ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๗๓

    สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ จากวันนี้ไป ที่เริ่มเข้าใจขึ้น แล้วก็เป็นผู้ที่ตรงว่าเข้าใจขึ้น แล้วไม่เดือดร้อน กับการที่ ทำไมเราถึงไม่รู้ อริยสัจ ทำไมเราไม่เห็น เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม นั่นคือความเดือดร้อนใจซึ่งมีเหตุมาจากโลภะ คือความต้องการ แต่ถ้าเป็นความเห็นถูกก็คือว่า เมื่อเข้าใจขั้นนี้วันนี้ฟังอีกข้างหน้าเราก็เข้าใจอีก เพิ่มขึ้น อีก ขณะที่เข้าใจก็ละ ความไม่รู้ไปเรื่อยๆ นี่ คือหนทางเดียว คือหนทางละ โดยตลอด ซึ่งจะไม่มีโลภะ เข้ามาทำให้ไขว้เขว หรือว่าให้คลาดเคลื่อนไป

    ผู้ฟัง คุณเด่นพงศ์ พูดถึงว่า เขากลุ้มใจ อ่านหนังสือเล่มนั้นก็ยาก แล้วก็ต้องมาอ่านเรื่องง่ายๆ เข้าก็กลุ้มใจ ไม่รู้จะทำอย่างไร ซึ่งขณะนั้น ในขณะที่เป็นความกลุ้มใจ เป็นโทสะ ขณะนั้นเราก็สามารถจะศึกษา แล้วก็พิจารณาขณะที่สภาพธรรมนั้น กำลังเกิดขึ้นก็ได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีปัจจัย อย่างไรก็ศึกษาไม่ได้ กลุ้มใจก็ยิ่งกลุ้มใจไปอีกก็ได้ ถ้าไม่มีโลภะ เป็นเหตุจะไม่ กลุ้มใจ เราเริ่มเห็นตัวแล้ว ใช่ไหม ว่าอะไรเป็นเหตุ ถ้าเรามีความเข้าใจ แล้วฟังเข้าใจ ฟังอีกเข้าใจอีก ฟังอีกเข้าใจอีก ก็เป็นเรื่องอย่างนี้เอง ที่จะเข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง สติกับสัมมาสติต้องแยกแยะด้วยไหม

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ว่าจะกล่าวถึงสัมมาสติระดับไหน

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นสัมมาสติ หมายถึงก็ต้องมีปัญญา แต่ถ้าเป็นสติก็ไม่ต้องมีปัญญา

    ท่านอาจารย์ สติ เป็นโสภณธรรม คือเวลาที่ศึกษาธรรม ตั้งแต่ง่ายๆ ต้นๆ ไปเป็นลำดับ ถ้าเราไปจับยอดมาแล้ว เราก็มางง ว่ามันคืออะไร ถ้าเข้าใจว่าสติเป็นเจตสิก เป็นสภาพธรรม ฝ่ายดี เกิดกับจิตฝ่ายดีทั้งหมด ขั้นหนึ่ง แล้วเวลาที่อ่านพระไตรปิฎก ก็จะไปเจอสัมมาสติ แม้แต่ในการอบรมเจริญสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา เราก็รู้ว่าเรากล่าวถึงสติอีกระดับหนึ่ง เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ความเข้าใจของเรา ต้องมีตั้งแต่ต้นก่อนแล้วก็ค่อยๆ รู้ความหมายไปตามลำดับขั้น

    ผู้ฟัง เวลาฟังอาจารย์ก็เข้าใจ อย่างที่อาจารย์บอกพอเห็น ก็ให้รู้ว่าเห็น ไม่มีตัวตน เกิดแล้วดับ แล้วอาจารย์บอกให้พิจารณาไม่ทราบว่าจะพิจารณาอะไร

    ท่านอาจารย์ โดยมากฟังธรรมแล้วคิดว่าให้ทำ ใช่ไหม ความจริงไม่ใช่ แต่ให้เข้าใจให้ถูก ว่าความจริงเป็นอย่างนี้ แล้วแต่ว่าระดับขั้นของความเข้าใจของเราสามารถ จะเข้าใจได้แค่ไหน แต่ความจริงคืออย่างนี้ ที่ทรงแสดงในพระไตรปิฎกทั้งหมด ก็จะแสดงเรื่อง ของสภาพธรรม ที่ มีจริงๆ ทางตา แล้วเวลานี้ก็มีจริงๆ ทรงแสดงไว้ด้วยว่าไม่ใช่ตัวตน ทางหูก็เป็น สภาพธรรม ที่มีจริง เพราะฉะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยของแต่ละบุคคลที่ได้สะสมความเข้าใจว่า สามารถจะเข้าใจคำที่ได้ยินแค่ไหน แล้วก็เป็นอรรถที่บ่งถึงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ได้แค่ไหน เพราะฉะนั้น ทุกคนก็รู้ตัวเอง ว่าเป็นการที่จะต้องฟังต่อไปอีก ถ้าตอนนี้ยังไม่เข้าใจ หรือว่ายังไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้ แต่อาศัยการฟัง การพิจารณาก็จะทำให้มีปัจจัยที่ สัมมาสติจะเกิดระลึก เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าเริ่มที่จะเป็นการอบรมปัญญาอีกขั้นหนึ่ง คือ ไม่ใช่เพียงขั้นการฟัง แต่เป็นขั้นศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าเราหยิบหนังสือมาอ่าน เราอาจจะคิดว่าเราศึษา ในขณะนั้นเรากำลังคิดตามสิ่งที่เราเห็นทางตา ถ้าในขณะนี้ที่กำลังฟัง เราก็คิดว่าเราศึกษา คือคิดพิจารณาตามเสียงที่ได้ยิน แต่นี่ไม่ใช่ระดับขั้นที่ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เรากำลังฟังเข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีการศึกษาอีกระดับหนึ่ง คือ เมื่อสัมมาสติมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดระลึก ขณะนั้นศึกษาลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ซึ่งขณะนี้เป็น สภาพธรรมทั้งหมด เกิดดับแสนเร็วมหาศาล แต่ว่าปัญญาไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้อบรมถึงระดับนั้น เพียงแต่ฟังให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าสัมมาสติจะเกิด เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หมายความว่าให้ทำ หรือให้เข้าใจอย่างนั้น โดยไม่รู้ว่าขณะนั้น ปัญญาที่เกิดจากการฟังอยู่ในระดับไหน

    ผู้ฟัง ทีนี้อาจารย์บอกว่า เห็นแล้วก็ดับ แต่ทีนี้พอเห็นแล้วก็ได้ยินเสียง มันพร้อมกัน

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องฟังจนกระทั่งรู้ว่าไม่พร้อม ต้องละความไม่รู้ เพราะฉะนั้น โลภะ มีกำลังมหาศาล จนกว่าเราจะเริ่มค่อยๆ คลายโลภะออก

    ผู้ฟัง เพียงแต่ว่าเราเอามาถามกันว่ามันอยากหรือมันง่าย มันเห็นก็เห็น มันได้ยินก็ได้ยิน มันก็เรียนอยู่แค่นี้ ถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม เราเป็นอย่างนั้น แต่เมื่อฟังแล้ว ยิ่งเห็นความยาก

    ผู้ฟัง ยิ่งเห็นความยาก

    ท่านอาจารย์ ว่านี่คือพระปัญญาคุณ ถึงสามารถที่จะตรัสรู้ความจริง ซึ่งคนอื่นไม่มีทางเลย เห็นกับได้ยินก็ยังคงพร้อมๆ กันไปอยู่ ต้องเป็นผู้ที่ตรัสรู้ความจริงเท่านั้น ที่จะแสดงพระธรรมได้โดยละเอียด ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลกให้พ้นจากโลภะ หรือความติดข้อง แล้วก็อบรมเจริญปัญญายิ่งขึ้นได้

    ผู้ฟัง คือมันอย่างไร มันยังไม่ Click มันบอกไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ ความเป็นตัวตนไม่มีทาง จนกว่าจะค่อยๆ ละความต้องการ

    ผู้ฟัง ต้องฟังอาจารย์ต่อไป

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าจริงๆ แล้วเรื่องของการฟังธรรมเป็นเรื่อง ของปัญญาของใคร เป็นเรื่องของผู้ฟังที่จะค่อยๆ พิจารณา ให้มีความเข้าใจขึ้น แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ปรมัตถธรรม ถ้าเราสามารถรู้เข้าใจสภาพธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม นี้เป็นเรื่องราว ซึ่งสภาพธรรมเกิดดับแสนเร็ว แล้วก็ละเอียดมาก แล้วถ้าเราไม่มีความสามารถ อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ว่าเราจะกล่าว อย่างหนึ่งอย่างใดออกไป แต่ความจริง เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เราสามารถที่จะรับรองได้โดยเด็ดขาดเหมือนอย่างปัญญาของพระองค์ไหมว่าต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อไม่สามารถเป็นอย่างนั้นได้ หนทางที่ดีที่สุดก็คือ ขอให้ทุกคนสนใจสภาพปรมัตถธรรม แล้วเข้าใจขึ้น แล้วมีอะไรก็ค่อยๆ ไตร่ตรอง อยากจะพิจารณาจิตของคนโน้น คนนี้ ก็ได้แต่ว่าความจริงเป็นอย่งไร เราสามารถจะรู้ได้จริงๆ หรือเปล่า ถ้าเราไม่สามารถที่จะรู้ได้จริงๆ เราสามารถจะรู้อะไรได้จริง เราสมควรที่จะให้เวลานั้นมีค่า สำหรับที่จะทำให้เราอบรมเจริญปัญญาที่จะ รู้สภาพธรรม ที่มีจริงๆ ดีกว่าหรือเปล่า หรือว่ายังคิดอยู่ ยังค้างใจอยู่ พรุ่งนี้คิดอีกหน่อย คุณนุชมาด้วย อัธยาศัยอย่างไร ด้วยอธิษฐาน หรือด้วยอะไร ก็ไม่มีวันจบ แล้วมันก็เป็นเรื่องคิด แต่ว่าสภาพธรรมในขณะนี้ ก็เกิดดับไปเรื่อยๆ แล้วก็ปรมัตถธรรม ที่เราควรจะเข้าใจ จนกว่าเราสามารถที่จะรู้จริง ถ้าเราสามารถที่รู้จริง เราสมควรตอบ แต่ถ้าเราไม่สามารถที่จะรู้จริง แล้วเราตอบ แล้วคนอื่นเชื่อ หรือคิดว่าเป็นอย่างนั้น แล้วความจริงเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คุณนุช มีความตั้งใจมั่นไหม พิจารณาเอาเอง ใช่ ตัวดิฉันเอง หรืออาจารย์ อาจจะบอกไม่ได้ ว่าคุณนุช มี หรือไม่มี แต่ตัวคุณนุชเองต้องรู้ ต้องรู้ในเมื่อ อันนี้เรามีอธิษฐานบารมีหรือเปล่า เรามีความตั้งใจมั่นหรือเปล่า อย่างน้อย สะกิดใจคุณนุชนิดหนึ่งว่า ลักษณะจิตที่อยากจะมา เป็นเพราะโลภะ หรืออธิษฐานบารมี อย่างน้อยก็เสนอออกไป ได้พิจารณาจิตของตัวเอง แม้คนอื่นจะตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ คุณนุชก็ต้องตอบได้เอง ตามที่ปัญญาของคุณนุชจะมี

    ท่านอาจารย์ แต่อย่างที่คุณนุชจะรู้ คุณนุชจะสามารถรู้ว่า เป็นบารมีหรือเปล่า หรือว่าเพียงแต่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นสภาพธรรม ซึ่งดับแล้ว เร็วมากเลย แล้วเอามานั่งบวก ลบ คูณ หาร ก็ไม่รู้ เพราะเหตุว่าไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะนั้นจริงๆ

    ผู้ฟัง แต่ว่า ถ้าเผื่อเหตุเกิดต่อไป มันก็จะเป็นเหตุ เป็นสังขารขันธ์ ที่จะปรุงแต่งคุณนุชว่า เราเคยฟังอย่างนี้ ถ้าเผื่อว่าเขาเกิดต่อไป มันจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า คล้ายๆ กับว่าสะสมปัญญาขั้นการฟัง

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นใส่ชื่อ ถ้าจะใช้ คำว่า บารมี ลงไปด้วย แต่ว่าจริงๆ แล้ว ถึงแม้ไม่ใส่ชื่อเลย สภาพธรรม ที่เป็นบารมี ก็เป็นบารมี แม้ว่าไม่ใส่ แล้วก็ไม่ไปกังวลด้วย ว่าเป็นหรือไม่เป็น เพราะว่าโลภะ เขาจะไม่เว้นเลย พอได้ยินคำว่า บารมีก็อยากแล้ว ทีนี้พยายาม ละ อย่างไรบ้างที่จะเป็นบารมี ทานวันนี้ เราเป็นบารมีหรือเปล่า หรือเราควรจะทำอย่างไรให้มันเป็นบารมี คือเป็นเรื่องวุ่นวาย เป็นเรื่องชื่อเป็นเรื่องคำ ซึ่งโลภะเขาจะไม่เว้น จะไม่เว้น เลย จะติดตามไปได้ทุกหนทุกแห่ง เพราะฉะนั้น ทางใดที่จะทำให้ กัน โลภะออกไป โดยที่ไม่สนใจ ในชื่อ แต่ว่าจะเป็นก็เป็น ถ้าเป็นก็เป็นแล้ว เราก็ไม่ต้องสนใจว่ามันเป็น แล้วให้เป็นอีกมากมาย หรืออยากได้มากๆ หรืออะไรอย่างนั้นทั้งหมดเพื่อกัน ความต้องการ หรือความติดข้อง

    ผู้ฟัง เคยฟังเทปของท่านอาจารย์ อาจารย์ไม่ให้อธิษฐาน แต่ทีนี้มานึกว่า ตัวเราเป็นคนที่มีกิเลส จะต้องเกิดก็ขอให้เกิดที่ดีๆ หน่อย

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ห้ามใคร ไม่ให้ทำอะไรเลย สักอย่าง เพราะว่าห้ามไม่ได้ แต่ว่าให้เข้าใจในเหตุในผล เพราะเหตุว่าบางคนเขาอาจจะอธิษฐาน อย่างที่ว่าขอให้ได้พบพระพุทธเจ้า โดยที่ไม่เข้าใจเลย แล้วพอถึงพระธรรมเขาก็ไม่สนใจเลย เขาก็ไปไหนก็ไม่รู้ แต่เขาอธิษฐานขอให้ได้พบพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจด้วย ว่าความหมาย หรือความคิดของเราคือ อย่างไร ถ้าเราไม่รู้ แล้วเราขอ หวัง ด้วยศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา คือเพียงแต่รู้ว่าพระพุทธเจ้า พระองค์เป็นผู้ที่หมดจดกิเลส ถึงพร้อมด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ขณะที่เรากราบไหว้นอบน้อม แม้ว่าเราไม่รู้พระคุณเลย ขณะนั้นเป็นกุศลจิต ที่นอบน้อมในคุณความดี แต่ไม่เหมือนกับที่เราไปไหว้ แล้วเราไปขอ นี่แสดงถึงสภาพของจิตที่ต่างกัน แม้ว่ากิริยาอาการภายนอกอาจจะดูเหมือนกัน คนหนึ่งก็ไหว้ อีกคนหนึ่งก็ไหว้ แต่คนหนึ่งไหว้ด้วยความนอบน้อมในพระปัญญาคุณ อีกคนหนึ่งไหว้ศักดิ์สิทธิ์ขอ อาการภายนอกเหมือนกันเลย เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นคนที่เข้าใจจริงๆ ในเหตุในผลว่า ถ้าเราเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ ในพระมหากรุณาคุณ ไม่ใช่เพียงแต่อยากพบ เพราะได้ยินว่าเป็นพระพุทธเจ้า ถึงพบเห็น ปัญญาไม่เกิดก็ได้ ไม่ได้ฟังธรรม แต่สำหรับบางท่านอย่าง พระเจ้าพิมพิสาร ท่านก็อธิษฐานด้วยกุศลจิต ที่ต้องการที่จะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรม แล้วได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ท่านไม่อธิษฐานเพียงแค่นั้นว่าได้เห็น ได้พบ แต่ต้องมีการฟังธรรมด้วย แล้วมีการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมด้วย

    ผู้ฟัง ธรรมของอาจารย์มาเที่ยงครึ่ง และหกโมงเย็น

    ท่านอาจารย์ อันนั้นก่อนอธิษฐาน หรือว่า อธิษฐานแล้ว หรืออย่างไร

    ผู้ฟัง ตอนเช้าใส่บาตร

    ท่านอาจารย์ ที่อธิษฐานก่อนฟัง หรือหลังจากที่ฟังแล้ว

    ผู้ฟัง ก็ทำเป็นกิจวัตร คือเจออาจารย์ที่วิทยุสถานีไหนก็ฟัง

    ท่านอาจารย์ แต่ก่อนฟัง หมายความว่าไม่เคยฟังมาก่อนเลย อธิษฐานหรือว่าฟังแล้ว อธิษฐาน

    ผู้ฟัง เวลาใส่บาตรก็อธิษฐานไปเรื่อย

    ท่านอาจารย์ จะเหมือนคนอื่นๆ ทั้งหลายๆ ที่ชอบอธิษฐานไหม

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราต้องเป็นคนมีเหตุผล ธรรม ถ้าขาดเหตุผล เราก็ไม่สามารถไปทางถูกได้ด้วย เพราะไม่มีเหตุผล

    ผู้ฟัง แต่ใจเราฟังธรรม ชอบฟังธรรม เพราะฉะนั้น พอใส่บาตรก็ระลึกว่า ขอให้ได้ฟังธรรม มีดวงตาเห็นธรรม

    ท่านอาจารย์ แล้วก็เวลาฟังธรรม เวลาฟังทราบไหมว่า อะไรที่ได้ฟังเป็นธรรม อะไรที่ได้ฟังไม่ใช่ธรรม

    ผู้ฟัง ก็พิจารณาเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ สามารถที่จะบอกได้ ไม่ใช่ทุกอย่างที่ฟังเป็นพระธรรม

    ผู้ฟัง ก็แล้วแต่ว่าที่ฟังออกมาเป็นอะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่มีใครที่จะไปบอกใครให้อธิษฐาน หรือ อย่าอธิษฐาน แต่คนนั้นจะรู้เอง ว่าที่เคยอธิษฐานแล้วเมื่อมีปัญญา เกิดขึ้นมากๆ จะเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ให้เราคิดแต่สิ่งที่ดี ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

    ท่านอาจารย์ เราจะเข้าใจถูกไหม ถ้าเราไม่มีปัญญาว่า สิ่งนั้นดีจริงหรือเปล่า ถามว่าเขาไปปฏิบัติธรรมกัน เรามีความเห็นถูก หรือเรามีความเห็นผิด เขาไม่เกี่ยว เราต่างหาก นี่คือการฟังธรรม ที่จะรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด ไม่ใช่เพียงแต่ขอว่าให้ได้พบ พระพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง การไปปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งดี ใช่หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งพบแล้วเป็นอย่างไร ถ้าได้พบพระพุทธเจ้าแล้วเป็นอย่างไร ก็ยังไม่รู้ ว่าอะไรเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็คิดว่าทำแต่สิ่งที่ดี การที่ฟัง ก็คิดว่าถูก

    ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนให้เราเชื่อ หรือคิดเอง โดยไม่ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ต้องรู้ว่าปฏิบัติธรรม คืออะไร ถ้าเราไม่รู้ เราก็บอกว่านั่นถูก แต่ถ้าเรารู้ มีปัญญาเกิดขึ้น เราสามารถ จะบอกได้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่ถูกคือถูก สิ่งที่ผิดคือผิด

    ผู้ฟัง ก็อย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ ผมก็ได้ยินว่า ขอให้ได้พบพระพุทธศาสนา ขอให้ศาสนาเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เพื่อให้เราได้เกิดมาในพระพุทธศาสนาอีก ขอให้เราได้ใกล้ธรรมเข้ามา เสร็จแล้ว อธิษฐานแล้ว เราก็ไม่ได้ หมายความว่า เราก็ปล่อยตัวให้เฉยไป คืออย่างน้อย มันก็ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีพันธะที่ว่าเราได้พูดไปแล้ว เราได้ตั้งจิตอธิษฐานไปแล้ว เราก็พยายามอ่าน พยายามศึกษา พยายามใกล้ธรรมเข้าไป คืออย่างน้อยมันก็ทำให้เราไกลออกไปจากกิเลส อย่างนี้จะเรียกว่าเป็นกุศลจิตไหม คือเราอาจจะมีฉันทะ อาจจะมีความอยากได้ แต่ว่า อยากจะรู้ อยากจะใกล้ธรรมเข้าไป เราก็ค่อยๆ ทำ เท่าที่เราจะทำได้

    ท่านอาจารย์ สำหรับตัวดิฉันเอง ตอนที่จะเริ่มศึกษาธรรม ไม่เคยอธิษฐานว่า ขอให้ได้ฟังธรรม ไม่เคยเลย แต่ว่าเวลาที่มีธรรมที่ไหนตามวัด ก็สนใจ ถ้ามีหนังสือก็จะอ่าน โดยที่ไม่ได้อธิษฐาน หรือแม้แต่เวลาที่ได้ไปศึกษา เพราะรู้ว่าที่นี่มีการสอนพระอภิธรรม ก็ไม่ได้กลับมาอธิษฐาน ว่าขอให้เราได้ศึกษามากๆ หรือ ว่าขอให้เรามีปัญญามากๆ หรืออะไรอย่างนั้นไม่เคย เพราะเหตุว่าทุกอย่างที่จะเกิดต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าเราฟังแล้วเราเข้าใจ เราต้องอธิษฐานไหม ว่าขอให้เราเข้าใจมากๆ หรือ อะไรอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ตลอดมา จะไม่มีว่า จะไปอธิษฐานว่าขออย่างนั้น อย่างนี้ ตอนก่อนที่จะศึกษาธรรม ขอเวลาอธิษฐานสวดมนต์ไหว้พระ ก็ขออย่างอื่น แต่ไม่เคย ขอมาศึกษาธรรมหรืออะไรเลย ก็ไม่คิดด้วยว่าจะมีโอกาสที่จะได้ฟัง หรือได้ศึกษา แต่เมื่อเห็นแล้ว ศึกษาโดยที่ว่าไม่มีใครที่จะมาบังคับ หรือจะมาห้ามว่าไม่ให้ศึกษา แล้วโดยที่ตัวเองก็ไม่ได้คิดว่า ฉันจะต้อง แต่ในความรู้สึกมีเหมือนกับว่าไม่ได้จำเป็น ที่จะต้องพูดหรือต้องอะไรแต่ทำ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ที่จะศึกษาตั้งแต่บัดนั้น จนถึงบัดนี้ โดยที่ไม่ได้อธิษฐานเลย เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าการกระทำ หรือสิ่งซึ่งเราเข้าใจสะสมมาที่จะพิจารณา ธรรมด้วยความถูกต้อง จะดีกว่าที่เราไม่รู้ แล้วเราอยากได้ แล้วเราก็ไม่ทราบว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด อย่างคำถามเมื่อกี้ ที่ถามว่า เวลาที่มีคนไปปฏิบัติธรรม ถูกหรือผิด อย่างนี้ กับการที่เราไปอธิษฐานว่าขอพบพระพุทธเจ้า แต่ไม่สอดคล้องกันเลย ในเรื่องของเหตุผล ถ้าเป็นในเรื่องของเหตุผลก็คือว่า เมื่อฟังแล้วพิจารณา แล้วมีความเห็นที่ถูกต้องว่า ถูกคือถูก ผิดคือผิด เพราะเหตุว่าไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ว่าญาติพี่น้องเพื่อนฝูง หรือว่ามิตรสหาย หรือว่าองค์การนั้น องค์การนี้ ที่เราจะต้องไปมีส่วนร่วมหรือว่าทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่ว่าสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ ที่เป็นความถูกต้อง เราก็มีสิทธิ์ที่จะพิจารณา ที่จะทำ ในสิ่งที่เป็นความถูกต้อง โดยไม่ต้องอธิษฐาน เพราะฉะนั้น ก็จนเดี๋ยวนี้ ตอนกลางคืนก็ไม่ได้อธิษฐานอะไร ก็ให้เห็นความตั้งใจริงๆ หรือว่าการที่สะสมมา จะเป็นผู้ที่ ต้องการที่จะเข้าใจธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพื่อเราจะเก่ง หรือว่าเพื่อเราจะได้มีความรู้มากๆ เพื่อให้รู้แจ้งมรรคผลนิพพานหรืออะไร เพราะรู้ว่าไม่ได้เป็นไปด้วยการอธิษฐาน ถึงอธิษฐานไปก็เปล่าประโยชน์ เพราะว่าไม่ได้สำเร็จด้วยการอธิษฐาน การที่รู้แจ้งมรรคผลนิพพาน ถ้าเรายังไม่สามารถพิจารณาให้ถูกต้องว่า เพียงการที่คนนั้นทำอย่างนี้ เช่น การไปปฏิบัติ แล้วเราบอกว่าถูกอย่างนี้ ถูกตรงไหน ปัญญารู้อะไร ถ้าเรายังไม่สามารถที่จะบอกได้ ความจริงคืออย่างไร เพราะทุกคนแสวงหาสัจธรรม ถ้าเป็นสิ่งที่จริง แล้วเราจะบอกว่า สิ่งนั้นไม่จริง หรือสิ่งที่ถูก เราไปบอกว่าสิ่งนั้นผิด ได้ไหม ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นปัญญาที่เห็นถูก ก็คือ ต้องสามารถที่จะรู้ว่าถูกคือถูก ผิดคือผิด แล้วทิ้งสิ่งที่ผิดด้วย ไม่เก็บสิ่งที่ผิดไว้ มีคนหนึ่งเขาก็เล่าให้ฟัง รู้สึกว่าเคยออกรายการวิทยุไปแล้ว ที่เขาก็อธิษฐานเรื่อยเลย อธิษฐานจนเหนื่อย ในที่สุดก็เลิก อธิษฐานหรือไม่อธิษฐานก็เท่านั้น

    ผู้ฟัง แต่ถ้าอธิษฐานแบบว่า ขอให้ร่ำรวย ขอให้ เรียนหนังสือเก่ง แต่ไม่อ่านหนังสือเลย แล้วไม่ทำมาหากินเลย อย่างนี้ผมก็คิดว่ามัน nonsence ผมว่าไม่ได้ประโยชน์อะไร

    ท่านอาจารย์ รู้สึกเราจะพยายามสร้างกฏเกณฑ์ ว่าอย่างไรเป็น อย่างไรไม่เป็น อย่างไรดี อย่างไรไม่ดี แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ที่เราอยากดี บางคนอยากดีเพราะอะไร เพื่อตัวเองทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้น จริงๆ เราต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า เราเป็นกุศลจริงๆ หรือเปล่า กุศลในขณะนั้นไม่ได้หวังอะไร แบบที่ว่าจะเอามาเป็นของเรา อย่างเรารู้ว่าอกุศลไม่ดี แล้วก็ขอให้มีปัญญาที่จะละอกุศล อย่างนี้เป็นเหตุเป็นผล ไม่ได้เพื่อตัวเรา แต่ว่าตามเหตุตามผล เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วกุศลจิต กับอกุศลจิต ถ้าขณะนั้นไม่สามารถที่จะรู้ด้วยสติสัมปชัญญะจริงๆ บางทีสิ่งที่เราคิดว่าดีอาจจะเป็นด้วยโลภะมากๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่าถ้ามันเป็นไปในสิ่งที่ดี ไม่ใช่เป็นไปเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือเพื่อความติดข้อง ขณะนั้นเป็นกุศล เราก็ให้หลักไว้กว้างๆ แต่ว่าคนนั้นต้องเป็นผู้ตรงที่จะพิจารณาตัวเองว่า ความจริงเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า หรือว่าความจริงหวังทั้งนั้นเลย ที่อยากจะได้ ดีๆ ทั้งหมด เพื่อความสุข ความสบายของตัวเอง ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงวงศาคณาญาติ อะไรก็แล้วแต่ อย่างคุณนุช เคยบอกว่า อธิษฐานขอให้ได้พบพระธรรมที่ถูกต้อง นี้เป็นสิ่งที่ถูก เป็นกุศล เพราะว่าต้องการพระธรรมที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแต่ได้พบพระพุทธเจ้า หรืออะไรอย่างนั้น แล้วก็ไม่เข้าใจในพระธรรม ก็ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป

    ผู้ฟัง จะถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องการแผ่ ส่วนกุศล อุทิศส่วนกุศล ด้วยการกรวดน้ำ ด้วยการภาวนา เพราะว่าเคยได้ยินได้ฟังมาว่า อาจารย์เคยพูดว่าถ้าบารมีไม่ถึง ก็แผ่ไม่ได้ เลยไม่ทราบว่าอย่างกรณี ว่าเราไปทำบุญ เอาเงินสร้างโรงพยายาบาล กลับมา เราก็อยากจะแผ่กุศล สัพเพสัตตา อะไรอย่างนั้น ไม่ทราบว่ามันมีวิธีการอย่างไร เพราะว่าเคยได้ยินว่าถ้าบารมีไม่ถึงก็แผ่ไม่ได้ ไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้เกี่ยวกับบารมี แต่หมายความว่า เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือเปล่า เพราะว่า บางคนพูดได้ ขอให้สัตว์ทั้งหลาย แต่ใจจริง สัตว์ทั้งหลายจริงๆ หรือเปล่า เรายังโกรธใครอยู่บ้างไหม แล้วเราไปบอกว่าสัตว์ทั้งหลาย ทั้งๆ ที่เราก็ยังไม่สามารถที่จะละความโกรธในบุคคลนั้นได้ ก็เป็นเรื่องความจริง อาจจะสับสนที่ใช้คำ เราไม่ใช้คำว่า แผ่ แต่เราใช้คำว่า อุทิศส่วนกุศล ที่เราทำแล้วให้คนอื่นรู้ และอนุโมทนา ถ้าเขาสามารถจะรู้ ถ้าเขารู้ แต่เขาไม่อนุโมทนา กุศลจิตของเขาก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถที่จะแบ่งหรือเอาส่วนของกุศลของเราไปหยิบยื่นให้คนอื่น เพียงแต่ว่าเมื่อเราทำกุศลแล้ว คนอื่น รู้ก็สามารถที่จะอนุโมทนาได้ เขาก็เกิด กุศลของเขาได้ โดยที่เขาก็เพียงแต่ ยินดีในกุศลที่คนอื่นกระทำ

    ผู้ฟัง แล้วเรื่องวิธีการ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567