พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 835


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๓๕

    ณ มูลนิธิศึกษา และมูลนิธิศึกษาพระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๖


    ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามที่มีความเข้าใจถูกว่าจะละโลภะได้ซึ่งแยบยลมากก็ด้วยความเข้าใจ เพราะฉะนั้นฟังธรรมเพื่อเข้าใจนั่นคือหนทางที่จะละโลภะตั้งแต่ขั้นการฟัง

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ค่ะท่านอาจารย์คะทุกข์ทางกายก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นก็ต้องดับไปแต่ว่าความเป็นเราก็ยึดถือสิ่งนั้นจนกระทั่งเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ดับ

    ท่านอาจารย์ เวลานี้เห็นเกิดแล้วดับไหมคะ เพราะฉะนั้นความเจ็บกายก็เหมือนไม่ดับเหมือนเห็นเดี๋ยวนี้ซึ่งแท้ที่จริงก็เกิดดับก็เหมือนไม่ดับ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์แล้วทุกข์ทางกายก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไรคะที่ใช้คำว่าธรรมอย่างหนึ่งเพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่มีจริงต้องบอกไหมว่าเป็นธรรมก็คือธรรมนั่นแหละคือสิ่งที่มีจริงเรากำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ ภาษาบาลีก็ใช้คำว่าธรรมภาษาไทยก็ใช้คำว่าสิ่งที่มีจริง

    ผู้ฟัง แต่เมื่อปวดเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ ปวดจริงมั้ยคะ

    ผู้ฟัง จริง

    ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่มีจริง หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ เราทำให้เกิดขึ้น หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เราทำให้หมดไป หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นบังคับบัญชาได้ไหมคะ

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นเรา หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็นแต่ยึดว่าเป็นเรา

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่รู้ค่ะให้ทราบได้เลยว่าขณะใดที่ยึดถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพราะไม่รู้แม้เกิดเป็นอรูปพรหมบุคคลยึดถือเพราะไม่รู้ความจริงแล้วเราเป็นใครกิเลสยังเต็มไม่ใช่อรูปพรหมสักหน่อย

    ผู้ฟัง แล้วความเดือดร้อนที่ตามมาที่มันยิ่งใหญ่มากกับความปวด

    ท่านอาจารย์ ความเดือดร้อนมีจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ ทำให้เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ บังคับบัญชาได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เกิดแล้วหมดไหม

    ผู้ฟัง คือก็ต้องหมดค่ะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความรู้ขั้นฟังก็จะต้องมั่นคงจริงๆ ว่าแม้ขณะนั้นมีสภาพธรรมใดปรากฏถ้ารู้ในความเป็นเพียงสิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้นก็ต้องหมดไปเพราะว่ามีสิ่งอื่นเกิดสืบต่อทำให้เหมือนกับว่าไม่มีอะไรดับไปสักอย่างเดียวเพราะการสืบต่อก็เร็วมาก

    อ.คำปั่น เป็นการศึกษาสิ่งที่มีจริงคำว่าโรค หรือคำว่าโรคะไม่พ้นไปจากโรคสองโรคก็คือโรคทางกายกับโรคทางใจโรคทางกายเป็นผลของกรรมเพราะว่าคำว่าโรคะโดยศัพท์หมายถึงสภาพที่เสียดแทงถ้าเป็นโรคกายก็เสียดแทงกายให้ได้รับความเจ็บปวดเกิดทุกข์แต่ถ้าโรคใจก็เสียดแทงจิตก็คือกิเลสอกุศลธรรมทั้งหลายก็มีความแตกต่างกันในตอนต้นท่านอาจารย์กล่าวถึงว่าส่วนใหญ่แล้วก็คิดว่าอารมณ์เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่เป็นเหตุให้มีกิเลสเกิดขึ้นเป็นไปแต่จริงๆ แล้วเป็นผลของการสะสมของแต่ละคนแต่ละท่านที่จะเป็นเหตุให้กิเลสประการต่างๆ เกิดขึ้นเป็นไปทำกิจหน้าที่ที่เป็นความโลภติดข้องยินดีพอใจบ้างเป็นโทสะความโกรธความขุ่นเคืองใจบ้างทั้งหมดก็เป็นธรรมที่มีจริงในช่วงนี้ขอเชิญคุณณรงค์

    ผู้ฟัง ผมจะขอความกรุณาท่านอาจารย์สุจินต์ช่วยอธิบายความละเอียดลึกซึ้งของสโลแกนของชมรมบ้านธรรมที่ว่าทำดี และศึกษาพระธรรมทำดีเป็นยังไงครับ และก็ศึกษาพระธรรม

    ท่านอาจารย์ ดีคือไม่โลภไม่โกรธไม่หลงหลักใหญ่ๆ เพราะเหตุว่าถ้ามีโลภโกรธหลงความไม่ดีอย่างอื่นก็ติดตามมา เพราะฉะนั้นไม่ดีที่หนึ่งก็คือความไม่รูถูกต้องไหมคะ

    ผู้ฟัง ถูกต้องครับ เพราะฉะนั้นความไม่รู้จะรู้ได้ก็คือฟังธรรม

    ท่านอาจารย์ ต้องมีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่าว่าดีเมื่อกี้พูดถึงว่าอะไรดีคือไม่โลภไม่โกรธไม่หลงไม่ดีก็ต้องตรงกันข้ามคือโลภโกรธหลง เพราะฉะนั้นเราเลือกไม่ได้ถูกไหมคะแล้วแต่เหตุปัจจัยทุกคนอยากดีแต่มีเหตุปัจจัยที่จะไม่ดีก็ต้องไม่ดีไม่อยากไม่ดีเลยก็ไม่ดีแล้วเพราะมีเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้จริงๆ ก็รู้ถึงเหตุที่ทำให้เกิดความไม่ดีเหตุที่ทำให้เกิดความไม่ดีก็คือความไม่รู้แน่นอนที่สุดถ้าค่อยๆ รู้ขึ้นความดีก็เพิ่มขึ้นเราจะประมาทความไม่ดี หรือความไม่รู้ไม่ได้เลยว่ามากแค่ไหนวันทั้งวันไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏเป็นพื้นฐาน และการสะสมมาที่จะดีเป็นบางกาลก็เกิดได้เช่นการให้ทาน หรือการไม่ประพฤติเบียดเบียนคนอื่นเป็นต้นก็ตามการสะสมมาแต่ก็ยังมีความไม่รู้อยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะดีอย่างไรก็ตามพอไหมจะดีขึ้นอีกได้ไหมถ้าไม่เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงเพียงเป็นคนดีตามที่ได้เคยสะสมมาแต่ยังมีความไม่รู้ไม่เข้าใจสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันตามความเป็นจริงก็จะทำให้ดีถึงที่สุดไม่ได้ หรือดีจริงๆ ด้วยความเข้าใจถูกก็ไม่ได้เพราะว่ายังคงเป็นเราด้วยเหตุนี้ผู้ที่จะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจะขาดการศึกษาธรรมได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นคนดีเท่าที่ชาวโลก และตัวเองเข้าใจว่าดีไม่ได้ลักขโมยใครไม่ได้ประทุษร้ายเบียดเบียนใครแต่ก็ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏจะชื่อว่ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไม่ได้ไม่ได้พึ่งอะไรเลยบอกว่าพึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วพึ่งตอนไหนพึ่งพระธรรมพึ่งตอนไหนพึ่งพระอริยบุคคลพึ่งตอนไหนก็ไม่ได้พึ่งเลยถ้าไม่มีการฟังพระธรรมให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นการเป็นคนดีก็ไม่พอถ้ารู้ความจริงว่าไม่สามารถที่จะดีตลอด หรือว่าดีโดยที่ว่าไม่มีความไม่ดีเกิดขึ้นบ้างเลยก็ไม่ได้จนกว่าจะได้เข้าใจพระธรรมซึ่งมีอยู่หนทางเดียวคือต้องศึกษาจึงสามารถที่จะเข้าใจได้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นตามความเข้าใจก็คือว่าทำดี และศึกษาพระธรรมหมายความว่าขณะนี้เราเป็นปุถุชนอยู่มีอนุสัยครบเจ็ด เพราะฉะนั้นความดีก็แล้วแต่ที่เราสะสมมาดั้งเดิมของแต่ละคนที่อาจจะมีทั้งดีทั้งไม่ดีอยู่แล้วตรงนั้นก็ดำเนินไปส่วนที่ท่านอาจารย์กล่าวว่าทำดีเพิ่มขึ้นก็มีปัจจัยของการศึกษาพระธรรมเมื่อศึกษาพระธรรมเข้าใจขึ้นจะส่งผลให้ความดีข้างหน้าตรงนั้นเพิ่มขึ้นๆ

    ท่านอาจารย์ เพียงเข้าใจถูกว่าขณะใดที่ดีไม่เกิดกุศลไม่เกิดขณะนั้นเป็นอกุศลเพียงเข้าใจอย่างนี้ประมาทกุศลแม้เพียงเล็กน้อย หรืออกุศลแม้เพียงเล็กน้อย หรือเปล่าในขณะที่ไม่ทำดีเคยเป็นคนที่ไม่ได้เบียดเบียนใครแต่ไม่ได้ทำดีอะไรเล็กๆ น้อยๆ คิดว่าไม่เป็นไรไว้ทำความดีใหญ่ๆ ก็แล้วกันแต่ว่าตามความเป็นจริงถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจจริงๆ ขณะใดที่กุศลจิตไม่เกิดขณะนั้นเป็นอกุศลแล้ว และอกุศลทุกประเภทก็มีความไม่รู้ซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นขณะนี้ที่กำลังฟังพระธรรมแล้วไม่เข้าใจตามที่ทรงแสดงไว้เพราะยังมีอวิชชามากมายที่ได้สะสมมาจึงกั้นไม่ให้สามารถเข้าใจทุกคำที่กล่าวถึงความจริงของสิ่งที่มีจริงขณะนี้ซึ่งเกิดขึ้น และดับไปรู้เลยว่าอะไรกั้นคือความไม่รู้ หรืออวิชชาที่สะสมมานานมากเมื่อมีอวิชชาก็มีโลภะมีโทสะทั้งวันก็ลองดูพิจารณาเข้าใจให้ถูกตามความเป็นจริงว่าอกุศลเพิ่มขึ้นเท่าไหร่อวิชชาเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่แล้วหวังจะเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังเป็นไปได้ไหมแต่ถ้าไม่ประมาทเริ่มเห็นว่าแม้กุศลเพียงเล็กน้อยก็เป็นโอกาสที่ขณะนั้นอกุศลเกิดไม่ได้เพราะเหตุว่ากุศลเกิดอวิชชาก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงพร้อมทั้งกิเลสอื่นๆ ด้วยกุศลทั้งหลายก็จะค่อยๆ ชำระจิตซึ่งทุกคนขณะนี้มองไม่เห็นเลยว่าดำมืดเน่าขยะจริงๆ เป็นอย่างนั้นแต่สภาพจิตอย่างนี้ หรือจะไปรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้อวิชชารู้ไม่ได้โลภะก็รู้ไม่ได้มานะก็รู้ไม่ได้ริษยาก็รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นจะรู้ได้ต่อเมื่อจิตนั้นค่อยๆ ผ่องแผ้วสะอาดขึ้นด้วยกุศลที่สะสมจึงมีบารมีมิฉะนั้นแล้วไม่ต้องบารมีก็ได้แค่ฟังแต่ความจริงเพราะฟังจึงรู้ว่าอกุศลมากอย่างนี้ และที่จะเข้าใจธรรมขึ้นก็เพราะกุศลเพิ่มขึ้นแม้แต่สุเมธดาบสในชาตินั้นท่านจะได้ถึงความเป็นพระอรหันต์แต่ด้วยความตั้งความปรารถนาที่จะอนุเคราะห์สัตว์โลกเพราะรู้ว่าเพียงเป็นพระอรหันต์ไม่สามารถที่จะสงเคราะห์สัตว์โลกได้เท่ากับการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อได้รับคำพยากรณ์ท่านตรึกถึงว่าอะไรจะเป็นคุณธรรมที่จะเกื้อกูลให้สามารถที่จะบำเพ็ญไปขัดเกลาชำระล้างจิตไปจนกว่าจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรมความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้าไม่มีคุณความดีไม่มีทางแม้แต่ที่จะเข้าใจธรรมเพราะอกุศลเพิ่มขึ้นทุกวัน และถ้าไม่เห็นว่ากุศลแม้เพียงเล็กน้อยถ้าไม่ทำ หรือไม่เกิดขึ้นขณะนั้นเหมือนเดิมอกุศลก็เพิ่มขึ้นแล้วเมื่อเห็นภัยของความไม่รู้เมื่อเห็นภัยของอกุศลจึงเกิดหิริโอตัปปะที่ละอายที่จะไม่รู้ต่อไป และก็ไปเพิ่มกุศลขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่ขวนขวายก็ได้ หรือทำความดีทุกโอกาสก็ได้พร้อมทั้งการศึกษาธรรมให้เข้าใจด้วยมิฉะนั้นเพียงแค่ความดีก็ไม่สามารถที่จะรู้ ความจริงของสิ่งที่ปรากฏแต่เพราะความดีนั่นแหละเป็นบารมีเป็นบริวารของปัญญาที่จะทำให้เข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมก็ทำความดีเพิ่มขึ้น หรือยังจากวันก่อนก็ไม่ต้องถามกันเองนอกจากสำนึก หรือละลึกได้ หรือรู้สึกตัว หรือว่าขณะนั้นหิริเกิดโอตัปปะเกิดกุศลแม้เพียงเล็กน้อยก็เริ่มเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ครับแล้วเป็นไปได้ไหมครับผู้ที่ฟังเผินทำดี และศึกษาพระธรรมก็อาจจะทำดีด้วยความหวัง หรือโลภะที่หวังที่จะได้

    ท่านอาจารย์ ดีอย่างนั้นก็ไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรมกิเลสก็ดับไม่ได้

    ผู้ฟัง ก็เป็นตัวตนที่จะทำดีใหญ่เลย

    ท่านอาจารย์ แล้วก็เพิ่มความไม่รู้ และความยึดมั่นยากต่อการที่จะรู้เพราะเหตุว่าไม่ได้มีความดีที่ขณะใดที่เกิดความไม่รู้ และอกุศลทั้งหลายเกิดไม่ได้

    อ.กุลวิไล ก็ขอเชิญคุณคำปั่นให้ความหมายศัพท์ก่อนอนัตตา และนิรัตตา

    อ.คำปั่น คำแรกที่กล่าวถึงก็คือคำว่าอนัตตาอนัตตาหมายถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนมีจริงๆ แต่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนนี่คือความหมายของอนัตตาซึ่งในอรรถกถาทั้งหลายก็ได้มีการอธิบายถึงอรรถของอนัตตาไว้สี่ประการด้วยกันประการแรกก็คือเป็นสภาพธรรมที่ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเป็นสัตว์เป็นบุคคลประการที่สองก็คือเป็นสภาพธรรมที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครประการที่สามก็คือไม่มีใครเป็นเจ้าของ และประการสุดท้ายก็คือเป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับอัตตานี่คือความหมาย หรืออรรถของอนัตตาถ้าหากว่าฟังเผินๆ ก็จะคิดว่าเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกันคือคำว่านิรัตตามาจากคำว่านิรกับอัตตานิรคือไม่มีอันนี้กล่าวถึงโดยศัพท์ก่อนนิรคือไม่มีอัตตาก็คือตัวตนแต่ท่านอธิบายไว้ว่าหมายถึงความเห็นผิดว่าขาดสูญความเห็นผิดว่าเป็นตัวตนที่ขาดสูญ เพราะฉะนั้นคำหลังนิรัตตาหมายถึงความเห็นผิดว่าขาดสูญเห็นผิดว่าตายแล้วจบเลยไม่มีการเกิดอีกอย่างนี้เป็นตัวอย่างของนิรัตตา หรือว่านิรัตทิฏฐิเป็นความเห็นผิดว่าขาดสูญ เพราะฉะนั้นคำสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงคำแรกอนัตตาแสดงถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนเป็นสภาพธรรมแต่ละหนึ่งๆ ส่วนนิรัตตาหมายถึงความเห็นผิดว่าขาดสูญซึ่งก็มีข้อความจากพระไตรปิฎกคือขุททกนิกายมหานิทเทสมีคำอธิบายถึงสองคำนี้คือคำว่าอนัตตาก็เข้าใจแล้วคือสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนทีนี้กล่าวถึงนิรัตตาก็มีข้อความดังนี้ว่าภิกษุพึงสงบกิเลสเป็นภายในนี้แหล่ะไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่นเมื่อภิกษุสงบกิเลสเป็นภายในแล้วอัตตทิฏฐิ หรือนิรัตทิฏฐิย่อมไม่มีแด่ที่ไหนๆ นี่ก็แสดงถึงผู้ที่ดับกิเลสแล้วความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์เป็นตัวตนเป็นบุคคลความเห็นผิดว่ายั่งยืนไม่มีเลย หรือความเห็นผิดว่าขาดสูญก็ไม่มีนี้คือข้อความหนึ่งที่ปรากฏในขุททนิกายมหานิทเทส และก็มีอีกข้อความหนึ่งที่แสดงชัดเจนเลยว่าแสดงถึงความเป็นพระอริยบุคคลสูงสุดคือพระอรหันต์มีข้อความดังนี้บุตรปศุสัตว์ไร่นา และที่ดินย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นอัตตทิฏฐิก็ดีนิรัตทิฏฐิก็ดีย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้นอันนี้ก็แสดงถึงความเป็นพระอริยบุคคล และก็มีคำอธิบายไว้ว่าสัสสตทิฏฐิคือความเห็นว่าเที่ยงชื่อว่าอัตตาในคำว่าอัตตทิฏฐิอุจเฉททิฏฐิชื่อว่านิรตาแสดงถึงข้อความที่ต่างกันอย่างชัดเจนถึงคำว่าอนัตตา และนิรัตตาเพราะว่าคำว่าอนัตตาได้ฟังธรรมก็มีความเข้าใจไปตามลำดับแต่คำว่านิรัตตาก็เป็นคำใหม่ที่ได้ยินได้ฟังแต่ก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าหมายถึงความเห็นผิดว่าขาดสูญครับ

    อ.กุลวิไล เพราะฉะนั้นความเห็นผิดว่าเป็นอัตตาเป็นคนเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือแม้แต่ความขาดสูญย่อมไม่มีกับผู้ที่เป็นพระอริยะนั่นเองขอกราบเรียนท่านอาจารย์ถึงความเข้าใจเพราะว่าสภาพธรรมที่เป็นอนัตตาท่านก็แสดงว่าเป็นสภาพธรรมที่ว่างเปล่าจากตัวตนสัตว์บุคคล และความหมายในข้อที่สองก็คือไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครข้อที่สามก็คือไม่มีใครเป็นเจ้าของ และแน่นอนข้อสุดท้ายตรงข้ามกับอัตตาที่ปุถุชนคิดว่ามีค่ะ

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องขออนุโมทนาคุณคำปั่นนะคะ ที่ทำให้ข้อความชัดเจนเพราะเหตุว่าเวลาศึกษาธรรมก็จะได้ยินคำซึ่งถ้าไม่มีความรู้ในภาษาบาลีแล้วคิดเองก็เป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะเหตุว่าเข้าใจผิด และไม่ใช่เข้าใจผิดแต่เฉพาะคนเดียวก็ยังทำให้คนอื่นเข้าใจผิดด้วยเช่นคำว่านิรัตตาแต่ถ้าได้ศึกษาพระธรรมโดยเคารพอย่างยิ่งคือได้ยินแล้วไม่เผินแต่ต้องพิจารณาไตร่ตรองว่าด้วยเหตุใดจึงมีคำว่านิรัตตาเพราะว่าปรกติก็ได้ยินคำว่าอัตตาก็จะได้มีข้อความที่ชัดเจนว่าหมายความถึงสภาพความเห็นผิดว่าขาดสูญไม่ใช่เราคิดเองว่าไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลเหมือนอย่างคำว่าอนัตตานี่ก็เป็นประโยชน์อย่างมากของการที่จะเข้าใจถูกแต่ว่าเพียงคำไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรมจนกว่ามีการได้ยินได้ฟังว่าธรรมก็คือสิ่งที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้น่ารู้น่าฟังไหมคะ หรือว่าจะไปฟังเรื่องอื่นที่ไม่ใช่สิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ เพราะฉะนั้นการมีโอกาสได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงแน่นอนเพราะว่ากำลังปรากฏแต่ว่าเป็นความลึกซึ้งซึ่งแม้แต่คำที่ได้ยินได้ฟังครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่ใช่หมายความว่าปัญญาจะสามารถประจักษ์แจ้งความจริงได้ทันทีแต่ต้องอาศัยความเข้าใจว่าฟังในสิ่งที่ไม่เคยฟังในสิ่งที่มีจริงเพื่อความเข้าใจถูกต้องว่าแม้สิ่งที่มีจริงก็ลึกซึ้งอย่างยิ่งถ้าไม่มีการฟังใครจะรู้ได้เมื่อวานนี้ก็ได้ฟังเรื่องรูปไก่ที่ผ้าเช็ดตัวห้อยหัวเพราะว่าคนตากตากเอารูปหัวไก่ลงแต่ว่าเท่านี้พอจะทำให้เข้าใจละเอียดขึ้นถึงขณะนี้ได้ไหมไม่ได้ต่างกันเลยนั่นคือผ้าเช็ดตัว และก็มีเส้นเหมือนเดี๋ยวนี้ก็มีรูปร่างสัณฐาน และก็เข้าใจว่าขณะนั้นมีตัวไก่ที่ผ้าเช็ดตัวจนกระทั่งคนที่แขวนผ้าเช็ดตัวสงสารไก่คิดดูเป็นไปได้ถึงอย่างนั้น เพราะฉะนั้นถ้าฟังเผินๆ ก็น่าสงสาร หรือว่าน่าเห็นใจคนที่ช่างขี้สงสารแม้แต่รูปไก่ที่อยู่ที่ผ้าเช็ดตัวห้อยหัวก็สงสารแต่ว่าตามความเป็นจริงทุกคนกำลังเป็นอย่างนี้ หรือเปล่าถ้าคิดให้ลึก และตรงตามความเป็นจริงเวลาที่ดูโทรทัศน์ซึ่งในยุคนี้สมัยนี้ก็จะเห็นรูปร่างสัณฐานเส้นต่างๆ แล้วก็คิดว่าเป็นคนนั้นคนนี้อาจจะยิ่งกว่าคิดว่าห้อยหัวเพราะเหตุว่ากำลังจะตายก็ได้ใช่ไหมคะทำให้ขนาดนั้นสงสารระดับไหนน้ำตาก็จะไหลออกมาก็ได้ไม่ต่างจากเห็นผ้าเช็ดตัวที่มีรูปไก่ห้อยหัว เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าแม้ไม่ใช่โทรทัศน์เดี๋ยวนี้เองเป็นอย่างนั้น หรือเปล่าความไม่รู้มากแค่ไหนต้องเป็นผู้ที่ตรงกว่าจะรู้ว่าแม้แต่เพียงสิ่งที่มีจริงกำลังปรากฏแต่ว่าเพราะไม่รู้ความจริงก็เข้าใจว่าเป็นเราเป็นเขาเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นคนนั้นคนนี้กว่าความไม่รู้จะค่อยๆ น้อยลงไปแต่น้อยนี่ก็มากบางเบาทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าชำระล้างความไม่รู้ และการยึดถือสภาพธรรมซึ่งทำให้เกิดอกุศลอีกมากมายที่สะสมอยู่ในจิตเพราะเหตุว่าการฟังธรรมเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลส และกิเลสอยู่ที่ไหนไม่ได้อยู่ภายนอกเลยสักนิดเดียวแต่อยู่ที่จิตของทุกคนจิตใครไม่มีกิเลสพระอรหันต์จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือสาวก หรือพระอรหันต์ตะสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถที่จะดับสิ่งที่มีสะสมมาซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมดในใจออกไปได้แม้แต่ความเห็นผิดที่ว่าไก่บนผ้าเช็ดตัวแค่นี้แล้วคนที่กำลังนั่งอยู่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ผ้าเช็ดตัวไม่ใช่โทรทัศน์แต่ก็มีการเข้าใจว่าเป็นคนเป็นสัตว์เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ เมื่อไหร่จะฟังจนกระทั่งสามารถที่จะระลึกได้เข้าใจถูกแม้เพียงเล็กน้อยว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ซึ่งต้องเป็นความตรงถึงสามารถที่จะรู้ได้ว่าแม้ได้ยินคำนี้มาแล้วหลายครั้งชาติก่อนใครไม่รู้ว่าฟังรึเปล่าได้ยิน หรือเปล่าแต่ชาตินี้แน่นอนได้ยินแล้วแต่พอถึงชาติหน้าจะได้ยินอีก หรือเปล่าก็ไม่รู้ได้แต่ว่าความเข้าใจอย่างเดียวจากคำที่ได้ยินได้ฟังค่อยๆ ลึกลงไปถึงใจที่จะเริ่มแม้แต่เมื่อไหร่ก็ตามคำที่ได้ยินได้ฟังเช่นท่านพระสารีบุตรได้ฟังคำจากท่านพระอัสสชิ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 185
    12 ม.ค. 2567