พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 819


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๑๙

    ณ สำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๖


    ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามที่อกุศลจิตเกิดขึ้นไม่ว่าจะน้อยสักเพียงไรเหมือนโปรยธุลีลงในจิตอย่างที่ถามว่าถามเดี๋ยวนี้ก็ได้ถามอีกก็ได้ว่าเมื่อวานนี้ได้อะไรบ้างไม่คิดไม่รู้ได้อะไรแถมมาด้วยนอกจากสิ่งที่ได้เช่นของที่เขาเอามาให้ได้โลภะได้ความติดข้องได้ทุกวันเลยเพราะว่าถึงเขาไม่เอามาให้ก็ได้ทางตาก็เห็นทางหูก็ได้ยินจมูกก็ได้กลิ่นลิ้นก็ลิ้มรสกายก็รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสถ้าไม่รู้แล้วมีความยินดีพอใจขณะนั้นก็ได้โลภะโปรยธุลีลงในจิตอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งเป็นกองขยะก็ไม่รู้เลยเหมือนเมื่อวานนี้ได้ของตั้งหลายอย่างคนโน้นก็เอามาให้คนนี้ก็เอามาให้แต่ว่าได้อะไรด้วยในขณะที่ไม่ใช่กุศล

    อ.คำปั่น ก็เป็นคำเตือนที่ดีครับท่านอาจารย์เคยได้ฟังท่านอาจารย์กล่าวข้อความสั้นๆ ว่าดีใจที่ได้รับของจากผู้อื่นแต่ลืมอนุโมทนาในกุศลจิตของผู้ให้ หรือเปล่านี่ก็เป็นเครื่องเตือนเพราะว่าขณะที่จิตเกิดขึ้นเป็นกุศลก็อนุโมทนาในกุศลของผู้ให้ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์เพราะว่าเป็นการสะสมกุศลสะสมความดี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นการที่จะให้คนอื่นเข้าใจธรรมนั้นยากในเมื่ออกุศลสะสมมามากมายจนกระทั่งประมาณไม่ได้ไม่มีที่จะบรรจุถ้าเป็นสิ่งของแต่เมื่อเป็นนามธาตุนามธรรมไม่ต้องอาศัยพื้นที่ใดๆ เลยแต่จิตในขณะนั้นสะสมอะไรมามากเท่าไหร่ในสังสารวัฏ และถ้าไม่มีความเข้าใจธรรมก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล

    อ.คำปั่น ท่านอาจารย์ครับมีข้อความประโยคสุดท้ายซึ่งก็จะเกี่ยวเนื่องกับการฟังธรรมคาถาก็คือพึงฟังคำสุภาษิตโดยเคารพซึ่งคำสุภาษิตก็คือคำที่กล่าวดีแล้วเป็นคำที่ดีเป็นคำที่มีประโยชน์

    ท่านอาจารย์ รู้สึกทุกคนที่ฟังธรรมเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยอะไรน่าคิดใช่ไหมด้วยวัตถุอามิส หรือว่าด้วยความเข้าใจธรรมเพราะต้องอดทนต้องพิจารณาต้องเห็นค่าของแต่ละคำที่ได้ทรงแสดงธรรมเพื่ออนุเคราะห์คนอื่นให้พิจารณาให้เข้าใจพอไหม หรือว่าตราบใดที่ยังไม่ได้ทำความดีเคารพแค่ไหนกับการที่เคารพในทุกคำที่ทรงแสดงโดยการประพฤติตามซึ่งเป็นความดีทั้งหมดขณะนั้นเป็นความเคารพที่แท้จริงถ้าจะเคารพเพียงแค่กราบไหว้แล้วก็ผ่านกันไปก็หมดแล้วแต่ว่าถ้าเคารพจริงๆ โดยเฉพาะในพระธรรมในพระรัตนตรัยคือไม่เพียงแต่ฟัง และเพียงแต่เข้าใจนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่พอแต่ต้องถึงกับการประพฤติปฏิบัติตามยิ่งขึ้นตามกำลังของความเข้าใจเช่นการให้อภัยพูดกันบ่อยมาก และบางคนก็ไม่ไตร่ตรองให้ละเอียดคิดว่าอภัยให้ทุกอย่างอภัยจริงๆ หรือว่าเพียงแต่พูด หรือว่าแม้ใจอภัยให้แล้วแต่โดยความเป็นธรรม หรือเปล่าเพราะว่าบางคนอาจจะเข้าใจคิดว่าอภัยแล้วก็จบแล้วกันแต่ว่าถูกต้อง หรือเปล่าถ้าถูกต้องคือขณะนั้นจิตไม่ได้โกรธไม่ได้ถือโกรธไม่ได้ผูกโกรธไม่ได้มีความขุ่นเคืองอาฆาตใดๆ ทั้งสิ้นแต่ต้องเป็นธรรมถ้าคนนั้นทำไม่ถูกก็ต้องทำให้ถูกไม่ใช่ว่าอภัยแล้วก็จบจะทำอะไรต่อไปก็ได้นั่นไม่ใช่ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นคนที่หวังดีต่อคนอื่นจริงๆ ก็จะตามเพื่อที่จะให้เขาได้เข้าใจความถูกต้องยิ่งขึ้นว่าอภัยนี่แน่นอนเป็นกุศลจิตขณะนั้นทุกคนอนุโมทนาในกุศลซึ่งสามารถชนะอกุศลได้เพราะเหตุว่าอกุศลปรกติจะมีกำลังมากความผูกโกรธ หรือว่าความติดข้อง หรือการที่ไม่ยอมที่จะให้จิตของตนเองเป็นกุศลไม่รู้เลยว่าขณะนั้นที่กำลังโกรธกำลังผูกโกรธนั้นเป็นอกุศลจริงๆ ถ้าใครมาช่วยทำให้อกุศลขณะนั้นหมดไปแทนที่จะเป็นความผูกโกรธความไม่อภัยบุคคลนั้นเป็นผู้ที่เป็นมิตรที่ดีที่สุดเพราะสามารถที่ทำให้อกุศลที่มีอยู่ในจิตสามารถที่จะออกไปได้แต่ต้องเป็นคนตรงยังต้องติดตามบุคคลที่เราอภัยให้ต่อไปด้วยว่าทำถูก หรือทำผิดประการใดถ้าทำผิดแล้วเราไม่ติดตามที่จะให้เขาเข้าใจให้ถูกที่จะแก้สิ่งที่ผิดนั้นให้ถูกก็แสดงว่าการอภัยของเราเพียงแต่ว่าเป็นส่วนที่ทำให้เราขณะนั้นไม่เป็นอกุศลแต่ว่าจะสามารถช่วยอนุเคราะห์ให้คนอื่นเกิดความเห็นถูกความเข้าใจถูก และประพฤติเป็นไปในศลก็เป็นเรื่องที่ละเอียดถ้าเป็นความหวังดีจริงๆ ก็คือว่าจิตไม่เป็นอกุศลแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้เป็นไปในทางธรรมที่ถูกต้องด้วย

    ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ครับท่านอาจารย์หมายความว่าอภัยก็เป็นกุศลแล้วก็ยังมีความกรุณาช่วยเหลือ

    ท่านอาจารย์ ให้เขาเป็นกุศลยิ่งขึ้นคือทำสิ่งที่ถูกต้องถ้าสามารถที่จะอนุเคราะห์ได้โดยธรรมโดยพระธรรมเพราะว่าแต่ละคนไม่มีใครสามารถที่จะไปบันดาลให้ใครเป็นอะไรได้เลยทั้งสิ้นแต่พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งหมดก็สามารถที่จะเป็นที่พึ่งทำให้คนนั้นไตร่ตรอง และเข้าใจถูกต้องว่าอะไรถูกอะไรผิด

    อ.อรรณพ พอภัยก็ยากครับท่านอาจารย์ และก็ยังมีความกรุณาในผู้ที่เขากระทำไม่ดีแล้วเราก็ให้อภัยแล้วก็ยังกรุณาช่วยให้เขาเข้าใจแล้วดีขึ้นด้วยนี่ยากครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ แต่ทำได้ไหมคะ

    อ.อรรณพ ค่อยๆ อบรม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ ความตั้งใจจริงที่เป็นกุศลจิตมีได้เพราะว่ามีโสภณเจตสิกที่เกิดร่วมกันที่จะประคับประคองเพียรที่จะให้เป็นไปอย่างที่คิดได้แต่ก็ต้องเป็นผู้ที่อดทนแต่ถ้าได้เข้าใจจริงๆ ว่าความเป็นเพื่อนดีมิตรดีกัลยาณมิตรที่สูงที่สุดคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เช่นนั้นอกุศลใดใดที่สะสมมาของใครจะค่อยๆ จางไปได้อย่างไรไม่มีหนทางเลยมีแต่โปรยธุลีลงในจิตหลังเห็นบ้างได้ยินบ้างพวกนี้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นสิ่งซึ่งเห็นประโยชน์จริงๆ เมื่อเห็นประโยชน์แล้วควรให้คนอื่นเห็นประโยชน์ด้วย หรือเปล่า

    อ.คำปั่น เป็นข้อความธรรมที่เป็นเครื่องเตือนที่ดีอย่างยิ่งเลยเวลาที่ได้ฟังข้อความจากพระไตรปิฎกซึ่งเป็นพระพุทธพจน์โดยตรงจะทำให้เห็นถึงความละเอียดลึกซึ้ง และเห็นถึงความบริสุทธิ์ของพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยส่วนเดียวจริงๆ สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ฟังได้ศึกษาซึ่งเมื่อวานท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวข้อความประโยคหนึ่งที่สอดคล้องกับที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวในวันนี้ว่าประโยชน์จริงๆ ของการศึกษาพระธรรมนั้นคืออะไรเพราะว่าพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด๔๕ พรรษาเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกเป็นไปเพื่อละความไม่ดีคือกิเลสจนหมดสิ้นนี่คือประโยชน์สูงสุดของพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างยิ่งครับ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะเป็นบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดเป็นบัณฑิตทราบว่าขณะที่เป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมเลยจะเป็นบัณฑิตไหมคะ

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ฟังพระธรรมก็ไม่สามารถ

    ท่านอาจารย์ ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจเป็นบัณฑิตไหม เพราะฉะนั้นบัณฑิตก็คือปัญญาผู้เห็นถูกผู้เข้าใจถูกผู้รู้ความจริง

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะในการที่จะมีสุจริตทางกายวาจาใจบางครั้งถ้าเป็นกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ไม่ใช่บัณฑิต

    ท่านอาจารย์ ใครเป็นบัณฑิตฟังวันนี้เป็นบัณฑิต หรือยังคุณคำปั่นบัณฑิตแปลว่าอะไร และเป็นใคร

    อ.คำปั่น โดยความหมายของบัณฑิตก็คือเป็นผู้ที่มีปัญญาเป็นผู้ที่ดำเนินไปด้วยปัญญาเป็นผู้ที่คิดก็คิดดีพูดก็พูดดีทำก็ทำในสิ่งที่ดีนี่คือความหมายของบัณฑิตซึ่งจะขาดปัญญาคือความรู้ความเข้าใจธรรมที่ถูกต้องไม่ได้เลยครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ จนถึงความเป็นพระอริยบุคคลมีปริญญาบัณฑิตปริญญาสาม ญาตปริญญา ตรีณปริญญา ปหานปริญญา คือความรู้ถูกในสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏจึงเป็นบัณฑิต

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์คะถ้าเช่นนั้นผลของการประพฤติสุจริตทางกายวาจาใจก็คือต้องมีปัญญาเข้าใจความจริง

    ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะเพื่ออะไรไม่ใช่เพียงแต่ทำดีแล้วก็ไม่ได้เข้าใจธรรมเลยเพราะว่าดียังไงก็ตามแต่ก็ยังมีความยึดถือสภาพธรรมเพราะความไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง และที่ท่านอาจารย์กล่าวว่าดีเท่าไหร่ก็ไม่พอก็หมายความว่าต้องเข้าใจพระธรรมการจะเข้าใจพระธรรมได้ก็คือฟัง

    ท่านอาจารย์ ฟังแล้วก็เข้าใจด้วย และก็ยังประพฤติปฏิบัติตามด้วยปัญญาไม่ได้นำไปสู่ทางผิดเลยไม่ได้นำไปสู่อกุศลทางกายทางวาจาเลยเพราะเข้าใจคือปัญญามั่นคงในปัญญาไม่ใช่โลภะไม่ใช่ความติดข้องไม่ใช่อวิชชาความไม่รู้แต่เป็นการเข้าใจถูกในสิ่งที่มีตามความเป็นจริง

    อ.กุลวิไล กราบเรียนท่านอาจารย์ถึงความสุขในกามมาคุณห้าทำไมถึงเล็กน้อย และมีสุขอื่นที่ดีกว่ากามคุณห้าอย่างไรคะ

    ท่านอาจารย์ เล็กน้อยเพราะว่าเกิดแล้วดับแล้วโดยไม่รู้นี่คือสัจจะวาจาความจริงเป็นอย่างนี้เล็กน้อยแค่นั้นเอง

    อ.กุลวิไล เพราะว่าธรรมที่เกิดแล้วหมดไปก็หาสาระไม่ได้แต่ผู้ที่ไม่รู้ก็นำมาซึ่งความติดข้อง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นความสุขจริงๆ จากสิ่งที่ได้เห็นบ้างได้ยินบ้างเมื่อวานนี้ก็หมดแล้วทั้งสิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็ไม่ใช่สามารถที่จะมาเป็นของเราได้จริงๆ เพราะว่าทุกขณะเกิดดับ และแม้แต่ความยินดีความสุขที่เกิดจากการได้สิ่งนั้นก็เล็กน้อยมากเพราะเพียงชั่วขณะที่มีสิ่งนั้นปรากฏแล้วก็หมดไปแล้วด้วย เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดถึงปีเก่า และปีใหม่จริงๆ ก็คือว่าตลอดปีที่ผ่านมา และก็ไม่ใช่แต่เฉพาะปีที่แล้วปีก่อนๆ นั้นด้วยละอกุศลอะไรบ้างแล้ว หรือว่ายังไม่ได้แม้เพียงคิดที่จะละบางคนไม่คิดแม้แต่จะละอกุศลการผูกโกรธการไม่อภัยความติดข้อง หรือการมองเห็นแต่ความไม่ดีของคนอื่นขณะนั้นจิตอะไรเมตตา หรือว่าอกุศลนี่ก็เป็นสิ่งซึ่งถ้าเราจะไตร่ตรองจากการที่ได้ฟังธรรมย้อนถอยไปจากขณะนี้ถึงขณะก่อนๆ จนกระทั่งถึงชาติก่อนๆ นานมาแล้วก็ได้ฟัง และก็ได้แค่ไหนที่จะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องถ้าจะพูดถึงว่าสิ่งที่จะสะสมสืบต่อไปในจิตก็คือความเห็นถูกความเข้าใจถูก และคุณความดีด้วยอย่าเพียงแต่หวังว่าจะเข้าใจธรรมเพราะเหตุว่าถ้าเข้าใจธรรมจริงๆ ความดีทั้งหลายจะค่อยๆ ตามมาโดยการที่เราไม่จำเป็นต้องมานั่งไตร่ตรองเพราะเหตุว่าตามพระไตรปิฎกท่านให้คิดเป็นวันๆ ไม่ใช่คิดเป็นปีว่าวันนี้ หรือเมื่อวานนี้เช้านี้วันนี้เย็นนี้ก่อนนอนเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลแค่ไหน เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งซึ่งจะเห็นประโยชน์ของการที่ฟังธรรม และก็รู้ว่าพระธรรมเท่านั้นที่สามารถจะทำให้ความไม่ดีทั้งหลายที่สะสมอยู่ในจิตซึ่งคนอื่นไม่สามารถที่จะนำออกไปได้เลยทั้งสิ้นนอกจากปัญญาที่เกิดจากการฟังธรรมแล้วเข้าใจ เพราะฉะนั้นไม่ได้มุ่งหมายที่จะเป็นเราที่จะเข้าใจธรรมแต่รู้คุณค่าว่าสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมดสามารถจะค่อยๆ จางค่อยๆ หายลดน้อยลงไปได้ก็ด้วยความเข้าใจธรรมซึ่งขณะนี้กำลังปรากฏ และก็มีสิ่งที่ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ แต่บ่อยก็ยังไม่พอจนกว่าความคิดแม้ละกุศลจะเกิดขึ้นขณะนั้นก็เริ่มเห็นกำลังของกุศลที่เริ่มคิดที่จะละอกุศลแม้เพียงคิดแต่ก็นำไปสู่การที่จะค่อยๆ ละได้ทีละเล็กทีละน้อย และขณะที่ละอกุศลเป็นกุศลไม่ต้องไปทำอะไรที่มากมายเลยค่อยๆ สะสมไปทุกกุศลที่จะเป็นไปได้

    อ.วิชัย เป็นการเริ่มประเด็นในการสนทนาซึ่งก็มีมารผู้มีบาปถามนางวชิราภิกษุณีว่าสัตว์นี้ใครสร้างผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหนสัตว์บังเกิดในที่ไหนสัตว์ดับไปในที่ไหนนางวชิราภิกษุณีก็ทราบว่านี่คือมารก็กล่าวกับมารว่าดูก่อนมารเพราะเหตุไรหนอความเห็นของท่านจึงหวลกลับมาว่าสัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์เหมือนอย่างว่าเพราะคลุมส่วนทั้งหลายเข้าเสียงว่ารถย่อมมีฉันใดเมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ยังมีอยู่การสมมติว่าสัตว์ย่อมมีฉะนั้นความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิดทุกข์เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ และทุกข์เสื่อมสิ้นไปนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดนอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ครับคำว่าทุกข์นี้คืออะไรครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ขอเริ่มตั้งแต่การสนทนาระหว่างสองท่านคือท่านหนึ่งก็สงสัยเป็นความสงสัยของคนในครั้งอดีตแต่ไม่ทราบว่าคนยุคนี้สงสัยอย่างนี้ หรือเปล่า หรือคนละเรื่องเพราะโดยมากก็สงสัยเรื่องความเป็นเราเราจะทำอะไรเมื่อไหร่เราจะเป็นอย่างนั้นเราจะเป็นอย่างนี้แต่ว่าความคิดที่ต่างกันก็ตามการสะสม เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าคนที่สะสมมาในการที่จะเข้าใจสิ่งที่น่าคิดเช่นคำว่าทุกข์มีใครบ้างที่ไม่ทุกข์เด็กๆ ทุกข์ไหมคะร้องไห้ นั่นก็แสดงอยู่แล้วว่าทุกข์แต่ทุกช็อตของเด็กก็เป็นอย่างหนึ่งโตขึ้นหมดทุกข์ไหมคะก็ยิ่งเพิ่มทุกขึ้นอีกใช่ไหมแต่ว่าแทนที่จะร้องไห้อย่างเรื่องเด็กๆ ก็กลายเป็นทุกข์ใหญ่ยิ่งกว่านั้นจนกระทั่งถึงแม้จะจากโลกนี้ไปบางคนก็กำลังโศกเศร้าร้องไห้โดยที่ไม่รู้จริงๆ ว่าตั้งแต่เกิดมาความทุกข์มีอะไรบ้าง และเกิดขึ้นมาเพราะอะไร เพราะฉะนั้นก็เป็นคำถามที่น่าคิดซึ่งถ้าได้เข้าใจแล้วก็จะทำให้ได้เข้าใจพระธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ และก็จะได้เข้าใจลึกซึ้งด้วยขอเชิญคุณวิชัยอ่านทีละตอนก็ได้ค่ะ

    อ.วิชัย มารก็กล่าวว่าสัตว์นี้ใครสร้างผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน

    ท่านอาจารย์ พอได้ยินแค่นี้บางคนสนใจอยากรู้จักมารอยากรู้ว่าเป็นใครแต่ว่าสาระสำคัญกว่าเพราะว่าแต่ละคำแต่ละคำก็จะยาวไปอีกมารมีกี่ประเภท และมารเป็นยังไงก็กลายเป็นเรื่องของมารไปแต่จริงๆ แล้วสาระก็คือว่าทุกข์ เพราะฉะนั้นใครจะเป็นคนถามก็แล้วแต่แต่คำถามก็มีว่า

    อ.วิชัย สัตว์นี้ใครสร้าง

    ท่านอาจารย์ สัตว์นี้ใครสร้างถ้าไม่มีสัตว์จะมีทุกข์ไหม เพราะฉะนั้นทุกคนยังไม่รู้จักทุกข์แต่ว่ารู้จักสัตว์คือเกิดมาเป็นแต่ละหนึ่งแต่ละหนึ่งไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือว่าถ้าจะกล่าวรวมไปถึงสัตว์โลกก็ได้แต่ที่นี่ก็คงจะหมายความถึงสิ่งที่มีชีวิตนั่นเองสัตว์นี้ใครสร้างมาจากความไม่รู้ไม่มีใครรู้เลยเกิดมาแล้วด้วยความไม่รู้ และถ้าไม่ได้ยินได้ฟังเลยก็จะไม่รู้แม้แต่ว่าสัตว์คืออะไรถ้ายังไม่รู้ว่าสัตว์คืออะไรจะรู้ได้ไหมว่าใครสร้างสัตว์นี้ก็เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมก็คือการศึกษาให้เข้าใจความจริงถึงที่สุดที่ละเอียดจริงๆ ที่สามารถที่จะเข้าใจได้เมื่อมีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ และก็ได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรม และก็มีโอกาสได้ไตร่ตรองเห็นความลึกซึ้งของสิ่งที่มีจริงแต่ก็ไม่เคยรู้เลยทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงใครรู้จักบ้าง ตั้งแต่ลืมตาตื่นมามีเห็นมีได้ยินเรื่องราวต่างๆ มีคิดนึกมีสุขมีทุกข์มีการรับประทานอาหารมีทุกอย่างใครรู้ความจริงของแต่ละหนึ่งขณะนั้นบ้างก็ไม่มีใครรู้ความจริงเลย เพราะฉะนั้นการศึกษาพระธรรมก็คือการศึกษาให้เข้าใจความจริงถึงที่สุดที่ละเอียดยิ่งแม้แต่ที่เข้าใจว่าเป็นสัตว์โลกความจริงคืออะไรจะได้ไปถึงใครสร้าง เห็นมีถ้ารูปร่างเป็นคนก็บอกว่าคนเห็นถ้ารูปร่างเป็นแมวก็บอกว่าแมวเห็นรูปร่างเป็นนกก็บอกว่านกแต่เห็นเป็นเห็นใครเคยคิดบ้าง และถ้าเห็นไม่เกิดไม่มีเห็น และไม่มีสิ่งที่ถูกเห็นด้วย เพราะฉะนั้นแม้แต่คำว่าสัตว์ก็จะต้องมีความเข้าใจจริงๆ ต้องเป็นสิ่งที่สามารถรู้มีธาตุรู้ และทั่วๆ ไปถ้าไม่มีธาตุรู้ก็จะไม่มีสัตว์เลยแต่ความละเอียดยิ่งกว่านั้นต้องศึกษาต่อไปจนกระทั่งถึงว่ามีสัตว์ประเภทหนึ่งที่ไม่มีธาตุรู้แต่ก็มีได้อันนี้ก็คือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดขึ้นละเอียดขึ้นแต่ให้ทราบตั้งแต่ต้นแม้แต่คำว่าสัตว์ถ้าไม่มีธาตุรู้ก่อนจะไม่มีเลยอะไรอะไรก็ไม่ปรากฏแต่ในขณะที่มีธาตุรู้เกิดขึ้นต้องมีสิ่งที่ถูกรู้แค่นี้ก็ไม่รู้แล้วเป็นคนเกิดมาเป็นสัตว์โลกมีทั้งเห็นมีทั้งได้ยินมีทั้งคิดนึกตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้อะไรเลยแล้วก็ไม่รู้จักทุกข์ด้วยแต่คนที่คิดมากกว่านั้นอีกก็จะคิดว่าเกิดมาเห็นแต่ไม่ได้เห็นตลอดไปแล้วก็ได้ยินแล้วก็คิดนึกแล้วก็เปลี่ยนแปลงไปเดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ไม่มีอะไรที่เที่ยงไม่มีอะไรที่ยั่งยืนไม่มีอะไรที่แน่นอนเลย เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจความจริงอย่างนี้ในชีวิตประจำวันก็จะสามารถเข้าใจคำตอบได้

    อ.วิชัย ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหนครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ การเห็นเกิดเลยถ้าไม่มีการเห็นการได้ยินไม่มีอะไรเกิดเลยสัตว์ก็ไม่เกิดแต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้สัตว์เกิด

    อ.วิชัย และคำถามก็ต่อเนื่องครับท่านอาจารย์สัตว์บังเกิดในที่ไหนสัตว์ดับไปในที่ไหน

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ มาถึงชีวิตประจำวันคือการไม่เที่ยงการเกิดเกิดขึ้น และการดับไป

    อ.วิชัย อันนี้คือเป็นคำถามในความเห็นของมารครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ มารนี่ก็ช่างทดลองคืออยากจะฟังแล้วก็ดูซิว่าใครคิดยังไงจะตอบยังไง

    อ.วิชัย ส่วนนางวชิราภิกษุณีก็กล่าวว่าดูก่อนมารเพราะเหตุไรหนอความเห็นของท่านจึงหวลกลับมาว่าสัตว์ในกองสังขารล้วนนี้ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์เหมือนอย่างว่าเพราะคลุมส่วนทั้งหลายเข้าเสียงว่ารถย่อมมีฉันใดครับท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เท่านี้ก็ชัดเจนหมดเลยแต่ว่าทีละประโยคก็ได้

    อ.วิชัย ดูก่อนมารเพราะเหตุไรหนอความเห็นของท่านจึงหวลกลับมาว่าสัตว์

    ท่านอาจารย์ ทั้งๆ ที่เห็นเท่านั้นก็ยังคิดว่าเป็นสัตว์บุคคลทั้งๆ ที่เพียงได้ยินแค่ได้ยินก็ยังเข้าใจว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคล เพราะฉะนั้นเมื่อแต่ละสิ่งแต่ละสิ่งก็เป็นเพียงแต่ละหนึ่งทำไมจึงเข้าใจว่าเป็นคน หรือว่าเป็นสัตว์บุคคลหนึ่งบุคคลใดทั้งๆ ที่เกิดปรากฏแล้วก็หมดไปไม่เที่ยงเลยไม่ยั่งยืนเลยถ้ามีความคิดความเข้าใจอย่างนี้เสมอๆ แล้วเราก็จะรู้ได้ว่าแท้ที่จริงแล้วเกิดอะไรเกิดถ้าไม่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นเลยคนก็ไม่มีโลกก็ไม่มีอะไรๆ ก็ไม่มีแต่ก็ต้องเป็นความคิดที่ละเอียดมากอย่างเมื่อวานนี้จำได้มั้ยคะว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างตอนเป็นเมื่อวานนี้ยังไม่มีวันนี้ชัดเจนตราบใดที่ยังไม่มีวันนี้เป็นเพียงเมื่อวานนี้ขณะนั้นชัดมากแต่พอผ่านไปถึงวันนี้เมื่อวานนี้อยู่ที่ไหนไม่มีเลยหายไปหมดฉันใดขณะนี้เป็นสิ่งที่มีจริงหมดเลยเห็นก็จริงคิดนึกก็จริงนั่งอยู่ที่นี่ก็จริงพอถึงพรุ่งนี้สิ่งที่กำลังเป็นจริงเดี๋ยวนี้ แสนที่จะสำคัญอยู่ที่ไหนไม่มีเลย


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 185
    12 ม.ค. 2567