ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๖๘

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ผู้ฟัง เมื่อก่อนหนูก็มีความรู้สึก คล้ายๆ คุณป้าบุญตุ้ม คือเคยไปเฝ้าคนไข้จนถึงกับท่านเสียไป รู้สึกเบื่อหน่ายเหมือนกัน ตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษาพระธรรม แต่พอมาศึกษาพระธรรม เรียนเรื่องชาติของจิต เรียนเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ทราบว่าจะเข้าใจถูกหรือเปล่า ว่าในขณะที่เราเบื่อหน่ายตอนนั้น คือเห็นความแก่ หรือว่าความเจ็บ นั่นเป็นโทสมูลจิต คือเป็นความเบื่อด้วยกิเลส แต่ไม่ใช่ด้วยปัญญา แต่ถ้าเป็นความเบื่อหน่ายที่ คลายกำหนัดเพื่อความหลุดพ้น อันนี้ก็ต้องเป็นที่เบื่อหน่าย ที่เห็นความเกิดดับของสภาพธรรม ใช่ไหม

    ส. ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามลำดับ อย่างที่กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ แม้แต่เพียงว่า ทุกอย่างเป็นธรรมขึ้นใจ หรือว่าสามารถที่จะเมื่อระลึกก็รู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเราพูดตามเฉยๆ ว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่ต้องเข้าใจความหมาย ของการที่สภาพธรรมมีจริง แล้วก็เป็นอนัตตา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาไม่ได้ เกิดขึ้นแล้วดับไป นี่คือธรรมที่เราใช้คำพูดอย่างนี้ แต่ตัวธรรมจริงๆ มี

    เพราะฉะนั้น ธรรมจริงๆ ก็ต้องตรง กับคำที่กล่าว คือมีปัจจัยก็เกิดขึ้น ก็ดับไป ไม่ใช่ของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ การที่จะรู้จริงๆ ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง ว่าทุกอย่างเป็นธรรม เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ต้องสามารถรู้ว่าขณะนี้ ธรรมอะไรเกิด แล้วก็ธรรมอะไรดับ ก่อนที่จะคลาย หมายความว่าต้องมีการที่เห็นธรรมจริงๆ เมื่อเห็นธรรม แล้วยังเห็นอุปาทานด้วย ที่ยึดติดในธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็เริ่มที่จะเห็นสมุทัย จึงรู้ว่าหนทางเดียวที่จะถึงพระนิพพาน รู้แจ้งนิโรธสัจได้ ก็ต่อเมื่อละโลภะ ไม่ใช่ว่ายังมีโลภะ หรือว่าต้องการที่จะเห็น ต้องการที่จะประจักษ์แจ้ง ต้องการที่จะรู้การเกิดดับ แล้วก็จะไปรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เป็นธรรมที่ตรงกันข้ามกันเลย เพราะว่าเรื่องของปัญญา เป็นเรื่องละ แล้วการละ คือการละความไม่รู้กับความติดข้อง แล้วก็จะเข้าใจในพยัญชนะต่างๆ ที่ได้ฟังตั้งแต่ต้น โดยถ่องแท้ โดยประจักษ์ แม้แต่คำว่าขันธ์ ก็รู้ ว่าสิ่งที่มีจริงต่างกัน เป็นแต่ละอย่าง เวทนาไม่ใช่รูปขันธ์แน่ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์แน่ เป็นสภาพธรรม เมื่อสติระลึกก็มีลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ ปรากฏ แล้วก็ยังเห็นในอุปาทานขันธ์ การที่ไม่ยอมสละ การที่ไม่ยอมคลาย การติดข้องในสภาพธรรมนั้นๆ มีการต้องการแฝงอยู่ หรือว่ามีความเป็นเราอยู่ในที่นั้น โดยเฉพาะเราจะทำ เราจะรู้ เราทั้งนั้นเลย เรามากมายจนกว่าจะค่อยๆ คลาย ค่อยๆ สละคืนไปทีละเล็กทีละน้อย

    แม้แต่ทางตาที่กำลังเห็น บางคนก็บอกว่าได้ไปรู้ลักษณะของสภาพธรรมบางอย่างเหมือนกับว่าไม่ใช่คนที่กำลังเห็น แต่ลืมว่า กว่าที่จะเป็นอย่างนี้ได้ มีการคลายความไม่รู้ ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏโดยอย่างไร ไม่ใช่นึกคลาย หรือนึกละ แต่ต้องเพราะการค่อยๆ รู้ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีจริงๆ แล้วก็จะเข้าใจอรรถ ถึง เห็นตนในรูป ก็เป็นรูปารมณ์ เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทุกคนก็ใช้คำนี้ ถ้าจะใช้ภาษาไทยที่ใช้กันอยู่ ก็คือเป็นสีสันวัณณะต่างๆ ที่ปรากฏ แต่ขณะนี้ เป็นท่านอาจารย์สมพร เป็นคุณอดิศักดิ์ แล้วอย่างไร ในรูป คือสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีคนในรูป เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจความหมายว่า กว่าจะลอก ความจำว่าเป็นคนในรูป มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในรูป โดยการที่รู้ความจริงว่า เพียงหลับตา สิ่งนี้ไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา คืออย่างไร คือขณะนี้ตามความเป็นจริงไม่หวั่นไหว ที่จะค่อยๆ อบรม ความรู้ถูก ความเข้าใจถูกว่า เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะเห็นว่าเป็นคน ก็เห็นเป็นคนหลังจากที่เห็น เพราะฉะนั้น จึงสามารถที่จะรู้ได้ว่า ไม่ใช่ว่าจะไปประจักษ์การเกิดดับ หรือความไม่ใช่ตัวตนทันที แต่จะต้องมีความรู้ที่คลายความไม่รู้ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ทีละเล็กทีละน้อย

    ทุกคนฝัน ใช่ไหม ฝันเห็นอะไรบ้าง บางคนเขาบอก เขาไม่ค่อยฝัน ก็แล้วแต่ แต่จริงๆ แล้วฝัน แล้วก็จำไม่ได้ ไม่รู้ว่าฝัน แต่เวลาฝันเห็นอะไร เห็นใช่ไหม ที่ใช้คำว่า ฝัน จะเห็นรถยนต์ หรือจะเห็นป่าเขาลำเนาไพรอะไรก็แล้วแต่ แต่นั้นคือความทรงจำ สีสันวัณณะจากสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ว่าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาในฝันอย่างนี้ ถ้าปรากฏอย่างนี้ คือรูปารมณ์ไม่ใช่ฝัน สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ ปรากฏมีจริงๆ กำลังกระทบจักขุปสาท ไม่ใช่ฝัน แล้วหลังจากนั้นก็มีการนึกถึงสิ่งต่างๆ จากสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ว่าสิ่งต่างๆ ที่นึกจากสิ่งที่ปรากฏทางตานี่เก็บไว้ สะสมไว้ พอถึงเวลาที่ฝันก็คือ จำสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาคือ รูปารมณ์ ปรากฏ เพราะฉะนั้น เราก็จะเข้าใจความหมาย ของการที่รูปารมณ์เป็นอย่างไร รูปารมณ์ ก็คือรูปารมณ์ แต่การคิดนึกเรื่องรูปารมณ์ ทรงจำเรื่องสัตว์ บุคคลต่างๆ ในรูปารมณ์ แม้ในฝันฉันใด ก็เหมือนกับในขณะนี้ รูปารมณ์ก็ส่วนรูปารมณ์ แต่ส่วนที่เราจำว่าใครก็เหมือนเราจำในฝัน ในฝันเราเห็นรถ เราก็มีความจำรูปร่างสัณฐานของรถในฝัน แต่ไม่มีรูปารมณ์ปรากฏในฝัน ไม่ทราบว่าจะพอเห็นได้ไหม ว่าเราถือ หรือว่าเอาคนสัตว์ มีตัวตน ในสิ่งที่ปรากฏทางตา มาได้อย่างไร มาจากความทรงจำแล้วก็เก็บไว้ แล้วเรื่องฝันก็พิสูจน์ให้เห็นจริงๆ ว่าฝัน เราเอาสิ่งที่เป็นคน เป็นสัตว์ จาก รูปารมณ์แล้วทรงจำ เวลาที่ฝันปรากฏก็เห็นเฉพาะสิ่งนั้น จากความทรงจำ แต่ไม่มีรูปารมณ์ปรากฏอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เรื่องของความคิด จะคิดอย่างไรก็คิดได้ทั้งนั้น คิดว่าไม่คิดก็ได้ หรือ ไม่ให้คิดก็ได้ แต่ความจริงต้องคิด

    ผู้ฟัง ในพระสูตรทรงแสดง มหาภูตรูป ๔ แล้วก็เวทนาขันธ์เท่านั้น ถ้าเขาระลึกที่ลักษณะของรูปหรือระลึกที่ลักษณะของเวทนา เราไม่รู้ลักษณะของสัญญา หรือวิญญาณหรือเป็นไปได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญที่สุด ก็คือว่าไม่รู้อะไรที่กำลังปรากฏ แล้วก็ยังยึดถืออะไรที่กำลังปรากฏ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าต้องอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้เพื่อละ ถ้าปัญญาไม่เกิดก็ละไม่ได้ ก็ยังคงเป็นความยึดมั่นอยู่นั่นเอง ไม่ต้องไปเลือกอะไร เพียงแต่ว่า เราเป็นผู้ที่ตรงที่รู้ว่า เราไม่รู้อะไร ทางตาปรากฏอยู่ตลอดเวลา รู้หรือยัง ในลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ถ้าไม่รู้แล้ว จะไปละไปคลายได้อย่างไร ไม่มีทางเลย แต่ละทวาร

    ผู้ฟัง ปัญหาก็คือเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมกับภิกษุ หรือว่าบุคคลแต่ละคน ก็แสดงธรรมแต่ละหมวดๆ บางทีก็แสดงเรื่องของขันธ์ อย่างใน ขันธสังยุต ใน สังยุตกิกาย ก็แสดง เรื่องของขันธ์ทั้งนั้นเลย ใน สฬายตนวรรค ก็แสดงเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งนั้นเลย แล้วอรรถกถา ก็มารวบรวมว่า บางท่านพิจารณาขันธ์แล้วก็บรรลุ บางท่านพิจารณาอายตนะแล้วบรรลุ บางท่านพิจารณาปฏิจจสมุปบาทแล้วบรรลุ ก็เลยคิดว่าเป็น ธรรม คนละอย่างๆ กัน ถ้าเป็นธรรมอย่างเดียวกัน ทำไมจะต้องแสดงต่างกัน

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้หมายความว่าท่านเหล่านั้นไม่เคยฟังธรรรมมาเลย แล้วก็มาทรงแสดงเรื่องอายตนะ แล้วก็บรรลุ หรือว่าไม่ได้หมายความว่า ท่านเหล่านั้นไม่เคยฟังธรรม ไม่รู้เรื่องสภาพธรรม ไม่รู้เรื่องนามธรรม และ รูปธรรม โดยนัยประการต่างๆ แล้วก็มาแสดงเรื่องของขันธ์ แต่หมายความว่าท่านเหล่านั้น ต้องเคยฟังธรรมมามาก เพราะว่าทุกท่านต้องเป็นพหุสูตร คือผู้ที่ฟังมาก ลองคิดดู อะไรทำให้แต่ละท่าน ผ่านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์แล้ว พระองค์เล่า แม้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ หลังจากที่ได้รับคำพยากรณ์แล้วก็ได้พบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เฝ้า ๒๔ พระองค์ รวมทั้งพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย แล้วเราอยู่ที่ไหน เมื่อไร ผ่านมาแล้วเท่าไร จะผ่านไปอีกเท่าไร ก็เป็นเรื่องที่ว่าได้ฟังมาก เป็นเหตุให้เข้าใจมาก ได้อบรมมาก

    การศึกษาธรรม หรือการอ่าน ไม่ใช่ว่าเข้าใจโดยพยัญชนะ อย่างนี้สั้นมากนิดเดียวก็ เป็นพระโสดาบัน กับเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว แต่ว่าหมายความว่าท่านเหล่านั้นต้องเป็นพหุสูตร ต้องมีการฟังซึ่งเคยได้ฟังมาแล้ว อย่างทีฆนขปริพาชก เป็นครั้งแรกที่ได้เฝ้า แต่ว่าต้องมีการสะสมมาก่อน เพราะฉะนั้น บางคนฟังธรรมเข้าใจได้ง่าย บางคนก็ฟังแล้วฟังอีกนาน กว่าจะเข้าใจได้

    ผู้ฟัง เคยได้ยินท่านอาจารย์บอกว่าขณะแม้ วิปัสสนาญาณเกิด ขณะนั้นก็มีเรื่องราวบัญญัติ ได้ เพราะว่ามีสภาพธรรม ก็คือจิต เจตสิก ปรมัตถธรรม แต่ว่าเรื่องราวนั้นเป็นเพียงอารมณ์ มันก็รู้ความต่างกันเท่านั้นเองว่า ขณะใดเป็นบัญญัติ ขณะใดเป็นปรมัตถ

    ท่านอาจารย์ โดยมากเวลาพูดถึงวิปัสสนาปัญญา ที่รู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่ใช้คำว่า วิปัสสนาญาณ บางคนก็คิดว่าต้องไปรู้อะไรก็ไม่ทราบ ซึ่งไม่ป็นปกติ ต้องแปลกจากขณะนี้ตามความเป็นจริง แต่อะไรจะรู้ง่ายกว่า หรือยากกว่า ขณะนี้สภาพธรรมจริงๆ เกิดแล้วดับเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก ต้องเป็นปัญญาที่ได้อบรม จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้ง คำว่า ตามปกติของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อันนี้ยากที่สุด แต่ถ้าจะไปทำอะไรขึ้นมารู้ ไปกั้นไม่ให้นึกคิด หรือว่า เป็นเรื่องอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่ตามความเป็นจริง ขณะนั้นจะไม่ใช่วิปัสสนาญาณ

    บางคนก็คิดจะไปทำ แล้วก็คิดว่าจะไปเห็น คิดว่าจะไปดู การเกิดดับ ไม่มีทางที่จะ เป็นไปได้ด้วยปัญญา แต่เป็นไปได้ ด้วยความคิดนึก คือคิดเองว่าสภาพนั้นเกิดแล้วดับ เพราะว่าเคยได้ยินมาว่าเกิดแล้วดับ แล้วความอยากที่จะประจักษ์การเกิดดับ ก็พยายามที่จะไปจดจ้องที่จะให้เห็นการเกิดดับ แต่ไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่า ขณะนี้ทางตาที่กำลังเห็นไม่มีคนเลย ในสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งมีจริงๆ กระทบกับจักขุปสาทก็ปรากฏ แต่ว่าไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ หลังจากวาระที่เป็น ปัญจทวารวิถีแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นแล้ว มโนทวารเกิดแล้วหลายวาระ นั่นก็มีความจำจนกระทั่งติดแน่นเลย เป็นอัตตาสัญญาว่ามีคนจริงๆ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เราศึกษาธรรม เราก็ทราบว่า ธรรมจริงๆ คืออย่างนี้ แต่ปัญญาจริงๆ ถึงระดับที่จะรู้อย่างนี้หรือไหม หรือว่าก่อนที่จะประจักษ์การเกิดดับ ต้องคลายความเห็นว่ามีคนในสิ่งที่ปรากฏทางตา ยากไหม ธรรมดาๆ นั่นถึงจะเป็นปัญญาที่สามารถที่จะละคลายได้ ไม่ใช่ว่าไม่มีปัญญาอะไรเลยก็ไป คิดว่าจะคลาย จะละ คิดๆ เอาประเดี๋ยวก็ละคลายไปไม่ได้ ต้องแม้ในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเริ่มที่ปัญญาจะเห็นว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ แล้วค่อยๆ ถอนการที่คิดว่ามีคน มีสัตว์ อยู่ในสิ่งที่ปรากฏทางตา คนสัตว์ไม่ใช่ว่าไม่มี มีโดยสมมติ เพราะว่าถ้าบอกว่าไม่มี คุณอดิศักดิ์ คงแย่ ในห้องนี้ ใครก็คงบอกว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ว่าต้องรู้ตามความเป็นจริง ว่าถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็ไม่มีรูปธรรมนามธรรม ชื่อนี้ไม่มี หรือการสำคัญหมาย ว่าเป็นคนนี้ก็ไม่มี แต่เพราะเหตุว่ามีสภาพธรรม ที่เกิดดับสืบต่อเร็วมาก นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องศึกษาโดยละเอียดจริงๆ ว่า แท้ที่จริงไม่มี ต่อให้เราเห็นทุกวันๆ ว่ามี แต่ความจริงก็คือ ไม่มี ถึงจะเป็นความเห็นที่ถูกต้องได้ เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจลักษณะของความเห็นถูก กับความเห็นผิดว่าต่างกัน

    เรื่องของทิฏฐิที่เราฟังกันมา เมื่อกี้นี้มากมายเลย ก็เป็นเรื่องของความเห็นผิด รู้มากๆ ดีไหม เรื่องความเห็นผิดมากมาย หรือว่ารู้เรื่องความเห็นถูกจะดีกว่า เพราะว่าความเห็นผิดมากกว่านั้นอีกมากมาย แล้วก็เป็นสิ่งที่มีในพระไตรปิฎก แต่พอเป็นตัวหนังสือเราสงสัย เห็นอย่างไร แต่ความจริงในชีวิตของคนเราทุกคน ที่ไม่มีปัญญาที่จะรู้สภาพธรรม จะมีความเห็นผิดต่างๆ กัน คุยกัน สนทานากัน ตายแล้วสูญไหม ขณะนี้เที่ยงหรือเปล่า กรรมมีหรือเปล่า ให้ผลหรือเปล่า เพราะว่าบางคนเขาบอกว่าเขาทำดี แต่ได้ชั่ว แล้วเขาทำชั่วเขาก็ได้ ดี นี่แสดงว่าอย่างไร ในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องชีวิตตามความเป็นจริง แต่ว่าเราไม่สามารถที่จะไปละ ความเห็นผิดได้ โดยไม่มีความเห็นถูก เพราะว่าความเห็นผิดต้องเกิดจากความไม่รู้ ลักษณะของสภาพธรรม จะละความเห็นผิดทั้งหมดได้หมด ก็ต่อเมื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ถ้าทวารทั้ง ๕ ไม่มี บัญญัติไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีแต่ปัญจทวาร จะไม่มีบัญญัติ

    ผู้ฟัง ปัญจทวาร ไม่มีบัญญัติ

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีแต่ปัญจทวาร ไม่มีมโนทวารเลย

    ผู้ฟัง รูปารมณ์ ปรากฏที่จักขุวิญญาณ

    ท่านอาจารย์ รูปารมณ์ ปรากฏกับ จักขุทวารวิถีจิตทุกดวง เพราะว่ารูปารมณ์ มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น จิต ๑๗ ขณะ นับตั้งแต่ อตีตภวังค์ จนถึง ตทาลัมพนะ ๑๗ ขณะนั้น รูปยังไม่ดับ

    ผู้ฟัง รู้สภาพธรรม ทางตา มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่รู้ บัญญัติ สภาพธรรม สภาพธรรมไม่ใช่บัญญัติ

    ผู้ฟัง ทีนี้ถ้ารู้ปรมัตถอย่างเดียว

    ท่านอาจารย์ มิได้ หมายความว่าจักขุวิญญาณจิต หรือจักขุวิญญาณเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ได้คิดนึกเรื่องคนเรื่องสัตว์

    ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจว่า ปัญจทวารทั้ง ๕ เขาเห็น เห็นปรมัตถอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขณะเห็น มีรูปที่ยังไม่ดับ เป็นอารมณ์ ไม่มีโอกาสที่จะเป็นบัญญัติเลย

    ผู้ฟัง ก็มันเป็นปรมัตถ์ ใช่ไหม อาจารย์บอก หมายถึงเป็นปรมัตถ์ อย่างนี้ระลึกรู้ ไม่มีค่าอะไร เพราะว่ามันเป็นปรมัตถ์อยู่แล้ว

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ก็เป็นปัญญา

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์บอกว่าให้ระลึกรู้ หมายถึงก็ไมต้องระลึกรู้ เพราะมันเป็นปรมัตถแล้ว ทางปัญจทวาร ปัญจทวารเป็นปรมัตถ มโนทวารที่สืบต่อ ก็ต้องเป็นปรมัตถ ไม่มีการระลึกรู้ ผมจะเข้าใจอย่างไร

    ท่านอาจารย์ คุณเริงชัย เราจะพิจารณา หรือจะไม่พิจารณา จะรู้หรือไม่รู้ สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียนเรื่องสภาพธรรมตามความเป็นจริง ให้เห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึ่งไม่เป็นไปตามความต้องการของใครเลย ใครจะไม่อยากให้วิถีจิตเกิด ก็ไม่ได้ ใครไม่อยากให้จิตเป็นภวังค์ ก็ไม่ได้ ใครไม่อยากจะมีปฏิสนธิจิตหลังจากจุติจิตเกิด ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราศึกษาธรรมให้เข้าใจ ความเป็นธรรม

    ผู้ฟัง สำคัญที่สุด ต้องระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า ไม่ใช่บังคับ แต่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เพียงขั้นคิด โดยสติเกิด ที่ใช้คำว่า สติปัฏฐาน หมายความว่าระลึก ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ให้รู้ความจริงว่าเป็น ธรรมแต่ละอย่าง ตามที่ได้เรียน เพราะว่าคำแรกที่เราเรียน ก็คือว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม สิ่งที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรม แล้วธรรมมี ๒ อย่างคือนามธรรม กับ รูปธรรมแค่นี้ เราละกิเลสไม่ได้ เราไม่สามารถประจักษ์ลักษณะจริงๆ จนกระทั่งเราต้องฟังอีกมาก เข้าใจอีกมาก จนกระทั่งสติปัฏฐานเกิด แล้วถึงจะค่อยๆ รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่สติระลึก จนเป็นความเห็นที่ถูกต้องยิ่งขึ้นทั่วทั้งหมด ละความสงสัยในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม

    ทางตาที่บอกว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แค่นี้จริงหรือเปล่า แล้วเมื่อไร เราจะรู้อย่างนั้นจริงๆ เมื่อไรจะไถ่ถอน ความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ก็ต้องฟังไปให้เข้าใจ เรื่องของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ตั้งแต่ต้น ลืมไม่ได้ ต้องติดตามไปเป็นความเข้าใจโดยตลอด ไม่อย่างนั้นก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจทุกคำ ที่ได้ยินได้ฟังแล้วไม่หลงลืม ความหมายนั้นด้วย อย่างปัญจทวาร ทั้ง ๕ รู้อะไร รู้รูปที่ปรากฏที่ยังไม่ดับ แค่นี้ก็หมายความว่าคุณเริงชัย เข้าใจความต่างของปรมัตถ กับ บัญญัติ เพราะว่ารปูทางปัญจทวาร เป็นปรมัตถธรรม ปัญจทวารวิถีจิตจะมี รูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ไม่ใช่บัญญัติ ก็เห็นความต่างว่าบัญญัติ จะเริ่มตอนที่ มโนทวารวิถีรับต่อหลายวาระ แล้วก็คิดถึงเรื่องราวรูปร่างต่างๆ

    ถ.ขอเรียนถามว่าจิตที่เป็น กุศล กับ อกุศล ในชวนจิต จะเป็นวิบากได้อย่างไร ตอนไหน เป็นผลของกรรมได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้เห็น เป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต

    ผู้ฟัง เป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้แล้ว คือเราจะต้องไม่ลืมว่าจิต มี ๔ ชาติ กุศลจิตเป็นเหตุที่ดี ที่จะทำให้เกิด กุศลวิบากจิต อกุศลจิตเป็นเหตุ เป็นตัวเหตุที่ไม่ดี ที่จะทำให้เกิดผล คือ อกุศลวิบากจิต

    เพราะฉะนั้น จะไม่ปนเรื่องจิต ๔ ชาติ คือกุศล ๑ อกุศล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ นี่เป็นพื้น ที่จะเห็นความต่างกันของจิตในชีวิตประจำวัน แล้วก็ไม่สับสน เพราะฉะนั้น ถามอีกที กำลังได้ยินเสียง เป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต จิตที่ได้ยินเสียง เป็นกุศลจิต หรือ เป็นอกุศลจิต

    ผู้ฟัง เป็นกุศลจิต เพราะว่าไม่ได้มีโทสะ อะไร

    ท่านอาจารย์ นี่ต้องมีความแม่นยำจริงๆ

    ถ.ได้ยินแล้วก็ไม่ เป็นกุศล อกุศล

    ท่านอาจารย์ เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก นี่คือเราจะต้องจำจริงๆ เข้าใจจริงๆ แล้วก็พูดสั้นๆ ไม่ได้

    ผู้ฟัง ทั้ง ๕ ทวารแต่ก็ไม่เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่าปฏิสนธิจิต เป็นวิบากจิต คือเป็นผลของกรรม ขณะแรกที่เกิดไม่ใช่ขณะที่เป็นกรรม หรือกระทำกรรม แต่ว่าผลของกรรม ๑ ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เป็นอะไร เป็นกุศล หรืออกุศล ปฏิสนธิจิต

    ผู้ฟัง เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก นี่ต้องมีความมั่นคง เมื่อปฏิสนธิจิตดับแล้ว กรรมไม่ได้ทำให้เพียงปฏิสนธิจิตเกิด ปฏิสนธิจิตต้องเป็นวิบากทั้งหมด จิตที่เกิดขณะแรกต้องเป็นผลของกรรม แล้วแต่ว่าจะเกิดเป็นสัตว์ งู นก ปู ปลา หรือว่าจะเกิดเป็นเปรต หรือว่าจะเกิดในนรก เกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม ปฏิสนธิจิตทุกภพภูมิ เป็นวิบาก คือเป็นผลของกรรม ตามควรแก่กรรมนั้นๆ

    ถ้าเราทำกามาวจรกุศล แล้วบอกว่าคนนี้จะไปเกิดเป็นพรหม เป็นไปได้ไหม ไม่ได้ เพราะว่าเหตุต้องตรงกับผล ถ้าเป็นเพียงกุศลขั้นกามาวจระ เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็จะเกิดในมนุษย์ หรือในภูมิของเทวดา ๖ ภูมิ เป็นสุคติภูมิ เพราะฉะนั้น เมื่อกรรมทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด แล้วดับ กรรมไม่ได้ทำให้จิต ขณะเดียวเกิดเป็นผล กรรมยังทำให้จิตต่อไป เป็นวิบากประเภทเดียวกัน เพราะเหตุว่าเป็นผลของกรรมเดียวกัน เพราะฉะนั้น ขณะนั้นไม่ได้ทำปฏิสนธิจิต หรือปฏิสนธิกิจ เพราะว่าปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับแล้ว จิตขณะต่อไปทำภวังคกิจ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567