พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 407


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๐๗

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐


    ท่านอาจารย์ แม้แต่บางคนถามว่า ธรรมคืออะไร ก็จะตอบไปตามความคิดเอง แต่ถ้ามีการได้ฟังแล้ว จะตอบเหมือนกันไหม ธรรมคืออะไร คือสิ่งที่มีจริงขณะนี้ ยังไม่ต้องข้ามไปถึงพระไตรปิฎกส่วนหนึ่งส่วนใดทั้งสิ้นเพราะว่าต้องเป็นความเข้าใจของตัวเองจริงๆ แล้วจึงจะสามารถเข้าใจความหมายต่างๆ ในพระสูตร แล้วก็ในพระวินัย และในพระอภิธรรมได้ แต่ต้องรู้ว่าตัวจริงของธรรม มี ขณะนี้มีสิ่งที่มีจริงๆ ฟังเพื่อให้เข้าใจว่าก่อนฟังไม่เคยเข้าใจเลย ว่าเป็นธรรมอย่างนี้ๆ นี่คือความหมายของอภิธรรม ไม่ใช่พอได้ยินชื่อว่าอภิธรรมก็อยากรู้เลย เรื่องในอภิธรรมมีอะไรบ้าง มีเรื่องจิต มีเรื่องเจตสิก มีเรื่องรูป มีเรื่องนิพพาน แต่ขณะนี้เป็นธรรม หรือไม่ แล้วธรรมที่กำลังมีในขณะนี้เป็นอะไร ไม่ใช่ว่าข้ามไปหาสิ่งที่เป็นชื่อ แต่ขณะนี้มีธรรม เพราะฉะนั้น อภิ - ธรรม ก็คือพระธรรมที่ทรงแสดงเรื่องสิ่งที่มีโดยความละเอียดยิ่งที่จะทำให้เห็นว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตน ไม่ใช่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง

    เพราะฉะนั้นถ้าใครก็ตามที่ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรม จะมีความถูกไหมว่าขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่อยากจะให้ไม่เข้าใจธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ แต่ไปคิดว่าจะเข้าใจเรื่องราวในพระสูตร

    อ.กุลวิไล ก็ดูเหมือนว่าเราต้องเข้าใจตัวธรรมที่มีจริงก่อน เพราะว่าผู้ที่ศึกษาธรรมแล้วไม่เข้าใจในส่วนของพระอภิธรรม เรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง แล้วเมื่ออ่านในพระสูตร ก็เป็นผู้ที่ไม่รู้จักตัวธรรม เพราะว่าพออ่านแล้วก็จะมีชื่อบุคคลต่างๆ มีเรื่องราวต่างๆ แต่ความที่ตัวธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏในขณะนี้ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้

    ท่านอาจารย์ อย่างที่คุณกุลวิไลถามว่า พอฟังพระสูตรนี้แล้วจะเข้าใจอภิธรรมได้อย่างไร ถ้าเข้าใจอภิธรรมแล้วเข้าใจพระสูตรนี้ได้ แต่ว่าถ้ายังไม่เข้าใจพระอภิธรรมเลย ไม่มีทางที่อ่านสูตรนี้แล้วจะเข้าใจอภิธรรมได้

    ด้วยเหตุนี้ในทางกลับกันก็คือว่า ต้องมีความรู้ว่าไม่รู้อะไร หรือว่ารู้มากแค่ไหนในสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ แม้ว่าจะได้ยินคำว่า “ธรรม” และรู้ว่าทุกอย่างที่มีจริง เป็นธรรมไม่ได้เอ่ยชื่อว่าเป็นคนชื่อนั้นชื่อนี้ แต่เป็นธรรม เพราะว่าลักษณะของสิ่งนั้นๆ เป็นอย่างนั้นที่ใครก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีความเข้าใจธรรมจริงๆ ขณะนี้มีคน หรือว่ามีธรรม ก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง ถ้าใครตอบว่ามีธรรม ความรู้ธรรมนั้นมี หรือไม่ หรือว่ามีแค่ไหน หรือมีเพียงแต่ได้ยินได้ฟังว่า ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม ขณะนี้ทั้งหมดเป็นธรรม เพียงเท่านี้ไม่ชื่อว่ารู้จักธรรม ทั้งๆ ที่ธรรมกำลังปรากฏ ด้วยเหตุนี้จึงต้องฟังด้วยการที่ไม่ประมาทเลย ไม่ข้ามไปคิดเรื่องอื่น แต่ว่าขณะนี้พูดถึงเห็น ได้ยินคำว่า “เห็น” เห็นมีจริงๆ ไม่ไปสนใจเรื่องอื่นไม่ไปคิดเรื่องอื่นเลย แต่ขณะนี้เห็นมีจริงกำลังเห็น รู้จักเห็นแค่ไหน แล้วจะฟังให้รู้จักเรื่องเห็นไหม หรือว่าไม่ฟังเรื่องเห็น ไม่ฟังเรื่องสิ่งที่ปรากฏ จะไปรู้เรื่องอื่น นั่นคือไม่มีโอกาสเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ใช้คำว่าธรรม แต่ไม่รู้จักธรรม

    เพราะฉะนั้นต่อไปก็จะมีความละเอียดขึ้น เมื่อใช้คำไหนก็เข้าใจ รู้จักคำนั้นแค่ไหน เข้าใจด้วยตัวเอง ว่าได้ยินคำนี้จริง และก็มีธรรมแน่นอน และธรรมก็ต้องเป็นสิ่งกำลังปรากฏให้รู้ว่า ความจริงสิ่งนั้นเป็นธรรมด้วย แต่ว่ายังไม่ได้เข้าใจ ยังไม่ได้ถึงความเป็นธรรมของสิ่งที่มีจริง ขณะนี้กำลังเห็น ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง อยู่ที่จิตที่คิด

    ท่านอาจารย์ ชื่อใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ จะรู้จักท่านพระอานนท์ได้ไหม

    ผู้ฟัง รู้จักได้ต่อเมื่อเข้าใจธรรม

    ผู้ฟัง ธรรมอะไรที่จะทำให้รู้จักในขณะนี้

    ผู้ฟัง สภาพตามความเป็นจริง

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้คุณบุษกรบอกว่ามีท่านพระอานนท์เพราะคิดใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าไม่คิดจะมีไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจริงๆ ในขณะที่คิด อะไรเป็นสิ่งที่ควรเข้าใจถูก เรื่องราวของท่านพระอานนท์ หรือว่าสภาพที่คิดคำนี้

    ผู้ฟัง สภาพที่คิดคำนี้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า การฟังธรรมก็คือว่าสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่มีแล้วก็ยึดถือว่าเป็นเรา จึงมีความคิดเรื่องท่านพระอานนท์ ถ้าไม่มีสภาพคิดจะมีเรื่องราวของท่านพระอานนท์ไหม

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มี ไม่มีเรื่องราวของท่านพระอานนท์เพราะไม่ได้คิดถึงท่านพระอานนท์ มีเรื่องราวของสิ่งอื่นไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ แล้วคิดจริง หรือไม่

    ผู้ฟัง คิดจริง

    ท่านอาจารย์ คิดเป็นธรรม หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ถึงความเข้าใจคิดในขณะนี้ว่า ไม่ใช่เราคิด แต่เป็นธรรม หรือยัง

    ผู้ฟัง ตอนนี้ยัง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงฟังเพื่อเข้าใจธรรม ถ้าอย่างนั้นเราก็จะติดตามเรื่องราวไปจนตลอดชีวิต แต่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ความจริงว่า แท้ที่จริงแล้วธรรมที่มีจริงๆ คือ จิต มีแน่ เป็นธาตุที่สามารถรู้ ซึ่งจิตไม่มีรูปร่างใดๆ เลย กำลังพูดเรื่องจิต คิดถึงเรื่องอื่น หรือว่าขณะนี้มีจิต เห็นไหม การฟังธรรมที่จะให้เข้าใจธรรม คือมีธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะกล่าวถึงธรรมใด เช่นเห็น พูดถึงเห็น คิดถึงเรื่องอื่น หรือค่อยๆ เข้าใจเห็น กำลังมีเห็น ให้รู้ว่าเห็นกำลังเห็น นี่คือการเริ่มที่จะเข้าใจธรรม

    ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องเห็น ก็ยังเห็นเหมือนเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลง

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ถามว่าเหมือนเดิม หรือต่างกัน แต่เห็นมี เคยรู้ลักษณะของเห็น เคย หรือไม่

    ผู้ฟัง ลักษณะ ก็ยังไม่เคย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นฟังเพื่ออะไร

    ผู้ฟัง ฟังเพื่อเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไร

    ผู้ถามเข้าใจสิ่งที่เห็น

    ท่านอาจารย์ เข้าใจเห็นที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ถ้าเป็นในครั้งที่ได้อบรมปัญญามานานมาก เพียงได้ฟังพระผู้มีพระภาค หรือพระสาวกพูดถึงเห็น คนนั้นสามารถที่จะรู้ "เห็น" ที่กำลังเห็นตามความเป็นจริงได้ แต่ว่าในขณะนี้ถึงแม้จะพูดเรื่องเห็น ก็ไม่ได้รู้ที่ลักษณะของเห็น เพราะเหตุว่าต้องเป็นความเข้าใจถูกจริงๆ ในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ โดยไม่ข้าม ตั้งแต่เช้ามาก็มีเห็น แล้วก็ไม่รู้เรื่องเห็น ตายไปก็ไม่รู้เรื่องเห็น เกิดใหม่ก็ไม่รู้เรื่องเห็น

    เพราะฉะนั้น ไม่รู้ตลอด ไม่ว่าจะกี่ภพกี่ชาติ จนกว่าจะมีการฟังด้วยความเข้าใจว่าฟังเพื่อเข้าใจเห็นที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง นั่นจึงเริ่มที่จะเข้าใจธรรม ไม่ใช่เพียงแต่ได้ยินคำว่าธรรม หรือชื่อธรรมเท่านั้น

    ผู้ฟัง การเห็นเนี่ย เห็นยากจริงๆ

    ท่านอาจารย์ กำลังเห็น แต่เข้าใจยาก เพราะว่าเข้าใจคือปัญญา มีใครสักคนไหมที่มีวิธีลัดที่จะทำให้สามารถประจักษ์เห็นที่เกิดแล้วดับขณะนี้ เพราะว่าเห็นไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่คิดนึก เป็นธรรมแต่ละอย่างจริงๆ มีจริงๆ เกิดแล้วจริงๆ แล้วก็ดับแล้วจริงๆ ด้วย แต่ว่าฟังเพื่อให้เข้าใจความจริงก่อน ถ้าไม่มีปัญญาขั้นฟังที่เป็นการแทงตลอดในขั้นฟังไม่มีทางที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ได้

    เพราะแม้ปัญญาขั้นฟังก็ไม่เข้าใจ หรือว่ายังไม่ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ ตามที่ได้ยินได้ฟังว่า เห็นมี เห็นเป็นธรรม ทำกิจเห็น เกิดขึ้นเห็น ไม่ได้ทำหน้าที่อื่นเลย เป็นธรรมชนิดหนึ่ง สภาพธรรมใดก็ตามที่เกิดแล้วดับไป สภาพธรรมนั้นจะเป็นใคร หรือเป็นของใคร ในเมื่อเกิดแล้วดับ ดับคือไม่กลับมาอีกเลย เห็นแต่ละขณะที่เกิด และดับขณะนี้ ไม่ได้กลับมาอีกเลย ฟังเพื่อให้มีความเข้าใจมั่นคงว่า เป็นธรรมซึ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ไปติดตามคิดว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร นั่นก็เป็นการที่ ขณะที่ได้ฟังต้องรู้ว่า เพื่อเข้าใจสภาพที่เห็นยิ่งขึ้น ที่จะแทงตลอดโดยขั้นการฟังว่า ไม่มีใครสามารถทำให้เห็นเกิดขึ้นได้เลย แต่เห็นเกิดแล้วเพราะอะไร เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เห็นเกิดขึ้น นี่คือค่อยๆ เข้าใจเพื่อละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ซึ่งยาก ยากมาก เพราะเหตุว่าต้องเป็นปัญญาเท่านั้นที่สามารถที่จะรู้ความจริงอย่างนี้ได้ ไม่ใช่ใครคนหนึ่งคนใดพากเพียรโดยหลงผิดเข้าใจผิดว่า ถ้าทำอย่างนั้น แล้วสามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ แล้วการที่รู้จักชื่อ เป็นไปได้ไหม ถ้าเมื่อเข้าใจแล้ว จะได้เรียกชื่อแต่ละชื่อได้ถูก

    ท่านอาจารย์ คุณบุษกรเห็นอะไรในห้องนี้บ้าง

    ผู้ฟัง เห็นทุกอย่าง

    ท่านอาจารย์ เห็นอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง เห็นท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ อะไรอีก

    ผู้ฟัง เห็นดอกไม้ เห็นโต๊ะ เห็นไมโครโฟน

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้เห็นหมดเลย ต้องเรียกชื่อ หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่ต้อง

    ท่านอาจารย์ แต่ก็รู้ว่าเป็นอะไร เพราะฉะนั้นฟังเพื่อที่จะเรียกชื่อ หรือฟังเพื่อเข้าใจ และการที่ใช้ชื่อเพื่อให้เข้าใจความต่าง ซึ่งต่างกันจริงๆ ถ้าไม่ใช้ชื่อแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ต่างกันอย่างไร แต่เวลาเข้าใจแล้วต้องเรียกชื่อไหม

    ผู้ฟัง ไม่ต้อง

    ท่านอาจารย์ ต่อไปนี้ จะเรียกเห็น หรือจะเรียกจักขุวิญญาณ เห็นไหมก็เป็นเรื่องที่ทั้งหมดต้องตามความเข้าใจ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ แล้วจำเป็นไหมที่ว่ารู้ว่าเป็นธรรม แล้วก็ต้องรู้ว่าเป็นธรรมชนิดใด ตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้จริงๆ เช่น มีสิ่งที่ปรากฏทางตา จะรู้ว่าอย่างไร ขณะนี้มีจริงๆ นี่คือการอบรมเจริญปัญญา เพราะว่าโดยมากจะถามกันเรื่องสติปัฏฐาน แต่ว่าไม่ได้มีความเข้าใจธรรม ต้องการเพียงให้สติเกิด ได้ชื่อว่าสติปัฏฐาน หรือไม่ใช่ก็ยังไม่รู้เลย แต่ก็คิดถึงคำนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องที่เราไปติด พระพุทธศาสนาคือคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออะไร เพื่อให้คนที่ได้ฟังเข้าใจ เพื่อละความไม่รู้ เพื่อละความติดข้อง เพราะต้องไม่ลืมว่า ที่ติดข้องเพราะไม่รู้ ว่าติดข้องเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ทั้งหมด เพราะฉะนั้นจุดประสงค์คือเพื่อเข้าใจถูก เพื่อเห็นถูก

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เพียงแค่พื้นฐานปรมัตถธรรม พูดถึงนิยามของจิต เป็นประธาน เป็นใหญ่ รู้แจ้งอารมณ์ แล้วอันที่ ๒ สะสมสันดานด้วยสามารถแห่งชวนวิถี เราก็ต้องไปเข้าใจวิถีจิต อะไรอย่างนี้ ซึ่งก็จะเหมือนกับเป็นเรื่อง เป็นชื่อที่ทำให้เราเข้าใจลักษณะสภาพธรรม แต่ในพระสูตรก็จะมีว่า คนก็ไปอยู่ในทะเลภาพทะเลชื่อ แล้วก็ชื่อปิดบังสภาพธรรม ซึ่งตรงนี้ท่านอาจารย์ก็พยายามพูดให้พวกเราเข้าใจว่า ฟังธรรมให้เป็นธรรม แต่ดูเหมือนความเป็นอนัตตาของอวิชชา หรือว่าโลภะก็ยังไปติดในชื่อ ในเรื่อง เป็นทะเลภาพ ทะเลชื่อ

    ท่านอาจารย์ คุณอรวรรณพูดถึงทะเลภาพกับทะเลชื่อ ขณะนี้เป็นทะเลภาพ หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม มีแต่ภาพทั้งนั้นเลย คนโน้น คนนี้ กระเป๋า โต๊ะ เก้าอี้ ภาพทั้งหมด ลืมความจริงว่า เป็นสิ่งที่เกิดปรากฏแล้วหมดไป เพราะฉะนั้นปิดบังไหม เป็นโอฆะ อวิชโชฆะ ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏ แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่กำลังปรากฏจะเป็นอื่นใดไม่ได้เลย โดยธาตุแท้ๆ โดยความเป็นจริงของสิ่งนั้นก็คือ สิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาทเท่านั้น กระทบกาย แม้ว่าธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่ได้แยกจากกันเลย แล้วก็มีสี สิ่งที่สามารถจะกระทบจักขุปสาทด้วย แต่เฉพาะอ่อน หรือแข็ง เย็น หรือร้อน ตึง หรือไหวเท่านั้นที่สามารถกระทบกายปสาท ส่วนรูปที่สามารถจะกระทบตาได้ ขณะนั้นไม่สามารถจะกระทบกับกายปสาทได้

    ด้วยเหตุนี้การฟังธรรม ก็คือว่ามีธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ แล้วก็ฟังเพื่อที่จะได้เข้าใจความจริงนั้นขึ้น จนกระทั่งมีความมั่นคงว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้นเวลาที่พูดถึงทะเลชื่อ ขณะใดก็ตามที่ไม่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฏว่า เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เป็นอื่นไปไม่ได้เลย เหมือนเสียง ก็เพียงปรากฏให้ได้ยินลักษณะที่เป็นเสียง แข็งเกิดจริง เมื่อปรากฏกับจิตที่กำลังรู้แข็ง ก็เพียงให้รู้ลักษณะที่แข็ง ซึ่งเป็นธาตุ หรือเป็นธรรมแต่ละอย่าง

    เพราะฉะนั้นถ้าขณะใดไม่รู้อย่างนี้ ขณะนั้นทางตาเป็นทะเลภาพ เพราะความไม่รู้ การเกิดดับสืบต่อของสภาพธรรมจึงปรากฏเป็นนิมิต เป็นสัณฐานสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้ทรงจำว่า เที่ยง ไม่ได้ดับไปเลย จึงเกิดการติดข้อง ต้องการในสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้น

    เพราะฉะนั้นก็จะเห็นการที่ชีวิตเกิดขึ้นมาแล้วเป็นไปด้วยความไม่รู้ ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทะเลภาพนี่ทางตา เดี๋ยวนี้มี หรือไม่ ตลอดเวลาเห็นดอกบัวบานแล้ววันนี้ วันก่อนก็บาน ต้นไม้ต้นนั้น ต้นไม้ต้นนี้ อะไรทุกอย่างก็เป็นเรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็นเป็นภาพต่างๆ แล้วเวลาทะเลชื่อล่ะเรื่องราวที่เป็นคำที่คิดนึกทั้งหมด โดยไม่รู้ว่า ขณะนั้นถ้าจิตไม่เกิดคิด จะไม่มีเรื่องนั้นเลย แล้วเรื่องต้องประกอบทีละคำ ถ้าคำเดียวไม่เป็นเรื่อง อย่างคำว่า “ไม่” “ไม่” เป็นอะไรก็ไม่รู้ ไม่ดี หรือไม่สวย หรือว่าไม่ชอบ ก็ไมรู้

    เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ขณะใดที่คิดเป็นคำๆ ทะเลชื่อ ไม่จบ แต่ปัญญาไม่ใช่หมายความว่าให้ไปเปลี่ยนให้มีตัวตน ไปพยายามที่จะทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ นั่นคือผิด เพราะเหตุว่าไม่ใช่ความเข้าใจถูก ความเห็นถูกตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นคืออะไร เป็นธาตุที่เกิดขึ้นคิด ไม่ใช่เป็นธาตุที่เกิดขึ้นเห็น ไม่ใช่เป็นธาตุที่เกิดขึ้นได้ยิน

    นี่คือการฟังธรรมให้เข้าใจความจริงว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เป็นเราที่เข้าใจ หรืออะไร อย่างนั้น แต่ยิ่งฟังก็ยิ่งเห็นว่าทั้งหมดเป็นธาตุ หรือเป็นธรรมแต่ละลักษณะซึ่งมีจริงๆ จนกว่าจะคลายความไม่รู้ และความสงสัย แล้วก็มีความเข้าใจถูก เมื่อละคลายความติดข้อง สภาพธรรมจึงสามารถปรากฏตามความเป็นจริงแก่ปัญญาที่ละคลายแล้ว

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ นั่นหมายถึงว่าฟังเข้าใจจริงๆ ว่า นี่เป็นธาตุ เป็นธรรม ตามเหตุปัจจัย เป็นอนัตตา

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีเห็น ดับแล้ว ได้ยิน ดับแล้ว อ่อนแข็งดับแล้ว คิดนึกดับแล้ว แต่ไม่รู้ทั้งๆ ที่พูดถึง พูดถึงเห็น เห็นเกิดแล้วดับ แล้วเห็นมีจริงๆ ก็ไม่รู้ จนกว่าจะรู้ นี่คือการฟังธรรม เพื่อมีความเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริง มิฉะนั้นการฟังก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

    อ.กุลวิไล ท่านอาจารย์ อย่างความรู้สึกก็มีในชีวิตประจำวัน สุขบ้าง ทุกข์บ้าง หรือบางทีก็เฉยๆ เป็นอุเบกขาเวทนา จะเรียนถามท่านอาจารย์ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่เวทนา

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต จะมีเวทนาได้ไหม

    อ.กุลวิไล ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ คือจริงๆ แล้ว เราคงจะไม่ต้องไปหาเฉพาะๆ อย่าง โดยที่ว่า เราต้องคิดถึงพื้นฐานของความเข้าใจว่า เวทนา ความรู้สึก เป็นสภาพที่มีจริงๆ บางครั้งเสียใจ ไม่ใช่เรา แต่ลักษณะของความเสียใจ คือ ความรู้สึกที่เสียใจ จะเปลี่ยนให้เป็นสนุกสนานตื่นเต้นอะไรก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อสภาพธรรมมีจริงๆ ก็คือว่าไม่ใช่จิต เป็นนามธรรม คือตั้งต้นที่สภาพธรรมนั้นมีลักษณะอย่างไร แล้วก็ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็เมื่อเป็นธรรมแล้ว ก็คือว่าบางครั้งทำไมเสียใจ บางครั้งทำไมดีใจ เพราะอะไร ถ้าไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยินเลย ไม่มีการรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย จะมีความรู้สึกในสิ่งนั้นได้อย่างไร เพราะจริงๆ เวลาที่ใช้คำว่า “รู้สึก” ก็หมายความว่ารู้สึกต่อสิ่งที่กำลังมี ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ธรรมเป็นเรื่องที่ถ้าไม่ข้ามแล้วก็ไตร่ตรองคิดถึงความละเอียดขึ้น ความเข้าใจก็ชัดเจนขึ้น เพราะว่าแต่ละชื่อที่เอ่ยมา ไม่ได้หมายความว่าให้รู้เผินๆ ให้จำได้ แล้วก็ไปงงๆ พอไปถึงข้อความอื่นก็สับสนต่อไปอีกว่าคืออะไร

    อ.วิชัย ก็ทรงแสดงเรื่องของจักขุ จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส แล้วก็จักขุสัมผัสสชาเวทนา จักขุเป็นทวาร เป็นทาง ขณะที่มีตาก็ คือสามารถที่จะเป็นทาง เป็นทวารให้จิตเห็นเกิด แล้วขณะที่จิตเห็นเกิดก็มีผัสสะเกิดร่วมด้วย แล้วผัสสะที่เกิดร่วมด้วยขณะนั้นก็มีเวทนาเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น

    ฉะนั้นความพร้อมของความเป็นปัจจัยก็เป็นไปแล้ว คือ ขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้น คือ ต้องอาศัยจักขุซึ่งเป็นจักขุทวารที่จะให้จิตเกิดขึ้น คือ จักขุทวารวิถีจิตเกิดขึ้น ก็มีจักขุวิญญาณด้วยในขณะนั้น ถ้าพูดถึงตามความเป็นจริง เราก็ศึกษาความละเอียด แล้วจะทราบว่า ขณะที่จักขุวิญญาณเกิด ถ้าไม่มีตา จักขุวิญาณก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ว่าถ้าธรรมละเอียดขึ้นมากกว่านั้นอีก ก่อนที่มีจักขุวิญญาณเกิดก็มีจิตอื่นเกิดก่อน ก็คือจักขุทวาราวัชชนจิต แต่เมื่อจักขุวิญญาณเกิด ขณะนั้นจักขุวิญญาณไม่ใช่เกิดเฉพาะจิต คือวิญญาณขณะนั้นเท่านั้น แต่มีธรรมอื่นที่เกิดร่วมด้วย ก็คือผัสสะในขณะนั้น ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง รวมถึงเวทนาด้วยที่เกิดร่วมด้วยกับจักขุวิญญาณขณะนั้น ถ้าพูดถึงมโนวิญญาณก็กล่าวในเรื่องของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ แล้วที่เหลือก็เป็นมโนวิญญาณ

    ผู้ฟัง ประทานโทษ มโนวิญญาณนี่ ถ้าเผื่อจะใช้คำสั้นๆ แบบจิตเห็นว่าเห็น อย่างท่านอาจารย์พูดเมื่อตอนต้น มโนวิญญาณ ท่านจะใช้คำอะไรดีที่สั้นที่สุด คำไทย

    อ.วิชัย คือมโนวิญญาณจะหมายถึงเฉพาะจิตที่รู้อารมณ์ทางใจไหมท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่ถ้าจะกล่าวถึงโดยทวาร หรือว่าโดยประเภทของจิต โดยประเภทของธาตุ นี่คือความละเอียด เวลาศึกษาเรื่องอะไรก็ศึกษาเป็นเรื่องๆ แล้วก็ให้เข้าใจว่ากำลังพูดถึงตอนไหน กำลังพูดถึงจิตประเภทใด นั่นก็ขยายต่อไปอีก

    เพราะฉะนั้นธรรมไม่ใช่เพียงแต่ว่า หมายความถึงเราฟังแล้ว เราเข้าใจโดยตลอดทั้งหมดเลย ยังมีความเป็นจริงที่ละเอียดกว่านั้นที่จะค่อยๆ กล่าวถึงตามลำดับ อย่างถ้ากล่าวว่า วิตกเจตสิกไม่เกิดกับจิตที่เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๑๐ ประเภท หรือ๑๐ ดวง คือไม่เกิดกับจิตเห็น กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบทางกาย ๑๐ ดวงนี้ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย นี่คือขั้นต้น แต่พอกล่าวถึงจิตประเภทอื่นต่อไป เช่น จิตระดับขั้นของรูปาวจรจิต ฌานจิต วิตกไม่เกิดกับจิตอะไรอีก นี่ก็คือว่าการศึกษาของเราไม่ใช่สิ้นสุด และจบลง เพียงเราได้ความเข้าใจขั้นต้นแค่นี้ แล้วจะครอบคลุมไปถึงส่วนอื่นนั้นไม่ถูกต้อง ก็ต้องเป็นความเข้าใจตามลำดับว่า ขณะนี้กำลังกล่าวถึงอะไร ทางไหน แล้วก็กล่าวถึงโดยประเภทของจิตโดยธาตุ หรือว่าโดยอะไร

    เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปใช้คำอะไรที่รู้สึกว่า ได้ยินแล้วอยากใช้ อย่างมโนวิญญาณ หรืออะไรอย่างนี้ เพียงแค่จิตเห็นกำลังมีจริงๆ ถ้าไม่ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะ ไม่ได้มีการเกิดขึ้นทำกิจเห็นในสิ่งที่ปรากฏทางตาที่ยังไม่ดับไป ๒ ขณะเลย เพียงแค่ ๑ ขณะ แล้วโดยกิจทำทัสนกิจ


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 168
    11 ม.ค. 2567