ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๘๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ ผู้ที่ยังไม่ได้อบรม หรืออบรมไม่พอ หรือเริ่มที่จะอบรม ก็ไม่สามารถที่จะเห็นอย่างนั้นได้ แต่ต้องรู้ ว่าธรรมทั้งหมด เป็นพยานคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นความจริงอย่างนั้น เมื่อปัญญาอบรมแล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่อดคิดไม่ได้ต่างหาก จึงมีบุคคลต่างๆ มีเรื่องราวต่างๆ จากสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ถ้าไม่มีการคิด เพียงเห็น ก็ไม่มีใครเลย มีเพียงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา แต่ไม่ใช่ห้ามคิด และไม่ใช่ให้เห็นว่าไม่มีหน้าต่าง ก็ไม่ใช่ เห็นปกติแต่สามารถที่จะรู้ความต่าง โดยการที่รู้ว่า ทางตา เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ส่วนการคิด เอาคนเอาสัตว์ เอาอะไรวัตถุสิ่งต่างๆ ออกจากสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือนึกว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ ก็เป็นความนึกคิด ก็ต้องแยกกัน ให้รู้ว่าเป็นแต่ละทวาร ไม่อย่างนั้นโลกก็รวมกันหมด ๖ ทวาร เหนียวแน่นแล้วก็ไม่สามารถที่จะแยกออกได้

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องรอ หรือเรื่องคอย หรือเรื่องหวัง แต่เป็นเรื่องเข้าใจว่า การอบรมคือขณะนี้เอง ค่อยๆ เข้าใจ ว่าขณะนี้เพียงขั้นต้น ไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากรู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม เป็นสภาพธรรม ที่มีจริงๆ แล้วค่อยๆ ฟังค่อยๆ รู้ลักษณะ ที่ต่างกันของสภาพที่เห็น ต้องไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏ สภาพนั้นมีจริงๆ และได้ฟังมาแล้ว สภาพนั้นเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสันเลย แต่สามารถที่จะเห็น หรือในขณะนี้ กำลังเห็น ก็ค่อยๆ รู้ความจริงว่า ลักษณะนั้นก็เป็นนามธรรม

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์พูดมาทั้งหมด ผมก็ตามฟัง ฟังได้ ฟังเข้าใจ ฟังรู้ แต่พอเห็นทีไร มันเลยไปถึง หน้าต่าง มันเลยไปถึงแสงไฟ ทุกที ผมก็เลยมาคิดว่า ถ้าสมมติเราหลับตาแล้วก็ลืมตาขึ้น อ้อ นี่สีหนอ หลับตาอีก ค่อยๆ ฝึกอย่างนี้ ไม่ถูกใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใครคิด

    ผู้ฟัง ผมคิดเอง

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นผม ก็ความจริง ถึงจะลืมตา ก็ต้องรู้ความจริงในขณะที่ลืมตา ถ้าเห็นเป็นคน เห็นเป็นหน้าต่าง ก็คือถูกต้อง เพราะว่ามีจิตที่คิดนึก ไม่ใช่จิตเห็น

    ผู้ฟัง คือฝึกไม่ให้เลยไปจนถึงแสงไฟ

    ท่านอาจารย์ ใครฝึกๆ เพราะฉะนั้น มีการฝึก มีการจ้อง มีการดู มีการทำ แต่ไม่ใช่การอบรม ถ้าการอบรมคือเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรม

    คำนี้สำคัญมาก เพียงคำเดียวว่าเป็นธรรม เป็นธรรมคือไม่ใช่เรา ไม่ใช่อะไรเลย แต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วธรรมก็ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือนามธรรม กับ รูปธรรม เพราะฉะนั้น ทุกคนก็พิสูจน์ปัญญาของตัวเองได้ ว่าขณะนี้ที่ธรรมกำลังปรากฏแท้ๆ อย่างนี้ รู้ไหมว่ากำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรมนี่อย่างหนึ่ง แล้วก็สภาพที่กำลังเห็น เป็นนามธาตุ หรือเป็นนามธรรม จริงๆ กำลังเห็นจริงๆ เป็นชั่วขณะหนึ่ง ที่เห็น ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน เพราะฉะนั้น นามธรรมนี้ก็มีหลากหลาย ซึ่งปัญญาจะต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะเป็นนามธรรม รูปธรรมทั้งหมด ไม่ใช่ให้ไปทำอย่างอื่น นี่คือการอบรม นี่คือความหมายของการอบรม เพราะเหตุว่าความรู้ค่อยๆ เพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ผมก็พยายามอีกแล้ว

    ท่านอาจารย์ คุณเด่นพยายามจะไม่เห็น เป็นหน้าต่าง เป็นไปไม่ได้

    ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่าที่เห็นไม่ใช่เรา เห็น เป็นจิตเห็น

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไหม

    ผู้ฟัง ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ ถ้าถูก วันนี้เข้าใจแค่นี้ ต่อไปต้องอบรมจนกว่าสภาพที่เห็นไม่ ใช่เราจริงๆ

    ผู้ฟัง ผมก็รู้ว่ามันถูก แต่ก็ยังเห็นเป็นหน้าต่างอยู่

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะว่าปัญญาแค่นี้ จะเห็นไม่เป็นหน้าต่างได้อย่างไร ถึงปัญญามากกว่านี้ ก็ยังเห็นว่าเป็นหน้าต่างอยู่ดี จะไม่เห็นว่าเป็นหน้าต่างไม่ได้ แต่สามารถที่จะรู้ความต่างกัน ของจิตที่เห็นกับจิตที่คิดนึก กับจิตอื่นๆ เป็นเรื่องการอบรมจริงๆ

    ผู้ฟัง ทำอย่างไรจะให้จิตมันไม่คิดต่อไปจนถึงเรื่อง

    ท่านอาจารย์ นี่คืออัตตา

    ผู้ฟัง ก็ไม่ถูกอีก

    ท่านอาจารย์ นี่คืออัตตา เห็นอัตตา เริ่มเห็นความเห็นผิด ถ้าไม่เห็นว่าเป็นความเห็นผิด ก็พยายามผิดไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง หรือว่าผมใจร้อนไป

    ท่านอาจารย์ ทั้งนั้นเลย

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ เสียเวลาท่านอื่น

    ผู้ฟัง กายวิเวกไม่ได้หมายความว่า อยู่โดยไม่คิดพิจารณาอะไรเลย ใช่ไหม หมายถึงว่า กายวิเวก ต้องอยู่โดยการพิจารณาอะไรด้วยหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ต้องแยก ถ้าแยกกายวิเวก ออกจากจิตวิเวก ก็คือการไม่คลุกคลีกับผู้คนมากมาย เป็นอัธยาศัย ต้องทราบว่าเป็นอัธยาศัย เพราะเหตุว่าคนเราไม่เหมือนกัน บางคนต้องมีเพื่อนมากมาย เหงา ถ้าไม่มีเพื่อน แต่บางคนไม่ชอบให้ใครมาหาเลย ชอบจะอยู่คนเดียว ลำพังจริงๆ เพราะฉะนั้น อัธยาศัยของใคร ก็เป็นอย่างนั้น จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ ต้องเข้าใจว่าการอยู่คนเดียวไม่ ใช่กายวิเวก ถ้าขณะนั้นเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง ต้องหมายความว่า เป็นไปด้วยกับกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ แล้วก็เป็นอัธยาศัย แล้วสำหรับพุทธบริษัทก็มี ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อุบาสก อุบาสิกา ก็มีทั้งที่ครองเรือน ไม่ครองเรือน คนที่ครองเรือน มีภาระแค่ไหน แต่ท่านก็เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เพราะว่าอัธยาศัยของท่านไม่ใช่วิเวกอย่างภิกษุณี หรือ ภิกษุ เพราะฉะนั้น เมื่อแยกกันอย่างนี้แล้ว ก็ไม่น่าจะไปสับสน อัธยาศัยของใครเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง การที่เราฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ในเรื่องของทาน ศีล อบรมเจริญปัญญา อย่างนี้ เป็น อนุปุพพิกถา หรือไม่

    วิทยากร. ถ้ากล่าวถึง อนุปุพพิกถา ครั้งใด ท่านจะต้องกล่าวถึง ทานศีลกถา สัคคกถา คือ สวรรค์ แล้วก็เนกขัมมะ ต้องกล่าวอย่างนี้ เสมอ

    ผู้ฟัง อันนี้เรามาฟัง แต่ว่า อนุปุพพิกถา หมายถึงการแสดง

    ท่านอาจารย์ ขอโทษ ย่อหน้าแรก นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำ คือกาย ทุกคนมีรูปเป็นกาย เป็นที่อาศัย ถูกกิเลส เป็นอันมาก ปกปิดไว้แล้ว แน่นอนที่สุดเลย ไม่เห็นโทษสักอย่างเดียว ดำรงอยู่ด้วยอำนาจกิเลส มีราคะเป็นต้น ยินดีพอใจในทุกอย่าง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หยั่งลงในกามคุณเครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง คงไม่มีใครปฏิเสธ ใครไม่ลุ่มหลงในกามคุณบ้าง

    กามคุณ คือ รูปทางตา เสียงทางหู กลิ่นทางจมูก รสทางลิ้น กาย คือการกระทบสัมผัส นรชนผู้เห็นปานนั้นแล เป็นผู้ไกลจากวิเวก

    เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะไปคิดถึงวิเวกใหญ่ๆ เป็นสถานที่หรือความสงบมากๆ ถ้าไม่เริ่มจากทีละเล็ก ทีละน้อย มีหวังจะถึงไหม เราก็มีตา เราก็ชอบดูสิ่งที่สวยๆ สิ่งที่สวยๆ มีทั้งเสื้อผ้า มีทั้งอาหาร มีทั้งดอกไม้ มีทั้งเครื่องประดับ เครื่องตบแต่งต่างๆ เพชรนิลจินดา พอที่จะวิเวก ทีละนิด ทีละหน่อย บ้างไหม คือก่อนที่จะไปถึงไกล จนกระทั้งไปอยู่ป่า ด้วยอัธยาศัย หรือว่า ละจากความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ได้เพียงแค่นิดเดียว วันนี้ เพิ่มอีกหรือลดลง แค่นี้ หรือเท่าเก่า แต่จริงๆ แล้วเท่าเก่านี้ยาก เพราะว่าแต่ละวันก็เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นผู้ที่เห็นโทษเริ่มลด ทางจมูกพอจะลดได้บ้างไหม กลิ่นหอมๆ หรือว่ายังติดไว้ดีกว่า หรือว่าทางรสก็เหมือนกัน อาหารก็ต้องอร่อย ร้อนๆ เย็นๆ บ้างได้ไหม หรือว่าจืดไปบ้างหน่อย เป็นไปได้หรือเปล่า หรือว่าเค็มไปหน่อย คือความวิเวก อย่าไปหวังที่จะได้ทุกสิ่งทุกอย่างทันที เป็นไปไม่ได้เลย ต้องค่อยๆ ลดค่อยๆ ละ แล้วก็เห็นได้จริงๆ ว่าเมื่อไรที่สมบูรณ์ เราก็จะเป็นได้อีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัญญาพอที่จะเห็น โทษ แล้วก็สามารถที่จะสละได้ ตามกำลังของการสะสม เพราะแต่ละคน จะไม่เหมือนกันเลย บางคนติดในรูป บางคนติดในเสียง บางคนติดในกลิ่น แต่ทุกคนติดในรส ใช่ไหม ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ พอเกิดมาแล้ว ไม่ว่าพอเริ่มรับประทานอาหาร แม้แต่นมยังเลือกเลย เด็กก็ยังเลือกว่า เอารสนั้น รสนี้

    เพราะฉะนั้น ก็ยากแสนยาก สำหรับผู้ที่ดำรงอยู่ในอำนาจของกิเลส มีราคะเป็นต้น แต่อาศัยการฟัง แล้วก็มีความเห็นโทษ แล้วก็เริ่มลงมือทีละนิดทีละหน่อย มากไม่ได้ รู้ตัวว่า ทันทีไม่ได้ ปัญญาไม่ถึงระดับพระอนาคามี แต่เริ่มนิดหนึ่งได้ไหม ไปเรื่อยๆ แล้วสักวันหนึ่งก็ คงจะเพิ่มกำลังขึ้น แต่ทั้งหมด ที่จะดับได้ ได้ เป็นสมุจเฉทจริงๆ ต้องด้วยปัญญา แต่ถ้าปัญญาไม่เกิด เพียงระงับไปเกิดในรูปพรหม เป็นผู้ที่หน่ายแล้วในกาม ไม่อยากจะมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์เพราะว่าเห็นแล้วก็ติดทันที ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อุตส่าห์ทำฌาน ระงับกิเลสไว้มากมาย แล้วแต่ว่าจะถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยญาณ จตุตถฌาน ปัญจมฌาน ถึงอรูปฌานก็ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก ไม่มีใครที่สามารถจะดับกิเลส ซึ่งสะสม เพราะเมื่อมีเชื้อแล้ว เชื้อนั้นยังอยู่ เชื้อของกิเลสทั้งหลายเป็นกิเลสอย่างละเอียดมาก คือ อนุสัยกิเลส ผู้ที่จะดับได้ คือ บรรลุถึงอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคล แล้วก็เริ่มดับกิเลสไป แต่ว่าก่อนนั้น กิเลส อาจจะไม่ปรากฏ ดูเหมือนระงับยับยั้ง แต่ผู้นั้น ก็ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา ถ้าจะละได้สักนิดหนึ่ง ก็รู้ว่ายังละไม่ได้จริงๆ เพียงแค่เห็นโทษนิดหนึ่งวันนี้ก็เอาออกไปหน่อยหนึ่ง แต่ก็จะต้องอบรมเจริญปัญญา จนกระทั่งสามารถที่จะละได้จริงๆ

    ผู้ฟัง ตรงนี้ กำหนดรู้ผัสสะแล้ว จะรู้ได้อย่างไร ผัสสะ

    ท่านอาจารย์ ตัวอย่างที่คุณบงกล่าว คือ พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ มีผัสสะ และเหตุเกิดแห่ง สัมผัสสะ เป็นต้น กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่ยินดีในธรรมทั้งปวง มีรูปเป็นต้น ติเตียนตนเอง เพราะข้อใด อย่าทำข้อนั้น เป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในรูปที่ได้เห็น และเสียงที่ได้ฟัง เป็นต้น

    ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจ จริงๆ ในการฟัง แล้วในการอ่าน ก็รู้ว่าเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรม นี่คือข้อความ ไม่ต้องติดในอะไรทั้งหมด ตรงนี้ เพราะว่าเรื่องของตรงนี้ เป็นเรื่องของพยัญชนะที่ว่า ใครสามารถที่จะเข้าใจได้ ระดับไหน แค่ไหน เช่น กำจัดความพอใจ ในที่สุดทั้ง ๒ ยังไม่รู้อะไรเลย นามธรรม และรูปธรรม ในขณะนี้ก็มี แล้วก็ยังไม่รู้ เพราะฉะนั้น กิจก็คือ ระลึกเพื่อที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วไม่ต้องห่วงในเรื่องเหล่านี้เลย เมื่อรู้ก็รู้ แต่ไม่ใช่หมายความว่า เรามีความสงสัยจะตั้งต้นที่ไหน จะรู้อย่างไร นี่คืออะไร รู้ผัสสะแล้วไม่ยินดีในธรรมทั้งปวง มีรูปเป็นต้น แล้วอย่างอื่นอีก หรืออะไรอย่างอื่นอีก ทั้งหมดก็คือสภาพธรรมที่ไม่รู้

    เพราะฉะนั้น ก็ฟังให้รู้ว่าหนทางที่จะรู้ นี่คืออย่างไร นี้คือเอาความเข้าใจ จากสิ่งที่ได้ฟัง ส่วนจะรู้มากรู้น้อยอย่างไร พอได้ยินผัสสะ ทุกคนก็ตกใจละ ใครจะรู้ผัสสะ ผัสสะเป็นสัพพจิตสาธารณเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ เมื่อจิตรู้อารมณ์ใด หมายความว่า ผัสสะกระทบอารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ ที่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา สีสันวัณณะกำลังปรากฏ ผัสสะปรากฏหรือเปล่า ผัสสะไม่ได้ปรากฏเลย แต่ผัสสะกระทบเกิดพร้อมจิต จิตกำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราจะไปกังวล หรือห่วง แต่ว่าเป็นเรื่องที่เรารู้จักตัวของเราเอง ตามความเป็นจริงว่าเรา กำลังทำอะไร มีอะไร มีความไม่รู้ และหนทางที่จะรู้ก็คือ อบรมเจริญปัญญา เมื่อปัญญาเกิดก็จะรู้อย่างนี้แหละ ตรงตามที่ทรงแสดงไว้ แล้วแต่ว่าใครสามารถจะรู้ได้มากน้อยแค่ไหน

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ ประพฤติอย่างไร ถึงจะไม่เป็น การถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา

    ส. โดยมากส่วนใหญ่ เท่าที่ได้ผ่านๆ มา ก็มักจะคิดว่าเป็นเรื่องทำ อย่างประพฤติก็คิดว่าเป็นการทำ เราจะประพฤติอย่างไร แต่ว่าจริงๆ ทั้งหมด พระธรรมที่ทรงแสดง เป็นเรื่องของปัญญา เป็นเรื่องของการที่จะให้เห็น ความละเอียดของสภาพธรรม แม้ว่าธรรมจะปรากฏอยู่ แต่ถ้าไม่มีคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ความจริงว่า เป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่ตัวตน

    เพราะฉะนั้น ก็ยังมีความยึดถือว่า สภาพธรรม นั้นแหละเป็นเรา ตราบใดที่ปัญญายังไม่ถึงขั้น ที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรมแต่ละอย่าง แต่ว่าทรงบอกมาแล้ว ๒,๕๐๐ กว่าปี แล้วคนที่เป็นผู้ที่ไม่ละเอียด เป็นผู้ที่ประมาท เผินๆ ก็ผิดหมด เพราะเหตุว่า ธรรมเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งจริงๆ แล้วก็ทรงแสดงไว้ด้วยว่า การอบรมเจริญปัญญา ต้องเป็นลำดับขั้น คือ ตั้งแต่ขั้นการฟัง แม้ในขั้นการฟัง ต้องฟังให้เข้าใจจริงๆ กำลังฟังเรื่องราวของสภาพธรรม ในขณะนี้สภาพธรรม กำลังกระทำกิจการงาน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็พูดถึงเรื่องของสภาพธรรมให้เข้าใจก่อน เพราะเหตุว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ก็เป็นสภาพธรรมทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ มีใครจะรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

    เพราะฉะนั้น แม้แต่ในขั้นการฟัง ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็ต้องรู้ว่าพระพุทธศาสนา คือคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรงกันข้ามกับคำสอนอื่น และที่ทวนกระแส ของศาสนาอื่น เพราะเหตุว่า เป็นเรื่องละ เป็นเรื่องละทุกอย่าง ซึ่งคนนั้นจะต้องมีปัญญาด้วยตัวแอง ที่จะเห็นว่าตัวเองมีอะไร ที่สมควรจะละบ้าง ทรงแสดงไว้โดยละเอียด ทั้งพระอภิธรรม และพระสูตร

    ถ้ามีแต่พระอภิธรรมก็ทรงแสดงเรื่องของอกุศลเจตสิก ๑๔ ประเภท แล้วก็อกุศลจิต ๑๒ ก็เท่านั้น แต่วันหนึ่งๆ เกิดขึ้นมากมายเท่าไร แล้วก็ออกไปทางกายแค่ไหน ทางวาจาแค่ไหน ทางใจแค่ไหน

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ทรงแสดงพระสูตร เพื่อที่จะให้เห็นความวิจิตรอย่างละเอียดว่า แม้สภาพปรมัตถธรรม จะมีเพียงจำนวนที่ทรงประมวลไว้ เป็นประเภทใหญ่ๆ แต่ว่าความละเอียดปลีกย่อย มากมาย ซึ่งแต่ละคนก็จะรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง จะให้คนอื่นมารู้จัก คนอื่นให้ถูกต้อง เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ขณะนี้ใครกำลังคิดอะไร ใครบอกได้ ไม่มีใครบอกได้เลย แต่ คนนั้นสามารถที่จะรู้ได้ ด้วยตัวเอง

    พระธรรมต้องทราบจริงๆ ว่า ถ้าขณะใดต้องการ อย่างคุณเด่นพงษ์ ต้องการจะไม่เห็น เป็นหน้าต่าง นี่เป็นความต้องการหรือเปล่า เป็น ไม่ใช่เรื่องละ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องรู้ ไม่ใช่เรื่องการอบรม ไม่ใช่เรื่องฟังเข้าใจว่าทั้งหมด ไม่ใช่เป็นเรา เป็นตัวตน ที่อยากจะทำให้เป็นอย่างนั้น อยากจะเห็นให้เป็นอย่างนี้ แต่ว่าเป็นเรื่องที่แม้ปัญญา ขั้นฟัง ก็จะต้องมีว่า กำลงฟังเรื่องอะไร แล้วก็ต้องพิจารณาให้เข้าใจถูกต้องด้วย กำลังฟังธรรม ธรรมหมายความถึงสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ทั้งหมดเป็นเรื่องจริง แล้วก็มีลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นๆ ซึ่งมี ๒ ประเภทเท่านั้น คือนามธรรม กับรูปธรรม แต่นามธรรม รูปธรรม นี้ก็หลากหลายมาก

    เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเข้าใจว่าเมื่อ ทรงแสดงโดยละเอียด โดยนัย ประการต่างๆ เพื่อให้เห็นว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น ทุกอย่างมีปัจจัยก็เกิดขึ้น นี้เป็นเหตุที่ทำไม ใน ๔๕ พรรษา ทรงแสดงธรรมมาก ถ้าเป็นบุคคลในครั้งนั้นก็ เป็นพระโสดาบันกันไปมากมาย เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ แต่บุคคลในครั้งนี้ คิดดู ผ่านมาถึง ๒,๕๐๐ กว่าปี โสภณธรรมเกิดมาก หรือว่ากิเลสเกิดมาก ใน ๒,๕๐๐ กว่าปี ที่ยังไม่ได้ศึกษา ยังไม่ได้เข้าใจ ยังไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรม หรือว่าผู้ใดได้อบรมเจริญปัญญา มาแล้วในอดีต เป็นปัจจัยที่สามารถจะเข้าใจพระธรรม สามารถที่จะระลึก รู้ลักษณะของสภาพธรรม ตรงตามความเป็นจริง สามารถที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมก็ได้

    แต่ว่าต้องเป็นผู้ตรง คือประจักษ์ ก็คือประจักษ์ ไม่ประจักษ์ ก็คือไม่ประจักษ์ ต้องอบรมก็คือต้องอบรม ต่อไป ปัญญาระดับนั้นคือ ระดับไหน ก็ต้องรู้ตามความเป็นจริงที่จะไม่หลอกตัวเอง เพราะว่าพระธรรม เป็นธรรมที่บริสุทธิ์จากพระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ ที่ได้ทรงแสดง เพื่อประโยชน์ ให้สัตว์โลกได้มีโอกาส ที่จะเกิดปัญญาเข้าใจสภาพธรรมถูกต้อง แต่ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วต้องเห็นว่า ธรรมยาก ถ้าไม่ยาก ไม่ใช่การสรรเสริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ง่ายแสนง่าย ทำไมจะต้องเป็นถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงคำว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแม้แต่ถ้อยคำ ที่แสดงสั้นๆ ว่า พระธรรมที่ตรัสแล้ว หรือพระธรรมที่ตรัสดีแล้ว ไม่มีอะไรที่จะผิดเลย

    เพราะฉะนั้น การฟังก็ต้องฟังโดยละเอียด ตรัสดีแล้ว ไม่ใช่ตรัสอย่างคนที่ไม่รู้จริง แต่ว่าทุกพยัญชนะเป็นความจริง ซึ่งเราก็ต้องพิจารณา จนกระทั่งค่อยๆ เข้าใจ แล้วก็รู้ว่านี่ขั้นฟัง

    เมื่อมีขั้นฟัง ซึ่งคุณเด่นพงษ์ ก็ฟังมาแล้ว แต่เกิดอยาก ใช่ไหม ฟังแล้วรู้แล้ว ว่าเป็นอนัตตา แต่ยังอยาก ให้เห็นความเหนียวแน่นของกิเลสว่ามากมายแค่ไหน ไม่ได้ละเลย ระหว่างฟังก็ฟังเรื่องราว ตัวจริงๆ ของสภาพธรรมก็กำลังเกิดดับ แต่มีโลภะ มีความต้องการ ที่อยากจะเห็น อยากจะไม่ให้เห็นเป็นหน้าต่าง ไม่ให้เห็นเป็นคน แต่นั้นเป็นเรื่องอยากเห็น แต่ไม่ใช่เรื่องอบรมความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ในสิ่งที่กำลังเกิด แม้เพียงชั่วหนึ่งขณะ ที่ขณะนี้ จะเริ่มค่อยๆ เข้าใจว่าขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏทางตาอย่างนี้ เป็นของธรรมดา คือเป็นธรรม แล้วก็สภาพที่กำลงเห็น ก็ชั่วขณะ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่มี มีชั่วขณะ

    เสียงมีจริงไหม จริง เมื่อไร ชั่วขณะที่ได้ยิน

    สิ่งที่ปรากฏทางตาจริงไหม จริง เมื่อไร ชั่วขณะที่เห็น

    กลิ่นมีจริงไหม จริง เมื่อไรชั่วขณะที่กลิ่นปรากฏ

    หรือแม้แต่ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ที่ปรากฏที่กาย ก็ชั่วขณะที่ปรากฏ ถ้าขณะใดไม่ปรากฏ ขณะนั้นเกิดแล้วดับแล้ว ให้คิดดูถึงการเกิดดับ ของจิต ว่าเร็วขนาดไหน จะคิดโดยการเปรียบเทียบกับรูป หรือว่าจะคิดโดยการเปรียบเทียบรูปกับจิต ก็ได้

    อย่างเช่นเราทราบว่า รูป รูปหนึ่งที่เป็นสภาวะรูป จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ อันนี้ได้ยินได้ฟังมา แล้วก็ทรงแสดงโดยละเอียดตั้งแต่ รูปเกิดแล้วกระทบกับจักขุปสาท ภวังค์ เป็น อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มีจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณพวกนี้ มีสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ จิตต้องเกิดดับอย่างรวดเร็ว ในรูปซึ่งมีอายุแสนสั้น รูปที่ว่าแสนสั้น ระหว่างเห็นกับได้ยินไกลเกินกวา ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น รูป รูปหนึ่ง กลาปหนึ่ง จะดับไปเร็วแค่ไหน แต่จิตยังเร็วกว่านั้นอีก ลองคิดดู ว่าความรวดเร็วของรูปขนาดนั้น ระหว่างจิตเห็น กับจิตได้ยิน รูปดับไปแล้ว มีอายุ เกิน ๑๗ ขณะ แต่จิต ๑๗ ขณะก่อนที่รูปจะดับ จะดับเร็วสักแค่ไหน

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นการที่แสดงให้เห็นว่า สภาพธรรม ตามความเป็นจริงจากการตรัสรู้ และทรงพระมหากรุณาแสดง สำหรับให้ผู้ฟัง เห็นว่าเป็นหนทางที่จะต้องอบรม ไม่ใช่หนทางอยากจะรู้ เพราะว่าทรงแสดงไว้เลย ว่า ที่เรายังอยู่ในสังสารวัฏฏ์ หรือแม้แต่พระองค์เอง เมื่อได้ทรงตรัสรู้แล้ว ก็ทรงอุทานว่า ได้พบนายช่างเรือน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567