ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448


    ตอนที่ ๔๔๘

    สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คนที่กำลังมีมิจฉามรรค เขาจะไม่รู้ตัวเลยว่า เขาเป็นมิจฉามรรค แต่ถ้าเทียบแล้ว สัมมามรรคไม่ใช่มิจฉามรรค แต่ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ ถึงจะรู้ได้ว่า อันไหนเป็นมิจฉามรรค อันไหนเป็นสัมมามรรค ไม่อย่างนั้นไม่ทรงแสดงว่า หนทางนี้ละเอียดแค่ไหน ต้องแสดงไว้คู่กันให้เห็นชัดๆ เลย ทั้ง ๘ แต่เป็นมิจฉาหมด แล้วรวมไปถึงมิจฉาที่เป็นความเห็น กับวิมุตติด้วย มิจฉาหมดเลย

    ผู้ฟัง การเข้าใจไม่เหมือนกัน เราจะรู้ได้อย่างไรว่า นี่คือตรงนั้น นี่คือถูกต้องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นความคิด จะไม่ตรง แต่ถ้าเป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมต้องตรง เพราะมีลักษณะของสภาพธรรมให้รู้ แต่ถ้าใครไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมคือไม่ตรง ตอนที่คุณชินเป็นเด็กเล็กๆ แล้วคุณชินจะเข้าใจเรื่องราวของวิชา คุณชินเรียน ตอนคุณชินโต เป็นไปไม่ได้ แต่ต้องค่อยๆ เป็นทีละขณะไป เพราะฉะนั้น ขณะนี้คุณชินกำลังคิดอย่างนี้ กำลังอยู่ในระดับที่เข้าใจอย่างนี้ จนกว่าคุณชินจะมีการระลึกได้ว่า ไม่ใช่หนทาง แต่หนทางคือขณะที่ระลึก สามารถที่จะเข้าใจความต่างลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งช่วงนี้ เป็นช่วงที่ไม่ง่าย แต่ว่าหมายความว่าเริ่ม จะไม่คิดนึก แต่ว่าจะมีการรู้ว่าขณะนั้นมีสภาพธรรม แล้วเวลาที่ระลึก หมายความว่าเริ่มมีการที่จะศึกษา

    ศึกษา คือ ค่อยๆ เข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจได้ทันที แล้วต้องเป็นสิ่งที่ปกติธรรมดา ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราไปทำขึ้นมา เพราะว่าสัมมาสติจะเกิด ต่อเมื่อมีปัจจัย เพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดคือเมื่อระลึก แม้แต่ในขณะนี้ เมื่อเกิด คือเมื่อระลึก แต่ถ้าไม่ระลึก ก็คือยังไม่เกิด จนกว่าจะถึงวันหนึ่งซึ่งมีการระลึก แล้วก็จะรู้ว่าการศึกษา จะต้องศึกษาตัวจริงของธรรม จนกว่าสภาพธรรมปรากฏ เพราะว่าเริ่มค่อยๆ เข้าใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจ ไม่ค่อยๆ เริ่มเข้าใจ การประจักษ์แจ้งที่สภาพธรรมจะปรากฏ ปรากฏโดยความที่ไม่ใช่เรา ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ โดยความไม่ใช่เรา จะต่างกับที่ไม่เคยปรากฏ แต่ว่าต้องมาจากการที่เราเริ่มรู้ ขณะนี้เป็นอย่างนี้ ก็คือเป็นอย่างนี้ จนกว่าวันหนึ่ง คุณชินก็เออ ไม่มีอีกแล้ว หรือว่าน้อยลงไป แล้วก็จะมีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งคงจะสั้นมากสำหรับในตอนต้น แต่ก็รู้ความต่างว่า เวลาที่สัมมาสติเขาเกิด เขาระลึกลักษณะ แต่ก่อนนี้เขาคิดเรื่องราว แต่ตอนนี้เขาระลึกลักษณะ เพราะฉะนั้น จะค่อยๆ ชินกับสัมมาสติ แล้วปัญญาเขาจะศึกษาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยที่ว่าความเข้าใจของเขา จะเพิ่มแบบจับด้ามมีด คือคุณชินจะไม่รู้สึกเลยว่านี่ ค่อยๆ เริ่มเข้ามา ใกล้กับลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ไม่ไปที่อื่น แต่กำลังมาศึกษาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม จนกว่าเมื่อไรปัญญาสมบูรณ์ถึงระดับขั้น เมื่อนั้น สภาพธรรมปรากฏโดยคุณชินไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไรหมด แล้วสภาพธรรมที่ปรากฏ จะปรากฏทางมโนทวาร ซึ่งปกติขณะนี้ไม่ปรากฏเลย มีมโนทวาร ทุกคนรู้ หลังจากเห็น ก็มโนทวาร แล้วก็มีภวังค์ แล้วก็มีได้ยิน แล้วก็มีภวังค์ แล้วก็มีมโนทวาร แต่มโนทวารไม่ปรากฏ ทั้งๆ ที่ได้ยินก็มีเห็นปรากฏ แต่เวลาที่สภาพธรรมปรากฏตามความเป็นจริง ต้องเป็นจริงอย่างนั้น ทางมโนทวาร ไม่มีความสงสัยเลยว่าทางมโนทวาร สามารถที่จะรู้สภาพธรรม ได้ทุกอย่าง

    ผู้ฟัง อยากถามว่าชีวิตประจำวันว่า นั่นถูก นั่นผิด มันก็สำคัญไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นการที่สามารถจะรู้ความละเอียด เพราะว่าปัญญาหรือคนเรา มีคนหยาบ กับคนละเอียด คนหยาบเขาจะไม่ใส่ใจอะไรทั้งหมด ไม่ว่าจะวางถ้วย หรือว่าจะทำอะไรทั้งหมด นั้นคือความหยาบ ถ้าความละเอียดแม้ในเรื่องเล็กๆ ซึ่งไม่ใช่ธรรม แต่การสะสมของความละเอียด จนกระทั่งสะสมถึงความละเอียดของการที่จะคิดพิจารณาธรรม เพราะว่าเวลาฟังธรรม ต้องละเอียดด้วย ไม่ใช่ทุกคนฟังเหมือนกัน แต่ไม่เก็บความละเอียด คนนี้ผ่านความละเอียดตรงนี้ไปแล้ว ไม่ได้ยินเลย หมดแล้ว ไม่มีโอกาสที่จะเข้าใจ แต่คนที่จะเก็บความละเอียด เขาจะเก็บความละเอียดหมด แล้วเวลาที่อ่านก็ตามฟังก็ตาม บางคนผ่านไปจบ ไม่มีอะไร แต่คนที่เก็บความละเอียด เขาจะได้ เป็นจุดที่ละเอียด นี้คือความละเอียดที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเวลาที่สติระลึก ต้องอาศัยการสะสมความละเอียดนี้แหละ ที่จะเป็นประโยชน์

    ผู้ฟัง การสวดมนต์ตอนที่เครื่องบินจะขึ้นอย่างนี้ แล้วนึกสวด นะโม ตัสสะ อย่างนี้ อย่างนั้นเป็นอะไร เพื่อจะให้ป้องกัน เพื่อเครื่องบินจะได้ไม่ตก

    ผู้ฟัง อย่างเครื่องบินที่หล่นไป ที่ตกไปล่าสุด คิดว่าตอนที่มันกำลังมีปัญหาทุกคนก็สวด พระพุทธเจ้าไม่ได้ไปช่วยดันเครื่องบินขึ้นไป คงไม่ใช่ คงเป็นกรรม

    ผู้ฟัง จะระลึกถึงพระพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง ถึงจะไม่สามารถป้องกันวิบากที่เกิดขึ้นได้

    ท่านอาจารย์ คุณนุช การระลึกถึงพระพุทธเจ้า เพื่ออะไร

    ผู้ฟัง เพื่อพระคุณ ของท่าน

    ท่านอาจารย์ เพื่อพระคุณ ไม่ได้ต้องการอะไร นี่คุณนุชสวด ต้องการ

    ผู้ฟัง แสดงว่าอันนั้น เป็นโลภะ หรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จุดประสงค์ นี่หวัง

    ผู้ฟัง นี่หวังหรือ

    ท่านอาจารย์ คุณนุชจะตายก็เป็นของธรรมดา พระพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย ขณะนั้นปัญญายังเกิด

    ผู้ฟัง แล้วก็บอกว่า ถ้าเกิดเครื่องบินตก จิตสุดท้าย ถ้าเรานึกถึงพระพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ แล้วจะรู้ได้อย่างไร สุดท้ายตอนไหน ก็ไม่มีใครรู้ อาจไม่สุดท้ายก็ได้ เด็กที่รอดมาก็ไม่สุดท้าย

    ผู้ฟัง ถึงแม้จะสวดตลอดเวลา ระหว่างที่

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทาง คุณนุช ต้องเข้าใจว่า การระลึกถึงพระคุณเป็นอะไร เป็นกุศลเพราะอะไร ไม่ได้ไปหวังอะไร ระลึกเพื่อหวังนั้นไม่ใช่กุศล

    ผู้ฟัง แล้วอย่างพระพุทธเจ้า ท่านที่หาวิธีต่างๆ ที่จะให้ถึงนิพพาน

    ท่านอาจารย์ ด้วยพระมหากรุณาที่ทำให้คนเข้าใจธรรมถูกต้องขึ้น อบรมเจริญปัญญา อย่าลืม ปัญญา

    ผู้ฟัง เพื่อประชาชน

    ท่านอาจารย์ เพื่อให้คนที่ไม่รู้สภาพธรรม ได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้น โลภ โกรธ หลง เป็นอนัตตาทุกอย่าง เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ ธรรมมีมากที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น ความคิดของแต่ละคน เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาวินิจฉัยโดยละเอียด โดยรอบครอบ โดยเฉพาะอย่างเมื่อกี้นี้ ที่เราพูดถึงว่าจิตเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ถ้าขณะนั้นสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่มีทางจะรู้ได้เพราะว่าสั้นมาก เร็วมาก หมดแล้วดับแล้ว จะกลับมาย้อนอีกว่าลักษณะอย่างนี้อย่งนั้นเป็นอะไรก็เป็นได้เพียงแค่คิด เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเข้าใจเหตุผลด้วยว่า การระลึกถึงอะไรประเสริฐสุด ถ้าเราเกิดมีความกลัวขึ้นมา จะคิดถึงอะไรประเสิรฐสุด

    ผู้ฟัง ธรรม

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่พ้น ใช่ไหม พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม พระคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงธรรม ถ้าเราคิดถึง เราจะหวาดกลัวไหม เพราะว่า อย่างที่ว่าเครื่องบินจะตก ถ้าจะตก ก็คือตก ถ้าจะตายก็คือตาย ใครจะห้ามได้ แต่ก่อนตาย เรายังมีสติที่จะระลึกถูก ที่จะเข้าใจถูก ที่จะเห็นถูก เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นคาถาสำหรับป้องกัน ด้วยโลภะ หรือด้วยความต้องการ แต่ต้องเข้าใจจริงๆ ว่า จิตที่เป็นกุศล ต่างกับจิตที่เป็นอกุศล ถ้าการที่จะระลึกถึงเพื่อผลของตัวเอง เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ขณะนั้นไม่ใช่ความถูกต้อง เป็นอกุศล แต่ถ้าระลึกด้วยจิตที่มีความศรัทธา นอบน้อม มั่นคง คิดถึงอะไรประเสริฐที่สุด เหมือนอย่างเมตตาที่ท่องๆ กัน เมื่อไร เห็นงู แล้วทำไมเราเห็นคนอื่นมากมาย ท่าทางหน้าตาหน้ากลัว แล้วเราจะมีความเป็นมิตร เป็นเพื่อน หรือคนที่เขาทำความชั่วมากมายใครๆ ก็เกลียดเขาทั้งนั้นแหละ ความชั่วของเขา เราพอจะมีเมตตาจิตเป็นเพื่อนหรือเป็นมิตรได้ไหม ทั้งคนดี และคนชั่ว ทำไมจะต้องไปเมตตางู ท่องคาถางู สัพเพสัตตากับงู เพราะว่ากลัวงูจะกัด แล้วก็เหมือนกัน ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ก็เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งขณะนั้นก็ไม่ใช่กุศลจิต แล้วก็ไม่ใช่เมตตาด้วย

    ผู้ฟัง แต่ความจริงท่านช่วยได้ไหม พระพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าจะช่วยใครได้ ถ้าคนนั้นทำกรรมอย่างนั้นมา เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าช่วย หรือเป็นไปตามกรรม พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกรรม แล้วอะไรจะง่ายกว่ากัน ท่องกับศึกษาธรรม

    ผู้ฟัง ศึกษาง่ายกว่า

    ท่านอาจารย์ ศึกษาง่ายกว่า ท่องไม่ต้องคิดอะไรที่จะเข้าใจเลย แต่ศึกษาต้องพิจารณาโดยละเอียดโดยรอบครอบ เพราะฉะนั้น อย่างไหนจะง่ายกว่ากัน

    ผู้ฟัง ท่องง่ายกว่า

    ท่านอาจารย์ ท่องเพียงแค่จำเท่านั้นเอง แล้วคนที่เป็นชาวพุทธจริงๆ แล้วต้องเป็นผู้ที่อาจหาญ ร่าเริงด้วย ไม่ใช่เป็นคนขลาดเลย ไม่กลัวอำนาจใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่มีอะไรจะมีอำนาจเกินกว่ากรรม คือเจตนาที่ได้กระทำแล้ว ถ้าเชื่อแล้วก็ไม่ต้องไปทำอย่างอื่นอีกแล้ว ชื่อว่าไม่มั่นคง

    ผู้ฟัง ผมแขวนอันนี้ ผมแขวน

    ท่านอาจารย์ แขวนเพื่ออะไร

    ผู้ฟัง ผมรู้ว่าไม่มีอะไรต้านทานอำนาจกรรมได้ ผมก็เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องหยุดอย่างอื่น ถ้าเชื่อมั่นคงเรื่องกรรม แต่ถ้ายังมีอยู่หมายความว่าไม่มั่นคง เราสามารถที่จะรู้ใจของเราได้ว่าหวั่นไหวหรือเปล่า ถ้าหวั่นไหวหมายความว่า เรายังเชื่อโน่น ติดนี่ หวังอย่างอื่นอยู่ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคงในกรรมจริง เราจะรู้เลยว่า แม้ขณะที่เห็น ขณะนี้ คนอื่นก็ไม่ได้สร้างให้ ทำให้ บันดาลให้ ที่เราเกิดมาก็ไม่ใช่คนอื่นสร้างให้ บันดาลให้ ก็เป็นกรรมของเราเองทั้งหมด ทุกคนเชื่อว่า มีกรรมเป็นของเรา ทุกอย่างที่จะเกิด ถ้าเราไม่เคยทำมาก่อน มันก็จะไม่เกิดกับเรา ไม่ทราบว่าคุณแก้ว เคยสงสารคนที่เขาตกทุกข์ได้ยากบ้างไหม

    ผู้ฟัง ตลอดเวลา

    ท่านอาจารย์ สงสารตลอดเวลา คนที่เขาโกงเรา เขากำลังจะเป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ก็เริ่มสงสาร

    ท่านอาจารย์ อย่างนั้นถูกต้อง หมายความว่า ถ้าเริ่มสงสาร ก็จะไม่มีความโกรธ

    ผู้ฟัง ทำไม อยากอะไรมากมายขนาดนั้น น่าเวทนาจริงๆ

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่เขาได้ผล จะสงสารจริงๆ เพราะฉะนั้น สงสารตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย จบ เรื่องของเราซึ่งเป็นผลของกรรมเก่า แต่เขาเป็นกรรมใหม่ ที่เขาจะต้องได้รับผลอย่างนั้น แต่ถ้าจะช่วยให้มั่นคงจริงๆ ก็ต้องศึกษาละเอียดว่า กรรมได้แก่อะไร ในเมื่อสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมมี ๔ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เพราะฉะนั้น กรรมได้แก่ปรมัตถ์ อะไร

    ผู้ฟัง ถ้าหากเราศึกษาเรื่องปัจจัยที่ทำให้เกิดธรรมต่างๆ จะทำให้ความรู้สึกเรื่องนี้ มั่นคงขึ้น

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างต้องตั้งต้นที่ปรมัตถ์ ไม่ว่าจะพูดเรื่องปัจจัย ก็หนีปรมัตถ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าจะพูดเรื่องกรรม กรรมคืออะไร ต้องตอบได้ว่า ได้แก่ปรมัตถ์อะไร

    ผู้ฟัง เจตนานี้ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ได้แก่ปรมัตถ์อะไร

    ผู้ฟัง ได้แก่จิต ใช่ไหม เป็นเจตสิก

    ท่านอาจารย์ เจตสิก แต่เจตสิกก็ต้องเกิดกับจิต เพราะฉะนั้น โดยมากทุกคนก็โละไปที่จิต แต่ความจริงแล้วคือเจตสิก อย่างโลกุตตรจิต ก็คือโลกุตตรปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาระดับนั้น จิตนั้นก็เป็นโลกุตตระไม่ได้ แต่ว่าถ้าพูดถึงความละเอียด ต้องแยกจิตกับเจตสิก

    ผู้ฟัง มีความรู้สึกว่า ถ้าหากว่า เคยฟังเทปท่านอาจารย์ ครั้งหนึ่งว่า จิตมีอยู่ ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือเหตุ กลุ่มหนึ่งคือผล แต่ก็ฟังท่านอาจารย์ แล้วยิ่งเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ว่ายังไม่เห็นว่าเหตุมันให้ผล ตรงไหนเมื่อไร

    ท่านอาจารย์ อันนั้นคือการศึกษาคร่าว ถ้าละเอียดคือต้องคืออะไรก่อน เจตนาเป็นเจตสิกเป็นสภาพที่จงใจ ตั้งใจ ขณะนี้มีไหม นี่คือของจริงๆ จะต้องรู้ แล้วถึงจะพูดเรื่องปัจจัยอะไรๆ ได้ แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ก่อน เจตนาเป็นความจงใจ ความตั้งใจ ขณะนี้มีไหม บอกมาเจตนาอะไร

    ผู้ฟัง ฟังธรรม เพื่อจะละคลาย

    ท่านอาจารย์ เจตนา แต่ว่าถ้าศึกษาละเอียดจะทราบว่า เจตนา เราไม่ได้รู้ทั้งหมด เรารู้บางเจตนา เช่น เจตนาที่จะทำกุศล หรืออกุศล คิดเป็นกุศล คิดเป็นอกุศล เจตนานั้นพอจะรู้ได้ แต่ว่าจิตมีถึง ๔ ชาติ ได้แก่อะไร ทราบไหม จิต ๔ ชาติ นี้คือต้องตั้งต้นก่อนให้มั่นคง แล้วจะพูดถึงเรื่องอะไรทีหลังได้ แต่ถ้าตรงนี้ไม่มั่นคง การที่จะพูดถึงเรื่องอื่น ก็เป็นแต่เพียงพูดเรื่องชื่อ ธรรมเป็นเรื่องเข้าใจ เข้าใจสภาพที่กำลังมีจริงๆ อย่างที่เราบอกว่าเจตนา คือความจงใจ ความตั้งใจ เป็นเจตสิกซึ่งต้องเกิดกับจิต เพราะฉะนั้น บางขณะเท่านั้นที่รู้ได้ แต่ที่รู้ไม่ได้ก็มี เพราะเหตุว่าจิตมี ๔ ชาติ กุศล ๑ เจตนาที่เป็นกุศล พอจะรู้ อกุศล ๑ เจตนาที่เป็นอกุศลก็พอจะรู้ เจตนาที่เป็นวิบากกับเจตนาที่เป็นกิริยา ใครรู้ แต่มี นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก ความเข้าใจ ยังไม่ชัดเจน จิตเป็นการรู้ แต่ว่าเจตสิก เป็นการรู้อารมณ์ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จิตกับเจตสิก แยกกันได้ไหม

    ผู้ฟัง แยกกันได้หรือไม่ น่าจะไม่ได้ เพราะว่าพอจิตเกิดขึ้นก็ต้องมีอารมณ์ตามมา ทุกครั้ง

    ท่านอาจารย์ อารมณ์คืออะไร

    ผู้ฟัง คือความรู้สึก

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ นี่เพียง ฟัง ต้องละเอียด ต้องละเอียดมากแม้แต่ขณะที่ฟัง ๒ คำต่างกันที่ว่า จิตเป็นสภาพรู้ อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ จะมีสภาพรู้โดยไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ อารัมมณะ หรืออาลัมพนะ หรืออารมณ์ หมายความถึง สิ่งที่จิตกำลังรู้ เวลาที่ใช้คำว่า สภาพรู้ ธาตุรู้ บางทีอาจจะใหม่มาก เพราะว่าทางโลก เราเคยคิดว่าต้องรู้ ด้วยความเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างรู้ว่านี่เป็นกล่อง นี่เป็นคน เราคิดว่านั่นคือรู้ แล้วเวลาเราบอก เราบอกไม่รู้ แต่ความจริง จิตไม่ใช่อย่างนั้น จิตเป็นธาตุ หรือธรรมชนิดหนึ่งซึ่งมีจริง เวลาฟังอย่างนี้เหมือนฟังของเก่า แต่ของเก่าขณะนี้ กำลังเป็นอย่างนี้ ฟังอีกก็ลึกลงไป ที่จะต้องเข้าใจให้ถึง ความเป็นอย่างนั้นจริงๆ ว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ถ้าใช้คำว่า ธาตุ ไม่มีใครปฏิเสธ หรือไม่มีใครไปเป็นเจ้าของว่าไม่มีก็ไม่ได้ เป็นของใครก็ไม่ได้ แต่มีสภาพรู้มี สภาพรู้เป็นธาตุรู้ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องรู้ ถ้าเราใช้คำว่ารู้ ธาตุรู้ เมื่อเป็นสภาพที่เกิดขึ้นรู้ แล้วต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ นี้เป็นเหตุเป็นผล เราเพียงแต่ไม่ใช้คำยาวๆ ว่า สิ่งที่ถูกจิตรู้ แต่เราใช้คำสั้นๆ ว่า อารมณ์ หรืออารัมมาณะ ใช้คำนี้ได้ ถ้ามีจิตรู้ ไม่มีอารมณ์ได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ ได้อย่างไร

    ผู้ฟัง อย่างเช่นเวลาเกิดอย่างที่อาจารย์พูด

    ท่านอาจารย์ เวลาเกิด มีจิตไหม มีจิต ต้องมีอารมณ์ คือว่าโดยเหตุผลปฏิเสธไม่ได้ ถ้าจิตเกิด หมายความว่า จิตต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วสิ่งที่ถูกรู้คืออารมณ์ ใช้คำสั้นๆ ว่าอารมณ์ คือสิ่งที่ถูกรู้ เสียงในป่าไม่มีใครได้ยินเลย เป็นอารมณ์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็นอารมณ์

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็น แต่เสียงที่กำลังมีปรากฏ เป็นอารมณ์หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นอารมณ์

    ท่านอาจารย์ เป็นอารมณ์ของอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอารมณ์ของจิต

    ท่านอาจารย์ ของจิต อะไร นี่เสียงกำลังปรากฏ เป็นอารมณ์หรือเปล่า เป็นอารมณ์ของจิตอะไร จิตได้ยิน ง่ายๆ ธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน ทุกอย่าง ธรรมเป็นชีวิตประจำวัน แล้วเราไม่เคยรู้เลย เป็นเราไปทั้งหมด

    ผู้ฟัง เข้าใจ เข้าใจผิด คือจิต เพราะคิดว่า ใจอย่างเดียว เป็นจิตที่เกิดจากการสภาพเห็น

    ท่านอาจารย์ คือจะใช้คำอะไร จะใช้คำว่า จิต จะใช้ คำว่า ใจ จะใช้คำว่า หทัย จะใช้คำว่า มโน ใครจะใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาอะไรไม่ว่า แต่หมายความถึงสิ่งที่มีจริง เป็นสภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดแล้วรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏให้รู้ อันนี้เป็นคำจำกัดความซึ่งเปลี่ยนไม่ได้เลย แล้วจะทำให้เข้าใจตลอดไปถึงสภาพธรรมของจิตอื่นๆ ด้วย เพราะฉะนั้น เสียงขณะที่กำลังปรากฏ เป็นอารมณ์หรือเปล่า เสียงที่กำลังปรากฏ เป็นอารมณ์ของอะไร

    ผู้ฟัง ของจิตได้ยิน

    ท่านอาจารย์ ของจิตได้ยิน เป็นเชื้อชาติอะไรหรือเปล่า จิตได้ยิน เป็นชาติจีนชาติไทยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นเราหรือเปล่า เป็นธรรม คือสิ่งที่มีจริง ถ้าพูดถึงจิตไม่ใช่เจตสิก ขณะนั้นไมใช่หมายความว่า ไม่มีเจตสิกเลย มีเจตสิกแต่กำลังพูดเฉพาะจิต เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจเป็นแต่ละขณะ แต่ละเรื่อง กำลังพูดถึงเรื่องจิต mujเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ อย่างขณะนี้มองเห็นสิ่งนี้ เป็นจิตที่เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ที่เห็นลักษณะความวิจิตรของสิ่งที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้าคือจิตกำลังรู้แจ้งในลักษณะของสิ่งนั้นของอารมณ์นั้น นี้เป็นหน้าที่เดียวของจิต จิตจะไม่ทำหน้าที่อื่นเลย ไม่ว่าจะเป็นโลกุตตรจิต โลภมูลจิต โทสมูลจิต จิตทั้งหมดมีหน้าที่เดียว คือรู้แจ้งเฉพาะอารมณ์ เท่านั้น แต่ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะว่าถ้าไม่มีการรู้แจ้ง การจำสิ่งนี้ก็ไม่มีไม่ได้ ความรัก ความชังในสิ่งนี้ก็เกิดไม่ได้ ก็ต้องมีสภาพที่เป็นจิตที่กำลังรู้อารมณ์ แล้วก็มีเจตสิกคือนามธรรมอื่นๆ นามธรรมหมายความถึง สภาพรู้แล้วแต่ว่าเป็นจิตก็เป็นนามธรรม เจตสิกก็เป็นนามธรรมซึ่งเกิดร่วมกัน แล้วก็รู้อารมณ์เดียวกัน ถ้าจะจำก็จำสิ่งที่จิตรู้ เจตสิกก็จำสิ่งนั้น เวทนาก็รู้สึกชอบ ไม่ชอบ นี่คือการเริ่มที่จะเข้าใจสภาพปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง สติเป็นอะไร เป็นเจตสิก ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ทีนี้ก็ตอบได้ ถ้าเราทราบว่า ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นิพพานก็ยกไว้ รูป หมายความถึงสิ่งที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่สามารถรู้อะไรเลย เพราะฉะนั้น สภาพรู้ซึ่งเป็นนามธรรมก็มีเพียง ๒ อย่าง คือ จิตกับเจตสิก แล้วใน ๒ อย่าง จิตเป็นใหญ่ คือสามารถที่จะรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์เท่านั้น ไม่ทำหน้าที่อื่นเลย เพราะฉะนั้น ที่เป็นนามธรรมอื่นทั้งหมด คือ เจตสิก นอกจากสติ อะไรเป็นเจตสิกอีก

    ผู้ฟัง ความจำ ความคิด ความรู้สึก

    ท่านอาจารย์ อะไรอีกนอกจากความรู้สึก ชีวิตเราจริงๆ ทั้งวัน เป็นเจตสิกอะไรบ้าง ไม่ต้องไปหาในหนังสือ ไม่ต้องไปหาที่อื่น เอาจากชีวิตจริงๆ อะไรบ้างที่เป็นเจตสิก

    ผู้ฟัง ความโลภ ความอิจฉาอะไรก็ได้

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดนี้ คือ เจตสิกทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เกิดเสียใจ โกรธที่คนเขาทำให้เราเป็นทุกข์ ขณะนั้นก็คืออกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่ดี จริงๆ แล้วไม่ใช่ของใคร แต่มีปัจจัยก็เกิดขึ้น แต่ด้วยความไม่รู้ ก็เป็นเราทั้งหมด ไม่ว่ากุศลจิตหรืออกุศลจิตก็เป็นเรา แต่ถ้าศึกษาโดยสภาพที่เป็นปรมัตถธรรมจนประจักษ์แจ้ง จะไม่มีเราเลย เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่อาศัยเหตุปัจจัย เกิดแล้วดับไป ปัญญาเริ่มเห็นความต่างของกุศลจิตกับอกุศลจิต

    ผู้ฟัง ประทานโทษ คือบางที่อย่างมีแว็บๆ ว่า บุคคลผู้นี้ก็เป็นคนที่คบเห็นกันมาตั้งเป็น ๑๐ ปี ทำงานห้องเดียวกัน แต่ก็ไม่น่ามาแบบล่อลวง หรือหลอกลวงกัน ทำให้เข้าใจผิด

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นคน เราจะเสียใจ หรือเราจะโกรธ แต่ถ้าเป็นสภาพธรรม อกุศลจิตเขาเกิด นั่นเป็นอกุศลจิต แล้วเราจะโกรธอกุศลจิตไหม อกุศลจิตของเขาหรือของใครก็ตามเป็นอย่างนั้น แล้วเวลาอกุศลจิตของเราก็เป็นอย่างนั้น ก็เหมือนกัน ไม่มีความต่างกันระหว่างเขาหรือเรา ก็ป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่แล้วแต่ว่า วาระใด กุศลจิต ที่ไหนตรงไหนของใครจะเกิด วาระใดเป็นกุศล อกุศล ของใครจะเกิด ก็เป็นตามหตุตามปัจจัยของคนที่ยังมีเหตุที่จะให้อกุศลจิตเกิด อกุศลจิตเกิด เราก็มีความเข้าใจขึ้น ใช่ไหม ถ้าเข้าใจเราก็เข้าใจคนอื่น เหมือนกัน

    ผู้ฟัง เข้าใจ เข้าใจว่า ถ้าเกิดรู้สึกอย่างนี้ คนที่รู้สึกคือตัวเราที่รู้สึก แย่แล้วไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ค่อยคลายความที่ไม่ดีลงไป เพราะเห็นโทษ

    ผู้ฟัง เวทนาเขา

    ท่านอาจารย์ ไม่มีประโยชน์ ที่เราจะมาเสียใจ และไม่มีประโยชน์ที่จะโกรธเคืองเขาด้วย เป็นอกุศลของเขาที่ต้องให้ผลของเขาเอง แต่อย่าไปดีใจเวลาที่เขาได้รับผลของอกุศล

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์จะช่วยขยายให้มากสักนิดได้ไหม ทั้งๆ ที่รู้ว่าเกิดแล้วเราก็อยากจะละคลาย ทำไมอาจารย์ว่าไม่ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ ละอย่างไร

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    14 มี.ค. 2568