ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๘๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๔


    วิทยากร พระรัตนตรัย เมื่อเข้าใจอย่าง ๑ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างหนึ่ง ก็ต้องเนื่องถึงกันหมด แยกกันไม่ได้เลย แยกกันไม่ออก เพราะฉะนั้น คำว่า นั่งใกล้ ทีนี้เราถึงแค่ไหนที่ว่านั่งใกล้ มานั่งใกล้ คือหมายความว่า เราเข้าใจพระธรรมที่พระองค์ตรัสสอน เหมือนอย่างที่พระองค์ ท่านเข้าใจ หมายความว่าพระพุทธองค์ท่านเข้าใจอย่าไร เราก็เข้าใจตามที่พระองค์ ท่านสอน

    เพราะฉะนั้น ถ้าเราฟังธรรมแล้วเรายังไม่เข้าใจ เราถือว่าเป็นผู้เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัยแล้วหรือยัง ก็ยัง แต่ว่าไม่ใช่หมดโอกาส คือพระธรรมไม่ใช่หมายความว่า ฟังหนเดียว หรือฟังเดือนหนึ่ง ปีหนึ่ง ๒ ปี แล้วจะเข้าใจ ก็ไม่แน่ บางท่านก็อาจจะนานหลายๆ ปี กว่าจะเข้าใจ แต่ว่า ไม่ละความพยายาม ยังมุ่งมั่นที่จะพยายามศึกษา เพื่อจะให้เข้าใจอยู่ เราตั้งใจไว้ดีแล้ว ก็ถือว่า เรากำลังเดินเข้าไปหาพระรัตนตรัย ส่วนจะได้นั่งใกล้แค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะเข้าใจพระธรรมได้แค่ไหน

    ผู้ฟัง แล้วต้องประกอบด้วย ทาน ศีล หรือเปล่า ขั้นฟังธรรม เข้าใจขั้นแรกอย่างผม อย่างนี้ อย่างขั้นแรก เราต้องประกอบกุศลด้วยทาน ศีล

    วิทยากร. ก็ไม่ต้องไปคำนึงถึง เรื่องทาน เรื่องศีล ขอให้ฟังให้เข้าใจก่อน เรื่องทาน เรื่องศีลจะมา ถ้าเราเข้าใจธรรมแล้ว เรื่องทานจะไม่มีเป็นไปไม่ได้เลย เรื่องศีลจะไม่มีก็เป็นไปไม่ได้ เข้าใจแล้ว ถ้าเข้าใจแล้ว จะมา ทานจะมา ศีล จะมา ถ้าเข้าใจธรรม เข้าใจจริงๆ แล้วจะมา

    ท่านอาจารย์ สงสัยว่าตัวเองเป็นอุบาสกหรือเปล่า ใช่ไหม สงสัยชื่อ ใช่ไหม เพราะว่าพุทธบริษัท มี ๔ ถ้าโดยชื่อต้องเป็นแน่นอน เพราะเหตุว่า ไม่ใช่บรรพชิต จะเป็นภิกษุ ก็ไม่ได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็น อุบาสก เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสิกาก็ไม่ได้ แต่ว่าเมื่อเป็นอุบาสกแล้วก็ควรที่จะทราบว่าความหมายของอุบาสก อย่างที่คุณนิพัฒน์กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ ผู้นั่งใกล้ นั่งใกล้เฉยๆ หรือว่านั่งใกล้อย่างไร นั่งใกล้เพื่ออะไร จุดประสงค์ที่มาใกล้ๆ เพื่ออะไร วันนี้ไม่ได้อยู่ข้างนอก ไม่ได้อยู่ตามถนน แต่เข้ามาใกล้ถึงตรงนี้ เพื่ออะไร ก็เพื่อที่จะฟังพระธรรมให้มีความเข้าใจ ผู้ที่เรามีความเคารพนอบน้อมสักการะสูงสุดซึ่งไม่มีผู้ใดเปรียบก็คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการเข้าใจธรรม ไม่มีทางที่จะรู้จักหรือว่าจะเห็น พระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เลย เห็นเป็นทองเหลือง หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ด้วยพระคุณ คือพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ

    ผู้ฟัง ได้ฟังเทปมา ก็ได้ยินถึงเรื่องเกี่ยวกับว่าการที่จะระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า แต่ว่าพระอานนท์เวลาที่ท่านระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ท่านก็ระลึกไป ถ้าไปในทางโลกียะ ก็คือ เทศนาญาณ ถ้าทางโลกุตตระก็คือ ปฏิเวธญาณ ทีนี้ ญาณตรงนี้ มันจะเกี่ยวอะไร

    ท่านอาจารย์ ธรรม ที่เป็นการศึกษามี ๓ ระดับ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติก็คือกำลังฟังเรื่องราวของธรรม เรื่องจิต เจตสิก รูป ปฏิปัตติถึงเฉพาะคือ สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงเรื่องราวเท่านั้น ปฏิเวธ คือประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมด จากการประจักษ์แจ้งคือ การตรัสรู้ ความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ

    ผู้ฟัง แสดงว่า พระอานนท์ท่านก็ต้องเห็นคุณ ของพระพุทธเจ้าที่ประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น ท่านจะมา ระลึกถึง พระพุทธเจ้า ท่านปฏิเวธ

    ท่านอาจารย์ ปัญญาของท่านพระอานนท์กับปัญญาของคนยุคนี้ สมัยนี้ห่างไกลกันมาก เพราะฉะนั้น การฟัง เราก็ฟังให้เข้าใจว่า ปัญญาระดับของท่านพระอานนท์ว่า คืออย่างไร มากมายขนาดไหน

    ผู้ฟัง ตอนที่สภาพที่เป็น ทาน ในขณะจิตที่เป็นทาน แต่ตอนที่วัตถุที่ให้ ตรงนั้น ถ้าสมมติว่า ไม่ใช่ของตนแต่เป็นของคนอื่นนั้น ในขณะนั้นก็คือไม่ใชทาน ใช่ไหม มันหลายขณะที่ไม่เหมือนกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจให้ถูกต้องว่า ทาน คือการให้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ สุขกับบุคคลอื่น เท่านี้ แล้วเรื่องอื่นก็ไปคิดว่า ขณะนั้นเป็นจิตอะไร ประเภทไหนต่อไปอีก ขณะที่เป็นทาน คือขณะที่ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่บุคคลอื่น

    ผู้ฟัง ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุ

    ท่านอาจารย์ ทีละขณะ เราเรียนเรื่องสภาพของจิตให้เข้าใจชัดเจน แต่ละขณะ ว่าขณะใด เป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศลประเภทใด เพื่อที่จะได้พิจารณารู้ตามความเป็นจริงแต่ละขณะ

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าขณะที่ของๆ คนอื่นให้ หรือ

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นจิตเป็นอะไร นี้คือจุดประสงค์ ที่ว่าเราต้องเรียนเรื่องจิตให้เข้าใจจริงๆ

    ผู้ฟัง หนูอยากจะเรียนถามว่า นอกจากการสะสมปัญญาเพิ่มพูนไปเรื่อยๆ นี้ มีธรรมข้ออื่นอีกไหม ที่ว่า ถ้าเราเจริญให้มากแล้วจะช่วยให้ วัฏฏะที่เหลืออยู่นี้ เราจะไม่ออกนอกทาง หรือหลงคิดผิดทางไปเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ใช่ มีหนทางเดียว ไม่ใช่มีหลายทาง

    ผู้ฟัง ต้องเป็นทางเดียวเลย ถ้าเกิดเราใช้การตั้งใจมั่น อธิษฐานว่า ให้เราพบพระธรรมไปเรื่อยๆ ช่วยได้ไหม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ถ้าพบแล้ว ต้องอธิษฐานไหม

    ผู้ฟัง ถ้าพบแล้วก็ไม่ต้องอธิษฐาน แต่เราก็ไม่ทราบว่าชาติต่อๆ ไป จะได้พบหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ความที่เรามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ในพระธรรม แล้วก็มีการรู้ว่า จะต้องสะสมอบรมเจริญปัญญาต่อไป เรื่องอธิษฐานไม่ใช่เรื่องทำ ที่เราจะเอ่ย แต่การกระทำพฤติกรรม หรือความเป็นไปของจิตใจของเรา หมายความถึงว่ามีความหนักแน่นมั่นคง ที่รู้ว่ามีหนทางเดียวจริงๆ ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว กุศลอื่นก็ไม่สามารถที่จะทำให้ออกจากสังสารวัฏได้ แล้วเราก็ไม่มีทางจริงๆ แม้ว่าจะทำกุศลมากมายมหาศาล ระดับไหน ทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งสมถะ ก็ยังต้องวนเวียนไปในสังสารวัฏ ไม่มีทางออก เป็นทางตันจริงๆ จนกว่าจะได้พบพระธรรมเมื่อไร แล้วก็มีการฟัง แล้วมีการเข้าใจพระธรรม จนกว่าจะเห็นจริงตามพระธรรม การที่เรามีความหนักแน่นอย่างนี้ แม้ว่าจะไม่เอ่ยเป็นคำพูดแต่ว่าการกระทำ ทั้งวาจาของเรา ทั้งใจของเรา ทั้งกายของเราในวันหนึ่งๆ ก็เป็นไปในการที่จะประพฤติปฏิบัติตามธรรม ก็ยิ่งกว่า อธิษฐาน เพราะว่าบางคนใช้เพียงคำพูด แต่ความจริงใจมากน้อยแค่ไหน

    เพราะว่าบางคนก็ได้ยินได้ฟังมาว่า ขอถึงพระนิพพาน เขาก็ไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร แล้วเขาก็ขอถึงพระนิพพานโดยไม่รู้ อาจจะโดยการที่ได้รับ คำสอนมา ถ้าเป็นคำสอนที่ถูกก็ดี แต่ถ้าเป็นคำสอนที่ผิด เช่น นิพพานเป็นสถานที่ที่สวยงามมาก มีทุกอย่างไม่เดือดร้อนเลย แล้วก็ขอถึงพระนิพพาน อย่างนั้นเวลาที่เขาพอถึงพระนิพพาน เขาจะไปไหน เพราะเขาเข้าใจนิพพานผิด เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ว่า เราจะต้องไปติดที่คำ แต่ความจริง ใจ ความมั่นคงของเราสำคัญกว่า ที่เราจะรู้ว่าเรามีความมั่นคงพอหรือยัง ถ้าไม่พอก็ศึกษาต่อไปให้มั่นคงขึ้น ส่วนคำ จะพูดอย่างไร เมื่อไรก็ได้

    เหมือนอย่างการสมาทาน การถือเอาศีล ๕ เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ถ้าขณะใดที่เราคิดจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดสิ่งที่ไม่จริง ไม่ดื่มสุราเมรัย อะไรตามศีล ๕ ถ้าเรามีการเกิดคิดอย่างนั้นขึ้น ขณะนั้นคือถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ แต่ไม่ได้หมายความว่า ตอนเช้าเราพูด ตอนบ่ายเราก็ไม่ทำ เพราะว่าเราไปสมาทานได้ ใครเขาให้เรา สมาทาน เราก็พูดตามได้ แต่ว่าความจริงใจ ความมั่นคง แค่ไหน

    เพราะฉะนั้น เรื่องธรรมเป็นเรื่องจริง แล้วก็เป็นเรื่องตรง แล้วเป็นเรื่องของเฉพาะของแต่ละบุคคลด้วย ต้องมีความเข้าใจจริงๆ ว่าขณะนั้น คือกุศล หรืออกุศล มั่นคง หรือไม่มั่นคงแค่ไหน ประกอบด้วยปัญญาหรือไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่ว่าถ้ายังคงหวั่นไหวอยู่ คิดว่าไม่มันคง ก็ขอให้กุศลทั้งหมด เป็นปัจจัยที่จะทำให้ได้มีการศึกษาธรรม ได้มีการเข้าใจธรรม สืบๆ ไปทุกภพทุกชาติ ถ้าเป็นความตั้งใจอย่างนี้ ก็มีโอกาสที่ว่าเมื่อได้เกิดมาในสถานที่ที่มีพระธรรมก็มีการได้ฟัง

    ผู้ฟัง ขอเปิดประเด็นสั้นๆ ที่ หลังจากที่ได้ฟังมานานพอสมควร เมื่อกี้ก็พูดกันถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน อีก คือผมก็พยายามทำอย่างไรให้มันเข้าใจ ให้มันเข้าใจ พยายามเขียนรูป เขียนภาพ เขียนแผนผังขึ้นมาให้มันทำความเข้าใจ มันก็ไม่เข้าใจ ทำอย่างไรมันก็ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงษ์ ทำอย่างนั้นสารพัดแล้ว คือ ทั้งเขียนรูป ทั้งเขียนภาพ ทั้งอะไร ก็ไม่เข้าใจ ก็หยุดเลย ไม่ต้องไปเขียนรูปเขียนภาพอะไร ฟังด้วยดี พิจารณาให้เข้าใจจริงๆ ว่าธรรม หมายความถึง สิ่งที่มีจริงๆ ไม่ต้องเรียกชื่ออะไรเลยทั้งสิ้น ชื่อคุณเด่นพงษ์ก็ไม่ได้มี จริงๆ เพียงแต่สมมติเรียก แล้วจะเปลี่ยนเมื่อไรก็ย่อมได้ ใช่ไหม แต่สภาพธรรมที่มีจริงเปลี่ยนไม่ได้ เป็นสิ่งที่มีจริง มีลักษณะปรากฏให้รู้ให้เข้าใจได้ ซึ่งมีความต่างเป็น ๔ อย่าง คือจิตก็เป็นจิตไมใช่เจตสิก เจตสิกก็เป็นเจตสิกไม่ใช่จิต แล้วก็ต้องเข้าใจความหมายด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ว่า จิตไม่ใช่เจตสิกไม่ใช่รูป แต่ไม่รู้ว่าจิตคืออะไร เจตสิกคืออะไร แต่พอพูดถึงจิตก็ต้อง เข้าใจว่าจิตคืออะไร พูดถึงเจตสิกก็ต้องพิจารณาฟังให้เข้าใจ ว่าเจตสิกคืออะไร ไม่ข้ามขั้น แล้วไม่ใจร้อน

    แค่ปรมัตถธรรม มีความเข้าใจมั่นคง ว่าพระธรรมที่ทรงแสดงจากการตรัสรู้ ความจริงว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ซึ่งต่างกับความคิดเดิมๆ เพราะว่าความคิดเดิมๆ ต้องเป็นความคิดของผู้ที่ไม่ใช่ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ได้ฌานก็ยังเป็นเขา ไม่ว่าจะเป็น รูปฌาน อรูปฌาน เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ได้ฟัง ต้องต่าง จากผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้ทรงตรัสรู้ว่าเป็นธรรมทั้งหมด แค่นี้ เป็นธรรมทั้งหมด แล้วเข้าใจว่าธรรมคืออะไร คือสิ่งที่มีจริง เข้าใจไปตามลำดับ เรื่องภายหลังก็จะมีเว้นมีเพิ่มอะไรต่างๆ แต่ก็ต้องเข้าใจว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ที่มีลักษณะปรากฏ ให้รู้ได้ให้เข้าใจได้ตามความเป็นจริง อย่างเห็น มีจริงๆ ไหม ถ้ามีจริงเคยเป็นเราเห็น แต่ความจริงเห็น เป็นเห็น เห็นเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ตรงนี้ก็เห็น ในน้ำเห็นมีได้ไหม ในอากาศเห็นได้ไหม เอารูปออกไปหมดเลย ไม่ใช่สัตว์เห็น คนเห็น แต่พูดถึงภาวะ หรือสภาพลักษณะที่เห็น ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง นี่คือไม่ต้องไปเขียนรูปตา ไม่ต้องไปทำอะไรหมด แต่ฟังให้เข้าใจ ว่ามีธาตุรู้ หรือสภาพรู้

    ผู้ฟัง ผมกำลังพยายามจะทำอย่างนี้ อาจจะผิดก็ได้ คือ จิต มันไม่รู้อยู่ที่ไหน แต่ถ้าไม่มีอารมณ์ มันก็ไม่มีจิต ถ้าไม่มีหน้าต่าง มันก็มองไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ เราไปคิดเรื่องราว แต่เราไม่ได้ย้อนมาฟังว่า ธรรมคืออะไร และจิตจริงๆ คืออะไร จิตเป็นนามธรรม หรือนามธาตุ ต้องรู้แล้วว่า คำนี้มีความหมายว่าอย่างไร หมายความว่าเดิมเรารู้จักรูปธาตุ สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัสได้ แต่ว่าถ้าไม่มีสภาพหรือธาตุอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างจากรูปธาตุโดยสิ้นเชิง เพราะเหุตว่าไม่มีรูปใดๆ เจือปนในธาตุนั้นได้เลย แต่ธาตุนี้ ต่างกับรูป เพราะเหตุว่า เป็นธาตุซึ่งเมื่อเกิดแล้ว ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ อย่างทางตาขณะนี้กำลังปรากฏ เป็นหนังสือเป็นคนอะไรก็แล้วแต่จะดิด แต่ต้องมีสภาพรู้คือเห็น สิ่งที่กำลังปรากฏ สีสันวัณณะต่างๆ ก่อน แม้แต่ที่รู้ว่าเป็นคน ก็เป็นธาตุรู้ โต๊ะเก้าอี้ ก็รู้ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามเข้าใจความหมาย ของสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังก่อน แทนที่จะไปคิดเรื่องประตู หน้าต่าง เรื่องอารมณ์ เรื่องอะไร ยังไม่ทันถึงอารมณ์ แต่ว่ารู้ว่ามีธาตุที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือนามธาตุกับรูปธาตุ จริงหรือเปล่า ต้องใคร่ครวญพิจารณา ไม่ว่าจะที่ไหน สถานที่ใด โลกนี้โลกอื่น ถ้าเห็นพระพุทธรูป ก็อย่างที่กล่าวไว้ นั่นคือ ไม่ใช่พระพุทธเจ้า เป็นรูป ที่ประจำพระอาทิตย์ ที่ไหนก็ตามแต่ ในถ้ำ ในน้ำ มีสภาพธรรมเพียง ๒ อย่างที่ต่างกันนี้จริงๆ หรือเปล่า ก็เริ่มเข้าใจลักษณะที่เป็นนามธาตุก่อน ว่าต่างกับรูปธาตุ แล้วนามธาตุก็คือสภาพที่มีปัจจัยเกิด ก็ต้องรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏที่จิตกำลังรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่า อารัมมณะ หรือ อาลัมพนะ นี่ เราก็ต้องเข้าใจไปที่ละเล็กทีละน้อย พิจารณาไป เข้าใจไป แม้แต่ในขณะนี้ที่เห็น ที่ได้ยิน ก็สามารถที่จะรู้ได้ ว่าลักษณะไหนเป็นรูปธรรม ลักษณะไหนเป็นนามธรรม

    ผู้ฟัง ผมก็เข้าใจ ความเมตตาของอาจารย์ อยากให้ผมรู้

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ไปอื่นเอาตรงนี้ก่อน

    ผู้ฟัง ผมพยายามเข้าใจ รูปคืออะไร นามคืออะไร จิตคืออะไร แต่ทีนี้เวลามันเห็นขึ้นมา มันกว่าจะนึกขึ้นได้ ว่า อันนี้แค่จิต อันนี้แค่รูป แค่นาม

    ท่านอาจารย์ เขาไม่ได้ให้ใครไปนึกอย่างนั้น เขาให้ฟังอีกเข้าใจอีก

    ผู้ฟัง อย่างนั้นมันก็ยังเป็นเราอยู่

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ฟังแค่นี้แล้วเราจะไปทำอะไร

    ผู้ฟัง ผมว่า ถ้าพยายามแยกออกว่าอันนี้ไม่ใช่เรา คือแยกจิตออกไป ไปแยกอะไร ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ นั่นคือตัวเรา ไม่ได้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว กว่าสัมมาสติจะเกิด จะต้องมีสัญญาความจำอย่างมั่นคง ในขณะนี้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ คือต้องใจร้อนไม่ได้เลย เพียงฟังแล้วก็จะไปรู้ลักษณะที่เป็นอนัตตา อนิจจัง ทันทีไม่ได้ แต่รู้เพียงงว่าขณะนี้ จริงหรือเปล่าที่ว่าทางตากำลังเห็น มีเห็นจริงๆ มีสิ่งที่ปรากฏจริงๆ

    ผู้ฟัง มันก็เห็นจริงๆ

    ท่านอาจารย์ เป็นคุณเด่นพงษ์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ตรงนี้ที่ผมกำลัง

    ท่านอาจารย์ ก่อนฟัง เป็นคุณเด่นพงษ์ แต่พอฟังแล้ว ต้องมีจิต เจตสิก รูป นิพพานที่เป็นปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง แต่ก่อนจะรู้คำ ๓ คำนี้ ใช้เวลาอีกนาน

    ท่านอาจารย์ นานมาก

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าในที่สุด อาจารย์ก็คงแนะนำให้ผมใจเย็น แล้วก็ให้ฟังๆ ๆ แต่ทีนี้ผมก็พยายามจะฟัง แต่มัน ไม่รู้ผมกำลัง พอผมได้ยิน ผมก็นั่งคิดต่อไปว่า ที่ได้ยินนี้มันคืออย่างนั้นอย่างนี้แยกออกไป เพื่อไม่ให้มีเราเข้ามาเกี่ยว

    ท่านอาจารย์ ขอโทษ คุณเด่นพงษ์อาจจะคุ้นเคยกับการปฏิบัติ ที่คิดว่าต้องทำ เพราะฉะนั้น คุณเด่นพงษ์ก็พยายามจะทำ คือพยายามจะแยก แต่ความจริงไม่ใช่ เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องที่อบรม ให้มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็เป็นเรื่องของการละการพยายามจะทำด้วย ขณะที่กำลังพยายามจะทำ เป็นความต้องการ ไม่ใช่เป็นการละ ไม่ใช่เป็นความรู้

    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ตรง ก็คือทางตาในขณะนี้ที่กำลังเห็น มีจริงๆ ลักษณะที่เป็นนามธรรม หรือนามธาตุ ไม่ใช่จะปรากฏให้รู้ เพียงฟังแล้วรู้ว่ามีจริงๆ แต่ลักษณะแท้ๆ ของธาตุชนิดนี้ ยังไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็คือไม่ใช่มีเราไปทำ แต่เป็นหน้าที่ของเจตสิก ๘ องค์ ที่จริงแล้วเวลาที่เราเรียนเรื่องสภาพธรรม จะแสดงลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่างพร้อมทั้งกิจการงานของสภาพธรรมนั้นๆ ด้วย

    แสดงให้เห็นว่า ไม่มีเราที่จะทำอะไรได้เลย แต่ว่าเรื่องของความเข้าใจถูกเป็นหน้าที่ ของปัญญาเจตสิก เพราะฉะนั้น ไม่มีใครไปใช้สติ ไปใช้ปัญญา เพราะเหตุว่าไม่มีสติ ไม่มีปัญญาที่จะใช้ แต่เมื่อมีปัจจัยก็เกิด ถ้าไม่มีปัจจัยก็ไม่เกิด อย่างความโกรธไม่มีใครชอบ แต่เมื่อมีปัจจัยก็ขุ่นใจ ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรม ที่มีจริง ซึ่งไม่ใช่เราด้วย เป็นธรรมที่มีปัจจัยก็เกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น กว่าจะรู้ความจริง ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง แล้วเอามาทำ เอามาแยก เอามาพิจารณา เอามาปฏิบัติ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ต้องเป็นหน้าที่ของจิต เจตสิก

    ผู้ฟัง ฟังอย่างนั้น เหมือนกับว่าปล่อยให้มันเป็นไปตามบุญตามกรรม มันก็ยิ่งไม่รู้ใหญ่ มันก็เลยยิ่งทำให้ผมรู้สึกว่า อาจารย์สอนให้เราตามบุญตามกรรมไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อไรมันจะรู้สักที ก็เลยพยายามหาวิธีแยกแยะ ออกไป

    ท่านอาจารย์ ต้องใช้คำว่า ปล่อย เพราะเหตุว่ามีเรา จึงคิดว่าปล่อย แต่ความจริงเราไม่มี ไม่มีใครปล่อย ไม่มีใครทำ มีแต่สภาพธรรม ซึ่งเป็นธาตุแต่ละอย่าง เมื่อมีปัจจัยก็เกิด แต่เพราะความไม่รู้ก็มีเราจะทำ กับมีเราจะปล่อย แต่ความจริง ปล่อยก็ไม่ได้ ทำก็ไม่ได้ เพราะว่าสภาพธรรม แม้แต่ขณะนี้ ที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดขึ้น เพราะมีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิด จึงปรากฏ แล้วก็ดับ ก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าไม่มีใครไปทำ แต่ว่าเป็นรื่องของการอบรมเจริญธรรมฝ่ายดี ที่เป็นฝ่ายของการที่จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรม ที่เป็นโพธิปัคขิยธรรม ธรรมฝ่ายที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ต้องเป็นการอบรม

    เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าไม่รู้ลักษณะของปัญญาจริงๆ เราก็มีตัวเราที่อยากจะรู้ แต่ว่าปัญญารู้อะไร นี้เป็นเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของเราแล้ว แต่เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ว่าปัญญา เป็นความเข้าใจถูก เป็นความเห็นถูก แม้ในการฟัง เพราะฉะนั้น บางคนไม่มีปัญญาแม้ในขั้นฟัง คือฟังก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ หรือเห็นผิดไปเลย แต่ถ้ามีปัญญาในขั้นการฟัง ก็คือขณะนั้น ที่จะใช้คำว่า โยนิโสมนสิการ หรือ อะไรก็แล้วแต่ ก็ไม่ใช่เราไปทำ แต่เป็นสภาพธรรม ที่เกิดจากการปรุงแต่งเป็นกุศล ที่ประกอบด้วยความเข้าใจถูก ความเห็นถูก แล้วก็รู้ด้วยว่า ระดับนั้น คือ ความเห็นถูกขั้นฟัง ยังไม่พอเลยที่จะรู้ว่า ขณะนี้ไม่ใช่ตัวตนแล้วกำลังเกิดดับ ต่อเมื่อไร ฟังต่อไป ความเข้าใจเพิ่มขึ้น

    เพราะฉะนั้น ความเห็นถูกจะเจริญขึ้น ด้วยการฟัง ด้วยการพิจารณา อย่างถูกต้อง เป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วก็ต้องใจเย็น เพราะว่าไม่มีเราปล่อย ไม่มีเราทำ แต่ว่ามีสภาพธรรมที่เกิด แม้ขณะนี้ จะตื่นหรือจะหลับก็เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยที่จะเป็นอย่างนั้นๆ

    ที่กล่าวอย่างนี้ เพื่อให้เกิดการละคลายความต้องการ มิฉะนั้นก็จะมีความต้องการอยู่นั่นแหละที่จะทำ

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม ๔ คือโดยปกติแล้ว รูปสามารถจะแยกออกจากนาม ได้โดยเด็ดขาด แล้วก็นิพพานก็สามารถที่จะมีอายตนะ ครบ กับทางจิตได้ไหม แต่ว่าจิต กับเจตสิก นี้ จะแยกจากกันได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องได้ แต่ว่าเกิดร่วมกัน โดยสภาพลักษณะจิต ไม่ใช่เจตสิก เจตสิกไม่ใช่จิต

    ผู้ฟัง หมายควาว่า แยกเป็นคนละส่วนเลย ไม่ต้องมาปะปนกัน

    ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตเกิด บางเจตสิกไม่ได้เกิดร่วมด้วย อย่างเวลาที่จิตเกิดหนึ่งขณะ จะต้องมีผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก มนสิการเจตสิก ๗ ดวงเกิดร่วมด้วย ปัญญาไม่ได้เกิดด้วย สติไม่ได้เกิดด้วย ในขณะที่จักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณเกิด เพราะฉะนั้น นี่ก็แสดงความแยกแล้ว ว่าจิต ไม่ใช่เจตสิก แต่ว่าเวลาที่จิตเกิด ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือเวลาที่เจตสิกเกิด ก็ต้องเกิดกับจิต เจตสิกจะเกิดกับรูปไม่ได้ แต่จิตไม่ใช่เจตสิก แล้วเจตสิกแต่ละอย่างก็ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น บางครั้งจะใช้คำว่า นามธรรมที่ป็นสังขารธรรม หรือสังขตธรรม ๕๓ คือเจตสิก ๕๒ กับ จิตอีก ๑ เพราะว่าจิตไม่ว่าจะเป็นจิต ชนิดไหนก็ตาม ลักษณะของจิตก็คือเป็นสภาพที่รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์ ที่ปรากฏ นั่นเป็นหน้าที่ของจิต จิตจะไม่รู้สึก จิตจะไม่จำ จิตจะไม่ใช่เมตตา จิตจะไม่ใช่กรุณา จิตจะไม่ใช่ปัญญา จิตจะไม่ใช่ สติ จิตมีหน้าที่เดียว ไม่ว่าจะเกิดเมื่อไร หน้าที่ของจิตก็คือ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ ส่วนเจตสิกแต่ละอย่างก็มีหน้าที่เฉพาะเจตสิกนั้นๆ ซึ่งเกิดกับจิต

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567