ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๔๕

    สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ สิ่งที่เราไม่คิดเลยว่าจะมี ใครรู้ได้ ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางจะรู้เลย แต่ผู้ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ทุกอย่าง ที่มีจริงๆ ทรงแสดงสภาพธรรม ตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ ไม่ใช่ว่าธรรมเป็นไปตามที่พระองค์ต้องการ ให้สิ่งนี้เป็นอย่างนี้ แต่ว่าเพราะสิ่งนี้เป็นอย่างนั้น จึงทรงแสดงสภาพธรรม ตามความเป็นจริงอย่างนั้นๆ ว่าเป็นสภาพธรรม ที่ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ลักษณะแข็ง จะเปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ลักษณะร้อนก็เปลี่ยนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้

    ผู้ฟัง แล้วอย่างนี้ ชาติอื่นเขาก็ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ ชาติจริงๆ แล้วไม่ใช่ชาติไทย ชาติจีน ชาติจริงๆ ชาติของจิต เจตสิก มี ๔ ชาติ เวลาที่เป็นจิตที่ดีงามเกิดขึ้นเป็นกุศล ต้องจำกัดไหมว่า ชาตินี้เป็นกุศลไม่ได้ ชาตินั้นเป็นกุศลไม่ได้ ชาตินี้ต้องเป็นกุศลเท่านั้น ไม่ได้เลย

    ถ. ที่จริง พระพุทธเจ้าก็ไม่มี ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ พระปัญญามีแน่นอน

    ผู้ฟัง แต่พระพุทธเจ้า ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ชื่อๆ สมมติ ปรมัตถธรรม มี ๔ แต่ว่าเพราะมีปรมัตถธรรม ๔ เราจึงมีการบัญญัติบุคคลต่างๆ ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม แล้วก็บัญญัติเป็นคนโน้น คนนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์ ๑ ของพระอภิธรรม จะมีคัมภีร์บุคคลบัญญัติ มีคัมภีร์ ธรรมสังคณีปกรณ์ แสดงหมวดหมู่ของธรรม แล้วก็มี วิภังคปกรณ์ เมื่อแสดงหมวดหมู่ แล้วก็อธิบายความละเอียดที่ จัดหมวดหมู่ไว้ แล้วก็โดยความเป็นธาตุ ธาตุปกรณ์ แล้วก็มีบุคคลบัญญัติ หมายความว่า เพราะมี จิต เจตสิก หลากหลายมากมาย เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะบัญญัติ เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ แต่ให้ทราบว่า หมายความถึง โดยบัญญัติ โดยสมมติ เพราะว่าเป็นปรมัตถธรรมที่มีจริงๆ

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก ก็ไม่มีด้วย

    ท่านอาจารย์ ลักษณะของจิตมี ลักษณะของเจตสิกมี เราใช้คำเรียก เพื่อที่จะให้รู้ว่าหมายความถึงสภาพธรรมอะไร ถ้าไม่มีคำเลย ไม่มีทางที่เราจะเข้าใจธรรมได้เลย ก็จะต้องมีคำที่สมมติ ว่าลักษณะซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้ ใช้คำว่า จิต ส่วนสภาพอื่นซึ่งเกิดกับจิต อาศัยจิต เกิด แต่ไม่ใช่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งอารมณ์ ลักษณะนั้นๆ เป็นเจตสิก จะได้เข้าใจความหมายของธรรมแต่ละอย่างว่าจิต ไม่ใช่เจตสิก เป็นปรมัตถธรรมคนละอย่าง แล้วก็รูปที่เรากำลังพูดถึงเมื่อกี้นี้ ไม่ใช่นามธรรม วันนี้ ๘ รูปแล้ว ใช่ไหม อะไรบ้าง ความจริงมากกว่า ๘ ที่พูดถึงเมื่อกี้นี้ มหาภูตรูป ๔ แล้วก็อะไรอีก

    ผู้ฟัง อุปาทายรูป

    ท่านอาจารย์ มีมหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป อีก ๒๔ ทีนี้รูปที่กล่าวถึงไปแล้วก็มี มหาภูตรูป ๔ ธาตุดิน อ่อนแข็ง ธาตุน้ำ เกาะกุม ธาตุลม ไหวตึง ธาตุไฟ ร้อนเย็น แล้วอะไรอีก

    ผู้ฟัง แล้วที่ว่า สี กลิ่น รส โอชา อยู่ในอะไร

    ท่านอาจารย์ ต้องมีในมหาภูตรูป ต้องเกิดกับมหาภูตรูป ๔ อีก ๔ รูป มหาภูตรูปเป็น ๘

    ผู้ฟัง เป็น ๘

    ท่านอาจารย์ เป็น ๘ มหาภูตรูปเป็นรูปที่แยกกันไม่ได้เลย เรียกว่า กลุ่ม หรือ กลาป ที่เล็กที่สุดต้องมีรูป ๘ รูป ใครจะไปแตกย่อยรูปโดยวิชาการใดๆ ก็ตาม แต่รูปที่ กลุ่มที่เล็กที่สุดต้องครบ ๘ ขาดรูป ๑ รูปใดไม่ได้เลย แม้แต่ที่เรามองไม่เห็นอย่างผงธุลี เวลาที่มีแสงสว่างเราอาจจะเห็นเป็นเล็กๆ อย่างนั้นก็ต้องมี ๘ รูป ฝุ่นที่เล็กที่สุด ก็ต้อง ๘ รูป แล้วที่ร่างกายของเรามีรูป ครบ ๘ ไหม

    ผู้ฟัง ครบ

    ท่านอาจารย์ ครบ เพราะขาดไม่ได้เลย เมื่อมีธาตุดิน ธาติน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ต้องมีสี มีกลิ่น รส โอชา แล้วยังมี อากาศธาตุ ปริจเฉทรูป แทรกคั่นระหว่างแต่ละกลาป จริงไหม

    ผู้ฟัง จริง

    ท่านอาจารย์ ทำให้รูปทุกชิ้น สามารถที่จะแตกย่อยอย่างละเอียดยิบ ที่โต๊ะนี้มีอากาศธาตุไหม มี ที่ด้วยแก้ว ทุกอย่างหมด หมายความว่านอกจาก ๘ รูปเราเพิ่มอีกรูปแล้ว ใช่ไหม คือ อากาศธาตุ เป็น มหาภูตรูป หรือ อุปาทายรูป

    ผู้ฟัง อุปาทายรูป

    ท่านอาจารย์ เป็น อุปาทายรูป ไม่เห็นจะยากเลย ใช่ไหม ของจริงๆ แล้วก็มีอยู่ทั่วตัว เพราะฉะนั้น ที่ตัวที่รูปทั้งหมด จริงๆ แล้วเหมือนกองฝุ่น เพราะอะไร เพราะว่ามีอากาศธาตุแทรกคั่น อย่างละเอียดยิบเลย จะไม่ใช่ฝุ่นได้อย่างไร เล็กแสนเล็ก โลกทั้งโลกที่ใหญ่มาก ที่เราจะเรียกว่า จักรวาล หรืออะไร ก็มีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ทั้งหมดเลย จากการตรัสรู้ แล้วเกิดดับด้วย ข้อสำคัญที่สุด ที่เราสัมผัสโต๊ะ เรารู้สึกว่าแต่ก่อนนี้เคยเป็นโต๊ะ แต่พอกระทบสัมผัส รู้ว่าต้องเป็นปฐวีธาตุที่แข็ง ต้องเกิด ไม่ใช่ว่ามีอยู่ตลอดเวลา เกิดแล้วดับๆ ตลอดเวลาในความรู้สึกของเรา รู้สึกว่ามีอยู่ ตั้งอยู่ เมื่อวานนี้ เรามานั่งเมื่อเช้านี้ก็มี เหมือนมีอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นปัญญาที่ประจักษ์แจ้งจริงๆ จากการตรัสรู้ไม่เปลี่ยนเป็น ๒ คำใดที่ตรัส ตรัสจากการตรัสรู้ แล้วเราลองคิดดูว่า ถ้ารูปนี้ไม่เกิด จะปรากฏได้ไหม

    แต่ทีนี้ชีวิตของเราตื้นมาก ไม่เคยคิดถึงความจริง ของสภาพธรรมเลย แต่ถ้าคิดแล้วไตร่ตรองก็ ตรงกับความจริงว่า แม้แต่แข็งๆ ที่กระทบสัมผัส ต้องเกิด ถ้าไม่เกิดจะมีแข็งปรากฏในขณะนี้ไม่ได้เลย แต่ปัญญาของเราไม่ใช่ปัญญาระดับนั้น จนกว่าจะถึงขั้นที่เป็นปัญญาที่ได้อบรม ที่เป็นวิปัสสนาญาณ เมื่อนั้น จะไม่มีความสงสัยเลยในสิ่งที่ปรากฏว่าเกิดแล้วดับ แต่เป็นสิ่งที่เมื่อความจริงเป็นอย่างนั้น ปัญญา ก็ต้องรู้จริงอย่างนั้น ต้องอบรมอย่างนั้น จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง ไม่ใช่ไปนั่งหรือว่าไปทำอะไร แต่ว่าจะเป็นการที่จะอบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง แม้แต่ขั้นของการฟังว่า ความจริงต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าประจักษ์ก็คือ รู้ความจริงอย่างนี้

    ผู้ฟัง พูดถึง รูปๆ ฟังดูมันก็เข้าใจ แต่เป็นความเข้าใจนิดหน่อยเท่านั้น ทีนี้เมื่อพูดถึงสิ่งที่ปรากฏอย่างโต๊ะ ถามว่ามีรูป อันนี้ไม่สงสัย ทีนี้ถ้าพูดถึงลมหายใจ ซึ่งทุกคนหายใจออกมา อันนี้มีกลุ่มของรูป ๘ รูปด้วยหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ มีใครยังสงสัยไหมว่า มีหรือไม่มี ทุกคนจะตอบว่าอย่างไร คำถามนี้ มี ตอบเหมือนกันหมดเลย เพราะว่าแยกกันไม่ได้เลย ต้องอย่างนี้ จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้

    ผู้ฟัง รูปที่ว่าหยาบๆ มันก็ไม่ได้หยาบ สำหรับคนที่ยังไม่ได้มีปัญญา ไม่หยาบ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้น เราถึงได้เห็นพระปัญญาคุณ ใน ๒๘ รูป ทรงแสดงรูปหยาบ โดยความหมายอย่างไร จึงใช้คำว่า หยาบ คือ ๑ ปรากฏให้รู้ได้ อย่างลมหายใจปรากฏให้รู้ได้ ทางกายปสาท ต้องกระทบส่วนหนึ่ง ส่วนใดของจมูก ถ้าไม่กระทบ ไม่มีทางเลยที่จะเป็นลมหายใจ เพราะอะไร ถ้าไม่กระทบ คือ ไม่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว ภายใน หรือภายนอกก็ตาม ที่จะปรากฏได้ก็ต่อเมื่อกระทบกับกายปสาท ต้องมีกายปสาท ที่ซึมซาบอยู่ทั่วทั้งตัว เพราะฉะนั้น แม้แต่ที่ในช่องจมูกหรือเบื้องบนริมฝีปาก ก็มีกายปสาท ที่จะกระทบกับเย็นหรือร้อน ซึ่งเราเคยคิดว่า นั่นเป็นลมหายใจ แต่ว่าลักษณะของลมหายใจก็คือ เป็นปฐวี อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหว สำหรับธาตุน้ำ จะไม่มี การปรากฏเลย กระทบกายไม่ได้ เพราะเป็นสภาพที่เกาะกุม ธาตุทั้ง ๓ ไว้

    การศึกษาธรรม ก็ช่วยให้เราเริ่มเข้าใจสิ่งซึ่งเราหลงว่า นี้คือลมหายใจ นี่คือแขน นั่นคือเท้า แต่แท้ที่จริงก็คือ โผฏฐัพพนะ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ซึ่งกระทบกายปสาทเมื่อไร จึงปรากฏเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราไปยึดมั่นทรงจำไว้ว่า มีร่างกายของเรา มีตัวของเราตั้งแต่ เกิดมาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ แม้แต่ขณะนี้ก็ มี นั่นคือ อัตตสัญญา ความจริงถ้าไม่ปรากฏ แล้วอยู่ไหน ที่ว่ามี จะเห็นความจริงได้ว่า ความสำคัญของจักขุ คือ ตา เป็นอินทรีย์เป็นใหญ่เป็นประธาน ถ้าไม่มีแล้ว ไม่มีสีสันวัณณะ ปรากฏจิตเห็นไม่ได้ โสต หูก็เป็นอินทรีย์ ต่อไปจะเรียนรูปที่เป็นอินทรีย์ กับรูปที่ไม่เป็นอินทรีย์ อินทรีย์คือรูปที่เป็นใหญ่ หมายความว่า สามารถที่จะทำให้จิตเกิดขึ้น แล้วก็รู้ในสิ่งที่กระทบนั้นได้ เพราะมีจักขุปสาท กระทบกับสิ่งที่ปรากฏ จึงทำให้จิตเกิดขึ้น สามารถเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ได้ ซึ่งถ้าไม่มีจักขุปสาทเป็นใหญ่ รูปอื่นทำหน้าที่นี้ไม่ได้เลย ถ้าไม่กระทบกับจักขุปสาทที่อยู่กลางตา แล้วใครจะไปเห็นข้างหลังบ้างไหม ใครไปเห็นที่ฝ่าเท้า บางไหม ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้น รูปที่เรามองไม่เห็นเลย แต่รูปนั้นมี เป็นจักขุปสาทที่สามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วเป็นอินทรีย์ด้วย นี้แสดงให้เห็นว่าเรารู้รูปหยาบเพิ่มขึ้นอีกแล้ว คือ จักขุปสาทรูป ซึ่งหยาบในความหมายของรูป ๒๘ แต่ว่าไม่ใช่หยาบที่จะเห็นได้ด้วยตา เพียงแต่รู้ว่ามีจริงๆ ๒๘ นี้ จำนวนไม่มากเลย ๘ รูปก็หมดไปแล้ว เหลืออีกแค่ ๒๐ เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟังธรรม อยากให้เข้าใจโดยไม่ผ่านคำหนึ่ง คำใดที่ได้ยิน ถ้าได้ยินแล้วสงสัยถามเลย จิตที่มีโลภะ ความต้องการ ความติดข้อง มี ๘ แล้วเราลองคิดดูซิว่า มี ๘ หรือมากกว่า ๘ มากกว่า ๘ ได้ไหม โลภมูลจิต ที่ว่ามี ๘ ดวง มากกว่า ๘ ได้ไหม

    ผู้ฟัง มีอะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ แบ่งเป็นอย่างละ ๔, ๔ แรกมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ใน ๔ ที่มีความเห็นผิดเกิดร่วมกับ โสมนัสเวทนา ความรู้สึกพอใจมาก ดีใจปลาบปลื้มมาก อีกอย่างหนึ่ง คือ อุเบกขาเวทนา อย่างละ ๒ แล้วก็เกิดเอง หมายความว่าสะสมมาที่จะเกิดก็เกิด อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นจิตที่มีกำลัง อ่อนกว่า คือต้องอาศัยการชักชวน หรือการชักจูง หรือการลังเล แม้เราเอง ไปดีหรือไม่ดี ก็ไปเลยทันที ไม่เหมือนกัน บางคนได้ยินว่าเขาจะทอดกฐิน ฉันไป บางคนถ้าเธอไม่ไป ฉันก็ไม่ไป เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่า เรื่องจริงเป็นอย่างนี้ สภาพของโลภะ มีจริงๆ แต่ถ้าถามว่ามีมากกว่านั้นไหม มนุษย์ มีกี่คน แล้วใจมนุษย์ นี้เท่าไร ในแสนโกฏิกัปป์มาแล้ว จนถึงเดี๋ยวนี้ขณะนี้ สะสมมาไม่เหมือนกันเลย แต่แม้กระนั้นก็ตาม ประมวลลงมาแล้วก็อยู่ใน ๘ แต่จริงๆ แล้วละเอียดกว่านั้นมากมายเหลือเกิน แต่ว่าละเอียดอย่างไรก็ตามก็ต้องอยู่ใน ๘ อย่าง คือว่า ถ้า ๔ ดวงแรกก็มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย แล้วเวลาที่มีความเห็นผิด อย่าคิดว่าเป็นคนอื่น เรามีบ้างไหม ข้อสำคัญที่สุด อย่างที่คิดว่าคุณแม่มาเกิดเป็นลูกอย่างนี้ เป็นความเห็นผิด หรือเป็นความเห็นถูก

    ถ้าเราไปคิดเป็นเรื่องใหญ่ๆ ก็เหมือนกับเรามองไม่เห็น จิตของเราซึ่งขณะนั้น เป็นสภาพอะไร โลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ เป็นความไม่รู้ หรือเป็นความรู้ เป็นความติดข้องหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เราจะเข้าใจทุกอย่างด้วย ตาที่แจ่มใส มองชัด เห็นจริง ตามทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราได้ศึกษา แล้วเราพิจารณา ขณะใดที่แม้มีความจดจ้องต้องการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม โดยไม่ใช่สติ ที่เกิดระลึก แต่เป็นเราทำ ขณะนั้น คือ โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุต เกิดร่วมกับความเห็นผิด เพราะฉะนั้น ความเห็นผิดจะมีมากมายทีเดียว ตั้งแต่หยาบที่สุด จนกระทั่งถึงละเอียดที่สุด จึงผู้ที่เป็นพระโสดาบันบุคคลเท่านั้น ที่ดับทิฏฐิทั้งหมด ไม่เกิดอีกเลย ทิฏฐิมีตั้งแต่ เชื่อว่ามีผู้สร้าง ทั้งๆ ที่มีผู้สร้างที่ไหน จิตเกิดขึ้นแต่ละขณะต้องมีปัจจัย ไม่มีปัจจัย จิตก็เกิดไม่ได้ แล้วที่จิตมีตั้ง ๘๙ ชื่อหรือ ๘๙ ดวงก็ตามแต่ แต่ละดวง แต่ละขณะนั้นต้องมีเหตุปัจจัยเฉพาะของจิตนั้นๆ จึงจะเกิดได้ เพราะฉะนั้น ใครเป็นผู้สร้าง ไม่มีเลย นอกจากสภาพธรรม ต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่ากว่าเราจะไถ่ถอน ความเห็นผิดมากมายมหาศาลซึ่งมีตั้งแต่อย่างหยาบมาก จนกระทั่งถึงอย่างละเอียด คือที่เกิดกับเราเอง เราก็ต้องเข้าใจให้ถูกว่า แม้ขณะนั้นเองก็ผิด เพราะว่าไม่ใช่ความจริงที่ใครจะไปนั่งทำ หรือไปนั่ง ๒ ทีเป็นโสดาบัน อีก ๔ ทีเป็นพระสกทาคามี นั้นก็เป็นความเห็นผิด เพราะว่าไม่ประกอบด้วยเหตุผล

    เมื่อกี้นี้ที่เรารับประทานอาหารอร่อย เป็นโลภมูลจิตหรือเปล่า ดวงไหน ๔ ดวงแรกหรือ ๔ ดวงหลัง ๔ ดวงหลัง ก็เมื่อกี้นี้เรารับประทานอาหารอร่อย มีแกงมัสมั่น แล้วคนนี้ก็บอกว่า ไก่อยู่ตรงนี้ นี่มันฝรั่ง ขณะนั้น เป็นโลภมูลจิต หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นแล้วเป็น ดวงไหน มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย หรือไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง มีสิ เพราะว่ามันไม่ใช่เป็นมันฝรั่ง

    ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าท่านไม่เห็นว่าเป็นไก่ เป็นหมู แล้วพระพุทธเจ้า จะมีความเห็นผิดไหม ไม่มี เพราะฉะนั้น เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นโลภะ ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด

    ท่านอาจารย์ ภาษาบาลีง่ายมาก ทิฏฐิคตวิปปยุต วิปปยุต แปลว่า ปราศจาก ไม่เกิดด้วย ถ้าสัมปยุต แปลว่าเกิดร่วมด้วย ถ้าทิฏฐิคตสัมปยุตก็คือ โลภะที่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ถ้าไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ก็เปลี่ยนจากสัมปยุต เป็นวิปปยุต โลภทิฏฐิตควิปปยุต อย่างที่มีโทษมาก ก็คือว่าเกิดร่วมกับโสมนัส และก็โทษมาก ก็คือเกิดร่วมกับความเห็นผิด แล้วก็เกิดขึ้น สะสมมาที่จะเกิดเป็น อสังขาริก มีกำลังกล้า ไม่ต้องลังเล ไม่ต้องมีการ ชักชวนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องจิตของเราทั้งหมดเลย แล้วสามารถที่จะรู้ภายหลัง ภายหลังไม่ใช่เดี๋ยวนี้ ต่อเมื่อปัญญาที่ฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจ แล้วก็ค่อยๆ เจริญขึ้น จึงจะเป็นภาวนา ภาวนาคือเจริญขึ้น

    ผู้ฟัง อยากจะทราบว่า สัญญาขันธ์ ทำอะไร

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่น ไม่ไปไหนเลย อยู่ที่ปรมัตถธรรม ทุกคนหมดเลย จะไปอ่าน พระสูตร หรือว่าพระวินัย หรือว่าเจตสิกปริเฉท ๑ หรือว่าอภิธรรมปิฎก หรืออะไรก็ตามแต่ กลับมาที่ปรมัตถธรรม ไม่ไปไหน ต้องอยู่ที่ปรมัตถธรรม หมายความว่า ถ้าคุณนุชสามารถเข้าใจได้ นั่นคือเข้าใจธรรม ซึ่งเป็นธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม ถ้าเข้าใจ ปรมัตถธรรม มีเท่าไร

    ผู้ฟัง มี ๔

    ท่านอาจารย์ มี ๔ ที่เป็นปรมัตถธรรม ที่มีปัจจัยเกิดดับ

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป

    ท่านอาจารย์ ๓ อย่าง ในเมื่อบอกว่าเป็นปรมัตถธรรม แล้วทำไมว่าเป็นขันธ์ ถ้าเราเข้าใจว่าปรมัตถธรรม ๔ เป็น รูปกับนาม ได้ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ รูปกับนาม

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นรูป อะไรเป็น นาม

    ผู้ฟัง รูปขันธ์ นามขันธ์ไม่มีนี่ทำไม

    ท่านอาจารย์ แปลว่าเราสับสนแล้ว ทั้งหมด เพราะฉะนั้น ใจเย็นๆ ธรรมไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป แต่เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่ กับความที่เราเข้าใจ ให้เห็นความเป็นประโยชน์ ของความเข้าใจ เราต้องเข้าใจ เรื่องจำนั้นอย่าไปคิด อย่าไปทำอะไรเลยทั้งหมด หนังสือมี จำไม่ได้เปิดดูได้ แต่ความเข้าใจนี้ เราจะเอามาจากไหน ถ้าเราไม่ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม มี ๔

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป แล้วก็นิพพาน หรือ

    ท่านอาจารย์ เป็นนามธรรม กับรูปธรรมเท่านั้น ในโลกนี้จะกล่าวโดยนัยของนามกับรูป หรือจะกล่าวโดยนัยของปรมัตถธรรม ก็ได้ ถ้าโดยนามกับรูป ก็มี ๒ อย่าง ไม่มีอะไรพ้นจากนาม หรือ รูป อย่างหนึ่งอย่างใด เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม ๔ เป็นนามธรรม กับรูปธรรมเท่านั้น อะไรเป็นนามธรรม อะไรเป็นรูปธรรม เมื่อกี้นี้คำจำกัดความของรูปมีแล้ว เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ปรากฏเกิดขึ้นมีเหตุปัจจัย แล้วก็เกิดดับ แล้วก็ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย นี่คือ ต่อให้จะไปอ่านปิฎกไหน ที่ไหน เจอที่ไหน รูปธรรมก็คืออย่างนี้แหละ เปลี่ยนไม่ได้ นี้คือลักษณะของรูปธรรม เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มีสภาพธรรม ๒ อย่าง คือ นามธรรม กับรูปธรรม ปรมัตถธรรม ๔ อะไรเป็นนามธรรม อะไรเป็นรูปธรรม

    ผู้ฟัง จิตเป็น นามธรรม

    ท่านอาจารย์ รูปอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นรูปธรรม นอกจากนั้นเป็นนามธรรมทั้งหมด เพราะว่ารูปต่างจากสภาพธรรมอื่น หมดเลย ต่างกับจิต ต่างกับเจตสิก ต่างกับนิพพาน แล้วรูป มีลักษณะของรูป คือสภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น จะอยู่โลกไหน อย่างไร ใครจะเรียกอะไร ใครจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตาม รูปก็เป็นรูป คือเป็นสภาพธรรม ที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เพราะฉะนั้น ที่เหลือทั้งหมดเป็นนามธรรม เจตสิกเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เจตสิกเป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ จิตเป็นอะไร

    ผู้ฟัง จิตเป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ นิพพานเป็นอะไร

    ผู้ฟัง นิพพานเป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจ แล้วคุณนุช จะต้องท่องไหม

    ผู้ฟัง ไม่ต้อง

    ท่านอาจารย์ ไม่ลืมด้วย กลับมาที่ปรมัตถธรรม ๔ พอจะงงๆ ก็กลับมาที่ปรมัตถธรรม ๔ ให้ได้ ทวนอีกที ปรมัตถธรรม มีเท่าไร

    ผู้ฟัง มี ๔

    ท่านอาจารย์ มี ๔ คือ

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป นิพพาน

    ท่านอาจารย์ มีสภาพธรรม ๒ อย่างคือ นามธรรม กับรูปธรรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม ๔ อะไรเป็น รูปธรรม

    ผู้ฟัง รูป เป็นรูปธรรม ที่เหลือเป็นนามธรรม

    ท่านอาจารย์ ที่เหลือเป็นนามธรรม แค่นี้ก่อนแล้วต่อไปถึงจะถึงขันธ์ คือขอให้เป็นความเข้าใจ คุณนุช อย่างไปเอาเพียงแค่จำ คำว่า ขันธ์ กำกับ ความหมายของปรมัตถอีกทีหนึ่ง เพราะว่าปรมัตถธรรม หมายความถึงธรรมที่มีจริงๆ เป็นปรมัตถ คือ ไม่มีใครสามารถไปเปลี่ยนแปลงลักษณะ ของสภาพธรรมนั้นได้เลย โทสะเกิดขึ้น ต้องมีลักษณะที่หยาบกระด้าง โลภะเกิดขึ้นต้องเป็นสภาพที่ติดข้อง ต้องการ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมแต่ละอย่างที่เป็นปรมัตถ เพราะเหตุว่ามีภาวะลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ที่ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ แต่แม้กระนั้นก็ตาม เพื่อกำกับว่าสภาพธรรมทั้งหมด ต่างกันโดยการยึดถืออย่างหนึ่ง แล้วต่างกันโดยที่ว่าไม่สามารถที่จะเปลี่ยแปลง หรือว่าเปลี่ยนสภาพธรรมนั้นได้เลย เช่น รูป รูปในอดีตมีไหม

    ผู้ฟัง รูปที่เป็นอดีต หรือ

    ท่านอาจารย์ รูปที่เป็นอดีตมีไหม อดีตหมายความถึง เกิดแล้วดับแล้ว

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มี ใช่ไหม ที่ใช้คำว่า อดีต อตีต คือสภาพธรรม ที่เกิดแล้วดับแล้ว รูปในอดีตมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เมื่อไร

    ผู้ฟัง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว

    ท่านอาจารย์ เมื่อวานนี้ ปีก่อน ชาติก่อน แสนโกฏิกัปป์มาแล้ว เปลี่ยนลักษณะของรูปให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น รูปทั้งหมดจึงเป็นรูปขันธ์ ไม่ว่ารูปในอดีต หรือว่ารูปเดี๋ยวนี้ หรือรูปต่อไปข้างหน้า ก็ต้องเป็นรูปอยู่นั่นเอง

    ผู้ฟัง นั้นเรียกว่ารูปขันธ์ หรือ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า รูปขันธ์ เป็นสิ่งซึ่ง จะไม่เป็นนามธรรมเด็ดขาด รูปขันธ์ไม่ว่าในอดีตที่เกิดแล้วดับแล้ว ในอนาคตที่จะมาก็ยังคงเป็นรูป เป็นส่วนของรูป เป็นกองของรูป เพราะว่าถ้าจะแจกปรมัตถธรรม โดยนัยของการยึดถือ ซึ่งเป็นอุปาทาน ก็จะมีจิต เจตสิก รูป ซึ่งเกิดปรากฏแล้วดับไป เป็นที่ตั้งของความยึดถือ เพราะฉะนั้น ถ้าเรียงตามลำดับ รูปหมายความถึง สภาพธรรม ที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ว่าจะเกิดแล้วกี่แสนโกฏิกัปป์ รูปก็เป็นรูป เกิดอีกก็เป็นรูป เปลี่ยนจากรูปเป็นอื่นไม่ได้เลย เป็นรูปขันธ์ แล้วอีกอย่างหนึ่ง คือเราต้องการรูปตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดมา เราอาจจะไม่รู้ตัวเลย แต่สิ่งที่คุณนุชต้องการทั้งหมด รูปทั้งนั้นเลย

    ผู้ฟัง ทุกอย่างเลย หรือ

    ท่านอาจารย์ ตั้งแต่เกิดมาจนตาย ต้องการรูปทั้งหมด

    ผู้ฟัง คืออะไร

    ท่านอาจารย์ ต้องการเห็นรูป ทางตา ต้องการได้ยินเสียงรูป ทางหู ไม่ว่าอะไรก็ตาม ข้อให้เกิดปรากฏ โลภะติดทันที เกินกว่าที่จะทำอะไรกว่าจะรู้เนื้อรู้ตัว เพาะเหตุว่า พอเห็นปุ็บ หลังจากนั้นก็ คือโลภะ มีความติดข้องในสิ่งที่เห็น

    ผู้ฟัง นั้น อกุศล หรือ

    ท่านอาจารย์ ความติดข้องดีไหม

    ผู้ฟัง ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าบางคนเขาบอกว่าติดน้อยๆ ก็ดี ติดมากถึงจะไม่ดี แต่ความจริงติดน้อยก็ต้องไม่ดีด้วย แล้วก็ให้เห็นว่าจะละอย่างไร โลภะแบบนั้นจะละได้อย่างไร

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567