ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๔๕

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ แต่ว่าตามความเป็นจริง ทุกคนรู้ว่า ต้องตาย แน่นอน ใช่ไหม ถ้ารู้ว่าเดียวนี้จะต้องตาย หรืออีกไม่นาน สักไม่เท่าไรก็จะต้องตาย จะทำอะไร ถ้าเราระลึกถึงความตาย อย่าลืมว่าระลึกถึงความตาย ว่าจะเกิดเมื่อไรก็ได้ แล้วเป็นผู้ที่ไม่ประมาท เพราะฉะนั้น ปัญญาของแต่ละคน จะเท่ากันไหม หิริ โอตตัปปะ ของแต่ละคนจะเท่ากันไหม ละอายไหมที่จะเป็นคนที่ไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่อบรม ไม่เจริญปัญญา

    เพราะฉะนั้น พระภิกษุรูปนั้นท่านสะสมมาที่ว่า เมื่อท่านเกิดบนสวรรค์ แล้วมาเฝ้าฟังธรรม ท่านเป็น พระโสดาบัน ก็ลองคิดดูว่า การที่ท่านจะระลึกถึงความตาย แล้วก็เกิดหิริ โอตตัปปะ สำหรับตัวท่านอย่างนั้น ในเมื่อเราก็อยู่ที่นี่ เรารู้ว่าจะตาย แล้วถ้าคิดว่าอาจจะตายอีกสัก ๒, ๓ นาทีนี้ ก็ได้ หรืออีก ๕ นาทีก็ได้ ค่อยๆ ไปทีละหนึ่งขณะจิต เราจะทำอะไร หิริ โอตตัปปะของเรา เท่ากับของท่านหรือเปล่า นี้ก็แสดงให้เห็นถึงความต่างกันแล้ว ใช่ไหม

    ผู้ฟัง อันนี้ก็หมายความว่า ถ้าสมมติว่าเราก็ ไม่ประมาทเหมือนกัน โดยที่อุปนิสัยเราก็ยังไม่ถึง หรือว่าแม้ปัญญาเราก็ไม่เทียบท่านเลย แล้วเราก็ จงกรมเอา จงกรมเอา

    ท่านอาจารย์ ทำไมจะต้อง จงกรมเอา จงกรมเอา ขณะใดก็ตาม ที่สติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็ใครจะเดิน ใครจะนอน หรือใครจะทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้าคนหนึ่งจะเดิน ก็เดิน เป็นอะไรไป ถ้าคนหนึ่งจะนั่ง ก็นั่ง เป็นอะไรไป ก็ไปบอกว่านั่งทำไม นั่งทำไม นอนเสีย หรือเดินเสีย ก็ไม่ใช่เรื่องของเราเป็นผู้จัดการโลกเลย ก็เป็นเรื่องที่ว่า ขณะนั้น มีสภาพธรรม อะไรจะเกิดกับบุคคลใด เมื่อไร ทำอย่างไร บุคคลนั้นก็ทำอย่างนั้น เพราะว่าท่านไม่นอน ซึ่งปกติธรรมดาแล้วก็คงจะนอนในมัชฌิมยาม แต่ว่าเพราะเห็นประโยชน์ว่า ถ้าระลึกถึงคาวมตายจริงๆ เป็นผู้ที่มีหิริ โอตตัปปะ อย่างนั้นจริงๆ เป็นปัจจัยให้กระทำอย่างนั้นก็เป็น ตามเหตุ ตามปัจจัย โดยที่ว่าข้อความตอนท้ายก็แสดงว่า ไม่ใช่ใครจะไปเร่งรัดว่า ถ้าทำอย่างนั้นแล้ว จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม แต่แสดงให้เห็นว่าการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมจริงๆ ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัยที่สมบูรณ์ พร้อมเมื่อไร เมื่ออุปนิสัยของท่านยังไม่ถึงกาล ถึงจะเพียรอย่างไรๆ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้าตายแล้วเกิดบนสวรรค์ ไม่น่าจะเดือดร้อนเลย ใช่ไหม เวลานี้ทุกคน ถ้าจะจากโลกมนุษย์ แล้วก็เทียบกับสวรรค์ แล้วก็จากโลกนี้ไปสู่สวรรค์ คงจะลืมโลกมนุษย์ เพราะว่าทุกอย่างก็ต่างกันมาก

    ผู้ฟัง สงสัยที่ว่า อย่างกรณี ของเจตสิกก็เกิดภายใน แต่ทำไมให้เป็น อายตนะภายนอกเพราะว่าอย่างเรามีความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจ เจตสิกก็เกิดกับจิต แล้วก็เกิดพร้อมจิต แล้วก็ดับพร้อมจิต แล้วก็เกิดภายใน ที่เรายึดถือว่า เป็นเรารู้สึกว่า พอใจหรือไม่พอใจ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเราคิดเอาเอง เราก็เข้าใจอย่างนี้ แต่โดยพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อแสดงธรรมโดยละเอียด ถือจิต เป็นภายใน เพราะฉะนั้น เจตสิกเป็นภายนอก อายตนะภายนอก แต่ต้องอยู่ที่นั่น ต้องประชุม ต้องเกิดที่นั่นด้วย เขาเป็นสภาพธรรม ที่มีจริงให้เห็นว่าขณะหนึ่งๆ ที่สภาพธรรมจะปรากฏได้

    นอกจากปัจจัยต่างๆ ยังจะต้องมีธรรมอะไรที่ประชุมอยู่ตรงนั้น ที่นั่น แล้วก็จำแนกเป็นภายใน และภายนอก เพราะว่าทั้งหมดของธรรม เพื่อให้เห็น ความไม่ใช่ตัวตน ยิ่งแสดงได้ละเอียดเท่าไร คนสามารถที่จะเข้าใจความละเอียดของธรรม ก็ยิ่งเห็นว่าธรรม นั้นๆ ไม่ใช่เรา อย่างจักขุปสาทเป็นอายตนะ รูปารมณ์เป็นอายตนะ หมายความว่าขณะใดก็ตาม ที่มีอะไรที่ปรากฏเกิดขึ้น จะมีอะไรตรงนั้น ถ้าทางตาที่กำลังเห็น ก็ต้องมีจักขุปสาท ต้องมีรูปารมณ์ แล้วก็ต้องมีจิต ซึ่งมี มนายตนะ แล้วก็ต้องมีเจตสิกซึ่งเป็น ธรรมายตนะด้วย ที่นั่น

    แต่เวลาที่กล่าวถึง อายตนะ ต้องอย่างนี้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ หมายความว่าสำหรับจิตเป็นอายตนะภายในจริงๆ แล้วก็แล้วแต่เจตสิกที่จะมาเกิดด้วย บางครั้งโลภะเกิดกับจิต บางครั้งโทสะเกิดกับจิต เพราะฉะนั้น จึงเป็นภายนอก แต่ว่าขณะใดที่เกิดอยู่ที่นั่น ก็ประชุมตรงนั้น แต่ถ้าพูดถึงอายตนะภายในภายนอก แสดงโดยปรมัตถธรรม ซึ่ง ประชุมในขณะนั้น มีอะไรบ้าง จิตเป็นภายในจริงๆ แม้เจตสิกจะเกิด เกิดกับจิต เกิดในจิต เกิดที่จิต จึงเป็นภายนอก เวลาที่จำแนกรูป ก็แสดงไว้ว่ารูป ทั้งหมดมี ๒๘ รูป กี่รูปเป็นรูปภายใน ที่เหลือเป็น รูปภายนอก รูปภายใน มี ๕ รูป จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท ที่เป็นภายใน เป็นเพราะเหตุว่าใกล้ชิดกับจิต ถึงแม้ว่าจะเป็นอิตถีภาวะรูป หรืออะไรก็ตามแต่ ที่มีอยู่ข้างในตัว แต่ว่าใกล้ชิดกับจิตอย่างไร หรือเปล่า แต่สำหรับจักขุปสาท ต้องตลอดเวลาที่เห็น ถ้าไม่มีจักขุปสาท เป็นภายใน เหมือนกับคนที่ช่วย หรือว่าคนที่ใกล้ชิดมาก ที่จะทำให้จิต สามารถที่จะเกิดขึ้น รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รูปอื่นแม้มี ซึ่งทุกคนก็ทราบว่า แต่ละคน ก็มีรูป ๒๗ รูปที่ตัว แล้วใครบ้างที่รู้รูป ๒๗ รูป รูป ๒๗ รูป รูปไหนปรากฏ แต่ว่ารูปที่ปรากฏ ปรากฏเพราะมีปสาท เช่น มีจักขุปสาท จึงทำให้สีสันวัณณะ ขณะนี้ปรากฏได้ หรือเพราะโสตปสาท จึงทำให้เสียงปรากฏได้ แม้แต่มหาภูตรูป ซึ่งเกิดร่วมกับ โสตปสาทขณะนั้น หรือว่าเกิดร่วมกับรูปไหนๆ ก็ตาม เพราะว่ามหาภูตรูป เป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน แต่ว่าไม่ได้เป็นรูปภายในเลย นอกจาก กายปสาท โสตปสาท ชิวหาปสาท จักขุปสาท

    ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลมมีจริง แล้วเราก็ทราบว่า เป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม รูปอื่นเกิดไม่ได้เลย แต่แม้กระนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่มหาภูตรูปเลย มีก็มี ขณะนี้ทุกคนนั่ง ถ้าไม่มีกายปสาท จะไม่รู้เลยว่าแข็ง ที่ตัว ทั้งๆ ที่ ที่ตัวก็มีมหาภูตรูป กระทบตรงไหนก็แข็ง อ่อน ตรงนั้น แต่ถ้าไม่มีกายปสาทรูป ไม่มีทางที่จะรู้ว่า ที่ตัวมีอะไร ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุ ไฟ ธาตุลม ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น รูปภายในจริงๆ ที่ใกล้ชิด แล้วก็ติดต่อ จะใช้คำว่า อยู่กับจิตตลอดเวลาที่มีจิต ที่จะเห็นอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นวิถีจิตภายนอก ก็จะต้อง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้น จึงเป็น รูปภายใน ๕ รูป ที่เหลือจากนั้นไม่ใช่รูปภายใน แม้มหาภูตรูป ก็ไม่ใช่รูปภายใน ทั้งๆ ที่เป็นรูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน

    ผู้ฟัง แล้วหทยรูป

    ท่านอาจารย์ เหมือนกัน เวลานี้ คุณพรรณทิพารู้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ทราบว่ามี

    ท่านอาจารย์ มี แต่ไม่สำคัญ เพราะว่าไม่มีทาง ที่จะรู้ได้ด้วยกายปสาทก็ไม่ได้ รู้ได้ด้วยโสตปสาทก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถึงมีก็ไม่ปรากฏ ไม่สามารถที่จะมีใครไปเห็น ไปกระทบ ไปจับ ไปสัมผัส หทยวัตถุได้

    ผู้ฟัง แม้ว่าเขาจะใกล้ชิดกับจิตที่เกิดขึ้นมาก

    ท่านอาจารย์ ใกล้ชิดในที่นี้ เป็นรูปภายใน คือติดต่อเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา คนที่บ้านคุณพรรณทิพา หรือ ที่ทำงาน คงมีหลายคนมากมายเลย คนไหนใกล้ที่สุด ที่ทำงาน ติดต่อกันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ก็ได้แก่ ปสาทรูป ๕ ที่เป็นรูปภายใน

    ผู้ฟัง อันนี้ฟังแล้วก็ดูเหมือนว่า อะไรที่ใกล้ชิดกับจิต

    ท่านอาจารย์ ที่ต้องอาศัย ที่ใช้ ที่ต้องติดต่อกันอยู่ตลอดเวลา

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น มนายตนะ ก็เลยเป็นภายใน เพราะว่าเป็นตัวจิตเอง

    ท่านอาจารย์ มนายตนะเป็นจิต การศึกษาธรรมพิสูจน์ได้ตลอดเวลา แม้แต่เราจะพูดถึงเรื่องรูปภายใน เราก็สามารถที่จะเข้าใจได้ ส่วนมากก็จะมีคนสงสัยเหลือเกินว่า ตายจากโลกมนุษย์ แล้วไปเกิดใน อเวจี หรือว่าเป็น รูปพรหม อรูปพรหม พวกนี้ ไปได้อย่างไร รู้สึกว่าจะไกลกันเหลือเกิน หรือว่าจากประเทศนี้ ไปสู่อีกประเทศหนึ่ง แต่ว่าถ้าเข้าใจความจริง จิตเป็นสภาพธรรม ที่เมื่อมีเหตุปัจจัยจึงเกิด ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยเกิดไม่ได้เลย อย่างจิตที่เห็น เกิดที่จักขุปสาทแล้วดับ จิตอื่นต่อจากนั้น เกิดที่หทยวัตถุ ในตัว คิดดู ต้องเดินทางหรือเปล่า ก็ไม่ต้อง แต่เมื่อมีปัจจัยที่จิตจะเกิดที่ไหน ก็เกิดที่นั่น ทางหู ขณะที่ได้ยินเสียง ก็มีจิตเกิดที่โสตปสาท ทำกิจได้ยิน แต่กิจอื่นนอกจากนั้น ก็เกิดที่หทยวัตถุ ก็แสดงให้เห็นว่า เข้าใจความจริงของสภาพธรรมว่า เมื่อมีเหตุปัจจัยเกิดก็เกิด แล้วก็ดับ ตามปัจจัยจริงๆ บางคนก็สงสัยว่า แล้วเข้าไปอยู่ในท้อง เข้าไปอย่างไร ก็เหมือนกัน แต่ความจริงไม่มี บัญญัติว่าท้อง ถ้าคิดถึงสภาพปรมัตถธรรมจริงๆ จิตเกิดเพราะมีปัจจัย ตรงไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดในนรก หรือ บนสวรรค์ ไม่ใช่ว่า เราจะต้องอาศัยกาลเวลา ระยะทางยาวไกล แต่ว่า เมื่อมีปัจจัยที่จุติจิตดับ แล้วก็กรรมนั่นเอง ที่จะทำให้ปฏิสนธิ ในโลกมนุษย์นี้อีก ประเทศไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ หรือว่าจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่าจะเกิดบนสวรรค์ ชั้น ๑ ชั้นใดใน ๖ ชั้น หรือว่าถ้ามีเหตุสมควร คือ ฌานจิตเกิด ก็จะเกิดถึงกับรูปพรหมบุคคล หรือ ยิ่งกว่านั้นคือ อรูปพรหม ตามกำลังของเหตุซึ่งจะเกิดเมื่อมีปัจจัย ถ้าเข้าใจ เรื่องการเกิดขึ้นโดยปัจจัย จะไม่มีความสงสัยเลยว่าจิตเกิดที่ไหน จิตก็ต้องเกิดได้ เพราะว่ามีปัจจัยจะเกิดที่นั่น

    ผู้ฟัง คำถามนี้อาจจะมีคนเคยถาม มาบ้างแล้ว อย่างเช่น คนเหล่านี้ เกิดมาเพราะว่ากรรม และวิบาก นำพามาเกิด กรรมแต่ละอย่างแต่ละคน ของแต่ละคน ก็เป็นกรรมที่วิจิตรมาก คงจะไม่ซ้ำกัน ถ้าบอกว่าการที่เราพยายามที่จะถือศีล ทำสมาธิ แล้วเจริญภาวนา เป็นการแก้วิบากกรรมได้บ้าง ไหม

    ท่านอาจารย์ หมดไปแล้ว กลับมาแก้ได้อย่างไร

    ผู้ฟัง หมายความว่า วิบากจะต้องเกิด

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ปัจจัย วิบากก็ต้องอาศัยปัจจัยด้วย ไม่ใช่กัมมปัจจัยอย่างเดียว

    ผู้ฟัง หมายความว่ากรรมเบาก็ แก้ไขได้

    ท่านอาจารย์ เราไม่เป็นผู้ที่จะไปรู้ หรือจัดแจงการให้ผลของกรรมได้ แต่ให้ทราบว่าการที่สภาพธรรม จะเกิด ขึ้นแม้แต่วิบากจิต นอกจากกัมมปัจจัยก็ยังมีปัจจัยอื่นด้วย

    ผู้ฟัง พระพุทธเจ้า เวลาท่านประชวร มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ท่านให้พระท่าน สวดโพชฌงคปริต ทำให้ท่านสบายขึ้น อันนี้เป็นการแก้วิบากกรรมหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ทำไมคิดถึงการแก้วิบากกรรม กรรมก็ทำไปแล้ว

    ผู้ฟัง สงสัยมีคนพูด บอกว่าเขาไปทำบุญสะเดาะเคราะห์กัน อะไรพวกนี้

    ท่านอาจารย์ แต่นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เราได้เข้าใจพระธรรม เวลานี้ที่เราสนใจ คือ ศึกษาให้เข้าใจว่าพระธรรม ที่ทรงแสดง ที่ทรงตรัสรู้ นี่คืออะไร

    ผู้ฟัง กำลังสงสัยว่าแก้ได้จริงหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เรื่องเข้าใจธรรมไม่ใช่ เรื่องไปคิดแก้กรรม เมื่อไม่มีทางจะรู้ได้ ไม่ว่ากรรมอะไรทำมาแล้ว เป็นกรรมหนัก กรรมเบา อย่างไร ชาติไหนก็ตามแต่ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะไปคิด ทำอะไรกับกรรมเหล่านั้น เพราะเราไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้แล้ว เราไปนั่งใคร่ครวญ ว่าเราจะทำอะไร นอกจากว่าทำสิ่งที่ดี แล้วก็รู้ว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ก็ละเว้นฝ่ายอกุศล แล้วก็อย่างที่บอก เมื่อกี้นี้ คือว่าทั้งๆ ที่ทำกุศลแล้ว ทุกอย่างทุกประการเท่าที่จะทำได้ แต่อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด เมื่อเกิดแล้วเราก็รู้เอง ว่าถึงแม้ว่าจะทำกุศล แต่เมื่อผลของกรรมที่จะให้ผลที่เป็น อกุศลวิบากเกิดขึ้น ก็ต้องเกิด ใครจะไปทำอะไรได้ โดยที่เราก็ไม่ต้องไปห่วง ไปคิด เพราะเราไม่รู้เลย ว่าเราทำกรรมอะไรมาแล้วบ้าง

    ผู้ฟัง น่ากลัวมากๆ เลย ว่าคนเรานี้ พอเกิดมา มันก็อกุศล แล้ว และเป็นโลภะด้วย

    ท่านอาจารย์ น่ากลัวเพราะว่ามันส่องไปถึงอดีตชาตินานแสนนาน ซึ่งโลภะ ครอบคลุมตลอด ยากที่จะหลุดพ้นไปได้ แล้วยัง อนาคตชาติ อีกนานแสนนาน เป็นการชี้ให้เห็นเพียงเกิด ยังไม่ทันไรก็มีโลภชวนะเกิดแล้ว เพราะฉะนั้น เราก็อยู่ใต้เขาตลอด ถ้าตราบใดที่ยังไม่ออก โดยรู้หนทางที่จะออก สำหรับปฏิสนธิจิตเป็นอเหตุกจิตหรือเปล่าเป็นได้ไหม อเหตุกจิต หมายความว่า ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตที่ทำปฏิสนธิขณะแรก ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่มีอโลภะ อโทสะ อโลหะ เกิดร่วมด้วยได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็เป็น อเหตุกบุคคล

    ท่านอาจารย์ ได้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ เกิดที่ไหน ถึงจะไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง ก็เกิดมา บ้าใบ้ บอด หนวก อบายด้วย

    ท่านอาจารย์ ทีนี่ คำถามว่าเกิดที่ไหน พวกที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เขาเกิดที่ไหน ภูมิไหน

    ผู้ฟัง อบาย

    ท่านอาจารย์ กับ

    ผู้ฟัง กับ กามภูมิ

    . ที่เป็นสุคติ แต่ว่าเป็นผลของกุศลอย่างอ่อน เพราะฉะนั้น ก็ในอบายภูมิ กับในมนุษย์ หรือสวรรค์ชั้นต้น คือ ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่มีเหตุเดียวทำกิจ ปฏิสนธิได้ไหม ไม่ได้เพราะอะไร ให้เหตุผลด้วย

    ผู้ฟัง เพราะว่าต้องมี ๒ เหตุ

    ท่านอาจารย์ ทำไมเพราะว่าต้องมี ๒ เหตุ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง ต้องมีโมหะเกิดกับอกุศล

    ท่านอาจารย์ ถามว่า ปฏิสนธิจิต จิตขณะแรก ไม่มีเหตุเลยก็ทำปฏิสนธิจิตได้ เป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นอกุศลวิบาก ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเลย ทั้งอกุศลเหตุ หรือกุศลเหตุ เพราะฉะนั้น จิตที่เป็นอกุศลวิบาก ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเลย ทั้งอกุศลเหตุ หรือกุศลเหตุ เพราะฉะนั้น ที่เกิดของจิตซึ่งไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย คือในอบายภูมิ ท่านพระเทวทัต เกิดในอเวจี ด้วยอเหตุกจิต เป็นผลของอกุศลกรรม หรือใครก็ตามที่จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรต อสุรกาย ก็เป็นผลของอกุศลกรรม ก็เป็นจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยเลย เป็นอเหตุกปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น ที่เกิดของจิต ที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ในอบายภูมิ ๔ และในสวรรค์ หรือมนุษย์ ที่พิการตั้งแต่กำเนิด บ้าใบ้ บอด หนวก ก็จิตที่ปฏสินธิ ก็ไม่ใช่จิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ทีนี้ ถามว่าจิตที่มีเหตุเดียว เมื่อกี้นี้ไม่มีเหตุเลย จิตที่มีเหตุเดียวทำกิจปฏิสนธิได้ไหม ได้ไหม จิตที่มี ๑ เหตุทำกิจปฏิสนธิได้ไหม

    ผู้ฟัง มันไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะข้ามๆ อะไรไป เราเรียนแล้วเราให้เข้าใจชัดๆ ในเหตุผลแล้วจะได้ไม่ลืมด้วย ถ้าตอบว่าไม่ได้ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง มีเหตุเดียว เป็นชาติอกุศล

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุ เป็นผลที่เราจะต้องเข้าใจ จริงๆ ว่าสำหรับอกุศล จะต้องมี ๒ เหตุ คือ โมหมูลจิตมีเหตุเดียว โลภมูลจิตมี ๒ เหตุ คือ โมหะกับโลภะ โทสมูลจิตมี ๒ เหตุ คือ โมหะกับโทสะ ทั้งหมดนี่เป็นอกุศลชาติ จะเป็นชาติอื่นไม่ได้เลย คือเป็นตัวเหตุที่จะให้เกิดผล แต่ว่าปฏิสนธิจิต เป็นของกรรม ต้องเป็นวิบาก เราจำไปเรื่อยๆ ได้ ว่าอกุศลเจตสิกทั้งหมดคือ ๑๔ ดวง มีชาติเดียว คือ เมื่อเกิดขณะใด ต้องเป็นอกุศลเท่านั้น จะเป็นวิบาก จะเป็นกิริยา จะเป็นกุศลไม่ได้ เกิดขึ้นเมื่อไร ต้องเป็นอกุศลอย่างเดียว เพราะฉะนั้น เวลาที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น เป็นผลของกรรม คือ เป็นวิบาก เป็นผลของอกุศลกรรม คือ อกุศลวิบากจิตเกิด ทำกิจปฏิสนธิ แต่ไม่ใช่ตัวอกุศลจิต มาเกิด

    อกุศลจิตเป็นสภาพที่ทำกรรม แล้วเมื่อสะสมสืบต่อในจิต พร้อมด้วยปัจจัยที่จะให้วิบากจิต ซึ่งเป็นอกุศลวิบากเกิดเมื่อไร อกุศลวิบากก็เกิดเมื่อนั้น และเมื่อเกิดแล้ว อกุศลวิบากนั้นทำกิจอะไร ทำกิจปฏิสนธิ ทำกิจภวังค์ ทำกิจจุติ หรือทำกิจอื่น คือเห็น จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก แล้วแต่ว่าอกุศลกรรม จะทำให้วิบากชนิดไหนเกิดในขณะใด ในภูมิไหน เพราะฉะนั้น ก็ตอบว่าอย่างไร คำถามนี้ ปฏิสนธิจิตมี ๑ เหตุได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ชัดเจนไหม

    ผู้ฟัง ชัดเจน

    ท่านอาจารย์ ชัดเจน คือ ไม่ได้ จิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ ทำกิจปฏิสนธิได้ไหม ได้ คืออะไร ต้องเป็นชาติวิบาก ในขณะนั้น ถ้าเป็นผลของกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จะให้มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมกับปฏิสนธิจิตไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผลของกุศลที่แต่ละคนทำ มีกุศลซึ่งไม่ประกอบด้วยปัญญา กับมีกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา ถ้าขณะใดก็ตาม กรรมที่ทำด้วยกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาให้ผล ก็ทำให้กุศลกรรม ที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ทำให้ปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตนั้น ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่มีอโลภเจตสิก อโมหเจตสิกซึ่งเป็นชาติวิบาก เป็นผลของกรรม เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ที่ไหน ถามต่อไปอีกว่า เกิดได้ แล้วเกิดที่ไหน เกิดในนรกได้ไหม ไม่ได้ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ไหม ไม่ได้ เกิดเป็นคนพิการ บ้าใบ้ บอด หนวกได้ไหม ไม่ได้ เพราะว่ามีเหตุ ๒ เหตุเกิดร่วมด้วย คือ อโลภะ อโทสะเกิดบนสวรรค์ได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ แน่ใจ

    ผู้ฟัง แน่

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร เพราะว่าการเกิดบนสวรรค์เป็นผลของกุศลกรรมที่ประณีตกว่าการเกิดเป็นมนุษย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น เวลาทำกุศล จะเห็นได้ว่า บางคนจิตของเขาผ่องใสมาก แต่กระนั้นก็ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ผลก็คือว่าทำให้เกิดเป็นมนุษย์ อาจจะเป็น เศรษฐี คหบดี กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา หรือว่าถึงจะเกิดบนสวรรค์ ก็ไม่ประกอบด้วยปัญญา

    ถ้าบอกว่า ติเหตุกปฏิสนธิ หมายความว่า อะไร เหตุอะไรเล่า เหตุ ๓ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เพราะอะไร ทำไม โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ได้ เพราะ โลภะ โทสะ โมหะ ต้องเป็นอกุศลอย่างเดียว อย่าลืม เมื่อเกิดเมื่อไร ต้องเป็นชาติเดียว คือเป็นอกุศล คือเป็นเหตุ จะเป็นผลไม่ได้ แต่สำหรับ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นได้ทั้งกุศล ทั้งวิบาก ทั้งกิริยา แต่สำหรับ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอกุศลเท่านั้น จะมาเป็น วิบาก ไม่ได้

    ติเหตุก ได้แก่ เหตุอะไรบ้าง อีกทีหนึ่ง อโลภะ อโทสะ อโมหะ ทำกิจปฏิสนธิได้ไหม ได้ เป็นชาติวิบากได้ แล้วเกิดที่ไหน เกิดในกามสุคติภูมิเท่านั้นหรือ แล้วแต่กรรม ถ้าเป็นแค่กามาวจรกุศลก็เกิดในมนุษย์ หรือสวรรค์ ถ้าไม่ใช่กามาวจรกุศล คือ อบรมเจริญสมถภาวนา จิตสงบ แล้วไม่เสื่อม หมายความว่าก่อนจะจุติ ฌานจิตเกิด แล้วแต่ว่าจะเป็นฌานระดับไหน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567