ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๔๓

    สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ผู้ฟัง มีเมตตาโดยที่ไม่ได้อบรมปัญญาอะไรเลย หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ แต่ละคน จิตแต่ละขณะ ที่จะเกิดได้ ต้องมีการสะสม ในอดีต

    ผู้ฟัง แสดงว่า ชวนะกิจที่ทำ จะเป็นกุศล หรือกุศลก็ตาม

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่การสะสม

    ผู้ฟัง มีปัจจัยจากที่สะสมมาด้วย

    ท่านอาจารย์ แน่นอน คือจิตทุกขณะที่เกิด และดับไป สามารถที่จะสะสมสืบต่อไป ถ้าโลภะ เกิดครั้งหนึ่ง ๗ ขณะ วาระหนึ่ง

    ผู้ฟัง แม้แต่ชวนจิตเป็นกุศล หรือ อกุศล ซึ่งเกิดจากการที่เราสะสมมา แต่ในนั้นจะเป็นกรรมในปัจจุบัน

    ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงเรื่องกรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดอีกเรื่องหนึ่ง เพราะว่าเจตนาเจตสิกเป็นกรรม เพราะฉะนั้น แม้ว่าไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น ข้อความในอรรถกถาก็แสดงว่าเป็นมโนกรรม เพราะเหตุว่าเป็นเจตนาเจตสิก

    ผู้ฟัง ทั้งๆ ที่บางทีได้ยินเสียงไม่ดี รู้ว่านั่นเป็นวิบาก ถ้าเราไม่มีการพิจารณา มันก็จะต้องเป็นโทสะขึ้นมา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราไม่มีหน้าที่ที่จะไปเปลี่ยน ไปแก้อะไรเลย รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ตอนนี้มันไม่เหมือนกันเสียแล้ว เมื่ออดีต พอโทสะเกิดขึ้นได้ เพราะเสพแล้วเข้าชวนะ แล้วไช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เป็นชวนะวิถี

    ผู้ฟัง ตอนนี้เขาด่าเรา เราไม่โกรธ แต่กลับมี พิจารณาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งชวนะมันไม่เหมือนก่อน

    ท่านอาจารย์ ตามการสะสม

    ผู้ฟัง สะสมนี้ ในอดีตเหมือนกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ผ่านมาแล้ว สะสมอยู่เป็นปัจจัย ให้จิตขณะหนึ่งๆ เกิด

    ผู้ฟัง แสดงว่า ชวนะ เราจะติดทั้งโดยปัจจุบันทันด่วนไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเรา สภาพธรรม เป็นอย่างนั้นเลย ทันทีเลย

    ผู้ฟัง สมมติว่า คนที่เกิดมาไม่ตาบอด แต่ภายหลังมาตาบอด อย่างนี้เขายังจะรับ วิถีจิตทางจักขุทวารวิถี ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจว่าขณะใดที่เห็น ขณะนั้นต้องมีจักขุปสาทรูป ที่เกิดแล้วยังไม่ดับ อย่าคิดว่าจักขุปสาทของเราถาวร กำลังเกิดดับ แล้วแต่กรรม ตราบใดที่กรรมยังทำให้จักขุปสาทรูปเกิด ก็มีการเห็น ถ้าตราบใดที่หมดสิ้นกรรมที่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด เราก็ตาบอดทันที

    ผู้ฟัง แล้วก็ตาบอดอย่างนี้ ยังมีจักขุปสาทรูปได้ไหม

    ท่านอาจารย์ จักขุปสาทรูป หมายความถึง รูปที่มีลักษณะที่สามารถกระทบ สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่มีใครมองเห็นจักขุปสาทรูปเลย ที่เห็น เห็นตา แล้วความจริงก็เห็นแต่เพียง สี แล้วเข้าใจว่า สีอย่างนี้เป็นตา แล้วรู้ด้วยว่าตรงกลางนั้น มีจักขุปสาทรูป แต่ไม่มีใครมองเห็น

    ผู้ฟัง คนที่ตาบอดตั้งแต่เกิด กับคนที่มาตาบอดภายหลัง มโนทวาราวิถี เขาสามารถที่จะ คิดนึกสิ่งที่เคยเห็นมา คนที่ตาบอดแต่เกิดไม่ได้

    ผู้ฟัง จะแยกอย่างไร ระหว่างวิบากกับ กรรมขณะนี้

    ท่านอาจารย์ กรรมได้แก่เจตนาที่เป็นกุศล หรืออกุศล เราเคยมีไหม เจตนาที่เป็นกุศล เจตนาที่เป็น อกุศล

    ผู้ฟัง ที่เราเห็น ที่เราได้ยิน นี้เป็นวิบากหมดเลยหรือ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น วิบาก คือ ปฏิสนธิตอนเกิดหนึ่ง เป็นภวังค์ เป็นวิบากหนึ่ง หลังจากนั้นแล้ว ไม่ใช่แค่นั้น ต้องมีผลของกรรมที่จะได้รับทางตา คือเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นลิ้มรส ทางกายกระทบสัมผัส

    ผู้ฟัง ทางใจ

    ท่านอาจารย์ ทางใจไม่ใช่

    ผู้ฟัง ทีนี้เรามีความรู้สึก เข้าใจยากนิดหนึ่ง บางครั้งเรามีความรู้สึกว่า บางครั้งเราไปเห็น เราเจตนาไปเห็น ทุกคนจะคิดอย่างนั้น เราอยากได้ยิน เราก็ตั้ง เงี่ย หูไป ก็ได้ยิน เหมือนกรรมที่เราสร้างใหม่ แต่จริงๆ แล้วเป็นวิบาก ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่

    ผู้ฟัง ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ พอถึงวาระของจิตที่เป็นวิถีจิต ต้องทราบชัดโดยละเอียดว่า จิตไหนเป็นวิบาก จิตไหนเป็นกุศล อกุศล ในวิถีวาระหนึ่งอย่างเวลาที่ เอาเสียงทางหูก็ได้ เสียงกระทบกับโสตปสาท กระทบภวังค์แน่นอน เพราะว่าถ้าไม่กระทบจิต จะไม่มีการได้ยินเสียง เพราะฉะนั้น ก่อนจิตได้ยิน เสียงต้องกระทบกับภวังคจิต โดยอาศัยโสตปสาทนั่นเอง กระทบภวังคจิต ภวังคจิตไม่ใช่วิถีจิต ภวังคจิตเป็นวิบาก

    ผู้ฟัง ตรงนั้นเป็นวิบากจิต

    ท่านอาจารย์ เมื่อภวังคจิตดับ อตีตภวังค์ ใช้คำว่า อตีตภวังค์ เพื่อแสดงอายุของรูป ๑๗ ขณะ เมื่อ อตีตภวังค์ดับ ภวังคจรณะเกิดสืบต่อ ยังไม่ใช่วิถีจิต เป็นวิบาก ขึ้นชื่อว่า ภวังค์แล้วต้องเป็นวิบากทั้งหมด แล้วต่อจากนั้น เมื่อ ภวังคจรณะ ดับ ภวังคุปัจเฉทะ สืบต่อ ภวังคุปัจเฉทะ ก็ไม่ใช่วิถีจิต เป็นวิบากจิต เมื่อภวังคุปัจเฉทะ ซึ่งหมายความถึง เป็นภวังค์ สุดท้ายดับ ปัญจทวาราวัชชนจิต เกิด เป็นกิริยาจิต ไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล เป็นกิริยาจิต เพราะฉะนั้น คนธรรมดาที่ไม่ใช่พระอรหันต์ จะมีกิริยาจิต ๒ ดวง ปุถุชน กับ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีจะมีกิริยาจิต ๒ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต กับ มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งเกิดทางทวารต่างกัน ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดทางทวาร ๑ ทวารใดใน ๕ ทวาร มโนทวาราวัชชนจิต เกิดทางมโนทวาร ทวารเดียว ปัญจทวาราวัชชนจิตไม่ใช่ ภวังคจิต เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีจิต เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับ โสตวิญญาณจิต จึงเกิดขึ้น ได้ยิน เป็นวิบากดับไปแล้ว เป็นปัจจัยทำให้สัมปฏิจฉันนะ เป็นวิบากเกิดอีกดับไป เป็นปัจจัยให้สันตีรณะจิต เป็นวิบากเกิดอีกดับไป เพราะว่าเพียงแค่ได้ยิน แล้วไม่มีจิตที่รับสืบต่อ ไม่สามารถที่จะเป็นกุศล อกุศลได้ เพราะฉะนั้น กรรมก็ทำให้หลังจากที่โสตวิญญาณจิตดับ ก็ทำให้ สัมปฏิจฉันนจิตซึ่งเป็นวิบาก แล้วกรรมก็ทำให้สันตีรณจิตซึ่งเป็นวิบากเกิด ก็ดับ ต่อจากนั้นโวฏฐัพพนจิต หรือมโนทวาราวัชชนจิตนั่นเอง แต่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร เป็นกิริยาจิต ไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล ดับ แล้วต่อจากนั้นจึงจะเป็นกุศล หรือ อกุศล ๗ ขณะ นี่เริ่มที่จะเป็นเหตุใหม่

    ผู้ฟัง เป็นเหตุใหม่ ตรงนี้เอง

    ท่านอาจารย์ หลังจากเห็น หลังจากได้ยิน

    ผู้ฟัง ต้องแยกเป็นวาระอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ เรามีวิบากที่ต้องเห็น แต่หลังเห็น ไม่ใช่วิบากแล้ว แต่ตามการสะสมในอดีต

    ผู้ฟัง ปฏิสนธิจิตก็เป็นวิบาก แล้วก็ทวิปัญจวิญญาณ

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก

    ผู้ฟัง เป็นวิบาก ทีนี้ผมอยากจะทราบว่าวิบาก ๒ อันนี้ วิบากอันหนึ่งผลคือปฏิสนธิ แต่วิบาก ผลของกรรมอีกอันคือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส สิ่งที่ดีไม่ดี มันต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ วิบากจริงๆ แล้วไม่ใช่สิ่งสำคัญเลย เพราะหตุว่าเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว เมื่อเหตุมี ผลต้องมี เมื่อเหตุมี ยังไม่ได้ดับเหตุ ต้องเกิด ปฏิสนธิ ต้องเป็นภวังค์ ต้องเห็น ต้องได้ยิน เพราะฉะนั้น เราจะทราบได้เลย วิบากทั้งหมดเกิดเพราะ กรรมเป็นปัจจัย เกิดแล้วดับแล้วหมดเลย หมดหน้าที่เลย ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษเลย แต่กุศล อกุศล ยังจะทำให้เกิด ผลข้างหน้า

    ผู้ฟัง ตอนนี้มีความสงสัยในสติปัฏฐาน ที่คุณโอ๋ถามว่าสติปัฏฐาน เป็นอย่างไร คืออะไร คิดว่าสูงเกินปัญญา ที่จะอธิบายได้ ขอกราบท่านอาจารย์ ช่วยอธิบาย

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นเรากันเองมากๆ เลย อยากจะให้ทุกคนได้เข้าใจธรรมจริงๆ ดิฉันก็อาจจะถาม ถึงจะตอบอย่างไรก็ตอบ เพราะว่ายิ่งตอบก็จะยิ่งเข้าใจ เพราะว่าเรื่องธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ก่อนอื่นพอได้ยินคำว่าสติปัฏฐาน รู้สึกจะตื่นเต้น สนใจ แต่ไม่ทราบทำไมถึง สนใจคำ สติปัฏฐาน เป็นคำ คำหนึ่งเท่านั้นเอง แล้วทำไมเราถึงจะสนใจคำนี้เป็นพิเศษ

    ผู้ฟัง สนใจที่ว่าได้ยินบ่อย สติปัฏฐาน สติปัฏฐาน ๔ กราบสติปัฏฐาน ๔

    ท่านอาจารย์ ทีนี้โดยมาก ธรรม เป็นสิ่งที่เราอาจจะเคยได้ยินได้ฟังมานาน แต่ไม่เข้าใจ อันนี้เป็นของที่แน่นอนที่สุด แม้แต่คำสวดมนต์ เราก็สวด แต่ก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เราจะอยู่กับคำที่ไม่เข้าใจมานานแสนนาน ต่อไปนี้เราจะเริ่มเข้าใจ คำที่เราได้ยินให้ถูกต้องด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ใครบอก เราก็เชื่อ แต่ว่าต้องเป็นสิ่งที่เราพิจารณาเอง สติ คำนี้ ไม่ได้หมายความถึง เพียงชื่อที่เราใช้ แต่เป็นสภาพธรรม ที่มีจริงๆ เราใช้คำว่าสภาพธรรม ที่มีจริงๆ อะไรอีก นอกจากสติ โลภะ ความติดข้องมี โทสะมี แต่ถ้าเป็นสติ เราคิดว่าต้องดีกว่า โลภะ โทสะ เพราะว่าโลภะ โทสะ ไม่ดีแน่ แต่พอพูดถึงสติ ดี สติต้องเป็นธรรมฝ่ายดี เพราะฉะนั้น ไม่ได้เกิดทุกวันอย่างที่เรา ใช้กันว่า เวลาปอกผลไม้ ก็ต้องมีสติ เวลาจับถ้วยแก้วก็ต้องมีสติ ถ้าไม่มีสติเดี๋ยวถ้วยแก้วก็ตก หรือมีดก็บาดมือ อย่างนั้นไม่ใช่ สติต้องเป็นธรรมที่มีจริงๆ แต่ว่าเป็นธรรมฝ่ายกุศล ขณะใดที่จิตใจเป็นกุศลเกิดขึ้น จะรู้หรือไม่รู้สติก็เกิดแล้ว ทำหน้าที่ของสติแล้ว

    สตินี้ก็มีหลายระดับตามกุศล กุศลไม่ได้มีแต่ขั้นทาน หรือขั้นศีล ถ้าใช้คำว่า สติปัฏฐาน หมายความว่า คนนั้นมีความเข้าใจธรรม รู้เรื่องธรรมมาก แต่สติปัฏฐาน ยังไม่เกิดก็ได้ เพราะว่าเป็นแต่เพียงขั้นฟัง ขณะที่กำลังฟัง อย่างนี้เป็นจิตที่ดีไหม อันนี้ต้องรู้ก่อน ไม่รู้ลักษณะของจิตเลย เวลานี้ จิตมีจริงๆ กำลังเกิดดับ ก็รู้แค่นี้ ว่าจิตมีจริงๆ แล้ว กำลังเกิดดับ ก็รู้ตาม

    คำว่า สติปัฏฐาน ก็จะยิ่งลึกลับไปกว่านั้นอีก เพราะว่า ต้องเป็นจิตที่ดี แม้แต่จิตที่กำลังเกิดขณะนี้ ยังไม่รู้เลย ว่าเป็นจิตประเภทไหน ดี หรือไม่ดี เพราะฉะนั้น จะไปเข้าใจ สติปัฏฐาน ก็เป็นเรื่องที่ไกลหน่อย แต่ต้องเข้าใจถูกต้องว่าสติ เกิดกับจิตที่ดีซึ่งขณะนี้ พูดเรื่องจิต แต่ไม่รู้ว่าจิตที่ดีเป็นอย่างไร เพียงแต่บอกว่า มาฟังธรรม ต้องดี ที่จิตที่ไม่ดีก็ไม่ฟัง ใช่ไหม ก็มีโลภะ ไปเที่ยวหรือว่าดู โทรทัศน์ อ่านหนังสือ อะไรต่ออะไร อย่างที่เคยทำทั้งหมด ก็เป็นจิตที่ไม่ดี นอกจากขณะใดที่เป็นทาน เป็นศีล เป็นการฟังธรรม ขณะนั้นเป็นจิตที่ดี พูดได้ แต่ยังไม้รู้สภาพของจิตจริงๆ ถูกไหม รู้ว่ามีจิต รู้ว่ากำลังฟังธรรม เป็นกุศลจิต แต่กุศลจิต เป็นอย่างไรจริงๆ ไม่ทราบ เพราะว่าจิต กำลังเกิดดับ ที่ว่าไม่ทราบเพราะเหตุว่า สลับกันเร็วมาก ขณะที่กำลังเห็น เป็นจิตที่ดีหรือเปล่า ก่อนจะไปถึง สติปัฏฐาน ถ้าไม่รู้เรื่องอย่างนี้ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจสติปัฏฐานเลย ต้องทราบว่ากำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ที่เรากำลังเห็น เป็นจิตที่ดีหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นจิตที่ดี

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจริงๆ แล้วจิตเห็นไม่ใช่กุศลจิต ไม่ได้ทำอะไรสักอย่างที่เป็นกุศล เพียงเห็น คิดดูสิ แค่เห็นเท่านั้นเอง แล้วเป็นจิตขณะหนึ่งซึ่งเห็น ไม่ใช่จิตขณะที่ได้ยิน จิตเกิดดับเร็วมาก ที่เราเคยยึดถือว่าเป็นเรา คือจิตทั้งหมด ซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับ แล้วก็ทำหน้าที่การงานต่างๆ อย่างเห็นก็เป็นจิตขณะหนึ่ง ได้ยินก็เป็นจิตขณะหนึ่ง ถ้าได้กลิ่นก็เป็นจิตขณะหนึ่ง กำลังลิ้มรสก็เป็นจิตขณะหนึ่ง กำลังรู้แข็งก็เป็นจิตขณะหนึ่ง เพียงแค่ขณะที่รู้ว่าแข็ง จะเป็นกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้น เห็นไหมว่า เราต้องเข้าใจธรรมขึ้นอีก ถึงจะพูดเรื่องสติปัฏฐานได้ ก็ทิ้งไปได้ไหมเรื่องสติปัฏฐาน หรือยังสนใจอยู่

    ผู้ฟัง คำว่า สติปัฏฐาน หนูได้ยินมาตั้งแต่เล็กๆ แล้ว ฟังก็เหมือนนกแก้วนกขุนทอง จะมีสติ หรือสมาธิ หรือกุศล หรืออกุศล หนูยังไม่ทราบ เพราะว่าหนูเพิ่งจะเริ่ม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่ทราบ ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อน แล้วสติถึงจะเกิดได้ ถ้ายังไม่ทราบอย่างไรๆ ไปทำสติปัฏฐาน อย่างไรๆ ก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะว่าไม่รู้

    ผู้ฟัง อย่างนี้หนูต้องไปศึกษามาก่อน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ โดยมากคนไม่เข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้ว การอบรมเจริญ สติปัฏฐาน หรือที่ใช้คำว่าวิปัสสนา หรือใช้คำว่า ภาวนา ทั้งหมด คืออบรมปัญญา เพราะว่าปัญญาไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมาได้ ไม่มีใครในโลกซึ่งอยู่ดีๆ ก็มีปัญญาขึ้นมาได้ ต้องมีการอบรม เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจถูกต้อง ไม่ว่าจะใช้คำว่าภาวนา สติปัฏฐาน วิปัสสนาภาวนา คือ อบรมปัญญา ถ้าเราเข้าใจคำว่า อบรมปัญญา เราก็หมายความว่าต้องเป็นปัญญาของเราเอง ไม่ใช่ปัญญาของคนอื่นที่มาบอกเราให้เราทำอย่างนี้ ทำอย่างนั้น แล้วเราจะมีปัญญารู้นั่นรู้นี่ แต่ว่าต้องเป็นปัญญาของเราที่อบรมด้วยตัวของเราเอง แล้วถ้าเราใช้คำว่า อบรมปัญญา หมายความว่า เราทำหรือเปล่า เป็นหน้าที่ของปัญญาที่จะค่อยๆ เกิด ค่อยๆ เจริญจนกว่าจะเป็นสติปัฏฐาน ต้องเป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด ต้องค่อยๆ เกิด ค่อยๆ เจริญขึ้น เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องทราบว่าปัญญารู้อะไร เราก็มีถึงแต่ละคำ แต่ละคำซึ่งดูเหมือนเราชิน แต่จริงๆ เรายังไม่ได้รู้ ต้องรู้ให้ถูกต้องทั้งหมดทีละคำ

    ผู้ฟัง ผมเพิ่งจะมาเข้าใจจากเทปของอาจารย์ บอกจริงๆ ว่าโง่จริงๆ ครั้งแรกไม่รู้จัก พุทธศาสนา คืออะไร เพราะฉะนั้น พุทธะท่านเป็นผู้รู้ แต่พวกเราเป็นผู้ไม่รู้ เราก็ต้องศึกษาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมเพิ่งมาเข้าใจจากอาจารย์จริงๆ ไม่รู้ไปโง่งมงายอยู่ที่ไหนเสียนาน

    ท่านอาจารย์ ส่วนมากไม่ได้เน้นเรื่องคำสอน ส่วนมากเน้นให้ทำ อย่างเช่นให้นั่ง แต่ไม่ได้มีคำสอนอะไรเลย ที่จะทำให้ปัญญาของแต่ละคนเกิดขึ้น ขณะที่ฟังพิจารณาเข้าใจ คือ ปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีปัญญา จะไปนั่งอย่างไร ปัญญาก็ไม่เกิด จะไปนั่ง ๒ ครั้ง ๔ ครั้ง ๖ ครั้ง ๘ ครั้ง ก็ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นปัญญารู้อะไร จะต้องทราบว่าปัญญาเป็นสภาพที่เห็นถูก รู้ถูก เข้าใจถูก แล้ว ปัญญาจะรู้อะไร น่าคิดใช่ไหม ตอบได้แน่ๆ ปัญญารู้อะไร

    ผู้ฟัง รู้สภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบจำมาหรือเปล่า จำมา รู้สภาพธรรม ซักหน่อยได้ไหม สภาพธรรมอะไร

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ตัวสัตว์ บุคคล เราเขา

    ท่านอาจารย์ ที่ไหน อะไร เมื่อไร

    ผู้ฟัง ในปัจจุบันที่เราเห็น ที่เกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ บางที่เราทราบว่าเรารู้จักหลายคำ ที่เราจำ อย่างสภาวะธรรม ไม่ใช่ตัวตน แต่ถ้าถามว่าปัญญารู้อะไร ถ้าถามว่าขณะนี้ เห็นอะไร ปัญญาก็รู้ตามความเป็นจริง ขณะนี้ได้ยินอะไร ปัญญาก็รู้ตามความเป็นจริง ขณะนี้คิดอะไร ปัญญาก็รู้ตามความเป็นจริง หมายความว่าทุกอย่างที่เกิดมา ตั้งแต่เกิดจนถึงเดี๋ยวนี้ จนถึงขณะนี้ อะไรกำลังมีจริงที่กำลังปรากฏ ปัญญารู้สิ่งนั้น เราอาจจะไม่ต้องใช้คำ สภาวะธรรม หรืออะไร เพราะมันความหมายอยู่แล้ว ภาษาบาลีใช้คำนั้น แต่ภาษาไทยเราต้องอธิบาย เพราะว่าเราพูดภาษาไทย

    เพราะฉะนั้น ขณะนี้เห็นอะไร ปัญญารู้สิ่งนั้น ตามความเป็นจริง ทุกอย่างที่มีจริง ปัญญารู้ความจริง ของสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ นั่นคือปัญญา แต่ธรรมฝ่ายตรงกันข้ามคือ อวิชชา ไม่รู้อะไร ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ที่กำลังเห็น ไม่รู้ที่กำลังได้ยิน ไม่รู้ที่กำลังคิดนึก ไม่รู้ที่กำลังเป็นสุขเป็นทุกข์ ไม่รู้ทุกอย่าง ที่มีจริงๆ แล้วกำลังปรากฏ

    เพราะเวลาเราเกิดมา ต้องมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ทางตา ไม่ใช่คนตาบอด ถ้าคนตาบอดก็ไม่เห็น แล้วก็มีเสียงปรากฏให้ได้ยินทางหู ถ้าเป็นคนหูหนวกก็ไม่ได้ยิน เมื่อเกิดมาแล้วต้องมีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไม่มีใครเคยขาดเลย วันนี้ทั้งวัน ลืมตามาก็เห็นมาเรื่อย ได้ยินตลอด คิดนึกมาเรื่อยเหมือนกัน บางขณะก็ได้กลิ่น บางขณะก็ลิ้มรส บางขณะก็รู้สึกที่กระทบสัมผัส นี่คือชีวิต นี่คือสิ่งที่มีจริง

    เมื่ออวิชชาไม่รู้ทั้งหมดนี้ ปัญญารู้ทั้งหมดนี้ ตามความเป็นจริง นี่คือภาวนา หรือการอบรม ให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ไม่ต้องไปขณะอื่นเลย เดี๋ยวนี้เอง เป็นสิ่งที่ปัญญารู้ได้ และถ้าไม่รู้อย่างนี้ไปนั่งก็ไม่มีทางที่จะรู้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังก่อน แล้วไม่ต้องไปห่วงเรื่องนั่ง ไม่ต้องห่วงเรื่องสติปัฏฐาน เพราะว่าเป็นหน้าที่ของปัญญาเขา ที่เมื่ออบรมแล้วเขาเจริญขึ้น ปรุงแต่งที่จะให้เป็นระดับของปัญญา ขั้นต่อๆ ไปอีก ไม่ใช่เราไปทำด้วยความไม่รู้อะไรเลย ไม่มีทางที่ปัญญาจะเกิดเลย

    แต่พระธรรม เพราะทรงตรัสรู้ความจริง ของทุกสิ่งทุกอย่าง จึงใช้คำว่า ธรรม ไม่ไดเรียกเป็นชื่อ คนนั้น คนนี้เลย แต่ทุกอย่างเป็นธรรม แล้วใช้คำว่า สภาวะ เพราะว่า ธรรม มีลักษณะเฉพาะของธรรมแต่ละอย่าง อย่างเสียงนี้ ก็ไม่ใช่กลิ่น คิดนึกก็ไม่ใช่เห็น นี่คือสภาวะของธรรมแต่ละอย่างที่ปัญญาจะรู้ได้ ตามความเป็นจริง คิดว่ารู้ได้ไหม กำลังมี กำลังปรากฏ จะรู้ได้ไหม ถ้าไม่ได้คือ อวิชชา ถ้าได้คือปัญญา ไม่ใช่เราเลย สักขณะเดียว แต่เป็นธรรม น่าสนใจไหม หรือว่าน่าเบื่อ เบื่อไม่ได้เลย เบื่อ คือ ไม่อยากจะรู้ไม่อยากจะเข้าใจสิ่งที่มี ตั้งแต่เกิดจนตาย นั่นคือเบื่อ ไม่อยากจะรู้ไม่อยากจะเข้าใจ แต่ถ้าเป็นคนรู้ว่ามีสิ่งนี้ แล้วมีคำสอน ให้เข้าใจ ให้รู้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ซึ่งแสนยากที่จะได้ยินได้ฟัง ถ้าเราไม่เกิดในสมัยที่มีคำสอน หรือว่าเราไม่ได้เกิดในที่ๆ มีคำสอน ก็ไม่มีโอกาสได้ยินได้ฟัง หรือแม้ว่าเกิดในที่นี้ แล้วก็มีคำสอนอย่างนี้ แต่ว่า ถ้าไม่มีบุญที่ได้สะสมมาแล้วในก่อนๆ นี้ ก็ไม่มีการที่จะสนใจที่จะฟังต่อไป เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ สนุกดีกว่าทำอย่างอื่นดีกว่า แต่ความจริงสนุกจะดีกว่าได้อย่างไร เดี๋ยวเดียวแล้วก็หมด แล้วก็ตาย ก็เกิดมาแค่นี้ เป็นสุขเป็นทุกแล้วก็ตาย แต่ว่าก่อนจะตายประโยชน์ สูงสุดก็คือว่า ได้เข้าใจ สิ่งที่เรามี ที่เราพบ เราเห็น แล้วเคยยึดถือว่าเป็นเราแล้วไม่รู้ ให้ถูกต้อง นี้คือภาวนา คำว่าอบรม แล้วก็จะเป็นสติปัฏฐาน เป็นอะไรอีกมากมาย แต่ต้องเริ่ม ถ้าไม่มีการเริ่มก็ไม่ถึงได้ยินแต่คำได้ยินแต่ชื่อ แล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร

    ผู้ฟัง จิตนี้เกิดดับตลอดเวลา ทีนี้ถ้าเราอยากจะให้จิตที่ดี เกิดขึ้นก็คือเป็นตัวเรา เป็นอัตตา ทีนี้ถ้าเกิดว่า เราอยากจะไปในหนทางที่ดี เราสร้างเหตุปัจจัยได้ไหม โดยการที่ว่า สร้างเหตุปัจจัยหมายความว่า เราอบรมเจริญปัญญา ถือเป็นเหตุปัจจัย ที่จะสร้างให้สติเกิด แล้วก็ปัญญาเกิด อย่างนี้เข้าใจถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้ามาศึกษาธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรม ปรมัตถธรรม หมายความถึงสภาพธรรม ที่มีจริง จะเรียกชื่อก็ได้ ไม่เรียกชื่อก็ได้ ใช่ชื่ออะไรก็ได้ แต่สภาพธรรมนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นได้ ถ้าเข้าใจจริงๆ อย่างนี้ คิดอย่างนี้ก็เป็นจิต และเจตสิก แต่เพราะว่ายังมีเราอยู่มาก ก็ยังมี ๒ ฝ่าย เราส่วนหนึ่ง แล้วก็ธรรมอีกส่วนหนึ่ง จนกว่าเราจะค่อยๆ หาย ค่อยๆ หมดไป เป็นแต่เพียงธรรมเท่านั้น ไม่ว่าจะคิด ไม่ว่าจะทำ ไม่ว่าจะพูด

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าเราสร้างเหตุปัจจัย ก็คือเรา

    ท่านอาจารย์ จิต เจตสิก รูป ปรมัตถธรรม แต่ตราบใดที่ยังไม่เป็นจิต เจตสิก ก็เป็นเราจะสร้าง เราจะทำ แต่ขณะที่กำลังคิดอย่างนี้ นั่นคือ จิต เจตสิก

    ผู้ฟัง ที่เราคิดอย่างนี้ ก็คือสภาพธรรม จิต เจตสิก รูป

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วมาก

    ท่านอาจารย์ ขณะเมื่อกี้ ก็ไม่ใช่ขณะนี้แล้ว กว่าจะถึงอย่างนี้จริงๆ แต่ว่าจุดก็คืออย่างนี้แน่นอน จากการตรัสรู้เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย จนกว่าปัญญาของแต่ละคน จะค่อยๆ ละความเป็นเรา

    ผู้ฟัง ได้ฟังเทปของท่านอาจารย์เกี่ยวกับ เรื่องบารมี ๑๐ ทัศ การสร้างบารมีเหมือนกับว่า เราต้องสร้างเหตุปัจจัย ให้เราทำบารมี อย่างนี้ก็ยังเป็นตัวเราอยู่

    ท่านอาจารย์ แท้ที่จริงก็มีจิต เจตสิก ทั้งนั้น ที่พูด ที่คิด

    ผู้ฟัง เหมือนกับว่าเราจะสร้างเหตุปัจจัย

    ท่านอาจารย์ นั่นคือ เป็นจิต เจตสิก คิดคำนี้ทุกคำ

    ผู้ฟัง เพียงแต่ว่า ให้เรารู้ว่า นั้นคือจิต เจตสิก ไม่ใช่เราทำ

    ท่านอาจารย์ ให้ค่อยๆ เข้าใจลักษณะของจิต เจตสิก จนกว่าจะไม่มีเรา ความจริงก็ไม่มี และไม่ใช่ แต่เพราะไม่รู้ ก็มีเราไปหมดเลย จนกว่าจะศึกษา และพิจารณาละเอียดจริงๆ

    ผู้ฟัง แล้วใครเล่า จะมา

    ท่านอาจารย์ ใคร ก็คือ จิต เจตสิก

    ผู้ฟัง ปัญญาใช่ไหม ที่ว่าจะนำเรา ให้ไปทำในสิ่งที่ดีๆ

    ท่านอาจารย์ เป็นฝ่ายกุศล

    ผู้ฟัง เช่นว่าจะทำทาน ศีล ภาวนา

    ท่านอาจารย์ ธรรมฝ่ายกุศล

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567