ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๗๘

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ผู้ฟัง หนูขอโทษ เพราะว่าหนู ยังไม่เข้าใจเรื่องความเป็นตัวตน ในความเป็นตัวตนคือ สักกายทิฏฐิ ชินก็เข้าใจ แต่เข้าใจแค่คำบัญญัติ ชื่อ แต่ไม่เข้าใจอรรถ คือความเข้าใจของตัวตนนั้นคือ เห็นทุกอย่างเป็นกลุ่ม เป็นก้อน แล้วเป็นโลภะของเราอย่างนั้นหนูไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจสักกายทิฏฐิ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง สักกายทิฏฐิ คือ เป็นอัตตาหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ การเห็นผิดในลักษณะของสภาพธรรม ที่รวมกันเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เป็นเรา

    ผู้ฟัง ชินยังไม่เข้าใจ เรา ความหมายของเราตรงนี้

    ท่านอาจารย์ มีคุณชินในห้องนี้หรือปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละ สักกายทิฏฐิ

    ผู้ฟัง คือเห็นทุกอย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อน

    ท่านอาจารย์ รูปก็เป็นคุณชิน ความรู้สึกก็เป็นคุณชิน ความจำก็เป็นคุณชิน โลภะ โทสะ ก็เป็นคุณชิน จิตก็เป็นคุณชิน

    ผู้ฟัง ถามเกี่ยวกับเรื่องอายตนะ ธาตุ ดิฉันมีความคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นอายตนะ หรือธาตุก็แล้วแต่ แต่ถ้าเผื่อสภาพธรรม เกิดขึ้นรู้ มันก็เป็นลักษณะเดียวกัน สมมติว่ายกตัวอย่างว่า ถ้าจะพูดถึงทางอายตนะ การเห็นก็คือ จักขยาตนะ กับรูปายตนะ แล้วก็มี มนายตนะเกิดขึ้น ถ้าพูดถึงว่า เป็นทางธาตุ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุเกิดขึ้น ๒ อย่างนี้ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเผื่อสติปัฏฐานเกิด คือ มหากุศลญาณสัมปยุตต เกิดขึ้น รู้สภาพเห็น มันก็เป็นลักษณะเดียวกัน คือลักษณะเห็น มันไม่ได้แยกว่าเป็น ธาตุ หรือเป็นอายนตะ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ความรู้ของคุณบงจะเพิ่มขึ้นไหม

    ผู้ฟัง ตัวดิฉันพูดตรงนี้ หมายถึงจะได้คิดว่าจะคลายสงสัยไปไหมว่า เป็นธาตุ กับอายตนะที่เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลานี้ จากการฟัง ก็รู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ มีจริงๆ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ ถ้าใช้คำ ก็คือรูป หรือรูปธรรม หรือรูปธาตุ ไม่เป็นของใครเลย เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งกระทบตา แล้วก็ปรากฏ อย่างนี้เราก็เข้าใจได้ แล้วเรารู้จริงๆ หรือยังปัญญาของเราจะเพิ่มขึ้นได้ไหม จากการฟังแล้วเข้าใจ แต่สามารถที่จะรู้จริงในลักษณะของสภาพธรรมซึ่งไม่ใช่เรา แล้วแต่ว่าสภาพธรรมแต่ละอย่าง มีปัจจัยจะเกิดที่ไหน ตรงไหน เมื่อไร ก็ไม่ต้องคำนึงว่า นี่เกิดตรงนี้ แต่ว่าธาตุนั้นๆ มีปัจจัยเกิดขึ้นรู้ ไม่ว่าจะตรงนี้ ตรงนั้น บนสวรรค์ ในพรหมโลก หรือที่ไหนก็ตามแต่ ธาตุรู้เกิดขึ้นก็เห็น ก็ได้ยิน เป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีปัจจัยปรุงแต่งก็เกิด แล้วก็ดับไป อย่างนี้จะทำให้เห็นความไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนเพราะว่าแยกขาดจากรูป ไม่เกี่ยวข้องกับรูปว่า จะต้องเกิดตรงนี้ รูปนี้ ใช่ไหม แต่ว่ารูปก็คือรูป จะมีนามธรรมเกิดหรือไม่เกิด รูปก็คงเป็นรูป แต่เวลาที่นามธรรมเกิด นามธรรมก็คงเป็น นามธรรม คือเป็นธาตุรู้ หรือเป็นสภาพรู้ แล้วความรู้ของเรา ที่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไหม หรือแค่นี้เอง จบ หรือว่าจะต้องรู้อีก เพิ่มขึ้นอีก ละเอียดขึ้นอีก เพื่อที่จะละคลายมากขึ้นจนสามารถที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ไม่มีความสงสัยในพยัญชนะ ที่ว่าอายตนะ ตรงไหน เมื่อไร แล้วลักษณะของธาตุเป็นอย่างไร ธาตุแต่ละธาตุ ต่างกันอย่างไร ความรู้ต้องเพิ่มขึ้น ถ้าไม่เพิ่มขึ้นก็ละความเป็นตัวตน ประจักษ์แจ้ง ลักษณะของนิพานไม่ได้ ถ้าเพียงแต่รู้แค่นี้

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าจักขุวิญญาณเกิดขึ้น เห็นสี สติปัฏฐานสามารถที่จะเกิดรู้ เจตสิกก็ได้ ใช่ไหม ไม่ได้เจาะจงว่าขณะที่จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นเห็นในสภาพที่เห็น สี เราจะรู้สัพพจิตสาธารณะ ๑ ในนั้นไม่ได้

    ท่านอาจารย์ สติระลึก รู้ได้ทุกอย่าง ปัญญา รู้ได้ทุกอย่างแต่ว่า เขาคือใครที่รู้

    ผู้ฟัง เขา คือ ตัวปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาของใคร

    ผู้ฟัง ไม่มีของใคร

    ท่านอาจารย์ มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไหม มีท่านพระสารีบุตรไหม มีพระมหาโมคคัลลานะไหม จิตเห็น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยกี่ดวง

    ผู้ฟัง มีเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ทีละนิด ทีละน้อยก็ค่อยๆ เข้าใจไป เก็บไป อย่าคิดว่า เราจะเสียหายอะไร ที่จะต้องไปรู้ เดี๋ยวรู้อย่างนี้ ข้ามไปข้ามมา แต่ความริงไม่ข้าม เข้าใจตรงนี้ก็จะเข้าใจจิตอื่นๆ ด้วย

    ผู้ฟัง ขอโทษ ๗

    ท่านอาจารย์ มี ๗ นี่ถ้าเราไม่ลืม ถามเมื่อไรก็ตอบได้ ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย เป็นอเหตุกจิต แล้วก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย กี่ดวง

    ผู้ฟัง ไม่มี อเหตุกเจตสิก เกิดร่วมด้วยกี่ดวง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ จิตเห็น ของคุณชิน มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย กี่ดวง

    ผู้ฟัง ๗ ดวง

    ท่านอาจารย์ เจตสิก ๗ ดวงนั้น เป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง ชาติสาธารณะ

    ท่านอาจารย์ การเรียนทำไม เราต้องเรียงตามลำดับ ใช่ไหม เป็นเรื่องๆ เพื่อที่จะได้ เราไม่สับสน ถ้าเรียนเรื่องชาติ จำไว้ได้เลย มี ๔ ชาติ ชา-ติ แปลว่าการเกิด จิตที่เกิดหนึ่งขณะ เกิดเป็นอะไร เกิดเป็นกุศล หรือว่าเกิดเป็นอกุศล หรือว่าเกิดเป็นผลคือวิบาก หรือว่าเกิดเป็นกิริยา ไม่ใช่ทั้ง กุศลไม่ใช่ทั้งวิบาก เป็นกิริยา เราต้องรู้ เรื่องชาติ เจตสิกมีชาติไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มี กี่ชาติ เจตสิกมีกี่ชาติ อะไรบ้าง

    ผู้ฟัง คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยา เพราะว่าต้องตามจิต

    ท่านอาจารย์ วิบากเจตสิกเกิดดับกุศลจิต ได้ไหม

    ผู้ฟัง วิบากเจตสิก ไม่ได้ เพราะว่ามันชาติ ไม่เดียวกัน

    ท่านอาจารย์ นี่ เราถึงต้องเข้าใจจริงๆ แล้วจะไม่สับสน ใช่ไหม กุศลเจตสิก เกิดกับอกุศลจิต ได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ กิริยาเจตสิกเกิดกับวิบากจิตได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้กับพระอรหันต์

    ท่านอาจารย์ ตั้งตนใหม่ ต้องตั้งต้นใหม่แล้ว ไม่เป็นไร ตั้งต้นใหม่ก็ได้ ให้แน่นๆ ให้มั่นคง เรื่องชาติของจิต ๔ ชาติ ไม่ลืม ก่อนที่เราจะก้าวไปถึง จิตประเภทต่างๆ ถ้าเราไม่มีพื้นฐาน ความเข้าใจ เราก็ต่อไปไม่ได้เลย เราก็ล้มครืนๆ เพราะฉะนั้น การที่จะศึกษาธรรมโดยที่เข้าใจริงๆ โดยไม่ต้องท่องก็คืออาศัย ความเข้าใจ ว่าจิตของทุกคนไม่ว่าจะเกิดในภูมิไหน ในมนุษย์ บนสวรรค์ เป็นรูปพรหม อรูปพรหมก็ตามแต่ จิตทั้งหมด จะต่างกันเป็น ๔ ชาติ จิต ๑ ก็เป็นชาติ ๑ จิตใดที่เป็นกุศล จิตนั้นเกิดขึ้นเป็นกุศลแล้ว จะเป็นอกุศลไม่ได้ จิตที่เกิดขึ้นเป็นวิบาก เป็นผลของกุศล อกุศล ก็จะเกิดขึ้นเป็นกุศลไม่ได้ ต้องใช้คำเต็ม กุศลวิบากเป็นกุศลวิบาก เป็นผลของกุศลกรรม อกุศลวิบากเป็นผลของอะไร อกุศลกรรม วิบากเป็นผลของอะไร ของกุศล หรือ อกุศล กิริยาจิตเป็นผลของอะไร ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก ก่อนเห็นมีกิริยาจิต ไหม ก่อนจักขุวิญญาณจิตเกิด มีกิริยาจิตไหม มี อะไร

    ผู้ฟัง ปัญจทวารา

    ท่านอาจารย์ ปัญจทวาราวัชชนะ มาจากคำว่า อาวัชชนะ ทวาร ปัญจ ปัญจ คือ ๕ ทวาร ก็ทางหรือประตู อาวัชชนะ ก็รำพึงถึงหรือนึกถึงก็ได้ ก่อนเห็นคุณชินนึกถึงอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก่อนเห็น ไม่ ก่อนเห็นคือเป็นทวาร

    ท่านอาจารย์ ก่อนเห็น มีปัญจทวาราวัชชนจิต แต่เราไม่ได้นึกถึงอะไร เร็วเกินว่าที่เราจะรู้ ไม่ใช่นึกถึงเป็นเรื่องเป็นราวว่าเรา ไปไหน ทำอะไร หรือไม่ใช่ เรานึกว่าขณะนี้มี รูปารมณ์กระทบจักขุปสาท ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่เมื่อเห็นเกิด รู้ได้ว่าก่อนเห็น ต้องมี ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิด ถ้าไม่มีปัญจทวาราวัชชนจิตเกิด จักขุวิญญาณจิตเกิดไม่ได้ การเกิดดับของจิตต้องสืบต่อตามลำดับ

    วันนี้มีวิบากจิตไหม มี วันนี้ใครไม่มีวิบากจิตบ้าง วิบาก คือผลของกรรม จิตที่เป็นผลของกรรม วันนี้มีใครไม่มีวิบากจิตบ้าง ไม่มีเลย เพราะฉะนั้น การเรียนเรื่องของเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีประโยชน์มาก เพราะว่าเรียนเรื่องผลของกรรม ซึ่งแต่ละคนตั้งแต่เกิดมา ก็ต้องเป็นผลของกรรม ที่ทำให้เกิดต่างๆ กัน แล้วเมื่อเกิดแล้ว ชีวิตที่ต้องเป็นไป เห็นบ้างได้ยินบ้างก็ต่างกันไป ตามกรรมอีก เพราะฉะนั้น ก็ให้ทราบว่าขณะไหมที่เป็นผลของกรรม เราไม่ได้พูดเลื่อนลอย ว่าเป็นผลของกรรม แต่สามารถที่จะบอกได้ว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่ใช่วิบาก แต่ทวิปัญจวิญญาณจิต เป็นวิบาก ก็เป็นความละเอียดที่จะต้องรู้ว่าขณะจิตไหนเป็นวิบากจิต ขณะจิตไหนไม่ใช่วิบากจิต

    ผู้ฟัง หนูขอถามว่า อรูปพรหมก็ไม่มีวิบาก ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ มีปฏิสนธิจิตไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ปฏิสนธิจิต เป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง วิบาก อย่างนั้นเขามีวิถีจิตหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เกิดเป็นพรหมแล้วก็ไม่มีวิถีจิตเลย แล้วจะเป็นอะไร มีแต่ปฏิสนธิ แล้วก็เป็นภวังค์ เป็นไปไม่ได้ นอกจาก อสัญญสัตตาพรหมภูมิ ภูมิเดียว ที่ไม่มี จิต เจตสิกเลย มีแต่รูปปฏิสนธิ แต่ถ้าในภูมิที่มีจิต ก็จะต้องมีมโนทวารวิถีจิตด้วย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กำลังจะให้ผมเข้าใจ ใช่ไหมว่า ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้กระทบสัมผัส หรือ คิดนึกเป็นธรรมอย่างไรในชีวิตประจำวัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่ เป็นวิบาก คือเราพูดถึงเรื่องกรรมกับผลของกรรม แต่เราต้องละเอียดกว่านั้น เมื่อไรเป็นผลของกรรม วันนี้มีไหม ผลของกรรม ใครไม่มีผลของกรรมบ้าง ไม่มี

    ผู้ฟัง การเข้าใจเรื่องของกรรม และผลของกรรม รู้สึกว่าเป็นเรื่อง

    ท่านอาจารย์ แน่นอน แต่มีสภาพธรรม ว่าขณะที่เห็น เป็นผลของกรรม ไม่ใช่ไม่มีจิตเห็น แล้วก็บอกว่าเป็นผลของกรรม แต่บอกได้เลยว่ากำลังเห็นขณะนี้เป็นผลของกรรมเป็นจิตที่เป็นผล ไม่ใช่จิตที่เป็นเหตุ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น การระลึกรู้สภาพธรรม จะเป็นผลของกรรม หรือว่าจะเป็นตัวเหตุ เป็นนามธรรมเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ การระลึกรู้ไม่ใช่จิตเห็น จิตเห็น เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ จิตได้ยินก็รู้เฉพาะเสียง จิตได้กลิ่น ก็มีกลิ่นที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ จิตที่ลิ้มรสก็กำลังมีรสเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น ขณะที่เกิดการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องไม่ใช่จิต ๑๐ ดวงนี้ ไม่ใช่จิตที่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

    ผู้ฟัง ความรู้เหล่านี้ก็เป็นความรู้ที่เข้าใจทีหลัง หรือว่าเข้าใจจากการศึกษา

    ท่านอาจารย์ ต้องมีการศึกษา ต้องมีการฟัง ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมใครจะคิดว่ามีจิต ๔ ชาติ อย่างรวดเร็วที่ชาติหนึ่งเป็นกิริยา อีกชาติหนึ่งเป็นวิบากสืบต่อกัน

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าจักขุปสาทเสีย วิบากก็ไม่เกิดขึ้นทางตา หรือ

    ท่านอาจารย์ คุณบง คิดถึงคน แล้วก็จักขุปสาทเสีย แต่เรากำลังพูดถึงเรื่องจิต

    ผู้ฟัง แต่ก็หมายความว่าจิตไม่สามารถเกิด

    ท่านอาจารย์ ขณะใดซึ่งเป็นจิต หมายความว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างกันไป ถ้าพูดถึงวิญญาณธาตุ ต่างกันเป็น ๗ ธาตุ เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องทราบว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เราไม่ได้พูดเรื่องคนประสาทเสีย หรือจักขุปสาทเสีย หรืออะไรอย่างนั้น แต่เราพูดถึงเรื่องจิต เรากำลังศึกษาเรื่องจิตประเภทต่างๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจเรื่องจิต แล้วเราก็สมมติว่าเป็นคนโน้น คนนี้ คนนั้น เป็นสัตว์ชนิดนี้ ชนิดนั้น ในนรก ในสวรรค์ ในพรหมโลก ก็เป็นการให้รู้ว่าจิตเหล่านั้นเกิดที่ไหน แต่ถ้าพูดถึง สภาพรู้ หรือธาตุรู้ ก็คือรู้ลักษณะของสภาพของธาตุนั้นๆ

    เป็นความจำเป็นที่จะต้องเข้าจิตถ้าจะศึกษา ให้เห็นความเป็นอนัตตา จะเห็นได้จริงๆ จากการยิ่งเข้าใจลักษณะของจิตโดยประการต่างๆ ก็ยิ่งเห็นความเป็นอนัตตาขึ้น แม้เพียงชั่วขณะที่เห็น รูปที่ยังไม่ได้ดับ เพราะรูป รูปหนึ่งจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ หรือขณะที่ได้ยินเสียงที่ยังไม่ดับ เพราะว่าเสียงก็จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ก็จะรู้ได้ว่าใน ๑๗ ขณะนี้ มีจิตต่างประเภทเกิดขึ้น ที่เกิดก็ต่างกันด้วย อย่างภวังคจิตเกิด ที่หทยรูป ปัญจทวาราวัชชนะ ก็เกิดที่หทยรูป แต่พอถึงทวิปัญจวิญญาณ เช่น จิตเห็น เกิดที่จักขุปสาทรูป จิตได้ยินก็เกิดที่โสตปสาทรูป

    เพราะฉะนั้น ยิ่งศึกษาละเอียด ก็เพื่อที่จะให้คลาย การยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน แม้ในขั้นการพิจารณา ยังไม่ได้ประจักษ์ แล้วก็แล้วแต่ว่าใครสามารถจะประจักษ์ได้ ไม่ใช่ว่าเราหวัง จะประจักษ์รูปนั้น นามนี้ แต่ว่าทั้งหมดเพื่อละ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าสติปัฏฐานจะเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมใด เพื่อรู้แล้วละ ไม่ใช่เพื่อต้องการจะไปรู้อย่างอื่น ซึ่งยังไม่ปรากฏแล้วก็สงสัย เพราะว่าเมื่อสิ่งนั้นไม่ปรากฏก็ต้องสงสัย แล้วก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่การศึกษาแล้วมีความมั่นคง ในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง เช่น เรื่องชาติของจิต อย่างไรๆ วันนี้ก็ขอให้เอากลับไปบ้านด้วย คือชาติของจิตอย่าลืม จิตจะต้องมีชาติ ชา-ติ แปลว่าการเกิดขึ้น เกิดขึ้นเป็นกุศล ก็เป็นกุศล เปลี่ยนไม่ได้ เกิดขึ้นเป็นอกุศล ก็เป็นอกุศล ชั่วขณะที่เกิดแล้วดับเปลี่ยนไม่ได้ เกิดขึ้นเป็นวิบาก คือผลของกรรม ก็จะให้เป็นกุศล หรืออกุศล ซึ่งเป็นตัวเหตุไม่ได้ แล้วเมื่อเกิดเป็นกิริยา ก็จะเป็นกุศล หรืออกุศล หรือวิบากไม่ได้ เพราะว่าจิตขณะหนึ่งเกิดขึ้นก็ต้อง เป็นชาติหนึ่งชาติใด

    เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาเรื่องของ อเหตุกจิต หมายความว่าไม่มีเจตสิก ๖ ดวง ซึ่งเป็นเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วย ส่วนจิตอื่นนอกจากนี้ทั้งหมด เป็นสเหตุกะ เติมบาลีอีกนิดหนึ่ง

    อเหตุกะ แปลว่า ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    สเหตุกะ แปลว่า มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย

    สำหรับเหตุ ธรรมที่เป็นเหตุ จะต้องได้แก่เจตสิกเท่านั้น จะไม่ได้แก่จิต ไม่ว่าจิตประเภทใดทั้งสิ้น ต้องได้เฉพาะ กับเจตสิก ๖ ดวง คือ โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ เป็นอกุศลเหตุ อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ อโมหเจตสิก ๑ เป็นโสภณเหตุ ต้องเรียกชื่อให้ถูกด้วย เพราะว่า เกิดกับกุศลก็ได้ วิบากก็ได้ กิริยาก็ได้

    ผู้ฟัง อาจารย์ ส่วนมากที่เกิดก็คือ วิบากให้รู้ ว่ามันทำอะไรไม่ได้ อย่างนั้นหรือเปล่า หรือมันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็ให้รู้ ความวิจิตรว่าวิบากก็มีหลายประเภท วิบากทางตาก็คือเห็น วิบากทางหูก็คือได้ยิน ถึงแม้ว่าเป็นวิบาก แต่ว่าต่างกัน โดยการที่ว่าอาศัยทวารต่างกันเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง อย่างนั้น ความหมายคือ ทั้งชาตินี้ ก็คือวิบากเกิดขึ้นมากกว่า ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ นอกจาก ชวนะ สำหรับคนธรรมดาสำหรับโลกียะ แต่ถ้าเป็นโลกุตตรจิต วิบากจิตทำชวนะกิจได้ นี้เป็นเรื่องที่เราจะค่อยๆ ศึกษาไป ตามลำดับ อย่างถ้าจะพูดถึงเรื่องเหตุ ก็ให้ทราบได้เลยว่า ขณะไหนมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย อย่างภวังค์ หรือปฏิสนธิจิต เราไม่ได้พูดถึงจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย แต่เรากำลังจะพูดถึง ปฏิสนธิจิต มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี ถ้าเป็นสเหตุกะ

    ท่านอาจารย์ เหตุ อะไร

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นสเหตุกวิบาก

    ท่านอาจารย์ แล้วถ้าไม่เป็นมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ คือ

    ผู้ฟัง สันตีรณะ อกุศลวิบาก ทำกิจปฏิสนธิ นี่ก็แสดงว่าเราเริ่มเข้าใจแล้วว่า ปฏิสนธิต่างกันเพราะจิตต่างกัน จิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ขณะที่ปฏิสนธิก็มี จิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วยในขณะที่ปฏิสนธิก็มี แล้วเราก็จะเรียนความละเอียดไปอีกว่าทำไมจิตนั้นไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย แล้วทำไมจิตอีกประเภท ๑ ที่ทำกิจปฏิสนธิ จึงมีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง ตรงที่สันตีรณะ นำเกิดไปอบาย มันน่าจะมีเหตุที่ไม่ดี เกิดร่วมด้วย

    ท่านอาจารย์ ชาติของเจตสิก หรือจิต สำหรับอกุศลเจตสิก มีชาติเดียว คือเมื่อเกิดขึ้นขณะใด เป็นอกุศลจิต อกุศลเจตสิกจะไม่เกิดกับวิบากจิต จะไม่เกิดกับกิริยาจิต จะไม่เกิดกับกุศลจิต เมื่อเกิดกับจิตใด จิตนั้นเป็นอกุศล จะเป็นวิบากไม่ได้

    ผู้ฟัง ตรงนี้ก็เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ จักขุวิญญาณ อกุศลวิบากของ คุณบง ก็ต้องมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่จะเป็นอย่างนั้นไม่ได้เลย

    เราก็ทราบว่า มีคนจากเราไป วันหนึ่ง ก็ไม่น้อย แต่ว่าคนไหนจะทำให้เกิดเป็นความทุกข์มากหรือน้อย ก็แล้วแต่การสนิทสนมคุ้นเคย ถ้าเป็นคนที่เราไม่รู้จักเราก็อ่านข่าวแล้วก็ผ่านเลยไป เพราะเหตุว่าโลภะ ความติดข้องในบุคคลนั้นไม่มีมากพอ ที่จะทำให้เราเกิดความโศกเศร้าได้ แต่ว่าผู้ที่เป็นที่รัก ถ้าจากไปทุกคนแม้แต่ท่านพระอานนท์ เวลาที่พระผู้มีพระภาค ทรงดับขันธปรินิพพาน ท่านก็เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก คิดถึงระดับของผู้ที่มีปัญญา ระดับพระโสดาบันบุคคล แต่ว่าเมื่อต้องพลัดพรากจากผู้ที่คุ้นเคย ผู้ที่เป็นผู้ที่เคารพอย่างสูงสุด ความรู้สึกของผู้ที่มีอกุศลจิต อยู่ก็ย่อมจะเศร้าโศกเป็นธรรมดา

    แต่ว่าพระธรรม หรือว่าชีวิตของเราทุกคน ในวันหนึ่งๆ เป็นพยาน คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเรามีความทุกข์มาก ทรงแสดงไว้เลย โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ แล้วแต่กำลังของความทุกข์นั้น ที่จะปรากฏ แต่ทุกข์ทั้งหมดต้องมาจากความติดข้อง แล้วก็ความติดข้อง และทุกข์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จรมา หรือทุกข์ประจำ ก็มาจากความเกิด

    การศึกษาธรรมก็จะทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจความจริง ของสภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรม แม้แต่คำที่ใช้คำว่า ผู้เป็นที่รักเคารพ สำหรับผู้ที่ใกล้ชิด ก็เป็นที่รัก ในความคุ้นเคยสนิทสนม แต่ผู้ที่เคารพ ถ้าไม่มีคุณความดี คนอื่นก็คงจะไม่เคารพ

    แต่ละชีวิตที่จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้ แล้วก็จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นต่อไป เราก็จะเห็นมากมายตั้งแต่ในครั้งพุทธกาล ที่ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก หรือถึงแม้ชีวิตของพวกเรา ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน ทุกคนเคารพในคุณความดี คือไม่มีอย่างอื่นที่จะเคารพ ถ้าไม่เคารพในสิ่งที่ดี แล้วจะเคารพในอะไร

    การที่แต่ละคนจะมีความรักเคารพบุคคลใด ก็ต้องแยกตามความเป็นจริงว่า ส่วนที่รักเป็นเรื่องของความสนิทสนมคุ้นเคย ใกล้ชิด ทำให้มีความผูกพัน แล้วเวลาที่พลัดพรากจากไปก็เป็นทุกข์ แต่เรื่องของความเคารพ นั่นคือเคารพในคุณความดี ซึ่งเป็นโสภณธรรม ซึ่งบุคคลนั้นได้สะสมมา

    ถ้าเราคิดถึงความดีของใคร คงไม่ได้ทำให้เราเศร้าโศก เราก็เบิกบานที่บุคคลผู้นั้น ได้สะสมความดีมา แต่ว่าถ้าคิดถึงเรื่องคนดี อาจจะอีกเรื่องหนึ่ง คือมีบุคคลดี ซึ่งทำให้เราคิดถึงความเป็นบุคคล แต่ถ้าคิดถึงความดี คือธรรม ซึ่งเป็นฝ่ายดี ก็จะทำให้เราเห็นว่า ความดีเป็นสิ่งที่น่าเคารพ ไม่ว่าจะเป็นความดีของบุคคลใด วัยใดเพศใดก็ตามแต่ ก็เป็นสิ่งที่ควรจะเคารพ แล้วธรรมที่ควรเคารพ ซึ่งเป็นความดีสูงสุดก็คือ ธรรมรัตนะ เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจธรรมยิ่งขึ้น เราก็จะเป็นผู้ที่ได้เข้าใจความหมายถึงว่า การเคารพที่แท้จริง เคารพคุณความดีตั้งแต่เรื่องเล็ก จนกระทั่งเรื่องที่สูงสุด แล้วการที่เราจะมีการที่จะมีความดียิ่งขึ้น มีหนทางเดียว เพราะว่าชาติก่อน เราจะเป็นใคร มาจากไหน ก็ไม่ทราบ แต่ว่าเราทุกคนยอมรู้จักตัวเองดี

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567