ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๗๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ เหมือนอย่างคนที่มีเมตตา กับคนที่มีโทสะ คนที่มีโทสะก็โกรธบ่อยขึ้นๆ เป็นคนเจ้าโทสะ แต่คนที่มีเมตตา แล้วเพิ่มเมตตาขึ้นเรื่อยๆ เขาก็สามารถที่จะมีเมตตาได้มากขณะนั้นก็ไม่จำเป็นที่จะไปเจริญเมตตาให้ถึงอัปปนาชวนะ หรือว่าอัปปนาสมาธิ

    เพราะฉะนั้น เราซึ่งเป็นผู้ศึกษาธรรม เป็นผู้ที่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ว่าแม้สมถภาวนาจะอมรมได้จนถึง อรูปฌานขั้นสูงที่สุด ไม่สามารถจะรู้แม้ลักษณะ ของนามธรรม และรูปธรรมในขณะนั้นว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ยิ่งในธรรมที่กำลังปรากฏ

    แต่ว่าถ้าเราอบรมเจริญสติปัฏฐาน พอถึงมรรคจิต เป็น อัปปนาชวนะ แนบแน่นเท่ากับปฐมฌาน เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องเข้าใจความหมายของ คำว่า สงบภายใน แล้วแต่บุคคล ถึงแม้ท่านเป็นภิกษุ ต้องเป็นผู้ละ ทั้งหมดในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คงไม่ลืมสมุทัยสัจ โลภะ ความติดข้อง ถ้าเราจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ อรูปฌาน แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ต้องติดข้องว่าเป็นเราที่ได้ ไม่ใช่เป็นปัญญญาที่สามารถจะเห็นความจริงของสภาพธรรมได้

    เพราะฉะนั้น ก็มีระดับขั้นของความสงบ คือ ขณะใดที่กุศลจิตเกิดมากหรือน้อยตามควร ขณะนั้นก็สงบตามสมควร แต่ว่าที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสงบที่เกิดร่วมกับสัมมาทิฏฐิ ที่เกิดร่วมกับสัมมาสติ ซึ่งเป็นมรรคมีองค์ ๘ หรือมีองค์ ๕

    วิทยากร. เพราะฉะนั้น ที่พระองค์ทรงแสดงข้อความ ตั้งแต่แรกมาก็คือ เพื่อทรงเตือนให้พิจารณาลักษณะสภาพจิตของตน ตามความเป็นจริง ว่ามีกุศลจิตเกิด เป็นความสงบในภายใน บ้างแล้วหรือยัง แล้วก็มีการระลึกรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงบ้างหรือยัง หรือว่า ถึงขั้นรู้แจ้งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่งหรือเปล่า เพื่อที่จะทรงเตือนให้มีความเพียร ที่จะอบรมเจริญกุศลทุกประการ

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าเราจะต้องแยก ๒ อย่าง สมถเสียก่อน แล้วก็วิปัสสนาทีหลังอย่างข้อความนี้อาจจะทำให้เข้าใจ อย่างนั้น ใช่ไหม แต่จริงๆ แล้วขณะใดที่สัมมาสติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ความสงบนั้นที่ประกอบด้วยปัญญา ต้องยิ่งกว่าความสงบที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ที่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม

    ผู้ที่ฟังธรรมแล้ว แม้ว่ากุศลจิตจะเกิด แต่ก็ยังรู้ตามความเป็นจริงว่ากุศล อย่างนี้เป็นปัญญาที่รู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมหรือเปล่า เพราะว่าคนส่วนใหญ่บางคนพอใจในกุศล พอเป็นกุศลก็พอใจแล้ว แต่ความจริงไม่ควรจะพอใจที่เป็นกุศล เพราะเหตุว่าความพอใจก็ยังเป็นความยินดีติดข้อง ต้องการกุศล แต่ต้องเป็นผู้ที่เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเลย

    ผู้ที่ได้ฟังเรื่องสติปัฏฐาน ก็จะมีสิ่งที่เตือนใจว่าแม้เป็นกุศล แต่กุศลนั้น เป็นการเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่งหรือหนอ ให้รู้จักตามความเป็นจริงว่า กุศลใดๆ ก็ยังไม่พอ เพราะว่ากุศลที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ เป็นสมุจเฉท

    เพราะฉะนั้น การระลึกก็อาจจะมีกุศล หลังจากที่เห็น กระจก ส่องกระจก แต่ก็ยังต้องรู้ว่าขณะนั้น เป็นปัญญาที่รู้แจ้งธรรมหรือเปล่า ด้วย ไม่ใช่เพียงหยุดอยู่แค่กุศล ก็ดีแล้ว เราไม่เคยเป็นกุศลมาก่อน เพราะฉะนั้น ขณะนี้เป็นกุศลก็ดีใจ

    การที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่ใช่ว่าแต่ละขั้นของปัญญาที่จะเกิดขึ้นนั้น จะเป็นไปโดยง่าย แม้ว่าสติปัฏฐานจะเกิด แต่ความมากมายของความไม่รู้ แล้วความยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเรา นานแสนนานมาแล้ว เช่น ในขณะนี้ ลักษณะที่แข็งปรากฏ ก็รู้ว่าแข็ง เป็นสภาพธรรม เป็นรูปธรรม แล้วสภาพที่กำลังรู้ ก็เป็นนามธรรม ไม่ใช่ไม่รู้ แต่ไม่ถึงระดับของวิปัสสนาญาณ ที่จะประจักษ์แจ้งว่าเป็นเพียงธาตุ หรือเป็นธรรมซึ่งขณะนั้น ไม่ใช่เราที่กำลังรู้ เพราะว่าเวลาที่แข็งปรากฏแล้วมีสภาพรู้ แต่ก็ยังเป็นเราอยู่นั่นเอง เพราะเหตุว่าสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ยังไม่ได้เกิดขึ้นประจักษ์แจ้ง ด้วยวิปัสสนาญาณ

    เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริงก็เป็นไปตามลำดับ ซึ่งอุปมาว่าเปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้า ถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ นี่ก็เริ่มที่จะเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วขณะใดที่เป็นผู้ประมาท ขณะนั้นก็เหมือนไฟ กำลังไหม้ศีรษะ ซึ่งคนที่กำลังมีอกุศลมากมาย ได้ฟังอย่างนี้ก็ไม่ รู้สึกอย่างนั้น ใช่ไหม ไม่เหมือนไฟที่กำลังไหม้ศีรษะเลย แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาถึงระดับนั้น ก็ย่อมจะเห็นว่า เหมือนศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ และสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้า หรือไฟไหม้ศีรษะนั้น นั่นเทียว นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่า จะต้องรู้ว่าแค่นั้นไม่พอ เท่านั้นไม่พอ ก็จะต้องมีความเพียรต่อไป ที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรม จนกว่าที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมระดับต่อไป

    สมัยต่อมาภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน นี่เป็นผู้ที่ตามขั้นแล้ว จากพระโสดาบันเป็น พระสกทาคามี ถึงความเป็นพระอนาคามี สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน นี่คือพระอนาคามีบุคคล และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุทั้งหลายพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความสงบจิตภายใน ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรม เหล่านั้น นั่นแหละ แล้วพึงทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ ต่อไปก็กล่าวถึงเหตุที่ควรจะต้องเสพเพื่อที่จะให้ปัญญาเจริญขึ้น กุศลธรรมเจริญขึ้น โดยจีวร โดยบิณฑบาต เสนาสนะ บ้าน นิคม ชนบทประเทศ และบุคคลที่ควรเสพ ไม่ควรเสพ เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมนานมาก

    ผู้ฟัง ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ๓ อย่างนี้มัน คล้ายกันมาก ความต่างของมันอยู่ที่ไหน

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่สภาพของความเพียรที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ธรรมดาปกติ เว้นจิต ๑๖ ดวง จิตอื่นมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่รู้ไหม ขณะที่เพียงหยิบหนังสือ หรือมองเห็นอะไรแล้วเกิดความพอใจขึ้น แค่พอใจไม่ได้ทำอะไรเลย แค่พอใจเกิดขึ้นนิดหนึ่ง มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นจะเป็นความอุตสาหะ หรือความขะมักเขม้น หรือความไม่ท้อถอย หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นกำลังของความเพียร ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เป็นลักษณะต่างๆ ของสภาพธรรมหนึ่งอย่างซึ่งเกิดขึ้น เป็นไป

    ผู้ฟัง คำว่า สติ และสัมปชัญญะ ปัญญา

    ท่านอาจารย์ สติ เป็นโสภณเจตสิกเกิดกับกุศลทุกประเภท แต่ว่าถ้าจะเป็นการอบรมเจริญกุศลให้มั่นคงที่เป็น สมถ และวิปัสสนา ก็จะต้องประกอบด้วยสัมปชัญญะ ไม่ใช่ความผิดปกติ แต่เป็นการรู้ ตัวทั่วพร้อมตามปกติที่สภาพธรรมนั้น กำลังเป็นอย่างนั้น แต่ว่าระดับขั้นของสัมปชัญญะ ของสมถภาวนาก็เพียงทำให้ จิตสงบ แล้วก็ตั้งมั่นด้วยความสงบนั้น จนกระทั่งเป็นลักษณะของจิตที่ประกอบด้วย สมาธิขั้นต่างๆ

    แต่สำหรับวิปัสสนาภาวนานั้นก็ คือขณะนั้นเป็นผู้ที่มีปกติจริงๆ ไม่มีการคิดจะทำ หรือเปลี่ยนแปลง ใดๆ ทั้งสิ้น แต่ขณะใดที่สติเกิดก็ระลึก สิ่งที่มีปรากฏในขณะนั้นแล้ว ตามปกติ จึงเป็นสติสัมปชัญญะ ส่วนปัญญาก็เป็นการที่ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ สภาพนั้นจนกระทั่งเป็นความสมบูรณ์ขึ้น เป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น

    ผู้ฟัง คำว่า สัมปชัญญะ กับ ปัญญานี้ต่างกันอย่างไร ขออาจารย์ชี้แจงอันนี้ด้วย

    ท่านอาจารย์ โดยรูปศัพท์ สัมปชัญญะ กับปัญญา

    วิทยากร. สัมปชัญญะ กับปัญญา ต่างกันอย่างไร ถ้าว่าโดยอรรถ เอาใจความแล้วเป็นอย่างเดียวกัน แต่เมื่อว่าโดยพยัญชนะต่างกัน

    สัมปชัญญะ แปลว่า รู้สึกตัวทั่วพร้อม ที่เราบอกว่า รู้ทั่วพร้อม เราก็แถมตัวไปอีกหน่อย คือ สภาวะ ไม่ใช่ตัวที่เป็นบัญญัติ ตัวเป็นปรมัตถ รู้สึกตัวทั่วพร้อม พร้อมก็มาจาก สัม-ป ก็แปลว่าทั่ว รู้ก็มาจาก ญาณ คือ ปัญญาทรัพย์

    ชัญญะ แปลว่ารู้ รู้สึกตัวทั่วพร้อม

    คำว่า ปัญญา แปลว่ารู้ทั่ว คือรู้ว่าสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา รู้โดยปรมัตถที่ท่านอาจารย์พูดบ่อยๆ ว่าจิต เจตสิก เกิดขึ้น เพื่อปฏิเสธคำว่า เรา ปฏิเสธ คำว่าคน คนเห็นไม่มี ใช่ไหม มีแต่จิต เจตสิก ที่เห็น เช่น สี มากระทบตา ที่ท่านอาจารย์พูดบ่อยๆ ว่า จิต เจตสิกเกิดขึ้น แล้วก็ระลึกรู้ ทั้งสี ไม่ใช่คน เพื่อปฏิเสธคน เพื่อปฏิเสธเรา จึงกล่าวว่าจิต เจตสิกเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ เวลาที่คุณสุรีย์เข้าใจว่า สิ่งที่มีจริง ขณะนี้ เป็น ธรรม ทุกอย่างที่มีจริง มีสภาวะลักษณะที่ปรากฏ ให้รู้ได้เป็นธรรมอันนี้เข้าใจอย่างนั้น ใช่ไหม ขณะนั้นเป็นปัญญา หรือเป็นคุณสุรีย์

    ผู้ฟัง ปัญญา

    ท่านอาจารย์ เป็นปัญญา แต่ไม่ ใช่สติสัมปชัญญะ แม้ว่าขณะที่กุศลจิตเกิด จะมีสติเจตสิกเกิดด้วยทุกครั้งที่เป็นกุศลจิต แต่สัมปชัญญะต้องหมายความว่า ขณะที่รู้ กล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม ใครๆ ก็พูดได้ เข้าใจแล้ว ว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่คนที่อบรมสติปัฏฐานจนกระทั่ง สามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ด้วยปัญญาที่รู้ในความเป็นธรรมของสิ่งนั้น แล้วกล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม จะต่างกันไหม กับคนที่เพียงแต่กล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม เพราะเข้าใจ ฟังแล้วเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม

    แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วกล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรม คำพูดเหมือนกัน แต่ปัญญาของผู้กล่าวต่างกัน

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เราบอกว่าทุกอย่างเป็นธรรม เป็นปัญญาระดับ ๑ แต่ยังไม่ได้รู้จักตัวธรรมจริงๆ แต่ขณะใดก็ตามที่ทุกอย่างเป็นธรรมแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้สติระลึกได้ เพราะไม่ลืม มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ปฏิเสธว่าจะต้องอยู่ตรงนั้น หรือเฉพาะรูปนี้รูปนั้น เพราะมีความเข้าใจถูกต้องว่าทุกอย่างเป็นธรรม แล้วสติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมในขณะที่แม้กำลังพูด กำลังเห็น กำลังฟัง กำลังคิด

    ขณะที่สติปัฏฐานเกิด เป็นสติสัมปชัญญะ เพราะไม่ใช่เพียงแต่เข้าใจขั้นระดับการฟัง ที่เป็นปัญญา แต่สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ในขณะนั้น จึงเป็นสัมปชัญญะ

    เพราะฉะนั้น ไม่ว่า จะเป็นการอบรมเจริญสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่ว่าจะอบรมได้โดยปราศจากปัญญา ต้องมีปัญญาต่างระดับ ปัญญาระดับขั้นของ สมถ ก็สามารถจะมีสัมปชัญญะที่จะรู้ลักษณะของจิตซึ่งเป็นกุศล ต่างกับอกุศล เพราะฉะนั้น จึงรู้จัก นิวรณธรรม หรือที่เราเรียกว่า นิวรณ์ ๕ เมื่อรู้แล้วก็สามารถที่จะตรึก หรือระลึกถึงอารมณ์ที่ทำให้จิตสงบ เป็นการที่จะทำให้จิตนั้นห่างจากอกุศลจนกระทั่งสามารถ ที่จะตั้งมั่นคง ปราศจากนิวรณ์ได้ด้วยสัมปชัญญะ แต่ไม่ได้ด้วยการ เพียงรู้ว่า นิวรณ์มี ๕ เป็นอะไรบ้าง แล้วก็เวลาที่จิตสงบ จะไม่มีนิวรณ์เหล่านี้ แต่ต้องเป็นขณะที่พร้อมด้วยสัมปชัญญะในขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่จริงๆ จึงเป็นปัญญาที่เป็นสัมปชัญญะ

    ผู้ฟัง ฟังดูแล้วเหมือนกับว่าเป็นปัญญาซึ่งรู้ รู้จักตัวธรรมนั่นเอง

    ท่านอาจารย์ ด้วยสัมปชัญญะ จึงจะรู้

    ผู้ฟัง ด้วยสัมปชัญญะ ทีนี้ ท่านก็แจงสัมปชัญญะออกมาเป็น สัมปชัญญะ ๔ จะเรียนถามต่อไปว่า ด้วยแหตุผลที่อาจารย์ได้ กรุณาเล่าให้พวกเราฟัง หรือชี้แจง ให้พวกเราฟังว่าปัญญาในระดับสัมปชัญญะ เป็นอย่างไร ก็เลยเรียนถามว่าเมื่อท่านแจงสัมปชัญญะออกมาเป็น ๔ คือมี อันที่ ๑ ก็มี สาตถกสัมปชัญญะ ๒, ๓, ๔ พวกนี้ การที่ท่านแจง ๔ ออกมานี้ ท่านมีจุดประสงค์อย่างไร เป็นระดับของปัญญาที่อาจารย์พูดหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เกื้อกูลกันตลอดว่าเป็น ระดับไหน

    วิทยากร.ปัญญาในเบื้องต้นโดยมาก ท่านใช้สัมปชัญญะ ปัญญาในวิปัสสนาที่มันสูงขึ้นๆ ท่านใช้คำว่าญาณ อย่างวิปัสสนาญาณที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ เพิ่มขึ้นเรื่อย

    ถ้าเบื้องต้น โดยมากที่กำหนด มนสิการ นามรูป ท่านก็ใช้สัมปชัญญะ เพราะว่าให้รู้สึกทั่วทุกอย่าง เลย จะเป็นรูปเป็นนามอะไร ขณะเราเดินยืนอะไรนะ เพราะฉะนั้น ถ้าว่าโดยอรรถ แล้วก็คือปัญญา ถ้าว่าโดยพยัญชนะที่ใช้ ก็ต่างกันบ้าง

    แต่โดยใจความคือโดยอรรถ หมายถึงปัญญาทั้งหมด ปัญญาที่เป็นญาณสูงขึ้นๆ เช่นเราศึกษา วิปัสสนาญาณแล้ว ความมักจะเกิด ตั้งแต่ญาณที่ ๑ คือนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้นไป จนกระทั่ง มรรคญาณ ท่านใช้ญาณ คือปัญญา รู้แจ้งตามที่กล่าวตั้งแต่เบื้องต้น แต่ถ้าเบื้องต้นจริงๆ ก็สัมปชัญญะก็คือปัญญาเหมือนกัน แต่ท่านใช้ตอนต้นๆ เท่านั้น

    ผู้ฟัง ผมไม่เคยรู้เรื่องปัญญาเจตสิกเลย มานั่งอ่าน หรือมานั่งฟังท่านอาจารย์ ในข้อความอย่างนี้ ก็เป็นปัญญาเจตสิกในระดับ ๑ แต่ถ้าหากว่าในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ใช้คำว่า สติสัมปชัญญะ สัมปชัญญะตัวนี้ไม่ใช่ปัญญาในขั้นการอ่าน การฟังหรือ เป็นปัญญาในขั้น ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถูกต้องตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ อาตาปี สัมปชาโน สติมา เพราะฉะนั้น ก็เป็นการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งจะต้องพร้อมด้วย สัมปชัญญะ สติ และความเพียร

    ผู้ฟัง ในกรณีที่ ขณะที่สติปัฏฐานเกิด จะกล่าวได้ไหมว่า เป็นปัญญาเจตสิก ที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสัมมาทิฏฐิ ก็ไม่ใช่สัมมามรรค

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น สัมปชัญญะ กล่าวโดยทั่ว หมายความว่า

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ขณะที่เพียงขั้นฟัง เรื่องราว

    ผู้ฟัง สัมปชัญญะ จะเกิดทั้งสมถ และวิปัสสนา ใช่ไหม หรือว่าเฉพาะวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรม นอกจากจะศึกษาพระอภิธรรม เพื่อจะได้รู้ลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ก็ยังจะต้องกว้างขวางไปถึงพระสูตรที่ทรงแสดงเรื่องสภาพธรรม คือ จิต และเจตสิกเพียง ๕๒ โดยนัยหลากหลาย เพราะฉะนั้น แม้ว่าในพระอภิธรรมจะไม่มีคำว่า สัมปชัญญะ ๔ แต่โดยปรมัตถธรรม ต้องเป็น ปัญญาเจตสิก

    ผู้ฟัง อีกข้อความหนึ่ง ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ ในความละเอียดก็ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญ แม้โดยอามิสก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้นประพฤติเพื่ออนุเคราะห์ พรหมจรรย์ ในตอนท้ายของท่านอธิบาย สาตถกสัมปชัญญะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าอ่านข้อความในอรรถกถา จะมีข้อความว่าอาจารย์บางพวกเสมอๆ แสดงให้เห็นว่านอกจาก ความเห็นของท่านอรรถกถาจารย์ผู้รจนา ท่านก็ยังกล่าวถึงความเห็นอื่นๆ ของท่านผู้อื่น ซึ่งควรที่จะได้พิจารณาแล้วเทียบเคียงว่าสิ่งไหนถูกต้อง หรือว่าถูกต้องทั้ง ๒ อย่าง เพราะว่าโดยตรงกับโดยอ้อม

    อย่างผู้ที่จะศึกษาธรรม บางคนก็บอกว่า ถ้าไม่มีชีวิตที่สามารถจะศึกษาธรรมได้ เช่น ไม่มีเงิน ไม่มีอาชีพ ไม่มีอะไรจะอยู่อย่างไร จะทำอย่างไร แล้วเขาจะมาศึกษาธรรมได้อย่างไร เขาก็จะต้องมีความจำเป็นต่อการที่จะมีชีวิตดำรงต่อไปด้วยดี เพื่อที่จะได้มีโอกาสสบายๆ ที่จะได้ศึกษาธรรม อันนั้นก็จะเป็นอย่างหนึ่ง ซึ่งท่านผู้นี้คือ บางอาจารย์กล่าวว่า เพราะเหตุว่าชีวิตตามความเป็นจริงก็ ต้องมีปัจจัยที่จะดำรงไปได้ มีอาหาร มีเครื่องนุ่งห่ม มีเสื้อผ้า มียารักษาโรค แล้วแต่ว่าเป็นเพศไหน เพราะฉะนั้น บางคนเข้าใจว่า พอศึกษาธรรมแล้วก็ไม่มีอะไรเลย ไม่ต้องมีชีวิตอย่างปกติธรรมดา อย่างสะดวกสบาย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย

    แม้แต่การที่เราจะบำรุงพระศาสนา เราก็ต้องมีเครื่องมือ ตั้งหลายอย่าง นี่ก็ต้องใช่ นั่นก็ต้องใช่ แล้วถ้าเราไม่สามารถจะมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะทำได้ไหม เพราะฉะนั้น ชีวิตที่จะดำรงต่อไป ก็ควรจะเป็นทั้งโลก และธรรม ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่ว่าคฤหัสถ์จะไปบำเพ็ญชีวิตอย่างบรรพชิต หรือว่าบรรพชิตจะมีชีวิตอย่างคฤหัสถ์

    ผู้ฟัง ที่มีอามิส ก็หมายความว่า ท่านรับเพื่อจะดำรงชีวิตอยู่เพื่อ ถ้าเผื่อเป็นอาจารย์ เพื่อแสดงธรรม

    ท่านอาจารย์ อามิสได้แก่อะไรต้องทราบก่อน

    ผู้ฟัง อาจารย์บอกปัจจัย ๔

    ท่านอาจารย์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพ

    ผู้ฟัง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มันก็รวมถึง หมายถึง อาหารด้วย ที่ดิฉันพูดหมายถึงอาหาร

    ท่านอาจารย์ ชีวิตที่ เราจะดำเนินไป ถ้าเราไม่รู้จักประโยชน์ เราก็ดำเนินชีวิตต่อไม่ได้ ถ้าคนที่ ป่วยไม่รู้ว่าจะรักษาตัวอย่างไร ก็ดำเนินชีวิตต่อไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เห็นประโยชน์ ของการที่จะมีชีวิตเพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมด้วย แต่ประโยชน์ตรงก็คือว่า ประโยชน์ที่จะได้เข้าใจพระธรรม

    ผู้ฟัง เพื่อยังชีวิตอยู่ประกอบ ความดีนั้นเอง ถูกไหม เพื่อจะรู้จักพระธรรมเพื่อจะแสดงธรรม นั่นเอง

    ท่านอาจารย์ เป็นคนฉลาด เป็นคนที่มีปัญญา รู้ประโยชน์

    ผู้ฟัง สาตถกสัมมปชัญญะ

    วิทยากร. ไม่ทราบว่า สาตถกสัมมปชัญญะ ยังจะมีอะไรสนทนากันอีกไหม ก่อนจะได้ต่อ สัปปายะสัมปชัญญะ

    ผู้ฟัง อาจารย์ช่วยแสดงโดยสภาพธรรม ในปัญญาระดับนี้ว่า โดยสภาพธรรมเป็นอย่างไร ในสาตถกสัมปชัญญะ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจประโยชน์ ว่าสิ่งไหนเป็นประโยชน์

    ผู้ฟัง แค่เข้าใจ คือรู้ประโยชน์ อันไหนควร

    วิทยากร.ไม่ทราบท่านอาจารย์จะขยายความเพิ่มเติมในส่วนของสัปปายะสัมปชัญญะ

    ท่านอาจารย์ อ่านแล้วก็มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าต้องเป็นผู้ที่ฉลาดรู้ประโยชน์ และรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร โดยเฉพาะเวลาที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็ต้องมีโคจรสัมปชัญญะ คือรู้ว่าอารมณ์ที่สติจะระลึก หรือว่าที่จะให้ปัญญารู้แจ้งนั้น เป็นอารมณ์อะไร และ อสัมโมหสัมปชัญญะ ก็คือขณะที่ค่อยๆ เข้าใจถูก มีความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั้น ก็ง่ายๆ ธรรมดา ถ้าเราไม่คิดมากมาย ก็เข้าใจได้ถูกต้องว่าหมายความแค่นี้ แต่ว่าตามความเป็นจริงในชีวิตของแต่ละคนก็แล้วแต่เหตุการณ์แต่ละอย่าง ว่าขณะใดเห็นประโยชน์ ตรงไหน เป็นสัปปายะตรงไหน โคจรสัมปชัญญะ คืออารมณ์ของแต่ละคนคือขณะไหน แล้วปัญญาก็รู้ลักษณะนั้น เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ผมยังคิดอยู่เสมอ คำว่า สัปปายะ หมายถึงสถานที่ ไม่ได้หมายถึงสภาวะธรรม ที่เกี่ยวกับตัณหา มานะ หรือทิฏฐิ ผมนึกว่าถ้าเผื่อเป็นอย่างนั้น อยู่ที่ไหนก็ได้ มันเป็นสัปปายะทั้งนั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เมื่อมีปัญญา

    ผู้ฟัง ถ้ามีปัญญา แล้วถ้าเผื่อไม่มี ตัณหา มานะ

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหนก็

    ผู้ฟัง อยู่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็นสัปปายะ

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นความหมายของสัปปายะไม่ได้หมายถึงสถานที่ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องเกี่ยวกับการที่จะอบรมเจริญปัญญาที่จะละกิเลสทั้งหมด

    ผู้ฟัง ไม่มีคำว่าสถานที่มาเกี่ยวข้องเลย

    ท่านอาจารย์ ใน มหาสติปัฏฐานสูตร ไม่เกี่ยวกับสถานที่เลย

    ผู้ฟัง แปลก อันนี้ผมคิดว่าผม ไม่ทราบท่านอื่นจะเคยคิดเห็นอย่างผมไหม ที่อ่านหนังสือ เวลาก่อนจะไปปฏิบัติธรรม ก็จะให้อ่านแล้วก็มีคำว่า สัปปายะ สัปปายะ

    ท่านอาจารย์ แต่เมื่อเช้าเราพูดถึง สิ่งที่ควร และไม่ควรเสพ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567