ปกิณณกธรรม ตอนที่ 850


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๘๕๐

    สนทนาธรรม ที่ ภูพานเพลส จ.สกลนคร

    วันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นสภาพที่ได้ยินมีไหม เดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ได้ยินอะไร

    ผู้ฟัง ได้ยินเสียง

    ท่านอาจารย์ ได้ยินเสียง เพราะฉะนั้นเสียงไม่ใช่ได้ยิน เสียงไม่รู้อะไรเลย แต่ถ้าไม่มีธาตุที่เกิดขึ้นได้ยิน รู้เฉพาะเสียงที่ได้ยิน แต่ละเสียง แต่ละเสียง แต่ละเสียง ในห้องนี้ขณะนี้ มีหลายเสียง ถูกต้องไหม

    ผู้ฟัง ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ ตวามจริงคือ ได้ยินแต่ละเสียง จึงรู้ว่าหลายเสียงไม่ใช่เสียงเดียว เพราะฉะนั้นสภาพที่รู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏ เป็นธาตุรู้ เริ่มเห็นความต่างของสิ่งที่ไม่รู้อะไรกับเป็นธาตุรู้ นี่คือความลึกซึ้งอย่างยิ่งของสิ่งที่กำลังมี แม้จะฟังสักเท่าไหร่ เป็นผู้ตรง ไม่ใช่อยากจะรู้รวดเร็วอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกซึ่งบำเพ็ญพระบารมีมานานมาก เพียงฟังสามารถจะรู้ความจริงได้ แต่ฟังแล้วถ้ายังไม่เข้าใจก็ต้องคิดไตร่ตรอง เหมือนพระสาวกทั้งหลายซึ่งในอดีตท่านก็เป็นอย่างนี้ ฟังครั้งแรกก็ยังเข้าใจไม่ได้ แต่ฟังต่อไปก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วจะไม่รู้หรือ เมื่อได้ฟังเรื่องสิ่งที่ปรากฏก็เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏให้ถูกต้องตามความเป็นจริง นั่นคือการฟัง ไม่ใช่เพียงได้ยินเพราะขณะนั้นเข้าใจซึ่งเข้าใจเกิดจากฟัง ก่อนจะได้ฟัง ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นไม่เข้าใจมีจริงไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรมหมด เป็นสิ่งที่มีจริง จากที่ไม่เข้าใจ กำลังที่ไม่เข้าใจให้เป็นเข้าใจได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมต่างชนิด เพราะฉะนั้นเมื่อฟังแล้วเข้าใจเกิดจากที่ไม่เคยเกิดมาก่อน เข้าใจก็ต่างกับไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นเข้าใจเป็นธรรมที่อาศัยฟัง จิตที่ได้ยิน คิดไม่ได้ เข้าใจไม่ได้ แค่รู้เสียงเราจึงเรียกว่าได้ยิน พอถึงคิด เราไม่ได้บอกว่าได้ยิน ใช่ไหม เพราะคิด คิดได้โดยไม่ต้องได้ยิน แต่เพราะได้ยินอะไรก็คิดถึงคำนั้น เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นจริง สอดคล้องเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด ไม่ว่าจะพูดถึงอะไร แต่ต้องเป็นความเข้าใจของคนนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อสะสมความเห็นถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน แม้จะยังไม่รู้อย่างนี้แต่ความจริงเป็นอย่างนี้ เมื่อฟังบ่อยๆ เข้าใจขึ้นเข้าใจขึ้น วันหนึ่งก็คือผู้ตรัสรู้ความจริง ในฐานะของสาวกที่ได้ฟัง เพราะว่ารู้เองไม่ได้ แต่ต้องมีบารมี คือความอดทน อดทนหนาวได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ เป็นเรา แต่อดทนกว่านั้นคือ ขณะนั้นไม่มีเราที่อดทน เพราะฉะนั้นพระธรรมทั้งหมดทุกคำ เป็นความลึกซึ้งอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เห็นความจริง เกิดมาแล้วก็ไม่รู้ความจริงเหมือนถูกหลอก ถูกลวง เพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ หลงเห็นสิ่งที่เกิดดับสืบต่อเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เที่ยง แต่ไม่มีอะไรเลยที่เที่ยง แต่ว่าต้องค่อยๆ เข้าใจว่าแม้เดี๋ยวนี้แต่ละหนึ่ง ที่ปรากฏแล้วดับ แล้วมีอะไรตั้งเท่าไหร่ แสดงว่าการเกิดดับเร็วแค่ไหน สืบต่อจนไม่ปรากฏว่าอะไรดับไปสักอย่างเดียว เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจว่าธาตุรู้ เกิดขึ้นรู้ ทางหนึ่ง ทางใด แต่ก็เป็นธาตุรู้นั่นแหละ ซึ่งต่างกับสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก็หลากหลาย เป็นเสียง เป็นกลิ่น เกิดก็เป็นอย่างนั้นแหละ จะให้รู้อะไรก็ไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ที่เข้าใจว่าเป็นเรา เป็นคน เป็นนก เป็นเทพ เป็นพรหมก็ต้องมีธาตุรู้ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ต้องมี

    ท่านอาจารย์ ต้องมีธาตุรู้ แล้วก็มีรูปร่างสัณฐานด้วย เพราะฉะนั้นคนที่ไม่มีรูปร่างมีไหม คนไหนไม่มีรูปร่างบ้าง ใช่ไหม เพราะฉะนั้นที่ว่าเป็นคน ไม่ได้มีแต่ธาตุรู้มีทั้งรูปธรรมด้วยทั้ง ๒ อย่างหลากหลายมาก แต่ต้องรู้ความจริงว่าไม่มีเรา แต่มีธาตุ ๒ อย่าง ซึ่งสภาพของธรรมหรือธาตุ ความหมายเดียวกัน ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ความหมายของธาตุ ว่าสิ่งนั้นไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ใครจะเปลี่ยนไม่ได้เลย แข็งเป็นแข็ง เสียงเป็นเสียง เห็นเป็นเห็น คิดเป็นคิด เพราะฉะนั้นคำว่าธรรมก็คือธาตุ ถูกต้องไหม โดยรูปศัพท์ จะใช้คำไหนก็ได้ ถ้าพูดถึงธาตุ ก็ต้องเข้าใจว่าเป็นธรรม แต่คนที่ไม่ได้ฟังแล้วไม่เข้าใจ คิดว่าธาตุเป็นเรื่องหนึ่ง ธรรมเป็นเรื่องหนึ่ง ทั้งหมดเป็นความไม่รู้ แต่ถ้าเข้าใจตัวจริงของธรรม ก็คือสภาพรู้ กับสิ่งหนึ่ง ที่มีแต่ก็ไม่รู้อะไร

    เพราะฉะนั้นรูปธาตุกับรูปธรรมก็อย่างเดียวกัน นามธาตุกับนามธรรมก็อย่างเดียวกัน เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่มีแต่ไม่รู้ ไม่ว่าที่ไหนในโลกไหนทั้งสิ้น สภาพที่ไม่รู้ก็จะรู้อะไรไม่ได้เลยเป็นรูปธรรมเป็นรูปธาตุ แต่สภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นไม่มีรูปร่างใดๆ เลย ไม่มีสีจะปรากฏ ไม่มีเสียงจะปรากฏ แต่ว่าเป็นธาตุรู้ เกิดขึ้นรู้แล้วดับ สภาพรู้ทั้งหมดที่เกิดดับเป็นนามธาตุ เพราะเกิดขึ้นรู้ แต่หลากหลาย รูปธาตุก็หลากหลาย แต่อย่างหนึ่งใช่ไหมแข็งเป็นแข็ง เสียงเป็นเสียง กลิ่นเป็นกลิ่น รสเป็นรส นั่นคือความหลากหลายของรูปธาตุ แต่ความหลากหลายของนามธาตุ เห็นเป็นเห็น ได้ยินเป็นได้ยิน คิดเป็นคิด ถูกต้องไหม แต่ละหนึ่ง แต่ละหนึ่ง เพราะฉะนั้นสภาพซึ่งเป็นธาตุรู้ ซึ่งเป็นนามธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ เพราะว่าเมื่อมีธาตุรู้เกิดขึ้นรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ มีใครบอกว่ามีธาตุรู้เกิดขึ้นแล้ว ธาตุรู้นั้นไม่ได้รู้อะไรผิดไหม ถ้าพูดอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ผิด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อมีธาตุรู้ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ในขณะที่เห็นเกิดขึ้น เห็นเกิดขึ้นเห็น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นธาตุรู้หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ธาตุรู้

    ท่านอาจารย์ ธาตุรู้ที่เกิดขึ้นเห็น ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นรูปธรรม

    ผู้ฟัง สิ่งที่ถูกเห็น

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นนามธรรม

    ผู้ฟัง ตัวธาตุรู้

    ท่านอาจารย์ ธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการเห็น เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เป็นสิ่งที่ธาตุรู้เกิดขึ้นรู้สิ่งนั้น สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมดไม่เว้นเลย ใช้คำว่า"อารัมมณะ"ในภาษาบาลี อารัมมณะคนไทย คุ้นหูคำว่าอารมณ์ ตัดสั้นจากอารัมมณะ เป็นอารมณ์ แต่คำนี้มีอีกคำหนึ่ง สิ่งที่ถูกรู้ใช้คำว่า"อาลัมพนะ"ก็ได้ หรือ อารัมมณะก็ได้ แต่คนไทยส่วนใหญ่จะพูดคำว่าอารมณ์ ก็ชินกับคำว่าอารัมมณะ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้อะไรเป็นธาตุรู้ เดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง ก็เป็นจิตที่เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ จิตกำลังเห็นเป็นธาตุรู้ อะไรเป็นอารมณ์ของจิตเห็น สภาพที่ถูกเห็นที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้เป็นอารมณ์ของจิตเห็นถ้าเป็นทางตา เสียง เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เสียงก็เป็น รูปธรรม

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นได้ยินเฉพาะเสียงนั้นเท่านั้น ไม่ใช่เสียงอื่น เสียงที่ถูกได้ยินขณะนั้น ภาษาบาลีเรียกว่าอะไร ใช้คำว่าอารมณ์หรือจะเรียกว่าอารัมมณะก็ได้ คำไม่สำคัญเท่าความเข้าใจ เพราะเหตุว่าชาติอื่น พอเราบอกว่าอารมณ์เขาก็ไม่รู้จัก คนที่ไม่ได้ฟังธรรมก็ไม่รู้จัก เพราะพูดว่าวันนี้อารมณ์ดี แต่ไม่รู้เลยว่าอารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นใดทั้งสิ้น เสียงอื่นที่ไม่มีจิตได้ยิน เสียงนั้นไม่ใช่อารมณ์ เฉพาะเสียงที่ถูกจิตกำลังรู้ ต้องกำลังรู้ด้วย เสียงนั้นเป็นอารมณ์ของจิตที่กำลังได้ยิน เพราะฉะนั้นมีจิตโดยไม่มีอารมณ์ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ แล้วทั้งหมดอยู่ในอำนาจบังคับบัญชา จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ไหม ไม่ให้เป็นอย่างนี้

    ผู้ฟัง เปลี่ยนไม่ได้

    ท่านอาจารย์ สับสน ให้โกลาหลหมดเลย เป็นไปได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเรียกชื่อเปลี่ยนไป เปลี่ยนชื่อได้ แต่เปลี่ยนความจริง เปลี่ยนธรรมตัวธรรมจริงๆ ไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ ต้องศึกษาทีละคำ ได้ยิน และเป็นการถูกต้องที่ได้ยินคำว่าจิต แต่แค่ได้ยินไม่กี่ครั้งจะเข้าใจคำนี้ได้อย่างไร และคำนี้ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เพราะจิตหลากหลายต่างกัน เช่นคำว่า หทย เคยได้ยินไหม

    ผู้ฟัง เคย

    ท่านอาจารย์ แล้วคิดถึงอะไร เวลาได้ยินคำว่า หทย หรือ หทัย ภาษาไทย

    ผู้ฟัง คิดถึงใจอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ คิดถึงใจ โดยไม่รู้ว่าใจกับจิต เหมือนกันไหม

    ผู้ฟัง ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เห็นไหมการศึกษาธรรมอย่างนี้ เป็นทางที่จะทำให้เข้าใจธรรม แต่ถ้าไม่ศึกษาอย่างนี้ฟังชื่อต่างๆ ของจิต สอบได้ แต่ไม่รู้ จิตเดี๋ยวนี้ก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นเผินไม่ได้เลย เหมือนกับเป็นการทบทวนเพื่อการที่วันหนึ่ง ลักษณะของธาตุรู้ จะปรากฏความเป็นธาตุรู้ซึ่งไม่ใช่เรา เดี๋ยวนี้กำลังฟังเรื่องธาตุรู้ ขณะที่เห็น กำลังเห็นแท้ๆ แต่ธาตุรู้ที่เกิดขึ้นเห็นแล้วดับไม่ปรากฏเลย แต่ความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นอริยสัจจะ เรามีคำว่าสัจจธรรม สิ่งที่มีจริง แต่อริยสัจจะความจริงของผู้รู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญาที่จะดับกิเลสได้ ต่างกันแล้วใช่ไหม ถ้าเรียนวิชาอื่น ดับกิเลสได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เรียนเพราะอะไร

    ผู้ฟัง เรียนเพราะอยากรู้

    ท่านอาจารย์ เรียนเพราะอยากเรียนใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าอยากรู้ชื่อต่างๆ ของจิต ไม่เข้าใจจิต ดับกิเลสคือความไม่รู้ลักษณะของจิตที่กำลังเกิดดับเดี่ยวนี้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้ารู้ว่าขณะนี้มีธรรมซึ่งไม่ใช่เรา เป็นธาตุรู้ ยังไม่ต้องเรียกชื่อเลย ไม่ว่าภาษาใดๆ ทั้งสิ้น แต่มีแน่ๆ ใช่ไหม ธาตุนั้นแหละ เรียกได้หลายชื่อ ถ้าใช้คำว่าหทัยหรือหทย หมายความถึงสิ่งที่อยู่ภายใน ใจนี่ไม่ได้อยู่ข้างนอก ไม่ได้อยู่ที่ผิวหนังใช่ไหม ไม่ได้ออกไปโน่นไปนี่ได้เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น หทย ในที่สุดที่สุด ที่ไม่มีอะไรอยู่ภายในยิ่งกว่านั้น ถูกต้องไหม นี่คืออีกชื่อหนึ่งของจิต แล้วก็ยังมีอีกหลายชื่อที่ตรัสไว้ เพื่ออะไร เพื่อให้ค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เพียงแค่คำเดียว บอกไปก็แค่จำได้ บางคนก็ศึกษาชื่อ จิตมีเท่าไหร่นับไว้ได้ตามจำนวนที่ได้ฟัง แต่จริงๆ ถ้าเข้าใจ เกินประมาณนับไม่ได้เลย แม้แต่จิตซึ่งมีสภาพติดข้องเกิดขึ้นก็หลากหลาย ติดข้องในอะไรในเสียงก็มี ในกลิ่นก็มี ในรสก็มี ในเรื่องราวต่างๆ ก็มี แล้วก็ดับไปแล้วก็เกิดอีก ปรุงแต่งหลากหลายขึ้นจากสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เดิมทีก็ไม่มีแม้วิทยุ ถูกไหม แล้วก็มีวิทยุ ค่อยๆ ปรุงไป เพราะความคิดที่เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น จนเดี๋ยวนี้มีอะไร จากรถจักรยาน ก็เป็นรถยนต์ แล้วก็เป็นเครื่องบิน เป็นจรวดเป็นอะไรสารพัดอย่าง ทั้งหมดถ้าไม่มีจิต จะมีไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ คนตายให้มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่เพราะเห็น เพราะได้ยิน เพราะมีความคิดที่สะสมมาตั้งแต่ชาติก่อนของแต่ละคนซึ่งหลากหลาย ก็ทำให้ความคิดของแต่ละคนหลากหลายถึงอย่างนี้ แต่ว่าชั่วคราว เพียงขณะที่เกิดแล้วดับ แล้วไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้นการจะรู้ความจริงต้องรู้ความจริงถึงที่สุด ไม่มีอะไรที่จะจริงกว่านี้ แต่ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมเลยจะรู้ไหม อย่างนี้จะเข้าใจอย่างนี้ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อมี "พระพุทธรัตนะ"ก็มี " พระธรรมรัตนะ "เป็นสิ่งที่มีค่าเหนือคำใดๆ ทั้งสิ้น เหนือสภาพใดๆ ทั้งสิ้นคือปัญญา ซึ่งเป็นความเห็นถูก ซึ่งสามารถจะเข้าใจความจริงถึงที่สุดของทุกอย่าง แต่ไม่ใช่เราจะทำให้เกิดความเข้าใจนั้นได้ แต่ต้องรู้ว่าเหตุมาจากไหน เหตุมาจากการได้ฟังคำจริงจากใคร จากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม เคยกราบนมัสการระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ พูดกันได้คล่อง แต่ นะโม คืออะไรนอบน้อมด้วยใจ ในอะไร ถ้าได้ยินแค่ชื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นะโม ตัสสะ แค่ไหน ภะคะวะโต อยู่ไหน อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะไม่รู้เลยใช่ไหม เพราะฉะนั้นวันนี้นอบน้อมกว่าเมื่อวานนี้ เพราะเหตุว่าเมื่อวานนี้เพียงแค่ฟัง ตั้งแต่เด็กมา หรือผู้ใหญ่ก็ได้ แล้วแต่จะได้ฟังมานานเท่าไหร่ แต่ยังไม่รู้เลยว่าพระคุณมากมายแค่ไหน แต่พอเข้าใจธรรม พระคุณแค่ไหน เพียงแค่คำเดียว จากการที่ไม่เคยฟังมาก่อน ไม่เคยรู้มาก่อน ไม่เคยพ้นจากความไม่รู้เลย มากมายมหาศาลได้ทีละน้อย แม้เพียงคำเดียวพระคุณนั้นมากมายแค่ไหน แล้วถ้าเข้าใจเพิ่มขึ้นเข้าใจขึ้น การเข้าใจในพระคุณจะเพิ่มขึ้นอีกแค่ไหน

    เพราะฉะนั้น นะโม ตัสสะ เพิ่มความหมายแล้วใช่ไหม นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ คือขณะที่กำลังฟังพระธรรม ด้วยความนอบน้อมนี่เอง แต่ถ้าใครจะกราบไหว้แล้วไม่เข้าใจเลย นับถือใครก็ไม่รู้ ใช่ไหม แต่ว่าเวลาที่เข้าใจถูกแต่ละคำ ก็คือเริ่ม ค่อยๆ เข้าใจ พระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะทรงดับขันธปรินิพพานพานไปแสนนาน แต่การที่ได้ฟังพระธรรมเมื่อไหร่ ก็รู้ว่านั่นคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนในครั้งโน้นก่อนที่จะปรินิพพาน แม้เดินตามหลัง อยู่ใกล้ระหว่างที่พระผู้มีพระภาคเสด็จบิณฑบาต แต่รู้ไหมว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่เข้าใจธรรมก็คิดว่าเป็นชื่อ นั่นไง มาแล้ว พระสัมมาสัมพุทธจ้าแต่เป็นใครไม่รู้ เพราะฉะนั้นแต่ละคำ ลึกซึ้งขึ้น แล้วก็อีกมากที่จะเข้าใจได้ ถ้าเข้าใจไม่ได้ไม่ทรงแสดงแต่ละคำโดยละเอียดยิ่ง เพราะฉะนั้นขณะนี้มีธาตุรู้ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มีอัตตา ตัวตนหรือเราไหม

    ผู้ฟัง ก็ยังมีอัตตาตัวตนอยู่

    ท่านอาจารย์ เมื่อไหร่

    ผู้ฟัง เมื่อตอนคิด

    ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นว่าเพราะยังไม่รู้จริงๆ เพราะยังไม่รู้ทั่ว ต้องเป็นคนตรง แล้วความที่ยังเป็นเราจะหมดได้อย่างไร ปริยัติ ปฏิปัตติ ปฎิเวธ คำสอนของพระผู้มีพระภาคทำให้เกิดความเข้าใจถูกตามลำดับ เพราะฉะนั้นจะปฏิบัติโดยไม่เข้าใจธรรมได้ไหม เพราะว่าปริยัติคืออะไร ปริยัติคือความรอบรู้ในพระพุทธพจน์ ใครกล่าวคำจริงทั้งหมด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นคำของพระองค์ ไม่ว่าสมัยใดใครกล่าว แต่คำไม่จริงทั้งหมด ไม่ใช่คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เพราะฉะนั้นก็รู้แล้วใช่ไหมว่า ปริยัติ คือความรอบรู้ในพระพุทธพจน์ ไม่ใช่ผ่านหูแล้วก็ไม่เข้าใจ แต่ก็รู้ว่าฟังเข้าใจว่าไม่มีเรา ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาเลย ไม่มีสิ่งที่มีจริงเกิดขึ้นมาเลยสักอย่าง จะมีเราที่ไหน เอาอะไรมาเป็นเรา ไม่มีใช่ไหม แต่เมื่อมีธาตุรู้เกิดขึ้นเห็น แล้วดับไป เราอยู่ไหน ถ้าไม่มีธาตุรู้เกิดขึ้น จะมีความเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้เราเห็นรึเปล่า แม้แต่เห็นเป็นเห็น เกิดขึ้นแล้วดับไปก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นการฟังพระธรรม เพื่อเข้าใจ และเป็นผู้ตรง จึงจะได้สาระจากพระธรรม ถ้าพลาดไปผิดไปนิดเดียว จะไปปฏิบัติ รู้อะไร ปฏิบัติอะไร ปฏิบัติแล้วรู้อะไร ตอบไม่ได้เลย แต่ว่าเมื่อมีปริยัติแล้ว ไม่ใช่เราแล้ว มีความเข้าใจมั่นคงไหม ในคำว่า "ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา"เพิ่มขึ้นเลย สิ่งที่มีจริง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาไม่ใช่ของเรา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา เพราะไม่มีเรา และไม่มีใครทั้งสิ้น มีแต่ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย อยากได้ยิน ให้ได้ยินเกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ต่อเมื่อมีปัจจัยได้ยินก็เกิด ไม่อยากให้เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ อยากฟังเสียงเพราะๆ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี จะให้เสียงเกิดปรากฏ โดยไม่มีการได้ยินได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้อีก

    ท่านอาจารย์ เริ่มเข้าใจคำว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้นจะมีความรอบรู้ในคำนี้แค่ไหน ถ้าคิดว่าจะไปนั่ง ที่หนึ่งที่ใด แล้วจะรู้ความจริงของสภาพธรรมเป็นอนัตตาหรือเป็นเรา

    ผู้ฟัง เคยมีคนชวน แต่พอลองแล้วไม่ถูกจริตเจ้าของ ไปนั่งไม่ได้

    ท่านอาจารย์ คำหนึ่ง ที่คนส่วนใหญ่จะใช้คือไม่ถูกจริต แต่ลองพิจารณา แต่ละคนมีความชอบต่างกัน ไม่อย่างงั้นก็ไม่ทำต่างกัน ถูกต้องไหม ทำตามที่ชอบถูกไหม

    ผู้ฟัง ถูก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นชอบผิดๆ ก็ทำผิดๆ ถูกไหม ตามจริตไม่ถูกต้อง ต้องตามความเป็นจริง แต่คำที่ใช้เหมือนอ่อนสลวย ไม่ทำให้แสลงหู ไม่ทำให้ใครกระทบกระเทือนใจ ก็บอกว่าไม่ถูกจริตจึงไม่ไป แต่ว่าตามความเป็นจริง ต้องไตร่ตรอง เพราะเหตุว่าไม่จริง ไม่เป็นเหตุ และเป็นผล แล้วไปทำไม ไปทำอะไรที่จะให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงเดี๋ยวนี้ นี่ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุว่าทุกอย่างต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัย ปัญญาที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงมาจากไหน มาจากปริยัติ การฟัง และการรอบรู้ในพระพุทธพจน์ ฟังครั้งเดียวรอบรู้ไม่ได้ ถูกจริตไหม เลิกใช้คำนี้ได้ เมื่อเป็นคนตรง เพราะฉะนั้นจะเห็นได้เลย ตั้งแต่เกิดจนตาย พูดคำที่ไม่รู้จัก ลองถามสักคำที่พูดมารู้จักคำไหนบ้าง จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 178
    19 เม.ย. 2567