ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๔๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ อกุศลมีหลายระดับ ขั้นละเอียด ขั้นกลาง ขั้นหยาบ ขณะที่นอนหลับสนิท มีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า ยืนยัน ภวังค์ไม่มีอกุศลเจตสิก เพราะว่า อกุศลเจตสิกเป็นชาติอกุศลอย่างเดียว เมื่อเกิดขณะใด จิตต้องเป็นอกุศล ซึ่งเป็นเหตุซึ่งจะให้เกิดผล เพราะฉะนั้น ขณะที่เป็นผลของกรรมซึ่งเป็นวิบาก แม้ว่าเป็น อกุศลวิบาก อย่างสัตว์นอนหลับ ขณะนั้นก็ไม่มีอกุศลเจตสิกเกิด เพราะว่าขณะใดที่อกุศลเจตสิกเกิด ขณะนั้นต้องเป็น อกุศลจิตเท่านั้น จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ขณะใดที่ไม่ใช่อกุศลจิตจะมีอกุศลเจตสิกไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะที่นอนหลับสนิท ไม่มีอกุศลเจตสิกเกิดกับจิตนั้น แต่ดับอกุศลแล้วหรือยัง ยัง ในขณะนั้น มีกิเลสประเภทที่ละเอียดมาก นอนเนื่องอยู่ในจิต เพราะเหตุว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะแล้วดับ เพราะฉะนั้น ในขณะที่นอนหลับ แล้วไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ต้องมีกิเลสอย่างละเอียด เป็นอนุสัยกิเลส สย แปลว่า นอน อนุ แปลว่า ตาม หมายความว่าในจิตดวงนั้น แม้ไม่ใช่อกุศลแต่มีเชื้อของอกุศล ที่จะทำให้เมื่อพร้อมที่จะทำให้ อกุศลจิตจะเกิดเมื่อไร ก็เกิด

    ผู้ฟัง คำว่า นอนเนื่อง หมายความว่า ภวังคจิต ดวงนี้เกิด อนุสัยก็อยู่ แล้วก็ดวงต่อไป ก็ตามไปด้วย อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจิตเกิดขึ้น ทีละหนึ่งขณะ แล้วในขณะนั้นมีอะไรบ้าง ถ้าเป็นรูปธรรม ถ้าเราเปิดผ่าออกมาคงจะมีสิ่งดำๆ สกปรกมากมาย เป็นอกุศลมากมายที่ยังไม่ได้ดับ แต่ว่าเพราะเหตุว่าเป็น นามธรรม ไม่มีรูปร่างที่จะไปผ่าไปตัดออกมาดู แต่ว่า ขณะนั้นมีทุกอย่าง ที่สะสม ที่พร้อมที่จะเกิด เมื่อถึงกาล หรือปัจจัยที่จะเกิด แต่ว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้น หนึ่งขณะมีทุกอย่าง ทั้งฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศลที่สะสมสืบต่อ ถ้าเป็นทางฝ่ายอกุศล ใช้คำว่า อนุสัย หมายความว่าเป็นกิเลสอย่างบาง อย่างละเอียดมาก ไม่ใช่อกุศลเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิต แต่มีเชื้อที่จะเกิด เมื่อมีปัจจัย นี่คือ อนุสัยกิเลส มีทั้งหมด ๗ อย่าง

    ผู้ฟัง อนุสัยกิเลสนี่ มันจะไปได้ไหม ที่กิเลสที่มีตั้งแต่ชาติก่อนๆ ติดมาด้วย

    ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ จิตชาติก่อนดับหมด จิตเมื่อเช้านี้ดับหมด จิตเมื่อกี้นี้ดับหมด เพราะฉะนั้น จิตหนึ่งขณะในขณะนี้มีอะไร ก็ต้องมีสิ่งที่สะสมเพื่อที่จะสืบต่อ สู่จิตที่จะเกิดต่อ แต่ละหนึ่งขณะ

    ผู้ฟัง ยังสรุปไม่ได้ คือ กิเลสที่สะสมไว้ ตั้งแต่ชาติก่อนๆ นี้

    ท่านอาจารย์ กิเลสชาติก่อนอยู่ที่ไหน ดับหมดแล้วทุกขณะ แต่ว่าสะสมสืบต่อ จากขณะหนึ่งไปอีกขณะหนึ่ง ทุกๆ ขณะ

    ผู้ฟัง สรุปแล้ว คือมันยังมีติดมาเหมือนๆ กัน

    ท่านอาจารย์ สะสมสืบต่อมาตลอด เพราะฉะนั้น คนเราต่างกันทั้ง อุปนิสัย ใจคอ ทั้งรูปร่างหน้าตาทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่กุศล ที่ทำร่วมกัน พร้อมกันก็ต่างกัน โดยอธิบดี แล้วแต่ใครจะด้วย ฉันทะใครจะด้วยวิริยะ ใครจะด้วยปัญญา ใครจะด้วยจิตตะ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องความละเอียดที่ยิ่งละเอียดขึ้น ยิ่งละเอียดขึ้นทุกๆ ขณะ แต่ให้ทราบว่า อนุสัยมี ๗ เวลาที่นอนหลับสนิท พระอรหันต์ นอนหลับสนิท กับพระโสดาบัน นอนหลับสนิท กับปุถุชน นอนหลับสนิท จิตต่างกัน เพราะว่าจิตของพระอรหันต์ไม่มี อนุสัยกิเลสเลยดับหมด แต่จิตของพระโสดาบัน มีอนุสัยที่ยังไม่ได้ดับ ส่วนที่ดับก็ไม่มี ส่วนของปุถุชนก็มีครบทั้ง ๗

    สำหรับเวลาที่ตื่นขึ้น ตื่นแล้ว จะมีการเห็น จะมีการได้ยิน หรือแม้แต่ในขณะนี้ ขณะไหนก็ตามแต่ อนุสัยกิเลสซึ่งไม่ได้เกิดกับจิต ในขณะที่หลับ มีโอกาสจะเกิด เมื่อเห็น เมื่อได้ยิน อย่างเร็ว อย่างบาง อย่างละเอียด อย่างไม่รู้ตัวเลย ว่าขณะนั้นเป็น อกุศลแล้ว นั่นคือ อาสวะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ อีกคำหนึ่ง คือ ขีณาสวะ ขีณ หมายความถึง ดับอาสวะ เพราะฉะนั้น ขีณาสวะคือผู้ดับ อาสวะ ทันทีที่ท่านตื่น แล้วเห็น ไม่มีกิเลส ต่างกับคนธรรมดา ซึ่งมีกิเลสก็ไม่รู้ เพราะว่าบางมาก ขนาดอาสวะ ซึ่งถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนกับละอองที่ละเอียดมากค่อยๆ จับ ขณะนี้ ทุกคนไปล้างมือ แต่ต้องใช้สบู่ด้วย ก็จะเห็นว่าดำ น้ำที่อออกมาดำ แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่า ไม่เห็นเลย ว่าใครมีมือที่สกปรก เพราะฉะนั้น อาสวะก็เหมือนกัน เป็นกิเลสแบบนั้น ซึ่งด้วยปัญญาระดับอรหันต์ ถึงจะดับ อาสวะได้หมดสิ้นไม่เหลือเลย เพราะเหตุว่า ถ้ายังเป็น ทิฏฐาสวะ ก็ยังพอที่จะแสดง อาการปรากฏของ ความเห็นที่ผิด แต่ว่าอาสวะอย่าง อวิชชาสวะ หรือ อาสวะอื่นกามาสวะ ก็ต้องดับตามลำดับขั้น แต่ว่าถ้าเป็นพระอรหันต์ ลองคิดดู จากคนธรรมดาซึ่งนอนหลับ แล้วก็ตื่นขึ้น ไม่รู้ตัวว่ามีอาสวะกิเลส เพราะว่ายังไม่ได้กลุ้มรุม ยังไม่ได้ทำให้เดือดร้อน เพียงแต่ตื่นขึ้น เห็น นิดนึง หรือว่าได้ยินหน่อยหนึ่ง ได้กลิ่นนิดเดียว ขณะนั้นก็จะเห็นได้ว่า จิต ต้องเป็นไปตามวาระคือ เมื่อถึงวาระของอกุศลจิตจะเกิด อกุศลจิตก็ต้องเกิด โดยไม่รู้ตัว

    บางคนจะบอกว่า วันหนึ่งๆ เขาไม่ได้มีอกุศล เขาไม่ได้ทำบาปกรรม เขาไม่ได้โลภ เขาไม่ได้โกรธ เขาไม่หลง นั่นเพราะเหตุว่าเขาไม่รู้ แต่ผู้รู้จะรู้เลยว่า ถ้าตราบใดที่อนุสัยกิเลสยังไม่ดับ เมื่อเห็นก็จะต้องเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลประเภทหนึ่ง ประเภทใด แต่ว่าจากการที่เป็นปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ มาถึงปุถุชนที่ได้สดับพระธรรม แล้วก็ได้อบรมเจริญปัญญา โดยเฉพาะสติปัฏฐาน สามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมแล้วค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    เพราะฉะนั้น ก็มีโอกาสที่ในขณะนี้ที่เห็น แทนที่จะเป็นอกุศล มหากุศลญาณสัมปยุตต ก็เกิดระลึก รู้ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ก็ได้ ที่กำลังปรากฏ เป็นการอบรมเจริญปัญญาความรู้จริงๆ จนกว่าจะรู้ทั่วในลักษณะของสภาพธรรมตามปกติในขณะนี้ ว่าเป็นสภาพธรรม แต่ละอย่าง แล้วปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณ กว่าจะเกิด แล้วเมื่อเกิดแล้วต้องตามลำดับขั้น จนถึงกว่าจะละ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคล ขณะนั้นก็ดับอนุสัย แล้วก็ดับอาสวะ ซึ่งจะไม่เกิด เมื่อถึงกาลที่จะเกิด แต่นี่คือความต่างกันของ อนุสัย กับอาสวะ

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่นี้ฟังเข้าใจว่า อนุสัย คือกิเลสที่มีอยู่ นอนเนื่องอยู่ แต่ยังไม่เกิด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ หมายความวาขณะนั้นไม่ใช่ อกุศลเจตสิก ที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต

    ผู้ฟัง แต่ถ้าหากพูดถึง อาสวะแล้ว

    ท่านอาจารย์ เป็นอกุศลเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกับอกุศลจิต

    ผู้ฟัง อกุศลจิตแล้ว แต่ว่าเป็นอกุศลซึ่งอ่อนมาก ไม่สามารถที่จะรู้ได้ ทีนี้การที่เรามองดู อาสวะ ๔ นี่ ซึ่งจะมีทิฏฐาสวะ ซึ่งบางครั้งมองเห็น ได้ ตอนที่เป็นทิฏฐาสวะ ตอนที่มองเห็น ขึ้นมาได้ แล้วเราจะยังเป็น อาสวะอยู่ หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ บางมาก คิดถึงระดับ เพราะฉะนั้น ต่อไปจะทราบว่า อกุศลเจตสิก ๑๔ จะมีระดับที่ต่างกัน เป็น ๙ กอง หรือ ๙ ประเภท

    ผู้ฟัง แม้ว่าเราจะรู้ว่าเรามีความเห็นผิด ตอนนั้นแล้วก็

    ท่านอาจารย์ สำหรับคนที่ปัญญาน้อย ก็เริ่มที่จะเห็นอกุศลอย่างหยาบๆ แล้วเมื่อปัญญาละเอียดขึ้นๆ ก็จะต้องเห็นอกุศลที่ละเอียดขึ้นด้วย มิฉะนั้นก็ดับไม่ได้ เพราะฉะนั้น การที่เราจะบอกว่าเมื่อไร ตอนไหน อย่างไร ก็ต้องเป็นตอนที่สติระลึกแล้วสามารถเห็นความต่างกันได้ เพราะว่าโดยมากเวลาที่ศึกษาธรรม ทุกคนลืม ว่าศึกษาเพียงชื่อ แต่ตัวจริงๆ ของธรรม เป็นอย่างนั้นทั้งหมด เพราะฉะนั้น ต้องทราบจุดประสงค์ของการศึกษาจริงๆ ว่าการศึกษาเพื่อรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ จนกว่าจะรู้ชัด แล้วคำตอบของคำถาม ทั้งหมดก็จะเป็น ปัญญาของตัวเองที่สามารถที่จะเข้าใจ ความหมายของพยัญชนะนั้นๆ ได้

    ผู้ฟัง ดูเหมือนว่าการดำเนินชวิตของ เราทุกๆ วันเต็มไปด้วยอาสวะ

    ท่านอาจารย์ อกุศลอื่นไม่มี ระดับอื่นไม่มี นิวรณ์ ไม่มี

    ผู้ฟัง อย่างเช่นเป็นอกุศลที่เราไม่รู้ เช่น ตื่นนอนขึ้นมา เราก็ทำกิจวัตรประจำวัน โดยที่เราไม่ทราบว่าเป็นอกุศล พวกนี้ก็ คือชีวิตเราก็จะหล่อเลี้ยงด้วยอาสวะ

    ท่านอาจารย์ เป็นความจริงไหม ว่าเราตื่นขึ้นมา เราไม่รู้ว่าเป็นอกุศล ทันทีที่เห็น แต่พอเราเกิดอาหารนี้อร่อย ดอกไม้นี้หอมดี ธรรมดาบางคน ถ้าไม่ทุจริตก็ไม่รู้อีก เขาบอกว่าเพียงแค่ดอกไม้สวย นี้หรือเป็นอกุศล เพราะความไม่รู้ แต่ผู้รู้ จะรู้เริ่มเห็นความละเอียดขึ้น ก็ไม่ใช่ขณะที่โลภมากๆ แต่เพียงนิดเดียว ขณะนั้นก็เป็นอกุศล ข้อความในอรรถกถา มีว่า อกุศลวิตกของพระโพธิสัตว์ คืออย่างไร ขอยกตัวอย่าง พยาปาทวิตกของพระโพธิสัตว์ เพียงร้อนมาก ขณะนั้น คือ พยาปาทวิตก ถ้ามีข่าวคราว เรื่องของการเบียดเบียนซึ่งพระโพธิสัตว์รู้ ขณะนั้นก็คือ วิหิงสาวิตก ท่านไม่ได้มีวิตกที่จะเบียดเบียนด้วยพระองค์เอง ไม่ได้มีการพยาบาทใครคนหนึ่ง คนใดเลย แต่ขณะใดที่เป็น อกุศลแม้เพียงเล็กน้อย แล้วเป็นวิตกในเรื่องนั้นเท่านั้น ขณะนั้นก็คือ พยาปาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก

    ผู้ฟัง เพียงแค่ไม่สบายใจนิดเดียวเท่านั้นเอง ไม่ชอบใจนิดเดียวเอง

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็ต้องทราบว่าเป็นอกุศล แล้วเราอ่านหนังสือพิมพ์ มีเรื่องไม่สบายมากมาย แค่ไหน ยิ่งกว่า อาสวะ เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ตามลำดับของกุศล จนกระทั่งเห็นความละเอียดขึ้น แล้วรู้ว่ามากมายมหาศาล ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ ก็ไม่สามารถที่จะรู้แล้วละได้ ก็ต้องค่อยๆ ศึกษาไป

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น อาสวะ ถ้าเผื่อเราไม่ได้เจริญสติ คือ ไม่ได้เจริญสติ จนสติปัฏฐานเกิด ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะเขาเบาบางมาก

    ท่านอาจารย์ ก็ยืนยัน ถามคุณสุรีย์ว่า ทันทีที่คุณสุรีย์ตื่น รู้ไหมว่ามีกิเลส หรือเป็นอกุศลแล้ว

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ นั่นคืออาสวะ

    ผู้ฟัง อย่างที่อาจารย์สุรีย์บอก เมื่อกี้นี้ ที่ว่า ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็ไม่รู้ได้ แต่ว่าบางครั้งไม่ใช่สติปัฏฐาน เราก็ระลึกได้

    ท่านอาจารย์ แต่เราก็ไม่รู้ บางขนาดนั้น หรือว่าขณะที่ไม่รู้ว่า ไม่สบายใจ เป็นนิวรณ์แล้ว

    ผู้ฟัง คือรู้ว่าไม่สบายใจ แต่ก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ นี่เราพูดถึง อาสวะ ใช่ไหม ไม่ใช่พูดถึงนิวรณ์

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าสติปัฏฐาน จึงจะรู้ อาสวะได้เลย หรือ

    ท่านอาจารย์ ปัญญาของแต่ละคน จะค่อยๆ เริ่มเจริญขึ้น แล้วก็มีความรู้ลักษณะของสภาพธรรมละเอียดขึ้นถูกต้องขึ้น จนกว่าจะค่อยๆ ละคลาย จนกว่าจะดับได้

    ผู้ฟัง ทำไมกิเลสมี ๗ แล้วอาสวะมีแค่ ๔

    ท่านอาจารย์ อนุสัยกิเลส มี ๗

    ผู้ฟัง อนุสัยกิเลส มี ๗ ใช่ไหม ซึ่งมันเป็นกิเลสที่นอนเนื่อง แต่ทำไมมันมาเกิดเป็นอาสวะ ได้แค่ ๔

    ท่านอาจารย์ แต่ละประเภท ทรงแสดงจำแนกไว้ ถึงลักษณะ การงานหน้าที่ ของประเภทนั้นๆ ของกิเลสแต่ละประเภท แล้วประเภทใดเป็นประเภทอาสวะ ประเภทใดเป็นอนุสัย ประเภทใดเป็นนิวรณ์ ประเภทใดเป็นสังโยชน์

    ผู้ฟัง ขินมาคิดถาม คำถาม ว่าถ้าอาจารย์บอกว่า ให้ค่อยๆ รู้ว่ามันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน แต่ช่วงนั้นที่กำลังพิจารณา analyze วิเคราะห์อยู่ มันไม่ถูกหรือ ที่มาวิเคราะห์ว่า เราทำสิ่งนั้นเป็นกุศล หรือ อกุศล ขั้นพิจารณา ขั้นหยาบเลยของนึกคิด

    ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องราว ซึ่งทุกคนก็ยับยั้ง ความคิดไม่ได้ แต่ทุกคนต้องเข้าใจว่า ขณะใดสติเกิด ที่เป็นสัมมาสติ อีกระดับหนึ่ง

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าอย่างนั้น ตอนที่วาจา กิริยา หรือนึกคิด ของเราซึ่งเป็นอกุศล หรือ กุศลนั้น มันมีขั้นที่หยาบของสติ ของปัญญาขั้นหยาบ ว่า นี่คือถูกหรือผิดอย่างนั้นไม่ถูกหรือ อาจารย์ให้เราทำแบบนั้น

    ท่านอาจารย์ เราคิดได้ไตร่ตรอง เหมือนกับความคิดเรื่องอื่นๆ วิตกของเราแทนที่จะคิดเรื่องอื่น เราก็มานั่งคิดเรื่อง กุศล อกุศล ถ้าเป็นกุศล เป็นอย่างนี้ ไม่พูดคำที่ไม่จริง แต่ว่าเวลานี้อะไร จิตขณะนี้ เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล เพราะว่าเรากำลังคิดเรื่อง อกุศล หรือ กุศล คิดไปๆ ๆ ก็เป็นเรื่อง แต่ว่าขณะนี้จริงๆ จิตเดี๋ยวนี้เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล จะรู้ได้โดยไม่ใช่คิด

    ผู้ฟัง รู้ไม่ได้ เพราะว่ามันเร็วมาก

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้บอกให้ไปยับยั้งให้ช้า แต่หมายความว่า ต้องอบรมปัญญา เราต้องเข้าใจเลย หนทางมีหนทางเดียว คืออบรมปัญญา ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แม้แต่สิ่งที่ได้ฟังแล้วก็ฟังอีกๆ จนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นอีก

    ผู้ฟัง ถ้าเราอบรมปัญญา ถ้าเราไม่คิดเลย ชินมีความรู้สึกว่า อย่างเช่น ชินเห็นขั้นหยาบที่ว่า คนแขกที่ชินเห็น เขาคิดไม่ได้เลย

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่า ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คิด แต่ให้ทราบความต่างกันของความรู้ ว่าถ้าเรารู้เพียงเรื่องราวหรือคิด มันก็เป็นเรื่องราว เป็นแขก แล้วก็เป็นคุณชิน แล้วก็แขกก็มีอกุศล อวิชชามากมาย แล้วคุณชินก็ค่อยๆ เข้าใจธรรมขึ้น ก็เป็นเรื่องราวระหว่างแขกกับคุณชิน แต่ว่าถ้าไม่เป็นแขกกับคุณชิน ก็เป็นคุณชินกับคนอื่นอีก อยู่เมืองไทย ไม่มีแขกเลยสักคน ตอนนี้ ก็เป็นคุณประทีป กับคุณชิน

    ผู้ฟัง ความหมายของอาจารย์ คือ

    ท่านอาจารย์ คือ หมายความว่า ปัญญาควรเจริญขึ้นเรื่อยๆ แต่จะเจริญขึ้นเมื่อไรกำหนดไม่ได้ แต่ให้ทราบ แนวทางว่าที่ปัญญาเจริญ คือ รู้อะไรขึ้น ไม่ใช่รู้เพียงเรื่องราว

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ถ้าปัญญาตอนที่เรารู้ มีปัญญานั้น ช่วงนั้นคือ มี

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้คุณชินกำลังห่วง สงสัย ปัญญาของตัวเอง กับสงสัยของตัวแอง

    ผู้ฟัง ไม่ใช่กำลัง วิเคราะห์อยู่

    ท่านอาจารย์ นั่นคือเรา

    ผู้ฟัง ปัจจุบันนี้ แน่นอนต้องมีเรา ทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องมีเรา นอกเหนือจากเป็นพระอรหันต์ แล้วถึงไม่มีเรา

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าเรารู้หนทาง ว่า ถ้าจะไม่ใช่เรา มีทางไหม มีทางไหมไม่ใช่ว่า ไม่ใช่เราวันนี้ พอฟังบุ็ป ไม่ใช่เราวันนี้ หรือพอรู้หนทางบุ๊ป ก็ไม่ใช่เรา วันนี้ แต่หนทางละเอียด แล้วก็เป็นหนทางที่ต้องอบรมค่อยๆ ไปทีละเล็กทีละน้อยด้วย เรารู้หนทางอันนี้จริงๆ หรือยัง ถ้าเรายังไม่รู้หนทางอันนี้ เราควรรู้หนทางอันนี้ให้ถูกต้องยิ่งขึ้นจริงๆ หรือว่าเราควรจะไปคิดอย่างอื่น ซึ่งอย่างอื่นเพียงความคิดไม่ใช่หนทาง แต่ถ้าเป็นธรรมมีจิตประเภทต่างๆ แล้วก็มีเจตสิก แล้วก็มีรูป ถ้าเข้าใจเพิ่มขึ้น เราก็สามารถที่จะรู้ว่า ขณะไหนเป็นอะไร เป็นจิต หรือเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าธรรมปรากฏ เราจะเข้าใจลักษณะของกุศล กับ อกุศลได้ละเอียดถี่ถ้วนแล้วก็ลึกซึ้งมากขึ้น

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่น ให้รู้ลักษณะที่ต่างกันของ นามธรรม กับรูปธรรม ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว ว่านี่กุศลอะไร ทั้งนั้น ระดับไหน มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร อย่างไร เพราะเหตุว่า ถ้าไม่รู้เป็นนามธรรม จะรู้ในความเป็นกุศลได้ไหม ในความเป็นอกุศลได้ไหม นอกจากเพียงชื่อ

    เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด ที่กล่าว เพราะว่าบางทีข้อความสั้นๆ ในพระสูตร จะเว้นบางตอน ซึ่งจะทำให้คนไม่ได้พิจารณาโดยตลอดก็จะคิดว่า ข้อความนั้นเฉพาะมุ่งเรื่องนั้น แต่ความจริงต้องเอาข้อความตอนอื่นมาประกอบด้วย ที่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว ในเรื่องของวิสุทธิ เช่น ศีล จะบริสุทธิได้อย่างไร จะวิสุทธิได้อย่างไร ถ้าไม่มีปัญญามีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม ศีลวิสุทธิไม่ได้ ยังเป็นเรา เมื่อยังเป็นเราไม่ใช่วิสุทธิ จากความเป็นเราหรือ ความเป็นตัวตน แม้แต่ศีลวิสุทธิ เป็นบาทให้เกิดจิตวิสุทธิ แล้วก็ให้เกิด ทิฏฐิวิสุทธิ ตามที่กล่าวไว้ใน รถวินีตสูตร ว่าต้องมีรถ ๗ คัน คนฟังก็เลยคิดว่า รถ ๗ คัน จริงๆ แล้วก็ขึ้นทีละคันจริงๆ แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว หมายความถึง การอบรมเจริญปัญญาที่จะเจริญขึ้นตามลำดับ ไม่ใช่มีรถ ไม่ใช่ต้องไปขึ้น แต่หมายความว่าปัญญาที่จะรู้สภาพธรรม ต้องสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่ ไม่ใช่ว่ารักษาศีลไปตลอดชีวิต แล้วก็ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ นั่นคือศีลวิสุทธิ ไม่ใช่ แต่ว่าถ้าไม่มีปัญญา ศีลจะวิสุทธิไม่ได้เลย เพราะว่ายังเป็น เขา ยังเป็นคนนั้นที่รักษาศีล และขณะที่ศีลวิสุทธิ คือ ขณะที่สติเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะว่าเป็น อินทริยสังวรศีล เวลาที่คนจะวิรัติทุจริต อกุศลจิตเขาเกิดมากมาย แต่ว่าเขาไม่กระทำทุจริต เพราะเหตุว่าขณะนั้นมีการเว้น จะกล่าวถึงเจตสิกก็ได้ จะไม่กล่าวก็ได้ วิรตีเจตสิก ขณะนั้นทำให้ไม่มีการล่วงศีล แต่ขณะนั้นถ้าไม่มีปัญญา ที่จะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เขา แต่เป็นสภาพธรรม แล้วก็เวลาที่สติเกิด แม้แต่โลภะ หรือโทสะเพียงเล็กน้อย ยังไม่ถึงคิดที่จะล่วงศีล ผู้นั้นก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วยปัญญา ในขณะนั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็น อธิศีลที่ยิ่ง หรือละเอียดกว่าศีลอื่นทั้งหมด เพราะว่าศีลอื่น ก่อนที่จะวิรัติ อกุศลก็เกิดเสียมากแล้ว อย่างบางคนก็มีโลภะ ก็อยากจะได้ แต่เว้น แต่ความอยากได้มากแล้ว จนถึงกับบางคนคิดที่จะล่วงศีล แต่ว่าขณะนั้น วิรตีเจตสิกเกิด ก็ทำให้วิรัติ แต่ถ้าเป็น อินทริยสังวรศีล หมายความว่าสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เห็นความละเอียดแม้อกุศลเพียงเล็กน้อย เพราะฉะนั้น ก็วิสุทธิด้วย แล้วก็ขณะนั้น เอกัคคตาเจตสิกซึ่งเกิด เป็นขณิกสมาธิ ก็วิสุทธิ เพราะเหตุว่าเกิดร่วมกับมรรคองค์อื่น ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะทำให้ นามรูปปริจเฉทญาณเกิดเป็นทิฏฐิวิสุทธิ ก็ไม่ใช่เป็นการว่า ต้องขึ้นรถ ๗ คัน แต่หมายความว่าปัญญาจะสืบต่อกัน ที่ว่าถ้าไม่มีสติปัฏฐานเลย ไม่มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย ทิฏฐิวิสุทธิก็เกิดไม่ได้

    ผู้ฟัง พวกเราทุกคนก็อยากจะทำความเพียร แต่ถ้าหากว่า ปัญญาเราก็ยังน้อยอยู่ แล้วเราก็เร่งทำความเพียร แล้วก็ถึงป่วยไข้ อะไรไป อย่างนี้ ก็เป็นความผิดปกติทั้งสิ้น เพราะว่า มันไม่ใช่วิสัยของเรา นั่นเป็นคำถาม

    ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นเรื่องผสม ผสาน โน่นนิดนี่หน่อย ถึงพระภิกษุรูปนี้ แต่ว่าตามความเป็นจริง ทุกคนรู้ว่า ต้องตาย แน่นอน ใช่ไหม ถ้ารู้ว่าเดียวนี้จะต้องตาย หรืออีกไม่นาน สักไม่เท่าไรก็จะต้องตาย จะทำอะไร

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567