ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๖๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๔


    ท่านอาจารย์ แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร ว่าอย่างไร ไม่มีข้อความใดๆ ทั้งสิ้นที่ จะบอกว่าให้ออกไปหรือว่าให้อยู่ป่า แล้วขณะนั้นผู้ที่ได้ฟัง ธรรมก็สามารถ ที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมได้ โดยที่ว่าในพระไตรปิฎก แสดงไว้ชัดเจน ว่าการรู้แจ้งอริยสัจธรรม เมื่อไร ที่ไหนก็ได้ เมื่อเหตุสมควรกับผล เพราะฉะนั้น ก็ต้องประกอบกันด้วยกับสูตรอื่นๆ

    . ความเพียร ต้องทำหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าอ่านเผินๆ คุณนิพัทธ์ อ่านประโยคนี้ซ้ำอีกที

    . ก็บอกว่า ภายหลังในเวลาแก่ ปรารถนาอยู่ป่า

    ท่านอาจารย์ ขอยกตัวอย่างก็ได้ คำที่อาจจะเข้าใจผิด มีใจเด็ดเดี่ยว มีใจเด็ดเดี่ยว เด็ดเดี่ยวอย่างไร ไปป่าแล้วกลัว หรือว่าเด็ดเดี่ยว แต่ว่าสภาพธรรมขณะนี้ เป็นอย่างนี้ คือไม่ใช่เรา เป็นปรมัตถธรรม เป็นจิต เป็นเจตสิก ซึ่งมีปัจจัยก็ปรุงแต่งเกิดขึ้นเห็น หรือว่าเกิดขึ้นได้ยินหลังจากเห็นแล้ว หลังจากได้ยินแล้ว ก็มีการคิดนึกต่างๆ กันไป ในขณะนี้ ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ มีความคิดนึกต่างกันไป

    ใจเด็ดเดี่ยวที่นี่ เด็ดเดี่ยวที่จะระลึกรู้ ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ไปเด็ดเดี่ยวทำอย่างอื่นเลย แล้วอันไหนจะเด็ดเดี่ยวกว่ากัน ในเมื่อสภาพธรรมกำลังปรากฏ ผู้ที่มีใจเด็ดเดี่ยว คือ ระลึกทันที นี่คือเด็ดเดี่ยว ไม่ต้องไป พะวงถึงป่า ไม่ต้องไปคอยที่โน่น หรือไปคอยที่นี่ แต่เด็ดเดี่ยวที่เมื่อได้ฟังพระธรรมเข้าใจ เด็ดเดี่ยวที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้

    ขณะใดก็ตาม ที่สติเกิดระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นจึงเป็นเด็ดเดี่ยว ที่จะเผชิญกับความจริง ซึ่งทุกคนก็รู้ ความจริงน่ากลัว น่าใจหาย น่ากลัวสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญญา แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญา ต้องเด็ดเดี่ยวที่จะถึงที่สุดว่า สภาพธรรมจริงๆ เป็นธรรมซึ่งเกิดแล้วดับ ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่เราอีกต่อไป มีปัญญาที่จะสละคืน ความเป็นเรา ไม่ยึดถือสภาพธรรมสักอย่างเดียว ไม่ว่านามธรรม หรือรูปธรรมว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา เพราะเหตุว่าเป็นแต่เพียงรูปธรรม เป็นแต่เพียงนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ต้องเด็ดเดี่ยว ที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็ไม่ไปเข้าใจผิดที่จะไปทำอย่างอื่น นอกจากเมื่อสภาพธรรมใดมีปัจจัยเกิดขึ้นปรากฏ ก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ตามความเป็นจริงจนกว่าจะประจักษ์ด้วยความเด็ดเดี่ยว ของปัญญาซึ่งเด็ดเดี่ยวเป็นลำดับขั้นด้วย

    ผู้ฟัง คำว่า เด็ดเดี่ยว คำเดียวนี่ รู้สึกว่ามันจะหมาย หมายรวมเอาทั้งหมด

    ท่านอาจารย์ ถ้าแปล หรือเข้าใจไม่ถูก ก็ไปป่า คิดว่าเด็ดเดี่ยวมาก คุณนิพัทธ์ พูดถึงความเพียร ใช่ไหม ความเพียรเกิดกับจิตเกือบทุกดวง นี่เป็นเหตุที่จะต้องศึกษาพระอภิธรรมด้วย ประกอบกัน เพราะมิฉะนั้นก็จะคิดว่า เราจะเพียรทำ แต่สติปัฏฐาน ต้องเป็นเรื่องละโลภะ ละสักกายทิฏฐิ การเห็นผิดว่าเป็นเรา แม้ในขั้นความเข้าใจก็จะต้องทราบว่าขณะนั้น ไม่ใช่เรา ขณะนั้น อาตาปี สัมปชาโน สติมา ใน มหาสติปัฏฐานสูตร อาตาปีคือ ความเพียร ต้องพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ขณะนี้ไม่ใช่ให้ไปเพียรอื่นเลย แต่ความเพียรที่เป็นสติปัฏฐาน จะต้อง อาตาปี สัมปชาโน สติมา เกิดพร้อมสติสัมปชัญญะ ตามปกติ ในขณะนี้ เป็นผู้ที่มีปกติระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเป็นธรรม ขณะนี้เป็นธรรม ขึ้นอยู่กับว่าใครฟัง อบรมมาเท่าไร เข้าใจได้แค่ไหน มีปัจจัยที่สติจะเกิดระลึกเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ถูกต้อง

    ความเพียรที่นี่ ไม่ใช่ว่าได้ยินได้ฟังมาว่า ต้องเพียร ก็เพียรทำอะไร ซึ่งไม่ใช่การระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ขณะใดที่สติเกิด พร้อมสัมปชัญญะ คือปกติในขณะนี้ ไม่ใช่เราทำ ไม่ใช่เราถึง ปฏิปัตติ แปลว่า ถึงเฉพาะ สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง เฉพาะแต่ละอย่างที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นรู้ว่าสติเกิดไม่ใช่เราทำ

    เพราะฉะนั้น เข้าใจพยัญชนะที่ว่า มีสติ กับหลงลืมสติ ขณะที่สติไม่เกิดก็คือหลงลืมสติ ขณะที่สติเกิดก็มีสติ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นที่สติเกิดวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว พร้อมทั้ง ๓ ไม่ต้องไปเพียรทำอย่างอื่น ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ประกอบกับพระอภิธรรมก็รู้ว่า ขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นวิริยะ ก็เป็นสัมมาวายามะ

    แต่กรรมฐาน คือ ความเข้าใจถูกต้อง ในสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ ที่จะต้องเป็นที่ตั้ง ของการกระทำ แต่ไม่ใช่ตัวเรา เป็นมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งปกติมีองค์ ๕ ระลึกรู้ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ข้อความในพระไตรปิฎก นี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าใครก็ตาม จะขอกรรมฐานใคร คือ ขอความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ใช่ว่าไปขออย่างอื่น หรือว่าไม่ได้คำอธิบายใดๆ เลยทั้งสิ้น ที่จะให้เข้าใจสภาพธรรม ในขณะนี้ ก็คิดว่าตัวเอง ได้ขอกรรมฐานแล้ว หรือว่าได้ไปรับกรรมฐานเหมือนกับ กรรมฐานเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งขอแล้วก็รับมา แต่ที่ถูกแล้วต้องเข้าใจในสูตรนี้ ว่าแม้พระภิกษุท่านไปป่าแล้วก็ใช้ คำว่า ขอกรรมฐาน แต่ก็ต้องเข้าใจว่า กรรมฐานที่พระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุนั้น กระทำระลึกเนืองๆ บ่อยๆ เพื่อที่จะใด้มีความเห็นถูกต้อง ในสภาพธรรมไม่ใช่เป็นตัวตน แต่ว่าเป็นความเข้าใจถูกขั้นการฟัง เมื่อมีความเข้าใจถูกขั้นการฟัง พร้อมที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม จึงจะสติเกิดได้แล้วก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรม เพราะว่าธรรมทั้งหลายที่จะเกิดได้ ต้องมีเหตุมีปัจจัย แม้แต่สติปัฏฐานเพียงฟัง แล้วก็อยากจะให้เกิด ไปพากเพียรทำให้เกิด ก็ไม่ได้ แต่ต้องเป็นปัญญาที่รู้ความต่างกัน ของความเข้าใจในขั้นการฟัง ขณะนี้ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พร้อมปัญญาระดับไหน ระดับความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง มากพอที่สติจะระลึก ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏไหม เพราะว่าจริงๆ แล้ว ความเป็นปกติของสติปัฏฐาน บางคนไม่ทราบ เพราะเหตุว่ามัวเป็นตัวตนที่ทำ

    แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจถูก แล้วก็สติเกิดระลึกก็จะรู้ว่าที่ทรงแสดงว่า สภาพธรรมมี ๒ อย่าง คือสภาพหนึ่ง ไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น แล้วสภาพหนึ่งก็เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งเป็นใหญ่จริงๆ สามารถจะรู้หมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะทางตาก็เห็นขณะนี้ เป็นสภาพของธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเห็น ใช้คำว่า รู้ ก็ได้ คือ ไม่ใช่สิ่งที่ไม่รู้อะไรเลย แต่ว่าสามารถที่จะเห็นว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างนี้ นั่นคือลักษณะรู้อย่างหนึ่ง ทางหู ก็สามารถจะรู้ว่าเสียงขณะที่กำลังปรากฏ เป็นอย่างนี้ เมื่อกลิ่นปรากฏก็รู้ลักษณะของกลิ่น เมื่อรสปรากฏก็รู้ลักษณะของรส เมื่อเย็นร้อนอ่อนแข็ง ตึงไหวกระทบ ก็รู้ ลักษณะของเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว สามารถที่จะคิดนึก สามารถที่จะรู้ทุกอย่าง นั่นคือสภาพชนิดหนึ่ง

    ถ้ามีความเข้าใจถูกต้อง เป็นปัจจัยให้สติระลึก ที่ลักษณะของสภาพธรรมเหล่านี้ ตามปกติ ขอยกตัวอยางง่ายๆ เพราะทุกคนก็มักจะพูดถึง เช่น แข็งหรืออ่อน ทางกาย วันหนึ่งๆ กระทบไม่ทราบว่ากี่ครั้ง แต่ขณะใดที่สติเกิด แทนที่จะเป็นโต๊ะ เป็นคน เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนั้นก็เป็นแข็งซึ่งสติระลึก ต่อจากกายวิญญาณที่รู้แข็ง เพราะว่าลักษณะที่แข็งปรากฏกับกายวิญญาณ คือ สภาพที่รู้แข็งเป็นปกติ แต่สติไม่เกิดก็เป็นเรื่องเป็นราว สืบต่อทันที แต่เวลาที่สติระลึกก็ระลึกที่แข็ง แล้วค่อยๆ เข้าใจถูก ในสภาพนั้นว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง แล้วก็สภาพที่รู้แข็ง ขณะนั้นก็มี สภาพที่รู้แข็งจึงปรากฏได้ สติปัฏฐานจะค่อยๆ เกิดเป็นปกติ ตามปกติ นานแสนนาน เป็นการอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็น จิรกาลภาวนา แต่ให้มีความมั่นคง มีสัญญาความมั่นคง ว่าสิ่งที่ปัญญาจะรู้ก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่เอง

    เพราะเหตุว่าสิ่งใดที่ไม่ปรากฏ จะให้ปัญญาเกิดขึ้นรู้สิ่งที่ไม่ปรากฏไม่ได้ ไม่ต้องไปสร้าง ไม่ต้องไปทำอะไรขึ้น แต่ขณะนี้เมื่อมีสิ่งใดที่ปรากฏ เมื่อมีปัจจัย สติก็ระลึกเสียงก็เช่นเดียวกัน เสียงก็ปรากฏ แล้วก็ผ่านไป เรื่องราวต่างๆ หรือทางตาก็เห็น และก็เป็นคนมากมายที่นี่ แต่ว่าถ้าสติเกิด ก็มีการระลึกลักษณะของเสียง หรือสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งธาตุรู้ มีเป็นประจำ ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ขาดเลย เพราะฉะนั้น เมื่อระลึกเมื่อไร ก็สามารถจะรู้ได้ว่าสิ่งนั้นปรากฏ เพราะว่ามีสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งกำลังรู้สิ่งนั้น นี่เป็นการอบรมเจริญความรู้จริงๆ ซึ่งจะไถ่ถอนความเป็นเรา หรือสักกายทิฏฐิให้หมดสิ้นได้

    ผู้ฟัง เรื่องการสิ่งที่ปรากฏ หรือ เป็นคำสอน

    ท่านอาจารย์ ถ้าคนที่เฝ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประโยชน์ที่จะได้รับ คืออะไร เห็นพระรูปที่งามเลิศหรือว่าอะไร แต่ว่าตามความเป็นจริงประโยชน์ คือ ได้ฟังพระธรรม ได้ฟังพระธรรมเรื่องอะไรถึงจะเป็นประโยชน์ ในขณะนั้นที่สิ่งที่มีจริงๆ กำลังปรากฏ ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถจะแสดงความจริงของสิ่งที่ปรากฏได้เลย แต่ผู้ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประจักษ์ ความจริงของสภาพธรรม แล้วทรงแสดงให้ผู้อื่นได้ เกิดปัญญา ความเข้าใจถูก ว่าปัญญาจะต้องรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ธรรมารมณ์ก็มีทั้งจิต และเจตสิก รูป ทั้ง ๒๑ รูป แล้วก็ บัญญัติด้วย แล้วก็นิพพานด้วย อยากจะขอให้คำอธิบาย จากท่านอาจารย์ด้วย

    ท่านอาจารย์ เวลาที่เราศึกษาโดยนัยของพระสูตร จะเห็นว่าต่างกับโดยนัยของพระอภิธรรม ในที่นี้จะพูดแต่จักขุวิญญาณ ทั้งๆ ที่จิตอื่น ซึ่งเกิดต่อ หรือเกิดก่อน เช่น ปัญจทวาราวัชชนจิต ก็มีอารมณ์ที่ปรากฏแต่ละทางได้ แต่ว่าที่ทรงแสดงย่อ เพราะว่าใครสามารถที่จะรู้สภาพธรรมนั้น เช่น ปัญจทวาราวัชชนจิต สัมปฏิจฉันนะจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต แต่ทรงแสดงเฉพาะที่สามารถจะรู้ได้ เช่น ขณะนี้ที่เห็น เราจะใช้คำว่า จักขุทวารวิถีจิต หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าผู้ฟัง สามารถที่จะเข้าใจได้ไหม ว่าขณะนี้มีธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังเห็น จักขุวิญญาณดับไป จิตอื่นก็ดับไป ที่เกิดต่อ และจักขุวิญญาณก็เกิดอีก เห็นอีก เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งที่ควรฟังให้เข้าใจ แล้วรู้ว่าต่างกับสภาพรู้ สิ่งที่ปรากฏ กรรมฐานก็คือว่า ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจจริงๆ ในสิ่งเหล่านี้ สติก็ไม่เกิด ไม่สามารถที่จะระลึก รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ได้

    เวลาที่กล่าวถึง ธรรมารมณ์ ขณะนี้ก็พอจะนึกได้ว่า ไม่ได้มีแต่สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ได้มีแต่เสียง ไม่ได้มีแต่กลิ่น ไม่ได้มีแต่รส ไม่ได้มีแต่โผฏฐัพพะ แล้วมีอะไร รูปอื่นๆ หทยวัตถุ ไม่ต้องไปคิด ไม่ได้ปรากฏเลย ปสาทรูปแม้มี แต่ไม่ใช่ว่าขณะนี้ปสาทรูปปรากฏให้ศึกษา ให้เข้าใจในความเป็นปสาทรูป ในขณะที่กำลังเห็น มีสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็หลงยึดติดทั้งหมดในสูตรนี้ จะแสดงถึงเรื่องความติดข้อง ในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ

    ที่ได้เห็น แต่ว่าเราจะไม่มีความติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ซึ่งไม่เคยปรากฏกับเราเลย แม้ในอดีต คือ อดีตนี่ ชั่วครู่ขณะเมื่อกี้นี้ ก็เป็นอดีตแล้ว แต่ว่าความยินดีติดข้องทั้งหมด ก็จะในสิ่งซึ่งเคยเห็นเป็นอดีต หรือในสิ่งที่กำลังเห็น ในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น ก็ทรงแสดงเรื่องของสภาพธรรม ที่สามารถที่จะรู้ได้ และนอกจากนั้นความยินดีติดข้อง เช่น โลภะ หรือโทสะ ไม่สามารถที่จะรู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้น เป็นธรรมารมณ์

    ธรรมารมณ์หมายความถึงธรรมซึ่งไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อกี้นี้เราก็พูดมาแล้วประมาณ ๒, ๓ ครั้ง แต่ว่าอาจจะยังไม่แม่นยำ เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ก็ คงจะไม่ลืมว่า ธรรมารมณ์ หมายความถึง ธรรมที่ไม่สามารถจะรู้ได้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะฉะนั้น ขณะที่ใจ คิดนึกเรื่องราวต่างๆ แล้วก็สามารถที่จะรู้ว่า ก็เพียงคิด ก็เพียงจิตเกิดขึ้นแล้วก็คิด สิ่งนั้นจึงมี ถ้าไม่คิดสิ่งนั้นก็ไม่มี

    ถ้าขณะนั้นมีสภาพธรรมกำลังปรากฏ ผู้ฟัง ฟังด้วยความเข้าใจก็สามารถที่จะรู้ได้ โดยที่ไม่ต้องไปเรียนเรื่องรูป ๒๘ ในขณะนั้น แต่สำหรับ เรายุคนี้ ที่จำเป็นต้องเรียนก็เพราะเหตุว่าปัญญาไม่เสมอกับท่านเหล่านั้น ในสมัยนั้น ซึ่งท่านเหล่านั้นในสมัยนั้น ท่านสามารถที่จะเข้าใจ พระธรรมที่ทรงแสดง เป็นภาษาบาลี คือภาษาเดียวกัน พร้อมทั้งการที่ได้อบรมเจริญปัญญามามาก ก็ทำให้เข้าใจลักษณะของธาตุ ของธรรมที่กำลังปรากฏได้ แต่ว่าถ้าคนในยุคนี้ ๒,๕๐๐ กว่าปี ไม่สามารถที่จะเห็นความเป็นอนัตตาของเห็นขณะนี้ แม้ว่าทรงแสดงว่าเห็น ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่ได้กลิ่น ไม่ใช่จิตที่ลิ้มรส ไม่ใช่จิตที่คิดนึก ทรงแสดงอย่างนี้ ความจริงก็เป็นอย่างนี้ การประจักษ์แจ้งก็ต้องประจักษ์แจ้งอย่างนี้ แต่สติ และปัญญา ไม่เด็ดเดี่ยวที่จะระลึก และไม่พร้อมที่จะสภาพธรรมนั้นปรากฏให้ประจักษ์แจ้งว่า เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง แม้ว่าเป็นธาตุรู้ก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ว่าผู้ที่อบรมมาแล้ว เมื่อฟังสามารถที่จะเข้าใจ สติระลึกจรดกระดูก แล้วก็มีสภาพธรรมปรากฏประจักษ์แจ้ง สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นได้ ในเวลาไม่นาน

    แต่สำหรับคนยุคนี้ ต้องศึกษามาก พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ส่วนใหญ่ทั้งหมด เช่น พระอภิธรรมโดยละเอียด ก็เพื่อคนยุคนี้ สมัยนี้จะค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ เห็นความเป็นอนัตตา แต่เวลาที่สติจะเกิดระลึก ไม่ใช่ไปนึกถึงรูป ๒๘ หรือว่าจิตจำนวนเท่าไร เจตสิกเท่าไร แต่ว่าสภาพธรรมใดที่กำลังปรากฏ ปรากฏสั้นมาก

    เมื่อสติระลึก จึงสามารถที่จะให้ปัญญาเจริญขึ้น ในขณะที่สภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดปรากฏ ทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่ต้องห่วงว่าดับไปแล้ว ไม่ทันเรื่องของการดับๆ อย่างรวดเร็วมาก เพียงแต่ว่าขณะนี้สิ่งใดปรากฏ ค่อยๆ เข้าใจ ในสภาพนั้นขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย เช่น ทางตา มีความเข้าใจถูกต้องว่า สิ่งที่สามารถกระทบตา มีจริงๆ ขณะนี้จิตเห็น กำลังเห็นสิ่งนั้น คือธาตุนั้น ซึ่งธาตุนั้นสามารถปรากฏเมื่อกระทบจักขุปสาท โดยสภาพที่ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย เมื่อปรากฏแล้วดับ แต่ว่าจิตรู้อารมณ์นั้นต่อ แล้วก็สามารถที่จะจดจำ รูปร่างสัณฐานแล้วก็คิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ด้วยการที่ไม่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป ในขณะก่อน ซึ่งเพียงเห็นเท่านั้นแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น จึงมีความเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ด้วยเหตุนี้การศึกษาพระอภิธรรมในยุคนี้ต้อง ทราบจุดประสงค์ว่าเพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตา ความละเอียดต่างๆ เพื่อลับปัญญาให้คม เพื่อที่จะได้ เมื่อเห็นความเป็นอนัตตามากขึ้น เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ก็สามารถที่จะมีปัจจัย ที่จะทำให้สละความยึดมั่นหรือว่าความเป็นตัวตน เป็นสัตว์ บุคคล ในสภาพธรรมที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง ถ้ายังนี้ ถ้าสมมติว่า สภาพสิ่งที่ปรากฏไม่ได้รู้ว่ามันมีชื่ออะไร ถ้าสมมติว่าอย่างเช่น คันปรากฏในกาย เราก็ไม่ต้องรู้ว่า มันคือตึงไหว ก็รู้ว่า ในสภาพที่ปรากฏในกาย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สภาพที่ปรากฏทางกาย จะพ้นจากลักษณะที่แข็งหรืออ่อน เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว ไม่ได้เลย แต่ขณะนั้นไม่ได้คิดถึงชื่อ หรือถ้าเกิดจากคิด เพราะว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วคนส่วนใหญ่ ไม่ได้พิจารณา แต่ว่าต้องการคำตอบ ให้ระลึก หรือไม่ให้ระลึก ให้คิดหรือไม่ให้คิด คิดได้ไหม ไม่คิดได้ไหม หรือว่าต้องคิด ซึ่งความจริงทั้งหมด ไม่มีในพระไตรปิฎก ว่าต้อง หรือให้ แต่ว่าสภาพธรรมใดเกิด ต้องมีปัจจัยเกิด แล้วก็แล้วแต่สติจะเกิด หรือสติจะไม่เกิด ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา มีเสียงที่ปรากฏทางหู มีการกระทบสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง แล้วแต่สติจะระลึกอะไร ไม่ใช่เป็นเรื่องว่า จะต้องให้ทำอย่างนี้ ให้ทำอย่างนั้น ไม่ให้คิดก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่า เราไม่ได้เรียน ๒๘ รูปแต่เรารู้ว่าสิ่งที่ปรากฏคือ ๖ ทวาร เป็นสภาพที่ปรากฏทางกาย โดยไม่รู้ว่ามัน คือ เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ สภาพทางกาย จิตเกิดขึ้นรู้อะไร ที่กระทบกาย ไม่มีชื่อ สิ่งที่ปรากฏไม่มีชื่อ แต่มีลักษณะจริงๆ ปรากฏ อย่างแข็ง ไม่มีชื่อแข็ง อยู่ตรงลักษณะที่แข็ง แต่ลักษณะที่แข็งมี เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง แม้ไม่ใช้ชื่อ เพราะอะไร มี สะ-ภา-วะ ลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่างปรากฏ แต่ที่ต้องใช้ชื่อ เพื่อให้เข้าใจความหมายว่า หมายความถึง สภาพธรรมอะไร ปรมัตถธรรมอะไร อย่างจิต กับเจตสิก เป็นนามธรรมแต่ต่างกัน ก็ต้องใช้คำให้รู้ว่า ไม่ใช่สภาพธรรมเดียวกัน

    ผู้ฟัง อย่างนั้นสภาพของเย็นร้อน อ่อนแข็ง อย่างไรก็จะต้องรู้

    ท่านอาจารย์ ต้องปรากฏ จิตรู้ จิตเป็นสภาพที่รู้ สิ่งที่ปรากฏทางกาย ขณะนี้ใครไม่รู้บ้าง มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ภาษาบาลีเรียกว่า รูปารมณ์ มีเสียงปรากฏทางหู ภาษาบาลีจะชื่อ สัทธารมณ์ หรือไม่ต้องใช้ภาษาบาลี แต่ใช้คำว่า เสียงกำลังปรากฏทางหู มีกลิ่นปรากฏ มีรสปรากฏ มีโผฏฐัพพะปรากฏ มีใจคิดนึก เพราะฉะนั้น ก็มีแต่สภาพธรรม ๒ อย่าง คือ นามธรรมกับรูปธรรมเท่านั้น ก็ไม่ได้ละอะไร อย่าลืมว่ารู้ เท่านี้ไม่พอ สำหรับคนยุคนี้ไม่พอจริงๆ ถ้าเป็นคนที่ยุคนั้น อบรมปัญญามาพร้อมแล้ว ได้ไปเฝ้า เขาจะรู้ว่าความเข้าใจของเขาอีก ระดับหนึ่ง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567