พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 813


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๑๓

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕


    ท่านอาจารย์ เมื่อมีความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย จากการฟัง เวลาที่แข็งปรากฎ เช่น เดี๋ยวนี้เลย ความเข้าใจแข็งนั้นระดับไหน เห็นไหม ก็ยังต้องมีต่างไปอีก ว่าเพิ่งเริ่มที่จะทั้งวันมีแข็ง แต่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจลักษณะที่แข็ง จนกระทั่งบางกาล แข็งปรากฎแล้วก็รู้ลักษณะที่แข็ง และก็เริ่มเข้าใจความจริงของแข็ง แล้ววันหนึ่งๆ ไม่ได้มีแต่แข็ง เห็นก็มี สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี เสียงก็มี จนกว่าทุกอย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเป็นธรรม ตั้งแต่ขั้นฟังจนกระทั่งถึงปฏิปัตติ ซึ่งปฏิปัตติจะรู้ว่าน้อยมาก กว่าอย่างหนึ่งอย่างใดจะเป็นธรรม แต่ว่าต้องเป็นธรรมทั้งหมด เห็นไหม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ก็ทราบว่าความจริงเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ณ. ขณะนี้ เช่น เห็นดอกไม้สวย แล้วก็คิดจำจากรูปร่างสัณฐาน ศึกษาเช่นนี้ เป็นศึกษาปริยัติหรือยัง

    ท่านอาจารย์ ก็ยังสงสัยอยู่อีก ไม่ต้องสงสัยเรื่องชื่อได้ไหม แต่ว่าเข้าใจคำที่พูด คำที่ได้ยิน ถูกต้องว่าไม่มีอะไรเลย นอกจากสิ่งมีจริงเท่านั้น ที่ปรากฏเพียงชั่วคราว ในขณะที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง ช่วงหลังท่านอาจารย์ก็จะย้ำมากว่า ธรรมไม่มีชื่อ และอย่างสิ่งที่ปรากฏ เพียงปรากฏให้เห็นได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เมื่อสักครู่ที่พูด ตามคำพูดนั้นหรือป่าว

    ผู้ฟัง ก็ตามแบบจะใส่ชื่อ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่ใช่ความเข้าใจในลักษณะแต่ละหนึ่ง เพราะพูดไปมีตั้งหลายอย่าง เห็นก็มี คิดก็มีจึงได้พูด เสียงก็มี ใช่ไหม แต่ว่าไม่รู้ความจริงของทีละหนึ่ง ก็แสดงว่าที่กล่าวว่า ทุกอย่างเป็นธรรมขั้นฟังเข้าใจ แต่ทุกอย่างเป็นธรรมแต่ละหนึ่งเป็นธรรม คิดดูว่า เมื่อไหร่แต่ละหนึ่งในชีวิตจริงๆ จะเป็นธรรมจนกระทั่งทุกอย่างเป็นธรรม ก็สอดคล้องกัน ใช่ไหม กับปริยัติ ในเมื่อปริยัติกล่าวว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แล้วถ้าสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้แต่ละหนึ่งตามปกติด้วย และเริ่มเข้าใจว่าเป็นธรรม มากขึ้น ทั่วขึ้น ก็จะตรงกับคำที่กล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ในขั้นฟัง ถ้าสังเกตตัวเองสมัยก่อนสนใจแต่ชื่อแต่เรื่อง แต่เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ อย่างเสียงก็จะมีมากมายหมดเลย เสียงพูด เสียงพัดลม แต่ก็ยังเป็นเสียงอะไรที่แล้วแต่จะคิดว่าเป็นเสียงอะไร หรือว่าแข็ง อย่างครั้งที่แล้วก็ตอบว่าเป็นไมโครโฟนแข็ง เป็นเท้าเหยียบอยู่กับของแข็ง หรือว่า เห็นก็จะทราบว่าเห็นอะไร ก็รู้ว่าเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ว่าก็จะมีเห็นมากมายหลากหลาย ก็จะนั่งคิดว่า ขณะนี้มีกี่ทวารปรากฏ ประมาณว่าคิดไปตามเรื่องที่ฟัง

    ท่านอาจารย์ ก็ยังไม่ใช่ทุกอย่างเป็นธรรม เพราะไม่ใช่แต่ละหนึ่ง

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ปัญญาที่แต่ละหนึ่ง ต้องเป็นปฏิปัตติ แต่ว่าก่อนฟังเข้าใจที่จะเป็นตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เรียกชื่อเลย ก็จะรู้ความต่างว่า ฟังเข้าใจกับขณะที่กำลังเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ กำลังเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ไม่ผิดปรกติด้วยกำลังจงใจจะเข้าใจ ก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน ความละเอียด แต่เมื่อใดสิ่งนั้นเกิด เพราะเหตุปัจจัย ไม่มีความจงใจตั้งใจ ที่จะเข้าใจ ขณะนั้นก็รู้ความต่างกัน ขณะที่จงใจนั้น เป็นเราหรือเปล่า มีโลภะหรือเปล่า ต้องการหรือเปล่า กับขณะที่สิ่งนั้นเกิดตามเหตุตามปัจจัย ให้รู้ความเป็นอนัตตา ว่าเกิดแล้วโดยไม่ได้จงใจ หรือไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็ต่างกัน นี่เป็นความละเอียดอย่างยิ่ง จนกว่าทุกอย่างเป็นอนัตตา นอกจากเป็นสิ่งที่มีจริงยังเป็นอนัตตาด้วย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ขอพาดพิงอาจารย์ธิดารัตน์เมื่อวาน ที่คุยกันตอนบ่าย พระสูตรเรื่องกาม และโทษของกาม ก็รู้ว่าโลภะติดข้อง เพราะฉะนั้น ต้องมีการสังเกตลักษณะของโลภะ เมื่อติดข้องก็เป็นอย่างนี้ ถึงแม้ว่าจะดับไปแล้ว ก็ตามสังเกต ตามรู้ว่าเป็นเช่นนั้น พอฟังเสร็จ ท่านอาจารย์บอกว่า ไม่ต้องทำอะไร

    ท่านอาจารย์ ต้องชัดเจน ไม่ต้องทำอะไร

    ผู้ฟัง แต่ฟังให้เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม ต่างกันแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไร ด้วยความเป็นตัวตน ขณะที่ฟัง เราหรือจิต เจตสิกลืมไปแล้ว ศึกษาเรื่องจิตมามากมายเจตสิกด้วย พอถึงเวลาจริงๆ ก็ลืมไปแล้ว ว่าไม่มีเราเลย ไม่ต้องไปทำอะไรเลย แม้ทำความเข้าใจก็ไม่ต้องทำจิตเจตสิกทำ ไม่ใช่เรา เข้าใจไหม ตอบหน่อย

    ผู้ฟัง ก็เข้าใจขั้นฟัง

    ท่านอาจารย์ เข้าใจ ยังไม่ต้องอะไรเลย

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจจิต เจตสิก ไม่ใช่คุณอรวรรณ ต้องทำอะไรหรือเปล่า ขณะที่ฟังเมื่อสักครู่นี้ แล้วถามว่าเข้าใจไหม แล้วตอบว่าเข้าใจ คุณอรวรรณต้องทำอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ต้อง เพราะฟังเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจิต เจตสิกทำ แม้แต่จะตอบว่าเข้าใจ ก็คือ จิต เจตสิก ไม่มีเรา แทรกเข้าไปได้เลย ในสภาพธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดดับสืบต่อ ไม่มีระหว่างคั่น ที่จะให้ความเป็นเราเข้าไปแทรกคั่นไม่ได้ แต่ว่ามีปัจจัยที่จะเห็นผิดเกิด ตามเหตุตามปัจจัยสืบต่อได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ นั่นหมายความว่า การสังเกตพิจารณาลักษณะธรรม จากการฟัง ก็จะเป็นความเข้าใจขั้นฟัง มากพอเขาจะปฏิบัติกิจ

    ท่านอาจารย์ ความสังเกต เป็นเราหรือป่าว

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ จนกว่าจะรู้ว่าเป็นธรรม จนไม่เหลือเลยคิดดู ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนานมากไหม จากความไม่รู้ จากการฟังเข้าใจ และจากการเห็นประโยชน์จริงๆ ประโยชน์จริงๆ ก็คือว่า จะต้องจากโลกนี้แน่นอน เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ด้วย แล้วก็ก่อนจากไปเป็นคนดีหรือไม่ดี แล้วแต่จิต เจตสิก ใช่ไหม จะเลือกเอา สะสมมายังไง ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ให้ทราบตามความเป็นจริง ว่าระหว่างการที่จะเป็นผู้ที่รู้ความจริง เพื่อละความติดข้อง ซึ่งเป็นโทษ ซึ่งเรายังไม่ได้กล่าวถึง ที่ทรงแสดงไว้มากในพระสูตร ซึ่งเป็นความจริง แม้แต่ความยินดีเพียงแค่ความติดข้องเล็กน้อย ทรงอุปมาว่า เหมือนน้ำหยดหนึ่งของความเดือดร้อนอีกมากมายที่ติดตามมา เพียงความรู้สึกแช่มชื่นพอใจติดข้องชั่วขณะเดียว ก็อุปมาว่า เหมือนเพียงน้ำหยดหนึ่ง ในความเดือดร้อนทั้งหลาย ซึ่งจะต้องติดตามมา เพราะความติดข้องนั้น

    ผู้ฟัง เพราะท่านอาจารย์ก็บอกว่า เห็นขณะนี้ ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น สั้นมากเสียงก็เช่นเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ แล้วขณะที่กำลังพูดคำนี้ ก็มีเห็น กำลังรู้ตรงเห็น ไม่ได้คิดเรื่องอื่นเลยเห็นไหม ฟังเรื่องเห็น แต่คิดเรื่องอื่นก็ได้ คิดว่าเป็นสัจจญาณหรือป่าวก็ได้ แต่กำลังฟังเรื่องเห็น แล้วมีเห็นด้วย ในขณะนี้การฟังเรื่องเห็น นำมาสู่ การที่จะเข้าใจเห็นที่กำลังปรากฏ ที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้น แต่ละคำที่เป็นพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎก เป็นสัจจวาจา เป็นความจริง ที่จะทำให้ผู้เข้าใจถึงความเป็นอริยะ ผู้เจริญด้วยกุศล ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ในสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น จะฟังมากฟังน้อยอย่างไรก็ตามแต่ แต่เพื่อนำมาสู่ความเข้าใจสิ่งที่มีจริงในขณะที่สิ่งนั้นปรากฏ ข้างหน้าอีก ๒๐๐๐ปี อะไรจะปรากฏ เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่ว่าสะสมความเข้าใจ ความจริงของสิ่งที่มีในขณะนี้ พร้อมที่จะเข้าใจสิ่งที่จะเกิดเมื่อถึงเวลาในอีก ๒๐๐๐ปี ๒๐๐,๐๐๐ปี หรือว่าแล้วแต่กาลเวลา

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เห็นสิ่งที่เพียงปรากฏให้เห็นได้ และอื่นๆ ทวารอื่นสะสมความเข้าใจเช่นนี้ ว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่มีจริงแน่นอน เพื่อความมั่นคง ไม่เปลี่ยนความเห็นถูกก็เพิ่มขึ้น ใครจะชักจูงให้ทำอย่างอื่น ก็ไม่ถูกต้อง

    ผู้ฟัง แล้วอย่างที่บอกว่าสิ่งที่ปรากฏก็ท้าให้พิสูจน์ตลอดเวลา เพราะมีตลอดไม่ต้องไปหาที่ไหน

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็นคนที่จะมาท้า แต่พร้อมที่จะให้เข้าใจได้ มีอยู่ เกิดขึ้นปรากฏแล้วก็หมดไป ก็เป็นอย่างนี้ ความจริงเป็นอย่างนี้ แต่จะเข้าใจได้แค่ไหน จริงๆ อิ่ม คือ เต็ม ใช่ไหม ยังไม่อิ่มก็ยังไม่เต็ม ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น แม้แต่ในเรื่องของปัญญาก็เช่นเดียวกัน ปัญญาเพียงเล็กน้อย ยังไม่เต็ม ยังไม่สามารถที่จะทำกิจที่จะดับกิเลสได้หมด แต่เมื่อมีมากขึ้นๆ ดับกิเลสได้แล้ว อิ่ม คือ เต็มแล้ว บริบูรณ์แล้ว

    อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้น ผู้อิ่มด้วยปัญญา ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย

    ท่านอาจารย์ ดับกิเลสหมด ทั้งอวิชชา และโลภะ และกิเลสอื่นๆ

    อ.คำปั่น ขออนุญาตท่านอาจารย์ กล่าวถึงข้อความในอรรถกถา ที่ท่านอธิบายถึง ความอิ่มกับไม่อิ่ม เพื่อความชัดเจนในเรื่องของความต่างกัน ระหว่างในขณะที่ยังมีโลภะอยู่ กับผู้ที่ดับโลภะได้อย่างหมดสิ้นแล้ว ถึงความบริบูรณ์ด้วยปัญญา ขออนุญาตอ่านข้อความจากอรรถกถา ว่าบุคคลมีใจระลึกถึงกามทั้งหลาย แม้อันหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ประสบกับความอิ่ม ปรารถนาที่จะได้กามอยู่นั่นเอง ก็คือ หมายถึงว่า ยังต้องการยิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนบุคคลใดมีกาย และจิต หลีกออกจากวัตถุกาม และกิเลสกามแล้ว เห็นโทษด้วยปัญญา อิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยปัญญา บุคคลนั้นชื่อว่า ผู้อิ่ม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น โลภะก็ยังไม่อิ่ม ใช่ไหม ยังไม่เต็ม ไม่พอในสังสารวัฏตั้งแต่แสนโกฏิกัปป์มาแล้ว ก็โลภะ เมื่อชาติก่อนก็โลภะ ชาตินี้ก็โลภะ ชาติหน้าก็โลภะ อีกแสนโกฏิกัปป์ก็โลภะ ไม่มีวันเต็ม แต่ปัญญาอิ่ม คือ บริบูรณ์เต็ม เพราะได้กำจัดโลภะ และอกุศลแล้ว เพราะฉะนั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอีก ใช่ไหม เพราะว่าดับกิเลสหมดถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะว่า ถึงที่สุดของความเต็มของปัญญา แต่โลภะอย่างไรๆ ก็ไม่เต็ม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์แสดงถึง ธรรมที่เหมือนกระจกเงา แก้วก็นึกคิดตาม แล้วก็รู้สึกว่าตัวเอง เรื่องโลภะติดข้องไม่ต้องพูดถึง เพราะว่ามีเยอะมาก แต่อีกเรื่องหนึ่งที่มีเยอะมากเหมือนกัน คือ โทสะ ผีเสื้อ แก้วเห็นแว็บไปแว็บมา แต่ไม่ได้สนใจ ใจแก้วก็คิดว่าโฉบไปโฉบมาอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็โดนพัดลมตัด ก็คิดอีกทีก็คือ ทุกๆ คนมีกรรมเป็นของๆ ตน ขณะนั้น มันไม่มีความอ่อนโยนเลย โทสะแน่นอน สงสาร ไม่มีเลย

    ท่านอาจารย์ ตราบใดที่ยังมีโลภะ ก็มีโทสะ เมื่อไหร่หมดโลภะ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เห็นแล้วก็ไม่เกิดโทสะ

    ผู้ฟัง เพียงอยากจะกราบเรียนท่านอาจารย์ว่า แม้กระทั่งแบบนี้ มันเป็นอนัตตา คือแม้กระทั่งแบบนี้ก็ยังเป็นโทสะอีก

    ท่านอาจารย์ เป็นได้แน่ เพราะยังมีโลภะ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ แล้วกามมีโทษอย่างไร

    ท่านอาจารย์ มองไม่เห็นเลยใช่ไหม แต่ว่า อะไรทำให้ไม่รู้ความจริง

    อ.กุลวิไล ความไม่รู้

    ท่านอาจารย์ กำลังติดข้องเพลิดเพลินขณะนั้น ปัญญาเกิดไม่ได้เลย แต่ถ้าในขณะใดที่ตรงกันข้าม ไม่ใช่ความติดข้อง แต่เป็นการละความติดข้อง เมื่อนั้นจึงสามารถที่จะมีความเห็นถูกได้ เพราะฉะนั้น โทษที่ร้ายแรงที่สุด อันตรายที่สุด ก็คือ ความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สภาพธรรมที่ไม่ใช่เป็นสุข ว่าเป็นสุข สภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่มีสิ่งต่างๆ เรานี้ ก็จะเป็นชีวิตที่ปลอดภัย จากอันตราย จากกิเลสทั้งหลาย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ สภาพธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่ว่า ความยึดถือในสภาพธรรมนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็จริง แล้วเป็นธรรมหรือเปล่า คิดมีจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คิดมีจริง

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริง เป็นคุณสุกัญญา หรือเป็นสิ่งที่มีจริง

    ผู้ฟัง สิ่งที่มีจริง ก็คือ ไม่ใช่เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

    ท่านอาจารย์ ก็ถูกต้อง

    ผู้ฟัง แต่ว่า ความยึดถือในสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็ยึดถือว่าเราคิดไง

    ผู้ฟัง อยากจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ ถึงความยึดถือในสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ คิดมีจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ ใครคิด

    ผู้ฟัง ยังเป็นเราคิด

    ท่านอาจารย์ นั่นคือ ความยึดถือ คิด ว่าเป็นเรา จำได้ไหม

    ผู้ฟัง จำได้

    ท่านอาจารย์ ใครจำ

    ผู้ฟัง ยังเป็นเราจำ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างก็เป็นเราทั้งนั้น เมื่อไม่รู้ความจริง ว่า จำก็เกิดจำ ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย คิด แล้วแต่ว่ามีปัจจัยจะคิดเรื่องอะไร ก็คิดเรื่องนั้น คิดเรื่องอื่นไม่ได้ แลกความคิดกันก็ไม่ได้ ไม่ให้คิดก็ไม่ได้ แล้วคิดก็ต้องคิดเป็นคำๆ ใช่ไหม ถ้าเป็นเรื่อง ทีละหนึ่งคำ คำเดียวเป็นเรื่องได้ไหม

    ผู้ฟัง คำเดียว เป็นเรื่องไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คิดคำหนึ่ง แล้วคิดดับ คิดอีกคำ คิดก็ดับ แล้วเรื่องอยู่ไหน

    ผู้ฟัง เรื่องไม่มี

    ท่านอาจารย์ ก็มีแต่คิด แล้วก็ยังเข้าใจว่าเป็นเราคิดด้วย กระจกอยู่ไหน เอาไปวางไว้ที่ไหน มีแล้วก็ไม่ได้ส่อง ใช่ไหม และมีแค่ไหนก็ยังไม่ทราบ

    ผู้ฟัง ความเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ ถ้าเข้าใจว่าคิดมีจริง นั่นคือ ความเข้าใจ ไม่ต้องไปหาความเข้าใจอื่นอีก แต่ว่าความเข้าใจนั้นไม่ชัดเจน เพราะเหตุว่า เพียงจำ ได้ยินมา และคิดก็มีจริงๆ กำลังคิดก็ได้ยินมา ว่าคิดไม่ใช่เรา แต่ว่าสภาพที่คิดจริงๆ ซึ่งไม่ใช่เรา แล้วก็ไม่ใช่เห็น แล้วก็ไม่ใช่จำ ยังไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องกับเป็นชื่อ ของสิ่งที่เราคิดว่าเราเข้าใจ ไม่ว่าจะพูดเรื่องจำ เราก็เลยคิดว่า เรารู้จัก จำได้ จำได้นั่นใครจำ ยังคงเป็นเราอยู่ ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงของแต่ละหนึ่ง ซึ่งเกิดปรากฏไม่ปะปนกับสิ่งอื่นเลย แล้วก็ดับไปให้รู้ความจริงว่าสิ่งนั้นมีจริงๆ เมื่อเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป บังคับไม่ให้ดับไปก็ไม่ได้ ดับไปแล้วหมดไปแล้ว เพราะฉะนั้น ก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ในความเป็นสิ่งที่มีจริง ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไปไม่เหลือเลยด้วย จำเมื่อวานนี้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ส่วนใหญ่ก็จะทานยาก่อนนอน

    ท่านอาจารย์ แล้วเรื่องนั้นอยู่ไหน

    ผู้ฟัง ไม่มีแล้ว

    ท่านอาจารย์ จะรับประทานยา ยาอยู่ไหน เท่านั้นเอง เห็นไหม ทุกอย่างก็แค่คิด เพราะฉะนั้น หลับไม่ตื่น

    ผู้ฟัง แต่สภาพคิดนี่ไม่ได้ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ กำลังคิด จะให้มีอย่างอื่นได้หรือ ในขณะคิดไม่ใช่เห็น ถ้าไม่มีคิดจะบอกได้ไหมว่าคิด

    ผู้ฟัง บอกไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่เพราะเหตุว่ามีคิด และรู้ว่าคิดไม่ใช่เห็น แต่ว่าไม่เข้าใจ ว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป็นธาตุหรือธรรม ซึ่งมีจริงๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป และก็ไม่เหลือเลยซักอย่างเดียว จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่เป็นเฉพาะเดี๋ยวนี้ หรือแต่ก่อนนี้ เดี๋ยวนี้ก็กำลังเป็นอย่างนี้ ต่อไปก็จะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ก็หลับ ยังไม่ตื่นขึ้นเข้าใจความจริง ว่าความจริงไม่มีอะไรเหลือเลย ทุกอย่างเหมือนอยู่ในความฝัน มีเมื่อคิด แล้วก็ไม่มี มีเมื่อเห็น แล้วก็ไม่เห็น มีเมื่อจำ แล้วก็ไม่ได้จำเรื่องนั้น จะมีเรื่องนั้นไหม

    ผู้ฟัง นี่คือ ความจริงใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ความจริง จะให้คนอื่นบอกหรือแน่ใจ ว่าจริงอื่นมีไหม จากจริงที่กำลังจริงเดี๋ยวนี้ เช่น เห็นจริง ได้ยินจริง ในขณะที่เห็น ในขณะที่ได้ยิน ณ กาลครั้งหนึ่งมีพระราชาองค์หนึ่ง เห็นไหม ข้อความในพระไตรปิฎก แล้วเดี๋ยวนี้พระราชาองค์นั้นอยู่ไหน ณ กาลครั้งหนึ่งเมื่อวานนี้ แล้วเมื่อวานนี้ คนที่มีเมื่อวานนี้ เดี๋ยวนี้อยู่ไหนจะให้ยังมีอยู่ เหมือนพระราชาใน ณ กาลครั้งหนึ่งได้ไหม ตลอดชีวิตของพระราชาที่ปรากฏข้อความ พระราชากับพระมหาอุปราช เรื่องราวต่างๆ ยาวมาก แล้วก็หมดไปๆ แล้วก็ไม่กลับมาอีก แล้วก็ไม่มีอีก เพราะฉะนั้น ขณะนี้สัจจวาจา วาจาที่เป็นความจริง ก็คือว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ขณะนี้จริงเพราะมีปัจจัยเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป แล้วก็ไม่กลับมาอีก

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์เคยกล่าวว่า แม้แต่วิชาการทางโลก ก็เป็นเรื่องที่คิดนั่นเองเพราะว่า ถ้าไม่มีจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส รู้สัมผัสทางกาย และคิดนึกอะไรๆ ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ แล้วนักวิชาการคนนั้นอยู่ไหนเดี๋ยวนี้หรืออีกร้อยปี ตื่นหรือยัง ต้องรู้ด้วยว่า ตื่น คือ ขณะไหน ถึงจะตอบได้ว่าตื่นหรือยัง

    อ.กุลวิไล ที่ตื่นในที่นี้ ก็คือ ขณะที่รู้ธรรมตามความเป็นจริง แต่ถ้าขณะที่หลับ ก็เพราะไม่รู้ ในสิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง

    อ.คำปั่น กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า พึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ การพึ่งด้วยการฟังพระธรรม ที่พระองค์ทรงแสดง และท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า พึ่งไม่ใช่พึ่งเพียงคำหนึ่งคำใด แต่ว่าพึ่งทุกคำ กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ถึงความลึกซึ้งของข้อความ ที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงด้วย

    ท่านอาจารย์ เคยได้ยินมาก่อนไหม ว่าเดี๋ยวนี้เป็นสิ่งที่มีจริง เคยได้ยินต่อไปไหม ว่าสิ่งที่มีจริง เพราะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัย และได้ยินต่อไปอีกไหมว่า สิ่งที่เกิดเกิดแล้วก็ดับไป แต่ละคำคิดเองไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น พึ่งทุกคำ ถ้ามิฉะนั้น พึ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือเปล่า กราบไหว้ขอนั่นขอนี่ แต่ไม่ได้เข้าใจอะไรเลย ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก ให้เข้าใจถูก ตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม ทรงแสดงความจริงให้คนที่ฟัง มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้น มีเห็น เข้าใจเห็น เพราะใคร ถ้าไม่มีใครพูดเรื่องเห็นเลย จะเข้าใจเห็นในขณะนี้ได้ไหม ก็ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ที่ว่าพึ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พึ่งพระปัญญาของพระองค์ ที่ทรงพระมหากรุณาแสดงให้บุคคลอื่นที่ได้ฟัง เกิดปัญญาของตนเอง เพราะฉะนั้น ไม่ได้ถามใครเลย ว่าเข้าใจถูก หรือเข้าใจผิด หรือแต่ละคำเป็นอย่างไร อาศัยการที่ได้ฟังพระธรรม ซึ่งเป็นวาจาสัจจะ แล้วก็เกิดความเห็นถูก ความเข้าใจถูกตามที่ได้ฟัง

    เพราะฉะนั้น เมื่อมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง คือ พึ่งในพระปัญญาคุณของพระองค์ ก็จะมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง เพื่อที่จะอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆ หรือว่าไม่ได้ทำอะไร แต่ว่าเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงว่า ธรรมไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่มีจริงอกุศลเป็นอกุศล กุศลเป็นกุศล เห็นถูกคือเห็นถูก เห็นผิดคือเห็นผิด คือ มีความเห็นถูกตามความเป็นจริงของสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อได้ฟังพระธรรมมีความเห็นถูก ก็มีปัญญาความความเห็นถูกนั่นแหละเป็นที่พึ่ง เป็นโพธิปักขิยธรรม ธรรมฝ่ายดีที่จะทำให้ถึงความเป็นผู้ที่ดับกิเลสได้ คือ เป็นพระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น ก็พึ่งตั้งแต่ ถ้าไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะไม่ได้ฟังพระธรรม เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วก็มีปัญญาความเห็นถูกนั่นแหละ เป็นที่พึ่ง ที่จะทำให้ถึงการที่ดับกิเลส ถึงความเป็นพระอริยบุคคลได้

    อ.กุลวิไล แล้วการพึ่ง ก็ต้องพึ่งทุกคำที่เป็นพุทธพจน์ทั้งหมด เพราะเป็นวาจาสัจจ์ที่จะส่องให้ถึงตัวจริงของธรรมที่มีในขณะนี้ เพราะว่าทั้งหมดเป็นธรรม และถ้าเป็นธรรมแล้ว สิ่งนั้นก็ต้องเป็นสิ่งที่มีลักษณะให้รู้ได้ แล้วสิ่งนั้นก็เปลี่ยนแปลงลักษณะไม่ได้ด้วย เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทีละหนึ่ง แต่ละทางไม่ปะปนกัน


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 185
    3 ก.พ. 2567