ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๔๖

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่กามาวจรกุศล คือ อบรมเจริญสมถภาวนา จิตสงบ แล้วไม่เสื่อม หมายความว่าก่อนจะจุติ ฌานจิตเกิด แล้วแต่ว่าจะเป็นฌานระดับไหน ก็จะเป็นปัจจัยทำให้ ติเหตุกปฏิสนธิ ในรูปพรหม หรือในอรูปพรหม แล้วแต่เหตุ คือจิตที่เกิดก่อนจะจุติ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราคิดว่า คนโน้นเป็นพรหม คนนี้เป็นพรหม โดยศีล คิดว่าตายไปล้วคนนี้ค้องไปเกิด เป็นพรหมบุคคล ไม่ใช่เลย ไม่ใช่โดยศีล หรือว่าไม่ใช่โดยทาน แต่ว่าต้องเป็นระดับของสมถภาวนา ที่จะทำให้เกิดในพรหมโลกได้ ตอนนี้ไม่มีปัญหาแล้ว ใช่ไหม ไม่ใช่ว่าใครจะไปเป็นพรหมง่ายๆ ถ้ายังเป็นกามาวจรกุศล เป็นพรหมไม่ได้เลย ถ้าเจริญสติปัฏฐาน ถ้าเป็นผลของกรรมนั้น ทำให้เกิดที่ไหน ถ้าไม่มีปัญญา เกิดในรูปพรหมภูมิได้ไหม ในอรูปพรหมภูมิได้ไหม ในมนุษย์ ได้ไหม ได้ สวรรค์

    ผู้ฟัง พิการแต่กำเนิด มีลักษณะอย่างไร แค่บ้าใบ้บอดหนวกเท่านั้น หรือรวมทั้งกายด้วยหรือเปล่า เดินไม่ได้ถือว่าพิการแต่กำเนิด

    ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด บ้าใบ้บอดหนวก อย่างอื่นต้องรู้ด้วย เป็นผลของอกุศลแน่นอน ถึงได้เป็นอย่างนั้น ตั้งแต่ปฏิสนธิ หมายความว่ากรรมเป็น เครื่องกั้น ที่จะไม่ให้จักขุปสาทรูปเกิด โสตปสาทรูปเกิดตลอดไป

    วิทยากร ขณะนี้ ถ้าเราสั่งสมโลภะมาก โทสะมาก โมหะมาก ถ้าสั่งสมโทสะมาก มันเกิดขึ้นบ่อยๆ เวลาใกล้ตาย เมื่อโทสะมีกำลัง ก็จะส่งจิตลงไปอบายภูมิ คือ นรกเลย น่ากลัว โทสะ เริ่มแต่การที่เราสั่งสมไว้ บ่อยๆ มากเข้าๆ เวลาใกล้ตาย ก็จะนึกถึงสิ่งที่กระทำไว้มาก สิ่งที่กระทำไว้มากมันจะมาปรากฏ ซึ่งขณะนี้เรามีโทสะบ่อยๆ ได้ฟังนิดหนึ่งก็โทสะ เห็นนิดหนึ่งก็โทสะ โทสะเกิดบ่อยๆ อย่างนี้เรียกว่ามันสั่งสมมาก แต่ว่าเมื่อสั่งสมมาก เวลาใกล้ตาย ไอ้สิ่งที่มาก ส่วนมากมักจะปรากฏเป็นอารมณ์นำให้เราเกิดในนรก นรกมันเร่าร้อน เหมือนโทสะในปัจจุบัน ปัจจุบันโทสะเกิดก็เร่าร้อน กระสับกระส่าย กายกระสับกระส่าย จิตกระสับกระส่าย พอมันไปส่งลงไปเกิดในนรก ก็กระสับกระส่าย กายก็กระสับกระส่าย จิตก็กระสับกระส่าย เช่นเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ พึงรู้อะไร พึงถึงอะไร เพราะว่าเราเคยได้ยินได้ฟังว่า ทุกอย่างเป็นธรรม สิ่งที่มีจริงๆ ทั้งหมด แต่ก่อนนี้ไม่เคยรู้เลย ว่าเห็นก็เป็นธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นธรรม แต่ทุกอย่างไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น ก็เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง พึงถึง พึงรู้ ไม่ใช่พึงถึงอื่น หรือพึงรู้อื่น แม้แต่ว่าสภาพธรรมในขณะนี้เป็นธรรม แล้วก็เป็นอนัตตาด้วย แค่เป็นธรรมถึงความหมายหรือ อรรถ ของธรรมว่า เห็นขณะนี้เป็นธรรม ไม่ใช่เราเห็น หรือว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่มีจริ ง เพราะฉะนั้น สภาพที่พึงถึง พึงเห็น พึงรู้จริงๆ ไมใช่ไกลออกไปนอกโลก เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีตาเห็น จะไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่า มีจักรวาล มีโลกนอกกว้างไกลเท่าไร หรือว่าถ้าไม่มีโสตปสาท ก็ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลยทั้งสิ้น โลกก็จะเป็นโลกที่เงียบ

    ถ้าแยกโลกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ออกเป็นแต่ละโลกจริงๆ ก็จะเห็นความเป็นธรรม เป็นสภาพธรรม เพราะว่าขณะนี้ที่กำลังเห็นมีสิ่งที่ปรากฏ แต่เคยเป็นคน เป็นสัตว์ ไม่รู้เลยว่า สิ่งนี้ไม่สามารถจะปรากฏทางอื่น คือ ไม่ปรากฏทางหู แต่จะปรากฏเมื่อกระทบกับจักขุปสาท เพียงปรากฏแล้วก็ดับไป ถ้าเป็นโลกทางตาจริงๆ จะไม่มีการคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งที่ปรากฏ นี่คือสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เกิดจนตาย และก็ไม่ใช่แต่เฉพาะชาตินี้ชาติเดียว แสนโกฏิกัป ทางตาก็เห็น แล้วก็ถึงหรือยัง รู้หรือยัง เห็นหรือยัง ว่าเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็เพียงเกิดขึ้น เมื่อมีเหตุปัจจัยเท่านั้น

    เพราะฉะนั้น ทั้งหมดนี้พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเรื่อง การถึง การรู้ การเห็นธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ซึ่งต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจจริงๆ ก่อน เพราะเหุตว่า ถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจเลย ไปถึงไหนก็ไม่ทราบ อย่างคำถามที่ว่า ไปถึงที่ไหน จะไปรู้อะไร ก็คิดว่าไกล อาจจะเป็นทั้งจักรวาล หรือนอกจักรวาล แต่ความจริงแหล่งของความรู้ทั้งหมด ก็อยู่ที่ขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

    ผู้ฟัง ปัญญาที่เกิดใน สมถะ เขาไม่เหมือนกับปัญญาที่เกิดในวิปัสสนา ปัญญาทำไมรู้ได้แตกต่างกัน

    ท่านอาจารย์ ปัญญามีหลายขั้น หลายระดับ ผู้ที่จะอบรมเจริญสมถภาวนา เพราะเห็นโลภะ แต่ผู้ที่จะอบรมเจริญวิปัสสนา เพราะเห็นโทษของอวิชชา ความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง ยังสับสน บางที่ฟังเรื่องปัญญา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครที่อยากจะสงบ ไม่มีทางที่จะเป็นสมถภาวนาเลย เพราะอยาก ขณะที่อยากก็ไม่รู้แล้ว ว่าไม่สงบ ต้องเป็นผู้ที่เห็นโทษจริงๆ ว่า ทันทีที่เห็น หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ที่จะมีความติดข้องในสิ่งที่เห็น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีปัญญา แต่ว่าเขาไม่ได้เคยฟังพระธรรม เขาก็ไม่รู้หนทางที่จะดับกิเลส เขาสามารถที่จะรู้หนทางเพียงเพื่อระงับ ที่จะไม่ให้กิเลสเกิด โดยให้จิตตั้งมั่นที่อารมณ์ที่ทำให้จิตสงบจริงๆ จนกระทั่งเป็นสมาธิ เป็นความสงบที่มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนสามารถที่จะถึง อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เป็น ฌานจิต ขณะใด ขณะนั้นไม่เห็นไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แม้ใจก็ไม่ได้คิดเรื่องอื่น นอกจากตั้งมั่นคงอยู่ที่อารมณ์ ที่ทำให้จิตสงบ เพราะฉะนั้น ก็เป็นแต่เพียงการระงับ กิเสลทั้งหลาย ไม่ให้เกิดเพราะไม่เห็น เพราะไม่ได้ยิน

    แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ที่ได้ฟังพระธรรม แล้วรู้ว่าสมถภาวนาก็เป็นแต่เพียงการระงับ ไม่ให้กิเลสเกิด แต่ว่ายากมากไม่ใช่จะเป็นไปโดยง่าย เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับเร็วมาก ผู้นั้นจะต้องมีปัญญาที่สามารถจะรู้ความต่างของจิตที่เป็นกุศล กับ อกุศล จึงสามารถที่จะละอกุศล ซึ่งได้แก่ นิวรณธรรม ๕ อกุศลทั้งหมด อยู่ในประเภทของนิวรณธรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ คือ ความรู้ลักษณะของจิต ที่ปรากฏในขณะนั้นว่า เป็นกุศลขณะใด เป็นอกุศลขณะใด กุศลก็เจริญไม่ได้

    ขณะที่ให้ทาน เรา ไม่รู้สภาพจิตของเรา ในขณะที่ให้ เพราะว่า เวลาที่ให้ก็มีกุศลเจตนาเกิด ที่จะให้วัตถุ ที่เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่นจริง แต่เจตนานั้นก็ดับไปเร็วมาก ขณะที่เห็นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพียง ๗ ดวงไม่ใช่กุศล ก็แสดงให้เห็นว่า แม้ขณะนี้หรือขณะไหนก็ตาม ขณะให้ทาน รักษาศีล หรือว่าปกติในชีวิตประจำวัน มีทั้งจิตที่เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล หรือไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล มีทั้งนั้น แต่ว่าถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาระดับที่พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ที่สามารถจะรู้สภาพของจิต แล้วก็อบรมเจริญปัญญาโดยการที่ะลึกถึงอารมณ์ที่ทำให้จิตสงบ จิตสงบนี้ต้องจากนิวรณธรรมทั้ง ๕ แล้วก็ความมั่นคงของความสงบของกุศลจิต จึงจะเพิ่มขึ้น โดยสติสัมปชัญญะตลอด ไม่มีการที่จะผิดปกติ หรือว่าไม่มีการที่จะไม่รู้สภาพของจิตในขณะนั้น หรือความตั้งมั่นคงของสมาธิที่เกิด เพราะฉะนั้น จึงเป็นปัญญาระดับ ๑ ซึ่งไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้เป็น สมุจเฉท ต่างกับสติปัฏฐาน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องรู้ทั่ว รู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน หรือ เป็นเรา

    ผู้ฟัง ถามว่าทำไมถึงจัดโลภะ เป็นสมุทัย แทนที่ว่า จะจัดอวิชชา เป็นสมุทัย

    ท่านอาจารย์ อวิชชา เป็นมูลรากของอกุศล โดยปฏิจจสมุปบาทจะเห็นได้เลย ทั้งหมดเริ่มเพราะ อวิชชา แต่ว่าเมื่อมีอวิชชา คือ ความไม่รู้ เท่านั้นก็ไม่พอ ยังมีความติดข้องด้วย แล้วการที่เราเข้าใจเรื่องลักษณะของสภาพธรรม เข้าใจเรื่องหนทาง จนกระทั่งสติปัฏฐานเกิด มีปัญญาพอสมควร แต่ยังไม่หมดความติดข้อง เพราะฉะนั้น ก็จะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ แม้โลภะ แม้สภาพธรรมอื่น นั่นคือเห็นโทษของอวิชชา คือความไม่รู้ ว่าตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่านี่เป็นสมุทัย หรือยังไม่รู้ทุกข์ หรือยังไม่รู้อย่างอื่นทั้งหมด ก็แสดงว่าเราไม่สามารถที่จะละ อกุศล ได้เด็ดขาดเป็นสมุจเฉท แต่สำหรับสมถภาวนา เขาไม่มีหนทางที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท เขาเพียงแต่ต้องการด้วยความเป็นเราที่จะสงบจากอกุศลเท่านั้น โดยการที่เห็นโทษของโลภะ

    ผู้ฟัง หมายความว่าไม่ต้องมีสมาธิก็สามารถเข้าใจสภาพธรรมได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สมาธิไหน ที่จะทำให้รู้ลักษณะของเห็นในขณะนี้ว่า เป็นนามธรรม และสิ่งที่ปรากฏเป็นแต่เพียงรูปธรรม สมาธิแบบไหน อย่างไร ถึงสามารถที่จะรู้อย่างนี้ได้ ลองหามาสิว่าสมาธิแบบไหน ถึงจะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ โดยมากจะไปทำให้รู้ แต่ไม่ใช่รู้ความจริงซึ่งสภาพธรรมทุกขณะ เกิดเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ ถ้าไม่มีปัจจัยที่เหมาะควรแก่สภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด ที่จะเกิดสภาพธรรมนั้นเกิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ที่จะเกิดแต่ละบุคคล ความวิจิตรละเอียดต่างๆ เป็นไปตามปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมนั้นเกิด ต้องรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา เพราะว่ามีปัจจัย ที่ทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ถ้ามุ่งหมายไปทำสมาธิ ก็จะทำให้ยิ่งเข้าใจผิดไปใหญ่

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า มัคคญาณ นั้นลึกซึ้งจึงเห็นยาก การศึกษาพระไตรปิฎก ต้องละเอียดมาก ต้องรู้ว่าพระองค์ทรงแสดงตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้น อุกฤษณ์ เวลาที่จะพูดถึงเรื่องสัมมาสมาธิ แสดงรวมหมดเลย เพราะฉะนั้น คนนั้นไม่ได้แยกออกเลย ว่าตอนนี้กำลังกล่าวถึงเรื่องสัมมาสมาธิ โดยตลอด โดยละเอียดตั้งแต่ต้น แต่ว่าข้อความจริงๆ คือ วิสุทธิ ๗ อย่างศีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ เป็นไปเพื่อ ทิฏฐิวิสุทธิ ก็ต้องทราบเลยว่า ถ้าไม่มีการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ถ้าวิริยะขณะนั้นไม่เกิดร่วมกับสัมมาสติ จะไม่ใช่สัมมาวายาโม เพราะฉะนั้น ต้องประกอบกันหมดเลย แล้วถ้าจริงๆ แล้วคนที่กำลังฟังพระธรรม แล้วก็รู้แจ้งอริยสัจธรรม ท่านอนาถบิณฑิกะขณะนั้น ฌานไหน ฌาน ๑ หรือฌาน ๒ หรือฌาน ๓ หรือฌาน ๔ ก็ไม่มี

    การศึกษาพระไตรปิฎก ต้องละเอียดแล้วก็กว้างมาก แล้วก็จะต้องประกอบด้วยเหตุผลจริงๆ ว่าผู้ที่ไม่ได้อุปจารสมาธิแต่ก็ รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสัมมาสมาธิ เวลาที่เกิดกับสัมมาทิฏฐิ แล้วสำหรับข้อความที่ว่า เวลาที่คนที่อบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว การที่เคยสะสม การอบรมเจริญสมาธิก่อนๆ จะทำให้เขาสามารถที่จะ มีระดับขั้นของสมาธิอื่นๆ ได้ไหม คนที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่มีทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ถ้ายังห่วงยังกังวล ยังติด และยังหวัง แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญปัญญาโดยการละ ก็จะรู้ได้จริงๆ ว่าไม่สามารถที่จะเลือกอารมณ์ได้ สติยังไม่เกิด จะไปให้สติเกิดตรงนั้น ตรงนี้ได้อย่างไร ในเมื่อสติยังไม่เกิด

    เมื่อมีปัจจัยที่สติจะเกิด สติระลึกเอง ไม่ใช่มีใครไปจัดสรรให้สติระลึกตรงนั้นตรงนี้ หรือว่าให้มีความสงบระดับนั้น ระดับนี้ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด แม้ว่าผู้นั้นจะไม่เคยอบรมเจริญ อานาปานสติมาเลย แต่ถ้าสติระลึกลักษณะของลมหายใจ ผู้นั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ ไม่ใช่ตกใจกลัว เราไม่สามารถจะรู้ลักษณะของลมหายใจ แต่ผู้นั้นต้องมีความอาจหาญ ร่าเริง สัจจญาณตามไปด้วยในขณะที่สติระลึก ที่จะมีความมั่นคงว่า สภาพธรรมนั้นปรากฏ สติระลึกแล้วรู้ในลักษณะที่เป็นรูปธรรม หรือลักษณะของสภาพของจิต แล้วแต่ เพราะว่าจะมีอารมณ์ที่ปรากฏ ที่เป็นนามธรรมบ้าง ที่เป็นรูปธรรมบ้าง เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจะไม่หวั่นไหวเลย ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นอะไรไม่ว่าจะเป็นสมาธิที่มีกำลังขึ้นอีก จากปกติ เพราะเหตุว่า ธรรมดาขณะนี้ก็เป็น ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ชั่วขณะที่สติระลึก แต่เวลาที่มีเหตุปัจจัยทีจะทำให้ความสงบนั้นมีมาก หรือว่าความชัดเจนของสภาพธรรมนั้นปรากฏ ผู้นั้นก็รู้ได้ ถึงความหมายของสมาธิว่าเวลาที่อบรมเจริญปัญญาไม่ต้องห่วงเรื่องไปทำสมาธิ แต่ว่าเวลาที่มีปัญญาเพิ่มขึ้น ความรู้เพิ่มขึ้นเป็นพละ แม้สมาธิก็มีกำลังขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น เวลาที่สมาธิมีกำลัง มีกำลังเพราะปัญญา ไม่ใช่มีกำลังเพราะเราไปทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็จะรู้ความต่างกัน แต่ว่าผู้นั้นจะไม่ใช้ชื่อว่า นี่เป็นอุปจาร หรือ อะไร เพราะเหตุว่าถ้าเป็นอุปจาร จริงๆ ผู้นั้นก็จะต้องมีสมาธิ ที่มีกำลังมากกว่านั้นอีก เพราะฉะนั้น จะเป็นผู้ที่ไม่มีการหลอกว่าไม่มีการไปขอยืมชื่อมาใช้ว่ากำลังทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เป็นผู้จะรู้ตามความเป็นจริง โดยขณะนั้นไม่มีชื่อ แต่ว่าสามารถที่จะรู้สภาพธรรมนั้นได้

    เพราะว่าวิปัสสนาเป็นปัญญาที่รู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ตามความเป็นจริง นี่คือสัจจญาณ เปลี่ยนไม่ได้เลย แล้วก็สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ปัญญาจะค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ คลายความสงสัย ความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรมตามลำดับขั้นของปัญญา เพราะเหตุว่ากว่าจะละความเป็นเรา หรือความเป็นตัวตนออกได้ ไม่มีทางที่จะง่ายเลย แม้แต่สมาธิ ถ้าผู้นั้นมีความติดข้องพอใจ ทันทีที่สมาธิระดับนั้นปรากฏ ไม่ถึง ไม่ไปไหน

    ผู้นั้นก็จะเข้าใจความหมายของ สมุทัย เป็นสิ่งที่จะต้องละ ไม่ใช่โดยตัวหนังสือ แต่โดยการที่ ไม่ว่าสภาพธรรมใดปรากฏ ถ้าติด ไม่ใช่หนทาง เพราะฉะนั้น ผู้นั้นจะต้องประคับประคอง คือ มีปัญญาที่จะเดินไปในแนวทางของการอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘ โดยละ ถ้าละ แล้วจะทราบได้เลยว่าทุกอย่างจะปรากฏแจ่มแจ้งเพราะ โลภะ ไม่ได้ปิดบัง แต่ที่เวลานี้ไม่สามารถที่จะเห็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้ นอกจากความไม่รู้คืออวิชชาแล้วยังเพิ่มความอยากไปฉาบทาปกปิดให้หนาขึ้นอีก เพราะฉะนั้น ก็มีการที่จะไปทำอย่างอื่น ซึ่งก็เป็นการที่จะปกปิดไปตลอดไม่มีทางที่จะพ้นจากโลภะ หรือว่าพ้นจากความเป็นทาสของโลภะได้ แต่ถ้ามีปัญญาเพิ่มขึ้น โลภะก็จะค่อยๆ บางลง เพราะว่ารู้จริงๆ ว่า ขณะใดเป็นโลภะ เพราะมีปัญญาเพิ่มขึ้นนั่นเอง จึงละโลภะนั้น แล้วปัญญา ก็จึงสามารถที่จะเห็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น ก็เป็นหนทางละโดยตลอด

    ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์สุจินต์ว่า สภาพธรรมเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ แล้วจะบัญญัติพระวินัยไปทำไม ในเมื่อมีเหตุปัจจัยจะเกิดมันก็เกิด สามารถที่จะละเมิดศีลก็ตามเหตุปัจจัย

    ท่านอาจารย์ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมหรือเปล่า แต่ก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระภิกษุเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม หรือเปล่า แต่ก็เป็นพระภิกษุ ซึ่งต่างกับฆราวาส ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ที่จะออกจากสังสารวัฏ ก็เป็นภิกษุด้วย แม้ว่าเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่ โดยเพศ แต่ว่าโดยความประพฤติ ความประพฤติที่จะรู้แจ้ง อรยิสัจธรรมเป็นความประพฤติอันเดียวกัน คือ การอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘ คุณวรศักดิ์ ขอถาม ว่าทำไม เป็นพระภิกษุ ทำไมไม่เป็นคฤหัสถ์

    ผู้ฟัง เพราะว่าต้องการที่จะออกจากวัฏฏะ เห็นโทษภัยของการเวียนว่ายตายเกิด

    ท่านอาจารย์ แสดงให้เห็นว่าผู้นั้นเป็นผู้ละ ละทุกอย่าง ละชื่อเสียง เกียรติยศ ไม่ได้เป็นเจ้าชายอะไรๆ อีกต่อไปแล้ว เป็นแต่เพียงท่านพระอานนท์ หรือว่าท่านพระอนุรุทธะ ซึ่งเคยเป็นเจ้าชาย ละทุกอย่างความสะดวกสบาย ละอาคารบ้านเรือน ละอาหารที่ปราณีต ก็มีเพียงบาตร กับจีวร แสดงว่าผู้นั้นต้องเป็นผู้ละ แต่ถ้าเป็นผู้ติด จะไม่เป็นพระภิกษุ

    ชีวิตจึงต่างกัน เป็นคฤหัสถ์ กับ บรรพชิต ถ้าผู้ใดที่ยังไม่มีอัธยาศัย ที่จะละ ถึงอย่างนั้น ก็อบรมเจริญสติปัฏฐาน ในเพศของคฤหัสถ์ได้ รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ผู้นั้นต้องเป็นผู้ที่เข้าใจตัวเองจริงๆ ว่ามีอัธยาศัยใหญ่ที่จะละ ทุกสิ่งทุกอย่างหรือเปล่า ถึงจะสมควรต่อการที่จะเป็นบรรพชิตได้ แล้วก็จะต้องประพฤติปฏิบัติ ตามวินัยซึ่งทำให้เป็นเพศที่ต่างกัน ระหว่างคฤหัสถ์ กับบรรพชิต

    ผู้ฟัง ความรู้สึกว่า รูปจะเป็นเหตุให้เกิดอกุศล มากกว่ากุศล หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง ที่ทรงแสดงไว้ ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ต่างไปจากชีวิตประจำวัน แต่ชีวิตประจำวัน ส่วนมากเราไม่เคยรู้เลย ว่าโลภะ หรือความติดข้องในรูปไม่ว่าจะเป็น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ในวันหนึ่งๆ มากสักแค่ใหน ถ้าศึกษาพระธรรม คือศึกษาเรื่องจริง ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน รวมทั้งเราเองด้วย สามารถที่จะพิสูจน์ได้ อย่างคำถามที่คุณสุรีย์ถามเมื่อกี้นี้ ว่ารูปจะเป็นเหตุให้เกิดกุศลจิตได้ไหม เป็นเหตุให้เกิดกุศลได้แน่นอน แต่น้อยมาก ลองดูก็ได้ในชีวิตประจำวัน เวลาที่มีใครมีการเห็น กุศลจิตเกิดหรือเปล่า เวลาที่ได้ยินเวลาที่เสียงปรากฏแล้ว กุศลจิตเกิดหรือเปล่า เวลาที่จมูกได้กลิ่น กุศลจิตเกิดหรือเปล่า เวลาที่ลิ้มรส กุศลจิตเกิดหรือเปล่า ขณะนี้ทุกคนก็กำลังกระทบสัมผัสสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง กุศลจิตเกิดหรือเปล่า

    พระธรรมทั้งหมดเป็นความจริงในชีวิตประจำวัน แม้ที่แสดงโดยพระสูตร ต้องศึกษาเรื่องสภาพธรรม เข้าใจพระอภิธรรม คือ ธรรม แล้วถึงจะเข้าใจความหมายที่มีอยู่จริงๆ ในพระสูตรได้ถูกต้อง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567