ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๗๕

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ผู้ฟัง ไม่ทราบท่านอื่นจะเคยคิดเห็นอย่างผมไหม ที่อ่านหนังสือ เวลาก่อนจะไปปฏิบัติธรรม ก็จะให้อ่านแล้วก็มีคำว่า สัปปายะ สัปปายะ

    ท่านอาจารย์ แต่เมื่อเช้าเราพูดถึง สิ่งที่ควร และไม่ควรเสพ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ มีคำว่า เสนาสนะ มีคำว่า นิคมชนบท เรื่องของธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ อย่าเพียงรู้เฉพาะส่วน แล้วก็เข้าใจว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น แม้แต่การที่จะเป็นผู้ที่รู้ประโยชน์ว่า สิ่งใดควรเสพไม่ควรเสพ เพื่ออะไร ต้องมีว่าเพื่ออะไรด้วย บางคนก็คิดว่าสถานที่นี้ ควรเสพ เงียบสงบดี และสถานที่อื่นไม่ควรเสพ ไม่เงียบสงบ แต่เพื่ออะไร สงบเพื่ออะไร มีปัญญาหรือเปล่า หรือว่าไม่มีปัญญาเลย แต่ชอบที่จะให้สถานที่นั้น เป็นที่ๆ เหมาะที่ควรโดยที่ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องเป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพุทธ คำสอนก็เป็นเรื่องของพุทธศาสนา เป็นเรื่องของปัญญาที่เราจะต้องมีความเห็นที่ถูกต้อง ใคร่ครวญพิจารณาไตร่ตรองประกอบทุกส่วนของพระธรรม มิฉะนั้นแล้วพอมาถึง สัปปายสูตร แล้วเราก็จะงงอีก ใช่ไหมว่าเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ผมฟังคุณเด่นพงษ์แล้วก็ ความที่ไม่มั่นคงในธรรมที่ได้ศึกษามา ชักจะเห็นพ้องว่า กำลังพิจารณาอยู่ว่า ที่ว่าสบายนั้น สถานที่สบาย หรือว่าใจสบาย

    ท่านอาจารย์ สำหรับคุณเด่นพงษ์ คิดถึงเพื่อที่จะให้ปัญญาเกิด ใช่ไหม เรื่องของสถานที่

    ผู้ฟัง ขอประทานอภัยท่านอื่นๆ ด้วย บังเอิญผมก็เป็นคนธรรมดาที่อยู่ในโลกธรรมดาๆ คือ เราจะสร้างบ้านได้ เราก็มองทางลม ว่าลมจะมาทางไหน ฝนจะมาทางไหน แดดจะมาทางไหน เราจะไปปฏิบัติธรรม เราก็นึกถึงว่า อาจารย์ไหนดี กุฏิไหนดี บรรยากาศไหนดี ที่จะทำให้ใจเราโน้มน้าวให้ใจเรา ไปหาที่สงบ ไปหาที่ที่มันจะช่วยได้ หรือแม้อย่างสมมติ คิดอย่างง่ายๆ แบบผม ก็คือแม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะตรัสรู้ก็ทรงประทับนั่งอยู่ ริมแม่น้ำที่มัน สบายๆ ผินหน้าไปทางนั้น ทางนี้ อารมณ์โล่งอะไรอย่างนี้ ผมก็คิดไปง่ายๆ แบบธรรมดา

    ท่านอาจารย์ แล้วท่านผู้อื่น ท่านผู้อื่นอย่างคนที่ทำกับข้าวอยู่ในครัว แล้วก็เป็นพระอนาคามีบุคคล

    ผู้ฟัง ก็บังเอิญมันไปเจอตรงนี้พอดี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น มันต้องประกอบกัน ประกอบกันทุกตอน ว่าเนื่องจากอะไรเพื่ออะไร เพราะเหตุว่ากุศลมีหลายระดับ กุศลขั้นทาน กุศลขั้นศีล กุศลขั้นความสงบ กุศลขั้นอบรมเจริญปัญญา แล้วก็ต้องสอดคล้องกันด้วยว่า แม้ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็พร้อมทั้งสมถ และวิปัสสนาด้วย ไม่ใช่ว่าจะต้องไปสงบอื่นอีกต่างหากโดยที่ปัญญาไม่รู้ลักษณะของสภาพนามธรรม และรูปธรรม ในขณะนั้นก็ลองคิดดู ถ้าเราสงบ เป็นกุศลแต่ไม่รู้ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม กับขณะที่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ขณะนั้นก็สงบจากอกุศล ควรจะเป็นอย่างไหน

    ผู้ฟัง มันจะช่วยให้ประกอบกันขึ้นไหม

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความหวัง

    ผู้ฟัง มันจะเกื้อกูลไหม

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความหวัง เพราะว่า ขณะนี้สภาพธรรมกำลังเป็นอย่างนี้ เกิดแล้วดับทำไมหวังอย่างอื่น ทำไมหวังที่อื่น ถ้าหวังที่อื่น ก็หวังไปเรื่อยๆ ก็เป็นความหวัง แต่ที่จะละความหวังได้ ก็คือรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏโดยไม่เลือก

    ผู้ฟัง ตอนใหม่ๆ นี้เรายังไม่ชำนาญก็เลย คิดว่าน่าจะหา

    ท่านอาจารย์ ก็มีตัวเราเลือก เพราะฉะนั้น เพราะฉะนั้น ก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ ที่เป็นสัมมาสติ ของมรรค

    ผู้ฟัง จากที่อ่านมานี้ ก็ว่ามีชาติ ชรา มรณะ หมายความว่า ถ้ามี ชาติ ชรา มรณะ เป็นสาเหตุจาก ราคะ โทสะ โมหะ หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ที่จริง ถ้าจะอ่านแล้วก็พิจารณาเป็นบรรทัดๆ ก็คงจะเข้าใจขึ้น อย่างที่ว่า ธรรม ๓ ประการนี้ไม่พึงมีในโลก ธรรม ๓ ประการก็คือ ชาติ๑ ชรา๑ มรณะ๑ ถ้าไม่มีการเกิดเลย แล้วถ้าเกิดแล้วก็ไม่ต้องเป็นไป คือไม่ต้อง แก่ และเมื่อแก่แล้วก็ไม่ต้อง เป็นไปอีก คือไม่ต้องตาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่ต้องตรัสรู้ อะไรๆ แต่เพราะเหตุว่าธรรมทุกอย่าง มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิด ทุกคนเกิดแล้ว แล้วก็หลังจากเกิดแล้ว ก็ ต่อไปก็มีชรา มรณะ แต่ระหว่างเกิดจนถึงตาย ก็จะต้องมีความเป็นไป เป็นปวัตติกาล หลังจากปฏิสนธิกาล คือเมื่อเกิดแล้วทุกชีวิตต้องเป็นไป ไม่มีใครเลย ที่เกิดแล้วไม่เป็นไป แม้แต่เด็กๆ เกิดมาก็ต้องเป็นไป คือ ต้องร้อง ต้องทานนม ต้องค่อยๆ เจริญเติบโต ต้องเรียนหนังสือ ต้องทำงาน ต้องมีชีวิตต่างๆ จนกระทั่งถึงชรา แล้วก็มรณะ

    เพราะฉะนั้น เมื่อสภาพความจริงของธรรมเป็นอย่างนี้ ผู้ที่จะรู้ความจริงแท้ของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ว่าอะไรเกิด อะไรเป็นไป อะไรกำลังปรากฏในแต่ละวัน ก็จะต้องเป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญา สามารถที่จะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม รู้ว่าธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา

    พระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาค ที่ประกาศแล้วจะรุ่งเรือง ก็เพราะเหตุว่าได้ทรงแสดง สัจธรรม ความจริงของชาติ ชรา มรณะ นี่ก็สั้นๆ หมายความว่าเมื่อสภาพความจริงเป็นอย่างนี้ ทรงแสดงธรรมอย่างนี้ พระธรรมที่ทรงแสดงเรื่องความจริง จึงเป็นธรรมที่รุ่งเรืองในโลก สำหรับผู้ที่สามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะว่ามีความจริงให้พิสูจน์ ให้เห็นตามความเป็นจริงได้

    เมื่อเรามีชีวิตอยู่ทุกคนก็จะรู้จักว่า เรามีราคะ๑ โทสะ๑ โมหะ๑ ซึ่งเป็นกิเลสใหญ่ เพราะเหตุว่ากิเลสก็มีมากมายหลายอย่าง แต่ที่แน่นอนที่เป็นเหตุก็คือ โลภะ หรือราคะ แล้วก็โทสะ โมหะ ๓ อย่าง มีใครบ้างไหม ซึ่งเกิดมาแล้วก็มีความเป็นไปในทุกวัน แต่ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ มีไหม ไม่มี แต่บางคนไม่รู้ ไม่รู้ว่ามี เข้าใจว่าไม่มี แต่เพราะเหตุว่ามี เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีเหตุของชาติ ชรา มรณะ เพราะเหตุว่ายังมี โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ ตราบใด ที่จะพ้นจากการเกิด เป็นไปไม่ได้เลย

    ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละ ราคะ โทสะ โมหะได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ สักกกายทิฏฐิ๑ วิจิกิจฉา๑ สีลัพพตปรามาส๑ พระธรรมที่ทรงแสดงพร้อมทั้งเหตุ และผล ไม่ใช่กล่าวลอยๆ ให้รู้ว่าทุกคนเกิดมาแล้วก็แก่ แล้วก็ตายเท่านั้น ก็ไม่ได้ความรู้ความเข้าใจอะไร แต่ว่าเหตุผลก็คือว่า ระหว่างที่เกิด ก็จะต้องมี โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเห็นเหตุที่จะให้เกิดต่อๆ ไปอีก แล้วโลภะ โทสะ โมหะ สามารถที่จะดับได้ ต่อเมื่อได้ละ ธรรม ๓ ประการ คือ สักกกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ คนที่เพิ่งมาวันนี้ ไม่ทราบ ถ้าสงสัยเรื่อง ๓ ชื่อนี้ก็เชิญถามได้

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าเรายังมี ราคะ โทสะ โมหะ ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดชาติ ชรา มรณะ ถ้าหากว่าจะดับ ราคะ โทสะ โมหะ เราก็จะตอ้งมีความเห็นถูก ก็คือว่า ราคะ โทสะ โมหะ ก็จะเกิดจากความเห็นผิด ที่เพราะเรามี สักกกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาแล้วก็ สีลัพพตปรามาส ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า การที่จะดับกิเลสทั้งหมดได้ ต้องดับเป็นลำดับขั้น ขั้นต้นพระโสดาบัน ละ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

    ผู้ฟัง ที่ว่า ชาติ ชรา มรณะ จะหมายถึง การเกิดดับของจิตหรือเปล่า หมายถึงว่าที่จิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วยหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ได้หลายนัย แต่ที่นี่หมายความถึง เกิด ตาย และก่อนจะตาย ก็ชรา บางคนอาจจะแย้งว่าไม่เห็นชรา ก็ตายได้ ใช่ไหม แต่ความจริง เมื่อเกิดแล้วก็ชราแล้ว ตายได้แล้ว ทุกขณะ

    ผู้ฟัง ขอถามว่า ยังคงมีความใกล้เคียงมาก สักกายทิฏฐิ กับ สีลัพพตปรามาส ชินมีความรู้สึกว่ามันใกล้เคียงกันมาก ขอความกรุณาอาจารย์อธิบายให้กระจ่างมากว่านี้ ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ความเห็นผิด ที่เป็นสักกายทิฏฐิ มีไหม

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ใช่ไหม ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เขากำลังฟังธรรม ที่ความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ เพราะธรรมเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เวลาที่คุณชินเห็นอะไรสวยๆ แล้วชอบ ขณะนั้นก็มีสักกายทิฏฐิ ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ชอบ เห็นอะไรสวยๆ แล้วชอบ มีสักกายทิฏฐิไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะเรายังไม่ได้เชื่อเรื่องที่สวยๆ

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นลักษณะของความพอใจ ในสิ่งที่มีที่ปรากฏ แต่ว่ายังไม่ได้มีความเห็น หรือความยึดมั่นในสิ่งซึ่งปรากฏ ซึ่งเป็นสักกายทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ ว่าสักกายทิฏฐิ มีทั้งอย่างหยาบ จนกระทั่งถึงอย่างละเอียด ซึ่งจะดับได้ด้วยโสดาปัตติมรรค เพราะเหตุว่าถ้าอย่างหยาบ พอพูดกันถึงเรื่องความเห็น แล้วก็ คือความยึดมั่นในความเห็นว่า มีเรา อย่างบางคนที่เขาไม่เคยฟังธรรมเลย โดยเฉพาะถ้าเป็นชาวต่างประเทศ เขาจะมีความมั่นใจจริงๆ ว่า มีตัวตน แต่เรา เคยได้ยินคำว่า อนัตตา ตั้งแต่เด็ก เราก็ชักจะมีความคิดบ้างว่าอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน แม้ว่าเราจะยังไม่เข้าใจละเอียด เพราะว่าไม่ได้ศึกษามาก แต่คนที่ต่างความเห็น เขาจะมีความยึดอย่างมั่นคงว่า มีเราแน่นอน ขณะที่คุยกัน ขณะนั้นแน่นอนว่า ต้องเป็นจิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิด ในสักกายทิฏฐิ

    เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า นี่เป็นสักกายทิฏฐิที่ แสดงออกทางกาย หรือทางวาจา ก็แล้วแต่ แต่ว่าถึงแม้ว่า ไม่มีใครเลยที่จะออกความคิดเห็น แต่ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ก็ยังเป็นที่ตั้งว่า เป็นเรา หรือว่าของเรา แม้ว่าจะเป็นเพียงลักษณะที่อ่อน หรือแข็ง หรือเย็น หรือร้อน ที่กำลังปรากฏ แต่ว่าตรงนั้น แม้ว่าไม่มีรูปร่างของแขน ไม่มีรูปร่างของส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายก็จริง แต่เป็นเราได้ เพราะเหตุว่า กว่าจะละสักกายทิฏฐิ ปัญญาต้องสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า เรื่องของสักกายทิฏฐิ คือความไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม จึงทำให้มีความเห็น หรือว่ายึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นของเรา มีตั้งแต่อย่างที่มองเห็นได้ อย่างที่เกิดกับจิต และอย่างที่ละเอียดมาก ที่แม้แต่เวลาที่อบรมเจริญปัญญา ก็ยังสามารถรู้ลักษณะของสักกายทิฏฐิ ซึ่งจะต้องละ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่ละก็ไม่ สามารถที่จะดับกิเลสได้

    วิทยากร. สีลัพพต ก็ศีลนั้นเอง พตะ คือพต คือข้อปฏิบัติ ปรามาส ก็ ปะ-ระ-มา-สะ บวกกัน ก็เป็น ปรามาส บอกว่ารูปคลำ ก็ได้ แปลได้ แปลได้หลายอย่าง ถ้าเรารู้ศัพท์ก็สามารถ แปลได้หลายอย่าง ถ้าไม่รู้ศัพท์ เราก็แปลตามที่เขาแปลไว้แล้ว ป-ร-อา-มา-ส สนธิกันเป็น ปรามาส ที่เขาเแปลว่า รูปคลำ ก็ถูก ยึดถือในลัทธิผู้อื่น ป-ระ แปลว่าลัทธิผู้อื่น อา-มา-ส แปลว่ายึดถือ

    ท่านอาจารย์ ที่ผิดจากความจริง ที่ไม่ถูกต้อง คุณชินเคยทำอะไรที่ไม่ถูกต้องบ้างไหม ที่เกี่ยวกับความเห็น อย่างที่เคยเล่าให้ฟัง

    ผู้ฟัง เคยคิดว่าโลกเที่ยง ตายแล้วก็สูญ

    ท่านอาจารย์ แล้วมีการทำอะไร บ้างไหม ในชีวิตประจำวัน ทั้งขึ้นบันได ลงบันได ทางซ้าย ทางขวา ออกประตูนั้น ออกประตูนี้ อะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มี

    ผู้ฟัง ถ้ามีความคิดอย่างนั้น มันปรากฏเอง

    ท่านอาจารย์ เราจะเห็นได้ว่า ถ้าเราเชื่อสิ่งผิดๆ ซึ่งไม่มีเหตุผลเลย แล้วทำอย่างนั้น ขณะนั้นเราไม่รู้ตัว ว่าเรามีความเห็นผิดจึงทำ เห็นผิดจากเหตุผล จากความเป็นจริง ถ้าทำอย่างนั้นก็คือ สีลัพพตปรามาส

    ผู้ฟัง เป็นไปได้ไหม ที่ความเข้าใจไม่รู้ถูกหรือเปล่าที่ว่า เพราะสักกกายทิฏฐิ แล้วเพราะโลภะ หรือราคะ ทำให้เรามีความคิด หรือความเชื่อเป็นผิดๆ อย่างเช่น สีลัพพตปรามาส

    ท่านอาจารย์ ถ้าอ่านพระสูตร ก็ควรจะอ่านเป็นตอนๆ และก็พยายามเข้าใจเป็นตอนๆ ด้วย ตั้งแต่เริ่มต้นว่า ถ้าไม่มีธรรม ๓ ประการ คือ ชาติ ชรา มรณะ ก็ไม่ต้องมีการตรัสรู้ ไม่ต้องมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอน ๑ แต่เมื่อมี พระธรรมวินัยที่ พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว จึงรุ่งเรือง เพราะเหตุว่า มีธรรม ๓ ประการนี้ให้เป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่แสดงสิ่งซึ่งไม่มีจริง นี้ตอน ๑ แล้วก็ต่อไปประการที่ ๒ ก็คือว่าทุกคนมี ชาติ ชรา มรณะ แล้วจะพ้นจากชาติ ชรา มรณะ ได้อย่างไร เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุ การที่จะต้องมีการเกิดการตายก็ต้องมีเหตุ เหตุของการเกิดการตายก็คือ ราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ นี้เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น การที่จะละ เหตุก็ต้องมีเหมือนกัน คือทรงแสดงธรรมเป็นลำดับๆ

    ผู้ฟัง แต่ถ้าสมมติว่าตั้งแต่ ลำดับแรก ถ้าสมมติว่าคนที่เห็นผิด คิดว่า ชาติ ชรา มรณะ เป็นสิ่งที่ปกติ

    ท่านอาจารย์ เป็นปกติ แต่มีมาจากไหน ทำไมมี ทำไมเกิด แล้วทำไมแก่ แล้วทำไมตาย แล้วทำไมเกิด แล้วทำไมแก่ แล้วทำไมตาย ก็ต้องมีคนที่ใคร่ที่จะได้ คำตอบ รู้ความจริง ซึ่งถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ไม่ทรงแสดงพระธรรม จะมีใครรู้เหตุของความเกิดไหม ว่าที่เราเกิด เกิดมาเพราะอะไร แล้วที่จะไม่เกิดนั้น เพราะอะไร

    วิทยากร. ชาติ ชรา มรณะ ท่านเรียกว่า ไฟทุกข์ พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เพื่อจะดับไฟ ตัวราคะ โมหะนั้น ไฟกิเลส คือ ๒ อย่าง ไฟทุกข์ ไฟกิเลส พระองค์มาตรัสรู้เพื่อจะดับไฟเหล่านี้ พวกเรานี้ถูกไฟเหล่านี้แผดเผาอยู่ จนชิน จนไม่รู้ว่าเป็นไฟ ราคะ โทสะ โมหะ นี่คือไฟกิเลส ชาติ ชรา มรณะ คือไฟทุกข์ เป็นไฟทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้น มีสิ่งเหล่านี้ พระองค์จึงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพื่อดับไฟ

    ผู้ฟัง สำหรับ โทสะ หรือว่า โลภะ ที่มีกำลัง คนอื่นก็พอจะรู้ได้ แต่สำหรับสักกายทิฏฐิ ถ้าไม่มีการแสดงความคิดเห็น คนอื่นจะรู้บ้างไหม

    ท่านอาจารย์ ความเห็นว่าเป็นตัวเรา มีตั้งแต่ที่เป็น ความคิดนึก เช่น เรา มีความเห็นว่า นี่เราแน่ๆ ใช่ไหม นี่เรา ขณะที่เห็นผิดว่านี่เรา ก็คือสักกายทิฏฐิ

    เพราะฉะนั้น การที่จะละสักกกายทิฏฐิ ด้วยความรู้ ถ้าไม่รู้ว่าเป็น สักกายทิฏฐิ เมื่อไร ไม่สามารถที่จะละสักกายทิฏฐิได้ เหมือนกับเมื่อไรที่ไม่รู้ว่ามีโลภะ ก็ละโลภะไม่ได้ เพราะฉะนั้น สภาพของกิเลสทั้งหมด ปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริง การที่เป็นพระโสดาบันดับ สักกายทิฏฐิ เป็นสมุจเฉทไม่เหลือเลย ไม่มีเชื้อของสักกายทิฏฐิที่จะเกิดได้เลย แม้ทิฏฐิอื่นๆ ก็เกิดไม่ได้ เพราะเหตุว่าดับสักกายทิฏฐิแล้ว ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา เห็นสักกายทิฏฐิ อย่างละเอียดด้วย ปัญญาก็ต้องละเอียดขึ้นๆ จึงสามารถที่จะดับสักกายทิฏฐิได้

    ผู้ฟัง ของคุณชินที่มีความเห็นว่าโลกเที่ยง อันนั้น ไม่ใช่สักกายทิฏฐิ

    ท่านอาจารย์ คุณชินอยากจะทราบ สีลัพพตปรามาส ใช่ไหม แล้ว พอถามคุณชินก็ยกตัวอย่างอันนั้น แต่ ดิฉันก็ย้อนกลับไปว่ามีการประพฤติปฏิบัติ อย่างไรหรือไม่ ที่เกิดจากความเห็นผิด ซึ่งเป็นชีวิตประจำวันของทุกคน อย่างการที่เราทำอะไรๆ โดยที่ไม่มีเหตุผล เอาดอกประดู่มาทัดหูอย่างนี้ แล้วก็จะโชคดี เอาไหม ถ้าคนไหนทำ คนนั้นเป็นอย่างไร สีลัพพตปรามาส หรือเปล่า หรืออย่างที่ในตัวอย่างในพระไตรปิฎก จะใช้ความประพฤติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัข เป็นตัวอย่าง แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีใครกระทำอย่างนั้น แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องเมื่อพระไตรปิฎก ยกตัวอย่าง อย่างนี้ ก็ต้องเฉพาะอย่างนี้เท่านั้นไม่ใช่ ความเห็นผิดใดๆ ที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง แล้วมีการประพฤติปฏิบัติ ด้วยเข้าใจผิด ก็เป็น สีลัพพตปรามาส

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่า ความเข้าใจที่ชินเข้าใจ คือต้องไปปฏิบัติ ใช่ไหม ของ สีลัพ พต ปรามาส

    ท่านอาจารย์ สีลัพพตปรามาส

    ผู้ฟัง คือต้องประพฤติ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เมื่อมีความเห็นผิด กายผิดบ้าง วาจาผิดบ้าง นั่นคือ สีลัพพตปรามาสได้

    ผู้ฟัง อย่างเช่น ความคิด อยู่ดีๆ โผล่ขึ้นมาว่า คิด มันคือ การสั่งสมที่ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ มีสีล มี พต ไหม มีปรามาส ไหม

    ผู้ฟัง ก็คือตอนสมัย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงต้องแยกกัน สักกายทิฏฐิเป็นความเห็นผิด แล้วความเห็นผิดซึ่งมีการลูบคลำ ประพฤติ ตามความเห็นที่ผิด ก็เป็นจากความเห็นผิดด้วย แต่ว่าแยกกัน แต่ถ้าไม่มีการเห็นผิด สีลัพพตปรามาส ก็มีไม่ได้ แต่เมื่อมีความเห็นผิด ก็มีสีลัพพตปรามาสได้ด้วย

    ผู้ฟัง ขออนุญาต เพิ่มเติมของ คำถามของคุณชิน ในขณะที่เราก็ทราบว่า ชาติ ชรา มรณะ มี เพราะเห็นอยู่ทุกวัน ว่ามีความเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย แต่ว่าเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ คำถามแรกที่คุณชิน ถาม เป็นเรื่องปกติ นี่

    ท่านอาจารย์ คนธรรมดา ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่แล้ว ความคิดก็ไม่เหมือนกัน แม้แต่พระโพธิสัตว์ ที่จะเริ่มบำเพ็ญบารมีเพื่อที่จะรู้สัจธรรม ความคิดของท่านก็ไม่เหมือนคนอื่น คนอื่นก็คิดไปแสนโกฏิกัปป์ผ่านมา แล้วก็แสนโกฏิกัปป์ต่อไป ก็เหมือนวันนี้ ก็เป็นของธรรมดา แต่ว่าผู้ที่ไม่เห็นว่าเป็นธรรมดา เพราะว่าต้องมีเหตุ สิ่งใดที่เกิด ต้องมีเหตุที่จะทำให้เกิด เมื่อดับเหตุนั้นแล้ว สิ่งนั้นก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น นี่ก็เป็นความคิดที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น วันนี้ใครจะเห็นว่าเกิด แก่ เจ็บตาย เป็นของธรรมดา กับคนที่เริ่มคิดว่า เป็นของธรรมดา แต่มาจากไหน มีอะไรเป็นเหตุ แล้วจะดับ การเกิดแก่เจ็บตายได้ไหม มีหนทางไหมที่จะดับได้ ก็เป็นแต่ละบุคคล แต่ละความคิด

    ผู้ฟัง อยากทราบว่าวิธีปฏิบัติ ถ้าเราไม่รู้ภาษาบาลีเลย

    ท่านอาจารย์ โดยมาก เราคิดว่า เราเข้าใจธรรม โดยที่ไม่ต้องเรียน ฟังนิดๆ หน่อยๆ ก็คิดว่าเข้าใจได้ แต่ความจริง ทุกอย่างต้องให้เข้าใจจริงๆ เช่น คำว่า ปฏิปัตติ ภาษาไทยเราใช้คำว่า ปฏิบัติ แล้วเราเข้าใจว่า ทำ แต่ปฏิปัตติ ในภาษาบาลีไม่ได้หมายความอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น การที่เราจะปฏิบัติ เราก็ต้องทราบ มีความเห็นถูกว่า หมายความถึงอะไร เป็นความคิดของเราเอง ความเข้าใจของเราเองว่า เราต้องทำ หรือว่าเราได้ศึกษาละเอียดแล้ว มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จนสามารถที่จะเข้าใจได้ว่าไม่มีตัวตน อันนี้ต้องเป็น ความมั่นคงมาก มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็จะรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นได้อย่างไร เพียงการที่ไปนั่งทำอะไรไม่สามารถ ที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567