ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๕๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่มี ความจงใจเกิดขึ้น คนที่ติดตัวหนังสือ ก็จะบอกว่านี่เป็นเจตสิก เป็นเจตนาเจตสิก เป็นชาติกุศล หรือเป็นชาติอกุศล แต่ไม่รู้ลักษณะของเจตนา เพราะว่าเจตนานั้นดับแล้ว เกิดแล้วดับแล้ว แล้วก็สลับกัน ทั้งเจตนาที่เป็นกุศล ที่เป็นวิบาก ที่เป็นกิริยา ที่เป็นอกุศล ต้องเป็นสติสัมปชัญญะ ที่สามารถที่จะรู้ว่าขณะใด ที่มีความจงใจ ตั้งใจ แล้วสติเกิดระลึก เพราะฉะนั้น คนนั้นก็จะรู้ว่า ขณะใดสติเกิด ขณะใดหลงลืมสติด้วยตัวเอง

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์บอกว่า สติก็คือ สติที่มีขั้นนึกคิดในนามธรรมด้วย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แต่คนที่รู้ก็รู้ว่าต่างขั้นกัน

    ผู้ฟัง นอกเหนือจากการฟังแล้ว มีวิธีอย่างไรที่เข้าใจจริงๆ เพราะว่าชินเข้าใจว่า ต้องฟังจริงๆ ฟังจริงๆ ให้ละเอียด ตราบใดที่ไม่ได้ฟัง สติก็หลงลืมไป

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมดาหรือผิดธรรมดา ที่สติหลงลืม

    ผู้ฟัง ธรรมดา ชินเข้าใจ แต่ว่า

    ท่านอาจารย์ จะให้ผิดธรรมดาหรือ

    ผู้ฟัง ไม่ แต่ว่าเข้าใจมีแค่วิธีเดียว ก็คือฟัง

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจว่ามีวิธีเดียวแล้วจะไม่ถาม เรื่องอื่นเลย ว่าวิธีต่างๆ ไม่มีเลย

    ผู้ฟัง ใช่ เข้าใจ บางครั้งมีความรู้สึกว่า ฟังแค่ไหนก็ไม่ละเอียดเท่าที่ควร

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องอดทน พยายามต่อไป เพียรต่อไป ไม่ทำอย่างอื่น ไม่หาวิธีอื่น เริ่มเข้าใจความหมายของอดทน ไหม

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ กำลังอดทนหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่อดทน ดิฉันไม่อดทน

    ท่านอาจารย์ เข้าใจก็ยังไม่อดทน เห็นไหม แล้วแต่กำลังของอกุศล

    ผู้ฟัง ทำไมถึงได้ ไปแยก เป็นกายานุปัสสนา หรือจิตตานุปัสสนา

    ท่านอาจารย์ ตามการยึดถือ กายอยู่ที่ไหน ยึดถือที่นั่นว่าเป็นกาย ซึ่งความจริงก็เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อยังยึดถือว่าเป็นกายของเรา ก็ให้พิจารณาจนกระทั่งมีความเห็นถูกต้องว่าลักษณะของสภาพธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นกาย แท้ที่จริงเป็นอะไร เกิดแล้วก็ดับไป แต่ก็คือธรรมทั้งหมด

    ผู้ฟัง ซึ่งทุกอย่างก็เป็นอนัตตาทั้งนั้น

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ดู ไม่ใช่ดู

    ผู้ฟัง มีสติระลึกรู้

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่สติจะเกิดหรือไม่เกิด บังคับสติไม่ได้ ความเป็นอนัตตา ต้องตั้งแต่ต้น และหนทางนี้อย่าลืมว่าเป็นหนทางละ เพราะว่า อริยสัจ ๔ แม้แต่ที่จะเห็นทุกขอริยสัจ ก็ต้องละสมุทัยสัจ จึงสามารถที่จะประจักษ์แจ้งนิโรธสัจได้

    ผู้ฟัง เมื่อจิตเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกทุกครั้ง ทำไมเราจึงให้ความสำคัญกับจิต มากกว่าเจตสิก ในเมื่อจิตเป็นเพียงสภาพรู้เท่านั้น แต่เจตสิกมีต่างๆ มากมาย

    ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาต่อไปจะทราบว่า สภาพธรรมที่เป็นอินทรีย์ ไม่ใช่แต่เฉพาะจิต

    เวทนาทุกอย่างเป็นอินทรีย์เป็นใหญ่ด้วย อุเบกขาเวทนาก็เป็นอุเบกขินทรีย์ โสมนัสเวทนาก็เป็น โสมนัสสินทรีย์ คือความรู้สึกนี้เป็นใหญ่ เราจะเห็นได้ว่า เวลาที่เรามีความรู้สึกเกิดขึ้น ความรู้สึกสำคัญยิ่งกว่าจิตเสียอีก ขณะนั้นแม้ว่าจิต เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ แต่ว่าความรู้สึกนั้นทำให้ ถ้าเป็นสุขเวทนา ความรู้สึกก็จะเป็นสุข สภาพเจตสิกอื่นๆ ก็ไม่มีสภาพใดเลย ซึ่งจะเฉย หรือว่าเป็นทุกข์

    เวลาที่โทมนัสเวทนาเกิด เจตสิกทั้งหมดที่เกิดร่วมด้วย เป็นไปตามความรู้สึกที่โทมนัส แม้แต่จิต ซึ่งเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการ รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ

    อย่างในขณะใดที่เวทนาชนิดหนึ่ง ชนิดใดเกิดปรากฏอย่างแรง ไม่มีใครนึกถึงสภาพของจิตเลย หรือแม้แต่ในขณะนี้ สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตามี เราไม่สนใจว่าจิตกำลัง เป็นสภาพรู้ หรือเห็นสิ่งนี้ แต่เราสนใจในสิ่งที่ปรากฏทันที

    เพราะฉะนั้น จิตเกิดดับ ตั้งแต่เกิดจนตายโดยที่ไม่มีใครรู้ลักษณะของจิตว่า ถ้าจิตไม่เกิด เจตสิกก็เกิดไม่ได้ ความรู้สึกต่างๆ ก็เกิดไม่ได้ หรือว่าจิตเองจะเกิดก็ต้องมีเจตสิกอื่นๆ เป็นปัจจัยทำให้จิตเกิดในขณะนั้น เพราะว่าสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นสำหรับคนที่ไม่รู้ก็คิดว่าเกิดขึ้นเอง ลอยๆ ไม่ไปหาเหตุ หรือว่าไม่สามารถที่จะรู้เหตุได้ แต่ว่าผู้รู้สามารถที่จะรู้ว่า จิตไม่ใช่มีอยู่ก่อน แต่เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย เจตสิกก็เหมือนกัน เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ใดก็ตามที่ปรากฏ ต้องมีปัจจัย คือ สภาพธรรมอื่นที่อาศัยกันเกิดขึ้นในขณะนั้น มีทั้งจิต ทั้งเจตสิก แล้วแต่ว่าขณะนั้นลักษณะใด จะเป็นอินทรีย์

    ผู้ฟัง กรรมก็คือเท่ากับ จิต เจตสิก รูป หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าโดยเจาะจง กรรมได้แก่เจตนาเจตสิก แต่ว่าเพราะจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ทุกคนก็ไม่ลืมจิต บางทีไม่พูดถึงเจตสิกด้วยซ้ำไป แต่พูดถึงจิต อย่างเวลาที่คิดนึก ลักษณะของจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้คำที่จิตคิด แต่ว่าลักษณะที่ตรึกจริงๆ เป็นลักษณะของวิตกเจตสิก แต่ว่าเพราะเหตุว่าเมื่อวิตกเจตสิกเกิด จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้คำ หรือรู้เรื่องที่เจตสิกตรึก ที่วิตกเจตสิกตรึกถึง เราก็ใช้คำว่า จิตคิด ทุกอย่างก็ยกไปให้จิตซึ่งเป็นประธาน อุปมาเหมือนพระราชาซึ่งมีบริวาร บริวารก็ทำหน้าที่ต่างๆ ใครทำ พระราชาทำ แต่ความจริงพระราชาไม่ได้ทำ แต่ว่าบริวารหรือพวกอำมาตย์ เหล่านั้นเป็นผู้ทำ

    ผู้ฟัง อาจารย์ ชินก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี อยากนั้นกรรมเท่ากับ

    ท่านอาจารย์ กรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ในบรรดาเจตสิก ๕๒

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติไม่มีจิต เจตสิก รูปก็ไม่มีเจตนา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ทุกขณะที่จิตเกิด ต้องมีเจตนาเจตสิกเป็นปัจจัย

    ผู้ฟัง อย่างนั้นก็คือจิต เจตสิก รูป เท่ากับ กรรม

    ท่านอาจารย์ เวลาที่คุณชินพูดถึงคำว่า กรรม คนมักจะคิดถึง การกระทำ

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เมื่อมีการกระทำ ก็ต้องรู้ด้วยว่า ถ้ามีแต่รูป ทำอะไรได้ไหม รูปเท่านั้น มีแต่รูปอย่างเดียว รูปทำอะไรได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีการกระทำของนามธรรม ซึ่งถ้าโดยเจาะจง คือ เจตนาเจตสิกซึ่งเป็น สภาพที่จงใจ ตั้งใจ ขวนขวาย เป็นสภาพที่กระทำในขณะนั้น

    ผู้ฟัง อย่างนี้ ปัจจัยก็คือการกระทำ

    ท่านอาจารย์ สภาพปรมัตถธรรม มี ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เพราะฉะนั้น ปัจจัยก็คือสภาพธรรม ที่มีอาศัยกัน และกันเกิดขึ้น โดยละเอียดว่า โดยสภาพปัจจัยอย่าไร ถ้าเป็นรูปภายนอก ต้นไม้ ใบหญ้า ไม่มีจิตเลย เพราะฉะนั้น จิตไม่ได้ไปกี่ยวข้องกับต้นไม้ ใบหญ้าเลย แต่ต้นไม้ใบหญ้า ก็เจริญเติบโตด้วยอำนาจของอุตุ ความเย็นหรือความร้อน ธาตุไฟ ซึ่งเป็นปัจจัยในขณะนั้น

    ผู้ฟัง ความหมาย ปัจจัย คือ นามธรรม หรือ

    ท่านอาจารย์ ปัจจัยหมายความถึงสภาพที่มี แล้วก็สามารถที่จะทำให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น หรือดำรงอยู่

    ผู้ฟัง ก็คือ ไม่มี สิ้นสุด

    ท่านอาจารย์ จิตมี จิตเกิด แล้วก็ดับ แต่จิตเป็นอนันตรปัจจัย หมายความว่า ทันทีที่จิตนั้นดับ ปัจจัยที่มีอยู่ในจิตนั้น ที่เป็นอนันตรปัจจัย ทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ความเข้าใจขั้นการฟัง มันก็ยังต้องเป็นเรื่องเป็นราว เป็นตัวหนังสือก่อน ใช่ไหม คือยังไม่ถึงรู้สภาพธรรมตอนนั้น เพราะอันนี้จะต้องเป็น ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อเป็นสัญญาที่จะได้เกิดในขณะซึ่ง สติปัฏฐาน เกิดว่า ลักษณะที่สติเกิดระลึกนั้น ตรงแล้วก็เหมือนกับที่เราเคยเข้าใจขั้นการฟัง หรือไม่ เพราะฉะนั้น คิดว่าขั้นการฟังคงจะต้องเป็นเรื่องของตัวหนังสือก่อน ไม่ใช่เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่ระลึก รู้ ถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาให้เข้าใจว่าสภาพธรรม ที่มีจริงๆ คืออะไร ทุกคนก็จะหนีไม่พ้นเรื่องราว ไม่ใช่หมายความว่า ไม่ให้เราคิดอะไรเลย ชีวิตทุกคนต้องคิด แต่เมื่อคิดแล้ว แล้วเราก็ศึกษาธรรมด้วย เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะเข้าใจว่า ในขณะนั้นเป็นสภาพธรรม เป็นสภาพธรรมอะไร ไม่ใช่มีแต่เรื่องราวไปโดยตลอดเหมือนกับที่เราไม่เคยเข้าใจสภาพธรรมเลย

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะเข้าใจสภาพธรรม ธรรมมีมากแล้วก็ละเอียด แล้วก็ลึกซึ้ง ส่วนเรื่องราวที่เราคิด จะคิดเรื่องราวมากมายสักเท่าไร วิชาการต่างๆ ละเอียดอย่างไรก็ตามแต่ ก็คือเป็นสภาพจิตที่คิด ต่างกับจิตประเภทอื่นๆ เพราะฉะนั้น คิดมากๆ ก็ต้องทราบว่าขณะนั้นเป็นปรมัตถธรรมอะไร จุดประสงค์คือ ให้เข้าใจว่าขณะนั้น สภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่เราควรจะเข้าใจขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่ไปจำเป็นเรื่องเป็นราว แล้วก็ไม่สนใจในสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คิด

    ผู้ฟัง ในขณะซึ่งเราศึกษา แน่นอนที่สุดมันจะต้องเป็นตำรา เป็นหนังสือ เป็นเรื่องราว แต่เมื่อเราได้ฟังแล้ว อยู่ในขั้น นี่เป็นขั้นการฟัง แล้วพอไปถึงขั้น พิจารณาหลังจากฟังแล้วหรืออ่านแล้ว หรือได้ยินแล้ว ถูกบอกเล่าแล้ว ก็จะเป็นขั้นพิจารณา ในขั้นนี้แหละ ที่จะเป็นตัวพิจารณาตัวธรรม แต่ก็ยังพิจารณา เป็นเรื่องราว ยังไม่ถึงกับขั้นสติระลึกรู้อันนี้ ถูกต้องหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ แต่กำลังฟัง พิจารณาด้วยได้ไหม ไม่ต้องรอ

    ผู้ฟัง ก็ได้ แต่ตอนนี้ปัญญา บางทีก็ต้องไปทบทวนอยู่คนเดียว หลายๆ ครั้ง

    ท่านอาจารย์ นั้นก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ คือข้อสำคัญให้ทราบว่าการฟัง หมายความว่ามีความตั้งใจ ฟัง บางคนจะเห็นได้เลย ฟังแต่ความตั้งใจมีมากน้อยเท่าไร อาจจะฟังเฉยๆ แล้วก็คิดเรื่องอื่น หรือว่า ฟังไป จะพูดว่าเป็นอนัตตาก็พูดไป จะพูดไปเป็นนามธรรมก็พูดไป จะพูดว่าเป็นรูปธรรมก็พูดไป นั่นคือฟังเฉยๆ แต่ถ้าฟังแล้วก็พิจารณาไตร่ตรอง ความเข้าใจที่มีจะต้องเก็บสืบต่อไป ถึงขณะต่อไปที่ได้ฟังเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ว่าพอได้ฟังเพิ่มขึ้น แล้วเลยไม่รู้ ลักษณะที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม

    แต่ต้องเข้าใจว่า คำส่องถึงสภาพธรรมที่มีจริง คำเป็นแต่เพียงสื่อ ที่จะให้เราสามารถเข้าใจลักษณะ แท้จริงของสภาพธรรม ที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ในขณะที่ฟังต้องรู้ด้วยว่าฟังด้วยความตั้งใจที่ จะเข้าใจในความหมายของ คำนั้น เพื่อที่จะพิจารณาว่า ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ที่ได้ฟังตรงกับที่เป็นจริง อย่างฟังเรื่องนามธรรม ไม่ใช่ผ่านไปเลย เป็นธาตุรู้ หรือสภาพรู้ คำว่า ธาตุรู้ หรือสภาพรู้ไม่ใช่ปัญญา แต่หมายความว่าขณะนั้นมีธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วสามารถจะรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ วิชชา นะ นะ ลักขณัง เป็นสภาพที่รู้ลักษณะ ของสิ่งที่ปรากฏ

    ทางตาเวลานี้ เราไม่จำเป็นจะต้องให้ใครมาบรรยาย มีอะไรอยู่ที่นี่ มีแสงสว่าง ๔ เหลี่ยม มีเสากลมๆ หรือว่ามีประตูหน้าต่างเท่าไร แต่ว่าสภาพของจิตที่เห็น สามารถที่จะเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เห็นสิ่งที่ปรากฏ คือ ชั่วขณะหนึ่ง แล้วภายหลังก็มีจิตที่คิด นั่นก็เป็นเรื่องที่เราศึกษาเพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตาว่า ที่เราเคยเข้าใจว่ามีเรา ที่เห็นตลอดเวลา แล้วมีสิ่งที่ปรากฏตลอดเวลา แท้ที่จริงเป็นสภาพธรรมที่ต่างลักษณะที่เกิด สภาพหนึ่งเป็นสภาพที่รู้ รู้ที่นี่ไม่ใช่รู้เรื่องราว หรือว่าไม่ใช่รู้โดยสัญญาความจำ ชื่อ แต่ว่าโดยที่ว่ามีสิ่งที่ปรากฏ ให้จิตสามารถที่จะเห็นลักษณะต่างๆ ของสิ่งนั้น นี่คือฟังให้เข้าใจ แล้วก็ต่อไป เพิ่มความเข้าใจอีก

    ผู้ฟัง มันก็ยังเป็นเรื่องราว แม้ว่าเข้าใจแล้ว

    ท่านอาจารย์ เรื่องราวก็มีสภาพธรรม เราไม่ได้ไปคิดเรื่อง ภูเขาทองอยู่ที่ประเทศไหน หรืออะไร อย่างนั้น ไม่ใช่ แต่มีสภาพธรรม แล้วก็กำลังฟังเรื่องสภาพธรรม เพราะฉะนั้น คือคิดเรื่องธรรมให้เข้าใจตัวธรรม

    ผู้ฟัง พิจารณา พิจารณาอย่างไร เพราะตอนที่เราฟัง เราพิจารณา

    ท่านอาจารย์ ฟัง เข้าใจความหมาย อย่างคำว่าปรมัตถธรรม หมายความถึงธรรม ปรมัตถ มาจากคำว่า ปรม ยิ่งใหญ่ อรรถ ที่เราใช้คำว่า อรรถ โดยทั่วไปหมายความถึง ความหมาย แต่ความหมาย ถ้าไม่มีลักษณะ ความหมายก็ไม่มี

    เพราะฉะนั้น เวลาที่กล่าวถึง อรรถ ความหมายของธรรม หมายว่าธรรมนั้นมี แล้วลักษณะของธรรมนั้น เป็นอย่างนั้นๆ คือเป็นสภาพที่ไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ เราก็ค่อยๆ เข้าใจไป ธรรม นั้นก็มีจริงๆ สภาพธรรมมีกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะที่ฟังก็คือเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ว่าเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าเราพิจารณา ทุกคำตอนที่ฟัง ทุกคำที่พิจารณานั้น ช่วงนั้นไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คือเป็นคุณชิน ที่จะเก็บสิ่งที่ได้ยินแล้วมาพิจารณา แต่ขณะที่ฟัง ฟังด้วยความตั้งใจ เข้าใจ

    ผู้ฟัง แต่ตอนช่วงที่เรากำลังพิจารณาอยู่ ก็คือมีนึกคิดอยู่ ใช่ไหม ตอนที่ช่วงนึกคิดอยู่ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในทางหู คือมันไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ คุณชินต้อง ทราบว่ามี ได้ยินเสียง ขณะที่เป็นเพียงเสียง ไม่ใช่เป็นการคิดหรือเข้าใจ แต่ว่าเร็วมาก เช่น คำว่า เร็วมาก ไม่ต้องเสียเวลาที่จะไปนั่งคิดว่า เร็วแปลว่าอะไร แล้วมากเป็นอย่างไร แต่ทันทีที่ได้ยินก็เข้าใจแล้ว เร็วมาก เพราะความเร็ว เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังฟังนี้เอง มีการพิจารณาอยู่ในตัว ไม่ใช่มีเราอีกต่างหาก ฟังเข้าใจ ไม่ใช่เพียงได้ยินเฉยๆ

    ผู้ฟัง เวลาที่อาจารย์พูดว่าเร็วมาก ก็เพราะว่าคนนั้นเขาเข้าใจเร็ว ความหมายคืออะไร ถ้าเขาเวลานี้ไม่ เข้าใจ เข้าก็ต้องพิจารณา ย้อนหลังความหมายนั้นๆ ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น จึงขึ้นอยู่กับการสะสม ถ้าเราสะสมความตั้งใจฟัง การน้อมไปที่จะเข้าใจความหมาย ของคำนั้น พิสูจน์กับความจริงที่กำลังมีในขณะนี้ นามธรรายากแสนยากที่ใครจะรู้ลักษณะ เพราะว่าไม่ชิน ชินแต่เพียงรูปธรรม แม้รูปธรรมปรากฏก็ไม่ชินว่าเป็นรูป เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ตลอดเวลา นี่คือความชิน ของการที่จดจำ รูปร่างสัณฐาน แล้วการไม่รู้ความจริงว่าสภาพธรรม เพียงเกิดแล้วก็ดับ

    เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟังธรรม เราก็ฟังธรรม ขณะนั้นไม่ได้คิดอย่างอื่น เรื่องเที่ยงเรื่องอะไรทั้งหมด แต่กำลังฟัง ได้ยินคำไหนก็เข้าใจความหมายของคำนั้น แล้วในขณะนั้นก็มีสภาพธรรมที่มีจริงๆ อย่างเห็น กำลังมี แล้วก็ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็เห็นไม่มีรูปร่างที่จะเอามาจับ ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นแต่เพียงธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเห็น ที่ใช้คำว่า เห็น ต้องเป็นธาตุรู้ เพราะเหตุว่า สิ่งที่เป็นรูปธรรมไม่สามารถจะเห็น ไม่สามารถจะคิด ไม่สามารถจะจำ

    เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่านามธรรมที่เราจำไว้ ว่าอะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป แต่พอถึงลักษณะแท้จริงของนามธรรม ต้องมีการศึกษา พร้อมสติ แล้วแต่ว่าในขณะที่กำลังฟัง มีปัจจัยที่สติปัฏฐาน ของใครจะเกิด ก็สามารถจะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่หลงลืมที่จะค่อยๆ เข้าใจ สภาพที่กำลังเห็น แล้วแต่ว่าในขณะที่กำลังฟัง มีปัจจัยที่สติปัฏฐานของใคร จะเกิด ก็สามารถจะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่หลงลืม ที่จะค่อยๆ เข้าใจ สภาพที่กำลังเห็น ซึ่งกำลังรู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตา ให้เห็น สภาพที่เห็นก็คือชั่วขณะที่เห็น เท่านั้นเอง นี้คือเข้าใจในขณะที่ได้ฟัง

    ผู้ฟัง ในเวลาที่เราเรียนกันอยู่ อย่างเช่น นิวรณบรรพ จิตมีราคะ ก็คือ โลภมูลจิต ใช่ไหม ก็คงจะไม่ได้มีจิตเป็นอารมณ์ แต่ว่าเป็นเจตสิก โลภเจตสิกเป็นอารมณ์ อย่างนั้น ใช่ไหม ก็คือมีความรู้สึกว่าอย่างธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน มันรวมทุกอย่างอยู่ในนี้

    ท่านอาจารย์ ถ้ากล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม แล้วก็ แสดงแต่เฉพาะ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็อาจจะไม่เกื้อกูล หลายท่าน ซึ่งมีความยึดมั่นในสภาพธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง เช่น เรายึดถือรูปร่างกายทั้งหมด ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ว่าเป็นเรา เป็นกายของเรา เราไม่ว่าเป็นจิต แต่ว่าเนี่ย เป็นตัวเราเป็นกายของเรา ซึ่งความจริงไม่ใช่ แล้วเรารักตัวนี้แค่ไหน ต้องสวย สุภะ นี่แน่นอนที่สุด ไม่มีใครที่ชอบตัวเองให้ดูไม่ดี หรืออะไรอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เราก็ติดในเรื่องรูปของเรามานานแสนนาน ที่จะต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า วันนี้พรุ่งนี้ อีก ๑๐ ปี หรืออะไรอย่างนี้ก็ยัง คงมีความรักใคร่ในรูปนี้ด้วยความเห็นว่า ควรจะเป็น สุภะ น่าจะเป็นสุภะ ต้องเป็นสุภะ ด้วยความติด ความยึดมั่นในตัวนี้ ที่จะงาม

    เพราะฉะนั้น การที่ทรงแสดงธรรมแล้วจำแนกจาก ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็เพื่อที่จะให้เน้นถึงว่าการที่จะละ แม้การที่เคยยึดถือร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า แล้วก็ยึดมั่น หวงแหน รักจริงๆ ทะนุบำรุงจริงๆ ตามความเป็นจริงแล้วคืออะไร คือสภาพธรรม ที่ปรากฏทางกาย ที่มีกายปสาท ซึมซาบอยู่ทั่วตัว เพราะเหตุว่าตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ลองกระทบสัมผัสดู แข็งหรืออ่อน เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว แต่ก็เป็นกายของเรา คิดดูถึงอวิชชา คิดดูถึงความยึดมั่น ความรู้เล็กน้อยนิดเดียว เพียงแต่แข็งหรืออ่อนที่ปรากฏ ไม่สามารถที่จะทำลายความต้องการร่างกายนี้ ความติดในความเป็นสุภะของกายได้ เพราะฉะนั้น ที่ทรงแสดงอุปมาว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมือนกับไม้ไผ่ เราเอามาจัด มาตอกเป็นเส้น แล้วก็สานเป็นกระบุง ตะกร้า อะไรก็แล้วแต่ แต่เนื้อแท้จริงก็คือไม้ไผ่

    เพราะฉะนั้น ธรรม ทั้งหมดก็คือ ธรรม แล้วธรรมทั้งหมดก็ไม่พ้นจาก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ซึ่งทรงแสดงโดยละเอียด เพื่อปัญญาจะได้ค่อยๆ ละ ค่อยๆ คลาย เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ขณะที่ฟังเพียงเข้าใจ ก็ยังละ อะไรไม่ได้ แล้วเวลาที่สติปัฏฐานเกิด ก็ไม่ใช่จะละอะไรไปทันที ต้องมีการที่จะเข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ของแม้แต่รูปร่างกายที่แต่ละคนยึดถือ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ทุกคนยึดถือรูปนี้มาก

    เพราะฉะนั้น ก็ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้พิจารณาเพื่อที่จะให้เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่สภาพธรรมตามความเป็นจริงที่นี่ ไม่ใช่ว่าเมื่อระลึกถึงกายก็ให้เห็นเป็น อสุภะอย่างเดียว เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าสิ่งที่จะไม่งาม ต้องไม่เที่ยง ไม่ใช่อยู่ดีๆ เราไปพิจารณา ว่าไม่งามๆ ก็จะเป็น สมถภาวนา เป็น อสุภะ ไป แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เรื่องของปัญญาไม่ใช่เป็นเรื่องหลอก หรือเรื่องชั่วคราว หรือว่าให้คิด แต่ว่าลึกๆ ลงไปยังมี ความติดในกายนี้อยู่

    แต่ว่าเรื่องของปัญญาที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ทรงแสดง หนทางที่จะให้อบรม เป็นเรื่องละเอียด ที่รู้ละเอียด จึงละเอียด ถึงสภาพที่ติดยึดมั่นในรูปร่างกาย อย่างละเอียดซึ่งเป็น อนุสัย โดยการที่ว่า ที่จะเห็นเป็น อสุภะ ไม่ใช่ เพียงนึกหรือคิด หรือเข้าใจเล็กๆ น้อยๆ แต่เพราะประจักษ์ความไม่เที่ยง ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นลักษณะที่ไม่งาม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567