ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๔๒

    สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ นี่คือการที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกัน ของนามธรรม และรูปธรรม อย่าไปพยายามคิดว่าทำอย่างไร ถึงจะไม่เห็นเป็นคุณวรรณี แต่ให้เจริญปัญญาที่จะเข้าใจ ลักษณะของนามธรรมที่เห็น ที่เป็นธาตุรู้ แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจที่ตัดตอนให้ไม่เป็นคุณวรรณี แต่ว่าความรู้จะเจริญไปเรื่อยๆ ทุกทางทั้ง ๖ ทาง แม้แต่ที่รู้ว่าเป็นคุณวรรณีก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง มิฉะนั้นแล้วเราก็ไม่สามารถที่จะรู้ ปรมัตถสัจจะ กับสมมติสัจจะ ถ้าเราทำอย่างนั้น แต่ถ้าตามปกติธรรมดา เวลาที่ปัญญาเจริญแล้ว ก็จะรู้ว่าขณะไหนเป็นปรมัตถ และขณะไหนเป็นสมมติ หรือว่าเป็นความคิดนึกเพื่อที่จะได้รู้ความจริงว่า แม้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางตาก็จริง แต่เราอยู่ในโลกของความคิดนึกตลอด สิ่งที่ปรากฏทางตา สั้นมาก เหมือนกับเสียงที่ปรากฏทางหู สั้นมาก มีอายุเท่ากัน ๑๗ ขณะจิต กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทุกอย่างที่เป็น รูป จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะเท่านั้นเอง แต่เราจะสามารถรู้ได้ ว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เป็นอย่างนั้นจริงๆ คือ สั้นแสนสั้น เพราะว่าความคิดติดตามมารวดเร็วว่าเป็นคุณวรรณี เป็นคนนั้น เป็นคนนี้ เพราะฉะนั้น จึงรู้ได้ว่า สมมติสัจจะคือ ทางใจที่คิดนึก ไม่ใช้เพียงทางตาที่เห็น เพราะว่าเพียงเห็น จะอยู่ที่สภาพธรรม ที่ปรากฏ ไม่เป็นอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่เพียง สิ่งที่ปรากฏจริงๆ

    ผู้ฟัง เมื่อกี้นี้ท่านอาจารย์บอกว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เรารู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงว่า ก่อนที่จะเป็นวรรณี มีสภาพธรรม ตามความเป็นจริง คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา กับสภาพรู้ ซึ่งเป็น นามธรรมหรือรูปธรรม ในขณะจิต เจตสิก รูป จริงๆ แล้วสติปัฏฐาน จะเกิดก่อนที่เป็นวรรณีไม่มี มีแต่ว่าเรารู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงว่าขั้นตอนเขาเป็นอย่างนี้ ใช่ไหม ที่เป็นปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ เราไม่สามารถที่จะ กะเกณฑ์สติ ให้เกิดก่อน หรือหลัง อะไรทั้งนั้น เพราะเหตุว่าขณะนี้มีสภาพธรรมจริงๆ แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน คือเมื่อได้ฟังแล้วเข้าใจจริงๆ จนกระทั่งเป็นฐานหรือว่าเป็นพื้น ที่จะทำให้มีการระลึก คือสัมมาสติเกิดได้ เพราะว่าเวลานี้ อย่างที่ว่า ฟังเรื่องสติก็แล้ว ฟังเรื่องเห็นก็แล้ว ฟังเรื่องรูปก็แล้ว ฟังเรื่องนามก็แล้ว ไม่ทราบว่ามีสัมมาสติเกิดขึ้นในขณะไหน สำหรับใครบ้าง แต่ว่าขณะนี้เอง ถ้าใครที่สะสมเหตุปัจจัยมาพอ ก็อาจจะเป็นถึงพระอรหันต์ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าทั้งหมด สภาพธรรม ก็คือสภาพธรรม ที่ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่อบรมเจริญปัญญาให้รู้ได้ ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะถึงความสมบูรณ์ และปัญญาที่ถึงความสมบูรณ์ก็ไม่ใช่ ปัญญาอื่น ไม่ใช่รู้อย่างอื่น รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ นี้แหละ จนกระทั่งละคลายการยึดถือ สภาพธรรม ว่าเป็นเราเพราะเหตุว่า เป็นลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมเท่านั้น

    ขั้นแรกอย่างที่ว่าไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องโลภะ โทสะ อะไรเลย ตราบใดที่ยังเป็นเราอยู่ก็ไม่มีทางที่จะไปถึงไหน ที่จะให้หมดโลภะ โทสะ ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ารู้ว่ามีสภาพธรรม แล้วไม่รู้ ก็เป็นทางที่จะทำให้เราเจริญความรู้ แทนที่จะไปสนใจว่า โลภะ เราจะน้อยไปไหม โทสะ เราจะมากไปไหม ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยแต่ว่าความไม่รู้มีอยู่ ในขณะที่กำลังเห็น ความไม่รู้มีอยู่ ในขณะที่กำลังได้ยิน

    เราก็ทราบได้ว่าความต่างกันของคนที่มีกิเลส กับคนที่เป็นพระอริยบุคคลค่อยๆ ต่างกันจนกระทั่งต่างกันลิบ เหมือนฟ้ากับดิน เช่น พระอรหันต์ ท่านก็เห็น ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วไม่มีทางเลย ซึ่งใครจะให้เป็นโลภะ โทสะ โมหะ หรือกุศล แต่ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ก็ไม่มีทางเลยที่ใครจะยับยั้งว่า หลังจากที่จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ดับไปแล้ว จะไม่ให้เป็นโลภะ ไม่มีใครยับยั้งได้ เพราะเหตุว่าถ้าขณะใดไม่เป็นโทสะ ไม่เป็นโมหะ ไม่เป็นกุศล ก็จะต้องเป็นโลภะ เพราะฉะนั้น มีโลภะที่เราไม่รู้ แล้วเราก็อาจจะคิดว่าตั้งแต่เช้ามา โลภะ เกิดตอนรับประทานอาหาร อร่อยบ้าง หรืออะไรบ้าง แต่ความจริง เพียงลืมตาตื่น แล้วก็ไม่มีความรู้ในลักษณะของสภาพธรรมก็เป็น อกุศลแล้ว ประเภทหนึ่งประเภทใด ไม่เป็นโทสะ ก็เป็นโมหะ เป็นโลภะ

    เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้จริงๆ ว่าอยู่ที่ปัญญา แล้วปัญญาก็ไม่ใช่รู้อื่น เราจะไปพยายามรู้อื่น คิดอื่นไม่ได้ ในเมื่อขณะนี้ สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ที่เราใช้คำว่า เร็วมาก ก็คือว่าเร็วจนกระทั่งเราจับไม่ได้ว่า ขณะนี้สภาพธรรม กำลังเกิดดับแต่ถ้าค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา แล้วก็รู้จริงๆ ว่าสภาพธรรม ที่ดับ ไม่ต้องไปสนใจ เมื่อกี้นี้จะเป็นโลภะ เมื่อกี้นี้จะเป็นโทสะก็ดับแล้ว ถ้าไปสนใจถึงสิ่งที่ดับไปแล้ว สติปัฏฐาน ก็ไม่เกิด คือไม่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะเกิดต่อจากเมื่อกี้นี้ เพราะว่ามัวไปนั่งคิดถึงเมื่อกี้นี้โทสะมาก วันก่อนนั้นโทสะมาก เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานก็ไม่เกิด แต่ถ้ารู้จริงๆ ว่าสภาพธรรม แต่ละขณะ สิ่งไหนที่เกิดปรากฏหมดไปแล้ว ก็หมดไป ก็ระลึกลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เบาสบายแล้วก็ง่ายด้วย คือไม่ต้องไปกังวลอะไรหมดทั้งสิ้น สิ่งที่มีในขณะนี้เท่านั้นจะทำให้ประจักษ์ว่าเกิดขึ้น และดับไป สิ่งที่ดับไปกลัว ไม่มีทางที่ใครจะไปตามรู้ว่า เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม ถ้าคิดถึง นึกถึงเมื่อกี้นี้ คิดอะไรก็ไม่ใช่สติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ถ้ารู้ว่าสภาพธรรม เกิดดับเร็วมาก เราจะเบาใจ ไม่กังวลถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้วเลยสักอย่าง ขณะนี้อะไรกำลังปรากฏ พยายามที่จะรู้ ให้เข้าใจจริงๆ ว่า นามธรรม ที่ได้ยินมานานหนักหนา คือขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เอง ซึ่งเป็นสภาพรู้ มีหน้าที่ที่จะศึกษาลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมในขณะที่กำลังเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ขณะนี้จริงๆ ต้องเป็นขณะนี้

    ผู้ฟัง บางครั้ง ที่หนูเองก็อยากจะเจริญกุศล มากพอที่จะเป็นตัวอย่างให้กับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นคนในบ้าน ลูก แม่บ้าน หรือเด็ก ที่ทำงานที่บริษัท หรือว่าคนทั่วไป เพื่อนฝูง อะไร อย่างนี้ คือเราก็พยายามที่จะเป็นคนดี

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าโลภะมีทุกอย่างเป็นอารมณ์ได้ เว้นโลกุตตระ อยากดีก็เป็นโลภะ

    ผู้ฟัง อยากดีก็เป็นโลภะ

    ท่านอาจารย์ ดี กับอยากดี ไม่เหมือนกัน ขณะไหนที่ดี กับขณะที่อยากดี คนละขณะ

    ผู้ฟัง ก็ขณะที่อยาก ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ดี ขณะที่อยากยังไม่ดี

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อปัญญายังเจริญไม่เต็มที่ก็ เราก็ยังทำอะไรไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เรื่องธรรมดาที่ต้องรู้ความจริง จะเปลี่ยนเราไม่ได้ ให้เป็นอีกคนหนึ่งแล้วไปเจริญสติปัฏฐาน ใสแจ๋ว ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะเลย นี้ไม่ได้ ตัวจริงคืออย่างนี้ สภาพสัจธรรม ความเป็นจริงคืออย่างนี้ ปัญญานั่นเองจะค่อยๆ ขัดเกลาขึ้น จนกระทั่งเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล ไม่ใช่ว่า เปลี่ยนจากคนที่ไม่มีกิเลสแล้ว ไปเป็นอะไร ตัวจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น

    วิทยากร. ขออนุญาตคุณแอ๊ว น่าที่จะพิจารณาอีกอย่างก็คือ เริ่มรู้สึกตัวแล้ว ระหว่างกุศล กับ อกุศลมันแตกต่าง ความผ่องใส ควาหงุดหงิด ความรำคาญใจ อะไรต่ออะไร เราเริ่มรู้

    ผู้ฟัง หนูจะพูดอย่างไร บางครั้งหนูนั่งที่ระเบียงข้างบน หนูก็นั่งพิจารณาทุกครั้งที่เรามีโอกาสอยู่คนเดียว วันนี้เราทำอะไรไปแล้วบ้าง อะไรที่ดี อะไรที่ไม่ดี สิ่งไหนที่ดี ดีอย่างไร แล้วที่ไม่ดี ไม่ดีอย่างไร แล้วเราจะละอย่างไร ขณะนั้น บางครั้งกุศลก็เกิด แต่บางครั้ง อกุศลก็เพิ่มมากยิ่งขึ้น ที่จริงแล้ว อกุศลเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่เราควรจะละ เพราะเราศึกษาธรรมแล้ว ถ้าเรามัวแต่นั่งคิดถึง ว่าจะเริ่มทำความดีอย่างเดียว ไม่ได้เริ่มต้นที่จะทำ คือหมายความว่า ละ อกุศล หนูก็ยังคิดว่าเรายังย่ำต๊อกเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

    ท่านอาจารย์ แต่ตอนที่คุณแอ๊ว พูดว่าคุณแอ๊ว พิจารณานั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าเป็นสติที่ระลึก แทนที่คุณแอ๊ว จะคิดเรื่องอื่นว่า จะไปทำโน่น นี่ ก็มานั่งพิจารณาถึงสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว ขณะนั้นก็ป็นสติที่จะดูความจริงว่า จริงแล้วก็คือว่ามีทั้งดี มีทั้งไม่ดี ไม่ใช่ว่าจริงนั้นมีดีเท่านั้น นั่นไม่ถูก ขณะใดที่ตรงกับลักษณะของสภาพธรรม แล้วเป็นความรู้ที่ถูกต้อง ขณะนั้นก็เป็นกุศล แต่จะเห็นได้ว่า สภาพของกุศล เขาไม่ได้เกิดถาวรมั่นคงมากมายตลอดไป และเรื่องของโลภะ เป็นเรื่องที่ละเอียดมากๆ ถ้าไม่รู้เท่าทัน ไม่มีทางที่จะเอาโลภะออกเลย เพราะฉะนั้น ความเป็นทุกข์ของคุณแอ๊วจะเกิดก็ คือตอนที่ว่าเวลาที่คนอื่นบอกว่าทำไม เราศึกษาธรรมมามาก แล้วเราถึงได้ ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งถ้าขณะนั้นเป็นปัญญา ที่คุณแอ๊ว รู้ความจริง คุณแอ๊วก็จะไม่เดือดร้อนเลย กับความคิดของคนอื่น แล้วในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องอยากดี เพราะเหตุว่า ดีเกิด ดีก็เกิด อย่างคุณแอ๊วมีเมตตา ไม่ต้องไปนั่งคิดว่าเราอยาก มีเมตตา แต่ว่าเมตตาเกิดขณะใด ขณะนั้นก็คือ เมตตาเป็นกุศลแล้ว แต่ขณะที่กำลังอยาก ตัวอยากเป็นตัวที่ทำให้เดือดร้อน และขณะนั้นถ้าไม่เห็นว่าเป็นอกุศล เราก็ยังคงอยาก โดยที่ว่าไม่จำเป็นต้องอยาก แต่เราทำดี แล้วก็มีปัจจัยที่สะสม สภาพธรรมที่ดีก็เกิด โดยที่ไม่ต้องไปนั่งอยาก

    ผู้ฟัง ความตั้งใจกับความอยาก คิดๆ ดูมันก็ไม่ห่างกันมากนักผมยังแยกไม่ออกเลย

    ท่านอาจารย์ โดยมาก ถ้าไม่ละเอียดจริงๆ แล้วจะไม่แยก เพราะคิดว่าความอยากนั้นคือกุศล เช่นอยากใส่บาตร อยากสร้างโบสถ์ หรืออะไรต่ออะไร คนเราก็อยากไปได้ อยากบวช มีคนหนึ่งเขาพูดบ่อย ที่สุดว่า อยากบวชๆ ก็อยากบวชอยู่นั่น แล้วจริงๆ แล้วมันไม่ใช่ความตั้งใจบวช แต่มันเพียงความอยาก เหมือนกับความอยากอย่างอื่นทั้งหลายๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราตัดวัตถุที่ถูกอยากออก เอาแต่ตัวความอยากจริงๆ อยากนั้นไม่ใช่กุศล แต่ว่าเขาอยากในสิ่งที่เป็นกุศลได้ แต่ว่าตัวอยากไม่ใช่กุศล

    ผู้ฟัง แล้วเจตนา

    ท่านอาจารย์ เจตนานี้เป็นกุศลก็ได้ เป็น อกุศลก็ได้ เพราะเจตนาเจตสิกจริงๆ เกิดกับจิตทุกดวง เวลาที่มีความตั้งใจจะใส่บาตร อย่างพรุ่งนี้จะใส่บาตร ไม่ได้หมายความว่าเราอยากอยู่นั้นแหละ ว่าอยากจะใส่ แต่พรุ่งนี้ตั้งใจจะใส่ ไม่เหมือนกัน ตั้งใจจะใส่ หรือตั้งใจจริงๆ เป็นเจตนาจริงๆ

    ผู้ฟัง อย่างมาฟังธรรมอาจารย์ อยากมาๆ เจตนาที่จะมา

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่เหมือนกัน ใช่ไหม อยากตอนหนึ่ง แล้วเวลาที่ตั้งใจจะมา

    ผู้ฟัง ใกล้เคียงกันมาก

    ท่านอาจารย์ ใกล้เคียงกันมาก เพราะเหตุว่าเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง แต่โลภเจตสิกไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น พอที่จะสังเกตได้ ว่าเป็นความอยาก หรือเป็นความตั้งใจ เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เราอาจจะถามตัวเราเองว่า นี่อยาก หรือนี่ตั้งใจ อยากนี่เปรอะ อะไรก็อยากทั้งนั้นเลย มองดูแล้วไม่เห็นมีอะไรสักอย่างที่ไม่อยาก อยากไปหมด แต่ตั้งใจจริงๆ มีน้อยกว่าอยาก อยากถูกล๊อตเตอรรี่ อยากสร้างโบสถ์ อยากทอดกฐิน อยากทำอะไรก็อยากได้หมดทุกอย่าง แต่ในนั้นเรามีความตั้งใจจะทำอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง จิตที่เกิดทางมโนทวารวิถี เกิดโดยที่ไม่เคยผ่านปัญจทวารวิถีมาเลยได้ไหม

    ท่านอาจารย์ แน่นอนได้ คิด คิดทันที ขณะนี้ จักขุวิญญาณจิต ทางจักขุทวารวิถีทั้งหมด ดับ ภวังค์ขั้น มโนทวารคิดตามที่เห็น ทันที แต่เวลาที่ไม่เห็นก็มีการคิดเองได้ โดยไม่ต้องเห็น

    ผู้ฟัง ความคิดนี่เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ ไม่เป็นเลย เราต้องจำกัดตายตัว วิบากในชาติหนึ่ง เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจิต เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม ภวังคจิตเป็นผลของกรรม แล้วก็นอกจากนั้นแล้ว กรรมไม่ได้เพียงทำให้เกิดมาแล้ว เป็นภวังค์ไปตลอด ถ้าไม่อย่างนั้นก็ไม่เดือดร้อนกันเลย เกิดในนรกก็ไม่เป็นไร ไม่เจ็บไม่ปวดไม่ทรมาน เพราะว่าเป็นแค่ปฏิสนธิกับภวังค์เท่านั้น ซึ่งไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น เป็นอรูปพรหมก็ไม่มีความหมาย เกิดแล้วก็เป็นภวังค์ไป เท่าๆ กันหมด แต่กรรมจำแนกไม่ได้ทำให้เป็นอย่างนั้นเลย ถ้าในภูมิมนุษย์ หรือในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็กัมมชรูป เกิดขึ้นเพราะกรรม ทำให้มีจักขุปสาทรูป มีไว้ทำไม ต้องมี เพื่อเป็นทางให้จิตเกิดขึ้นเห็นเป็นผลของกรรม การที่กรรมจะให้ผลก็คือว่าให้จิต เจตสิก ซึ่งเป็นวิบากเกิด

    เราใช้คำว่า วิบากจิตเกิด เพราะว่าจิตที่เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นทีเดียว ที่จะต้องทราบเรื่องของจิต ว่าจิตมีกี่ชาติ เพราะเหตุว่า ในชีวิตของเราไม่ได้มีแต่กุศลจิต อกุศลจิต ยังมีวิบากจิต ยังมีกิริยาจิตด้วย เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้แน่ว่า จิตดวงนี้เป็นชาติอะไร จะกล่าวถึงชื่อจิตหนึ่งจิตใดโดยไม่รู้ว่าเป็นชาติอะไรไม่ได้ เพราะเหตุว่าจิตนั้นเป็นผล หรือเป็นเหตุ ถ้าเป็นผลคือเป็นวิบาก ถ้าเป็นเหตุคือเป็นกุศล หรืออกุศล ถ้าไม่ใช่วิบาก ไม่ใช่กุศล อกุศล จิตนั้นเป็นกิริยา เพราะฉะนั้น จิตก็มีแค่ ๔ ชาติ แล้วก็เกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะเท่านั้นเอง ปฏิสนธิจิต เป็นชาติอะไร วิบาก ภวังคจิตเป็นชาติอะไร วิบาก เห็นเป็นอะไร วิบาก เพราะฉะนั้น เห็นได้ยินพวกนี้ เป็นผลของกรรมทั้งนั้น

    ผู้ฟัง การที่เรายอมรับในวิบาก ก็จะทำให้เราสบายใจขึ้น

    ท่านอาจารย์ โดยมากคน เอาแค่สบาย ให้ปัญญารู้ความจริง

    ผู้ฟัง ให้ปัญญารู้ความจริง ในวิบากนั้น

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ปัญญาสามารถจะรู้ได้ กรรมได้แก่เจตนาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น เจตนามีกี่ชาติ

    ผู้ฟัง เจตนา มีครบทุกชาติ

    ท่านอาจารย์ เจตนาที่เป็นวิบากมีไหม

    ผู้ฟัง เจตนาในวิบากจิต มี

    ท่านอาจารย์ เจตนาที่เป็นกุศลมีไหม

    ผู้ฟัง เจตนาที่เป็นกุศล มี

    ท่านอาจารย์ ที่เป็นอกุศล

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ มี ทันทีที่อกุศลเจตนา ดับไปพร้อมกับจิต เป็นกรรมปัจจัย แต่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายความว่าให้ผลต่างขณะ เพราะว่าธรรมดาเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภทอยู่แล้ว เป็นสหชาตกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยที่ว่าต้องเกิดร่วมกัน กับปัจจยุปบัน เพราะฉะนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจัยดับ แต่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย เมื่อให้ผล เพราะฉะนั้น กัมมปัจจัยจากอดีตที่ได้ทำแล้ว ไม่สูญหาย ยังสะสมสืบต่อในจิตทุกขณะไป จนกว่าจะถึง กาลที่ทำให้วิบากจิตเกิด คือต้องเข้าใจว่ากรรมมาได้อย่างไรตั้งแสนโกฏิกัปป์ ยังสามารถที่จะให้ผลในขณะนี้ ได้ เพราะเก็บสะสมอยู่ในจิต ทุกขณะสืบต่อ แล้วกรรมก็มีมาก เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่ากรรมไหน พร้อมที่จะให้ผลเมื่อไร เลือกไม่ได้

    ผู้ฟัง แล้วแต่กรรมไหนจะถึงเวลา

    ท่านอาจารย์ จะทำให้วิบากชนิดไหน เกิด ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้ม ลิ้มรส ทางกายกระทบสัมผัส ที่เราป่วยไข้ก็เป็นผลของกรรม ชาติไหนไม่ทราบ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าจิตที่เป็นวิบากดับ แล้วต่อจากนั้น ก็เป็นจิตที่เป็นกุศล หรืออกุศล

    โดยนัยของพระสูตร ไม่ได้แสดงโดยละเอียดว่า เมื่อจักขุวิญญาณจิตดับ สัมปฏิจฉันนจิต เกิดต่อ สันตีรณจิตเกิดต่อ โวฏฐัพพนจิตเกิดต่อ แล้วถึง จะเป็นกุศล หรืออกุศล ในพระสูตร ไม่ได้แสดง เพราะไม่ใช่อภิธรรม เรื่องเดียวกัน แต่ว่าโดยพระสูตรแสดงว่า ทันทีที่เห็นแล้ว จักขุสัมผัสสะมี กระทบทำให้เกิดจิตเห็นแล้วดับ หลังจากนั้นก็มีกุศลจิต หรือ อกุศลจิตเกิด ย่นย่อ เพราะไม่ใช่อภิธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่วิบากจิตดับแล้ว สังสารวัฏฏ์ คือ กิเลส เป็นเหตุให้เกิดกรรม กรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบาก วิบากเป็นเหตุให้เกิดกิเลส เพราะเหตุว่า ยังมีกิเลสอยู่ ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็จบ แต่เมื่อไม่ใช่พระอรหันต์ หลังจากเห็นแล้วทุกคนเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล นี่เป็นสิ่งที่เราจะต้องทราบว่า ตั้งต้นเหตุไหมตรงนี้ แล้วลองคิดดูว่า เราเห็นแล้วเป็นอกุศล มานานแสนนานเท่าไร จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมแล้วเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน แล้วมีปัจจัยที่ เมื่อเห็นแล้ว สติระลึกรู้ลักษณะของเห็น ขณะนั้นเป็นกุศล แต่ว่าถ้าไม่ใช่อย่างนี้ เห็นแล้วก็เป็นอกุศลไปเรื่อยๆ หรือว่าเห็นแล้ว เกิด กุศลจิต ที่คิดสละวัตถุ เพื่อประโยชน์ สุขของคนอื่น ขณะนั้นแทนที่จะเป็นอกุศล ก็เป็นกุศล ระดับทาน กุศลระดับศีล กุศลระดับความสงบของจิต หรือกุศลระดับสติปัฏฐาน ซึ่งจะต้องอบรมมากมายสักเท่าไร ที่จะรู้ความจริงของเห็น ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง หรือว่าได้ยินเป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งจนกว่าทันทีที่เห็นแล้ว กุศลจิตเกิดได้ โดยไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ หลังจากนั้นแล้วก็จะสามารถรู้แจ้ง อริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอานาคามี กุศลก็ยังเกิดต่อจากเห็น ต่อจากได้ยิน ต่อจากได้กลิ่น ต้องอบรมต่อไปอีกจนกว่าเห็นแล้วเป็นกิริยาจิตแทนกุศล

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องอบรม ไม่ใช่ไปทำอะไรวัน ๒ วัน แล้วก็เกิดรู้ขึ้นมาเลย เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า อกุศลเราสะสมมานานมาก อย่าลืม ที่ไม่ใช่วิถีมีเท่าไร ๓ คือ ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ๓ ขณะนี้ไม่ใช่วิถีจิต เพราะว่าไม่ได้อาศัยทวาร หนึ่งทวารใดเกิดขึ้นรู้อารมณ์ อย่าลืมเลยว่า ถ้าเป็นวิถีจิตต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใด เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังเป็นภวังค์อยู่ ไม่รู้อารมณ์อะไรเลยทั้งสิ้น เวลาที่อารมณ์กระทบปสาทรูป ภวังค์ไหว ไม่ใช่เป็นภวังค์ที่ไม่ถูกกระทบ แต่เพื่อที่จะแสดงอายุของรูป ว่ารูปๆ หนึ่งมีอายุเท่ากับจิต เกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น เราก็เริ่มจะนับอายุของรูป โดยขณะใดที่เกิดแล้วกระทบภวังค์ ภวังค์ที่ถูกกระทบ เป็นอตีตภวังค์ ยังมีอารมณ์เหมือนภวังค์ทุกอย่าง เหมือนอดีตภวังค์ทุกอย่าง แต่ เป็นภวังค์ที่ถูกกระทบแล้วดับไป ภวังค์ขณะที่ ๒ ที่เกิดสืบต่อ ไหวเป็น ภวังคจรณะ แต่ก็ยังเป็นภวังค์อยู่ ยังไม่รู้อารมณ์ที่กระทบเลย เพราะยังไม่ใช่วิถีจิต ยังเป็นภวังค์ ตราบใด ไม่ว่าจะชื่อ ภวังค์ หรือ อตีตภวังค์ ภวังคจรณะ หรือ ภวังคุปัจเฉทะ ก็ยังคงเป็นภวังค์นั่นเอง คือไม่ใช่วิถีจิต เมื่อภวังคจรณะดับ จิตขณะต่อไปก็เป็น ภวังคุปัจเฉทะ หมายความว่า สิ้นสุดกระแสภวังค์ ถ้าภวังคุปัจเฉทะเกิดแล้วดับไป วิถีจิตต้องเกิดๆ หมายความว่าจะคงเป็นภวังค์อีกต่อไปไม่ได้ เพราะใช้คำว่า ภวังคุปัจเฉทะ แปลว่าสิ้นสุดกระแสภวังค์ หมายความว่าภวังค์เกิดต่อไม่ได้

    เมื่อภวังค์เกิดต่อไม่ได้ หลังจากนั้นจึงเป็นวิถีจิต ตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ กิริยาจิตที่รู้ ว่าอารมณ์กระทบ ถ้าโดยพยัญชนะ ท่านจะใช้คำว่า รำพึงถึง รำพึงนี้อาจจะยาว ก็ใช้ว่านึกถึง หรือ รู้ว่าอารมณ์กระทบ แต่ไม่เห็น เพียงแต่รู้ เริ่มรู้สึกตัว รู้ว่ามีอารมณ์กระทบ ปัญจทวาราวัชชนะเป็นวิถีจิตดับไป

    ถ้าเป็นทางตา จักขุวิญญาณก็เกิดขึ้นเห็น เป็นวิถีจิต เพราะฉะนั้น ทุกจิตเป็นวิถีจิตหมด ไม่ใช่ว่า วิถีเป็นจิตประเภทเดียว ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิต จักขุวิญญาณจิตก็เป็นวิถีจิต เพราะเหตุว่า ต้องอาศัยจักขุทวารทั้งนั้น แม้แต่ปัญจทวาราวัชชนะก็อาศัยจักขุทวาร จักขุวิญญาณก็อาศัยจักขุทวาร เมื่อดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนะ เกิดต่อรับรู้อารมณ์นั้นต่อ ก็เป็นวิถีจิต

    เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่า วิถีจิต คือจิตอื่นๆ ทั้งหมดทุกอัน เป็นวิถีจิต เว้น ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ เท่านั้น ไม่ว่าชื่ออะไร แปลกปลอมมา เป็นวิถีจิตหมด ไม่ใช่นับเป็น เป็น วิถีจิตหมด แล้วก็เกิดทางไหนเท่านั้นเอง ถ้ามโนทวาราวัชชนะ ชื่อบอกแล้ว เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร ถ้าบอกว่า โลภมูลจิต เป็นวิถีจิต ไหม ไม่ใช่ปฏิสนธิ ไม่ใช่ภวังค์ ไม่ใช่จุติ ไม่ใช่วิบาก เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตเป็นวิถีจิต ทางทวารไหน ได้ ๖ ทวาร ถ้าไม่มีชื่อกำกับไว้ ก็ได้ ๖ ทวาร อย่างปัญจทวาราวัชชนจิต ชื่อบอกแล้วว่า จิตนี้รู้อารมณ์ได้ ๕ ทวารเท่านั้น สัมปฏิจฉันนะก็รู้ได้แค่ ๕ ทวารเท่านั้น แต่พอพูดถึง โลภะ โทสะ โมหะ หรือกุศล ๖ ทวาร

    ผู้ฟัง ทางปัญจทวารวิถี โวฏฐัพพนะ เป็นตัวตัดสิน อารมณ์นั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ โดยศัพท์อาจจะแปลว่าอย่างนั้น แต่ตามความเป็นจริง ทำกิจนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็น ๑ วิถี จักขุวิญญาณจิตเป็น ๑ วิถี สัมปฏิจฉันนจิตเป็น ๑ วิถี ก็เป็นวิถีจิตหมด เพราะฉะนั้น วาระนี้ มีกี่วิถีจิต มี ๗ วิถีจิต หรือมี ๕ วิถีจิต

    ผู้ฟัง ทีนี้ที่ผมอยากจะถาม ประเด็นตรงที่ว่า สมมติว่าเราเห็น ด้วยอกุศลวิบาก แล้วทำไมตรงนั้นจะทำกิจ คือชวนะ ทำกิจกุศล โดยที่เป็นคนละชาติได้ ไหม

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่เคยสะสมอบรมมาอย่างไร อย่างเวลาที่เห็นสิ่งที่ไม่ดี แต่เขามีเมตาได้ มีกรุณาได้ เขาไม่โกรธ ไม่รังเกียจได้

    ผู้ฟัง มีเมตตาโดยที่ไม่ได้อบรมปัญญาอะไรเลย หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ แต่ละคน จิตแต่ละขณะ ที่จะเกิดได้ ต้องมีการสะสมในอดีต

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567