พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 833


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๓๓

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๖


    อ.อรรณพ อย่างตอนนี้ทุกคนฟังธรรมเหมือนกันข้อความเดียวกันพิจารณาแยบคาย หรือไม่แยบคายเพียงอ่านข้อความในพระไตรปิฎกว่ากุศลควรเจริญคิดแล้วว่าต้องเป็นเราที่ทำกุศลแยบคายไหมเป็นตัวตนไปแล้ว เพราะฉะนั้นแม้คำสอนจะถูกต้องแต่การฟังของผู้ฟังนั้นคิดไปตามการสะสมที่ไม่แยบคายเลยคิดว่าทุกคำในพระไตรปิฎกให้ทำแต่ถ้าพิจารณาแยบคายก็รู้ว่าไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนแต่เป็นกิจของความเข้าใจ หรือปัญญาที่ทำกิจในขณะนี้เป็นเครื่องพิสูจน์เหตุเกิดของความเห็นผิด หรือความเห็นถูกถ้าฟังธรรมแล้วพิจารณาแยบคายตามพระธรรมตามครรลองตามคลองของพระธรรมก็เข้าใจตามเพราะถ้าเว้นจากพระพุทธเจ้าสองแล้วคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ที่จะเป็นพุทธคือรู้ก็เป็นเพียงรู้ตามอนุพุทธ เพราะฉะนั้นรู้ตามเพราะพิจารณาแยบคายตามพระธรรมซึ่งก็ไม่ใช่เราแต่เป็นสภาพของความดีหลายๆ อย่างมีการใส่ใจถูกต้องแยบคายเกิดประกอบท่านถึงแสดงว่าการพิจารณาไม่แยบคายก็เป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิเกิดแม้จะได้ยินเสียงของพระธรรมถูกต้องไหมครับแต่ปัจจัยอื่นก็ด้วยอย่างเช่น ปรโตโฆษะก็คือเสียงที่กำลังได้ยินแม้จะสะสมมาดีอย่างท่านพระสารีบุตรตอนที่ท่านเป็นอุปะติสสะมานพท่านสะสมคุณความดีในจิตพร้อมที่จะบรรลุเป็นพระอรหันต์ และเป็นพระอัครสาวกด้วยแต่ยังไม่ได้มีโอกาสได้ยินปรโตโฆษะคือเสียงซึ่งแสดงถึงคำสอนท่านก็ไปฟังเสียงคือคำสอนของอาจารย์สัญชัยแม้ท่านจะสะสมมาดีแต่เสียงนั้นไม่ได้เกื้อกูลให้เข้าใจความหมายของสิ่งที่มีจริงที่เกิดตามเหตุตามปัจจัยเลยแต่เมื่ออาศัยปรโตโฆษะคือเสียงที่แสดงธรรมของท่านพระอัสชิว่าธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเช่นนี้นะท่านก็สามารถรู้ลักษณะสภาพธรรมความเป็นเหตุความเป็นปัจจัยการเกิดดับทุกอย่างจนเป็นพระโสดาบันอาศัยเสียงด้วยใช่ไหม เพราะฉะนั้นอาศัยเสียงนั้นการสะสมความแยบคายในการพิจารณาตามพระธรรมนั้นช่างรวดเร็วมากสำหรับท่านแต่พวกเราค่อยๆ สะสมเริ่มต้นไปฟังธรรมแล้วอันนี้จะเตือนใจมากเลยว่าพิจารณาแยบคาย หรือเปล่าแม้จะสะสมมาดีบ้างไม่ดีบ้างแต่เมื่อมีพระธรรมคำเตือนก็ควรจะเห็นว่าแยบคายคืออย่างไร เพราะฉะนั้นจะแยบคายขึ้นเมื่อมีการสนทนาสอบถามแล้วเป็นผู้ที่พิจารณาในเหตุผลก็จะได้ความละเอียดของพระธรรมเพิ่มขึ้น

    อ.วิชัย คำนี้ก็ได้ฟังบ่อยครับท่านอาจารย์ที่เป็นโยนิโสมนสิการ หรือพิจารณาโดยแยบคายแต่ถ้าพูดถึงการฟังครับท่านอาจารย์ตอนแรกก็ฟังใหม่ที่ผมฟังเช่นเรื่องของจิตเจตสิกก็ไม่เข้าใจเลยแต่ว่าพอฟังบ่อยมากขึ้นก็เริ่มเข้าใจบ้างการที่ทรงแสดงเรื่องของการพิจารณาโดยแยบคายคือต้องเข้าใจพื้นฐานว่าไม่มีตัวตนแล้วจะให้เข้าใจยังไงครับท่านอาจารย์ที่จะให้รู้ว่าแยบคาย หรือไม่แยบคาย

    ท่านอาจารย์ ไม่มีตัวตนแน่นอนแล้วมีอะไร

    อ.วิชัย ก็ต้องมีธรรมครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ นั่นแหล่ะค่ะถ้าเข้าใจขณะนี้ก็แยบคายแม้เล็กๆ น้อยๆ ก็เข้าใจถูกเช่นไม่มีตัวตนแล้วมีอะไรก็มีสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่ตัวตนเพราะเหตุว่าปรากฏแล้วก็หมดไป

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับแต่ว่าการสะสมของแต่ละบุคคลก็ต่างกันการที่จะให้เกิดความเข้าใจก็บังคับบัญชาไม่ได้ก็ต้องฟังต่อไป

    ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะก็เป็นอย่างนี้เกิดมาแล้วก็สุขบ้างทุกข์บ้างเดี๋ยวโลภเดี๋ยวโกรธเดี๋ยวเสียใจเดี๋ยวดีใจเดี๋ยวสบายดีเดี๋ยวเจ็บไข้ก็เป็นของธรรมดาแต่อะไร เพราะฉะนั้นถ้าลึกซึ้งลงไปจริงๆ ที่กล่าวว่าเมื่อมีความเห็นผิดแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดอกุศลมากเพิ่มขึ้นก็ต้องตรงตามความเป็นจริงเพราะเหตุว่าขณะนี้เห็นผิดว่าเป็นเราถ้าลึกลงไปจริงๆ ก็คือว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้แต่ก็ยังไม่เห็นความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏยังเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเที่ยงเป็นดอกไม้จริงๆ เป็นโต๊ะจริงๆ เป็นคนจริงๆ ถ้ามีการยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วที่อกุศลจะไม่เกิดเจริญขึ้นก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นความเห็นผิดทั้งหมดก็นำไปสู่ซึ่งอกุศลเพิ่มขึ้นๆ

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับท่านอาจารย์ยกตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องดอกไม้คือปกติทุกบุคคลก็ต้องเห็น และรู้ว่านี่คือสิ่งอะไรแต่ว่าอะไรที่ว่าที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงการยึดถือต่างกับการที่จะรู้ว่าเป็นดอกไม้ยังไงครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เห็นแล้วชอบ หรือไม่ชอบ

    อ.วิชัย ก็สวยดีก็ชอบ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นดอกไม้แต่ถ้าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นแล้วก็ดับไปชอบไหมไม่ใช่ดอกไม้เลยค่ะแต่ตราบใดซึ่งยังคงเป็นดอกไม้ต้องชอบ หรือไม่ชอบเป็นของธรรมดาเพราะไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้นการที่อกุศลทั้งหลายจะลดน้อยลงก็ด้วยปัญญาที่เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงค่อยๆ เพิ่มขึ้นแต่ถ้ายังไม่มีการเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเข้าใจว่าดีแต่ว่าดีตลอดไป หรือเปล่าเพราะว่ายังมีความไม่ดีอยู่ และตราบใดที่ยังมีความไม่ดีคือความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงก็ต้องมีการยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดเมื่อมีการยึดถือว่าเป็นเราเป็นเขาเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะนั้นต้องเป็นการติดข้องแน่นอนซึ่งถ้าไม่ได้สิ่งพอใจติดข้องขณะนั้นก็เป็นอกุศลประเภทอื่น เพราะฉะนั้นอกุศลทั้งหลายก็ย่อมมาจากการได้เห็นบ้างได้ยินบ้างแล้วก็ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับเมื่อสักครู่ท่านอาจารย์กล่าวถึงว่าการเห็นว่าเป็นดอกไม้จริง หรือปลอมก็อาจจะไม่ได้เป็นความยึดถือด้วยความเห็นผิดแต่ว่าเป็นความวิปลาสนั้นความต่างของความเห็นที่ยึดถือว่าเป็นจริง หรือว่ามีจริง หรือกับความเพียงวิปลาสครับท่านอาจารย์คือยังไงครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ วิปลาสมี

    อ.วิชัย มี ๓ อย่าง

    ท่านอาจารย์ คือ

    อ.วิชัย มีสัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส และทิฏฐิวิปลาส

    ท่านอาจารย์ เห็นแล้วไม่วิปลาสไม่ได้ถ้าไม่รู้ความจริงใช่ไหมคะ

    อ.วิชัย เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเห็นแล้วเป็นอกุศลประเภทไหนเริ่มรู้ว่าที่ว่าเป็นคนดีดีแค่ไหนเมื่อกล่าวถึงความละเอียดเพราะว่าอย่างหยาบคนนั้นก็ดีคนนี้ก็ดีแต่ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงขณะนั้นแม้เพียงเห็นก็นำมาซึ่งอกุศลต่อๆ ไปเมื่อไม่ได้เข้าใจสภาพนั้นตามความเป็นจริงเห็นจะกล่าวได้ไหมคะพอเห็นแล้วไม่รู้จะไม่ยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    อ.วิชัย เท่าที่เข้าใจคือต้องมีความยึดถืออยู่ถ้าไม่รู้ความจริงครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เริ่มแล้วใช่ไหมคะเริ่มแล้วจากการยึดถือแล้วต่อไปก็เริ่มมากขึ้นเจริญขึ้นว่าเป็นสิ่งที่เราชอบ หรือไม่ชอบเป็นคนนั้น หรือเป็นคนนี้เป็นเรื่องนั้น หรือเรื่องนี้ทั้งหมดก็มาจากการที่ไม่มีความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริงตราบใดที่ยังมีความไม่รู้อยู่ที่จะเป็นกุศลที่บริสุทธิ์เป็นไปไม่ได้เลยค่ะเพราะว่าขณะนั้นยังไม่ได้เข้าถึงความจริงของสภาพธรรม เพราะฉะนั้นที่จะดับอกุศลใดๆ เป็นไปไม่ได้เลยตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริงเป็นคนดีระดับที่เกิดในอรูปพรหมกว่าจะได้เกิดเป็นอรูปพรหมบุคคลจิตต้องสงบขั้นไหนไม่มีโลภะไม่มีโทสะไม่มีโมหะด้วยแต่ก็ไม่ใช่ปัญญาที่จะเห็นถูกเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมเพียงแต่รู้ว่าจิตจะสงบมั่นคงขึ้นถึงระดับนั้นได้อย่างใดแต่ก็ยังไม่ใช่สัมมาปฏิปทาข้อปฏิบัติที่ตรงทั้งหมดจึงกล่าวว่าเป็นมิจฉาปฏิปทาเป็นหนทางผิดเพราะอะไรเพราะไม่ทำให้รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์ครับก็มีข้อความในพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุว่าดูกรภิกษุทั้งหลายสัมมาทิฏฐิเป็นไฉนความรู้ในทุกข์ความรู้เหตุเกิดของทุกข์ความรู้ในการดับทุกข์ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงดับทุกข์อันนี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ ก็เพิ่มความชัดเจนขึ้นตราบใดที่ยังไม่เห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏจะรู้ได้ไหมว่าสิ่งนั้นเกิดปรากฏแล้วหมดไปที่ใช้คำว่าทุกข์ถ้าไม่เห็นอย่างนี้ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ หรือเปล่า

    อ.วิชัย ก็ยังไม่ถึงครับ

    ท่านอาจารย์ ในอริยสัจจธรรมซึ่งก็ต้องเริ่มจากการค่อยๆ อบรมความเห็นถูกการฟัง และการเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อยซึ่งเริ่มมีความมั่นใจไม่เปลี่ยนแปลงว่าขณะนี้สภาพธรรมเป็นอย่างนี้จากการฟังถ้าฟังเพียงเล็กน้อยแล้วจะให้มีความมั่นคงว่าเดี๋ยวนี้เห็นก็เกิดดับสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็เกิดดับก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าใครจะพยายามไปทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ประจักษ์การเกิดดับแต่ต้องเป็นความรู้ความจริงที่ค่อยๆ คลายความไม่รู้จนกระทั่งไม่มีอะไรปิดกั้นสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ก็ปรากฏกับปัญญาที่อบรมแล้วไม่ใช่ปัญญาเพียงขั้นฟังเล็กๆ ในน้อยๆ หรือว่าจำได้แล้วก็ลืมอยู่เรื่อยๆ ยังไม่มั่นคง

    อ.วิชัย เพราะความเห็นถูก หรือว่าปัญญาก็ต้องค่อยๆ อบรมขึ้น

    ท่านอาจารย์ ในแต่ละคำด้วยไม่ใช่ว่าอริยสัจจมีสี่ เพราะฉะนั้นสัมมาทิฏฐิก็คือความเห็นถูกในอริยสัจสี่แต่แม้แต่หนึ่งคือทุกข์ก็ยังไม่เข้าใจว่าเดี๋ยวนี้เองคือสิ่งที่เกิดเกิดแล้วดับไม่เห็นทั้งการเกิด และการดับเพราะเหตุว่ามีแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ และไม่รู้ความจริงจึงยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    อ.วิชัย ดังนั้นการที่จะละความยึดถือก็ต้องเป็นปัญญาคือความเห็นถูกค่อยๆ ตรงยิ่งขึ้น

    ท่านอาจารย์ และอะไรละคะ

    อ.วิชัย ก็ต้องปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาละแล้วเดี๋ยวนี้มีปัญญาที่จะละ หรือยังยัง เพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดเรื่องละเพราะว่าไม่มีปัญญาก็เพียงแต่ว่ารู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่าธรรมเป็นอย่างนี้ผู้ที่ทรงตรัสสรู้ทรงแสดงความจริงอย่างนี้เริ่มเข้าใจในขั้นการฟังว่าความจริงเป็นอย่างนี้นี่คือปริยัติต้องเป็นความรู้ความเข้าใจในพระพุทธพจน์ และเป็นความรอบรู้ที่มั่นคงเป็นสัจจญาณจึงจะทำให้สามารถเริ่มปฏิปัตติปฏิบัติธรรมคือเริ่มรู้จัก และเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเพียงทีละหนึ่งที่ปรากฏเพราะเหตุว่าหนึ่งเกิดแล้วหนึ่งดับ และไม่กลับมาอีก

    อ.วิชัย เรียนถามอาจารย์ธิดารัตน์มีข้อความในพระสูตรว่าดูกรภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตรเบื้องต้นแห่งดวงอาทิตย์เมื่อจะอุทัยคือแสงเงินแสงทองฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลายสิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายคือสัมมาทิฏฐิฉันนั้นเหมือนกันแลเบื้องต้นของกุศลธรรมคือสัมมาทิฏฐิยังไงครับ

    อ.ธิดารัตน์ พูดถึงสัมมาทิฏฐิก็ต้องหมายถึงปัญญาที่เป็นความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นความเข้าใจถูกก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏเมื่อปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้นที่ท่านแสดงถึงแสงเงินแสงทองจะเป็นวิปัสสนาญานซึ่งเป็นปัญญาที่มีกำลังเริ่มที่การอบรมเจริญปัญญาที่เจริญขึ้นจากการรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงเห็นความเกิดความดับของสภาพธรรมตามความเป็นจริง และเริ่มที่จะรู้ว่าสภาพธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับมีก็คือปัญญาที่เริ่มเห็นลักษณะของพระนิพพาน หรือโคตรภูญาณที่อุปมาเหมือนกับเห็นแสงเงินแสงทองก่อนที่อริยมรรคจะเกิดขึ้น และส่วนรายละเอียดก็ต้องกราบเรียนท่านอาจารย์ว่าขณะนี้อะไรที่จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ความเข้าใจที่จะค่อยๆ เจริญขึ้นค่ะท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ก็คือฟัง และสนทนาธรรมไงคะ

    อ.วิชัย กราบท่านอาจารย์ครับท่านอาจารย์ครับเรื่องของสัมมาทิฏฐิ และมิจฉาทิฏฐิอย่างเช่นสัมมาทิฏฐิในพระสูตรก็แสดงไว้หลายๆ แห่ง และพระผู้มีพระภาคก็ตรัสโดยในอริยสัจจด้วยว่าความเห็นถูก คือความรู้ในอริยสัจจะ หรือแม้ในพระสูตรเช่นสัมมาทิฏฐิสูตรท่านพระสารีบุตรก็แสดงเหมือนกันเรื่องของสัมมาทิฏฐิก็แสดงไว้หลากหลายนัยถ้ากล่าวบางหัวข้อเช่นกล่าวถึงเรื่องของอริยสาวกผู้รู้ชัดซึ่งอกุศล และรากเง่าของอกุศลรู้ชัดซึ่งกุศล และรากเง่าของกุศลแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกชื่อว่าสัมมาทิฏฐิการกล่าวคือแสดงโดยนัยต่างๆ ให้เข้าใจถูกต้องในธรรมก็ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิทั้งหมด หรือครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ โดยเฉพาะอริยสาวกผู้ที่เจริญแล้วรู้แล้วอบรมปัญญาแล้ว เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วถึงเราจะได้ยินได้ฟังข้อความมากมายแต่ว่าถ้าสามารถเข้าใจเดี๋ยวนี้ได้ก็จะทำให้เริ่มที่จะเห็นถูกแม้แต่ว่าเดี๋ยวนี้ขณะนี้เห็นผิด หรือเปล่าไม่ใช่ให้เราไปติดเรื่องราวของสัมมาทิฏฐิ หรือ และมิจฉาทิฏฐิแต่เมื่อเข้าใจแล้วว่าเห็นผิดคืออะไร และเห็นถูกเข้าใจถูกคืออย่างไรคำตอบน่าคิดมากเพราะว่าคำตอบนั้นจะบ่งบอกว่าคิดละเอียดแค่ไหนเช่นถามว่าเดี๋ยวนี้เห็นผิด หรือเปล่า

    อ.วิชัย ก็ไม่เห็นผิดครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ไม่เห็นผิดนะคะ เดี๋ยวนี้ชอบดอกไม้ไหม

    อ.วิชัย ก็ชอบก็สวยครับ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชอบเกิดแต่ความเห็นผิดไม่ได้เกิดร่วมด้วยเป็นชีวิตปกติประจำวันไม่ใช่ว่ามีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยตลอดในชีวิตประจำวันไม่ใช่อย่างนั้นความละเอียดคือจิตแต่ละหนึ่งขณะจะเกิดขึ้นเป็นไปตามปัจจัยละเอียดมากเกิดดับเร็วมากยากที่จะรู้ได้ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงจิตซึ่งเป็นที่อาศัยที่อยู่ หรือที่เกิดของเจตสิกคือความเห็นผิดโดยละเอียดว่าต่างกันอย่างไรในแต่ละหนึ่งขณะเช่นในขณะที่เห็นเพียงเห็นจิตเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจึงอุปัติเกิดขึ้นได้เพราะการประจวบกันของสภาพธรรมที่ยังไม่ดับไปคือจักขุประสาทกับเสียงที่กระทบจักขุประสาทแล้วถึงกาลที่กรรมจะทำให้ผลของกรรมเกิดขึ้นจิตเกิดขึ้นเห็นเป็นผลของกรรมแค่นั้นเองไม่ได้ทำอะไรมากมายเลยขณะนี้เรามีการเห็นมีการเห็นแต่ไม่รู้เลยว่าเห็นเพียงเป็นชั่วขณะที่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับยังไม่มีอกุศลใดๆ เจือปนเลย เพราะฉะนั้นหลังจากเห็นแล้วมีความชอบเป็นของธรรมดามีความไม่ชอบก็เป็นของธรรมดาแต่ว่าในขณะที่เรากำลังพอใจในสิ่งหนึ่งสิ่งใดตั้งแต่ลืมตาเต็มไปด้วยความติดข้องต้องการแต่ขณะนั้นไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยได้นี่เป็นการที่แม้ข้อความในพระสูตรจะแสดงสั้นๆ อย่างนี้แต่ในพระอภิธรรมก็แสดงให้ละเอียดจนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจความต่างของขณะที่วันหนึ่งๆ มีความติดข้องคือความพอใจในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในเรื่องราวต่างๆ แต่ไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยแต่ถ้าถูกถามว่าเห็นเกิดดับ หรือเปล่าเริ่มแล้วใช่ไหมคะคิดแล้วคิดยังไงนั่นก็คือตามความเข้าใจถ้าได้ฟังมามีความเข้าใจถูกต้องว่าสิ่งที่เกิดทุกอย่างดับเร็วแสนเร็ว และเกิดดับสืบต่อจนปรากฏเป็นนิมิตให้เข้าใจรูปร่างสัณฐานโดยนิมิตที่เกิดดับสืบต่อกันทำให้รู้ปัญญัติคือเข้าใจโดยอาการนั้ๆ ที่ปรากฎว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรไม่ใช่ความเห็นผิดเพราะว่าแม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เห็น และก็รู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไรทุกคนเหมือนกันหมดไม่ว่ามนุษย์สัตว์เทพพรหมหลังจากเห็นแล้วก็มีขณะที่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไรแต่ขณะนั้นมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย หรือเปล่าก็คือต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เพราะฉะนั้นชีวิตประจำวันแม้มีความเห็นผิดซึ่งยังไม่ดับไป และความเห็นผิดที่ยังไม่ดับที่ละเอียดมากก็คือเห็นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่ในขณะที่เกิดความยินดีไม่ได้มีความเห็นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยงที่ยั่งยืนแต่พอใจในสิ่งที่ปรากฏชั่วขณะที่เพียงเห็นยังไม่รู้เลย เพราะฉะนั้นความเห็นผิดก็ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่เพียงความพอใจวันหนึ่งๆ ก็ดีขึ้นมาหน่อยคือว่าถึงแม้ว่ามีโลภะความติดข้องแต่ก็ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยแต่เมื่อไหร่ที่มีการคิด และมีการยึดถือว่าสิ่งนั้นเป็นเรา หรือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะนั้นเป็นความเห็นผิดเช่นขณะนี้ถ้ามีการเข้าใจถึงปัญญาที่สามารถรู้เฉพาะลักษณะของสิ่งที่ปรากฏในขณะนั้นจิตขณะนั้นจะไม่มีอย่างอื่นปรากฏเลยทั้งสิ้นขณะนี้มีคนมีพัดลมมีโต๊ะมีเก้าอี้แต่ไม่ใช่ลักษณะของสภาพธรรมที่จิตกำลังเกิดขึ้นรู้เฉพาะสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นในขณะที่จิตเกิด และรู้เฉพาะสิ่งหนึ่งถูกต้องไหมคะทีละหนึ่งขณะกล่าวถึงจิตทีละหนึ่งขณะจะรู้หลายๆ อย่างพร้อมกันไม่ได้ในขณะที่สิ่งเดียวปรากฏพร้อมกับจิตที่กำลังรู้สิ่งนั้นสิ่งอื่นปรากฏไม่ได้ตอนนี้จะรู้ว่ามีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย หรือเปล่าถ้าทิฏฐิขณะนั้นไม่เกิดความติดข้องเกิดก็ได้ หรืออะไรก็ได้แล้วแต่ในสิ่งที่กำลังปรากฏซึ่งชีวิตประจำวันไม่ปรากฏให้เห็นเพราะเหตุว่าจิตเกิดดับสืบต่อเร็วสุดที่จะประมาณได้ทั้งคิดทั้งจำทั้งพอใจไม่พอใจทั้งเรื่องราวต่างๆ ก็ทำให้ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าขณะไหนเป็นความเห็นผิดขณะไหนไม่ใช่ความเห็นผิดเป็นแต่เพียงความติดข้อง หรือความขุ่นเคืองเท่านั้นเองแต่เมื่อใดที่สภาพธรรมปรากฏเพียงหนึ่งจะรู้ได้ว่าจิตขณะนั้นมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย หรือเปล่าถ้าขณะนั้นยึดถือว่าเราแน่นอนไม่ต้องเอ่ยว่าชื่อสักกายทิฏฐิ หรืออะไรก็ตามแต่มีความเห็นผิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นเราขณะนี้เรานั่งมีแขนมีขาแต่ถ้าสภาพธรรมปรากฏจะเป็นแขนเป็นขาได้ไหม

    อ.วิชัย ไม่ได้เพราะมีลักษณะ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ต้องมีเฉพาะลักษณะนั้นถ้ากล่าวถึงลักษณะก็เฉพาะลักษณะนั้นปรากฏตอนนี้จะรู้ได้ด้วยปัญญาว่าขณะนั้นยึดถือสภาพนั้นว่าเป็นเรา หรือเปล่า หรืออย่างเสียงพอได้ยินเสียงแล้วก็ดับไปไม่ได้ยึดถืออะไรทั้งสิ้นก็ต่างกับขณะที่เคยยึดถือ และเข้าใจว่าแข็งตรงนั้นเป็นเรา เพราะฉะนั้นความจำว่าเป็นเรายังไม่หมดไปแม้เพียงแข็งปรากฏขณะนั้นก็เข้าใจยึดถือเป็นเราชื่อสักกายทิฏฐิที่ได้ยินบ่อยๆ ก็จะปรากฏเมื่อเกิด และขณะนั้นปัญญาเห็นความติดข้องยึดถือว่าเป็นเราแต่ถ้าขณะนั้นไม่ปรากฏอย่างเสียง หรือกลิ่นปรากฏก็เพียงแต่รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงเท่านั้นขณะนั้นถ้ารู้ลักษณะของเสียด้วยปัญญาที่ค่อยๆ เจริญขึ้นจะเริ่มเข้าใจว่าเท่านั้นเองในโลกของความจริงมีแต่เพียงสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งปรากฏแล้วก็หมดไปความเห็นถูกต้องก็เริ่มชัดเจนขึ้นที่ละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะละความยึดถือว่าเป็นเรา และสภาพธรรมนั้นก็ปรากฏด้วยดีขณะนี้สภาพธรรมก็ปรากฏแต่ไม่ใช่ด้วยดีเพราะเหตุว่าปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วก็มีความติดข้องแต่ขณะใดก็ตามที่ปรากฏลักษณะที่เป็นธรรมจริงๆ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 185
    12 ม.ค. 2567