ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๒๑

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ผู้ฟัง ในการฟังธรรมด้วยความเคารพ นี้ ก็ถ้ามีการแสดงในการ พยายามจะฟังเพื่อการเข้าใจสภาพธรรม การพยายามนี้ก็เป็น วิริยเจตสิก ผมก็ได้ฟังมาจากท่าน อาจารย์สมพร แปลจากศัพท์ การพยายามนี้ ไพเราะมาก ก็เราให้ทุกท่านได้ฟังด้วย วายามะ นี้ก็มาจากศัพท์ วาโย ท่านอาจารย์ก็บอกว่า เป็นไปเหมือนวาโยเพราะวาโย นี้ก็พัดไปพัดมา กระทบอะไรที่สะอาด หรือไม่สะอาด ก็ไม่เบื่อหน่ายเลย หมายความว่า วายาโม คือการพยายาม เหมือนลมนี้ไพเราะ เข้าใจศัพท์นี้ก็สบายใจ ผมก็คิดต่อไปอีกว่า

    ท่านอาจารย์ ทำไมถึงสบายใจ อย่างไร

    ผู้ฟัง สบายใจ ก็เพราะเข้าใจธรรมว่า วาโยนี้ มีอรรถคือเหมือนลม อาจจะมีการเข้าใจในการพยายาม นี้ต้องพยายามในการอดทนเรื่อง วาโย ก็ต้องมีการเคารพในการฟังธรรม วาโย นี้ก็ควรจะเป็นที่เข้าใจ เพราะไม่เบื่อหน่ายใน พื้นที่ที่สะอาดหรือไม่สะอาด ธรรมนี้ก็มีการสบายใจ ก็เพราะเป็นคุณธรรมที่ดีที่สุดที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงว่า การลดทอนจากทุกข์ได้ เพราะการพยายามนั้น เพราะฉะนั้น คุณธรรมนี้ก็เปรียบเหมือน วาโยนี้ก็ไพเราะ และผมก็สบายใจ เพราะธรรมนี้จริงๆ อย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เฉพาะวาโยธาตุเท่านั้น หรือที่ พัดผ่านทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่ติดข้อง ไม่ใยดี แล้วปฐวีธาตุ

    ผู้ฟัง เหมือนกัน มีอะไรที่สะอาดหรือไม่สะอาด ตกลงอยู่ในแผ่นดิน ก็เหมือนวาโยธาตุ

    ท่านอาจารย์ เหมือนปฐวีธาตุ หรือวาโยธาตุ

    ผู้ฟัง ไม่เบื่อหน่าย หรือเหมือนกันๆ เป็น..ธาตุด้วยกัน หรือเป็นเตโชธาตุด้วย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ธาตุทั้ง ๔ เป็น เพียงธาตุ อย่างธาตุดิน ก็เป็นสภาพที่ลองรับ อุปมาเท่านั้นเอง ที่ให้เห็นว่า ไม่ว่าใครจะวางดอกไม้ลงไป หรือว่าจะทำสิ่งที่ไม่ดีลงไปบนแผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่ได้หวั่นไหว เพราะว่าจริงๆ แล้ว ธาตุเหล่านี้เป็นรูปธาตุ ไม่ใช่นามธาตุ แต่ทรงเปรียบเทียบให้เห็น ความไม่หวั่นไหว

    ผู้ฟัง เรื่องขันตินี้ ในเจตสิก ๕๑ นี้ไม่มี ขันติ ที่จะเกิด โดยมากก็มีการบอกว่า อโทสเจตสิก นี้เป็นขันติ ผมคิดว่า วิริยเจตสิก นี้มีบางครั้งก็ควรเป็นขันติด้วย ก็ถูกต้องหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ในพระอภิธรรมมีเจตสิก ๕๒ เวลาที่สัญญาเจตสิกเกิดกับปัญญา กับสัญญาเจตสิกซึ่งไม่ได้เกิดกับปัญญา มีความต่างกันไหม

    ผู้ฟัง เป็นตัวสัญญา

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ต่างกันไหม เพราะว่าสัญญาที่เกิดกับ อกุศลจิต กับสัญญาที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย ต่างกันไหม

    ผู้ฟัง ก็ต่างกันโดยชาติ ถ้าสัญญา เกิดกับ อกุศล ก็เป็น มีชาติ อกุศล

    ท่านอาจารย์ คุณบุตร สาวงษ์ เห็นเทียนแล้วจำได้ ไหม

    ผู้ฟัง จำได้

    ท่านอาจารย์ ต้องมีวิริยะ อะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าในการเห็นก็ไม่มีวิริยะ

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าคุณบุตร สาวงษ์ ต้องฟังพระธรรม แล้วก็ไตร่ตรอง แล้วก็พิจารณา แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เวลาที่สัญญามีความจำกับความเข้าใจในสภาพธรรม ต่างกับสัญญาที่เพียงเห็นเทียนแล้ว จำได้ไหม

    ผู้ฟัง ต่างกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในพระสูตร จึงมีคำหลายๆ คำ มากกว่า ๕๒ คำ สำหรับ ๕๒ เจตสิก เพราะเหตุว่าเป็นการเกิดร่วมกันกับสภาพธรรมอื่นๆ เมื่อเกิดร่วมกันกับสภาพธรรมอื่นๆ ก็แสดงความต่างกัน แม้แต่คำที่เป็นสัญญา แต่เมื่อมีสภาพธรรม ที่เป็นธรรม อื่นเกิดร่วมด้วย เช่น ปัญญา แล้วปัญญาหลายระดับ ปัญญาขั้นฟัง ปัญญาขั้นอบรมโดยการระลึกรู้ ปัญญาขั้นประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น สัญญาแม้ว่าจะเป็นสภาพที่จำ แต่ก็ต่างกันไปว่าประกอบกับเจตสิกอะไร ที่เกิดดร่วมด้วย จึงมีคำหลากหลายในพระไตรปิฎก เป็นคำรวมของสภาพธรรมว่าขณะนั้นไม่ใช่มีแต่สัญญาเจตสิก แต่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ตามระดับขั้น เพราะฉะนั้น คนที่อ่านพระสูตร แล้วก็ศึกษาพระอภิธรรม จะไม่มีคำที่บอกชัดลงไปเลย คำนี้ หมายความถึงเจตสิกไหน เพราะเหตุว่ามีเจตสิกอื่นเกิดร่วมกัน ในขณะนั้น จึงมีคำที่บัญญัติ หรือแสดงว่าเป็น ระดับของเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ในสถานใด เมื่อไม่ทรงแสดงไว้ แล้วเรา จะมาบอกไหม ว่าขณะนั้นเป็น อโทสเจตสิก หรือขณะนั้นเป็นวิริยเจตสิก ในเมื่อขณะนั้น วิริยเจตสิกก็เกิดกับ อโทสเจตสิก

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ในขณะที่มีขันติ ขณะนั้นมี อโทสะด้วย มีวิริยะด้วย ผมก็จะถามปัญหาอีกปัญหา หนึ่ง คือ ที่ในพระสูตร พระพุทธเจ้า ทรงแสดงเรื่อง ตากระทบกับรูปารมณ์แล้ว จักขุวิญญาณเกิดขึ้น ธรรมตามนี้ประชุมกันก็เป็นผัสสะ

    ท่านอาจารย์ เป็นผัสสะ หรือว่าแสดงอาการของผัสสะว่ามีผัสสะ

    ผู้ฟัง การที่เข้าใจในอภิธรรม ก็อาการปรากฏของผัสสะ คือ การประชุมกันของ ธรรม ๓ นี้

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่ธรรม ๓ นี้เป็นผัสสะ

    ผู้ฟัง ใช่ แต่ในพระสูตรก็พูดว่า ธรรม ๓ นี้คือผัสสะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาศึกษาต้องเข้าใจความหมาย ถ้าเป็นคนที่ตามตัวหนังสือ ธรรม ๓ อย่างจะเป็นผัสสะได้อย่างไร แต่เพราะมีธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นการแสดงปรากฏ ว่ามีผัสสะ

    ผู้ฟัง อย่างนั้นก็ อาจจะเข้าใจพระสูตร นี้ก็สอดคล้องกับอภิธรรมด้วย ถ้าไม่ได้ศึกษา พระอภิธรรมก็รู้จักว่า ธรรม ๓ นี้เป็นผัสสะ อย่างนั้นก็ไม่ถูกตามสภาพธรรมที่ต่างกัน กระทบก็ไม่ใช่ผัสสะ รูปารมณ์ก็ไม่ใช่ผัสสะ วิญญาณก็ไม่ใช่ผัสสะ แต่เมื่อธรรม ๓ นี้ ประชุมกันแล้วก็ เป็นอาการปรากฏของผัสสะ

    ท่านอาจารย์ ในวิสุทธิมรรคก็มี ใช่ไหม วิสุทธิมรรคก็ต้องเอาข้อความมาจากพระไตรปิฎก นั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง ที่ทรงแสดงอย่างนี้ ก็เป็นเพราะเหตุว่าผัสสะ เป็นสิ่งที่ยากที่จะรู้ ขณะที่กำลังเห็นอย่างนี้ ใครรู้ลักษณะของผัสสเจตสิก เพราะเหตุว่าผัสสะเป็นเจตสิก เป็นนามธรรม ที่กระทบอารมณ์ ไม่ใช่จักขุปสาทกระทบกับรูปารมณ์ จักขุปสาทเป็นรูป รูปารมณ์เป็นรูป แต่ต้องเป็นผัสสเจตสิก ที่กระทบรูปารมณ์โดยอาศัยจักขุปสาท เพราะฉะนั้น เวลาที่สภาพธรรมปรากฏ เช่น ขณะนี้ มีเห็น กับมีสิ่งที่ปรากฏทางตา ผัสสเจตสิกไม่ได้ปรากฏ แต่การที่จะมีสภาพธรรม เหล่านี้ได้เพราะมีผัสสเจตสิก เมื่อสภาพธรรมต่างๆ เหล่านี้มี ก็แสดง ให้เห็นถึงว่าขณะนั้นต้องมีผัสสเจตสิกด้วย

    ผู้ฟัง ในการปฏิบัติเจริญสติปัฏฐาน ผมก็ได้ เห็นใน สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงเป็น บรรยายในผัสสะที่เกิดขึ้นทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ ทั้ง ๖ ทวาร พระพุทธเจ้า ทรงแสดงต่อไป เวทนาที่เกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาก็เกิด เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย ต่อไปตลอดถึง ชรา มรณะ เกิดขึ้น เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ครบ ๖ ทวาร ปกติแล้วก็ต้องแสดง ฝ่ายทางดับ การดับนี้ พระองค์ทรงแสดง ๖ ทวารเหมือนกันแล้วก็ เมื่อนั้นก็มีภิกษุองค์หนึ่ง ก็ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว พระพุทธเจ้า ทรงถามว่า ดูก่อนภิกษุได้ฟังธรรมบรรยายที่ตถาคต แสดงแล้วหรือ ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว ฉะนั้นภิกษุก็ศึกษาบรรยายนี้เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ในอรรถกถาบอกว่า พรหมจรรย์นี้ เป็น มรรคพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมทาง ๖ ทวาร ไม่ใช่ศึกษาโดยเป็นแต่เพียงชื่อเท่านั้นก็ต้องอาศัยการปฏิบัติเรื่องสติปัฏฐาน ต้องระลึกที่สภาพธรรม ที่เกิดทางตา ทางหู เป็นต้นนี้ ถ้าผัสสะที่เกิดขึ้นก็อาจจะศึกษาได้ แต่ก็สติอาจจะระลึกผัสสะได้ไหม

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่บุคคล ปัญญาของท่านพระสารีบุตร ปัญญาของอัครสาวก ปัญญาของมหาสาวก ปัญญาของสาวก ปัญญาของสาวกระดับขั้นต่างๆ ทำไมเกิดความสงสัย

    ผู้ฟัง ธรรมนี้ พระพุทธเจ้า ทรงแสดง ผู้เล่าเรียนผู้ศึกษา ผมทราบว่า เล่าเรียนเป็นพยัญชนะ ก็ไม่อาจจะเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ได้ ก็ต้องศึกษา

    ท่านอาจารย์ คุณบุตร สาวงษ์ จะหมดความสงสัย เมื่อสภาพธรรม ปรากฏกับคุณบุตร สาวงษ์ ว่าสภาพธรรม ใดรู้ได้ สภาพธรรมใดรู้ไม่ได้ สำหรับแต่ละบุคคล สำหรับคุณบุตร สาวงษ์ พอจะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมที่ปรากฏได้ไหม ไม่ต้องไปลึกถึงผัสสเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก มนสิการเจตสิก และเจตสิกอื่น ๗ ดวงซึ่งเกิดกับจิตในขณะนี้ เพียงแต่จะรู้ว่าขณะนี้สภาพของนามธรรมต่างกับรูปธรรม ไม่ใช่เรา ความหมายที่แสดงถึงความเข้าใจ และการประจักษ์แจ้งก็คือว่าสภาพธรรม นั้นไม่ใช่เรา เพราะว่าลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏ เปิดเผยกับปัญญาที่ได้อบรมแล้ว ว่าลักษณะของนามธรรมเป็นอย่างนี้ ลักษณะของรูปธรรมเป็นอย่างนั้นแล้วจะต้องไปห่วง ผัสสเจตสิก มนสิการเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก สัญญาเจตสิกอะไรไหม เพราะว่าปัญญาต้องอบรมตามลำดับขั้น แล้วแต่ว่าขณะนั้นสติจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมอะไร ก็ยับยั้งไม่ได้ ขณะนี้มีทั้งเห็น และเจตสิก ๗ ดวง ลองคิดดู ปัญญาของใครระดับไหน จะรู้ลักษณะซึ่งเป็น ธาตุรู้ สภาพรู้ที่กำลังเห็น หรือ จะรู้ลักษณะของเจตสิก ๗ ดวงที่เกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง ถ้ารู้ เป็นแต่เพียงการเห็น นี้อาจจะรู้ว่า ก็มีผัสสะประกอบได้ จึงจะมีการเห็นได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดถึงผัสสะเลย เพราะเหตุว่าการศึกษาสภาพธรรม สภาพธรรมใดมี ในขณะนั้น ปรากฏให้สติระลึก ไม่ต้องไปคิดถึงอื่นซึ่งไม่ปรากฏ เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏ เกิดแล้วดับเร็วมาก แล้วยังจะต้องไปคิดถึงอย่างอื่น ขณะนั้นก็ คือไม่สามารถจะรู้ลักษณะที่แท้จริงของสิ่งที่กำลังปรากฏได้ เพราะข้ามไป อย่างขณะนี้ เป็นปรมัตถธรรม ทางตา สิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งที่มีจริง ความหมายของปรมัตถธรรม คือ เป็นธรรมที่มีจริงซึ่งใครไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ จิตเห็น มีจริงๆ ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพที่กำลังเห็น ให้เป็นอย่างอื่นได้ เห็นแล้วดับ แต่คนที่ไม่ได้อบรมเจริญปัญญาไม่รู้เลย ก็คิดเรื่องราวสืบต่อทันที เหมือนอย่างเวลาที่กระทบแข็ง แข็งเป็นปรมัตถธรรมมีจริง แต่ไม่เคยฟัง ไม่มีปัจจัยที่จะระลึก เพราะฉะนั้น ต่อจากแข็งก็คือการทรงจำลักษณะแข็ง แล้วก็เข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะในขณะที่กระทบหรือ ในขณะที่เห็น เพราะฉะนั้น ไม่มีโอกาส ที่สติจะระลึก เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรม แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว สภาพธรรมทั้งหมดที่มี แล้วแต่สติจะเกิดเมื่อไร แล้วแต่สติจะระลึกลักษณะอะไร ซึ่งสั้นมากแล้วก็ดับไป ไม่ต้องไปคิดว่าจะรู้ผัสสะ หรือว่าจะทำอะไรเลย ปัญญาจริงๆ ต้องเป็นปัญญาที่เห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมว่าเลือกไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิดเลือกไม่ได้ เห็นจะเกิดหรือได้ยินจะเกิดโลภะจะเกิด หรือโทสะจะเกิดเลือกไม่ได้ เพราะว่าเป็นปรมัตถธรรม ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ต้องไม่ลืมคำต้น จนถึงคำสุดท้ายเป็น อนัตตา เมื่อเป็นอนัตตา ก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา แล้วแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น

    เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาจริงๆ คือรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นปรากฏ ถ้าไม่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมว่าเป็นเพียงนามธรรม และรูปธรรมไม่มีโอกาสที่จะรู้ว่าเวทนาเกิดเพราะผัสสะ แต่ขณะนี้ ความรู้สึกเป็นอย่างไร เมื่อเห็น เวลาที่ได้ยิน รู้สึกอย่างไร เพราะฉะนั้น เวลาที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมเป็นปกติ ไม่ต่างกันเลย แต่เมื่อลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏ โดยความเป็นธรรมคือเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม ขณะนั้นความรู้สึก เป็นอย่างนี้เป็นธรรมดา เพราะว่าเกิดสืบต่อกัน สติที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมแล้วก็ อบรมจนกระทั่งปัญญา คม ปัญญานั้นต้องบาง และคม พอที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดสืบต่อกันได้ เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า ความรู้สึกอย่างนี้ เกิดทางไหน ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ เวลาที่ไม่รู้ ก็ไม่รู้อย่างนี้ แหละ แต่เวลารู้ ก็รู้อย่างนี้แหละ แต่ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน คือสติที่ระลึกลักษณะ ที่เป็นปรมัตถธรรม ความต่างกันคือ ก่อนที่จะรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม รู้เรื่องราว ขณะนี้เห็นแล้วชอบ เมื่อกี้นี้ก็มีดอกชบาดอกใหญ่ข้างทาง เห็นแล้วชอบ ความชอบนั้นเกิดจากเห็นหรือเปล่า นี้เป็นสิ่งธรรมดาที่ทุกคนรู้ ถ้าไม่เห็นดอกไม้สีแดงนั้น ก็คงจะไม่มีความรู้สึกพอใจ แต่พอเห็นแล้วชอบอะไร ชอบในสิ่งนั้น แต่นั่นเป็นเรื่องซึ่งมีการเห็น แล้วมีการรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่ถ้าขณะที่เห็นแล้วสติระลึก แล้วความชอบเกิด แล้วสติก็ระลึก ระลึกสืบต่อกันไป จะสามารถรู้ได้ไหม ว่าเวทนาความรู้สึกทางไหน ก็เพราะกระทบสิ่งนั้นทางนั้น เพราะฉะนั้น เรื่องราวทั้งหมดที่เราฟังเหมือนเรื่อง แต่จริงๆ คือสภาพธรรม แต่ละขณะซึ่งเป็นอย่างนั้น แล้วแต่ว่าปัญญา อบรมมาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ระดับไหน ซึ่งระดับของการรู้ชัดมีหลายระดับ ที่เป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น มิฉะนั้นก็จะไม่มีวิปัสสนาญาณเลย เพียงคิดเท่านั้นเอง ว่าเพราะเห็นจึงชอบ แต่จริงๆ ที่เห็นแล้วชอบเป็นสภาพธรรม ทางทวารนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้จริง ก็รู้ไม่ผิด คือรู้ว่าขณะที่เห็นก็ขณะหนึ่ง ขณะที่ชอบก็อีกขณะหนึ่ง แล้วชอบขณะนี้เกิดขึ้นเพราะเห็น เพราะฉะนั้น ก็มีการกระทบทางตาเป็นปัจจัยให้เวทนานี้เกิดขึ้น แล้วแต่ว่าสามารถที่จะรู้วาระไหน ทางไหน ลักษณะไหน แต่ต้องรู้ทั่ว ถ้ารู้ไม่ทั่วก็เป็นเราไป เพราะว่าผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลขั้น พระโสดาบัน จะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติ ลองคิดดู ถึงสังสารวัฏฏ์ที่เกิดมาแล้ว กี่ชาตินับไม่ถ้วน ถอยไป เมื่อวานนี้ ถ้านับโดยขณะจิต นับไม่ถ้วนเลย นับเป็นชั่วโมง นับเป็นนาที นับเป็นวินาที แต่สภาพธรรมเกิดดับเร็วกว่านั้น แล้วก็ต่อไปก็คืออย่างนี้ ด้วยความไม่รู้ หรือด้วยความรู้ที่ค่อยๆ รู้ขึ้น เพราะฉะนั้น จึงเป็น จิรกาลภาวนา ภาวนาไม่ใช่ท่องบ่น ภาวนาไม่ใช่ทำอย่างอื่น แต่ภาวนาเป็นการอบรมปัญญาจากการเริ่มฟัง แล้วก็เริ่มเข้าใจ จนกระทั่งรู้ว่าปัญญามีหลายระดับขั้น สิ่งที่ ทรงแสดงทั้งหมด เป็นความจริง ซึ่งสามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้ ไม่ใช่เพียงฟังแล้วเข้าใจ

    พระสาวกที่เป็นพระอริยบุคคล ฟังเข้าใจเพราะอบรมมาแล้ว สามารถที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมเพราะว่าขณะนั้นสติเกิดได้ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ ความเข้าใจที่ได้สะสมมาแล้ว สามารถที่จะแทงตลอด ในความเป็นจริงของสภาพธรรม โดยที่ว่าท่านก็ไม่ได้หวัง ว่าท่านฟังเมื่อไร พบพระผู้มีพระภาค ครั้งที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ท่านจะเป็นพระโสดาบัน หรือว่าจะเป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ เมื่อไร เมื่อเหตุสมควรแก่ผล แต่ไม่ใช่ว่านั่งหวัง เฝ้าแล้ว วันนี้ ฟังเท่านี้ วันรุ่งขึ้นฟังอีก แล้วก็จะได้เป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่ต้องเป็นผู้ตรง ที่จะรู้ว่าสภาพธรรมมีจริง เพียงฟังเรื่องของสภาพธรรม เริ่มเข้าใจ ดับกิเลสไม่ได้ ถึงจะรู้เรื่องของสภาพธรรม โดยศึกษา พระไตรปิฎก หรืออรรถกถา หรือแม้แต่ อภิธัมมัตถสังคหะ ก็ไม่สามารถที่จะละกิเลสได้เพียงระดับความเข้าใจจากการฟังเรื่องของสภาพธรรม เพราะขณะนี้เป็นตัวจริงของธรรมซึ่ง กำลังเกิดดับ แต่สิ่งที่ได้ฟังต้องทราบ คือ ขณะนี้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น ปัญญาก็ต้องรู้ตัวจริงๆ ไม่ใช่รู้ เพียงเรื่องราว แล้วก็สามารถจะรู้ได้ เพราะมีจริงๆ กำลังปรากฏ กำลังเกิดดับด้วย แล้วแต่ว่าปัญญาระดับไหนที่สามารถจะรู้ได้ แต่ปัญญาขั้นฟังไม่สามารถที่จะทำอะไรกิเลสได้เลย

    ผู้ฟัง ผมก็เข้าใจว่า ทำสติปัฏฐาน นี้ก็ ไม่ใช่ การคิดพิจารณา แล้วก็ทุกวันๆ นี้ ผมมก็ชอบในการพิจารณา เช่นไปศึกษามา จักขุวิญญาณที่เกิดนี้ก็เพราะมีจักขุ เป็นปัจจัย เป็นปัจจัยอะไรที่ได้ศึกษามา เป็นนิสยปัจจัยก็เป็น อินทริยปัจจัย สงบมาก็ไม่มีจักขุก็จักขุวิญญาณก็เกิดขึ้น ไม่ได้ แล้วก็มี รูปารมณ์เป็นปัจจัยอีก เป็น อารัมมาณะปัจจัย แล้วก็มีแสงสว่างเป็นปกตูนิสสยปัจจัย แล้วก็พิจารณาว่า จักขุวิญญาณนี้ ก็มี ธรรมที่ประกอบเป็นสหชาตปัจจัย เป็นอาหารปัจจัย จึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่มีปัจจัย ทางนี้ก็เกิดไม่ได้ เป็นปัฏฐานก็คือ การที่พิจารณาอารมณ์เป็น จักขุทวาราวัชชนจิตนี้ก็เป็นปัฏฐานของจักขุวิญญาณ พิจารณาแล้วก็เห็นว่าจักขุวิญญาณนี้ แม้เพียงแต่ตัวเองก็ไม่มี ถ้าไม่มีปัจจัยแล้วก็เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าชอบพิจารณาอย่างนี้ก็ อาจจะมีสติขั้นสติปัฏฐานนี้ อาจจะระลึกได้ เฉพาะจักขุวิญญาณที่กำลังปรากฏ หรือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น เป็นแต่เพียงการคิดนั้น ก็อาจจะมีสติระลึกได้ว่า เป็นนามธรรม ที่ไม่ใช่เราคิด แล้วก็ประกอบกับการพิจารณาด้วย ก็สบายใจในการศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้า ผมชอบการพิจารณาอย่างนี้ ผิดถูกอย่างไร

    ท่านอาจารย์ นี้เป็นขั้นคิดตลอด ไม่ใช่ขณะที่รู้ความต่างกันของขณะที่สติเกิดกับหลงลืมสติ นี้เป็นบันไดขั้นต้น คือเราจะไม่รู้ลักษณะของสัมมาสติ ตราบใดที่สัมมาสติไม่เกิด เราก็คิด เราก็เข้าใจ เรื่องสภาพธรรม เรื่องปัจจัย เป็นสติขั้นพิจารณา ต่อเมื่อใดสติปัฏฐานเกิด เมื่อนั้นจะรู้เลย ว่านี่ต่างกับขั้นคิด

    ผู้ฟัง ผมก็ไม่อาจจะเข้าใจลักษณะจริงๆ ขั้นสติปัฏฐาน เพราะเพียงแต่การขั้นพิจารณา ตลอดมา แล้วก็พูดลักษณะของสติทางสติปัฏฐานนี้ก็ พูดอย่างนั้น พูดว่าสติก็ระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่ไม่ปะปนกันทีละลักษณะ อันนี้ก็พูดอย่างนั้นได้เฉพาะตนเองก็ชอบในการพิจารณาตลอด

    ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นความตรง ซึ่ง จะต้องมีปัญญา จึงจะรู้ได้ว่าระดับไหน เมื่อเป็นระดับคิด ก็คือระดับคิด เมื่อวานนี้กับวันนี้ก็ ได้พูดถึงเรื่องขณะที่สติเกิด กับขณะที่หลงลืมสติหลายครั้ง พูดกับคุณนีน่า แล้วก็พูดกับพวกเราด้วย แต่ว่าถ้าจะพูดอีกสักครั้งหนึ่งที่นี้ ก็อาจจะทำให้คนที่ได้ฟังที่นี่ ถ้าสงสัยก็ถาม ถ้าเข้าใจแล้ว จะได้ทราบว่าขณะที่สติเกิด ต่างกับขณะที่หลงลืมสติอย่างไร

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567