พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 594
ตอนที่ ๕๙๔
ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้จึงต้องเข้าใจพระธรรมแม้แต่คำเดียวให้ชัดเจนว่า ความเป็นมิตรต้องอยู่ที่จิต และต้องเป็นธรรมที่เป็นกุศล เพราะว่าตามความเป็นจริงอยู่คนเดียวในโลกหรือเปล่า แล้วคิดถึงคนอื่นว่า เป็นมิตรหรือเป็นศัตรู ซึ่งขณะจิตนั้นเองเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ขณะที่คิดถึงใครก็ตาม ขณะที่เป็นอกุศลก็คือมีศัตรูใกล้ที่สุด อยู่ในใจ ทำร้ายแล้วด้วย โดยไม่รู้ว่า ต่อไปข้างหน้าถ้าศัตรูนี้มีกำลังมากขึ้นจะทำร้ายได้มากกว่านี้อีก แต่เป็นศัตรูที่มองไม่เห็น
ด้วยเหตุนี้ต้องเข้าใจโวหารเทศนาด้วย ไม่ใช่เข้าใจเพียงคำหรือพยัญชนะเท่านั้น
อ.คำปั่น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงก็ละเอียดลึกซึ้ง ควรค่าแก่การศึกษาอย่างยิ่ง แม้แต่ในเรื่องมิตรก็มีความละเอียดที่หลากหลายมาก พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องมิตร ในขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ก็มีมากมาย และจนถึงยุคปัจจุบันนี้ พระธรรมก็ยังดำรงอยู่ ผู้ที่มีโอกาสได้ศึกษาได้ฟัง ก็ได้ประโยชน์จากพระธรรมด้วย ที่สำคัญก็คือไม่ใช่เพียงฟังเท่านั้น แต่ต้องน้อมประพฤติปฏิบัติตามเพื่อความเจริญยิ่งขึ้นในกุศลธรรมด้วย ไม่ใช่เพียงฟังเท่านั้น
ผู้ฟัง ขอความกรุณาท่านอาจารย์ขยายความที่ว่า บุญที่ตนเองทำ จะเป็นมิตรในภพหน้า คำว่า “บุญที่ตนเองทำ” ความจริงอาจารย์อรรณพก็ได้ขยายคำว่าบุญ คือกุศลเจตนาที่เป็นไปในทาน ศีล และภาวนา แต่เหมือนเป็นตัวตนที่บุญที่ตนเองทำ
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นตน
ผู้ฟัง ถ้าศึกษาก็ไม่มี มีแต่ธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วยึดถือธรรมว่าเป็นเรา ยึดถืออะไรว่าเป็นเรา
ผู้ฟัง ยึดถือกาย และจิตที่เกิดขึ้นแล้วดับไป
ท่านอาจารย์ นามธรรม และรูปธรรมเป็นตัวเรา แล้วเป็นใจ คุณอรวรรณมีใจหรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ใจเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง ก็สลับไปสลับมา บางครั้งก็เป็นกุศล บางครั้งก็เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ บางครั้งเป็นกุศล จิตใจที่ดีงามมีมากๆ ขึ้นแล้วกระทำสิ่งที่ดีงาม จะมีผลหรือไม่ ผลคืออะไร
ผู้ฟัง ได้รับสิ่งที่ดี
ท่านอาจารย์ พอจะเป็นคำตอบได้ไหม บุญที่ตนเองทำนั่นจะเป็นมิตร ไม่เป็นศัตรู ไม่ได้ทำร้าย หรือนำสิ่งที่ร้ายหรือเป็นโทษมาให้
ผู้ฟัง ในเชิงที่ว่า ไม่มีตัวตน สัตว์ บุคคล หมายความว่าสภาพธรรมที่เป็นเหตุปัจจัยให้ทำกุศล จะหมายถึงอย่างนี้หรือไม่ บุญที่ตนทำเอง ถ้าฟังแล้วโดยพยัญชนะจะเหมือนกับมีตัวตนที่สามารถทำบุญได้
ท่านอาจารย์ โดยโวหารเทศนา มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เคยได้ยินไหม เพราะอะไร กรรมดับไปแล้ว ไม่จบ ยังมีเผ่าพันธุ์ตามมาทีหลัง มีวิบากจิตเกิดขึ้น มีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส นี่คือเผ่าพันธุ์ของกรรม
นอกจากเผ่าพันธุ์แล้วยังมีอะไรอีก คุณคำปั่น
อ.คำปั่น ก็ตามที่ทรงแสดงไว้คือ สัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นทายาท เราทำกรรมอันใดไว้ จะเป็นกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม จะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ
ท่านอาจารย์ ชัดเจนหมดทุกข้อไหม มีกรรมเป็นกำเนิด
ผู้ฟัง ตรงนี้ก็หมายถึงกุศลกรรมที่ทำไปแล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วแต่จะเกิดเป็นอะไร ต้องมีกำเนิดแน่ ถ้าเป็นอกุศลกรรมก็ทำให้เกิดได้ อย่างเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน สัตว์นรก เปรต อสุรกาย
ผู้ฟัง อย่างตรงนี้บุญที่ตนเองทำเป็นมิตรให้เกิดดี
ท่านอาจารย์ ก็ไม่มีตน แต่มีจิตเกิดดับสืบต่อ เมื่อไม่รู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่เป็นธาตุก็เข้าใจว่าเป็นเรา
ผู้ฟัง ในทางตรงข้าม ถ้าเป็นบาปที่ตนเองทำ ก็ต้องเป็นศัตรู
ท่านอาจารย์ จะไปให้คนอื่นได้ไหม อุทิศบาปที่ทำแล้วให้ใครดี
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ อุทิศกุศลได้ คนอื่นอนุโมทนาเมื่อรู้ เขาก็เกิดกุศล แต่ถ้าทำบาปไปแล้ว คนอื่นรู้ เขาจะเกิดกุศลไหม ก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น มีใครจะอุทิศบาปให้ใครบ้าง ทำแล้วอุทิศให้ไป ก็ไม่ได้
อ.คำปั่น มีคำถามจากผู้ชมรายการบ้านธรรม ขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ว่า ระหว่างตำแหน่งผู้นำในสังคมที่ต้องบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ แต่ต้องพบปะผู้คนมากมาย วุ่นวายกับกิจการงาน ทำให้อกุศลจิตเกิดมาก กับไม่รับตำแหน่ง ปลีกจากการงานแล้วศึกษาพระธรรม เจริญกุศล ควรเลือกอะไร เพื่อประโยชน์กับผู้ชมทางบ้านที่มีปัญหานี้
ท่านอาจารย์ จะเป็นคฤหัสถ์หรือจะเป็นบรรพชิต
อ.คำปั่น ส่วนมากก็เป็นคฤหัสถ์
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ชีวิตของคฤหัสถ์สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ไหม
อ.คำปั่น ได้
ท่านอาจารย์ แล้วจะมีปัญหาอะไร เป็นคนดี ดีได้ทุกตำแหน่ง ไม่มีตำแหน่งอะไรก็เป็นคนดีได้ แต่ถ้ามีตำแหน่งแล้วไม่เป็นคนดี จะเป็นประโยชน์อะไรกับใคร แม้กับตนเองก็ยังไม่เป็นประโยชน์ แล้วจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นได้อย่างไร ก็ตรงกับเรื่องที่เรากล่าวถึง คือเมตตา ความเป็นมิตร ไม่ได้เสียหายอะไรเลยทั้งสิ้น ขณะนั้นจิตใจที่เป็นเพื่อน หวังดี พร้อมที่จะเกื้อกูล สบายใจ ไม่เป็นทุกข์เดือดร้อนกับใคร และไม่ได้หวังร้ายกับใครด้วย ทั้งกาย ทั้งวาจา ถ้าเป็นอย่างนี้กับ ๑ คน ๒ คน ๓ คน ๔ คน เพิ่มขึ้น ความสงบจะมีในโลกไหม ไม่เบียดเบียนกัน เป็นมิตรจริงๆ เกื้อกูลกันจริงๆ หวังดีกันจริงๆ ตรงกับคำที่ว่า เมตตาค้ำจุนโลก ทำให้โลกดำรงไปได้ด้วยความสงบ
เพราะฉะนั้น จะเป็นใคร ตำแหน่งอะไร ไม่เป็นเครื่องกั้นปัญญา ถ้ามีความเข้าใจ ธรรมจริงๆ
ผู้ฟัง สำหรับเรื่องความเดือดร้อนใจ อย่างเวลาจะช่วยเหลือมิตร คิดไม่ออกว่าจะช่วยให้สำเร็จได้อย่างไร ก็คิดหมกมุ่นเดือดร้อนใจ คิดเป็นวันๆ เหมือนกับไม่รู้จักธรรม แต่ก็เสียเวลาเป็นวันๆ ไปแล้ว
ท่านอาจารย์ แล้วเอาอวิชชาไปช่วยอวิชชาได้ไหม
ผู้ฟัง ช่วยไม่ได้ แต่ทำไมเรียนธรรมมามากมาย แต่คิดอะไรไม่ออก
ท่านอาจารย์ นี่ไงคะ ลืมว่าเรียนธรรมกี่วัน กี่ครั้ง กี่เวลา กับชาติก่อนๆ ที่สะสมอกุศลมามากมาย เรียนธรรมเหมือนหวังผลจากธรรมหรือไม่ เราเรียนแล้วเราต้องดี อย่างนี้ได้อย่างไร ในเมื่อไม่ดีมีตั้งมากมาย เป็นปัจจัยให้เกิดไม่ดี ทำไมไม่เป็นความเข้าใจธรรม พระธรรมที่ทรงแสดงทุกพุทธพจน์ ทุกคำ เป็นปัญญาทั้งหมดที่ทำให้คนฟังได้เข้าใจ ได้ไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเห็นถูกของตนเอง จะไปขอยืมความเห็นถูกของใครมาก็ไม่ได้ ไปอ้อนวอนขอร้อง ไปซื้อก็ไม่ได้ มีทางเดียวคือเห็นประโยชน์ เกิดศรัทธาว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริง แล้วจะฟังใคร ถ้าไม่ฟังพระองค์
ผู้ฟัง สติที่ระลึก อนุสติทั้งหลายที่กล่าวไว้ ถ้าเข้าใจจริงๆ ถึงอรรถแล้วก็คงจะน้อมใจได้
ท่านอาจารย์ มีคำมาก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือข้อ แต่ถ้านับเป็นคำจะเท่าไร แล้วเวลาที่ได้ยินได้ฟังแต่ละคำ เข้าใจจริงๆ หรือไม่ นี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เหมือนเข้าใจ ต่อไปอีกๆ พยายามไปหาข้อนั้นข้อนี้ แต่แม้สภาพธรรมที่มีจริงๆ ได้ยินได้ฟังว่าเป็นธรรม ก็ยังไม่รู้จริงๆ ว่า เป็นธรรม ประมาทแม้แต่สิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็จะไปรู้อย่างอื่น ไปเข้าใจอย่างอื่น พูดถึงเรื่องเห็น พูดถึงเรื่องได้ยิน พูดถึงเรื่องโทสะ พูดถึงเรื่องมิตร ก็ไปคิดถึงอย่างอื่นอีกเยอะมาก อาจจะเป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ก็ได้ แล้วอย่างไร ในเมื่อไม่ได้รู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แล้วเมื่อไรจะรู้
ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องคิด ที่ท่านอาจารย์กล่าวก็จริง คือไม่ได้คิดแต่สิ่งที่ได้ยิน แต่คิด เรื่องอื่นๆ ก็เป็นลักษณะของความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงเป็นแค่คำเท่านั้นเอง ไม่ลงไปถึงกระดูก
ท่านอาจารย์ แต่ไม่เที่ยงจริงหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เที่ยงจริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เพียงคำที่เราคิด ขณะที่คิดเป็นธรรมที่ไม่เที่ยงด้วย
อ.คำปั่น มีคำถามถามอาจารย์ประเชิญเพิ่มเติมว่า อวิชชาที่สะสมมาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ จะเบาบางได้อย่างไร และพระธรรมที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างไรครับ
อ.ประเชิญ อวิชชาคือโมหะ หรือความไม่รู้ แปลเป็นไทยก็คือ ความไม่รู้ ความหลง ความโง่ ซึ่งท่านเปรียบเหมือนความมืด ส่วนธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือตรงข้ามกับอวิชชาก็คือวิชชา เปรียบเหมือนแสงสว่าง ผู้ที่หมดอวิชชาได้ก็ต้องอบรมธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นข้าศึกกับอวิชชานั้นก็คือ อบรมเจริญวิชชา วิชชาเป็นชื่อหนึ่งของปัญญา เป็นความรู้ มีหลายขั้น หลายระดับ เหมือนกับบุญ ในพระสูตร มิตตสูตร ที่กล่าวถึงบุญที่มีหลายระดับ ตั้งแต่ขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นภาวนา บุญขั้นทานก็ยังมีหลายระดับ หลายประเภท
เพราะฉะนั้น ปัญญาตั้งแต่ขั้นการฟัง ความเข้าใจขั้นฟัง ขั้นพิจารณา ขั้นประจักษ์แจ้งแทงตลอดจนดับอวิชชาได้ นี่คือการละกิเลสประเภทอวิชชาหรือโมหะตามลำดับขั้น ซึ่งจะเป็นไปในครั้งเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยการสะสม การอบรมทีละเล็กทีละน้อย ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป จากการศึกษาในพุทธประวัติ และสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นประวัติของท่าน จะเห็นได้ว่า ท่านที่เกิดในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย และท่านมีความรู้สามารถดับกิเลสได้ ต้องอาศัยการสะสมความรู้ความเข้าใจเป็นเวลานาน ไม่ใช่แค่ชาติเดียว หรือ ๑๐ ชาติ หรือ ๑๐๐ ชาติ ไม่ใช่แค่นั้น เป็นกัปๆ เป็นแสนกัป เป็นอสงไขย นี่คือระยะเวลาของการดับกิเลสที่เป็นปฏิปักษ์ของความรู้ หรือวิชชา ต้องอาศัยกาลเวลา ด้วยการฟัง ด้วยการพิจารณา ด้วยการอบรม ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ค่อยๆ รู้มากขึ้น
เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้ท่านได้แสดงหนทางเพื่อการรู้ เพื่อการดับความไม่รู้ไว้ คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้ และได้ดับอวิชชาเมื่อดับอวิชชาคือโมหะ หรือความไม่รู้แล้ว พระองค์ก็ได้ทรงแสดงหนทางคืออริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นหนทางดับอวิชชา ซึ่งต้องเป็นไปตามลำดับ ตามที่เรียนมาแล้ว จะข้ามขั้นเพียงฟังครั้งเดียว หรือชาติเดียวไม่พอ และเป็นไปไม่ได้ด้วย เพราะอวิชชาหรือความมืดได้สะสมมามาก การจะดับสิ่งที่มีมาก ก็ต้องอาศัยสิ่งที่มีมากด้วยเช่นกัน คือต้องอาศัยปัญญาที่มีกำลัง มีจำนวนมากๆ ที่ทำลายความมืดนั้นได้ ก็ต้องอาศัยแสงสว่างที่มีจำนวนมากเช่นกัน
นี่คือการดับอวิชชาหรือความมืด เป็นอมิตรภายใน เป็นข้าศึกภายใน เป็นศัตรูภายใน ส่วนบุญหรือกุศลเป็นมิตรภายใน เป็นผู้มีอุปการคุณ และเป็นสิ่งเกื้อกูลภายใน ซึ่งคอยประคับประคองผู้ที่เป็นมิตรนั้นประสบสิ่งที่ดี มีความสุข แม้คำว่า “บุญ” ก็ไม่สามารถฟังเพียงสั้นๆ ได้ ต้องอาศัยการพรรณนา การแสดงตามพระธรรมหลายนัย ถึงจะเข้าใจเรื่องของบุญที่จะทำลายอวิชชาคือความไม่รู้หรือโมหะ ต้องอาศัยบุญที่เป็นปฏิปักษ์หรือข้าศึกของอวิชชานั้นจริงๆ
ผู้ฟัง เรื่องทิฏฐิ ความเห็นผิด เขาถามว่า ความจำว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน และไม่เป็นทิฏฐิเจตสิก ไม่เป็นสักกายทิฏฐิ ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีหรือไม่ อย่างไร
ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าจำท่านพระอานนท์ได้ไหม
ผู้ฟัง จำได้ครับ
ท่านอาจารย์ แล้วเห็นผิดหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เห็นผิด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ความจำไม่ใช่ความเห็นผิด
ผู้ฟัง อย่างผมเห็น ก็เห็นเป็นท่านอาจารย์ ขณะที่เห็นขณะนี้ แล้วก็มีความคิดว่าเป็นท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ท่านพระอานนท์เห็นท่านพระโมคคัลลานะแล้วรู้ว่าเป็นท่านพระโมคคัลลานะ มีความเห็นผิดหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่มี แต่ท่านเป็นพระอริยบุคคล
ท่านอาจารย์ แต่ก่อนท่านเป็นพระอริยบุคคล ท่านจำท่านพระโมคคัลลานะเหมือนตอนที่เป็นพระอริยบุคคลได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ความจำไม่ใช่ความเห็นผิด
ผู้ฟัง ถ้าเป็นความเห็นผิด ต้องเห็น และยึดถือว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างนั้นหรือไม่
ท่านอาจารย์ มีแขนไหม
ผู้ฟัง เวลารู้ตรงแขน มีอะไรปรากฏให้รู้ได้ ที่เคยเป็นแขน ความจริงมีอะไรปรากฏที่จะรู้ได้ ไม่ใช่ไปนึกเอาว่าเป็นแขน แต่มีลักษณะอะไรตรงนั้นที่สามารถปรากฏให้รู้ได้ว่า มีจริงๆ
ผู้ฟัง เมื่อกระทบหรือสัมผัสอะไร ก็รู้ได้
ท่านอาจารย์ รู้อะไรตรงแขน
ผู้ฟัง รู้แข็ง รู้เย็น
ท่านอาจารย์ แข็งนะคะ หมายความว่า เข้าใจว่า แข็งนั้นเป็นแขน
ผู้ฟัง ขณะนั้นเข้าใจว่าอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ยังเข้าใจอย่างนี้อยู่ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ขณะกระทบก็รู้สึกเย็น ยังไม่รู้สึกว่าเป็นแขน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รู้เย็น ไม่ใช่ขณะที่ยึดถือว่าเป็นเรา ใช่ไหม แต่ถึงแม้ว่ามีสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ ว่าเย็น ตรงนั้นที่เคยเข้าใจว่าเป็นแขน ลืมแขนไปหมดว่า ไม่มี มีแต่เย็นหรือเปล่า หรือยังจำได้ อัตตสัญญา ยังจำอยู่ว่า แขนเราเย็น
ผู้ฟัง จำได้ว่าแขนเราเย็น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะที่จำได้ ไม่ใช่เพียงจำลักษณะที่แขนว่าแข็ง หรือจำลักษณะแข็งว่า เป็นธรรม แต่จำแข็งว่าเป็นแขนเรา ถูกหรือผิด
ผู้ฟัง ถูก
ท่านอาจารย์ จนกว่าเป็นแข็งซึ่งไม่ใช่แขนเรา และไม่มีเรา ไม่มีแขน มีแต่แข็ง
ผู้ฟัง เมื่อวันเสาร์เรียนเรื่องบัญญัติ ในชั่วโมงปรมัตถธรรม ผมได้ถามท่านอาจารย์วิทยากรว่า ขณะที่จิตรู้บัญญัติ แต่สภาพธรรมแต่ละสภาพธรรมก็ทำหน้าที่แตกต่างกัน ขณะนั้นสติจะเกิดระลึกถึงสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมได้ไหม ขณะที่จิตรู้บัญญัติ
ท่านอาจารย์ รู้จักสติหรือยัง
ผู้ฟัง สติเป็นสภาพที่ระลึกได้
ท่านอาจารย์ แล้วสติเกิดให้รู้จักหรือยัง
ผู้ฟัง สติเกิดให้รู้จักหรือยัง หรือครับ
ท่านอาจารย์ ผัสสะเกิดให้รู้จักหรือยังว่าเป็นผัสสะ
ผู้ฟัง เกิด แต่ยังไม่รู้ว่า เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมเราเรียกชื่อ แต่ยังไม่รู้จักสภาพธรรมนั้นๆ แต่เรียกชื่อเป็นหมดทุกอย่าง
ผู้ฟัง แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นหรือไม่
ท่านอาจารย์ ความจริงจะรู้ได้ต่อเมื่อปัญญาเกิดพร้อมสติสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะ ไม่เห็นผิดในสภาพธรรมนั้น
ผู้ฟัง ที่ผมถามท่านอาจารย์ เพราะการศึกษาธรรมก็ต้องศึกษาพระอภิธรรมโดยละเอียด เพื่อเป็นปัจจัย
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวนี้อะไรเป็นอภิธรรม
ผู้ฟัง เห็น ได้ยิน
ท่านอาจารย์ แล้วรู้เห็นหรือยัง รู้ได้ยินหรือยัง ว่าเป็นอภิธรรม หรือรู้แต่ชื่อ ตัวจริงไม่มี มีชื่อหมดเลย แต่ถ้าเราจะศึกษาแบบนี้ เมื่อไรเราจะรู้จริงๆ ว่า อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นอภิธรรม บุคคลในครั้งพุทธกาล ไม่ได้ศึกษาแบบนี้ แต่ศึกษาลักษณะที่มีจริงๆ ขณะนั้นให้รู้ตามความเป็นจริง สิ่งที่ปรากฏเป็นแข็ง มี ไม่ต้องเรียกชื่อ แต่รู้ว่ามี แล้วฟังแล้วเข้าใจถูกต้องว่า สิ่งนี้มีจริงๆ ปรากฏแล้วก็หมดไป จริงหรือไม่ เพราะขณะที่เห็นไม่มีแข็ง คือศึกษาตัวธรรมจริงๆ ในขณะที่กำลังฟังธรรม ไม่ใช่อภิธรรมมีชื่อว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เป็นธาตุ มีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือ อย่างหนึ่งเป็นนามธรรม อีกอย่างหนึ่งเป็นรูปธรรม เห็นเป็นนามธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูปธรรม ไม่ใช่อย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้เอง กำลังเห็น และมีสิ่งที่ปรากฏด้วย เพราะฉะนั้น จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏเมื่อกำลังปรากฏว่า สิ่งนี้มีจริง ไม่ต้องเรียกอะไร และเห็นก็มีจริงๆ ด้วย ก็ไม่ต้องเรียกอะไร
เพราะฉะนั้น กำลังศึกษาสภาพธรรมที่มีจริงให้รู้ว่า ๒ อย่างนี้ต่างกัน ตามความเป็นจริงนั้นต่างกัน เพื่อจะไม่สับสนว่ามีเรา หรือมีสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะเหตุว่าเห็นก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นก็เกิดปรากฏแล้วก็หมดไป
นี่คือฟังอย่างนี้ให้รู้ว่า นี่คืออภิธรรม ทุกขณะเป็นธรรม ซึ่งลึกซึ้งละเอียด และค่อยๆ เข้าใจตามความเป็นจริงขึ้นว่า กำลังปริยัติด้วย ไม่ใช่มีแต่ชื่อ แต่มีตัวธรรม จนกว่าเป็นอุปนิสยโคจร สติสัมปชัญญะสามารถรู้ตรงลักษณะที่กำลังฟังขณะนี้เรื่องสภาพที่กำลังเห็น และสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ฟังบ่อยๆ เพื่อจะน้อมเข้ามาสู่ตน ที่นี่ไม่ใช่เรา สังขารขันธ์ค่อยๆ ฟัง แล้วรู้ว่า นี่เป็นธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรม ไม่หนีไปจากธรรมที่ปรากฏแล้ว ถ้าหันไปทางอื่น นึกถือทางอื่นเมื่อไร ทันทีก็ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมเกิดแล้วดับไปมากมายก็จริง แต่ว่าขณะใดก็ตามที่กำลังรู้ตรงลักษณะ คือความหมายของตามรู้ คือสิ่งที่กำลังมีลักษณะแล้วยังไม่ดับไป เพราะฉะนั้น สภาพที่กำลังรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น จึงเป็นการตามรู้สิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่ไปรู้สิ่งที่ดับไปแล้วหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่มีลักษณะนั้นจริงๆ ให้รู้ได้ นั่นคือปฏิปัตติ
ผู้ฟัง เราก็ติดอยู่ในเรื่องราวของอภิธรรม แต่ไม่เข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ก็ยังไม่ชื่อว่า ศึกษาอภิธรรม
ท่านอาจารย์ อภิธรรมอยู่ที่ไหนให้ศึกษา
ผู้ฟัง ทุกขณะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็กำลังเริ่มเข้าใจสิ่งที่ปรากฏเมื่อไร ขณะนั้นกำลังศึกษา
ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์อธิบายตรงนี้ หมายความว่าผู้นั้นมีปัญญาถึงขั้นปฏิปัตติถูกไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีปริยัติ จะมีปฏิปัตติได้หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่เข้าใจเลยว่า พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ เป็นเรื่องของความเห็นถูก อยู่ดีๆ ก็จะไปปฏิบัติอะไร โดยไม่เข้าใจว่า อะไรเป็นธรรม แล้วปฏิบัติเพื่อรู้อะไร ก็ไม่รู้ด้วย
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 541
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 542
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 543
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 544
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 545
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 546
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 547
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 548
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 549
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 550
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 551
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 552
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 553
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 554
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 555
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 556
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 557
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 558
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 559
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 560
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 561
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 562
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 563
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 564
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 565
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 566
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 567
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 568
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 569
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 570
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 571
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 572
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 573
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 574
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 575
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 576
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 577
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 578
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 579
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 580
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 581
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 582
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 583
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 584
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 585
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 586
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 587
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 588
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 589
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 590
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 591
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 592
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 593
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 594
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 595
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 596
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 597
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 598
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 599
- พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 600