ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๒๘

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ สัมมาสังกัปปะ ที่ทรงแสดงโดยนัยของพระสูตร ซึ่งก็พูดถึงเรื่องสติปัฏฐานด้วย ก็จะต้องทราบความต่างของสัมมาสังกัปปะ ระดับคิด เหมือนกับขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏ กำลังเริ่มเข้าใจสภาพธรรม แต่ไม่ใช่รู้จักตัวธรรมจริงๆ แต่ละลักษณะซึ่งกำลังเกิดดับ เพราะว่าสติไม่ได้ระลึก เพราะฉะนั้น ก็เพียงแต่รู้ชื่อ แต่ไม่ได้รู้ลักษณะ แต่พระธรรมที่ทรงแสดง ไม่ได้แสดงให้เพียงรู้ชื่อ เราต้องเข้าใจจุดนี้ด้วย ไม่ใช่ให้เรารีบปฏิบัติให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมโดยปัญญาไม่พอ ไม่มีความเข้าใจพอก็อยากจะไปรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ไม่พ้นจากโลภะ คือความอยาก

    การศึกษาต้องละเอียดที่ จะรู้ว่า แม้คำที่ใช้ว่า สัมมาสังกัปปะ ซึ่งได้แก่ วิตกเจตสิก วิตกเจตสิกเป็นไปในทาน หรือเป็นไปในศีล เพราะว่าวิตกเจตสิกโดยการศึกษาพระอภิธรรมก็ทราบว่า เว้นจิต ๑๐ ดวง ถ้าเป็นกามาวจรจิตที่ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดด้วย ขณะที่ให้ทานก็มีวิตกเจตสิก ไม่ได้คิดเบียดเบียน ไม่ได้คิดพยาบาท ไม่ได้คิดเป็นไปในกาม เพราะฉะนั้น ก็เป็นระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าเป็นระดับที่เกิดร่วมกับสัมมาสติซึ่ง เป็นการเจริญสติปัฏฐาน วิตกจะไม่ใช่เพียงอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องฟังให้ละเอียด และต้องเข้าใจด้วย แต่ต้องรู้เมื่อสติเกิด

    เมื่อสติเกิด สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะนั้น ไม่ใช่รู้ลักษณะของสัมมาสังกัปปะ ไม่ใช่รู้ลักษณะของผัสสะ ไม่ใช่รู้ลักษณะของอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่สติปัฏฐาน

    เมื่อเป็นสติปัฏฐาน ไม่ใช่เจตนาปัฏฐาน ไม่ใช่สมาธิปัฏฐาน ต้องรู้ลักษณะของสติ คือระลึกลักษณะที่ได้ฟังมาแล้วเข้าใจมาแล้ว แล้วก็กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจ ขณะที่เข้าใจ หมายความว่า ต้องมีการใส่ใจ มีการพิจารณา มีการเข้าใจขั้นการฟัง แต่ว่าขณะนั้นมีการเริ่มที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมซึ่งตรงกับที่ได้ยินได้ฟัง จนกว่าลักษณะนั้นจะปรากฏโดยสภาพที่เป็น อนัตตา แต่ต้องเข้าใจ สังกัปปะต่างๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าแม้ในขณะที่เป็นมรรคหรือสติปัฏฐาน ก็ไปนึกคิด เรื่องไม่มีกามวิตก ไม่มีพยาปาทวิตก หรือไม่มีการเบียดเบียน

    อีกนัยหนึ่งเราจะกล่าวได้ไหมว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ถ้าไม่มีปัญญา จะเป็นอธิศีลได้ไหม คุณบุตร สาวงษ์พูดโดยลำดับ โดยนัยของเทศนา แต่เทศนาต้องไปถึงจุดสุดยอด คือการรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปเทียบเพียงขั้นศีล ๘ เป็น อธิศีล ส่วนศีล ๕ เป็นศีลธรรมดา นั่นคือไม่สามารถจะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ แต่การที่จะสมบูรณ์ด้วยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องเป็นการที่ประกอบด้วยปัญญานี้แน่นอน ถ้าไม่มีปัญญาไม่มีทางที่จะประกอบด้วย อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ที่จะทำให้ถึง การรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นแต่เพียงการแสดงลำดับเท่านั้นเอง เมื่อศีลมีมาก ศีลไหนสูงกว่าศีลไหน เช่น ศีล ๘ สูงกว่าศีล ๕ ศีล ๑๐ สูงศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ก็สูงกว่าศีล ๑๐ นั่นก็เป็นเรื่องภาษาเรื่องคำที่ใช้ คำเปรียบเทียบให้เห็นว่าต่างกันอย่างไร แต่ จริงๆ ที่จะเป็นอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เพื่อที่จะได้รู้แจ้งสภาพธรรม มิฉะนั้นแล้วก็จะเป็น อธิศีล อธิจิต ไม่ได้ แต่เมื่อมีปัญญาแล้ว ก็ค่อยๆ เป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ตามลำดับขั้นจนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะคำว่า มีกำลัง เช่น สมาธิมีกำลัง ที่เป็นพละ ก็ตามหรือว่า เป็นอินทรีย์ก็ตาม ถ้าไม่เป็นไปโดยสติปัฏฐานเกิด โดยปัญญาค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรม สมาธิจะมีกำลังได้อย่างไร หรือว่าศรัธทาจะมีกำลังได้อย่างไรในอินทรีย์ ๕ ศรัทธาก็ดี วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

    ถ้าปัญญาไม่รู้ขึ้น สติก็ไม่เป็นสติพละ สติก็เป็นสติปัฏฐานที่เพิ่งเกิด แล้วเมื่อไรจะเป็นพละ เมื่ออบรมจนกระทั่งปัญญา สามารถที่จะค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นขึ้น อย่างอื่นก็เริ่มจะเป็นอินทรีย์ด้วยพร้อมกัน ไม่ใช่ว่าเราจะไปทำสมาธิจนกระทั่งมีกำลัง แล้วก็จะทำให้ปัญญาเกิด แต่จริงๆ แล้วทั้งหมด การที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน หรือสักกายทิฏฐิได้ต้องด้วยปัญญา แต่ก็ต้องประกอบด้วยองค์อื่น เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงว่าอะไร ขณะนั้นที่ปัญญาเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะขณะนั้น สมาธิที่เป็นส่วนประกอบ พอที่จะเป็นปัจจัยให้ปัญญาระดับนั้นเกิด นี้ก็เป็นสิ่งซึ่งทุกคนก็ค่อยๆ พิจารณา สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ สิ่งไหนที่ถูกต้อง สิ่งไหนที่จะทำให้รู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็ปัญญาเจริญขึ้น คุณบุตร สาวงษ์ มีความคิดเห็นอย่างไร ในเรื่องนี้

    ผู้ฟัง ขณะที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงนี้ ก็เพื่อทำให้ พุทธบริษัท ที่ฟังออกจากวัฏฏสงสาร แล้วก็การออกจากทุกข์ ออกจากวัฏฏสงสารนี้ ก็ด้วยลำดับ ตามที่สัตว์โลกนี้เป็นไปได้ เช่น ในเรื่องวิตกนี้ พระพุทธเจ้า ทราบอัธยาศัย ของพระภิกษุที่ได้ฟังว่า ก็มีความวิตกในกามมากๆ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ก็ทรงแสดงธรรมเพื่อ ออกจากการวิตกในอกุศล ด้วยอุบายของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงทราบอัธยาศัย แต่ก็เพื่อไม่ติดในสังขารธรรม ทุกอย่าง ผมยกอุทาหรณ์หนึ่งใน ธาตุวิภังคสูตร มัชชิมนิกาย พระสูตรนี้ยาวมาก แต่ผมก็เพียงย่อสั้นๆ เพื่อให้ทราบว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงนี้ มีความประสงค์อย่างไร ไม่รู้ทั้งหมด ก็เพียงรู้พอจะปฏิบัติได้ในการเจริญสติปัฏฐาน

    วิทยากร. ผมมีความเห็นว่าที่พระผู้มีพระภาคท่านแสดงในแต่ละสูตรก็เพื่อเกื้อกูล ให้แทนที่จะเป็น อกุศลวิตก ก็เป็นกุศลวิตก แต่กุศลวิตกก็มีหลายระดับ ถ้ากุศลวิตกขั้นสูง คือ ขั้นระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่มีปัจจัยจะเกิด พระองค์ท่านก็แนะนำ เป็นปัจจัยให้สังขารขันธ์ปรุงแต่งให้กุศลวิตก ขั้นญาณสัมปยุต ที่อาจจะไม่ใช่สติปัฏฐาน หรือกุศลวิตกขั้นต้นๆ ที่พิจารณาด้วยปัญญาว่า การเห็นรูป เสียง กลิ่น รส และเพลิดเพลินไปก็เป็นข้าศึกต่อกิเลส หรือพรหมจรรย์

    พระองค์ท่านแสดงธรรมทุกขั้น เพื่อเกื้อกูล กุศลวิตกขั้นสูง ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็มีขั้นรองๆ ลงมี คือรวมอยู่ในอินทรียสังวร จะสังวรขั้นสติ หรือสังวรขั้นพิจารณาคิดนึก หรือว่าความตรึกที่เป็นกุศลวิตก ไม่ดูในสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เราหลีกไป มีอีกพระสูตร หนึ่งที่พระเจ้าอุเทน ท่านได้เข้าไปถามท่าน บิณโฑลภารทวาชะ ท่านก็ตอบขั้นต้นว่า พิจารณาถึงหญิงสาวในวัยรุ่นด้วยความเป็นพี่เป็นน้อง ก็เป็นการที่ท่านบิณโฑลภารทวาชะ แสดงให้เห็นถึงกุศลวิตกขั้นต้น แต่พระเจ้าอุเทนท่านก็ยังไม่พอใจ ท่านบอกว่ามีการพิจารณาขั้นสูงไปกว่านั้นไหม ซึ่งท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ภิกษุเหล่านี้ พิจารณาถึงความไม่งาม ซึ่งพระเจ้าอุเทนท่านก็ยังไม่ทรงพอพระทัยอีก จนกระทั่งพระบิณโฆลภารทวาชะ ท่านได้แสดงถึง การระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นเครื่องอยู่ของพระกิกษุ ว่าภิกษุอยู่ในวัยหนุ่มเหล่านี้ ที่ไม่หวั่นไหว แล้วก็ไม่ลาสิกขาบทไปบริโภคกาม ก็ด้วยการระลึกรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง อันนี้ก็เป็นอีกสูตรหนึ่งที่แสดงให้เห็น การเกื้อกูล กุศลวิตก ตั้งแต่ขั้นต้น แล้วก็ตามลำดับไป ซึ่งแล้วแต่ว่าจะแสดงในลักษณะไหน แต่อย่างไรก็ตาม ก็เพื่อเป็นเหตุปัจจัยให้กุศลวิตกเกิดโดยความเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง

    ท่านอาจารย์ เพียงคำตอบก็จะเห็นถึงอัธยาศัยที่ต่างๆ กัน คุณอรรณพ จะพูดถึงเรื่อง บิณโฑลภารทวาชะ คุณวิชัย อยากจะพูดอะไรไหม

    ผู้ฟัง ทรงแสดงไว้สูตรเดียวแล้วก็ต้องไม่แสดงเพียงแค่ ที่แสดงวิตกเท่านั้น แล้วก็แสดง ละอกุศล เพียงเท่านั้น ต้องมีขั้นที่สูงกว่านั้น มีปัญญาสามารถที่จะดับอกุศลวิตกเป็นสมุจเฉท เพราะฉะนั้น การแสดงเพียงขั้นต้น คงต้องทรงแสดงเพื่อให้ถึง การดับอกุศลวิตกเป็นสมุจเฉทด้วย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้า ไม่ทรงแสดงสูตรเดียว มิฉะนั้นไม่ว่าใครจะเกิดกามราคะอย่างมาก ก็จะต้องแสดงอย่างนี้กับบุคคลนั้นทั้งหมด แต่สำหรับบุคคลนี้จะแสดงอย่างนี้ และสำหรับบุคคลอื่น ก็จะแสดงข้อความอย่างอื่น ซึ่งทุกคนพิสูจน์ได้ เพราะเวลาโกรธขึ้นมาอะไรเป็นปัจจัยให้กุศลจิตเกิด สำหรับแต่ละบุคคล อีกคนหนึ่งอาจจะพิจารณาธรรมก็ได้ โกรธทำไม ไม่มีอะไรเลย นอกจากสภาพธรรมที่ปรากฏแล้วก็ดับไป แล้วก็ใส่ชื่อแล้วก็จำไว้ ว่าเป็นคนนั้นคนนี้ แท้จริงสภาพธรรม ก็เพียงกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็ดับเท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น ทรงแสดงพระธรรมตลอดหมด ๔๕ พรรษา สำหรับชีวิตจริงๆ ของแต่ละคน เมื่อได้อ่านพระสูตรแล้ว เห็นคุณของกุศล แล้วก็เห็นโทษของอกุศล แล้วก็เราจะจัดลำดับใจของเราก็ไม่ได้ ว่าเวลาที่อกุศลจิตของเราเกิดแล้ว เราจะทำตามสูตรไหน เป็นไปไม่ได้เลย แต่ว่าการสะสม ความเข้าใจของเราในเรื่องที่ว่าเห็นว่าอกุศลไม่มีประโยชน์ ที่ทรงแสดงไว้ลึกซึ้งมาก ก็คือว่าไม่มีตัวตน ถ้าใครสามารถหรือว่าเป็นอัธยาศัยของคนนั้น ที่จะเข้าใจ แล้วก็มีปัจจัยให้ระลึกถึงประโยชน์ ของการไม่โกรธแล้วก็มีเมตตา แล้วก็โทษของโทสะว่าโกรธเขาๆ ก็สบาย แต่เราเป็นย่างไร แล้วเราก็จะสะสมความโกรธนี้ต่อไปอีก ชาติหน้าเป็นอย่างไร เพียงกระทบตาก็จะเกิดโกรธได้ง่ายๆ ถ้าเราเข้าใจเรื่องการสะสมของจิต เรื่องของสภาพธรรมตามความเป็นจริง คนนั้นก็จะมีอัธยาศัย ที่สามารถที่จะระลึกถึง ธรรมที่จะทำให้ขณะนั้นไม่โกรธ แต่ว่าทุกคนต้องโกรธ ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล เพราะฉะนั้น หนทางที่ทรงแสดงให้ดับความโกรธเป็นสมุจเฉท ไม่ใช่เพียงแต่ระงับด้วยวิธีนั้น วิธีนี้ แต่ว่าที่จะหมดโทสะได้จริงๆ ต้องอบรมเจริญปัญญาถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล เพราะฉะนั้น เราประพฤติปฏิบัติ ตามพระธรรมโดยการที่จะรู้ว่าการที่ไม่มีโทสะ ต้องถึงพระอนาคามีบุคคล ซึ่งต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ และก็สามารถที่จะรู้จักธรรม ไม่ใช่เพียงชื่อ แต่รู้สภาพธรรมในขณะที่กำลังปรากฏโดยสติเกิด ถ้าสติไม่เกิด ก้ไม่ใช่ไปพยายามฝืน พยายามทำ เพราะเหตุว่าที่สติไม่เกิดเพราะปัญญาไม่พอ ถ้าฟัง แล้วมีความเข้าใจสภาพธรรม ขึ้น ก็เป็นเรื่องของธรรมทั้งหมด มีความเข้าใจในความเป็นอนัตตา มีความเข้าใจในเรื่องของ ที่จะระลึกรู้สภาพธรรม ที่จะรู้ความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น ก็จะทำให้ปัญญาสามารถที่จะเจริญ เพราะเหตุว่า จะไม่ทรงให้เพียงใครระงับอกุศลด้วยวิธีการใดๆ เพียงเท่านั้น ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ทรงแสดงที่จะถึงการดับโทสะเป็นสมุจเฉท

    เพราะฉะนั้น ที่เราศึกษาธรรม แล้วเราก็อ่านพระสูตร แล้วก็อ่านพระไตรปิฎก เราก็จะเห็นได้เลย ว่าตามอัธยาศัย ใครเกิดโกรธขึ้น แม้ว่าฟังคุณบุตร สาวงษ์ แล้ว หรือจะฟังคุณวิชัย แล้ว แต่การสะสมมาจะทำให้จิตกุศลเรา เกิดขึ้นอย่างไร ต้องไปนั่งตั้งต้นอย่างนั้นอย่างนี้หรือเปล่า แต่ว่าถ้าสามารถที่จะเกิดการระลึกได้ในธรรมอื่นๆ ซึ่งทรงแสดงไว้ เช่น โกรธใคร และใครได้รับโทษ อันนี้ก็จะเป็นสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้ไม่โกรธ ได้ ไม่โกรธเร็วอย่างที่เคยเป็น ไม่ใช่หมายความว่าเราจะทิ้งสูตรหนึ่งสูตรใดเลย แต่ว่าสิ่งนั้นที่ได้ฟัง จะเหมาะกับใคร เพราะฉะนั้น พระธรรมทรงเกื้อกูลทุกอัธยาศัย นี้ก็แสดงว่าทรงแสดงโดยครบถ้วนของสติปัฏฐาน ๔ แต่ว่าลักษณะจริงๆ ที่จะว่าไม่งาม เมื่อไร ขณะไหน ถ้าขณะนั้น ปัญญาไม่เกิด ไม่ได้รู้ลักษณะแท้ๆ ของนามธรรม และรูปธรรม ไม่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป ยังงาม ต่อเมื่อใดที่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป จะงามไหม เกิดแล้วดับ ลักษณะแท้จริงด้วย เพราะฉะนั้น ต้องเกี่ยวกับปัญญา แล้วก็เกี่ยวกับการละกิเลส อย่างปกติธรรมดาของคนซึ่งไม่มีปัญญา ก็งามไปเถอะ จะงามอย่างไร ก็เห็นว่างาม จะติดอย่างไรก็ติดไป แต่เวลาที่ประจักษ์ ลักษณะจริงๆ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสภาพธรรม ขณะนั้นต้องไม่งาม เพราะฉะนั้น ทิฏฐิที่ว่ามีในเรื่องการเห็นว่าเป็นตัวตน การเห็นว่าเที่ยง ในเรื่องการเห็นว่าสุข ในเรื่องการเห็นว่างาม ขณะนั้นไม่มี ถึงแว้ว่าทิฏฐิจะดับหมดไปแล้ว แต่ก็ยังมีโลภะ มีโทสะ ยังไม่ได้ดับ โลภะ โทสะ เป็นไปในเรื่องของความงามด้วย เพราะว่าการที่จะละการติดของในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องถึงความเป็นพระอนาคามี แล้วลองคิดดูว่า ถ้าเราไม่มีปัญญาถึงระดับขั้นพระอนาคามีก็ยังงาม อย่างไรก็ต้องยังงาม ทั้งๆ ที่ประจักษ์การเกิดดับแล้วก็ตาม เพราะการสะสมการติดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ต้องดีเสมอ เป็นที่น่าพอใจ เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงต้องมีระดับสูงขึ้น ที่จะประจักษ์การเกิดดับอีก จากพระโสดาบันเป็นพระสกทาคามี ถึงความเป็นพระอนาคามี จึงจะละการติดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะได้ แล้วก็ต่อไป ถึงแม้ว่าจะดับ ความติดข้องอย่างนี้ ก็ยังติดข้องในภพชาติ ซึ่งจะต้องดับด้วยความเป็นพระอรหันต์

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เมื่อศึกษาธรรมแล้ว ต้องสอดคล้องกันทั้งพระวินัย ทั้งพระสูตร ทั้งพระอภิธรรม คนที่ไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรมเลย จะเข้าใจผิดในพระสูตรได้ หรือคนที่ศึกษาพระอภิธรรมแต่ไม่ไตร่ตรองให้สอดคล้องกัน ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ แต่ถ้าตรึกตรองไตร่ตรอง พร้อมกับการอบรมเจริญปัญญาคือการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมสภาพธรรมปรากฏ ตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพียงแต่รู้เรื่อง แต่ไม่รู้จักตัวธรรม เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องทราบตั้งแต่ ขั้นต้นว่าขณะนี้ทุกอย่างเป็นธรรม ไตร่ตรองตรึกตรองคือขณะนี้เป็นธรรม เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นธรรมมีจริงๆ กำลังปรากฏในขณะที่เพียงเห็น ไม่ใช่ในณะที่นึกคิด นี่ก็เป็นเรื่องที่เราต้องค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรม ที่มีจริงๆ จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม เมื่อระลึกบ่อยๆ ความเป็นขันธ์ ย่อมปรากฏ ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อ ไม่ใช่เพียงแต่ชื่อว่าขันธ์ แล้วขันธ์ได้แก่อะไรบ้าง แล้วเวทนาความรู้สึกก็มีหลากหลาย บางครั้งสุข บางครั้งทุกข์ บางครั้งเฉยๆ ในเมื่อปัญญาสามารถที่จะประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป ก็หมดความสงสัย ว่าสิ่งที่ดับก็เป็นอดีตหมดไปเลย ไม่กลับมาอีกเลย เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับ แล้วสภาพธรรม ที่กำลังเป็ฯปัจจุบันนี้ก็ดับเป็นอดีตไปแล้ว ส่วนสภาพธรรมที่จะเกิดสืบต่อก็เป็นอนาคตซึ่งเมื่อสภาพธรรม ที่เป็นปัจจุบันดับ สภาพธรรมที่เกิดต่อนั้นก็เป็นปัจจุบัน ซึ่งก่อนเป็ฯปัจจุบันก็คืออนาคต เมื่อสภาพก่อนนั้นยังไม่ได้ดับไป เพราะฉะนั้น จะเข้าใจความหมายของขันธ์ โดยประจักษ์ลักษณะของขันธ์ แล้วจะเข้าใจลักษณะของอายตนะ โดยประจักษ์ ลักษณะของอายตนะ หรือว่าโดยธรรมอื่นๆ เช่น ธาตุ ไม่ใช่เพียงชื่อ แต่มีลักษณะจริงๆ ปรากฏจริงๆ ให้รู้ว่าด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมตามที่ทรงตรัสรู้โดยนัยต่างๆ ก็สภาพธรรมนั้นก็เป็นอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้ก็คงจะต้องศึกษากันต่อไป พิจารณากันต่อไป แล้วเข้าใจธรรมให้ถูก เป็นที่พึ่ง เป็นธรรมสรณะจริงๆ เพราะเหตุว่าถ้าเข้าใจธรรมถูกต้องจริงๆ ก็คงจะเข้าใจว่า พระธรรมที่ทรงแสดงก็คือ ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีมากหลากหลาย แล้วแต่สติจะเกิดระลึกเมื่อไรก็ทราบว่า เป็นอนัตตาทั้งหมด ไม่มีใครสามารถที่จะไปทำ แต่ว่าเพียงแต่รู้ตามความจริง ของสภาพธรรมนั้นๆ ที่เกิดขึ้นก็ขออนุโมทนาในความสนใจของทุกท่านที่จะศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบต่อ

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้ ดิฉันฟังผิด หรือเข้าใจผิดหรือเปล่า ไม่ทราบ ที่ดิฉันว่า การที่จะเจริญมรรคมีองค์ ๘ หรือการเจริญวิปัสสนา การที่เราเจริญเมตตาก่อน เพราะเท่าที่เคยฟังมา มันไม่ใช่อย่างนั้นก็เลย ถาม

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบคำ ภาษาบาลี เหมือนคำภาษาไทย เราอาจจะ มีคำที่คล้ายคลึง แต่ความหมายคนละอย่าง อย่างคำว่า สมถะ แปลว่าสงบ สมถภาวนาก็เจริญความสงบของจิตที่เป็นกุศล ที่ไม่ใช่ขั้นทานขั้นศีล เมื่อสมถะเป็นสงบ หมายหมายถึงลักษณะที่สงบจากอกุศล เวลาที่สติปัฏฐาน เกิด สงบไหม นี่ต้องเป็นผุ้ที่มีเหตุผล เพื่อต่อไปฟังอะไร เราจะไม่สับสน โดยการที่เราเข้าใจความหมายของคำ ว่าสมถะ คือสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น เวลาที่ใครก็ตามไม่ได้เจริญกุศลขั้นทาน ขั้นศีล แต่ว่าจิตใจของเขาสงบจากอกุศล ไม่ใช่ระดับทาน ระดับศีล ขณะนั้นก็เป็นสงบที่เป็นสมถะ

    เวลาที่สติปัฏฐานเกิด สงบไหม เอาภาษาไทยอย่างนี้ สงบไหมก่อน เวลาที่สติปัฏฐาน เกิดสงบไหม สงบ ใช้คำว่าสมถะ ได้ไหม ทำไมเล่า เราบอกแล้วว่าสมถะ คือสงบจากอกุศล เราเอาเฉพาะคำ เอาความหมายเพื่อต่อไปเราจะไม่สับสนเวลาเรา ไปเจอที่อื่นว่าวิปัสสนา พร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนา สติปัฏฐานพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนา เพราะว่าขณะที่กุศลจิตเกิด ต้องสงบจากอกุศล เวลามีการให้ทานเพื่อประโยชน์สุขแก่คนอื่น ขณะนั้นสงบไหม สงบ เวลาที่วิรัติทุจริต ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ขณะนั้นสงบไหม เป็นสภาพจิตที่เป็นกุศลจึงสงบ แต่ไม่ใช่สมถภาวนา

    เพราะเหตุว่าภาวนา ต้องอบรมบ่อยๆ เนืองๆ จนกระทั่งความสงบนั้นมั่นคง แต่เวลาที่ความสงบจะมั่นคงได้ หมายความว่ากุศลจิตต้องเกิดบ่อยๆ บ่อยมาก จนลักษณะของความสงบปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่เราให้ทานขณะนั้นสงบนิดเดียวเอง ชั่วขณะที่เป็นกุศล แต่ขณะนั้นต้อง สงบ แต่ไม่ถึงกับสมถภาวนา ไม่มั่นคงเท่า เพราะเหตุว่าชั่วขณะที่เราให้ การวิรัติทุจริตก็เหมือนกัน หรือเวลาที่เรานึกเกิดเคืองใคร เราก็เห็นว่ามันไม่เป็นประโยชน์เลย เป็นเพื่อนกันดีกว่าด้วยใจจริงๆ อภัยให้หมดทุกอย่าง หรืออะไรอย่างนี้ ขณะนั้นจิตเป็นกุศลสงบ แต่ก็ไม่ใช่สมถภาวนา เพราะเหตุว่านิดหน่อย

    เพราะฉะนั้น จึงมีสมถภาวนา ซึ่งแยกจากวิปัสสนาภาวนา แยกจากสติปัฏฐาน เพราะว่าคนนั้น ไม่มีความเข้าใจในเรื่องหนทางอบรมเจริญปัญญา ที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท เขามีปัญญาเพียงแค่รู้สภาพจิตที่สงบ เป็นกุศลว่าต่างจากขณะที่เป็นอกุศล แล้วเห็นโทษของอกุศล ต้องเห็นโทษของอกุศลด้วย จึงพยายามด้วยปัญญาที่ รู้ว่าถ้าระลึกถึงสิ่งใด แล้วทำให้จิตเป็นกุศล สงบมั่นคงขึ้น แต่เขาไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน จึงเป็นสมถภาวนา

    แต่สำหรับสติปัฏฐาน หรือกุศลใดๆ ทั้งสิ้น ต้องสงบ สติปัฏฐานก็สงบ แต่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สมถภาวนา ไม่ได้มีความเพียรจงใจให้จิตสงบเลย แต่ว่าขณะนั้น จะมีปัญญาที่รู้ความต่างกัน ของขณะที่หลงลืมสติ กับขณะที่สติเกิด ซึ่งในพระไตรปิฎกมี หลงลืมสติ กับสติเกิด เพราะฉะนั้น คนที่มีปัญญาจึงรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่ตัวเราทำ ไม่ใช่เราพยายามทำ ไม่ใช่เราจะดู ไม่ใช่เราอยากจะเห็นการเกิดดับ เพราะเหตุว่ามีความมั่นคงในการที่รู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567