ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
ตอนที่ ๔๗๘
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕ ๔๒
ท่านอาจารย์ มีแต่สภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับตามเหตุตามปัจจัย ก็ยังยึดมั่นแล้วสำคัญในสภาพธรรมนั้น เหมือนลูกโป่ง ลอยขึ้นไปสูงๆ ในลูกโป่งมีอะไรบ้าง ในนั้นมีอะไร ไม่มี ว่างเปล่า แต่ก็ลอยไปๆ สูงขึ้นๆ
ผู้ฟัง ถ้าใช้การดับด้วยการว่าจะมีคนอื่นที่สำคัญกว่า หรือดีกว่า ก็ไม่ใช่เป็น ...
ท่านอาจารย์ โดยมากเวลาคิดถึงดี ไม่ทราบคุณแก้วคิคถึงดีโดยปรมัตถ์หรือดีอย่างไร ถ้าดีต้องเป็นกุศลธรรม จริงๆ แล้วไม่ใช่อกุศลดี อกุศลสักนิดเดียว น้อยมากเท่าไรก็ไม่ดี อกุศลต้องเป็นอกุศล สิ่งที่ไม่ดีต้องไม่ดี เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงดี คุณแก้วควรจะคิดถึงกุศล ไม่ใช่ไปคิดถึงอย่างอื่น
ผู้ฟัง ตอนแรกก็ไม่ค่อยรู้สึกว่า พยายามจะมาทำก็ทำยาก พยายามจะใช้ลักษณะ เรื่องรูปกับ นาม ก็พอจะใช้ได้
ท่านอาจารย์ ใช้อะไรก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ แต่สามารถจะเข้าใจสภาพที่มีจริงให้ถูกขึ้นได้ แต่ไม่ใช่ใช้หรือทำ ถ้าใช้หรือทำ คือมีความเป็นเรา หรือความเป็นตัวตน ซึ่งจะไม่หมดด้วยการไปใช้ ไปทำ ใช้เท่าไร ทำเท่าไร ก็คือเรา เป็นตัวตนอยู่ เพราะฉะนั้นจะหมดตัวตนไม่ได้
ขณะนี้เอง เป็นขณะที่จะพิสูจน์ได้ว่า เป็นคิด หรือว่า เป็นสติที่เข้าใจสภาพธรรม หรือว่าเป็นสติปัฏฐานที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะต้องรู้ปัญญาของตัวเองเป็น ปัจจัตตัง เป็นสิ่งซึ่งเมื่อได้ศึกษา แล้วอะไรเกิดขึ้นก็ค่อยๆ เข้าใจในสิ่งนั้น
ตอนนี้ว่าอย่างไร คนศึกษาธรรมแล้วก็มีมานะ เพราะว่าถ้าเป็นอย่างนั้น การศึกษาไม่มีประโยชน์ เราต้องรู้เลยว่า เราอุตส่าห์ เรียกว่าอุตส่าห์ สะสมปัจจัยในอดีตมาเนิ่นนาน ๒,๕๐๐ กว่าปีก็ต้องอุตส่าห์มาบ้างที่จะสนใจธรรม แต่ว่าการอุตส่าห์มาของเรา ด้วยเวลาที่ยาวนานแล้วก็จะให้เป็นความสำคัญตนว่าเป็นเรา สมควรไหม เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมที่สำคัญที่สุดก็คือการตั้งจิตไว้ชอบ แต่ไม่ใช่เป็นเราตั้ง การสะสมนั่นเอง ทำให้เราเป็นผู้ที่เข้ามาสู่พระธรรมด้วยความอ่อนน้อม ที่จะเห็นประโยชน์ของพระธรรมว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงตรัสรู้ ไม่ทรงแสดง กิเลสทั้งหลายที่มีอยู่ในเรามากมายมหาศาล ทั้งหยาบ ทั้งกลาง ทั้งละเอียด ไม่มีทางที่จะดับหมดได้เลย เพราะฉะนั้น ด้วยพระปัญญาคุณ พระมหากรุณาคุณ ที่ได้ทรงแสดงธรรม ก็ทำให้เรามีโอกาสได้ยินได้ฟัง แล้วยังจะมาฟังด้วยการพอกพูนมานะความสำคัญตน ถูกหรือผิด สมควรไหม ควรจะเป็นภาชนะที่สะอาดพอสมควรที่จะรองรับพระธรรม เพื่อที่จะได้อบรมเจริญปัญญายิ่งขึ้น ต้องรู้จริงๆ ว่า พระธรรมเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์มาก ไม่ใช่เราจะเอามาประดับตกแต่งให้เราสำคัญขึ้นมา หรือเป็นคนนั้นคนนี้ ด้วยความสำคัญตน แต่ว่าเอามาฟอก เอามาขัดล้าง เอามาชำระสิ่งที่ไม่ดี เพราะว่าถ้าไม่ใช่พระธรรมแล้ว ไม่มีทางออกเลย มานะไม่มีทางออก โลภะไม่มีทางออก อกุศลทั้งหลาย ความเห็นผิดไม่มีทางออก เพราะฉะนั้น ไหนๆ ก็สะสมมาจนกระทั่งสามารถจะได้ยินได้ฟังปรมัตถธรรม ก็ควรจะเป็นผู้ที่เข้าใจให้ถูกต้องว่า การถึงธรรม การเข้าใจธรรม ต้องเป็นผู้ที่ละ หรือว่ามีความอ่อนน้อมจริงๆ มีความอดทนมากกว่าคนที่เขาไม่ได้ศึกษา ถ้าคนที่เขาไม่ได้ศึกษา เขาจะมีกายวาจาซึ่งเป็นไปตามกำลังของกิเลสทันที ลืมคิดถึงพระธรรม ลืมคิดถึงพระรัตนตรัย แต่ถ้าคนที่ศึกษาแล้วก็จะ มีหิริ มีโอตตัปปะ ซึ่งขณะใดที่กุศลจิตเกิด มีหิริโอตตัปปะ แต่เราไม่มีทางที่เราจะไปรู้เลย มีทั้งสติ มีทั้งศรัทธา มีโสภณเจตสิกหลายอย่าง แต่ว่าเราไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรม ไม่ใช่เรา
การศึกษาจริงๆ ถ้าศึกษาเพื่อประโยชน์ เพื่อละอกุศล เพื่ออบรมเจริญปัญญา ที่จะสามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ต้องเป็นผู้ที่ขัดเกลาด้วย วันนี้เราอาจจะมีมานะมาก พรุ่งนี้ลดสักนิดหนึ่ง หายไปหน่อยหนึ่ง เพราะระลึกขึ้นมาได้ ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้ววันละนิดๆ ๆ พร้อมกับปัญญาที่ศึกษาแล้วเข้าใจขึ้น เราก็จะเป็นคนที่ไม่ใช่ศึกษาเปล่า แล้วก็ไม่ขัดเกลา แล้วก็พอกพูนความเป็นตัวตน หรือความสำคัญตน
เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินคนอื่นพูดอะไร โกรธเขาหรือเปล่า หรือว่าเขาชี้ขุมทรัพย์ให้ ถ้าเราเป็นอย่างนั้น ถ้าเราไม่เป็นอย่างนั้น ก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องไปโกรธ นอกจากว่าเขาอาจจะเข้าใจผิดก็ได้ เพราะอะไร เพราะเขาพูดคลุมหมดเลย ซึ่งแต่ละคนก็เป็นแต่ละคนจริงๆ จะเปลี่ยนแปลง จะแลกเปลี่ยนอะไรกันไม่ได้เลย ตามการสะสมของจิตแต่ละ ๑ ขณะ เพราะฉะนั้น เราก็เป็นผู้ที่เก็บส่วนดีทั้งหมดจากสิ่งที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วก็เป็นผู้ที่เห็นว่าการศึกษาเพื่อละ ไม่ใช่เพื่อได้อะไรทั้งสิ้น
ผู้ฟัง เราจะ improve อย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็ฟังให้เข้าใจ
ผู้ฟัง Improve อย่างไร จากขั้นนึกคิด สามารถจะเห็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เริ่มเห็นโทษ มานะไม่ดี อย่าคิดว่ามานะดี ธรรม พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงเลยว่าใครคนหนึ่งคนใด ทรงแสดงธรรมจริงๆ ธรรมล้วนๆ แม้แต่มีผู้ที่พูดผิด ทำผิด ท่านกล่าวว่ามีผู้ที่พูดผิด ทำผิด แต่ไม่บอกว่าเป็นใคร ไม่กล่าวเจาะจงเลย เพราะฉะนั้น เวลาที่จะพูดเรื่องหนึ่งเรื่องใด โดยที่ไม่พูดถึงปรมัตถธรรม จะสับสน แม้แต่คำที่ใช้ในพระสูตร บางทีเราก็เดาเอาเอง คิดเอาเอง แปลกันเอาเองว่า แค่นี้ หมายความว่า พอใจในสิ่งที่มี แต่ว่าโดยปรมัตถธรรม ขณะที่พอใจ เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลต้องตรง แม้ในสิ่งที่มี ขณะที่พอใจในสิ่งที่เรามีในของเรา ขณะที่พอใจเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เข้าใจว่าโลภะมากกว่า
ท่านอาจารย์ เป็นโลภะแน่นอน ติดข้อง เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะเข้าใจความหมายที่ทรงแสดงไว้ในศัพท์ว่า สันโดษ เราก็ต้องเข้าใจลึกไปกว่านั้นอีกว่า การที่ขณะใดก็ตามที่เราพอใจในสิ่งที่เรามี แล้วก็เราเกิดหิริโอตตัปปะที่จะไม่ไปทำทุจริตกรรม เอาสิ่งของซึ่งไม่ใช่ของเรา แต่ขณะที่พอใจเป็นโลภะ แต่ขณะที่มีความพอใจเพียงในของของเรา ที่จะไม่ไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน หรือไม่กระทำทุจริต ขณะนั้นก็เป็นกุศล เนื่องจากความพอใจในสิ่งที่เรามี ไม่มีความพอใจเกินกว่านั้นในสิ่งของๆ คนอื่น เพราะฉะนั้น พระสูตรจะแสดงโดยที่ไม่เจาะจง แต่ว่าถ้าพระอภิธรรมจะต้องเจาะจงถึงสภาพของจิตแต่ละขณะด้วย ถ้าเขาไม่เข้าใจ แล้วเราก็อดทน พยายามให้เขาเข้าใจมีความหวังดี อย่างนั้นเป็นอดทนหรือเปล่า
ผู้ฟัง อย่างนี้เป็น
ท่านอาจารย์ ก็อดทนอีก เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้สภาพของจิตว่าอดทนเมื่อไร อดทนอย่างไร เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล จะใช้คำเดียวตอบว่า อดทนเป็นกุศล หรือ เป็นอกุศลไม่ได้ แล้วแต่สภาพจิต
ผู้ฟัง เรื่องสภาพธรรม อย่างเช่น ชินเห็นคนอื่นคือโลภะชัดๆ เลย
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เลย
ผู้ฟัง คือมันเป็นโลภะของเรา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คุณชินอ่านหนังสือไหม มีโลภะ โทสะ ของคนที่คุณชินกำลังอ่านไหม เวลาที่เห็นคุณขวัญ เหมือนเห็นหนังสือไหม
ผู้ฟัง ไม่เหมือนกัน เพราะเหตุว่า นึกคิด มันมาถึงนึกคิดเลย
ท่านอาจารย์ ถ้าคุณชินเห็น ก.ไก่ นึกถึง ก.ไก่ แต่ไม่ใช่ ก.ไก่ แต่เป็นอย่างนี้ แล้วก็มีอย่างนี้ แล้วก็อย่างนี้ แล้วก็มีหู ๒ ข้าง ไม่นึกถึง ก. ไก่ ไม่นึกถึงตัวไก่ แต่นึกถึงอะไร นึกถึงคน มีตา ๒ ข้าง มีจมูก มีปาก มีหู ๒ ข้าง หรือ จะเป็นสัตว์ หรืออะไรก็ได้ เพราะฉะนั้น การเห็นไม่ได้ต่างเลย ถ้าเข้าใจปรมัตถธรรม ถ้าเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง จะเห็นหนังสือหรือจะเห็นอะไรก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น คุณชินจะบอกว่าไม่ได้อ่านหนังสือ แต่อ่านหนังสือธรรม แต่คุณชินยังเห็นคุณขวัญ ยังเห็นคนโน้น คนนี้ เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าเห็นสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็นึกถึงรูปร่างสัณฐาน แล้วก็แปล หรือว่าเข้าใจความหมายของสิ่งนั้นว่าเป็นอะไร เพราะฉะนั้น จะไปเห็นโลภะของคนอื่นได้ไหม เห็นโลภะของคุณขวัญ เห็นได้ไหม ไม่ได้
ผู้ฟัง มันเป็นโลภะ นึกคิดของเรา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจจริงๆ สภาพธรรมเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ค่อยๆ ศึกษาค่อยๆ เข้าใจ แล้วเป็นผู้ตรง ข้อสำคัญที่สุด ประโยชน์ของธรรม คือเป็นผู้ตรง อุชุปฏิปันโน ถ้าไม่เป็นผู้ตรงไม่มีทางที่จะรู้ธรรม ธรรมไม่ได้บิดเบี้ยว ธรรมเป็นอย่างนี้ แต่ความเข้าใจความคิดของเราวิปลาสคลาดเคลื่อนบิดเบี้ยวไป เพราะฉะนั้น เราจึงไม่พบธรรมเราจึงไม่เข้าใจธรรม แต่ถ้าเราเป็นผู้ตรง แล้วก็เข้าใจจริงๆ ไม่บิดเบือน ขณะนั้นมีโอกาสที่จะค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น ถ้าเราศึกษาธรรม แล้วเราไม่เห็นถูก หรือไม่พื่อควาเห็นถูก เราก็จะศึกษาทำไม ไม่มีประโยชน์เลย ในเมื่อธรรมก็ปรากฏแล้วก็เป็นธรรม แล้วเราก็พยายามที่จะไป ให้เข้าใจให้ตรง หรือคิดว่าการศึกษาของเราไม่ใช่เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม การศึกษาของเราก็ไร้ประโยชน์
ผู้ฟัง อย่างนี้เราก็ อย่างไร เพียงแค่ศึกษา เพราะว่า เราก็อยู่ในขั้นนึกคิดอยู่ดี
ท่านอาจารย์ ดีกว่าไม่ได้ศึกษา
ผู้ฟัง เหมือนคล้ายๆ เดี๋ยวนี้เราศึกษา
ท่านอาจารย์ ดีกว่าไม่ได้ศึกษาไหม ตอนที่ไม่ได้ศึกษา กับ ตอนที่ศึกษาแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็ดีกว่าตอนที่ไม่ได้ศึกษา คือมีความเข้าใจขึ้นมาทีละเล็กทีละน้อย ต้องใช้คำว่าทีละเล็กทีละน้อย
ผู้ฟัง ดีกว่า เพราะว่า สามารถซอยเป็นชนิด
ท่านอาจารย์ สามารถจะเข้าใจสภาพธรรมได้ทีละเล็กทีละน้อยเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เราไปซอย
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ชินมีความรู้สึกว่า เหมือนว่า แต่ก่อนเราพูดภาษาไทยได้เดี๋ยวนี้เรา มาเรียก ก.ไก่ ข. ไข่ เพื่อมารู้ คำนี้คือสะกดเป็นอย่างนี้ๆ ก็คือเดียวนี้มีความรู้สึกว่าแต่ก่อนเรา เห็นเป็น
ท่านอาจารย์ จะพยายาม จะใช้วิธีที่คุณชินเคยชิน วิเคราะห์ วิจารณ์
ผู้ฟัง แล้วก็มา analize แล้วก็มาป็นสภาพนี้
ท่านอาจารย์ นี่แหละ คุณชินทั้งหมดเลย
ผู้ฟัง แล้วนั้นก็คือทั้งหมด นึกคิด
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง เราออกจากนึกคิดนั้น อย่างไร
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่อย่างไร ค่อยๆ ฟังเข้าใจขึ้น ความเข้าใจไม่ใช่คุณชิน ความเข้าใจมีจริงๆ เป็นความห็นที่ถูกต้องในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ขณะที่พิจารณาเข้าใจว่า นี้เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง เป็นอย่างนี้ทุกวันๆ ๆ จนกว่าจะฟังละเอียด แล้วก็เข้าใจจริงๆ ว่าความเข้าใจคืออย่างไร แล้วค่อยๆ ละความไม่เข้าใจอย่างไร
ผู้ฟัง สมมติเรารู้ว่าขั้นนึกคิด มีสติ นึกคิดที่ว่า เป็นอย่างนี้ๆ สุดท้ายเราก็รู้ว่า ตัณหาที่จะออกกิริยาวาจาออกมา หลังจากนั้น บางครั้งมันตัณหาแรงมาก เราก็รู้ว่ามันแรง เราก็ ความอยากที่จะให้ออก ก็ให้ออกเลย ชินก็คิดว่าตกลงออกเลยไม่สนใจ นั่นขณะนั้น คือ
ท่านอาจารย์ ก็เป็นคุณชินที่รู้ ไม่แคล้วคลาด ไม่หมดไปเลย ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นจิต เจตสิก
ผู้ฟัง อย่างนั้นคือไม่ต่างจากคนที่เรียนธรรม เพราะว่าเขาก็รู้ว่า
ท่านอาจารย์ ต่างกัน อย่างน้อยขณะฟังเขาไม่ได้ฟังอย่างนี้ ที่จะค่อยๆ เป็นหนทาง ที่จะเข้าใจขึ้น ถ้าไม่มีการฟัง ไม่มีการพิจารณาโดยละเอียด ไม่ใช่หนทางที่จะเข้าใจขึ้นเลย แต่นี่ทั้งๆ ที่เรารู้เรื่องจิต เรื่องเจตสิก เราต้องฟังอย่างละเอียด เพื่อที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ตรงขึ้น ละความไม่รู้ไปทีละเล็กทีละน้อย ขั้นการฟังยังอย่างนี้ แล้วขั้นการที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ไม่ใช่หนทางอื่น ใครหวังว่าจะทำอย่างอื่น เพื่อที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะเหตุว่า ต้องเป็นปัญญา แล้วปัญญาจะมีได้ต้องอบรม ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็เกิดได้ แล้วต้องอดทน ทีนี้จะเริ่มเข้าใจความหมายของอดทนอีกอย่างหนึ่ง วันนี้ก็มีคำตอบคำหนึ่ง คุณชินไม่ได้เห็นโลภะของคุณขวัญ ใช่ไหม เวลาเห็น
ผู้ฟัง เห็นโลภะของคุณขวัญ ใช่ คือจริงๆ มันเป็นของตัวเอง
ท่านอาจารย์ เห็นสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็คิด ถ้าทุกคนจะเข้าใจให้ถูกต้อง ทุกคนอยู่คนเดียว แล้วก็อยู่กับความคิดมหาศาลมากมายสืบต่อไม่มีวันหยุด ทางตาปรากฏนิดเดียว คิดยาว ทางหูก็ปรากฏหน่อยหนึ่ง ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายปรากฏ แล้วก็ดับไปเลย แต่ความคิดจำไว้ แล้วก็ไม่ลืม แล้วยังปรุงแต่ง แล้วก็ยังเป็นเรื่องเป็นราว นี้เป็นสิ่งที่ปิดบังไม่ให้เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า แท้ที่จริงแล้ว สภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ใช่เรื่องราวเป็นสิ่งที่มีจริงปรากฏสั้นมากแล้วดับ
ผู้ฟัง อย่างนั้น ความหมายคือ สุดท้ายเราจะเรียนถึงที่ว่ามโนทวารจะน้อย การความคิดนึกน้อยลงใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อันนั้นก็เป็นเรื่อง แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า เพียงแต่ความหมายว่า เราอยู่คนเดียว แล้วจริงๆ ก็ไม่ใช่เราด้วย เป็นจิตชั่วขณะที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วดับ เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราคิดว่ามีมากมาย แท้ที่จริงทางตา ๑ ขณะ ไม่ได้มีอะไรมากมายเลย มีเพียงสิ่งที่ปรากฏดับแล้วทางหู เป็นเรื่องเป็นราวคนโน้น คนนี้มากมายตั้งแต่ฟังมา แต่แท้ที่จริงก็ชั่วขณะที่จิตได้ยินเสียงแล้วดับ แล้วก็คิด เพราะฉะนั้น ก็จะได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่าแท้ที่จริง เราอยู่ที่ไหน เราก็คือสภาพธรรมซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วดับ แต่ด้วยความไม่รู้ในความเกิดขึ้น ในความดับไป จึงเป็นเราทุกชาติ ตลอดชาตินี้ด้วยไม่หมด จนกว่าเราจะค่อยๆ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ เข้าใจขึ้น แล้วก็สติค่อยๆ ระลึก แล้วก็รู้ลักษณะของสภาพธรรม จนกว่าจะหมดความเป็นเรา ซึ่งเป็นทิฏฐิเจตสิก
ผู้ฟัง ชินมีความรู้สึกว่า ความเข้าใจนั้น ก็ยังไม่เข้าใจถึงจรดกระดูกตามที่อาจารย์พูด
ท่านอาจารย์ ก็ต้องฟังไปอีก นี้เป็นเหตุที่คุณชินมาบ่อยๆ มาเรื่อยๆ ถามเรื่อยๆ ฟังเรื่อยๆ เพื่อที่จะเข้าใจขึ้น แม้ความเข้าใจก็ไม่ง่าย เพราะฉะนั้น การที่สภาพธรรมขณะนี้เป็นอย่างนี้ แล้วจะประจักษ์จริงๆ อย่างนี้ ต้องอาศัยความอดทน ต้องอาศัยกาลเวลา สำคัญที่สุดคือ กาลเวลา ไม่มีใครที่เพียงรู้ลักษณะของนามธรรม รูปธรรม แล้วไม่พิจารณาให้ละเอียดยิ่งขึ้น จนทั่ว จะละความเป็นเราได้ เราเห็น เราได้ยิน เราคิด เรารู้เรื่องนั้น เรากำลังเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น เราตลอดวัน แต่ว่ากว่าสภาพธรรมจะปรากฏโดยสติระลึก แล้วลักษณะนั้นก็เป็นธรรม แต่ความรู้ไม่มากพอที่จะเห็นว่าเป็นธรรม
ผู้ฟัง อย่างเช่นอาจารย์ เมื่อกี้นี้เกิดขึ้นที่พี่อุไรเข้ามา ชินก็เห็น หลังจากนั้นชินก็รู้ว่า เขากำลังนึกคิดว่า นี้คือพี่อุไร นั้นคือมันเร็วมาก
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องหมดเลย ก็อยู่กับคิดไง ตลอดชาติ อยู่กับความคิดว่า มีเรา แล้วก็มีคนอื่น ทางตาแค่เห็นก็เดินเข้ามาแล้ว เป็นคนนั้น
ผู้ฟัง อย่างนั้นที่รู้ รู้จริงๆ ของรู้นี้ กับรู้ที่เรารู้หยาบๆ นั้น ก็ไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ต้องอบรมจนกว่าจะรู้จริง รู้ละเอียด จนถึงประจักษ์แจ้ง พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนตื้นๆ แค่นี้ แล้วก็หมดกิเลสกันไปหมด เป็นไปไม่ได้ ลึกลงไปอีก ละเอียดลงไปอีก ปัญญาสามารถจะเจริญ จนคมกล้าจนสามารถที่จะประจักษ์แจ้งจริงๆ ตามลำดับ กว่าที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ๔ นี่ขั้นสัจจญาณที่จะต้องอบรมจนกระทั่งมีความมั่นคงจริงๆ ว่า การที่จะรู้ ก็คือรู้สภาพธรรมเดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏสั้นๆ อย่างนี้
ผู้ฟัง พูดถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏที่กาย เช่น ความไหว อาจารย์กรุณาอธิบาย ความไหวที่จะไม่ใช่เป็นสภาพนึกคิดด้วย
ท่านอาจารย์ โดยมากคนจะเอาตัวอย่าง แต่เวลาที่ไหวปรากฏไม่รู้ แล้วก็มาถามตอนที่ไหวไม่มี หรือว่าไหวไม่ได้ปรากฏว่าไหวเป็นอย่างไร สภาพนั้นเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ การศึกษาธรรมต้องไม่ลืมอย่างที่เรากล่าวแล้วตั้งแต่ต้นว่า หมายความว่าศึกษาให้เข้าใจสภาพที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่ว่าไม่เคยรู้ เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจขึ้น ที่เคยเป็นเรา ก็คือสภาพนามธรรม ไม่มีรูปร่างลักษณะใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นธาตุชนิดหนึ่งหนึ่ง คือ เป็นธาตุรู้ ซึ่งเกิดแล้วก็ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ อันนี้อย่างหนึ่ง มีประจำตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เคยขาดเลย แล้วรูปธรรม ก็มีลักษณะที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วทางใจ ก็รับรู้ต่อ เพราะฉะนั้น ทางใจรู้รูปอะไร ก็คือรู้รูปที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายนั่นเอง เวลาไหวไม่ปรากฏ จะไปหาไหวมารู้สักเท่าไรก็ไม่ได้ แต่เวลาไหวปรากฏก็ระลึกได้ว่านั่น คือ ลักษณะไหว ทีนี้ก็ตรงแล้ว ไม่ต้องไปถามว่าเมื่อไร ตอนไหน เวลาที่ทางตาเห็น สติเกิด แล้วก็ทางหูได้ยิน สติก็เกิด สามารถที่จะต่อกันไปหมดได้ไหม
ผู้ฟัง อันนี้ก็เกิดได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นคิดนึกก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าทางมโนทวารจะน้อยกว่าทางปัญจทวาร
ผู้ฟัง แต่ถ้าถึงแม้เราจะคิดในเรื่องของสภาพธรรม แทนที่
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นคำพูด แต่สติระลึกได้ ถ้าโดยทั่ว ความคิดที่เป็นเรื่องราวก็ต้องน้อยลง มาถึงแค่นี้ก็ดี ก็อย่าท้อถอย ก็ต้องต่อไปอีกในทางที่ถูก
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ช่วยอธิบาย อย่างเช่นว่าลึกๆ ลงไป นี้เป็นเรื่องราว อย่างพระพุทธเจ้า ชวนะกี่ขณะจิต จึงจะ
ท่านอาจารย์ ไม่มีประโยชน์เลย และเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันนี้เราไม่ได้ไปรู้ขณะจิตที่จะนับ แต่หมายความว่าขณะนี้ มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏแน่นอน แล้วก็ไม่เคยเข้าใจถูก ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นว่าเป็นแต่เพียงสภาพที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใดแต่ละทาง เช่น เสียง ไม่ปรากฏทางตา ปรากฏทางหู สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ก็ไม่ไปปรากฏทางหู เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่มีจริงๆ ในแต่ละวัน ในสังสารวัฏฏ์ ก็คือเท่านี้แหละ คือสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏทางตา แล้วก็ไม่เที่ยง สิ่งที่ปรากฏทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แล้วก็ ความคิดนึก เพราะฉะนั้น เราก็วนเวียนอยู่กับสิ่งต่างๆ เหล่านี้โดยไม่รู้ความจริงว่า เป็นแต่เพียงสิ่งที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น การที่เราจะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ โดยการฟัง โดยการไตร่ตรอง ว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่คนไม่ใช่สิ่งใดๆ ถ้าเป็นสิ่งที่ปรากฏ ก็มีจริงๆ แล้วกำลังปรากฏเท่านั้นเอง แต่ความคิดนึกที่ปรุงแต่ง ที่เคยกระทบเคยสัมผัส เคยจำ เคยรู้เรื่องรู้ราว ก็ทำให้มีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า มีคนในสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ก็ขั้นฟังก็ต้องไถ่ถอนออกไปนิดหนึ่งว่า ความเข้าใจของเรา ตรงไหม ที่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่มีอะไรในนั้นเลย เหมือนส่องกระจก มีทุกอย่างในกระจก ใช่ไหม มีเราเสียด้วยซ้ำไป ที่กำลังนั่งอยู่หน้ากระจก มีโต๊ะมีตู้อะไรที่อยู่ในกระจกหมด แต่กระทบสัมผัสแข็ง ไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้น สภาพธรรมในขณะนี้ ก็เป็นความคิดนึกของเราทั้งหมดว่ามีคนมีสัตว์ แต่สิ่งที่มีจริงๆ เป็นปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องเรียกชื่อก็มี อย่างทางตาที่กำลังเห็น ต้องมี ความเห็นถูก เห็นตรงว่าเป็นชั่วขณะหนึ่งที่สิ่งนี้กระทบจักขุปสาท จึงปรากฏ เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ แต่ว่าความทรงจำ ความนึกคิด ปรุงแต่ง มีคนตลอดเวลา หรือว่ามีเราที่กำลังเห็นตลอดเวลา
ผู้ฟัง สติที่จะไประลึกให้ทัน ไม่มีสิทธิเลย
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องทัน เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
ผู้ฟัง พอมันนึกไป บั๊ป มันก็เปลี่ยนไปแล้ว ขณะจิตมันก็เปลี่ยนไปแล้ว
ท่านอาจารย์ แต่รู้ได้ ค่อยๆ รู้ได้
ผู้ฟัง วิถีจิตมันก็เปลี่ยนไปแล้ว
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นไร ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจว่า ความจริงเป็นอย่างนี้ แม้แต่กำลังนั่งเดี๋ยวนี้ ถ้าเราน้อมไป เข้าใจมันหน่อยว่าจริง เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องคิดนึกตลอด เราก็จะค่อยๆ ไถ่ถอนความเห็นว่ามีคนที่เที่ยง ที่อยู่ตลอดเวลา แต่ว่าสิ่งใดก็ตาม ความจริงแท้ๆ คือเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว สภาพธรรมที่ทรงแสดงเป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ปรากฏชั่วเห็น จริงไหม เพียงไม่เห็น ไม่มีเลย ไหนคน ไหนสัตว์ ไหนสิ่งต่างๆ ถ้าไม่คิดก็ไม่มี เพราะฉะนั้น มีเมื่อคิดเท่านั้นเอง แล้วก็เป็นเรื่องที่คิดเอาด้วย ในเมื่อสิ่งนั้นไม่ได้มี แต่คิดจำไว้ว่ามี นี้คือความเห็นผิดว่า มีสิ่งที่เที่ยง มีสิ่งที่เป็นตัวตน เพราะไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480