายถึง กามคุณ ๕ นั่นเอง เพราะว่า ขณะนั้นเป็นอารมณ์ของกิเลสมาร ก็คือ ขณะที่ติดข้องในกามคุณ๕ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เป็นอารมณ์ที่ควรเที่ยวไป แต่ท่านแสดงถึงอารมณ์ที่จงเที่ยวไป อันเป็นโคจรในที่นี้ ท่านก็ให้เห็นถึงอารมณ์ที่เป็นบิดาของตน นั่นก็คือ สติปัฏฐาน ๔ ที่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ซึ่งท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวเมื่อวานว่า อารมณ์เหมือนเดิม แต่เราจะรู้อย่างไรว่า อารมณ์นั้นเป็นที่ๆ ควรเที่ยวไป หรือไม่เป็นที่ควรเที่ยวไป ก็จะกราบเรียนท่านอาจารย์ เพราะว่าแม้แต่รูปารมณ์ก็มีในขณะนี้ รูปารมณ์ก็เป็นกามคุณ ๕ ด้วยถ้าขณะที่ติดข้อง แต่รูปารมณ์ ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาด้วย เพราะฉะนั้น จะกราบเรียนท่านอาจารย์ จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งนี้เป็นที่เที่ยวไป หรือว่าไม่ควรจะเที่ยวไป

    ท่านอาจารย์ พอลืมตา หรือพอเกิดมา ก็มีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีการคิดนึก แม้เดี๋ยวนี้ก็มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา จะใช้คำว่ารูปารมณ์ ก็เป็นคำรวมของคำว่า รูปะ กับ อารัมณะ หมายความถึง สิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาทเท่านั้น แล้วต่อเมื่อใดจิตเกิดขึ้นเห็น สิ่งนี้จึงปรากฏได้ ต่างกับที่ไม่เคยได้ยิน ได้ฟังหรือเปล่า เวลาไม่ได้ยินได้ฟัง เห็นดอกกุหลาบ แล้วก็ได้ยินได้ฟังว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ไม่ได้เปลี่ยนจากการที่ยังคงเป็นดอกกุหลาบในความคิดนึกในขณะที่เห็น แต่มีความเข้าใจเกิดแล้วใช่ไหม เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ จริงไหม

    เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่ารูปารมณ์คำเดียว ประมาทไม่ได้เลย แล้วในพระไตรปิฎกจะพูดถึงเรื่องชีวิตประจำวัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะนี้ก็เหมือนอย่างที่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว คือ มีเห็น และมีสิ่งที่สามารถปรากฏให้เห็นได้ ที่ใช้คำว่ารูปารมณ์ เพราะฉะนั้น ก็เริ่มเข้าใจถูกในขณะที่กำลังเห็นขณะนี้ เริ่มยังไม่มั่นคง ยังไม่บ่อยๆ ยังไม่ได้กระจ่างชัดว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะว่า เพียงหลับตาก็ไม่มีแล้ว แล้วจะเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดได้ยังไง เหมือนคนที่มองไม่เห็นก็ยังติดอยู่ หลับตาแล้วยังนึกถึงอยู่ ยังคิดว่ามีอยู่ ถ้าไม่ใช่คนตาบอดเห็นอะไรก็จำ และก็ยังคิดถึง ยังคิดว่ามี แต่ว่าตามความเป็นจริง มีเมื่อปรากฏ แล้วก็ดับไป

    เพราะฉะนั้น ถ้าขณะนี้ยังไม่ใช่ปัญญาระดับนั้น ก็ยังไม่ได้มีอารมณ์ของบิดา คือ สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าใครก็ตามที่พอฟังธรรม ก็จะพูดเรื่องสติปัฏฐานได้ทันที ใครก็ตามที่ชวนกันไปปฏิบัติ แต่ว่าไม่ได้ชวนกันให้เข้าใจธรรมเลย ก็แล้วแต่จะเลือกอย่างไหน จะชวนไปปฎิบัติกัน หรือว่าชวนให้เข้าใจธรรมที่มีจริง ที่กำลังปรากฎ เพราะเหตุว่า แม้จะเข้าใจว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ แค่นี้ก็ยังนานมากกว่าจะไม่ลืมว่าเป็นความจริง เมื่อเป็นความจริงก็สามารถที่จะพิสูจน์ได้ ใช่ไหม และการละคลาย คือ ขณะนี้เหมือนเดิม แต่ว่าไม่ติดข้อง เพราะมีสภาพธรรมอื่นปรากฏ อย่างเห็นแล้วก็มีได้ยิน ใช่ไหม ทันทีนั้นเลย ปัญญาสามารถที่จะละจากการที่ติดในสิ่งที่ปรากฏทางตามาสู่ความเข้าใจสภาพธรรม ที่เกิดสืบต่อในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น จะเป็นปัญญาระดับไหนที่จะสามารถละการติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะได้ ด้วยความเข้าใจถูก คือ มีอารมณ์ของบิดา คือ สติปัฏฐาน บิดาก็จะพ้นใครไม่ได้นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจคำว่าสติปัฏฐานหลายนัย เช่น หมายความถึงสิ่งที่ปรากฏ ที่สติกำลังระลึก และมีปัญญาที่กำลังเข้าใจ ในสิ่งที่กำลังปรากฏเมื่อไหร่ นั่นจึงจะเป็นสติปัฏฐาน

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ดอกกุหลาบ เป็นดอกกุหลาบตลอดไป แต่ว่าในขณะที่ปรากฏเป็นดอกกุหลาบ ก็เกิดมีการเข้าใจถูกต้องว่า แท้ที่จริงเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นก่อนแน่นอน ใช่ไหม แล้วก็มีการจำรูปร่างสัณฐาน แล้วก็ไม่ลืมด้วย พอเห็นทีไรก็ไม่ต้องเรียกเลยว่าดอกกุหลาบ จำแล้วทันที นี่คือ คำที่เราพูดถึงเมื่อวานนี้คือ โลภะคุณะ หรือโลภะคุโณ หรือโลภะคุณ คือ การเกิดขึ้นของความติดข้องเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ชั้นที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไรเลย แต่ก็ติดข้องแล้วในสิ่งที่ปรากฏ ถ้าศึกษาโดยละเอียดที่ใช้คำว่าอภิธรรม ก็คือว่า จิตจะเกิดดับสืบต่อ รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ซึ่งยังไม่ได้นึกถึงในรูปร่างที่เป็นดอกกุหลาบหรือดอกไม้ หรืออะไรเลยทั้งสิ้น แต่ว่ามีสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็มีความติดข้องอย่างรวดเร็ว แต่ว่าเมื่อจิตต่างๆ เหล่านั้นไม่ปรากฏ กับผู้ที่ยังไม่รู้เลยว่านี่ก็เป็นเพียงธรรม การที่จะไปจำเรื่องต่างๆ เหล่านั้น ประโยชน์ คือ ให้เห็นความเป็นอนัตตา แต่ไม่ใช่มานั่งคิดในขณะที่กำลังเห็น ว่าเป็นจิตประเภทไหน มีเจตสิกประกอบอะไร เพราะเหตุว่า ความรู้ต้องตามลำดับว่า ขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ถ้าเข้าใจมากขึ้นจะคลายความเป็นเราไหม แต่ช้ามาก นานมาก เพราะว่าความติดข้องมากมายมหาศาล พอเป็นดอกกุหลาบ โลภะก็ติดข้องอีกชั้นหนึ่งแล้ว ใช่ไหม แสวงหาพอใจปลูกเองก็ได้ ใช่ไหม นี่ก็ยิ่งมากมาย ไม่ว่าเรื่องใดๆ ทั้งนั้นแสดงให้เห็นชั้นของโลภะที่เพิ่มขึ้นๆ ช่างตัดเสื้อก็คิดแบบเสื้อไป ช่างก่อสร้างก็คิดเรื่องก่อสร้างไป นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็คิดเรื่องนั้นไป แต่ทั้งหมด ก็คือ ด้วยความติดข้อง เพราะว่าไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น แม้แต่บิดา คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องเข้าใจถึงพระปัญญาที่ประมาณไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น กว่าเราจะรู้ว่าอารมณ์ของบิดา ซึ่งท่านสามารถที่จะรู้ถูก เห็นถูกในสภาพธรรมทุกอย่างละเอียดยิบ โดยประการทั้งปวง ก็ต้องไม่เหมือนกับผู้ที่กำลังเริ่ม ไม่ลืมว่าขณะนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ ลองไม่สนใจสักนิดเป็นอื่นแล้ว เป็นเรื่องอื่นแล้ว เพราะแม้แต่คิด ก็เพียงคิด หมดคิดเรื่องนั้นก็ไม่มี ก็เป็นแต่เพียงสิ่งที่ แล้วก็ผ่านไป แล้วก็ผ่านมาจนถึงวันนี้ จากแสนโกฏิกัปป์แล้วก็จะผ่านไปถึงอีกแสนโกฏิกัปป์ข้างหน้า ก็จะต้องเป็นไป เพราะว่าเป็นธรรม ใครห้ามได้ไม่มีใครสามารถที่จะห้ามได้ แต่ฟังแล้วเข้าใจขึ้น เป็นการอบรมให้มีความเห็นถูกซึ่งเป็นมรรคที่ประกอบด้วยองค์อื่นๆ แต่ที่จะต้องมีก่อน ก็คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง

    อ.อรรณพ กราบเรียนท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์กล่าวว่า ชวนกันเข้าใจธรรม ชวนยังไง

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ ไม่ได้ชวนกันไปอื่นเลย ให้ยังคงนั่งอยู่ และฟังธรรมกันต่อไป

    อ.อรรณพ ชวนนี่คือ ชวนโดยการสนทนากล่าว

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปชักชวนมานี่ ไปนี่ ทำนี่ ฟังนี่ แต่จากการกระทำที่เห็นว่าเป็นประโยชน์

    อ.อรรณพ กับการที่ ชวนกันไปทำปฏิบัติ โดยที่ไม่ได้เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ใครจะไปบ้าง โดยไม่เข้าใจ แล้วไปปฏิบัติ ไป ทำไมเดี๋ยวนี้ไม่มีธรรมเหรอ เดี๋ยวนี้เข้าใจธรรมไม่ได้หรือ แล้วไปทำยังไงถึงจะเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นแล้วใช่ไหม ว่าเข้าใจธรรมรึเปล่า กับเข้าใจธรรมเดี๋ยวนี้ดีกว่าไหม ไม่ต้องไปไหน และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ผิด ที่จะไปปฏิบัติ ถูกมั้ย ที่จะบอกว่าเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว อย่างไหนถูก เข้าใจสิ่งที่เกิดแล้วมีใครคิดบ้าง ถ้าเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องไปไหน แต่เพราะว่า จะไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดแล้วต่างหากจึงจะไป แล้วสิ่งนั้นก็ยังไม่เกิด แล้วอะไรจะเกิด และจะไปเข้าใจอะไรในเมื่อก็ยังไม่เกิด แต่เดี๋ยวนี้มีสิ่งที่เกิดแล้ว ปรากฎแล้ว จะเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฎ หรือจะไปไหน ถ้าจะไปไหนก็ไม่มีวันที่จะเข้าใจสิ่งที่เกิดแล้วเลย เพราะฉะนั้น ต้องไม่ลืม ไม่ได้ทำอะไร ไม่ต้องไปไหนแต่มีสิ่งที่เกิดแล้ว เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว ก็จะทำให้รู้ว่าไม่ต้องไปคิดจะทำอะไรทั้งสิ้น เห็นกำลังมี เข้าใจเห็นที่เกิดแล้ว ได้ยินเสียงมี เข้าใจเสียงที่มีเกิดแล้ว เข้าใจสิ่งที่เกิดแล้ว ไม่ใช่ไปทำให้เกิดขึ้น เพราะยังไม่เกิด และใครก็ทำไม่ได้ แล้วก็ไปรออะไร ซึ่งระหว่างนั้นก็ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มีแล้ว เกิดแล้ว ปรากฎแล้วในขณะนี้

    อ.อรรณพ เพราะฉะนั้น ที่ว่าชวนกันเข้าใจธรรม ก็ไม่ใช่หมายความว่า เรามีความหวัง หรือมีความผูกพันที่จะให้คนที่เราต้องการให้เขามาฟังธรรม ในแนวที่เราคิดว่าถูกต้อง แต่ว่าเป็นการที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ชวนอย่างนั้นเขาก็ไม่มาหรอก ลองไปชวนหลายๆ คนอาจจะมีคนที่หวังดีกับคนอื่น แล้วก็ชวนแล้วชวนอีกยังไงๆ ก็ไม่มา แต่มาแล้ว ก็ไม่ได้ชวนกันไปไหนยังฟังธรรมกันต่อไป

    อ.ธิดารัตน์ ท่านอาจารย์ พูดถึงการชักชวน บางทีก็ไม่ใช่ หมายถึงว่า เป็นเราไปชวนคนนั้นคนนี้ หมายถึงว่า แม้แต่สภาพจิต ก็ต้องมีกำลัง กับต้องอาศัยการชักจูง อย่างเช่น ขณะที่อกุศลจิตเกิดแล้วก็คล้อยตามอกุศล ก็เหมือนกับอกุศลชักจูง แล้วอย่างเวลาที่ฟังธรรมก็เหมือนกับมีเหตุ มีปัจจัยที่ได้ฟังธรรม ท่านอาจารย์แสดงธรรม และผู้ฟังคล้อยตาม ก็เหมือนกับได้รับการชักจูงอย่างนี้ก็ได้ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็เลยสงสัยคำ แม้แต่ชักจูงก็สงสัยภาษาไทยแท้ๆ ชักชวนบ้าง ชักจูงบ้าง ยังไงก็ตาม หมายความว่า เวลาที่มีการสนใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างคนหนึ่งมองขึ้นไปบนฟ้าคนเดียว คนอื่นมองตามเป็นแถว ไม่ได้พูดอะไรเลยสักคำ ก็ได้ใช่ไหม

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาคทรงบำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัป แต่ว่าก็ทรงแสดงเรื่องของสิ่งที่กำลังมีปรากฎ เรื่องของเห็น เรื่องของสิ่งที่ปรากฎทางตา เรื่องของจักขุปสาทรูปตา ก็เป็นสิ่งที่มีเป็นปรกติ การจะที่รู้ถึงคุณ ที่พระผู้มีพระภาคทรงบำเพ็ญบารมี และแสดงสิ่งที่กำลังมีเป็นปรกติขณะนี้ คือ เหตุใดจึงทรงบำเพ็ญบารมีมามากมายขนาดนั้น

    ท่านอาจารย์ เกิดมาแล้วสุข หรือทุกข์

    อ.วิชัย มีทั้งสุข ทั้งทุกข์

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เห็นจะมีสุข และทุกข์จากสิ่งที่เห็นไหม

    อ.วิชัย ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มีได้ยิน ไม่มีได้กลิ่น ก็ไม่มีอะไรเลย แต่ชีวิตไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลยเกิดแล้วเป็นไป ตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้น หลายคนหรือทุกคนก็ได้ ไม่อยากประสบทุกข์ แต่หลีกเลี่ยงได้ไหม ในเมื่อเหตุมี เพราะฉะนั้น ทรงแสดงถึงเหตุ ที่จะไม่ต้องประสบทุกข์ พอถึงอย่างนี้ทุกคนอยากได้แล้วใช่ไหม แต่ว่าไม่ใช่เป็นเหตุที่ใครจะให้ใครได้ แต่ว่าแม้ทุกข์ ก็ต้องรู้ว่ามาจากไหน เพราะอะไร

    อ.วิชัย ก็คือ ทรงรู้ได้โดยตลอด แต่ว่าแสดงให้บุคคลที่เข้าใจได้ ตามการสะสมบุคคลนั้น

    ท่านอาจารย์ กำจัดทุกข์โทษภัยหมดสิ้น

    ผู้ฟัง เราเป็นผู้ที่ปัญญาน้อย ฟังแล้วฟังอีก แม้แต่ธรรมที่กำลังปรากฏก็ระลึกไม่ได้แต่การฟังนานๆ ก็พอจะเข้าใจบ้างเล็กๆ น้อยๆ ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ชาติก่อนๆ คุณเพ็ญโฉม ได้ฟังธรรมมานานเท่าไหร่

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ อาจจะได้ฟังบ้าง ถึงได้ฟังตอนนี้

    ท่านอาจารย์ และรู้ได้จากการฟังขณะนี้ว่าเข้าใจแค่ไหน

    ผู้ฟัง ก็เข้าใจเล็กๆ น้อยๆ

    ท่านอาจารย์ และท่านที่ได้เข้าใจแล้ว ท่านต้องสะสมมามาก และนานด้วยใช่ไหม แต่ท่านก็เข้าใจได้ แม้พระโพธิสัตว์จากความเป็นปุถุชน ยังสู่ความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ มีผู้เขียนมาเรียนถาม โลภะคุณ กราบเรียนท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ คุณคำปั่นก็ได้ให้คำแปลว่า การเกิดเพิ่มขึ้นๆ ของโลภะ ข้อสำคัญที่สุดคือ เดี๋ยวนี้เองหรือเปล่า มีความติดข้องในทุกอย่างที่เกิดปรากฏ ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ไม่ได้ปรากฏการเกิดขึ้น และดับไปเลย จึงสามารถที่จะมีความติดข้องไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด เมื่อสักครู่นี้ ก็กล่าวถึงช่างตัดเสื้อ กล่าวถึงคนปรุงอาหาร คนปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ก็ทั้งหมดจากเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วติดข้อง แล้วความต้องการก็เพิ่มขึ้นๆ

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ จะเห็นถึงการสะสม เพราะถ้าเราไม่มีปัญญาที่จะเห็นถูกในธรรมตามความเป็นจริง โลภะเขาก็สะสมไปเรื่อยๆ เป็นผู้ที่ติดข้องทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ หรือแม้แต่เรื่องราวของธรรม ซึ่งก็เป็นเพียงแต่สมมติบัญญัติเท่านั้นเอง ก็ติดข้องได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงถึงความจริง ที่กำลังปรากฎในขณะนี้ ซึ่งก็คือ ความเข้าใจถูกในธรรม ตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ ใครไปเรียนรำบ้าง ร่ายรำ ทางตาติดข้องหรือเปล่า ชาติต่างๆ ก็มีการร่ายรำของชาตินั้นๆ ใช่ไหม คนดูก็เพลิน ก็ชอบดูไปแต่ละชาติๆ สะสมไหม เป็นชั้นๆ หรือเปล่า ดนตรีก็นานาชาติเหมือนกัน แล้วแต่ว่าจะเพลงไทยเดิม เพลงไทยสากล เพลงไทยลูกทุ่ง ก็แล้วแต่ ขณะนั้นไม่มีความติดข้องหรือ ก็ชีวิตก็เป็นอย่างนี้ มองให้เห็นความจริงของชีวิต ว่าไม่พ้นจากความติดข้อง เพราะไม่รู้ และก็ตราบใดที่ยังไม่มีการเข้าใจธรรม ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แต่เมื่อมีความเข้าใจแล้วก็คิดถึง ความมากมายของความติดข้อง กับความเล็กน้อยของปัญญา ที่จะต้องเข้าใจต่อไปอีกจนกว่าสามารถที่จะดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ตามปัจจัย

    เพราะฉะนั้น ทบทวนเรื่องปัจจัยก็ได้ เพราะว่าได้ยินคำว่าปัจจัยแล้ว ง่ายๆ ที่สุดที่ไม่ลืม ปัจจัยอะไรเดี๋ยวนี้ อารัมณปัจจัย ธรรมดาที่สุด ทุกอย่างที่จะเกิดต้องมีปัจจัยถ้าไม่มีเสียงกระทบหู จิตได้ยินเกิดไม่ได้ โต๊ะไม่ได้ยิน เพราะไม่ใช่จิต ไม่ใช่ธาตุรู้สภาพรู้ เพราะฉะนั้น การที่ธาตุรู้แต่ละชนิด แต่ละประเภทจะเกิดได้ ไม่ใช่ใครไปสั่ง หรือว่าใครไปทำให้เกิด แต่ต้องมีปัจจัยเฉพาะธาตุนั้นๆ จึงเกิดได้ เช่น มีโสตปสาทสามารถกระทบกับเสียง โสตประสาท คือ รูปพิเศษที่กลางหู ซึ่งมองไม่เห็นเลย แต่รูปนั้นมี เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ได้ยินคำไหนก็แทบจะกล่าวได้ว่า เป็นปัจจัยทั้งนั้นได้ยินคำว่ากรรม กรรมก็เป็นปัจจัย มีเสียงกำลังปรากฏ จิตเป็นสภาพรู้สิ่งที่ถูกจิตรู้ ก็คือ อารัมณ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีเสียง จิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น อารมณ์ หรือว่าเสียงก็เป็น อารัมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ และถ้าไม่มีโสตปสาทรูป จิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ โดยปัจจัยอะไร โสตปสาท ถ้าไม่มีจิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะปราศจากปัจจัยหนึ่ง ในขณะที่ได้ยินเดี๋ยวนี้เอง ไม่ได้ ก็คือ โสตปสาทรูป เพราะฉะนั้น โสตปสาทก็ต้องเป็นปัจจัยด้วย แต่ไม่ใช่อารัมณปัจจัย แต่ว่าเป็นปัจจัยอะไร

    อ.วิชัย วัตถุปุเรชาตปัจจัย วัตถุ คือ ก็เป็นที่เกิด ปุเรชาต ก็หมายถึงว่า โสตะปสาทรูปนั้น ต้องเกิดก่อน ฉะนั้นจิตได้ยินที่เกิดขึ้นอาศัยโสตปสาทรูป เป็นที่เกิด คือ จิตได้ยินนั้นเกิดภายหลัง ดังนั้นโสตปสาทรูปเป็นโสตวัตถุ จึงเป็นปัจจัยแก่จิตได้ยิน โดยความเป็นวัตถุปุเรชาตปัจจัย ก็คือ เป็นปัจจัยโดยเป็นที่เกิด โดยเกิดก่อน

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ยากเลย เป็นแต่เพียงภาษาแต่ถ้ามีความเข้าใจ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปคิดถึงคำนั้นก็ได้ แต่ว่าสามารถที่จะเห็นความเป็นอนัตตา ว่าแม้เสียงแค่นี้ที่กำลังปรากฏ ก็ยังต้องอาศัยปัจจัย คือ ต้องมีจิตที่กำลังได้ยิน และจิตได้ยินก็จะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีเสียงกระทบกับโสตปสาท เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ลักษณะของสภาพธรรมแล้ว ก็ยังศึกษาต่อไปได้ ให้เข้าใจในความเป็นอนัตตาว่า สภาพธรรมนั้นๆ เกิดจากปัจจัยอะไร หลายปัจจัยไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียว

    เพราะฉะนั้น ชีวิตหนึ่งขณะจิต อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเป็นไปชั่วคราวที่แสนสั้น แล้วก็ดับไป แต่ก็สืบต่อไม่หยุดเลย เสียงที่กำลังได้ยินขณะนี้ เกิดก่อนจิตได้ยินหรือเปล่า เห็นหรือไม่ ฟังเพื่อเข้าใจ เข้าใจแล้วลืม ก็พิจารณาหาเหตุผล ถ้าเสียงไม่กระทบโสตปสาท จิตได้ยินจะเกิดได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เสียงเกิดก่อนจิตได้ยินหรือเปล่า ก็ต้องมีความเข้าใจจริงๆ จะไปปฏิเสธความจริงได้ยังไง ไม่ใช่ไปจำ ตำราว่าอย่างนี้แล้วเราไปพูดผิดหรือเปล่า ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องเข้าใจความจริงว่า เสียงกระทบโสตปสาท คือ หู เป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เสียงเกิดก่อนจิตได้ยินหรือเปล่า เกิดก่อน โสตปสาทรูปเกิดก่อนจิตได้ยินหรือเปล่า ก็จะกระทบกับเสียง จิตได้ยินยังไม่ได้เกิดเลย เพราะฉะนั้น จะให้มีจิตได้ยินก่อน หรือพร้อมกับการเกิดโสตปสาทได้ยังไง ในเมื่อเสียงต้องกระทบกับโสตปสาทก่อน เป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เสียงต้องเกิดก่อน โสตปสาทรูปต้องเกิดก่อน เป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้น ถ้าพูดภาษาบาลีก็ได้ใช่ไหม คุณวิชัย

    อ.วิชัย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงความเป็นปัจจัย หรือความเกิดก่อน ก็จะใช้คำว่า ปุเรชาตปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีความเข้าใจธรรม เพียงอ่านก็จะสงสัย ใช่ไหม แต่ถ้าเราเข้าใจ และพอได้ยิน ก็ไม่มีความสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นภาษาที่ต่างกันเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจถึงปัจจัย จากการฟัง และเข้าใจในความเป็นอนัตตา ยังไม่สามารถที่จะถึง ปัจจยปริคคหญาณ ได้แน่นอน ใช่ไหม จนกว่ามีการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ลักษณะไม่ใช่ชื่อ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏจริงๆ อย่างแข็งไม่สงสัย เห็นไม่สงสัย สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่สงสัย นั่นคือ การเข้าใจในความเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 185
    17 ม.ค. 2567