ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๙๓

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๔


    ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรม ไม่ใช่ว่ารีบร้อนที่จะทำอะไร แต่ว่าผู้นั้นจะต้องมีความเข้าใจจริงๆ ว่าแม้ในขั้นฟังขั้นต้นอย่างนี้ เริ่มเข้าใจถูก ว่าไม่มีสภาพธรรม ที่เป็นเราที่เที่ยง ที่เป็นคนหนึ่ง คนใด มีแต่ความคิด เพราะว่าสิ่ง หนึ่ง สิ่งใดก็ตาม ที่กระทบตาดับแล้ว ผ่านสู่ใจที่จะทรงจำ แล้วก็ไม่ลืม แล้วก็มีความทรงจำอยู่ ว่ามีโลกทั้งโลก มีคน มีญาติพี่น้องมีเพื่อนฝูง

    แม้แต่มีเราที่กำลังนั่งอยู่ตรงนี้ แต่ถ้าทุกคนจะเข้าใจธรรมโดยที่ว่า ไถ่ถอนความไม่รู้ออกไป แม้เพียงขั้นคิดพิจารณา แต่ต้องตรงกับความจริง คือขณะนี้ที่กำลังเหมือนกับว่าทุกคนกำลังนั่งอยู่ตรงนี้ มีตัวตนอยู่ตรงไหนที่นั่ง ในขณะที่เห็น มีไหม ในขณะที่เห็น มีตัวตนอยู่ตรงไหน ไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ปัญญาจริงๆ ต้องรู้อย่างนี้ว่าไม่มีเราเหลือเลย นี่คือการเพิกอิริยาบถ อิริยาบถนั่ง นอน ยืน เดิน ไม่มี เพราะเหตุว่า ขณะนั้น เป็นสติ ซึ่งกว่าจะเป็นสัมมาสติ อย่างที่กล่าวเมื่อกี้นี้ จากขั้นการที่ไม่เคยได้ฟังเลย แล้วก็ฟังจนกระทั่ง เวลาที่มีการระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นจะรู้ได้เลยว่าสิ่งนั้นที่เคยเห็น ไม่ได้ปรากฏแต่เฉพาะกับจักขุวิญญาณที่เห็น แต่ยังปรากฏกับสติที่ระลึกศึกษาเข้าใจว่าลักษณะนั้น เป็นสภาพของรูปธรรม คือสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาเท่านั้นจริงๆ หลับตาแล้วไม่มีเลย แค่นี้เราก็โง่มาก ที่จะไม่รู้ว่าไม่เหลือ ก็ยังคิดว่าหลับตาแล้วก็ยังมีเรา แล้วก็มีห้องนี้ มีคนนั้นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ตามความจริง แค่หลับ ก็ไม่มีแล้ว สิ่งซึ่งเคยจำ ก็เป็นการจำผิด ไม่จำสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ไม่มี

    หรือว่าเสียงที่กำลังได้ยิน ขณะที่กำลังได้ยิน เสียงมีเมื่อไร เสียงจริงไหม จริงเมื่อไร เมื่อปรากฏทางหู หรือเมื่อได้ยินเท่านั้นเอง ถ้าไม่ได้ยินแล้วเสียงจะมีไหม เสียงก็ไม่มี แต่เราก็ยังจำเป็นเรื่องเป็นราวไว้

    เพราะฉะนั้น เรื่องของความทรงจำ ที่เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา เป็นฝั่งนี้ ฝั่งโน้น ก็มากมายมหาศาล จนกว่าจะรู้ความจริงว่า แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีอะไรเลยในขณะที่มีสภาพธรรมอย่างหนึ่งปรากฏ สภาพธรรมอื่นจะปรากฏด้วยไม่ได้ นี่คือหายความเป็นเรา หรือความเป็นอัตตา หรือความเป็นตัวตน แล้วค่อยๆ เข้าใจในความเป็นอนัตตา ของสภาพธรรมซึ่งมีจริง แล้วถ้าสัญญาสมบูรณ์ขึ้น ก็สามารถจะประจักษ์การเกิดดับ เพราะขณะนี้เกิดดับแน่นอน ถ้าไม่ดับ จะได้ยินไม่ได้ จะคิดนึกไม่ได้ แต่สภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อเร็ว ต้องอาศัยการที่ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา จริงๆ

    เพราะฉะนั้น แม้สัมมาสติเกิด ผู้นั้นก็จะรู้ว่าเพียงระลึกลักษณะของสิ่งที่มีจริง แต่ไม่ใช่เป็นการจะไปทำ ไปนั่ง หรือไปพยายามเพ่ง ไปพยายามจ้อง ไปพยายามทำอะไรก็แล้วแต่ นั่นคือไม่อบรมความรู้ความเข้าใจว่าเป็นธรรม แล้วก็ขณะที่สัมมาสติเกิด ก็มีลักษณะที่เป็นสัมมาสติเกิด ที่ระลึกลักษณะของสิ่งที่ปรากฏตามปกติ

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์ พูดนี้ก็ดูลักษณะอีกยาวมาก อีกนาน แล้วก็ลึก แต่ว่ามันเหมือนว่าทุกครั้ง ฟังธรรมก็เข้าใจนิดหนึ่ง ต่อไปก็คือเสพคุ้นอีก ด้วยความเป็นตัวตน

    ท่านอาจารย์ ใช่ แค่พ้นห้องนี้ ก็คิดเรื่องอื่นแล้ว

    เพราะฉะนั้น จึงเห็นประโยชน์ ของการฟัง เห็นคุณแค่ของพระธรรม แม้เพียงน้อยแต่สะสมไปเรื่อยๆ ความเข้าใจก็เพิ่มขึ้น แล้วถ้าคิดว่าเป็นระยะยาว ก็ตรงตามพระไตรปิฎก ที่ใช้คำว่า จิรกาลภาวนา ไม่มีใครเลยที่ตรัสรู้ภายในชาติหนึ่ง แสนกัป บ้าง ๔ อสงไขยแสนกัป ๘ อสงไขยแสนกัป ก็มี หรือคฤหัสถ์ในครั้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ซึ่งทรงแสดงไว้ ในชาติหนึ่ง ชาติใดที่เป็น ชาดก พอถึงสมัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นี้ บุคคลบางคนในครั้งโน้น ก็ได้อบรมปัญญาถึงความเป็นท่านพระสารีบุตร เป็นท่านพระอานนท์ เป็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ แต่คฤหัสถ์คนนั้นก็ยังคงเป็นคฤหัสถ์ ในชาตินั้น

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะต้อง พิจารณาถึงบุญที่ได้กระทำแล้ว ที่ทำให้ผ่านสังสารวัฏมาจนถึงวันนี้ ที่ได้มีโอกาสฟังพระธรรมเพิ่มขึ้นอีก ที่จะเข้าใจเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ แล้วถ้าเป็นการรู้ว่าเป็นระยะทางที่ยาว คำนี้จะเป็นวิริยารัมภกถา คือกถาเรื่องความเพียรที่จะต้องเพียรต่อไปอีก นานมาก ไม่ใช่ว่าให้ไปเพียร ๓ วัน ๓ คืน หรือว่าอาทิตย์ หนึ่งเดือนหนึ่ง อันนั้นไม่ใช่ เพราะเหตุว่าไม่ใช่การอบรมเจริญความรู้จริงๆ แต่เป็นความเป็นตัวตนที่ ต้องการที่จะได้ผล แล้วก็พยายามทุกทาง ซึ่งไม่มีทางที่จะรู้สภาพธรรม ตราบใดที่ไม่รู้ลักษณะของสัมมาสติ

    ผู้ฟัง ชินเข้าใจที่อาจารย์พูดว่าคือเพียรด้วยสัมมาทิฏฐิ แต่สั่งสมมาด้วยความเป็นตัวตน มันมีเสพคุ้น ความเป็นโลภะมันก็คือถูกโลภะสุดท้ายก็คือด้วยเพียร แล้วก็ค่อยๆ ถูกโลภะชักชวนไป คือเป็นโลภะ ก็ค่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ใช่ ฟังอีก แล้วก็อบรมเจริญไปอีกจนกว่าจะค่อยๆ รู้ว่าโลภะเป็นสมุทัยจริงๆ เห็นตัวโลภะตามความจริงๆ จึงจะละได้

    ผู้ฟัง ขณะที่มีการพิจารณาขณะที่สภาพธรรมปรากฏ จะมีอาการลักษณะอย่างไร เพราะว่าเหมือนกับว่าไม่มีเวลาที่จะพิจารณาเลย

    ท่านอาจารย์ ใช้คำว่า พิจารณา ใช่ไหม ขณะนั้นเป็นเราที่กำลังพิจารณา ถูกไหม

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสติปัฏฐาน หมายความว่าจากการที่เราเคยได้ยินได้ฟัง และเข้าใจขั้นปริยัติ ว่าสภาพรู้หรือธาตุรู้คือเดี๋ยวนี้ คือการที่เราจะเริ่มเข้าใจลักษณะของนามธรรม จะไม่พ้นจากเดี๋ยวนี้เลย

    ถ้าเราไม่พิจารณาเดี๋ยวนี้ เมื่อไรเราจะรู้ในความเป็นนามธรรม ถ้าขณะนี้ไม่รู้ต่อไปก็ไม่รู้ ต่อไปก็ไม่รู้ ก็ยังคงไม่รู้อยู่ แต่แม้ในขณะนี้เอง นามธรรมเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สี ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏ นี่คือประโยชน์ ของการฟังแล้วฟังอีก จนกระทั่งรู้ว่าธาตุรู้เป็น สภาพธรรมซึ่งไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลย เป็นแต่เพียง ธาตุที่สามารถจะรู้ ขณะนี้ ธาตุรู้สามารถเห็น คือรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา เป็นอย่างนี้คือเห็นในสิ่งที่ มีลักษณะสัณฐานที่ปรากฏ เวลาที่เสียงปรากฏ ธาตุรู้ก็สามารถที่จะเป็นใหญ่เป็นประธาน ไม่ใช่เวทนา ไม่ใช่ความรู้สึก ไม่ใช่ความจำ แต่สามารถที่จะรู้ลักษณะของเสียงซึ่งต่างกัน เพราะเสียงทุกเสียงต่างกัน เพราะเหตุปัจจัยต่างกัน ขณะนั้นคือความเข้าใจ ที่เคยเข้าใจมาแล้ว ซึ่งเป็นระดับหนึ่ง

    อีกระดับหนึ่งผู้นั้นจะเริ่มเข้าใจเวลาที่ เริ่มรู้ว่าแม้แต่เห็นขณะนี้ เกิดได้เพราะมีปัจจัย นี่เราไม่ได้พูดถึงเรื่องราว แต่พูดถึงขณะที่ไม่เห็น แล้วมีเห็นเกิดขึ้น นี่คือตัวธรรม ตัวธรรมคือเห็น เมื่อกี้นี้ไม่เห็น แล้วก็มีเห็นเกิดขึ้น เมื่อกี้นี้ไม่ได้ยิน แล้วมีได้ยินเกิดขึ้น นี่เรา กำลังพูดถึงตัวธรรมจริงๆ เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็เริ่มที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสิ่งที่มี แม้ว่ายังไม่สามารถที่จะรู้ความต่างของนามธรรม และรูปธรรม แต่เพราะเหตุว่าได้ฟังแล้วได้ฟังอีกก็รู้ ว่าลักษณะนั้นเป็นธรรม ไม่ต้องเอ่ยชื่ออะไรเลย แต่ใส่ใจในลักษณะที่มี เพื่อที่จะรู้ความต่างของขณะที่รู้ กับขณะที่ไม่ใช่สภาพรู้ เป็นเพียงความใส่ใจ ที่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย อาจจะมีการคิดแทรกว่า ลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้ ขณะนั้นก็รู้ว่าเป็นเรื่อง เป็นราว แล้วก็ขณะที่ไม่ใช่เป็นคิดอย่างนั้น แต่ว่ามีการระลึกที่ลักษณะซึ่งไม่ได้คิด แต่ลักษณะนั้นมีกำลังปรากฏ ให้ค่อยๆ รู้ ก็จะค่อยๆ เห็นความละเอียด และเห็นความต่างกันของขณะที่คิด กับขณะที่ไม่คิด แม้ว่าจะมีคิดก็ยังรู้ความต่างว่า ขณะคิดนั้นอย่างหนึ่ง แล้วขณะไม่คิดก็อีกอย่างหนึ่ง

    ผู้ฟัง แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ที่ท่านอาจารย์ใช้คำว่า ใส่ใจ

    ท่านอาจารย์ เหมือนเลยปกติ แต่เป็นสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง คือมันไม่ชัดเจนเหมือนตอนที่ฟังอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าจะชัดเจนไม่ได้ในตอนต้น เพราะฉะนั้น อบรมจิรกาลภาวนา สติปัฏฐานนี่ต้องอบรม ไม่มีสติปัฏฐาน ของใครที่เพียงระลึกแล้ว สามารถที่จะรู้ เพราะเหตุว่าการที่จะรู้ชัด ต้องละ ถึงจะชัด ถ้ายังไม่มีความเข้าใจในสภาพธรรมนั้นถูกต้อง อะไรจะละ เพราะมีทั้งไม่รู้แล้วก็มีทั้งติดด้วยในสิ่งนั้น จนกว่าจะค่อยๆ ระลึกไป เป็นการชำระล้างความไม่รู้แล้วก็ความติดข้องใน สิ่งซึ่งมีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ด้วยความที่รู้เพราะสติมีการระลึกขึ้น ระลึกที่ลักษณะที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้น เวลานี้เราก็จะรู้ว่าขณะใด ที่สติสัมปชัญญะระลึกลักษณะที่มีจริงๆ ต่างกับขณะที่กำลังคิดเรื่องนั้น ขณะที่กำลังระลึกลักษณะที่มีจริงๆ ยังไม่ได้คิด เพราะฉะนั้น ก็ต่างกับขณะที่กำลังคิดถึงเรื่องนั้น ค่อยๆ ละเอียดขึ้นๆ ที่จะรู้ว่าขณะนั้นเป็นสติสัมปชัญญะ แต่ว่าปัญญายังไม่สามารถจะรู้ชัด ที่จะรู้ชัดขึ้นได้ ต้องอาศัยกาลเวลาเหมือนการจับด้ามมีด แล้วก็ต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ว่าสภาพธรรมที่มีปรากฏนี้แหละ ที่ปัญญาจะต้องรู้ตามความเป็นจริงไม่ใช่รู้อื่น จะเป็นพระโสดาบัน จะเป็นพระสกทาคามี จะเป็นพระอนาคามี หรือจะเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ใช่รู้สิ่งอื่น เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏให้รู้มี ๖ ทาง ก็ต้องเป็นสิ่งซึ่งปรากฏใน ๖ ทางนี้แหละ ที่ปัญญาจะรู้ ไม่ใช่ไปรู้อย่างอื่น

    เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด ก็สามารถที่จะเข้าใจว่าขณะนั้น เป็นสติปัฏฐาน เพราะว่ามีลักษณะของสภาพธรรมที่สติระลึก แล้วก็เป็นปกติ อย่ามีเครื่องเนิ่นช้า คือความต้องการผลที่อยากจะรู้สิ่งนั้น อยากจะทำอย่างนี้ เคลื่อนไปอีกทีละนิดทีละหน่อย เพราะฉะนั้น ทรงแสดงธรรมโดยประการทั้งปวงที่ไม่ให้มีความเข้าใจผิดในหนทางปฏิบัติ โดยการที่ผู้ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ต้องมี ๓ รอบ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ ถ้าไม่มีความรู้จริงๆ อย่างนี้ ก็ไม่สามารถที่จะรู้อริยสัจธรรมได้

    ผู้ฟัง ผู้ที่ฟังท่านอาจารย์ ก็เข้าใจด้วย

    ท่านอาจารย์ แล้วก็อบรม

    ผู้ฟัง คราวนี้อาจจะมี ๒ บุคคล บุคคลหนึ่งฟัง แล้วก็เข้าใจ แล้วก็เริ่มที่จะสังเกต ตามที่ได้เข้าใจเหมือนที่ท่านอาจาย์บอก แต่ว่าสำหรับอีกคนหนึ่งก็คือฟังเข้าใจ แล้วก็สามารถอธิบายให้คนอื่นฟังได้ด้วย แต่ก็บอกว่าสติปัฏฐาน ก็ยังไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าผู้นั้นจำ

    ผู้ฟัง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคนนั้นจำ หรือว่าเข้าใจด้วย

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นการจำ จะจำเหมือนที่เคยฟัง แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจ เขาสามารถที่จะอธิบายขยาย สิ่งที่มีจริงๆ โดยนัยประการต่างๆ ด้วยความเข้าใจของเขาเอง นี่คือความต่างกัน เพราะฉะนั้น เราจะรู้เลยว่าถ้ามีการตอบแบบปริยัติ ขณะนั้นเป็นจิตอะไร ประกอบด้วยเจตสิกอะไรเท่าไร แต่ถ้าเป็นการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมเขาจะเน้นไปที่ตัวสภาพธรรม ซึ่งขณะนี้เป็นสภาพธรรมจริงๆ เพราะฉะนั้น การศึกษาของเรา ก็เพื่อที่จะให้มีความเห็นถูก เข้าใจถูก ยิ่งขึ้นที่จะเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วก็ละการติดข้อง โดยการที่ว่า รู้ความต่างกันของปัญญาต่างขั้น คือ ปัญญาขั้นฟัง ปัญญาขั้นพิจารณา ปัญญาขั้นสติปัฏฐาน ถ้ายังไม่รู้ความต่างกันก็อบรมเจริญภาวนาไม่ได้

    ผู้ฟัง คำว่า เข้าใจ หมายถึงว่า เราเห็นล่องลอยของธรรม หรือว่าขณะที่ธรรมปรากฏ ถึงแม้จะไม่ประจักษ์จริงๆ แต่เรา ก็เห็นว่ามันต้องเป็นอย่างนั้นแน่ๆ

    ท่านอาจารย์ โดยมากจะเข้าใจเรื่องราว และเหตุผล ที่ได้ฟัง

    ผู้ฟัง ที่ว่าเข้าใจ ใช่ไหม ก็ยังไม่

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นความจำ ความจำในเรื่องราว และในเหตุผลเท่านั้น

    ผู้ฟัง ก็นั่นยังเป็นความจำอยู่

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง ที่ว่าจะเข้าใจธรรมจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ก็มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม สัญญามีหลายระดับ สัญญาที่จำเรื่องราว กับสัญญาที่เกิดพร้อมกับสติปัฏฐาน ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ด้วยสัญญานั้นแหละ จึง ทำให้รู้ความต่าง ของการคิด กับการที่สติปัฏฐาน ระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง เป็นขั้น ความเข้าใจ ขั้นคิด

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นความสงสัย แล้วในเรื่องราวด้วย แต่ว่าขณะนี้มีสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะยกเรื่องอื่นทิ้งไปหมด แล้วพยายามฟังที่จะให้เข้าใจสภาพธรรม ซึ่งสติสัมปชัญญะ สามารถจะเกิดในขณะนี้ก็ได้ ที่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง

    ไม่ใช่เรื่องยากที่สติปัฏฐานจะเกิด แต่ที่จะอบรมจนกว่าจะเป็นพละ มีกำลังไม่ว่าสภาพธรรมใดปรากฏสติปัฏฐาน ก็สามารถที่จะระลึก และผู้นั้นที่จะคลายความเป็นเรา เพราะรู้ว่าขณะนั้นเป็นสติ เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เห็นอย่างธรรมดา ไม่ใช่ได้ยินอย่างธรรมดา แต่เป็นสติที่ระลึก แล้วก็มีสภาพนั้นแหละที่ปรากฏ เหมือนกับปรากฏในขณะที่เห็น เหมือนกับปรากฏในขณะที่ได้ยิน แต่ว่ามีสติที่ระลึกในลักษณะนั้น

    ผู้ฟัง ขณะที่เรามีสติระลึกถึงเสียงกับระลึกถึงการได้ยิน บางครั้งเหมือนกับว่าเรา จงใจได้ว่าเราจะเอาเสียงบ้าง เราเอาการได้ยินบ้าง มันเหมือนกับคล้ายๆ ว่าเราบังคับได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็เป็นสักกายทิฏฐิ เริ่มเห็นว่าเราอยู่ตรงไหน อะไรเป็นเรา ความจงใจก็เป็นเรา ทั้งๆ ที่ความจงใจก็ทราบแล้วว่าเป็นธรรมเป็น อนัตตา เป็นเจตสิก แต่ตรงนั้นก็ยังเป็นเรา

    ผู้ฟัง ดิฉันขอถามว่า อย่างเช่น สติระลึกแข็ง ในขณะนั้น แล้วก็ปกติที่จะรู้มันต้องมาที่มโนทวารเลย

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดเรื่องมโนทวารด้วยซ้ำไป ไปคิดทำไม ขณะนั้นคือคิดแล้ว

    ผู้ฟัง เพราะว่าก็ยังไม่เข้าใจ ใช่ไหม ก็บางครั้งมีความสงสัยขึ้นมา

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังเห็น จักขุทวารวิถีจิตดับแล้ว ภวังค์คั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตเกิดต่อ ทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเหมือนกัน เร็วมากจนแยกไม่ออกแล้วเราจะไปคิดทำไม ที่คุณชินคิด หลายรอบแล้ว เพราะว่าจาก

    ผู้ฟัง ไม่แน่ใจ

    ท่านอาจารย์ กาย แล้วภวังค์แล้ว ก็มโนทวาร แล้วก็กาย แล้วภวังค์ แล้วมโนทวารแล้วก็กาย แล้วภวังค์ แล้วก็ มโนทวารวิถี

    ผู้ฟัง แต่จริงๆ คืออย่างไรถ้าจะรู้ก็ต้องอยู่ที่มโนทวาร ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องใช้ชื่อเลย ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อเลย เพราะว่า เป็นเราที่กังวลเรื่องชื่อ เพราะฉะนั้น ก็จะมีอุปสรรค ตลอดทางเดิน กังวล หรือคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ซึ่งไม่ทำให้รู้ลักษณะของนามธรรมซึ่ง เป็นสภาพรู้ ถ้าขณะนั้นกำลังรู้ลักษณะที่เป็นสภาพรู้ ไม่ต้องไปติดที่มโนทวารหรือ ทวารไหนเลย

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ความหมายจริงๆ ของอาจารย์คือ เกิดแล้วก็ดับไม่ต้องคิด

    ท่านอาจารย์ สืบต่อเร็วมากด้วย แยกไม่ออกเลย ระหว่างปัญจทวาร กับ มโนทวาร

    ผู้ฟัง ไม่ต้องสงสัย ธรรมนั้น

    ท่านอาจารย์ ห้ามไม่ได้สะสมมาอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น สะสมที่จะคิดอย่างไร ก็คิดอย่างนั้น สะสมที่จะกังวลเรื่องทวาร ก็กังวลเรื่องทวาร แต่ว่าต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้น ไม่ใช่การที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม ถึงแม้จะเอ่ยชื่อว่า มโนทวาร ก็ไม่ใช่ว่ารู้ลักษณะของนามธรรม แต่ว่าต้องเป็นเพราะการใส่ใจที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้ จึงจะรู้ว่ามีธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น แต่ธาตุชนิดนี้รู้ ทันทีที่เกิดจะต้องรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใด

    ผู้ฟัง อยากเรียนถามว่าต้องพิจารณา ความเป็นตนของผู้อื่น ด้วยหรือเช่นไร หรือว่าพิจารณาความเป็นตนของตนเอง

    ท่านอาจารย์ พิจารณาทุกอย่างจนกว่าจะหมดความสงสัย

    ผู้ฟัง พิจารณาอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เข้าใจ ให้ถูกต้อง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง ขณะนี้รู้ รู้สึกว่ามันเป็นการรู้เรื่องของเหตุปัจจัย วงแคบๆ จะกล่าวได้ว่าเป็นการรู้ปฏิจจสมุปบาทด้วยหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ โดยมากมักจะสงสัย เป็นคำ เป็นเรื่อง เป็นชื่อ ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม อย่างเราเกิดมาทุกคน ได้เคยทำกรรมแล้วแน่นอน เราคงจะไม่ได้ไปทำรูปาวจรกุศล แต่ว่ากุศลที่เป็นเรื่องของกามาวจร ทาน ศีล พวกนี้ต้องมี เพียงขั้นที่ศึกษาเราก็เห็นตามความเป็นจริงได้ ว่าก่อนเรียนเราทำกรรมนั้นๆ โดยความไม่รู้เลย ว่าเป็นนามธรรม และรูปธรรม มีความเป็นเราตลอด

    เพราะฉะนั้น อวิชชาก็คือการที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ว่าเมื่อฟังแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องมีการกระทำ แล้วการกระทำนั้นก็เป็นบุญบ้าง เป็นบาปบ้าง ทั้งหมดมาจากความไม่รู้ นี่ก็คือขั้น ๑ คือ ขั้นที่เข้าใจโดยการพิจารณาโดยการฟัง แต่ตราบใดที่ยังไม่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ก็ยังเป็นเรา ถึงจะฟังอย่างนี้ กำลังเข้าใจอย่างนี้เป็น กามาวจรกุศล เป็นมหากุศล ก็เป็นเราที่เข้าใจ แม้ว่าจะบอกว่าไม่ใช่เรา เป็นจิต เป็น เจตสิก เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม แต่ก็เป็นเราอีก เพราะเหตุว่ายังไม่ได้รู้ลักษณะของนามธรรม รูปธรรม

    การที่จะรู้ปฏิจจสมุปบาท ก็ต้องไม่ต่างกับวิปัสสนาญาณ แต่ว่าขั้นที่ฟังแลัวเข้าใจโดยการพิจารณา เช่น เริ่มเข้าใจว่าทำไม อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารก็ พิสูจน์ได้ว่าตั้งแต่เกิดมา มีกรรมที่ได้กระทำแล้วด้วยความไม่รู้ เพราะฉะนั้น อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขารนี้แน่นอน แล้วสังขารก็เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ถ้าเราจะคิดถึงปฏิสนธิจิต ในชาตินี้ก็ต้องรู้ว่า เพราะต้องมีกรรมที่ ทำให้ปฏิสนธิจิต ต่างกันคือการศึกษาปฏิจจสมุปบาท จะย้อนเป็นอดีตศรัทธา คือ ปัจจุบันของชาตินี้ขณะแรก คือปฏิสนธิจิต ต้องเป็นผลของอดีตกรรม ที่ได้ทำแล้วในชาติก่อน

    เพราะฉะนั้น ในชาตินี้เราจึงเห็นผลของกรรมต่างกันมนุษย์ และสัตว์ เป็นที่ดูผลของบุญ และบาป และเป็นที่ดูบุญบาปด้วย เพราะว่าผลของบุญ และบาป ก็คือว่าทำให้คนเราเกิดมาต่างกัน แม้แต่สัตว์ซึ่งเป็นภูมิเดียว คือเป็นภูมิเดรัจฉานก็ มีตั้งแต่ตัวเล็กนิดเดียวจนกระทั่งตัวใหญ่ มีขา ไม่มีขา หลายๆ อย่าง ทั้งหมดมีความวิจิตรมาก เพียงแต่ดูผีเสื้อ ๒ ตัว หรือตัวเดียวก็ยังเห็นความวิจิตรว่าทำไม ใครไปสร้างปีกผีเสื้อให้เป็นอย่างนี้ มีจุดมีลายต่างๆ พวกนี้ ก็เป็นเรื่องที่เราเห็นได้ทั้งหมด ว่าต้องเป็นผลของกรรมที่ต่างกันที่ วิจิตรมาก เพราะฉะนั้น การที่ฟังธรรมศึกษาธรรมแล้วก็ เข้าใจแม้แต่ในอดีตศรัทธา เราก็ต้องย้อนกลับไปให้ตรงที่ว่า หมายความถึงอดีตอย่างไร คือ เป็นปัจจัยที่ได้กระทำแล้วในอดีต ทำให้ปัจจุบัน ปฏิสนธิต่างกัน

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567