ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๕๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านปาร์ควิล บางพลี จ.สมุทรปราการ

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ถ. ถ้าเราไม่มีสมอง มันก็น่าจะทำงานในการคิดได้

    ส. ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องมีรูปเป็นที่เกิด

    ถ. รูปเป็นที่เกิด ถ้ารูปไม่สมบูรณ์ มันก็จะเกิดไม่สมบูรณ์ขึ้นมา

    ส. เวลานี้จริงๆ แล้ว ถ้าเราไม่มีใครมาบอกเราเลย เรื่องสมอง เรื่องหัวใจ ไม่มีเลย แต่มีเห็น มีได้ยิน เราควรจะเข้าใจให้ถูกต้อง ว่าสิ่งนี้มี แล้วก็ปรากฏให้ศึกษา ไม่ใช่เพียงเรื่องราวซึ่งไม่ปรากฏ อย่างเรื่องราวของสมอง เรื่องราวของหัวใจ เรื่องราวของทางการแพทย์พวกนี้ ปรากฏสำหรับคนที่เขาศึกษา แล้วเขาก็กำลังคิดเรื่องนั้น เรื่องนี้ แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องบัญญัติ เรื่องสมมติ โดยที่สภาวะจริงๆ แล้วแค่เห็น ขณะนั้น เพราะรูปเกิดดับเร็วมาก แต่ในทางแพทย์ หรือในทางวิทยาศาสตร์ เขาไม่สามารถที่จะรู้การเกิดดับ ที่แสนเร็วของรูป เพราะฉะนั้น สำหรับเขายังมีอยู่ แม้ว่าเขาจะบอกว่าสั้นมาก ก็ยังไม่สั้นเท่ากับความจริงของสภาพธรรม ซึ่งเพียงนิดเดียวแล้วดับ เพราะฉะนั้น อันไหนจะตรงกว่ากัน

    ถ. สมมติว่าเราบอกว่าลิ้น สัมผัส สัมผัสทางลิ้น ถ้าเกิดว่า เราสัมผัสความร้อนทางลิ้น เราถือว่าสัมผัสทางกายใช่ไหม

    ส. กายปสาทซึมซาบอยู่ทั่วตัวทั่วเลย แต่จักขุปสาทไม่ทั่ว โสตปสาทไม่ทั่ว ฆานปสาท ชิวหาปสาทไม่ทั่ว

    ถ. ถ้าเราทั้งร้อน ทั้งเผ็ดพร้อมกัน มันเกิด ทีละอย่างๆ

    ส. แน่นอน เหมือนเห็นกับได้ยิน ต้องทราบ ว่าจิตมีจริงๆ ธาตุรู้อาการรู้ ถ้ารู้จักจิตแล้วต้องรู้ว่าจิตเป็น อนันตรปัจจัย ความหมายของปัจจัยนี้ก็คือว่า ทันทีที่จิต เจตสิก ที่เกิดพร้อมกันนี้ดับ เป็นปัจจัยให้จิต เจตสิก ขณะต่อไปเกิด นี้แสดงให้เห็นว่าแต่ละคน ต้องมีจิตเพียง ๑ ขณะ เพราะว่าความเป็น อนันตรปัจจัยของจิต ที่ต่อเมื่อเขาดับแล้วไม่มีแล้ว จึงเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นได้ จะมีจิต ๒ ขณะเกิดพร้อมๆ กันไม่ได้ ทั้งเห็น ทั้งได้ยิน หรือว่าทั้งรู้แข็งด้วย แล้วก็ลิ้มรสด้วย ไม่ได้

    ถ. แต่เขาบอกว่ามันสัมผัสทางลิ้น มันร้อนด้วย แล้วก็เผ็ดด้วย ก็คือว่ามันเป็น ๒ ส่วน

    ส. เกิดดับเร็วมาก แต่ว่าทีละอย่าง แล้วก็รู้ทีละอารมณ์กัน อย่างจิตเห็น เราบอกว่าขณะนี้ได้ยินด้วย เป็นไปไม่ได้ ไม่พร้อมกันด้วย แต่ในความรู้สึกของเรา เหมือนพร้อม ใช่ไหม เพราะว่ากำลังได้ยินก็ยังเห็นอยู่ แต่ว่าตามความเป็นจริงต้องรู้จนกระทั่ง ว่ารูปเกิดดับเร็วมากที่จักขุปสาท ในระหว่างที่รูปยังไม่ดับเท่านั้น ที่เป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิด แล้วก็รูป ๑๗ ขณะยังไม่ดับเท่านั้น ที่เป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิด จะเร็วสักแค่ไหน

    ถ. เราไม่รู้สภาพละเอียดทุกรูป ทุกนาม

    ส. คือเราไปคิด ว่าที่เราเรียนมากๆ เพื่อที่จะให้สติปัฏฐานเกิด แต่ความจริงแล้วเราไม่ได้คิดว่า ที่เราฟังมากๆ เพื่อให้เข้าใจธรรมที่กำลังมีจริงๆ แล้วที่กำลังปรากฏ แม้แต่เพียง ๒ คำ นามธรรมกับรูปธรรม เราได้ยิน แต่ขณะที่กำลังเห็น ฟังอย่างไร พิจารณาอย่างไร ถึงจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าสภาพรู้ หรือธาตุรู้ คือในขณะนี้เอง ที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา เพราะมีสิ่งทีกำลังเห็น นี่ฟังอย่างไรถึงจะให้ค่อยๆ รู้ในความเป็นนามธรรม และรูปธรรม

    ถ. ถ้าเกิดว่าเราไม่ได้ต้องศึกษา แล้วก็แค่รู้รูปนาม จะมีทางไหมที่จะเกิดสติปัฏฐาน

    ส. คำตอบก็คือว่า มีความเข้าใจระดับไหน ที่ได้ยินคำว่า รูปนาม

    ถ. ที่นี้ ที่เราไม่เข้าใจก็คือว่า เรา ไม่สามารถรู้อะไรคือรูปจริงๆ ทั้งหมด อะไรคือนามจริงๆ ทั้งหมด เราก็เลยไม่สามารถ ถ้าเราไม่ศึกษา เราก็จะไม่มีทางที่รู้ว่านี่คือนาม

    ส. เราได้ยินเพียงชื่อ ใช่ไหม นามธรรม กับรูปธรรม เราได้ยินเพียงชื่อ แล้วก็ฟังเพียงชื่อไป เรื่อยๆ กับการที่เราค่อยๆ เข้าใจตัวจริงๆ ของธรรมในขณะนี้ แล้วเราก็ไม่ไปมุ่งหวังว่า เพื่อที่จะให้สติเกิด ไม่ต้องไปคิดอย่างนั้นเลย เพราะในขณะที่กำลังเข้าใจ สติเกิดแล้วแน่นอน ปัญญาก็เกิดด้วยในขณะนี้ แล้วถ้าสติกับปัญญา ในขณะนี้ ที่เริ่มเข้าใจ ฟังอีกเข้าใจขึ้นอีก ก็จะต้อง ถึงระดับที่มี การระลึกลักษณะที่กำลังปรากฏจริงๆ เดี๋ยวนี้ แล้วก็ศึกษาอีกขั้นหนึ่ง คือไม่ใช่ฟังเรื่องชื่อ แล้วตอนนี้เป็นการที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นทำกิจการงานในขณะนี้ เพราะฉะนั้น การฟังไม่มีขอบเขตจำกัด แต่ว่าถ้าเพียง ๒ คำ นามธรรม และรูปธรรม แล้วสติปัฏฐานเกิดได้ กับการที่ฟังแล้วก็ยังไม่เกิด ยังไม่เกิดอีกต้องฟังอีกๆ จนถึงวิถีจิต จนถึงปัจจัย หรือจะถึงอะไรก็ตามแต่ แต่ก็เพื่อให้เห็น ความจริงของสภาพธรรมที่เป็นธรรมไม่ใช่เรา

    ถ. คือว่า ถ้ามันเกิดไม่ได้ ไม่ได้ เพราะเราไม่รู้ลึกซึ้ง ถึงรูปนาม

    ส. ความเข้าใจของเราไม่ใช่ระดับที่จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด ถ้าคนที่เขาเรียน เขาจำได้แล้วเขาสอบ จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดไหม

    สนทนาธรรมที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

    พ.ศ. ๒๕๔๐

    ถ. กราบเรียนท่านอาจารย์ บรรยายเรื่องปรมัตถธรรม สักเล็กน้อย

    ส. เรื่องปรมัตถธรรม เล็กน้อยไม่ได้ แม้แต่ชื่อ เพราะเหตุว่าถ้าได้ยินได้ฟัง คำหนึ่งคำใด เราควรที่จะเข้าใจความหมายของคำนั้นจริงๆ เพียงคำว่า ธรรม เราได้ยินได้ฟังตั้งแต่เล็ก แต่ว่าไม่ทราบว่า เราเข้าใจความหมายของธรมในกี่ความหมาย เราอาจจะ ได้ยินความหมายว่า ธรรม กับ อธรรม คือฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายดี คือ เป็นธรรม แต่ถ้าอธรรมก็คือฝ่ายไม่ดี แต่ถ้าความหมายมากกว่านั้นก็มี คือ ธรรม หมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง คลุมหมดเลย เพราะฉะนั้น เราจะใช้คำว่า อกุศลธรรม ก็ถูก เพราะว่า อกุศลมีจริงๆ กุศลกรรมก็ถูก เพราะว่ากุศล หรือธรรมฝ่ายดี ก็มีจริงๆ เพราะฉะนั้น การศึกษาพระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วก็เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาโดยกว้างขวาง เพราะว่าความเข้าใจของเรา เดิมที่ยังไม่ได้ศึกษา ก็มีเพียงเล็กน้อยนิดหน่อย แต่เมื่อได้ศึกษาแล้วก็จะยิ่งเห็นความกว้าง ความลึกซึ้งของพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงถึง ๔๕ พรรษา แล้วก็เป็นสิ่งซึ่งยังมีให้เราได้ศึกษา ยังไม่สูญสิ้นไป จารึกไว้เป็น พระไตรปิฎก กับอรรถกถา แล้วก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง ทุกกาลสมัย คือไม่ว่าก่อนการตรัสรู้ ธรรมก็มีจริงๆ แล้วก็เป็นธรรม เมื่อตรัสรู้แล้ว ธรรมก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงก็ยังเป็นธรรม แล้วไม่ว่าโลกจะมีอายุต่อไปอีกมากมาย สักเท่าไร ธรรมก็ไม่เปลี่ยน เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดง แสดงจากการตรัสรู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ

    เพราะฉะนั้น จึงมีความหมายเพิ่มจากคำว่า ธรรม เป็นปรมัตถธรรม และอภิธรรมซึ่งความหมายของอภิธรรม ก็มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งมี ๓ ปิฎกด้วยกันคือ พระวินัยปิฎก ๑ พระสุตตันปิฎก ๑ พระอภิธรรมปิฎก ๑ แสดงให้เห็นว่า ถ้าเราศึกษาจริงๆ เราจะเข้าใจความหมายของธรรมขึ้น ว่าทำไมใช้คำว่าปรมัตถ และใช้คำว่า อภิธรรม ไม่ใช่เพียงแต่ธรรมเท่านั้น เมื่อธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งนั้นไม่ต้องเรียกชื่อก็ได้ อย่างร้อน ลักษณะที่ร้อน ไม่ว่าใครจะไปกระทบสัมผัสลักษณะที่ร้อนไม่เปลี่ยน ร้อนก็ยังคงเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ซึ่งจะปรากฏได้ ต่อเมื่อมีการกระทบสัมผัสด้วยกาย หรือกายปสาท สภาพที่ร้อนนั้นจึงปรากฏได้ โดยเหตุที่ธรรมเป็นธรรม เป็น ธาตุ เป็นสิ่งที่มีจริงซึ่งใครๆ ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นปรมัตถธรรม ยังสงสัยไหม เรื่องปรมัตถธรรม กับอภิธรรม เป็นธรรมซึ่ง โดยทั่วไปถ้าเราฟังพระธรรม เราจะได้ยินเรื่องราวจากพระสูตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น สิ่งที่บุคคลจะกระทำต่อบิดามารดา มาดาต่อบุตร พวกนี้ก็เป็นธรรมทั่วๆ ไป ก็เป็นสั่งที่มีจริงเหมือนกัน แต่ไม่ละเอียดถึงตัวสภาพธรรม ซึ่ง มีลักษณะเฉพาะอย่างจริงๆ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง อย่างลักษณะที่กล่าวถึงเมื่อกี้นี้คือร้อน มีจริงๆ ความจำ มีจริงไหม คือธรรมเป็นเรื่องคิดไตร่ตรอง แล้วก็จะเป็นความรู้ความเข้าใจของตัวเองด้วย จากการคิด ถ้าได้รับคำถามว่าความจำมีจริงไหม จะตอบว่าอย่างไร มี เป็นธรรมไหม เป็นปรมัตถธรรมไหม ถ้าสิ่งไหนที่มีจริงๆ แล้วมีลักษณะเฉพาะ คือความจำมีลักษณะที่จำ ไม่ใช่มีลักษณะโกรธ ไม่ใช่มีลักษณะติดข้อง แต่เป็นสภาพที่จำ

    เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ที่มีจริงๆ แม้ว่า เราจะมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ในชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ทั้งหมดโดยที่เราไม่เคยรู้ และไม่เคยแตกย่อยออกเป็น สภาพธรรม แต่ละ ๑ ชนิด หรือ ๑ อย่าง ด้วยพระปัญญาคุณที่ได้ทรงบำเพ็ญมา ที่จะตรัสรู้ ก็สามารถที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะจริงๆ แยกออกไป เพราะว่าโดยมากเราจะเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เมื่อสิ่งนั้นรวมกัน ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าของเรา มีรูปตั้งหลายชนิด ตา ก็ไม่ใช่หู ไม่ใช่จมูก ไม่ใช่ลิ้น ไม่ใช่กายปสาท แล้วก็ยังมี จิตใจ แล้วก็ยังมี สภาพความรู้สึกต่างๆ รวมกัน แล้วเราก็บอกว่า เป็นเรา หรือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ แต่ธรรม จริงๆ เพียงอย่างละหนึ่ง ที่เป็นธรรมเฉพาะตนมีภาวะ คือ สภาวะลักษณะของตนเอง อย่างร้อน อย่างนี้ เปลี่ยนไม่ได้ สภาพธรรม ใดเกิดขึ้นมีลักษณะร้อน จะเปลี่ยนร้อนให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะเกิดแล้วร้อน ขณะนั้นแล้ว

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นปรมัตถธรรม สัญญาความจำเป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม หรือเปล่า เป็น เป็นอภิธรรมไหม เรามี ๓ คำ ธรรม ปรมัตถธรรม อภิธรรม เป็นอภิธรรมไหม ยิ่งใหญ่ที่นี่หมายความว่า ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่เปลี่ยน ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างนั้น ให้เป็นอย่างอื่นได้ นี่คือความหมายของอภิธรรม คือสภาพธรรมเอง เป็นจริงอย่างไร เป็นปรมัตถธรรม อย่างนั้น คือถ้าพูดถึงคน จริงๆ แล้วถ้าไม่มีแข็งตั้งแต่ ศีรษะตลอดเท้า คนมีไหม ไม่มี เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงแข็งจริงๆ คือแข็ง ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า เรียกว่า คน รูปร่างอีกอย่างหนึ่ง อาจจะเรียกว่า นก รูปร่างอีกอย่างหนึ่ง อาจจะเรียกว่าโต๊ะ รูปร่างอีกอย่างหนึ่ง อาจจะเรียกว่าไมโครโฟน แต่ทั้งหมดลักษณะ แท้ๆ คือแข็ง นี้คือปรมัตถธรรม สภาพธรรม ที่มีลักษณะเฉพาะ ของตนเองซึ่งใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แล้วก็เป็น อภิธรรมด้วย เพราะฉะนั้น การตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการรู้แจ้งสภาพธรรม ตามความเป็นจริงว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการศึกษาธรรมไม่ใช่ไป เปลี่ยนแปลง หรือไปทำให้อะไรเกิดขึ้น แต่เริ่มเข้าใจสิ่งที่กำลังมีกำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น จนกระทั่งสามารถที่จะเห็นถูก ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง จากการตรัสรู้ว่าสภาพธรรมจริงๆ แล้วเป็นอย่างนั้น นี้คือความหมายของ ธรรม ปรมัตถธรรม อภิธรรม

    ถ. เรียนถามปรมัตถธรรม มี ๔ อย่าง ได้แก่จิต เจตสิก รูป และนิพพาน อยากเรียนเชิญท่านอาจารย์ อธิบาย

    ส. ตอนนี้เราก็จะมาต่อความละเอียด ว่าสภาพธรรม ที่มีจริง ตามศาสตร์ต่างๆ เขาก็จะแยกออก ใช่ไหม สาขาทางวิทยาศาสตร์ สาขาทางแพทย์ ทางเคมี ฟิสิกส์ อะไรก็แล้วแต่ว่าจะแยกกันไปอย่างไร แต่ทางพระพุทธศาสนา จากการตรัสรู้ ปรมัตถธรรม ไม่ว่าในโลกนี้ หรือนอกโลก หรือกี่จักรวาลก็ตาม มีสภาพธรรม ๒ ลักษณะ ที่ต่างกัน คือลักษณะ ๑ เป็นสภาพที่รู้ เกิดขึ้นสามารถที่จะรู้ สามารถที่จะคิด สามารถที่จะจำ จะเห็น จะไตร่ตรอง จะสุข จะทุกข์ทั้งหมด นี้เป็นฝ่ายนามธรรม ส่วนสภาพธรรม อีกอย่าง ๑ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ใช้ภาษาว่า รูปธรรม ทางภาษาบาลี รู-ปะ หรือรูปธรรม หมายความถึง สิ่งนั้นมีจริง แต่สิ่งนั้นไม่ใช่สภาพรู้ คือไม่สามารถจะรู้อะไรเลยทั้งสิ้น มีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง เราก็ค่อยๆ พิจารณาไป ว่าจริงหรือไม่จริง ตอนนี้เรายังไม่มีชื่ออะไรเลยก็ได้ เพียงแต่ว่าสิ่งที่มีจริงมี ๒ อย่างที่ต่างกันโดยเด็ดขาดคือ สภาพหนึ่งไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย อีกสภาพหนึ่งเป็นสภาพที่รู้ สภาพที่จำ สภาพที่คิด สภาพที่เห็น แล้วแต่ทั้งหมด เพราะฉะนั้น ธรรมมี ๒ อย่างคือ นามธรรมกับรูปธรรม ที่ใช้คำว่า รูปธรรม ในภาษาไทยสมัยนี้ก็ตาม ความหมายของธรรมที่เป็นรูปธรรม เพราะว่าถ้าเป็นรูปธรรมจริงๆ ใครจะรู้หรือไม่รู้ รูปธรรมก็เป็นรูปธรรม ใครจะเปลี่ยนชื่อ หรือเรียกอย่างไรก็ตาม แต่เปลี่ยนลักษณะของรูปธรรมให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ คือจะให้รูปธรรมเป็นนามธรรมไม่ได้ หรือจะให้รูปธรรมอย่างนี้ ไปเป็นรูปธรรมอย่างอื่นก็ไม่ได้ รูปธรรมแต่ละอย่างก็จะมีแตกต่างกันออกไปอีก ตอนนี้ยังไม่ขอกล่าวถึงจำนวน เพียงแต่ว่า ค่อยๆ พิจารณาไตร่ตรอง ว่าตลอดชีวิตของเรามีสภาพธรรม ๒ อย่างถูกไหม ที่ว่ามีแต่นามธรรมอย่าง ๑ กับ รูปธรรมอย่าง ๑ มีใครยังคิดว่าไม่เป็นอย่างนี้บ้าง

    ถ. ที่ท่านอาจารย์บอกว่า ธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้ ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม

    . สภาพธรรมใดไม่ใช่สภาพรู้ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เป็นประเภทรูปธรรม

    ถ. เป็นประเภทรูปธรรม อันนี้เป็นประเภทรูปธรรม หรือเปล่า แต่ทางจิตวิทยาที่ว่าเป็นรูปธรรมคือ แตะต้องได้ ในลักษณะใด

    ส. รูปจริงๆ ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไร มีทั้งหมด ๒๘ ชนิด แล้วมีรูปๆ เดียวเท่านั้น ที่ปรากฏให้เห็นได้ เท่ากับ ๑ ใน ๒๘ อีก ๒๗ ชนิด มองไม่เห็นเลย อย่างเสียง มีใครเห็นเสียงบ้าง มองเท่าไรก็ไม่เห็นเสียง แต่เสียงเป็นรูปธรรม เพราะเหตุว่าเสียงไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้ เสียงคิดไม่ได้ เสียงได้ยินไม่ได้ เสียงเกิดขึ้นเพราะ การกระทบกันของวัตถุที่แข็งแล้วเปล่งหรือดังออกมาเป็นเสียงสูงต่ำ นั่นเป็นลักษณะของธาตุ ชนิด ๑ หรือรูปชนิด ๑ ซึ่งมีจริง ที่มีจริง เพราะอะไร ขณะนี้กำลังได้ยินเสียง เสียงกำลังปรากฏ ใครจะปฏิเสธ บอกว่าเสียงไม่มีจริง ไม่ได้ สำหรับคนที่มีโสตปสาทรูป ซึ่งเป็นรูป ที่สามารถกระทบเสียงเท่านั้น กระทบอย่างอื่นไม่ได้เลย นี่ก็เป็นอีกรูป ๑ เพราะฉะนั้น รูปก็ต่างกันไป ไม่ใช่ว่ารูป เป็นสิ่งที่เรามองเห็น แต่หมายความว่ารูปคือสภาพธรรม ที่ไม่สามารถ จะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น แล้วในบรรดารูปทั้งหมด มีรูปๆ เดียวเท่านั้นที่ปรากฏให้เห็นได้ทางตา คือสีสันวัณณะ แสงสว่างหรืออะไรก็ตาม หรือเราจะไม่เรียกอะไรเลยก็ได้ ไม่ต้องเรียก ขณะนี้มี สภาพธรรมกำลังปรากฏ เพียงแต่ให้เข้าใจว่าสิ่งนี้มีจริงๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่มี แล้วก็ปรากฏทางตา นี้คือความหมายของรูปธรรม กลิ่นเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รูปธรรม รสเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม แข็งเป็นรูปธรรม หรือนามธรรม คือทั้งหมด แต่ก่อนเราอยู่ในโลกของความคิดนึกตลอด แต่ตัวสภาพธรรมจริงๆ เราไม่เคยทราบเลย ไม่เคยรู้เลย แต่ที่นี้เรากำลังจะพูดถึงสภาพธรรม ซึ่งมีจริง ซึ่งเป็นต้นตอของทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นปรมัตถธรรม จะมีเพียง ๔ อย่างเท่านั้น แต่ว่า จะย่อลงก่อนเป็น นามธรรมกับรูปธรรม ก่อน เพื่อที่จะให้เห็น ความต่างกันของสภาพ ๒ อย่างนี้ ตอนนี้แข็งเป็นอะไรแน่ แข็งเป็นรูป เย็นๆ เป็นรูป หรือเป็นนาม เมื่อกี้นี้แข็งเป็น รูป ทีนี้เย็น เป็นรูปหรือเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม สภาพรู้แข็งมีไหม ต้องมี ถ้าไม่มีสภาพรู้แข็ง จะบอกว่าแข็งได้อย่างไร เวลาที่เราจะบอกว่าอะไรแข็งหมายความว่าขณะนั้น ต้องมีสภาพที่กำลังรู้ลักษณะที่แข็ง จึงบอกได้ว่าสิ่งนั้นแข็ง สภาพรู้ทั้งหมด เป็นนามธรรม ก็แยกง่าย เพราะฉะนั้น สำหรับสิ่งที่มีชีวิต ที่เราเคยเข้าใจว่าเป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ ก็คือนามธรรมกับรูปธรรม สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาขณะนี้ นี่เป็นรูปธรรม ที่กำลังปรากฏ พอลืมตาก็ปรากฏ คือสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ อย่างเสียงมองไม่เห็น กลิ่นมองไม่เห็น รสมองไม่เห็น เย็นมองไม่เห็น แข็งมองไม่เห็น รูปอื่นที่เหลือก็มองไม่เห็น

    ขณะใดก็ตามซึ่งมีสภาพธรรมใดเกิดขึ้น รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด สภาพรู้เป็นนามธรรม แต่สภาพใดก็ตามที่เกิด แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย แต่เกิดจึงได้ปรากฏ ถ้าไม่เกิดก็ไม่ปรากฏ สภาพนั้นเป็น รูปธรรม ขณะนี้พอกระทบแข็ง แข็งเกิดหรือเปล่า โดยมากทุกคนจะเข้าใจว่า เมื่อกี้มีผู้ตอบว่า มันมีของมันอยู่แล้ว ความจริงไม่ใช่ เลย ไม่ใช่เลย ไม่ เราจำไว้ต่างหากว่ามีอยู่ แต่ว่าตามความเป็นจริง โดยการตรัสรู้ สภาพธรรม ใดก็ตาม ที่ปรากฏสภาพธรรมนั้นต้องเกิดขึ้น จึงปรากฏ ถ้าไม่เกิดขึ้นจะปรากฏไหม ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย จะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรากฏได้ไหม

    เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ใดก็ตามที่ปรากฏ หมายความว่าสภาพธรรม นั้นต้องเกิด เราไม่ต้องไปจำไว้ก่อนว่าโต๊ะนี้มี แต่ขณะใดก็ตามที่กระทบสัมผัสสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยการตรัสรู้จริงๆ ทรงแสดงว่าสภาพธรรมนั้น อาศัยปัจจัยเกิดปรากฏแล้วดับทันที นี้คือความหมายของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเป็นไตรลักษณะ ที่เราเคยได้ยินได้ฟังแต่เล็กแต่น้อย ก็อาจจะเป็นได้ สำหรับบางท่าน ซึ่งติดตามผู้ใหญ่ท่านเข้าวัด แต่เราก็ไม่แจ่มแจ้ง เราก็เข้าใจเผินๆ ว่า อนิจจังก็คือทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง เกิดแล้วก็เปลี่ยนแปลงไป จากเด็กเป็นผู้ใหญ่ จากไม่เจ็บไข้ มาเป็นเจ็บไข้ เกิดแล้วก็ต้องตายไป นี่คือ อนิจจัง แต่ยิ่งกว่านั้นอีก คือทรงตรัสรู้ว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ อาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดแล้วดับทันที เร็วมาก อยู่ตลอดเวลาทุกขณะ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะไม่เห็น ความเป็นอนัตตาว่า ไม่มีสภาพธรรมใดเลยซึ่งเป็นอัตตา เป็นตัวตน หรือเป็นเรา หรือเป็นของเรา เพราะว่าสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรมเกิดแล้วก็ดับ สิ่งที่ดับแล้วดับจริงๆ เมื่อวานนี้ทั้งหมด จะไม่เหลืออยู่สำหรับวันนี้เลย และขณะนี้ ซึ่งเป็นอนาคตของเมื่อวานนี้ เป็นปัจจุบันของวันนี้ เป็นอดีตของพรุ่งนี้ ก็เป็นอย่างนี้ไปทุกขณะ คือ เพียงเกิดขึ้นปรากฏ แล้วก็หมดไป ถ้าไม่มีความประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมด้วยปัญญาจริงๆ ไม่มีอะไรที่จะดับกิเลสได้ โดยไม่มีใดๆ ของนักจิตวิทยา นักปรัชญา หรืออะไรก็ตามแต่ เขาไม่รู้ว่าสภาพธรรม คืออะไร เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย อะไรๆ เพราะฉะนั้น เขาจะแสดงหนทางดับได้อย่างไร แต่ผู้ที่ตรัสรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง รู้หมดทั่ว ถ้าศึกษาแล้ว ยิ่งเห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรานับถือกราบไหว้ในพระปัญญาคุณ โดยยังไม่ได้เรียนเลย กับเวลาที่เราเริ่มค่อยๆ เข้าใจ จะเห็นความต่างกันว่า มากมายมหาศาล จากที่เราเคยคิดว่า เพราะว่าเป็นผู้ที่ไกลจากกิเลส เป็นผู้ที่ไม่มีกิเลส แต่ว่าจะไม่มีกิเลสได้อย่างไร

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567