ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๘๕

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๔


    ท่านอาจารย์ จิตมีหน้าที่เดียว ไม่ว่าจะเกิดเมื่อไร หน้าที่ของจิตก็คือ เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ ที่ปรากฏ ส่วนเจตสิกแต่ละอย่างก็มีหน้าที่เฉพาะเจตสิกนั้นๆ ซึ่งเกิดกับจิต แล้วไม่ว่าจะเกิดเมื่อไร ที่ลักษณะอย่างนั้นทำหน้าที่นั้น เช่นโลภเจตสิก เป็นสภาพที่ติดข้อง ไม่ว่าจะเกิดเมื่อแสนโกฏิกัปป์มาแล้ว หรือขณะนี้ หรือต่อไปข้างหน้า โลภเจตสิกก็ไม่เปลี่ยนลักษณะ ไม่เปลี่ยนกิจหน้าที่ของโลภะ คือเป็นสภาพที่ติดข้องในอารมณ์ที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง เมื่อเช้าวานนี้ฟังรายการตอนเช้า เรื่องการให้ผลของกรรมโดยกาล อาจารย์บรรยายว่า ชวนจิตดวงที่ ๑ ให้ผลในชาติปัจจุบัน อันนี้ในการทำกรรมหนึ่งๆ มันก็มีวิถีจิตเกิดขึ้นหลายวิถี แล้วเป็นชวนจิตดวงที่ ๑ ของวิถีไหน วิถีแรกเลยหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ชวนจิตที่ทรงแสดงไว้ มี ๗

    ผู้ฟัง ๗ ขณะ

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่ครบองค์ที่จะให้ผล หรือว่าประกอบด้วยปัจจัยอื่น เพราะเหตุว่าการที่กรรมจะให้ผลก็ต้องมีปัจจัยอื่นด้วย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะกัมมปัจจัยอย่างเดียว เพราะเหตุว่า กรรมมีมากมายแล้วแต่กรรมไหนมีโอกาสได้โอกาสที่จะให้ผลก็เกิด ถ้ากรรมนั้นจะให้ผล ชวนะดวงที่ ๑ ของกรรมนั้นที่กระทำ ก็จะให้ผลในปัจจุบันชาติ เราจะต้องมานั่งคิดไหมว่า ทางทวารไหน แล้วก็กี่วาระๆ แรกหรือเปล่า หรือว่าวาระที่ ๓ ที่ ๔ เพราะว่ากรรมหนึ่งๆ กว่าจะสำเร็จได้ กี่วาระ ถ้าจะนับเป็นหนึ่งกรรม หรือการกระทำครั้งหนึ่งๆ เพราะฉะนั้น เราจะต้องไปคิดไหม

    ผู้ฟัง ถ้าในชาตินั้นๆ ชวนจิตดวงที่ ๑ ซึ่งให้ผลในชาตินั้น เพราะว่ามีกำลังอ่อนที่สุด ไม่สามารถจะให้ผลได้ คืออาจจะตายไปก่อน อะไรอย่างนี้ แล้วในกรรมเดียวกันชวนจิตดวงที่เหลืออีก ที่ ๒, ๓,๔,๕,๖,๗ เป็นอโหสิกรรมไปด้วยไหม หรือว่าก็ยังเหลือไปให้ผลในอนาคตได้

    ส.แสดงกาลการให้ผลว่า ชวนะดวงที่ ๑ ให้ผลในชาติปัจจุบัน ชวนะดวงที่ ๗ ให้ผลในชาติหน้า ชวนะดวงที่ ๒ ถึง ๖ ก็ให้ผลได้ หลังจากชาตินั้นๆ ไปอีก

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น แม้ว่าดวงที่ ๑ จะเป็น อโหสิกรรมไปแล้ว แต่เหลืออีก ๖ ดวงก็ยังให้ผลได้

    ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญที่สุดรู้หรือเปล่า ขณะนี้ที่เห็น เป็นผลของกรรมในชาตินี้หรือว่าเป็นผลของกรรมในชาติไหน ไม่รู้ก็คือทรงแสดงเหตุผลไว้เท่านั้นเอง แต่ว่าไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้

    ผู้ฟัง แล้วกรรมนั้นๆ เวลาให้ผลก็คือ ถ้าจะนับเป็นจิตก็ ให้เป็น ปฏิสนธิจิตตอนที่เกิด แล้วก็เป็น ภวังคจิตดำรงภพชาติ แล้วก็จุติจิต เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนั้น

    ถ้าจะดูเป็นกรรมก็คือว่าทำให้เกิด แล้วก็ขณะที่มีชีวิตอยู่ กรรมนั้นก็ส่งผลให้ทวารต่างๆ ได้รับกุศลกรรม อกุศลกรรม อันนี้กรรมเดียวกันนี้ จะส่งผลกว้างๆ ให้เป็นบุคคลนั้น ตลอดชีวิตนั้นเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบเรื่อง ประเภทของกรรม แล้วก็กาลที่กรรมให้ผลด้วย แล้วก็ยังโดยกิจด้วย อย่างกรรมใดจะให้ผล ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด หรือวิบากจิตเกิด ก็เป็น ชนกกรรม

    ผู้ฟัง แล้วกรรมเดียวกันนั้นก็ช่วยอุปถัมภ์ด้วย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ กรรมหนึ่งที่ทำแล้ว อย่างเราเกิดมาในโลกนี้ เป็นผลของกุศลกรรมแน่นอน แต่กุศลกรรมไม่ถึงระดับของรูปฌาน หรือ อรูปฌาน เพราะฉะนั้น จะเป็นกุศลของทานได้ไหม ที่เกิดมาเป็นคนนี้ชาตินี้

    ผู้ฟัง ก็อาจจะเป็นได้

    ท่านอาจารย์ ผลของศีลได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็อาจจะเป็นได้

    ท่านอาจารย์ เป็นผลของจิตที่สงบได้ไหม เป็นผลของการอบรมเจริญปัญญา การฟังธรรมในขณะนี้ก็ย่อมได้ เพราะฉะนั้น กรรมนั้นแหละทำให้ ปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรมนั้น ๑ ใน ๘ เพราะว่าไม่ ใช่คนพิการตั้งแต่กำเนิด ดวง ๑ ดวงใดใน ๘ ดวงเกิด แล้วก็เราสามารถจะรู้ได้ไหม ว่าปฏิสนธิในขณะนี้ประกอบด้วยปัญญา หรือว่าไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะว่ามี ๘ ดวง ๔ ดวงประกอบด้วยปัญญา อีก ๔ ดวงไม่ประกอบด้วยปัญญา ค่อยๆ ไล่เรียงไป ในเมื่อกรรมนั้นให้ผล ทำให้เป็นคนนี้แล้วไม่ใช่ให้ผลขณะเดียว เป็นคนนี้ขณะเดียวแค่ปฏิสนธิจิต ไม่พอ ยังต้องดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้จนกว่าจะตาย แน่นอน คือกรรมก็ให้ผลทำให้เกิด แล้วก็ทำให้จุติ หมายความว่า พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ คือตายจากโลกนี้ เมื่อถึงแก่กรรม หรือถึงวาระที่กรรมนั้นจะสิ้นสุด

    แต่ว่าระหว่างที่ยังไม่ตาย กรรมที่ได้กระทำแล้ว ก็ทำให้ภวังคจิตเกิดสืบต่อ โดยที่ว่ายังไม่มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ดำรงความเป็นบุคคลนั้นไว้ เพราะฉะนั้น กรรมไหนทำให้ดำรงความเป็นบุคคลนั้น ก็ต้องกรรมเดียวกับปฏิสนธิจิต กรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตนั่นเอง ทำให้ภวังคจิตเกิดสืบต่อดำรงภพชาติ แล้วกรรมนั้นก็ไม่ใช่เพียงแต่ทำให้เกิด แล้วก็เป็นภวังค์ กรรมนั้นก็ยังสามารถที่จะให้ผล ทำให้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสด้วย ไม่มีผลของกรรมไหน ที่เพียงแต่ทำให้เกิด แล้วก็เป็นภวังค์ แต่ตัวกรรมนั้นแหละก็ยังสามารถที่จะทำให้เห็นสิ่งที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี ได้กลิ่นที่ดี ตามควรแก่กรรมที่ได้กระทำ

    เพราะฉะนั้น แต่ละคนเกิดมาเป็นบุคคลหนึ่ง ในสกุลหนึ่ง ในครอบครัวหนึ่ง ก็จะมีผลของกรรมตามสมควรที่ทำให้ผลนั้นๆ เกิดขึ้น แล้วก็ยังมีกรรมอื่นที่ให้ผลด้วย เพราะเหตุว่าแม้จะเกิดมาในครอบครัวเดียวกันอยู่บ้านเดียวกัน สิ่งแวดล้อมเดียวกัน ต้นไม้ดอกไม้ในสวนก็เหมือนกัน อาหารก็รับประทานเหมือนกัน แต่ว่ากรรมอื่นให้ผลได้ เพราะว่าบางคนก็อาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย บางคนก็อาจให้ลาภ บางคนก็อาจได้ยศ วิถีชีวิตของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน วิถีของกรรมที่จะให้ผล เป็นวิถีชีวิตของแต่ละคน เพราะฉะนั้น วิถีกรรม วิถีชีวิตก็คือ วิถีจิตนั่นเอง แล้วแต่ว่ากรรมใดจะให้ผลทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะฉะนั้น นอกจากกรรมที่ทให้ปฏิสนธิ จะทำให้ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น แล้วก็จำทำให้ได้รับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสตามควร ก็ยังมีกรรมอื่นซึ่งพร้อมด้วยปัจจัยที่จะให้ผลเกิดขึ้นเมื่อไร ก็ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น เราเกิดมาสุขสบายดีก็ไม่ตลอด ก็จะต้องมียามทุกข์ ยามป่วย ยามเสื่อมลาภ ยามเสื่อมยศ นินทาทุกข์ด้วย

    ผู้ฟัง การเดินจงกรมคืออะไร

    ท่านอาจารย์ จัง-กัม-มะ ภาษาบาลี แปลว่า การก้าวไปตามลำดับ ถูกต้องไหม ก้าวไปๆ ๆ เรื่อยๆ ตามลำดับ

    ผู้ฟัง แต่ว่าของพระภิกษุนั้นจะมีความต่างกัน ก็คือ ไม่ใช่เดินไปเรื่อยๆ จะต้องมีเขต ท่านจะมีทางจงกรมไว้ให้ ไม่ใช่ไปเดินรอบวัด หรือว่าไปเดินตามบ้าน

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ชีวิตของบรรพชิตต่างกับคฤหัสถ์ คือท่านไม่มีบ้าน เพราะฉะนั้น ท่านจะอยู่ป่า ป่าก็เป็นที่รก เพราะฉะนั้น ถ้ามีที่นอนเป็นกุฎีแล้ว จะอยู่เฉพาะในกุฎี ซึ่งเป็นเวลานอนอย่างเดียว ก็ไม่ได้ ท่านก็จะต้องมีการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถด้วย เพราะฉะนั้น แม้ในพระวินัย ก็ได้แสดงการสร้างที่จงกรม ว่ามีขอบเขตเท่าไรอย่างไร นี่ก็เป็นเรื่องของพระภิกษุท่าน

    แต่ว่าตามพยัญชนะที่ว่า จังกัมมะ คือการก้าวไป ถ้าภาษาไทยเราก็ใช้คำว่า เดิน แต่การเดินเรามีหลายอย่าง เดินทางก็มี หรือเดินไปๆ มาๆ ก็มี หรือเดินพลัดเปลี่ยนอิริยาบถก็ได้ แล้วสำหรับพระภิกษุ ปกติ ท่านเป็นผู้ที่อบรมเจิรญสติปัฏฐาน แน่นอน ไม่อย่างนั้นจะบวชเพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่เพื่อการที่จะอบรมเจริญปัญญา ซึ่งก็จะต้องอบรมเจริญสติปัฏฐานนั่นเอง

    เพราะฉะนั้น เมื่อท่านเป็นผู้ที่ไม่มีชีวิตอย่างคฤหัสถ์ เพราะว่าคฤหัสถ์มีคำที่แสดงว่า งานบ้านเป็นการออกกำลังที่ดีที่สุด ถ้าใครไม่เบื่อ แล้วก็มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถไม่มากเกินไป แล้วก็ไม่หักโหมเกินไป ถ้าใครทำงานบ้านบ่อยๆ เชื่อว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดี แต่ไม่สนุก ก็เลยไม่ชอบ บางคนก็ไม่ทำงานบ้าน ไปเล่นกีฬา เพราะว่าทั้งเพลินด้วย ทั้งได้ออกกำลังด้วย หรือจะไปว่ายน้ำ หรือไปทำอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าชีวิตบรรพชิตไม่ได้เหมือนอย่างคฤหัสถ์เลย เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ของท่าน ก็ไม่ได้มีการออกกำลังกายแบบงานบ้านมาก ท่านก็คงจะมีการ กวาดลานวัด หรือว่าทำความสะอาดที่นอน หรือว่าจีวร เครื่องนุ่งห่ม บาตร ก็เป็นงาน ที่เล็กๆ น้อยๆ ก็คงจะทำแล้วก็เสร็จเร็ว ไม่เหมือนชีวิตของคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น ส่วนใหญ่ท่านก็คงจะนั่ง มากกว่า หรือสำหรับคนธรรมดา อย่างดิฉันเอง นั่งมากเหลือเกินมากๆ ทีเดียวคือนั่งตลอด ก็รู้ว่าอิริยาบถทั้ง ๔ ไม่สม่ำเสมอ ถ้าคนที่มีเวลาเขา ก็คงจะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว มีการออกำลังบ้าง อย่างนั่งมากนักก็เดิน พลัดเปลี่ยนอิริยาบถ พระภิกษุท่านก็ต้องทำอย่างนั้น ไม่ใช่การเดินทางไกล ไม่ใช่จาริก

    แต่จังกัมมะ คือ การเดินพลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งเป็นปกติ ไม่ได้ผิดปกติเลย แล้วก็ไม่มีรูปแบบด้วย เราไม่ต้องตื่นเต้นกับคำภาษาบาลี หรือว่าโดยไม่รู้ พอใครสอนให้เราจงกรม เราก็ไปทำอะไรก็ไม่ทราบ แล้วเข้าใจว่านั่น คือจงกรม คือไม่ใช่เดินตามธรรมดา แต่ความจริงในพระไตรปิฎก เป็นปกติ ไม่ใช่ผิดปกติ

    ผู้ฟัง ตอนที่ท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวบอกว่าเวลา ทำงานบ้านก็เหมือนการออกกำลังแล้ว ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ มีคนกล่าวว่าเป็นการออกกำลังที่ดีที่สุด

    ผู้ฟัง คุณวีระ เคยเล่าให้ฟัง ตอนเด็กๆ ก็อยากจะมีกล้ามใหญ่ ก็ยกกล้ามด้วย ก็โดนคุณแม่ว่า ไปยกน้ำใส่ตุ่มก็เหมือนการออกกำลังแล้ว อันนี้ก็เป็นจริง

    ท่านอาจารย์ มีคนหนึ่ง เขาก็ปวดหลัง ปวดแขน เช็ดรถเท่านั้น บ่อยๆ เข้าก็หาย แต่พอหายแล้วไม่ทราบว่าเช็ดรถต่อไปหรือเปล่า

    วิทยากร. ถ้าพูดถึงว่าการเดินทาง การเดินทางก็ไม่ใช้คำว่า กัมมะ ใช้คำว่า คมะ อย่าง คมนาคม อย่างนี้ คือไป ไปแล้วก็กลับ คมะ แปลว่าไป อาคมะ แปลว่า กลับ คือไปกลับ ไปกลับนี้เป็นการเดินทาง

    ท่านอาจารย์ ถ้าใครเดินผิดปกติแล้วบอกว่าจงกรมนี้เราจะเชื่อไหม ก็ต้องรู้เลยว่าเป็นความเข้าใจผิดของบุคคลนั้น เพราะว่าผิดปกติ ทำไม่ต้องเดินผิดปกติ ข้อสำคัญอะไรทำให้ผิดปกติ ต้องมีเหตุ อยู่ดีๆ ทำไมเดินผิดปกติจากที่เคยเดินเพราะอะไร ใช่ไหม

    เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องที่มีเหตุผล และเป็นเรื่องการพิจารณาโดยถูกต้อง เพราะเหตุว่าถ้าเข้าใจความหมายของคำว่า เป็นผู้มีปกติ ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมเพราะอะไร เพราะว่าธรรมเกิดแล้วดับเร็วมาก ในขณะนี้เอง ทุกอย่างไม่ว่าเห็น ได้ยิน คิดนึก สิ่งที่กระทบสัมผัส ถ้าสติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้นขณะใด ก็จะรู้ในความเป็นธรรม ซึ่งแต่ก่อนเป็นคนเป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ ไม่ได้เป็นธรรม แต่ว่าเวลาที่ฟังเข้าใจ เรื่องของนามธรรม รูปธรรม จนกระทั่งมีการระลึกคือ สติเกิด แล้วระลึกลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งชั่วขณะนั้น สภาพธรรมนั้นก็ดับ แต่ว่าปัญญาไม่ถึงความสมบูรณ์ที่จะประจักษ์การเกิด และการดับ ทั้งๆ ที่รู้ โดยการฟังว่าสภาพธรรมเกิดแล้วดับเร็วมาก แต่ว่าต้องมีการอบรมปัญญาต้องเจริญขึ้น ไม่ใช่ว่าเพียงเท่านี้หรือว่าจะไปพยายามทำด้วยความเป็นตัวตนที่จะให้เห็นการเกิดดับ แต่ไม่มีความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ที่กำลังปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามความเป็นจริง นั่นก็ไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ว่าปัญญาเป็นความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วสภาพธรรม ที่ปรากฏก็เกิดแล้วก็ดับ เร็วมาก เพราะฉะนั้น ไม่ว่า จะในขณะใดทั้งสิ้น ไม่มีอะไรจะกั้นให้สติไม่เกิด ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง แล้วถึงกาลคือเวลาที่มีการระลึกได้

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่มีความจงใจ ไม่มีความตั้งใจ ไม่มีความพยายาม ซึ่งจะเป็นตัวตนที่จะแยกลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม คือพยายามไปแยก แต่ว่าขณะนี้ที่กำลังเห็น ได้ฟังว่า เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ต้องมีแน่นอน แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็ปรากฏ กับสภาพที่เป็นธาตุรู้ สภาพรู้นั่นเอง แต่ว่านี่เป็นเพียงเรื่อง เป็นเรื่องคำ เป็นเรื่องการที่ค่อยๆ พิจารณา แล้วเวลาที่มีความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อยขณะนี้เอง นานมากกว่าจะคลาย ความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะค่อยๆ รู้ในลักษณะซึ่งเป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ผิดปกติ อย่างเห็นเป็นดอกไม้ก็เห็นเป็นดอกไม้ เห็นเป็นโต๊ะเป็นเก็าอี้ ก็เห็นเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ แต่เริ่มเข้าใจถูกว่า ทั้งหมดเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ค่อยๆ เข้าใจถูกทีละเล็กละน้อย ไปเรื่อยๆ ขณะนั้นก็คือ สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องมีอะไรที่ผิดปกติเลย ถ้าผิดปกติก็คือ ไม่ใช่ความจริง

    ผู้ฟัง จากที่ฟังๆ มาก็ทราบว่าจิตเป็นสภาพรู้ แล้วก็จิต ๘๙ ดวงก็จะเป็นสภาพรู้เท่านั้น แต่ขณะที่รู้ก็จะ ความต่าง ก็คือรู้ต่างทวาร จิต ๘๙ ดวง ลักษณะที่เกิดคือเป็นสภาพรู้อย่างเดียว ถ้าพูดถึงเจตสิก ๕๒ ความต่างของเจตสิกก็มีแต่ละเจตสิก เพราะฉะนั้น ถ้าสภาพธรรมเกิดก็เป็น เจตสิกแต่ละดวงขณะนั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ที่กำลังเห็นก็มีเจตสิก ๗ ดวงหรือ ๗ ประเภทเกิดร่วมด้วย ซึ่ง ๗ นั้นคือ ๗ ไม่ใช่รวมกันเป็นหนึ่ง

    ผู้ฟัง แต่จะรู้ ก็รู้หนึ่ง

    ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ไม่เลือกเลย ไม่เป็นผู้จัดการให้สติ

    ผู้ฟัง ทีนี้เหมือนรูป ตามความเข้าใจก็รูปมี ๒๘ สภาพธรรมของแต่ละรูป เขาก็มีลักษณะที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น ก็จะรู้อย่างเช่น สีก็สี กลิ่นก็กลิ่น ดิฉันมาแปลกใจ ตรงที่บอกว่าจิต ๘๙ เป็นสภาพรู้ที่มีลักษณะเหมือนกัน ซึ่งต่างกับแม้แต่เจตสิก แล้วก็รูป

    ท่านอาจารย์ เป็นสภาพรู้ก็จริง แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกัน แต่ไม่ว่ากี่ชนิดก็ตาม ก็คือสภาพรู้หรือธาตุรู้ ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้ลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ มันจะต่างกัน ตรงที่ต่างกัน ทวาร ใช่ไหม

    ส.หลายอย่าง โดยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็ได้ ถ้าศึกษาเรื่องวิญญาณธาตุ ๗ ก็จะรู้ความต่างว่าทรงแสดงโดยนัยไหน

    ผู้ฟัง ผมฟังรายการวิทยุ ที่อาจารย์บอกว่า ให้มี สติระลึกเนืองๆ ว่า ขณะนั่งให้รู้สึกแข็ง รู้สึกแข็ง ถ้าเรา สติเราระลึกแล้ว เรายังไมรู้ แต่ขณะที่เรารู้ ก็รู้สึกแข็งอย่างนี้ ถือว่า เป็นกุศลจิตหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ก็ชอบถือ แต่ความจริงเป็นอย่างไร คือต้องเข้าใจจริงๆ ในความต่างของกุศลจิตกับอกุศลจิต แล้วเราก็จะตอบได้เอง ถ้าเราเข้าใจความต่างของกุศลจิต กับ อกุศลจิต ถ้าไม่คิดถึงอย่างนี้ แต่ว่าขณะนี้เห็น ได้ยินด้วย แล้วก็กำลังนั่งด้วย มีสภาพธรรมที่ปรากฏทางไหนบ้าง ทางตามีไหม มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ ทางหูมีเสียงปรากฏ แล้วแต่ทางจมูกจะมีกลิ่นปรากฏไหม ทางลิ้นจะมีรสปรากฏไหม ทางกายอะไรปรากฏ ไม่ใช่ให้ แต่หมายความว่าเวลาที่ฟังข้อความในพระสูตร หรือกล่าวว่า มีสติหรือว่าให้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องเข้าใจถึงความเป็นอนัตตาด้วย

    การฟังธรรมต้องสอดคล้องตั้งแต่ขั้นต้นจนขั้นสุดท้าย ถ้าเข้าใจถูกต้องว่า ทุกอย่าง สภาพธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา ข้อความที่กล่าวไว้ในพระสูตรกับพระอภิธรรมก็สอดคล้องกัน คือว่าแล้วแต่เหตุปัจจัย ไม่ใช่ว่าขณะนี้ ให้ทุกคนระลึกลักษณะที่แข็ง แต่แข็งมี สิ่งที่ปรากฏทางตามี เสียงมี สภาพรู้มี คิดนึกมี ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นสติจะระลึก ไม่ใช่เรา

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นผู้ที่มีปัญญารู้ว่า ขณะไหนสติเกิด ไม่ใช่เราพยายามจะรู้ แต่รู้ว่าขณะไหนสติเกิดคือระลึกลักษณะของสภาพธรรมโดยสตินั้นเอง ไม่ใช่มี เราไปชักจูงไปชักนำให้อยู่ที่รูปนี้ หรือว่าให้รู้ที่นามนั้น แต่ว่าแล้วแต่สติจริงๆ ถ้าเข้าใจว่าสติ คือขณะที่ระลึก ลักษณะของสภาพธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ที่ปรากฏ เพราะความจริงก็เป็นธรรมทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกวันทุกขณะนี้ก็เป็นธรรม แต่ว่าความรู้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม รู้ขั้นฟัง แต่ยังไม่ได้รู้จริงๆ เลยสักอย่าง ว่าลักษณะที่เป็นธรรมของเสียง ลักษณะที่เป็นธรรมของสิ่งที่ปรากฏทางตา ลักษณะที่เป็นธรรมของความโกรธ ลักษณะที่เป็นธรรมของสภาพแข็ง หรือว่าลักษณะที่เป็นธรรมของสภาพที่รู้แข็ง

    รู้ว่าเป็นธรรมโดยฟัง แต่ว่าลักษณะที่เป็นธรรมจริงๆ ไม่ใช่เรา มีลักษณะเฉพาะของธรรมแต่ละอย่าง ถ้าสติไม่เกิดไม่ระลึก ไม่มีทางที่จะรู้ เพราะฉะนั้น จึงทรงใช้คำว่า สติปัฏฐาน เพราะเหตุว่าสติเป็นเจตสิกเป็นสภาพที่ระลึกรู้ เวลาที่ภาษาไทยเราใช้คำว่า ระลึก เราก็มักจะคิดถึงเรื่องอดีตเก่าๆ ระลึก แต่ว่าตามความเป็นจริงจะใช้คำอะไรก็ได้ แต่ให้เข้าใจความหมายของสติ ว่าเป็นโสภณเจตสิกเป็นสภาพธรรม ที่ระลึก คือถ้าเป็นปกติ ก็เป็นไปในกุศล เช่น ทาน วันหนึ่งๆ ที่ไม่ได้ คิดเรื่องจะให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น แต่ขณะใดที่คิดเกิดขึ้นที่จะให้หรือเป็นกุศลเกิดขึ้น ขณะใด ขณะนั้นคือ สติที่ระลึกเป็นไป ในกุศลนั้นๆ หรือวิรัติทุจริตก็ตามแต่ หรือว่าเวลาที่จิตเศร้าหมองเป็นอกุศล ก็มีการระลึกรู้สภาพที่เป็นอกุศล แล้วก็ขณะนั้นเห็นโทษก็ได้ หรือว่าเกิดเมตตา หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นกุศลจิตเกิด เพราะสติที่ระลึกเป็นไปในกุศลประเภทนั้นๆ

    สำหรับการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตรง ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ตามที่ได้ศึกษา เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่สติเกิด สติไม่ใช่จิต

    จิตเป็นสภาพที่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ตามปกติ เช่น เห็น จิตเห็น สามารถที่จะเห็นแจ้ง ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ทางตา ถ้าเป็นเสียง จิตก็เป็นสภาพที่สามารถจะรู้แจ้งในลักษณะของเสียงซึ่งต่างๆ ๆ ๆ นั่นก็คือ จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ คือสิ่งที่ปรากฏ ให้จิตรู้ แต่ขณะนั้นไมใช่สติ ถ้าเป็นสติก็คือระลึกลักษณะ ที่เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม

    เพราะฉะนั้น คนที่ไม่เคยฟังพระธรรมเลย ที่จะให้สติปัฏฐานเกิด เป็นไปไม่ได้เลย ไม่รู้ความเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม ไม่รู้ความต่างของสภาพธรรม แล้วจะให้สติปัฏฐานเกิดเป็นไปไม่ได้ หรือว่าคนที่ไม่มีความเข้าใจในธรรม แล้วก็ไปบอกให้เขาทำวิปัสสนา ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปอีกไม่ได้เหมือนกัน เพราะเหตุว่าความรู้ต้องค่อยๆ เจริญขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่สติปัฏฐาน เพิ่งจะเกิดกับหลังจากที่สติปัฏฐาน เกิดบ่อยๆ มีความรู้เพิ่มขึ้น ก็ต่างกัน เป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ หมายความว่าขณะใดที่สภาพธรรมปรากฏ สติไม่ใช่เป็นจิตที่ กำลังรู้ เช่น กายวิญญาณ รู้สิ่งที่กระทบกาย ลักษณะที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เด็กๆ ก็ตอบได้ ถามเด็ก ว่าแข็งไหม เด็กก็ตอบว่าแข็ง ขณะนั้นก็เป็นกายวิญญาณ เป็นจิตที่รู้แข็งทางกาย แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน

    แต่สติปัฏฐาน คือการระลึก เพราะรู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรม เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าความรู้นั้นสมบูรณ์ขึ้น ลักษณะของสภาพธรรมก็จะปรากฏ ตามความเป็นจริงในความเป็นธรรม หรือเป็นธาตุ ซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่ง สิ่งใด

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567