พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 600


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๐๐

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่ความไม่ดี ไม่ใช่ความไม่เข้าใจ ไม่ใช่ความอยากได้ ไม่ใช่ความโกรธเคือง ไม่ใช่ความสำคัญตน เพราะกำลังมีความเข้าใจถูกในสิ่งที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น ก็ใช้คำว่า “กุศล” หรือ “กุศละ” ซึ่งสภาพธรรมที่เป็นกุศลจะเกิดได้บ่อยไหม ถ้าไม่มีปัจจัยคือเจตสิกถึง ๑๙ ประเภท ซึ่งมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรมทั้งหมด ไม่ใช่เพื่อหวังอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ฟังเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังเพิ่มขึ้นจนค่อยๆ รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏตามระดับขั้น ตั้งแต่อุปนิสยโคจร อารักขโคจร จนถึงอุปนิพันธโคจร

    สังเกตได้ มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู เสียงปรากฏ ทางกาย แข็งปรากฏ รู้ตรงที่ลักษณะนั้นทีละอย่างๆ หรือยัง นี่คือเราไม่ต้องใช้คำว่า “สติ” แต่ความเข้าใจถูกในสิ่งที่มี ซึ่งเพียงปรากฏ พร้อมกันไม่ได้เลย ขณะที่แข็งปรากฏ แข็งไม่ใช่สีสันวัณณะที่จะปรากฏให้เห็นเหมือนสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็นทางตา

    เพราะฉะนั้น แข็งก็เป็นธาตุหรือธรรมอย่างหนึ่ง แสดงความจริงว่า ธาตุนี้มีแน่นอน เพราะปรากฏลักษณะที่แข็ง เมื่อไร เมื่อมีธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถรู้แข็ง แข็งจึงปรากฏได้ ฟังเข้าใจอย่างนี้ต้องคิดถึงถึงสติหรือสติปัฏฐานไหม ไม่ต้อง แต่ผู้นั้นก็รู้ได้ว่า มีความเข้าใจ แล้วขณะที่เข้าใจนั้นเป็นอกุศลไม่ได้เลย ต้องเป็นกุศล

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรมที่ละเอียดขึ้นๆ ก็เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้นแม้ในขั้นการฟังว่า เป็นธรรมซึ่งไม่ใช่ใคร เพียงมีปัจจัยเกิดแล้วดับ แค่นี้เอง ทั้งหมดในสังสารวัฏ แต่ละขณะก็เป็นอย่างนี้ เกิดมาเป็นคนนี้นานไหม จนถึงเดี๋ยวนี้ ก็จะต้องจากโลกนี้ไป

    เมื่อวานนี้เราเรียนเรื่องที่พึ่ง จากโลกนี้ไปแน่ๆ เมื่อไรก็ยังไม่รู้ ไปไหน มีที่พึ่งที่จะไปไหน หรือว่าตั้งแต่เกิดมาก็ไม่มีที่พึ่งที่จะรู้ว่า ไปไหน แต่ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม และประกอบด้วยปัญญา เป็นที่พึ่ง ถ้าขณะนั้นให้ผลก็คือว่า ใกล้จุติ จิตไม่เศร้าหมอง ผ่องใส ซึ่งไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ว่า กรรมไหนจะให้ผล แต่เมื่อกรรมดีมีในชาตินี้ และในชาติก่อนๆ กรรมดีเป็นที่พึ่ง แต่กรรมไม่ดีหรืออกุศล เป็นที่พึ่งไม่ได้

    เพราะฉะนั้น เราจะรู้จักตัวเองว่า ตั้งแต่เกิดมา ที่พึ่งจริงๆ มีหรือไม่ เมื่อจากโลกนี้ไป จะเอาอะไรตลอดชีวิต ที่พึ่งอันไหนที่จะทำให้เราไปสู่ที่ปลอดภัย คือไม่ใช่อบายภูมิ ๔

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นธรรมที่ละเอียด ที่จะรู้ว่า ขณะนี้เราอาจจะคิดว่า เราไม่ต้องพึ่งอะไร ไม่จำเป็นต้องมีที่พึ่ง แต่ตายแล้วไปไหนจะพึ่งอะไร ถ้าไม่มีกุศลกรรมในชาตินี้มากพอ หรืออกุศลกรรมที่ทำมาร้ายแรงมาก ก็ไม่สามารถไปสู่ภูมิที่ดีได้

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ไม่ใช่ไปหวังว่า ถ้าพูดเรื่องปรมัตถธรรม คือสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ก็ต้องพูดเรื่องสติปัฏฐาน ไม่ใช่อย่างนั้น พูดแล้วเข้าใจขึ้นย่อมนำไปสู่การรู้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เพราะมีจริงๆ แล้วปรากฏด้วย แต่เมื่อมีจริง ปรากฏ หมดไป ไม่รู้ ก็ไม่เป็นที่พึ่ง เพราะไม่มีความเห็นถูก ไม่มีความเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจว่า ตอนตาย จากไป จะพึ่งอะไร แล้วมีที่พึ่งหรือยัง ขณะนี้ก็รู้ด้วยตัวเองว่า มีที่พึ่งพอที่จะไม่ไปอบายภูมิหรือไม่ เพราะผู้ที่จะไม่ไปสู่อบายภูมิ แน่นอนเด็ดขาดคือพระอริยบุคคล พระโสดาบันไม่ไปสู่นรก ไม่ไปสู่เปรต สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย ภพภูมิที่ไม่ดีทั้งหมด เพราะว่ามีความเห็นถูกที่สามารถจะไม่มีกรรมที่ทำให้ไปสู่อบายภูมิได้อีก ก็เป็นที่พึ่งจริงๆ

    อ.วิชัย ท่านอาจารย์กล่าวถึงในขั้นการฟัง โดยไม่ต้องใช้ชื่อ แต่โดยสภาพธรรมที่เป็นโสภณธรรม สติก็เกิดขึ้น แต่เมื่อเจริญขึ้น รู้สึกว่า สติเกิดก็รู้ว่า มีสติที่เกิดขึ้น ต่างกับขณะที่ไม่ได้เจริญขึ้น แม้สติเกิด ก็เข้าใจขณะนั้นรู้ว่า ขณะที่ฟัง หรือขณะที่เป็นกุศล สติเกิด แต่เมื่อมีความรู้มากขึ้น สติเกิดก็รู้ว่ามีสติเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิดต้องถามว่า ขณะนั้นสติรู้อะไร สติเกิดไม่รู้ได้หรือไม่

    อ.วิชัย ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วขณะที่ว่าสติเกิด สติรู้อะไร

    อ.วิชัย ก็เป็นความระลึกได้ที่พิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ความขุ่นใจ ขณะที่ขุ่นใจก็หลงลืม แต่ต่างกับขณะที่สติเกิด ที่พิจารณาถึงความขุ่นใจในขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ โดยมากจะเป็นเรื่องหรือเปล่า เพราะว่าหลายคนก็คิด เวลาที่ลักษณะของสภาพธรรมเกิด อย่างโทสะเกิด ก็เรียกชื่อ โทสะ แล้วก็อาจจะพรรณนาท้าวความ มีปัจจัยก็เกิด ไม่ใช่ตัวตน แล้วแต่ว่าขณะนั้นมีปัจจัยให้นึกคิดอะไร แต่ไม่รู้ลักษณะที่เป็นธรรม เพราะกำลังคิดก็เป็นธรรม และโทสะที่เกิดก็ดับ โดยสภาพที่ต่างกับธรรมอื่น โกรธต่างกับขณะที่กำลังสนุกสนาน สภาพธรรมก็ต่างกัน

    เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เพียงนึกถึงเรื่องราว ขณะนั้นที่เป็นกุศล ไม่ใช่โกรธเพราะระลึกเป็นไปในความจริงว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นธรรม ขณะนั้นคือขณะใดก็ตามที่กุศลจิตเกิด ธรรมที่ได้ฟังเป็นอารักขโคจร ป้องกันไม่ให้ขณะนั้นเป็นอกุศล เพราะว่ามีการฟัง และรู้โทษของอกุศลว่า โกรธ ใครเป็นผู้ได้รับโทษแน่ คนถูกโกรธสบายมาก แต่คนโกรธ ตั้งแต่โกรธก็ขุ่นใจ ถ้าโกรธมากๆ ขึ้นก็ประทุษร้ายตัวเอง จนกระทั่งถึงกับกระทำอกุศลกรรมทางกาย ทางวาจาก็ได้ เป็นโทษกับใครเมื่อกรรมนั้นสำเร็จแล้ว ในเมื่อจิตหนึ่งขณะดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด ไม่ใช่ไปเอาจิตของคนอื่นมาสืบต่อ หรือว่าจะเอากรรมที่กระทำแล้วให้ใครได้ เพราะจิตเกิดแล้ว ๑ ขณะ ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด เมื่อมีเจตนาที่เป็นอกุศล เห็นไหม เจตนาประทุษร้ายเกิดสะสมอยู่ในจิต ก็เป็นปัจจัยให้เกิดผล คือ จิตเห็น หรือจิตได้ยินเกิดขึ้น รู้สิ่งที่ไม่ดี ซึ่งมีความมุ่งหวังให้คนที่เราประทุษร้ายได้เป็นอย่างนั้น ก็เกิดแล้วตามเหตุที่ได้กระทำไว้ซึ่งได้สะสมอยู่ที่จะต้องเป็นปัจจัยให้ผลนั้นเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่ของใคร ก็เป็นธรรมนั่นเอง

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ส่วนการที่ใครจะรู้แจ้งสภาพธรรม ดับกิเลสเป็นพระอริยบุคคล จะเร็วไหม มีสภาพธรรมปรากฏ เข้าใจเห็นที่กำลังเห็นบ้างไหม เข้าใจสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เป็นเพียงธาตุที่มีจริงที่สามารถกระทบจักขุปสาทอย่างเดียว และเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น ธาตุนี้จึงปรากฏว่า ธาตุนี้มี คนตาบอดไม่มีโอกาสเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏว่า มีจริงๆ อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเพียงธาตุหรือธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วมีความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งภาษาบาลีจะพูดว่า รูปารัมมณะ หรือรูปารมณ์ เมื่อมีจักขุวิญญาณ คือจิตเห็น ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น คือ รูปารมณ์ แล้วเข้าใจว่าอย่างไร รูปารมณ์ เดี๋ยวนี้เองกำลังปรากฏ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นแต่เพียงธาตุอย่างหนึ่งซึ่งสามารถปรากฏให้เห็นได้ แล้วก็ดับไป เมื่อไรรู้อย่างนี้ ต้องพูดถึงสติปัฏฐานหรือเปล่า จะต้องใช้คำว่า “สติปัฏฐาน” หรือเปล่า

    นี้ก็ทบทวนเมื่อวานนี้ซึ่งขณะนี้ที่กำลังเห็น กำลังคิด หรือกำลังได้ยิน เป็นธาตุรู้หรือสภาพรู้ เสียงปรากฏเมื่อมีธาตุที่ได้ยินเสียง เพราะฉะนั้น ถ้ากำลังเริ่มเข้าใจลักษณะของธาตุซึ่งไม่มีรูปร่าง เกิดแล้วมีสิ่งที่ปรากฏอย่างนี้ให้รู้ว่า ธาตุนั้นกำลังรู้สิ่งที่ปรากฏ ถ้าเข้าใจขึ้นๆ แล้วขณะนี้ที่กำลังได้ยิน มีธาตุได้ยินแน่ๆ ธาตุรู้ ขณะที่เริ่มเข้าใจธาตุรู้ที่กำลังได้ยิน จะต้องใช้คำว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” ไหม

    นี่ก็คือไม่จำเป็นต้องใช้คำ เพราะว่าคำที่ใช้ในยุคโน้นเป็นภาษามคธี แล้วเราก็อาจจะเคยได้ยินได้ฟัง เคยพูด แต่ว่าเดี๋ยวนี้ไม่รู้เรื่อง ถ้าพูด แต่ถ้าเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ได้ยินในภาษาไหน ก็สามารถเข้าใจในภาษานั้นได้

    ด้วยเหตุนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ว่า ขณะที่กำลังเริ่มรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ขณะเห็น ยังไม่ต้องคิดอะไร เผชิญหน้ารู้ว่ามีจริงๆ ขณะที่กำลังฟังก็ยังไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังเผชิญหน้า และมีจริงๆ จนกว่าจะฟังแล้วฟังอีก จึงจะค่อยๆ เข้าใจความจริง ถึงแม้ไม่ได้ยินในขณะนี้ก็อาจจะระลึกได้ เมื่อไรก็ได้ เมื่อมีสิ่งใดปรากฏว่าเพียงปรากฏให้เห็น เข้าใจลักษณะนั้น แทนที่จะใช้ชื่อหรือใช้คำ ขณะนั้นที่กำลังเริ่มเข้าใจลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ก็คือสติปัฏฐาน และขณะนั้นก็ไม่ต้องเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่สามารถเข้าถึงความจริงของสภาพนั้น และเมื่อผ่านพยัญชนะใดก็รู้ว่า นั่นคือสิ่งที่เป็นอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นนัยของธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ไม่ใช่รู้ชื่อ แล้วก็สงสัยว่า สติเป็นอย่างไร ใช่หรือไม่ อย่างนั้นก็คือไม่ได้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น ต้องฟังอีกมากไหม หรือพอแล้ว มีตาก็เห็นไป มีหูก็ได้ยินไป พอแล้ว ไม่ต้องฟังอีกแล้ว เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ฟังอยู่ยังไม่รู้ แล้วถ้าไม่ฟัง เมื่อไรจะรู้ได้

    อ.วิชัย รู้สึกว่า ความเข้าใจในขั้นการฟังก็เป็นเครื่องปรุงแต่งให้ แม้ฟังคำที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เข้าใจถึงลักษณะที่กำลังมีอยู่ แทนที่จะไปคิดถึงชื่อ หรือเรื่องในศัพท์ต่างๆ ต้องเป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้นจากขั้นการฟัง

    ท่านอาจารย์ นี่คือพื้นฐานที่จะเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้ง

    อ.อรรณพ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีขณะนี้ ตามปกติ ตามความเป็นจริง จะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ แต่ละคำต้องละเอียด เพราะเป็นแต่ละภาษา อย่างภาษาไทยที่ใช้คำว่า “ระลึกรู้” ต้องเข้าใจด้วย คิด มี และถ้าคิดมากๆ เรื่องยาว เราอาจใช้คำว่า “ระลึก” ได้ แต่ถ้าเป็นภาษาบาลีที่ใช้คำที่แปลว่า ระลึกรู้ หมายความว่าผู้นั้นต้องมีปัญญา ที่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ถูกต้องไหม ถ้าไม่มีปัญญา แล้วไปบอกใครให้ระลึกรู้ จะระลึกอะไร ก็ไม่รู้จะระลึกอะไร เพื่ออะไร แต่เมื่อเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรมซึ่งเกิดดับ แต่ยังไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่เกิดดับ แล้วมีหนทางใดที่จะรู้ความจริงนี้ได้ หรือไม่มีหนทาง ถ้าไม่มีหนทาง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ได้ หรือเมื่อทรงตรัสรู้แล้วก็ไม่ทรงแสดง ถ้าไม่มีหนทางให้คนอื่นได้รู้ตามด้วย แต่เพราะเหตุว่าหนทางมี แต่พุทธะคือความรู้ ความเห็นถูก ไม่ใช่ความไม่รู้

    เพราะฉะนั้น ทุกคำก็ต้องเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่แปล แล้วก็พูด แล้วก็คิดเอง เช่น ได้ยินความหมายของคำว่า สติสัมปชัญญะ หรือเป็นสภาพที่ระลึกรู้ หรือจะบอกว่า ระลึกได้ ระลึกได้ว่า ขณะนี้เป็นอกุศล ระลึกได้ แต่ระลึกรู้อะไร ระลึกรู้สภาพที่กำลังปรากฏ เพราะว่าเกิดแล้วดับแล้วเร็วมาก ถ้าไม่รู้เฉพาะแต่ละลักษณะที่กำลังปรากฏจริงๆ ลักษณะนั้นก็ดับไปโดยไม่รู้ เราผ่านมาประมาณ ๒๐ นาที สภาพธรรมเกิดดับนับถ้วนไหม แล้วด้วยความไม่รู้หรือด้วยความรู้ แล้วย่อยนาทีเป็นวินาที แล้วสภาพการเกิดดับเร็วกว่านั้นอีก

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นการไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ตลอดเวลาที่ทุกคนนั่งอยู่ที่นี่ มีสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ว่าเกิดดับเร็วมาก ถ้าจะถามเพียงสั้นๆ ว่า เมื่อสักครู่คิดอะไร ก็ตอบไม่ได้ ทั้งๆ ที่ก็คิด เห็นแล้วก็คิด ได้ยินก็คิด แข็งกระทบปรากฏก็คิด เป็นโลกของความคิดตามสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ แต่คิดตามด้วยความไม่รู้ ด้วยความจำผิดๆ ว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เพราะว่าปรากฏพร้อมกับนิมิตสัณฐาน ไม่ได้ปรากฏว่าเกิดขึ้นแล้วดับไป แต่ไม่ว่าอะไรปรากฏ การเกิดดับสืบต่ออย่างเร็ว ทำให้เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด จำได้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ .

    เพราะฉะนั้น เวลาที่ระลึกหรือคิด หรือระลึกได้ ก็เป็นไปในเรื่องราว เพราะฉะนั้น เวลาที่ใช้คำว่า ระลึกรู้ หมายความว่าต้องมีสิ่งที่คนนั้นรู้ว่า เป็นธรรม กำลังเป็นธรรม เช่น เดี๋ยวนี้เป็นธรรมทั้งหมด แต่ฟังเข้าใจหรือว่าระลึกรู้ อีกคำหนึ่งซึ่งจะแปลก็คือ รู้ตาม ตามภาษาบาลี อนุ แปลว่า ตาม หมายความว่า รู้ตาม หรือตามรู้ ตามรู้อะไร ถ้าสิ่งนั้นยังไม่เกิด จะรู้ได้ไหม ยังไม่เกิดแล้วจะไปรู้สิ่งที่ยังไม่เกิดได้ไหม ไม่ได้ สิ่งที่ไม่ปรากฏจะรู้ได้ไหม ไม่ได้ แต่สิ่งใดที่กำลังปรากฏ หมายความว่าสิ่งนั้นมี ตามรู้สภาพที่กำลังมี คือ ไม่คิดถึงอย่างอื่น อย่างขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ยังปรากฏอยู่ ตามรู้คือรู้สภาพที่กำลังปรากฏนี้ด้วยความค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    เพราะฉะนั้น สติก็คือขณะที่ฟังแล้วเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนี้มีลักษณะที่ยังไม่รู้ ยังไม่ได้เข้าใจตามที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง เพราะฉะนั้น เมื่อฟังแล้วก็ เข้าใจขึ้นๆ แต่จะรู้หรือตามรู้ลักษณะที่มีจริงๆ ที่ปรากฏ ที่ยังไม่เป็นอย่างอื่น เช่น ขณะที่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาปรากฏ เสียงยังไม่ได้ปรากฏ จะรู้อะไร ก็รู้สิ่งที่ปรากฏที่ไม่ใช่เสียง

    เพราะฉะนั้น ตามรู้คือรู้สิ่งที่มี แม้ว่าเกิดดับยังไม่ปรากฏ แต่ลักษณะนั้นสืบต่อเป็นนิมิตของสิ่งนั้นที่ทำให้สามารถเข้าใจได้ แม้ทีละเล็กทีละน้อยว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น ความไม่รู้ และความติดข้องในสิ่งที่ปรากฏโดยไม่รู้มากมายมหาศาล กว่าจะค่อยๆ คลาย และดับได้ ไม่เกิดอีก ไม่ว่าจะทางตา ทางหูไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา แต่เสียง ตามรู้ รู้อะไรคะ เสียงที่ปรากฏ เราไม่คิดถึงอย่างอื่น แต่พอเสียงปรากฏก็รู้ในเสียง ลักษณะของเสียง เพราะว่าเสียงจริงๆ ก็เกิดดับด้วย

    เพราะฉะนั้น ขณะที่ยังปรากฏให้รู้สิ่งที่มีจริง แล้วภายหลังจึงสามารถรู้การเกิดขึ้น และดับไปของสิ่งนั้นได้

    อ.วิชัย มีข้อความที่กล่าวว่า มรรคจะไม่เป็นเครื่องนำออกก็หามิได้ คือเมื่ออบรมเจริญ มรรคต้องเป็นเครื่องนำออกจากสังสารวัฏจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ตอบคำถามของคุณอรรณพใช่ไหม

    ขณะใดที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ จะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ขณะใดที่กำลังรู้ลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ที่ปรากฏ รู้ เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่มีจริงที่เกิดดับ เป็นที่พึ่งไหม ลองคิดให้ลึกซึ้งว่า ความเข้าใจนี้เป็นที่พึ่งไหม เพราะเราคิดว่า เราจะพึ่งรูป พึ่งเสียง พึ่งญาติมิตรสหายต่างๆ ถึงแม้จะไม่ศึกษาความละเอียด สิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็จะจากเราไป ช้าหรือเร็ว สิ่งที่ปรากฏทางตาก็หมดไปเร็วมาก หมดไปแล้ว จะเป็นเงินในธนาคารเท่าไรก็ตาม มองเห็นเป็นธนบัตรมากๆ ก็ตาม เพียงชั่วขณะที่ปรากฏให้เห็น แล้วพึ่งได้ไหม พึ่งอย่างไร พึ่งสิ่งที่ปรากฏทางตา พึ่งอย่างไร แค่ปรากฏให้เห็น แล้วก็ไม่กลับมาอีก บางคนจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่า มีจำนวนเท่าไร ถ้าไม่คิดถึง แต่พอคิดก็เหมือนมีอีก แล้วปรากฏให้เห็นหรือเปล่า ถึงแม้ปรากฏ พึ่งได้ไหม เกิดแล้วก็หมดไป เกิดแล้วก็หมดไปทั้งนั้น แต่ความเข้าใจความจริงของธรรม เวลาที่จะจากโลกนี้ไปก่อนก็ได้ เพราะจะเห็นได้ชัด มีสภาพธรรมที่ปรากฏ และสามารถจะรู้ความจริง ขณะนั้นมีปัญญาที่ไม่มีเรา แต่มีสภาพธรรมที่ปรากฏให้เข้าใจ เป็นที่พึ่ง ที่จะไปสู่โลกที่จะเกิดต่อ โดยจิตที่เป็นผลของปัญญาขณะนั้นที่ทำให้จิตที่เกิดเป็นปฏิสนธิจิต ประกอบพร้อมด้วยอโลภะ อโทสะ และปัญญาเจตสิกเป็นที่พึ่งต่อไปอีก เพราะที่พึ่งจริงๆ ในภพนี้ลองคิดดูเหมือนพึ่งได้ แต่จะจากโลกนี้ไป กำลังจากไป พึ่งได้ไหมตลอดชีวิตที่เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง มีสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้จำว่าเป็นของเรา แต่ความจริงก็ไม่ใช่ เป็นแต่เพียงสิ่งที่แล้วแต่กรรมจะนำมา เพราะเหตุว่าจิตเห็นไม่มีใครทำให้เกิดได้ ทุกคนอยากจะเห็นสิ่งที่น่าพอใจ บางคนอาจอยากเห็นเพชรนิลจินดามากมาย อาจอยากเห็นรถยนต์ บ้าน เห็นอะไรก็ตามแต่ที่ชอบมาก อยากจะได้ อยากจะเห็น แล้วเห็นหรือไม่ แล้วจิตเห็นนั้นเมื่อถึงกาลจะเกิดเห็นจึงเกิดได้ แต่ถ้ายังไม่ถึงกาลที่กรรมทำให้เห็นเกิด ก็เห็นไม่ได้ เพราะไม่ใช่กรรมที่จะทำให้เห็น จึงเกิดไม่ได้ ถ้าไม่ใช่เป็นผลของกรรมนั้น แล้วบ้านสวยๆ ใครเห็น สุนัขในบ้านมีกี่ตัว เห็นเป็นเห็น แต่เห็นแล้วเป็นกุศลหรืออกุศล เห็นแล้วเข้าใจหรือไม่เข้าใจ

    เพราะฉะนั้น ที่พึ่งจริงๆ ก็ลองคิดดู ตั้งแต่เกิดมาจนถึงเดี๋ยวนี้ ตอนเป็นเด็กจนกระทั่งเติบโต สิ่งที่เป็นที่พึ่งก็หมดไปแล้วทั้งนั้น วงศาคณาญาติก็ต้องจากไป และความจริงเกิดคนเดียวเพราะจิต ๑ ขณะเกิดแล้วก็ดับ อยู่คนเดียวกับความคิดตลอด หลังจากเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ด้วยการเป็นที่พึ่งได้ไหม


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 173
    22 มี.ค. 2567