ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๗๒

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น หน้าที่คือเข้าใจปรมัตถธรรมให้มากขึ้น เพราะว่าบัญญัติเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่แล้ว ไม่มีใครไม่รู้บัญญัติ

    ผู้ฟัง มี อสัญญสัตตาพรหม

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร ถึงไม่รู้บัญญัติ

    ผู้ฟัง เพราะไม่มีจิต

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง อาจารย์พูดถึงคำนี้พอดีเลย แล้วผมก็ทำอย่างไร ผมก็ไม่เข้าใจคำว่า อสัญญสัตตาพรหม มันจะอยู่กันได้อย่างไร ถ้าเผื่อไม่มี คือมีอย่างหนึ่ง แล้วไม่มีอย่างหนึ่ง อยู่กันได้อย่างไร

    ส. คุณเด่นพงษ์ ถ้าเราทราบความต่างกันโดยสิ้นเชิง แยกขาดจากกันโดยเด็ดขาดของนามธรรมกับรูปธรรมจะไม่มีความสงสัยเลย นามธรรมล้วนๆ คืออย่างไร ไม่ต้องมีรูปเลยก็ได้ เช่น ในขณะที่คิดนึก แม้ว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือในภูมิมนุษย์ หรือสวรรค์ หรือรูปพรหม จิตต้องเกิดที่รูป แต่ขณะนั้นเมื่อรูปไม่ได้ปรากฏ ไม่มีรูปปรากฏเลย มีแต่เฉพาะธาตุรู้ หรือนามธรรมเท่านั้น ไม่มีรูปธาตุเลย ผู้นั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ นามธาตุล้วนๆ มีได้ เพราะเหตุว่าเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ ไม่จำเป็นต้องมีรูป

    แต่ว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ที่เราติดในสิ่งที่ปรากฏทางตา สีสันวัณณะสวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อย สิ่งที่กระทบสัมผัสที่สบาย ก็เพราะเหตุว่า อยู่ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เพราะฉะนั้น เมื่อมีจิตเกิด ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วสิ่งที่จิตรู้ เป็นประจำ ก็คือ สีสันวัณณะที่ปรากฏทางตา เสียง กลิ่น รส สัมผัส จึงมีการติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส สัมผัสที่ปรากฏ เราดูเหมือนกับว่า เราจะขาดรูปไม่ได้ แต่ถ้ารู้ลักษณะที่แยกขาดจริงๆ ของนามธรรม กับ รูปธรรม จะรู้ได้เลย นามธรรมล้วนๆ คือ ธาตุรู้ สภาพรู้ ไม่เกี่ยวข้องกับจิต แม้ว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตต้องเกิดที่รูป แต่ว่าเมื่อขณะนั้น รูปไม่ได้ปรากฏก็จะรู้ว่า เฉพาะนามล้วนๆ คืออย่างไร แล้วเวลาที่รูปปรากฏ ขณะนั้นก็เป็นรูป ไม่มีสิ่งอื่นเจือปนเลย ต้องรู้ลักษณะที่ต่างกันชัด

    ผู้ฟัง เรารู้ว่ารูป คือ สิ่งที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย

    ผู้ฟัง ไม่รู้อะไรได้เลย แล้วนามรู้อะไรได้ ถ้าเป็นแบบ อสัญญสัตตาพรหม คือไม่มีนาม

    ท่านอาจารย์ มีแต่รูปปฏิสนธิ

    ผู้ฟัง เขาก็รู้อะไรไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่า คนที่สามารถที่จะมีแต่นามปฏิสนธิ มี คนที่สามารถที่จะมีแต่ รูปปฏิสนธิ มี เพราะฉะนั้น จึงมี เอกโวการภพ เพียงขันธ์เดียว คือ รูปขันธ์เท่านั้นที่เกิด หรือว่ามี ๔ ขันธ์ คือ นามขันธ์เท่านั้นที่เกิด เป็นอรูปพรหมไม่มีรูปเลย หรือว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็ต้องมีทั้งนามธรรม และรูปธรรม จึงต่างกันเป็นภพภูมิต่างๆ

    ผู้ฟัง ถ้ามีแต่นาม นี้ผมพอจะฟังได้ พอจะไปด้วยได้ แต่ว่าถ้ามีแต่รูป ไม่มีนาม เขาจะเข้าใจอะไรก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ มันก็เหมือนโต๊ะ เหมือนเก้าอี้ อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีจิต เจตสิกเลย ว่างเว้นจากการรู้ ๕๐๐ มหากัป เพราะฉะนั้น เราจะไม่รู้ลักษณะของปัญญา นอกจากเวลาที่ปัญญาเกิด ว่าปัญญาเมื่อเกิดแล้ว จึงสามารถที่จะคลายความไม่รู้ แล้วความเห็นผิดในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ต้องมีการคลาย ข้อความในพระไตรปิฎกทั้งหมด จะมีการละ จะมีการคลาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ว่าไปนั่ง แล้วปัญญาก็เกิด แล้วดับ อกุศลไปเลย เป็นไปไม่ได้เลย ปัญญาจะต้องค่อยๆ เพิ่มขึ้น แล้วก็มีการรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ

    การที่ปัญญาจะดับกิเลสได้ ต้องเป็นปกติจริงๆ เพราะเหตุว่าในขณะที่เห็น กิเลสก็เกิดแล้ว โดยไม่รู้ตัวเลย ขณะใดที่กุศลจิตไม่เกิด ขณะนั้นอกุศลจิตเกิดแล้ว อย่างบางเบาที่สุด เพราะฉะนั้น แม้แต่ อาสวะ ทิฏฐาสวะ ก็มีไม่ได้ หรือว่า ทิฏฐานุสัยก็มีไม่ได้ ทุกกองของกิเลส ที่เป็นทิฏฐิจะมีไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ดับอวิชชา ที่เกิดกับทิฏฐิด้วย แต่ว่าความที่กิเลสมีมาก แล้วก็สะสมมาเนิ่นนาน ผู้นั้นก็รู้ตัวตามความเป็นจริงว่า แค่เห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรม จนกระทั่งประจักษ์อริยสัจ ๔ ก็ยังไม่สามารถที่จะดับ กามาราคานุสัยได้ ยังมีความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ

    คนที่ไม่ศึกษา ก็จะเข้าใจว่าพระโสดาบัน เป็น พระอรหันต์ ก็รู้อย่างนี้ แล้วทำไมกิเลสไม่หมด ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรม แล้วทำไม กิเลสไม่หมด เพราะเหตุว่าเขาไม่ได้รู้กำลังของกิเลสเลย แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญปัญญาจริงๆ เป็นผู้ที่ตรง แล้วก็รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง

    ความเห็นผิด เกิดไม่ได้เลย แต่ปัญญาที่สะสมมา ก็รู้ว่าโลภะ หรือความติดข้องในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ก็เป็นสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เริ่มทีเดียว เขาจะไม่ได้ไปเห็นโทษ ของความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพียงแต่รู้ว่าแม้ขณะนั้นๆ ก็เป็นนามธรรม ซึ่งจะต้องดับความเห็นผิด ที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา โดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง

    ผู้ฟัง กามราคะที่ติดข้องในกาม ของพระโสดาบันก็จะต้องลดกำลังลงด้วย

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่บุคคล วิสาขานิคารมารดา ถ้าเห็นท่าน จะคิดอย่างไร

    ผู้ฟัง แต่ก็จะต้องลดระดับ จนกระทั่งไม่ทำทุจริต

    ท่านอาจารย์ ไม่เห็นผิด แน่นอน อันนั้นเป็นเรื่องที่แน่นอน

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นปุถุชน มีโลภะ จนกระทั่งสามารถ ทำให้ล่วงศีล ล่วงกรรมบถได้ แต่โลภะของพระโสดาบัน ที่ติดในกาม ไม่สามารถที่จะทำทุจริต หรือว่าล่วงอกุศลกรรมบถ

    ท่านอาจารย์ แต่ก็ยังเป็นโลภะ

    ผู้ฟัง แสดงว่าจะต้องลดกำลัง

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่มีความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ผู้ฟัง โทสะของท่านก็จะต้องลดกำลังลงด้วย

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ไปอบาย โดยนัยเดียวกัน คือที่จะเป็นกรรมบถ ถึงความเป็น กรรมบถ ที่จะให้ไปเกิดในอบายภูมิไม่มีเลย

    ผู้ฟัง ก็เลยทำให้คิดว่า ถ้าเป็นโลกุตตระปัญญาของ พระโสดาบัน ประหารกิเลสทุกประเภท แต่ว่ากิเลสที่ระดับต่ำ ถูกประหารโดยเด็ดขาด

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช้คำว่า ประหาร

    ผู้ฟัง ก็กิเลสที่จะทำให้เกิดในอบาย ก็ถูกละไป

    ท่านอาจารย์ เท่านั้น แต่ยังอยู่ ยังไม่หมด

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น การที่สติปัฏฐาน เกิดขึ้น ขณะนั้น ถ้ามีปัญญาจริงๆ ถ้ากิเลสจะถูกคลาย ก็น่าจะหมายถึงว่า คลายทุกประเภทด้วย

    ท่านอาจารย์ คลายความไม่รู้ กับความเห็นผิด ที่เป็นนามธรรม ที่ยึดถือนามธรรม รูปธรรม ว่าเป็นตัวตน หนักหนาสาหัส แค่นี้ ไม่ใช่ว่าง่ายๆ เลย กว่าจะหมดจริงๆ จากทุกอย่าง ซึ่งเป็นชีวิต ตามปกติ ตามความเป็นจริง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นโดยสถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

    เมื่อสติเกิดจะต้องรู้ในสภาพที่ ขณะนั้นเป็นปรมัตถ เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม อยู่ในโลกของปรมัตถธรรม เวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิดหรือว่า สติปัฏฐานเกิดนิดหน่อย เพียงชั่วขณะสั้นๆ ที่กำลังเริ่มอบรมเจริญปัญญา เพียงแต่เริ่มจะรู้ แต่ยังไม่ได้อยู่ในโลกของปรมัตถธรรม เพราะเหตุว่ายังมีความไม่รู้ในลักษณะของ นามทางหูบ้าง ทางใจบ้าง ทางตาบ้าง ทางนั้นบ้าง ทางนี้บ้าง หรือในรูป หรือในกิเลสต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้น แต่เวลาที่ปัญญาเกิดพร้อมสติ แล้วก็มีความรู้จริงๆ ในสภาพของนามธรรม และรูปธรรม อยู่ในโลกของธาตุรู้ ซึ่งมีสิ่งที่ปรากฏแล้วก็รู้ ความรู้ก็ต้องชินขึ้นเพิ่มขึ้น แต่ว่าในลักษณะของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน ยังไม่มีการที่จะพิจารณาต่อไป ในสิ่งซึ่งมีปัจจัยก็เกิด อย่างความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

    ต่อเมื่อใดที่เป็นพระโสดาบันบุคคล แล้วก็รู้ตามความเป็นจริง ว่าการติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มากมายแค่ไหน วันนี้ เทียบกับความเห็นผิดกับความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส อะไรมากกว่ากัน เราไม่ได้มีความเห็นผิด แต่เรามีความติดข้องในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส แล้วไม่ใช่เฉพาะวันเดียว หลายๆ วันตลอดในสังสารวัฏ ก็เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น คนนั้นก็เห็นตามความเป็นจริงว่า การติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี่สะสมมานานแสนนานมาก แต่ส่วนการที่เห็นผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลตัวตน ที่เที่ยงหรืออะไรอย่างนี้ ไม่มากเท่า ด้วยเหตุนี้แม้ว่าจะดับความเห็นผิด ที่ยึดถือนามธรรม รูปธรรม ว่าเป็นตัวตน ก็ยังเห็นกำลังของการสะสม ของความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นไม่ได้เข้าใจตัวเองผิดว่า เป็นพระสกทาคามี หรือเป็นพระอนาคามี หรือเป็นพระอรหันต์ แล้วก็รู้ว่าจะต้องอบรมเจริญปัญญาต่อไป โดยการที่ว่าแม้ความเห็นผิดไม่เกิด แต่ความติดในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส มีให้พิจารณา จนกว่าเริ่มเห็นจะว่าเห็นว่า เป็นนามธรรม ก็จริงแต่เป็นโทษ เพราะว่ารู้แล้วว่าเป็นนามธรรม ตอนแรกที่จะเป็นพระโสดาบัน หรือว่าเป็นพระโสดาบันแล้วก็รู้ว่า เป็นนามธรรมแต่ยังไม่เห็นโทษจนกว่า สติปัฏฐานจะเกิดอีก ถึงกาลสมควรที่จะเป็นพระอนาคาทันที ก็ยังไม่ได้ ต้องเป็น พระสกทาคามีบุคคลก่อน

    ผู้ฟัง แปลว่าท่านรู้ ความจริง รู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่ติดใจสงสัยเรื่องสภาพธรรม ความเป็นตัวตนก็ไม่มีแล้ว ไม่ยึดถือแล้ว ละสักกายทิฏฐิได้ ทั้งหมด

    ท่านอาจารย์ แต่อะไร ที่ยังมี

    ผู้ฟัง ทำไมยังมีโลภะ ยังรู้จักรัก จักใคร่อยู่

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นธรรมนี่ ท่านเห็นว่าเป็นธรรม ท่านไม่ได้เห็นว่าเป็นเรา เมื่อมีปัจจัยที่จะให้โลภะเกิดก็เป็นธรรมรู้ในความเป็นธรรม ของโลภะ

    ผู้ฟัง ตอนรักตอนใคร่ ลืมนึกถึงอนัตตาหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เห็นความจริงว่าเป็นธรรมไม่ได้ลืมเลย อะไรเป็นอนัตตา ธรรมต่างหากที่เป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง หมายความว่า ธรรม คือตรงนั้น โลภะ

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมทั้งหมด

    ผู้ฟัง โลภทิฏฐิคตวิปปยุตต มันเกิด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ใครที่ไปยับยั้งไม่ให้เกิด เมื่อมีปัจจัยเกิดก็รู้ตามความเป็นจริง ว่าเป็นธรรม ชนิดหนึ่ง

    ผู้ฟัง เมื่อมันเกิดก็แพ้มันทุกที

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้แพ้ ปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริงว่า เป็นธรรม เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญา สำคัญที่สุดคือปัญญา

    ผู้ฟัง พระโสดา ปัญญาของพระโสดาก็ขั้นหนึ่ง ปัญญาของพระอนาคามีก็อีกขั้นหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ตามลำดับ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

    ผู้ฟัง ทีนี้พอได้โสดาระดับโสดา แล้วโลภะ โทสะ โมหะ ที่ยังมีอยู่เนื่องจากว่าปัญญายังไม่แหลมคม ยังไม่เก่งกล้าถึงระดับ พระอนาคามี

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงระดับ พระสกาทาคามี

    ผู้ฟัง แล้วก็ต้องอาศัยการที่บำเพ็ญเพียรในการ ประพฤติให้อยู่ในศีล ๕ ให้ครบ

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องบำเพ็ญเพียร เป็นอัธยาศัยของท่าน ที่เป็นผู้สมบูรณ์ในศีล ๕

    ผู้ฟัง แล้วก็ตอนที่ปัญญาของท่านจะแหลมคม เก่งกล้า ก้าวไปถึงระดับ อนาคามี นี้

    ท่านอาจารย์ สกทาคามี

    ผู้ฟัง สกทาคามี ก่อน อาศัยปัญญา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องปัญญาอย่างเดียว

    ผู้ฟัง แล้วปัญญาตรงนั้น ทำอย่างไรถึงจะไปถึงตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ทำอย่างไร ท่านรู้หนทางว่าการอบรมสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ละ สมุทัย

    ผู้ฟัง ในเมื่อตอนที่เป็นพระโสดา สติปัฏฐาน ของพระโสดาก็คือ ได้ละสักกายทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ ท่านรู้หนทางแล้วว่า กว่าจะเป็นพระโสดาบัน เดินมาอย่างไร อบรมมาอย่างไร เจริญอย่างไร จึงได้เป็น ไม่ใช่ท่านไม่รู้ ท่านเป็นโดยไม่รู้ เป็นอุบัติเหตุ เป็นไปไม่ได้ ท่านเป็นผู้ที่รู้หนทาง

    ผู้ฟัง ปัญญาระดับโสดา จะละโลภะ โทสะให้น้อยลงๆ จนถึงสกทาคามี จนถึง อนาคามี ตรงนี้ มันเกิดได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เวลานี้ ที่มานั่งฟังกันอย่างนี้ มีตัวตนที่เป็นเราที่เห็นโทษของอวิชชา หรือเปล่า ที่มานั่งฟัง เพราะว่าเห็นโทษของความไม่รู้หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ ว่าไม่ใช่ ตัวตน จึงเข้าใจว่าเป็นเรา แต่ละคนมาศึกษา บางคนเขาก็ไม่เห็นเลย ว่า หิริ โอตตัปปะ เกิดกับกุศลจิต แต่ไม่ใช่เราที่ละอาย ว่าเราไม่รู้ แต่เป็นสภาพของเจตสิกที่เป็น หิริ โอตตัปปะ เร็วแสนเร็วที่เกิดกับกุศลจิต เพราะฉะนั้น ไม่ใช่มีเราไปต่างหาก ที่จะต้องละอายความไม่รู้ แล้วถึงได้มาเรียน คิดว่าเราต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ต้องไปคิดเลยว่าเป็นเรา เจตสิกทั้งหมดเกิดขึ้นทำหน้าที่ของเจตสิกนั้นๆ เพียงแต่ว่าเราไม่รู้ ก็เลยเป็นเรา แต่ถ้ารู้ก็รู้ว่าเป็นลักษณะของเจตสิกแต่ละอย่าง แม้แต่การที่สติปัฏฐานจะเกิด ก็ต้องมีปัจจัย มีหิริ โอตตัปปะ กว่าระดับเพียงขั้นฟัง เพราะว่ามีปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิดที่จะระลึก เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมทั้งหมดก็เพื่อที่จะให้เห็นว่าไม่มีเรา ถ้ายังมีเราเมื่อไรก็หมายความว่า สัจจญาณไม่มั่นคงเลย ไม่รู้ว่าการอบรมปัญญาละอนุสัยกิเลส

    ผู้ฟัง หมายความว่าพระโสดาบันก็เจริญสติปัฏฐานมากขึ้นๆ

    ท่านอาจารย์ ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นพระอรหันต์ หนทางเดียว

    ผู้ฟัง คือเพียรระลึกรู้อยู่ตลอด

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ ถ้ารู้หนทาง แล้วท่านก็ไม่ต้องเป็นผู้ที่ลำบาก เพียงแต่ว่าอัธยาศัยของท่านเป็นอย่างไร อย่างวิสาขานิคารมารดา จะให้ท่านเกิดเพียงชาติเดียวก็ไม่ได้ ไม่ใช่ว่าท่านไม่รู้หนทาง ท่านรู้ ท่านเป็นพระโสดาบัน แต่อุปนิสัย อัธยาศัย ตามความเป็นจริง นี่คือตามความเป็นจริง แต่ละคนจะไม่เสแสร้ง และไม่หลอกตัวเอง แต่รู้ตามความเป็นจริงว่าแต่ละคนจะเหมือนกันไม่ได้ เพราะฉะนั้น บางคนก็จะเกิด อีกเพียงชาติเดียวสำหรับ พระโสดาบัน บางคนก็อีก ๒, ๓ ชาติ แต่อย่างมากที่สุดก็ไม่เกิน ๗ ชาติ เว้นบางบุคคลซึ่งก็คงไม่ต้องกล่าวถึง แต่อย่าง วิสาขานิคารมารดา เราไปเร่งรัดให้ท่านเป็นบุคคลที่เกิดอีกชาติเดียวก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง หนูเข้าใจ พระโสดาบันพอเขาได้ศีล ๕

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ได้ศีล ๕ เป็น ธรรมดา ไม่อย่างนั้นบางคนก็คิดว่าเขามีศีล ๕ แล้ว เพราะฉะนั้น เขาเป็นพระโสดาบัน เขาไม่พูดถึงเรื่องปัญญาเลย แต่จริงๆ แล้วการที่จะดับกิเลส เป็นเรื่องของปัญญา

    ผู้ฟัง อย่างนี้พระโสดาบัน เขาก็เพียร ให้ถึงศีล ๘ เพื่อได้ อนาคามี

    ท่านอาจารย์ พระโสดาบันไหน เพียรให้ถึงศีล ๘ ให้ได้พระอนาคามี เพราะความไม่รู้ เพราะฉะนั้น คนนั้นก็ไม่ใช่พระโสดาบันแน่

    ผู้ฟัง แต่หมายความว่าขั้นตอนของการทำศีล ๘ ก็คงจะยาก

    ท่านอาจารย์ ศีล ๘ มีอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง ศีล ๘ ก็มีศีล ๕ แล้วบวกอีก ๓ ข้อ

    ท่านอาจารย์ บวกอีก ๓ แล้วก็ไม่ต้องเป็นเรื่องของปัญญาก็ง่ายมาก ใครก็ได้ทำไปตลอดชาตินี้

    ผู้ฟัง คิดว่ามันไม่ง่าย เพราะมันเป็นการลดละ มันเป็นการขัดเกลากิเลส

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ง่าย คืออัธยาศัยจริงๆ ไม่ใช่ทำเพราะคิดว่าจะเป็นพระอนาคามี

    ผู้ฟัง ต้องเป็น อัธยาศัย คือเกิดขึ้นมาจากข้างใน

    ท่านอาจารย์ เป็นคุณธรรม ซึ่งไม่มีใครจะไปแกะออกไปได้ หรือจะไปทำอะไรได้ เพราะว่าประจำตัว ประจำใจ ของพระอนาคามี

    ผู้ฟัง แต่เกิดมา มันก็เกิดจากการสะสมไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ คนที่จะมีอัธยาศัยที่จะรักษาศีล ๘ เป็นพระอนาคามี หรือเปล่า

    ผู้ฟัง คนที่จะมีอัธยาศัยที่จะรักษาศีล ๘ เป็นพระอนาคามี ยังไม่เป็น เพราะว่ากำลังจะก้าวไป

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็นก็ไม่เป็น จะก้าวไปอย่างไร

    ผู้ฟัง คิดว่าตัวเองจะก้าวไปตรงนั้นก็พยายาม จะทำไปถึงตรงนั้น คล้ายๆ อย่างนั้นในความรู้สึกที่อาจจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นเรื่องของการศึกษา ให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องของปัญญา ขณะนี้มีจิตไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เป็นกรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นกรรมอะไร

    ผู้ฟัง คงไม่ได้ทำกรรมอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ทำหรือ กำลังขณะนี้

    ผู้ฟัง คิด

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้ ขณะนี้เป็นกรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าคิด อะไร ก็ใช่

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้เลย ที่กำลังฟังธรรม เป็นกรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นกุศลกรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นกุศลกรรม เวลาที่กุศลกรรม คือกุศลจิตเกิด กรรมนี้เสร็จไปแล้ว ฟังธรรมนี้จบไปแล้ว เข้าใจแล้ว จะมีผลไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เมื่อไร

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ได้อย่างไร ทำบุ๊ปได้บั๊ป

    ผู้ฟัง ก็จิตผ่องใส

    ท่านอาจารย์ จิตผ่องใส่ต้องรู้ว่าเป็นเหตุ หรือเป็นผล

    ผู้ฟัง เป็นผล

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องทราบว่า จิตที่เป็นผล คือวิบากจิตได้แก่จิตอะไรบ้าง ต้องแยกกันตลอดชาติ จะมี จิตที่เป็นเหตุก็มี จิตที่เป็นผลก็มี จิตที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี แล้วจิตที่เป็นผลของกุศล คือกุศลวิบากก็มี จิตที่เป็นผลขออกุศล คืออกุศลวิบากก็มี ต้องชัดเจน ถ้าไม่ศึกษาไม่ชัด แล้วเรา ก็คิดเอาเอง ว่าอันนี้คงจะเป็นผล อันนั้นคงจะเป็เหตุ เพราะว่าจิตผ่องใส่ หรืออะไรอย่างนั้น แต่ความจริงทรงแสดงไว้ชัดมาก ว่าขณะใดเป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นวิบาก หรือว่าเป็นกิริยา ชัดกับไม่ชัด อย่างไหนจะดีกว่ากัน

    ผู้ฟัง ชัดดี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องเรียน ถึงจะชัด ถ้าคิดเอาเอง อย่างไรก็ไม่ชัด ถ้าไม่เรียน ขณะนี้รู้ว่ามีจิต แต่ จิตขณะนี้เป็นกุศลกรรม แล้วว่าวิบาก เมื่อไร ขณะไหน จะให้ผลเป็นวิบากเมื่อไร ขณะไหน

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะต้องเรียนแล้วจะทราบ ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริงๆ มี ๔ อย่าง ไม่ยากเลย ๔ อย่าง จิต๑ เจตสิก๑ รูป๑ นิพพาน๑ แล้วก็ต้องเข้าใจเรื่องจิต เจตสิก รูป นิพพาน มากขึ้นๆ จะได้รู้ว่าเป็นอนัตตาจริงๆ ทราบว่าสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ต้องเรียกอะไรเลย ไม่ต้องสร้าง ไม่ต้องทำอะไรแต่สิ่งนั้นมี สิ่งที่มีจริงๆ

    ผู้ฟัง สิ่งที่มีจริงๆ

    ท่านอาจารย์ มี ๔ อย่าง คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน แล้วค่อยๆ เข้าใจจิต ค่อยๆ เข้าใจเจตสิก ค่อยๆ เข้าใจรูป ค่อยๆ เข้าใจนิพพาน เห็นตรงนี้ก็มี ตรงโน้นก็มี บนสวรรค์ก็มี ในนรกก็มี รูปพรหมก็มี เห็น คือเห็น มีจริงๆ

    เราพูดเรื่องสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ของใคร แต่ว่าเกิดเมื่อไร มีเมื่อไร ตรงไหน ที่นั้นเป็นสภาพที่เป็นจิต หรือว่าเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป เพราะว่าธรรมจริงๆ มีเพียงจิต เจตสิก รูป เมื่อกี้เราพูดว่าปรมัตถธรรม มี ๔ ใช่ไหม จิต เจตสิก รูป นิพพาน พูดคำไหนก็ควรที่จะเข้าใจคำที่พูดให้มากขึ้น ไม่ใช่พอบอกว่ามีจิต เจตสิก รูป นิพพานก็จบ แต่จบไม่ได้เลย ต้องมี ความเข้าใจเพิ่มขึ้น จิตคืออะไร

    ผู้ฟัง สภาพรู้

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง อยู่ในใจเรา

    อย่างนี้ ก็คือว่าเราต้องตั้งต้นเรียนอีกแล้ว คิดเองหมดเลย

    ผู้ฟัง จิตไม่ได้อยู่ ในนี้หรือ

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง นี่ ในร่างกายเรามีจิต

    ท่านอาจารย์ กำลังเห็นเป็นจิตหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง กำลังเห็น นี่

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้รู้ว่าแข็งตรงไหนบ้างไหม

    ผู้ฟัง รู้

    ท่านอาจารย์ มีจิตไหมที่รู้ เป็นจิตหรือเปล่าที่รู้ ที่รู้แข็ง อยู่ตรงไหน จิตรู้แข็งอยู่ตรงไหน

    ผู้ฟัง ไม่มีตัวตน เป็นสภาพรู้

    ท่านอาจารย์ ในภูมิที่มีรูป จิตจะเกิดนอกรูปไม่ได้ ไม่ใช่ไปล่องลอยอยู่ตามอากาศ เพราะฉะนั้น เวลาฟังเรื่องไหน ก็ขอให้เข้าใจเพิ่มขึ้น อย่าคิดเอง ทีนี้เราไม่ต้องคิดเองเลย ตำรับ ตำรา พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ มีมาก ถ้าเราคิดเองเมื่อไร ผิดเมื่อนั้นเลย เพราะฉะนั้น ตั้งต้นใหม่ ก็คือว่า ได้ยินคำไหน แล้วอย่างเพิ่งผ่านไป แต่ต้องให้เข้าใจสิ่งนั้นเพิ่มขึ้นละเอียดขึ้น เช่น จิต รู้ ว่าเป็นอะไร

    ผู้ฟัง สภาพรู้

    ท่านอาจารย์ เป็นสภาพรู้อะไร

    ผู้ฟัง รู้ทุกเรื่องเลย

    ท่านอาจารย์ เช่น

    ผู้ฟัง เห็นก็รู้ว่าเห็น

    ท่านอาจารย์ จิตเห็นรู้อะไร

    วิทยากร. อะไรที่จิตเห็นได้ อะไร ทางตานี่ เห็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็เห็นภาพ สมมติ เห็นภาพคน เห็นก็ต้องเป็นภาพ ถ้าได้ยินก็ต้องเป็นเสียง

    ท่านอาจารย์ นี่เราก็คิดเองอีก ว่าเราเห็นภาพ แต่สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น เราต้องเรียกอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เราต้องเรียกอะไรหรือเปล่า ไม่ต้องเรียก

    ท่านอาจารย์ แต่มีจริงๆ อธิบายได้ไหมว่าอะไร ปรากฏทางตา

    ผู้ฟัง ถ้าเรามองอะไร มันก็เห็นไปทุกอย่าง ถ้าจะเรียกปรมัตถธรรม ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะที่เห็น จริงเมื่อไร

    ผู้ฟัง จริงเมื่อเห็น

    ท่านอาจารย์ เสียงมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ สภาพที่รู้เสียง เป็นจิต หรือเจตสิก

    ผู้ฟัง เป็นจิต

    ท่านอาจารย์ จิตรู้เสียง เสียงมีจริง ใช่ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เมื่อไร

    ผู้ฟัง เมื่อเสียงมากระทบหู

    ท่านอาจารย์ มา เห็นเสียง มาหรือ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567