ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๒๕

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้ ถ้าความจริง ไม่ใช่ความฝัน ก็คือว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะให้มีใครต่อใครมากๆ มาฟังธรรมที่ถูกต้อง มาศึกษาธรรมที่ถูกต้อง ซึ่งจากการที่คุณภรณีไปที่ต่างๆ คุณภรณีจะเห็นจำนวนได้ ว่าสำหรับที่คุณภรณีไปจำนวนเท่าไร มากมาย ที่อเมริกาก็มีสำนักปฏิบัติ ที่ยุโรป ที่อะไรๆ ก็มี แต่ที่จะศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ คิดว่าน้อยมาก เพราะฉะนั้น ถึงยุคนี้สมัยนี้ ต้องเป็นผู้ที่สะสมบุญมาแล้วในอดีตแน่นอน ที่จะทำให้ได้มีโอกาสได้พบมิตรสหายผู้ที่จะให้ ความศรัทธาในพระธรรมเพิ่มขึ้น ให้เข้าใจเพิ่มขึ้น นี้เป็นข้อที่ ๑ ซึ่งการศึกษาธรรม ไม่ใช่เพียงอยู่ในตำรา ถ้าคุณภรณี ศึกษาทราบงว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา คุณภรณีรู้เลย ไม่มีใครจะไปบังคับ ชักจูงคนที่ไม่ได้สะสมมา แต่ถ้าคนที่ได้สะสมมา หลายท่านไม่มีใครชักจูง เปิดวิทยุเจอ หมุนเจอ โดยตัวของเขาเอง หรือบางคนก็ มีผู้ชักจูง แล้วก็สนใจ แต่ว่าถ้าคนไม่สนใจ ให้เทปไป ให้หนังสือไป ก็ไม่ได้อ่าน เทปก็ไม่ได้ฟัง เพราะว่าเป็นเรื่องยากมาก ในการที่ใครจะได้มีพระรัตนตรัย เป็นสรณะจริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

    เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจคำว่า อนัตตา แต่ว่า เรายังมีกุศลเจตนาที่จะสงเคราะห์ เราก็ต้องฟังธรรมด้วยตัวเรา เพื่อที่ว่าเขาจะเห็นว่า เราทำอะไร เราเข้าใจอะไร เราสามารถที่จะมีกาย วาจา ใจ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามพระธรรม ก็ทำให้เขาเริ่มที่จะสนใจ เพราะว่าบางคนก็อาจจะสังเกตเห็น การเปลี่ยนแปลงของบางคน ที่เคยโมโห หรือว่าเคย เป็นอะไรต่างๆ เสร็จแล้วพระธรรมก็ทำให้เขาค่อยๆ เปลี่ยนไป ก็จะเห็นผลว่า นี่เป็นผลของการศึกษาพระธรรม แต่นั้นเพียงแต่เป็นสิ่งภายนอก นี่ประการหนึ่ง แล้วอีกประการหนึ่งถ้าคุณภรณีคิดว่าจะช่วยเขา จะให้เขาฟังใคร ลองคิดดู ลองคิดลึกๆ ว่าจะให้เขาฟังใคร

    ผู้ฟัง อยากจะเรียนถามเพิ่มเติมปัญหาเดิม คือว่าอย่างภรณีเองก็ฟังจากวิทยุเหมือนกัน ก่อนเจอท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ หมุนเจอหรือ

    ผู้ฟัง หมุนเจอ ปกติจะเปิดในรถ เปิดแต่ AM ประจำ จะฟังหลายท่าน ส่วนใหญ่จะเป็นพระ จะมีท่านอาจารย์สุจินต์ท่านเดียวที่เป็น ฆราวาส คำถามก็คือว่า สำหรับคนที่ไม่รู้จักเลย ใครเลย เหมือนอย่างภรณีเมื่อก่อนนี้ ถ้าจะให้เชื่อ แล้วฟังตอนต้น ตอนแรกก็ คิดจะเชื่อ พระภิกษุสงฆ์มากกว่า คือที่จะฟัง เพราะยังไม่รู้จัก ท่านอาจารย์สุจินต์ คำสอน เพราะเราก็ยังไม่รู้ ใครจะสอนอะไรอย่างไร ถูกกับนิสัยเราถูกกับปัญหาเรา อะไรๆ อย่างไร ความที่คิดว่าเราจะเชื่อ แล้วฟัง ตอนแรกคิดว่าจะฟัง พระสงฆ์ก่อน เพราะมีความคิด อาจจะผิด พระสงฆ์ ผู้ที่ได้รับคำสั่งสอนตามที่พระพุทธเจ้า ท่านได้ตรัสรู้ แล้วอะไรอย่างนี้ ก็เลยคิดว่า หลายๆ คนก็คง จะเหมือนกัน ตอนแรก ซึ่งจะเชื่อ คือจะฟัง พระสงฆ์ก่อนซึ่งจาก ที่ได้ฟังพระสงฆ์หลายองค์ ก็ไม่ได้สอนตามที่ ท่านอาจารย์สอนอย่างนี้ ก็ถึงคิดว่าปัญหาตรงนี้

    ท่านอาจารย์ คุณภรณีฟังพระธรรมไม่ว่าจาก ใครก็ได้ ขอให้เป็นความเข้าใจในธรรม ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน แล้วก็เป็นความจริง เป็นสัจธรรมที่พิสูจน์ได้ แล้วค่อยเข้าใจขึ้น นี่คือปัญหาหนึ่งที่ตอบแล้ว แต่ว่าจะฟังใคร คนไหนอีก เพราะว่าถ้าคุณภรณีคิดพึ่งคนอื่น พาเขาไปฟังคนอื่น ที่มีความรู้ อย่างพวกเรา ถ้าเขาล้มหาย ตาย จากไป จะทำอย่างไร จะไปหาใครที่ไหนมาฟังอีก เพราะฉะนั้น ถ้าทางที่ดีที่สุดก็คือว่า ศึกษาเอง เข้าใจเอง แล้วไม่ต้องรอ เวลาที่จะช่วย ไม่ใช่เป็นการบรรยาย หรือว่าไม่ใช่เป็นการสนทนา เป็นชั้นอะไรอย่างนี้ โอกาสไหน ที่จำทำให้ใครเข้าใจธรรม เพียงพอสำหรับเขาทีละเล็กทีละน้อย หรือแค่ไหนก็ตาม แล้วแต่สติปัญญาของผู้รับ เราก็ให้ตามกำลังโดยไม่จำเป็นต้องรอคอยเวลาเลย แล้วก็ไม่ต้องไปคิดว่าเป็นคนโน้นพูดให้เขาฟัง คนนี้พูดให้เขาฟัง ตัวเราเองที่ศึกษาแล้วเข้าใจ ก็สามารถที่จะช่วยให้คนอื่นเกิดความเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้อง เจาะจงว่า เฉพาะคนนั้น หรือคนนี้ ถามคุณภรณีว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเวลานี้ มีแน่นอน ใช่ไหม ไม่เรียกอะไรเลย ได้ไหม

    ผู้ฟัง ควรต้องเรียก

    ท่านอาจารย์ ทำไม ต้องควร จะไม่เรียกก็ได้ จะเรียกก็ได้

    ผู้ฟัง เพราะอะไร

    ท่านอาจารย์ ก็สิ่งนั้นมี มีจริงๆ เขาไม่สนใจ ว่าใครจะเรียกอะไร แต่สิ่งนั้นมี ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ที่จะให้เขาไม่ปรากฏ หรือไม่มี เมื่อมีปัจจัยที่จะเกิด เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น อย่างเสียงอย่างนี้ กำลังกระทบ แล้วก็มีจิตที่กำลังได้ยินเสียง เสียงกำลังเป็นอารมณ์ของจิต ได้ยิน ไม่เรียกอะไรทั้งหมด ได้ไหม

    ผู้ฟัง เขาเกิดแล้ว ไม่เรียกก็ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเรียกก็ได้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรม จะใช้ภาษาอะไรก็ได้ หรือไม่เรียกภาษาอะไรเลยก็ได้ แต่สิ่งนั้นมีจริงๆ แต่จำเป็นต้องเรียก ต้องใช้คำ เพื่อให้เข้าใจว่า หมายความถึงอะไร เช่น โสตปสาท กับจักขุปสาท จำเป็นต้องใช้ให้เห็น ความต่างว่า หมายความถึงรูปอะไร ถ้าจักขุปสาท ก็หมายความถึงรูป ที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏ จิต เห็นจึงเกิด หรือว่าอย่างได้ยิน ต้องใช้คำว่า โสตปสาท เพราะโสตปสาท ไม่ใช่เสียง เสียงเป็นอย่างหนึ่ง โสตปสาทเป็นอย่างหนึ่ง จิตได้ยินแสียงเป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุว่าโสตปสาทมี เสียงมี แต่ว่าถ้าไม่กระทบกัน จิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องทราบความต่างของโสตปสาท ของสัททะ คือเสียง และก็ของโสตวิญญาณที่ได้ยิน แต่ไม่เรียกชื่ออะไรทั้งหมดได้ ขณะนี้เอาชื่อออกหมดเลย ก็ยังมีสิ่งที่ปรากฏ แต่ละลักษณะตามความเป็นจริง แต่ละทาง พอจะย้อนกลับมาหาหัวใจของคุณหมอได้ไหม หัวใจ หมอมีหัวใจไหม เดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจ ถ้าตอบว่ามี ก็ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วอยู่ตรงไหน ยังไม่ได้กระทบสัมผัสอะไรเลยสักอย่างเดียว แต่จำไว้ว่ามี แล้วก็มีรูปร่างไหม หัวใจของหมอที่ว่ามี ต้องมีรูปร่างด้วยไหม

    ผู้ฟัง ก็จำว่ามี รูปร่าง

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีแล้วหมอจะเรียกหัวใจได้หรือ ที่ตัวมีสี ทั้งภายใน และภายนอก แล้วก็สีก็มีหลายสี มีขอบเขตที่จะทำให้เรียก ส่วนนี้ว่า คิ้ว ส่วนนั้นว่า ตา จำไว้หมด จนกระทั่งรูปร่างอย่างนั้น เรียกว่าหัวใจ จะไหว จะเต้น หรืออะไรก็แล้วแต่ นั่นตามที่เราคิด ถูกไหม แต่ขณะใด ที่สิ่งใดไม่ปรากฏ เราคิดว่ามีเราตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า แล้วช่างรู้อะไรไปหมดเลย ตาก็เห็น หูก็ได้ยิน รวมกันหมดแต่ย่อลงมา ต้องไม่ลืม จิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เพราะฉะนั้น ทีละหนึ่งขณะ จะรู้อะไรมากมาย อย่างนั้นได้ไหม เพียงขณะเดียวที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นทางตาก็จะเพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏสั้นๆ ทั้ง จิตเห็น แล้วก็สิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเป็นทางหู เสียงก็ สั้นนิดเดียว แล้วก็จิตได้ยิน ก็นิดเดียว แล้วก็หมด หมดแล้วไม่กลับมาอีกด้วย นี้คือความหมาย ว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ห้ามไม่ให้เกิด ก็ไม่ได้ เมื่อมีปัจจัยที่จิตได้ยินจะเกิด จิตได้ยินก็เกิด แล้วดับ จิตที่เกิดแล้วดับ เป็นของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของสักอย่างเดียว นี่แสดงถึงความหมายของความเป็นอนัตตา แล้วถ้าศึกษาต่อไปมากๆ เป็นผู้ที่มั่นคงในความเป็น อนัตตา เราจะไม่หวั่นไหวเลย คุณภรณีก็จะไม่หวั่นไหว ว่าใครจะได้ยินธรรม ใครจะไม่ได้ยินธรรม แล้วแต่การสะสม ซึ่งเป็นอุปนิสัย เป็นอุปนิสยปัจจัย ถ้าเขาทำบ่อยๆ ในชาติก่อนๆ คือฟัง แล้วก็สนใจ ชาตินี้ก็สนใจอีก ฟังอีกบ่อยๆ ชาติต่อไปก็สนใจอีก ฟังอีกบ่อยๆ เป็นปัจจัย จากการที่ทำจนเคยชิน โดยที่ว่าเราก็ยับยั้งแต่ละคนไม่ได้ ถ้าใครที่จะสะสม ความเห็นผิด เขาก็ง่ายต่อการที่จะฟังผิด แล้วเชื่อ เพราะเขาสะสมมา บ่อยๆ ที่จะเป็นอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย ก็เป็นอนัตตา จริงๆ ไม่เดือดร้อน เพราะว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่างคุณชุติมันป่วย เราจะหวั่นไหว หรือว่าเราจะทำอะไรเราทำ สิ่งที่เราสามารถจะกระทำได้ โดยไม่หวั่นไหว เพราะรู้ว่า อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด แม้แต่คุณชุติมันเอง จะเข้าใจความหมายของ อนัตตา มากขึ้น แล้วก็มั่นคงขึ้น เรื่องทุกอย่างเป็น อนัตตา ไม่อย่างนั้น เราก็จะเดือดร้อนใจบ้าง อะไรบ้าง หรือว่าเวลาที่ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ หวั่นไหวเดือดร้อน แต่รู้ว่าเป็นธรรม ซึ่งเกิดตามปัจจัย เมื่อมีโสตปสาท ก็มีเสียง แล้วแต่ว่าเสียงนั้น ที่ได้ยิน จิตจะเป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ถ้าเป็นกุศลวิบาก ผลของกุศล ก็ได้ยินเสียงที่ดี ถ้าเป็นอกุศลวิบาก ก็ได้ยินเสียงที่ไม่ดี แล้วก็ดับ ไปหมดเลย จะเดือดร้อนอะไรกับสิ่งที่ปรากฏ เพียงชั่วขณะสั้นๆ แล้วก็หมด นี่คือชีวิตซึ่งเราคิดว่า ยืนยาวมาก แต่แท้จริง คือ เพียงชั่วหนึ่งขณะจิต ไม่ว่าจะเป็น จิตขณะแรกที่เกิด ปฏิสนธิก็สั้นมากหนึ่งขณะจิต จุติจิตก็หนึ่งขณะจิต ทุกๆ จิตมีอายุเท่ากันหมด อุปาทขณะขณะเกิด ภังคขณะคือขณะดับ ขณะที่เกิดแล้วยังไม่ดับเป็นฐีติขณะ ชื่อพวกนี้อีกหน่อยจะชินหู เพราะว่าไม่ยากอะไรเลย แล้วก็เกิดอีก เพราะฉะนั้น ความตายในชาตินี้ ก็เป็นแต่เพียง สมมติสัจจะ เพราะว่าต้องเกิดอีก แล้วเปลี่ยนสภาพตามกรรม ที่พูดถึงวิบาก อะไรพวกนี้ ก็เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่พอจะรับได้ฟังได้ หมายความถึงอะไร ไม่เหมือนพวกปรมัตถธรรม นี้ย้อนมาถึงหัวใจของหมออีก จิตหนึ่งขณะเกิดแล้วก็ดับ แล้วหัวใจหมอมีไหม

    ผู้ฟัง หัวใจนี้คือสมมติ ถ้าทางปรมัตถไม่มี

    ท่านอาจารย์ แล้วทางปรมัตถเป็นอะไร ที่เรารียกว่าหัวใจ เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นหทยรูป

    ท่านอาจารย์ เป็นรูปชนิดหนึ่งหนึ่ง ซึ่งเกิดดับ เร็วมาก แต่เราไปจำรูป ทั้งก้อน เป็นรูปร่างหัวใจ เหมือนกับว่า เราจำตาทั้งหมดว่าเป็น ตา แต่ความจริงรูปนั้นเล็ก แต่ละรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตนี่อายุสั้นมาก แล้วก็เล็กน้อยด้วย ไม่มีนะหมอ

    ผู้ฟัง ไม่มี มีสมมติ

    ท่านอาจารย์ มีหทยรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจิต แต่ว่ามองไม่เห็น แต่รูป นี้มีแน่นอน เพราะว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ รูปต้องเกิด ที่หทยรูป เป็นส่วนใหญ่ เว้นจิต ๑๐ ดวงที่เกิด ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย นอกจากนั้น แล้วเกิดที่หทยรูป

    ผู้ฟัง อยากทราบความหมายของคำว่า สสัมภาระ

    ท่านอาจารย์ ต้องการตัวอย่างอื่น ใช่ไหม มีตา ตรงไหนเป็นตา ทั้งหมดนั่นเลย นั่นคือ สสัมภาระจักขุ แต่ถ้าเป็นจักขุปสาท แล้วไม่ใช่ทั้งหมดนั่น เฉพาะส่วนที่สามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น เพราะฉะนั้น ก็อยู่ตรงกลางตา มีจมูกไหม อยู่ตรงไหน ลองชี้ หมดเลย นั่นคือ สสัมภาระ ทั้งหมด หูก็เหมือนกัน เราก็พูดว่า หูทั้งหมดก็เป็น สสัมภาระ แต่จริงๆ ต้องหมายความถึง โสตปสาทรูปเท่านั้น แล้วก็ฆานะปสาทรูปก็ไม่ใช่ จมูกทั้งหมด รวมทั้งชิวหาปสาทรูปด้วย ก็ไม่ใช่ลิ้นทั้งแผ่น จากโคนลิ้น ถึงปลายลิ้น แต่เฉพาะส่วนที่สามารถกระทบกับรส ต่างๆ กายปสาท ซึมซาบอยู่ทั่วตัว ทั้งภายในภายนอก แต่ส่วนใดที่ไม่มีกายปสาท เช่น ผม เส้นผม ปลายผม ปลายเล็บ พวกนี้ ก็ไม่มีกายปสาท แต่เราก็เรียกว่า กาย กว้างๆ ใหญ่ๆ

    ผู้ฟัง คือเคยคุยกัน แล้วก็บอกว่า ดิน ทั่วๆ ไปเป็น สสัมภาระของธาตุดิน อย่างนี้ ใช้คำนี้ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่ได้พูดถึงลักษณะแข็ง ในรูป กลาป แต่ละกลาป แต่พูดถึงดินรวมๆ

    ผู้ฟัง เรื่องนี้ก็สำคัญ ในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็มีผู้เข้าใจผิดใน การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้ศึกษา อานาปาณบรรพ ก็เข้าใจว่า การรู้ลมหายใจนี้ก็เป็นการเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตามความเป็นจริงก็ ลมหายใจ ออก-เข้านี้ เป็นสสัมภาระวาโย ไม่ใช่เป็น ปรมัตถวาโย เพราะฉะนั้น ก็ไม่อาจจะเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้

    ท่านอาจารย์ ต้องได้ เพราะเหตุว่า อานาปาณบรรพ มี

    ผู้ฟัง แต่ก็ไม่ใช่ การระลึกตรงลมหายใจ ยาวๆ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ต้องระลึก รูปที่ปรากฏที่ช่องจมูก แล้วก็รู้ว่า ขณะนั้น ไม่ใช่รูปที่เคยเข้าใจว่า เป็นลมหายใจเข้า ลมหายใจออกยาวๆ เพราะว่ารูปนั้นเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน สามารถปรากฏกับปัญญาได้

    ผู้ฟัง เพราะลักษณะวาโย คือ โผฏฐัพพะ ที่กระทบทางกาย แล้วก็ลมหายใจ นี้เป็นแต่เพียง สสัมภาระวาโย

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าที่เราคิดถึงลมหายใจ เราคิดถึง เข้ายาว ออกยาว แต่ว่า ลมหายใจที่เป็น รูปปรมัตถ จะมีลักษณะอ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เย็นหรือร้อนที่กระทบ สามารถที่จะปรากฏ ได้เป็นอานาปาณบรรพ เมื่อเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่สสัมภาระอานาปาณ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เลือก เราอยากจะระลึกที่ลมหายใจ แล้วก็เป็นอานาปาณบรรพ ไม่ใช่ แต่ถ้าลมหายใจปรากฏ ขณะนั้นเพราะสติระลึก แล้วปัญญาก็รู้ว่าขณะนั้น เป็นแต่เพียงธาตุชนิดหนึ่ง ก็จะละคลาย การที่เคยยึดถือธาตุนั้นว่าเป็นเรา แต่ส่วนใหญ่ เวลาที่ทำอานาปาณสติสมาธิ เขาจะไม่รู้ลักษณะของลมหายใจจริงๆ เพราะเหตุว่า เขามีบัญญัติ สสัมภาระเป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง ในปฏิกูลมนสิการบรรพ นี้ ก็มีการเข้าใจว่า เป็นแต่เพียงพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้ก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั้นคือสสัมภาระปฐวี

    ท่านอาจารย์ เป็นปรมัตถ ถึงจะสติระลึกที่ปรมัตถ ที่เคยยึดถือว่าเป็นเล็บ เป็นผม คือลักษณะที่แข็ง ต้องมีปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง มีผู้ศึกษาแล้วก็คงจะติดโดยศัพท์ โดยชื่อ คำว่า ปฏิบัติเนกขัมมะ ซึ่งอันนี้ผมเข้าใจว่าจะต้องได้ยิน จากที่ใดที่หนึ่งมา แต่ว่าโดยปกติ แล้วท่านอาจารย์ จะอธิบายคำว่า เนกขัมมะ เป็นลักษณะในชีวิตประจำวัน ของแต่ละคน คือ การออกจากความยินดีติดข้องพอใจ เช่น เป็นคนที่ชอบ อะไรก็เคย สะสมอะไรก็เคย คุ้นเคยอะไรก็เคย เคยๆ อย่างนั้นมากๆ ทั้งๆ ที่บางทีแล้วมันก็ได้จำเป็น แต่ว่าเป็นคนชอบสะสม ชอบเก็บ ชอบอะไร พอฟังจะปฏิบัติเนกขัมมะ ก็คิดว่าน่าจะเป็น การพอใจ แล้วก็ไม่ต้องไปซื้อ ไม่ต้องไปหา มีอะไรใช้แค่นั้น

    ท่านอาจารย์ โชคดีที่พวกเราไม่มีใครจะปฏิบัติ เนกขัมมะ

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วควรจะมีคำอธิบาย อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เรื่องเข้าใจให้ถูกต้อง ไม่ใช่จะปฏิบัติเนกขัมมะ อยู่ดีๆ ก็จะปฏิบัติเนกขัมมะ โดยที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่ได้

    ผู้ฟัง ขออาจารย์สมพร ช่วย อธิบายศัพท์ เนกขัมมะ

    สมพร. อธิบายเฉพาะเนกขัมมะ มี ๒ อย่าง คือออกจากกาม เนกขัมมะ แปลว่า ออกจากกาม ทางกายอย่างหนึ่ง ทางจิตอย่างหนึ่ง ถ้าสติปัฏฐาน นี้ เป็นการออกทางจิต หรือว่า เนกขัมมะ เมื่อสติปัฏฐาน เกิด ออกจากกามขณะนั้น ส่วนออกทางกาย เช่น ภิกษุ ออกบวช ไม่คลุกคลี ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เขาก็เรียกว่า เนกขัมมะ มันออกทางกาย แต่ทางใจยังไม่ออกก็ได้

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นฆราวาส จะละคลาย เนกขัมมะได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ จะเร็วถึง อย่างนั้นเลยหรือ กำลังฟังอย่างนี้ เป็นหนทางที่จะออกหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ยังมองไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ฟังทำไม มานั่งฟังทำไม ทำไมไม่ไปซื้อของ ไปทำอะไรๆ

    ผู้ฟัง ฟังทำไม คือฟังให้เข้าใจในเรื่องที่กำลังฟังอยู่ ทีนี้ พอเรื่องที่ฟังอยู่ อาจจะไม่ได้กล่าวในเรื่องของเนกขัมมะ

    ท่านอาจารย์ ทำไมถึงไปถึงเนกขัมมะ ในเมื่อเรากำลังสนใจที่จะเข้าใจสภาพธรรม นี้ไม่ใช่หนทางที่จะออกจากความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะหรือ ต้องมีความเข้าใจ ถ้าไม่มีความเข้าใจแล้วอย่างไรก็ เนกขัมมะไม่ได้ ฟังนิดเดียว เนกขัมมะเลยไม่ได้ ตอนค่ำ คุณบุตร สาวงษ์ คงจะพูดเรื่อง อัธยาศัย จากการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เรื่องของสมาธิ เรื่องของอะไร จากที่วันนั้นพูดเรื่อง สมาธิสูตร กับ อัสสชิสูตร ตอนค่ำ จะได้เข้าใจ ความละเอียดขึ้น เพราะเหตุ ว่าธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด อย่ารีบร้อน ต้องค่อยๆ เข้าใจแล้ว ต้องเข้าใจจริงๆ พอได้ยินชื่อ จิต เจตสิก รูป คิดว่าเข้าใจแล้ว พอได้ยินคำว่า ทวาร คิดว่าเข้าใจแล้ว ทุกอย่างต้องละเอียด

    ผู้ฟัง เพราะว่าท่านอาจารย์ จะเน้นอยู่เสมอว่า ทุกอย่างเป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ตอบได้ แต่ต้องเข้าใจโดยการพิจารณา ให้เข้าใจจริงๆ ว่าเข้าใจแล้ว

    ผู้ฟัง ทีนี้ความเข้าใจจริงๆ จะเข้าใจตอนต้นทีแรก ก็คงจะเป็นเรื่องของ ...

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจว่าการศึกษาธรรม ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้น เป็นเนกขัมมะได้ไหม ออกจากกาม จึงเป็นกุศล ขณะหนึ่งๆ

    ผู้ฟัง ถ้าจะกล่าวโดยรวมๆ ก็จะบอกว่า ขณะที่เป็นกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ กุศลจิตเกิด

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นอกุศลจิต ก็ไม่ได้ออกจากเนกขัมมะ

    ท่านอาจารย์ ข้อความในพระไตรปิฎก กว้างขวางมาก บางคนอาจจะยังไม่เจอข้อความนี้ แต่ว่าภายหลังก็อาจจะเจอได้

    ผู้ฟัง ยังมีข้อสงสัยอีก ท่านอาจารย์พูดถึงเรื่องทุกอย่างเป็นธรรม ตอนแรกยังเป็นการรู้ชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม ธรรมกำลังปรากฏ ทีนี้พอเห็นทีไร มันเป็นธรรมอย่างไร ก็เป็นอย่างสิ่งเก่าๆ

    ท่านอาจารย์ ต้องการให้เห็นอะไร

    ผู้ฟัง ให้เห็นเป็นธรรม

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ แล้วอย่างไร ถึงจะเห็นเป็นธรรมได้

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นมันก็เหมือนเป็นเรื่องที่

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีตัวตนพยายาม นั่นไม่ใช่การเข้าใจธรรมเลย เพราะว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ทิ้งไม่ได้เลย แต่ถ้ามีตัวตนกำลังพยายามขณะใด นั่นหลงทางอีกแล้ว

    ผู้ฟัง ถ้าไม่หลงทางทำอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ศึกษาให้เข้าใจขึ้น ปัญญาทำหน้าที่ของปัญญา ไม่มีใครไปทำหน้าที่ของปัญญา ตัวตนไปทำหน้าที่ของปัญญาได้อย่างไร เมื่อปัญญาไม่มี แต่ตัวตนพยายามดิ้นรนให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ ให้ละอย่างนั้น ให้ละอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้

    ผู้ฟัง เวลาฟังก็ไม่ได้คัดค้าน กลับมีความเชื่อ

    ท่านอาจารย์ ปัญญามีกี่ขั้น

    ผู้ฟัง เชื่อขั้นฟัง ที่นี้ว่าเวลา พอเชื่อขั้นฟังแล้ว ทีนี้ก็มีความคิดว่า มันจะต้องมีลักษณะที่เป็น ธรรมจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ใช่ เวลานี้เป็นอย่างนั้น แล้วอะไรรู้ คุณศุกล รู้ หรือว่าสภาพธรรม ใดรู้

    ผู้ฟัง ปัญญารู้

    ท่านอาจารย์ ต้องปัญญา แล้วปัญญาที่จะรู้ได้มีกี่ขั้น ก็ต้องค่อยๆ ศึกษาไป

    ผู้ฟัง ถึงไม่พูด เรื่องขั้นที่สูงๆ ก็ต้องเข้าใจว่าจะรู้โดยที่ ไม่รู้เบื้องต้นก่อน

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ว่าเป็นปัญญา เราก็ฟังต่อไปให้ปัญญาเพิ่มขึ้น ไม่ใช่พอฟังแล้ว ทำอย่างไรถึงจะไม่เห็นว่าเป็นคนอีกต่อไป

    ผู้ฟัง ถ้าอยากเห็นอยากรู้

    ท่านอาจารย์ นั่นไม่ใช่ปัญญา

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ปัญญา แล้วก็ไม่มีทางจะรู้

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่หนทางแน่นอน

    สมพร. เนกขัมมะ ที่อาจารย์พูดบ่อยๆ เพราะว่าเนกขัมมะ แปลว่าออกจากกาม ขณะที่สติปัฏฐาน เกิด ขณะนั้นก็เริ่มออกจากกามแล้ว ก็การออกจากกามเป็นไปโดยลำดับ จนกว่ามรรคจิตจะเกิด

    ท่านอาจารย์ โดยมากเรามักจะเอาตัวเราเป็นเครื่องวัด เรายังไม่อย่างนั้น เรายังไม่อย่างนี้ แต่ถ้าคิดเรื่องจิตทีละหนึ่ง ขณะว่าจิตนั้น เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล การออกๆ ในระดับไหน แค่ไหน ยังไม่ถึงที่จะออกไปจากกิเลส เพียงออกจากการติดข้องในวัตถุที่จะให้ เพราะว่าวัตถุ ก็เป็นกามด้วย ไม่มีเชื้อชาติ ไม่มีอะไรเลย สภาพธรรม เป็นสภาพธรรม กุศลจิตเป็นกุศลจิต อกุศลจิตเป็นอกุศลจิต

    ผู้ฟัง เคยฟังที่อาจารย์บรรยายใน บารมีในชีวิตประจำวัน ใช้คำว่า เนกขัมมะ เป็น ความรู้จักพอ

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ ไปทีละน้อยๆ ให้สละหมด สละอย่างไรได้

    ผู้ฟัง ทีนี้หมายถึงพอของปุถุชน

    ท่านอาจารย์ เริ่มจากพอ บ้างหรือยัง แค่พอก่อนยังไม่ต้องไปถึงไหน แค่พอก่อน เอาแค่พอซึ่งไม่เคยพอเลย มีเสื้อ ๕ ตัวพอไหม ๑๐ ตัวพอไหม ๒๐ ตัวพอไหม ถ้าพอเมื่อไรก็คือเริ่มค่อยๆ รู้จักพอ แค่นี้พอแล้ว แค่นี้พอแล้ว หรือว่าเริ่มคิดที่จะพอบ้าง ซึ่งไม่เคยคิดมาก่อน ค่อยๆ ไปทีละน้อย

    ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน อย่างที่เวลาเราเห็น สังเกต อย่างจิตเห็น ซึ่งเป็นวิบากจิต สิ่งที่เราเห็น บางทีอารมณ์ ที่เป็น อารมณ์ที่ไม่ประณีต

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567