พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 386


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๘๖

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตา ไม่ว่าจะฟังอีกมากสักเท่าไรถึงปัจจัย ปฏิจจสมุปปาท หรือข้อความใดๆ ก็ไม่พ้นจากการจะให้เข้าใจความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมนั้น ไม่ใช่ขณะนี้เป็นธรรม เห็นเป็นธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรม แล้วเข้าใจแล้วว่าเป็นธรรม เป็นไปไม่ได้เลยค่ะ ยังต้องฟังให้เข้าใจเพิ่มขึ้นอีกว่า เป็นธรรมที่เกิดแน่นอน ถ้าไม่เกิดจะปรากฏได้อย่างไร แต่เกิดเพราะอะไร มีอะไรจึงเกิดขึ้น

    ที่เราพูดเมื่อวานนี้ ปฏิจจสมุปปาท แม้แต่อายตนะ และเราก็ไม่รู้ว่า ขณะนี้เพราะอะไรจิตเห็นจึงเกิดขึ้น ก็แสดงว่าเราไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เราพูด เราเพียงแต่รู้จักชื่อ และก็จำเรื่องราว แต่ในขณะนี้เดี๋ยวนี้เอง เมื่อเข้าใจว่าจิตเห็นขณะนี้เกิด กำลังทำกิจเห็นแล้วก็ดับ เพราะขณะที่คิดไม่ใช่เห็น แม้ไม่เห็นก็คิด เพราะฉะนั้นก็มีสภาพธรรมที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น เป็นธรรมทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย ฟังเพื่อเข้าใจความเป็นธรรม ความเป็นอนัตตา จะได้ค่อยๆ คลายการที่เคยไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วไปคิดเอาเองหมดเลย

    ผู้ฟัง ถ้าไม่คิด เราก็ไม่รู้ว่า เราคิดถูกคิดผิด เรารู้ถูก หรือรู้ผิด เราเข้าใจถูก หรือเราเข้าใจผิด

    ท่านอาจารย์ กำลังฟัง คิด หรือไม่

    ผู้ฟัง คิดตาม

    ท่านอาจารย์ ขณะที่เข้าใจ คิด หรือไม่

    ผู้ฟัง ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูก หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจ ทุกอย่างเป็นธรรม เห็นเป็นธรรม เห็นเกิด เกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้นขณะที่ฟังอย่างนี้ เข้าใจ ขณะนั้นคิด หรือไม่

    ผู้ฟัง คิด

    ท่านอาจารย์ คิด แต่ไม่รู้ว่าคิด นี่แสดงให้เห็นว่า มีช่องว่างอีกมากมาย ที่เป็นธรรม ที่ไม่รู้ความจริง แม้แต่ได้ยินคำว่า เห็นไม่ใช่คิด ได้ยินไม่ใช่คิด ได้กลิ่นไม่ใช่คิด ลิ้มรสไม่ใช่คิด รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสไม่ใช่คิด นี่แสดงให้เห็นว่าเรามีความละเอียดที่จะเข้าใจว่า เห็นเพียงเห็น คิดไม่ได้เลย ได้ยินก็เพียงได้ยิน คิดไม่ได้เลย แต่ขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้นไม่ใช่เห็น เพราะฉะนั้นเป็นอะไร แม้แต่ความคิดนึกก็มีหลายระดับ ไม่ใช่ว่าใครก็ตามที่กำลังฟังขณะนี้ไม่ได้คิดอะไรเลย คิดแต่ไม่รู้ว่ากำลังคิด เพราะว่าไม่ใช่คิดเรื่องอื่น ไม่ได้คิดเรื่องราวที่เคยจำได้ว่า เวลาคิดก็มักจะคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ขณะได้ยินกำลังคิดแล้วเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นเรื่อง เข้าใจคำ เข้าใจความหมายของคำ เข้าใจความจริงของสิ่งที่ปรากฏขั้นคิด แต่ไม่ใช่ขั้นรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และดับไป

    เพราะฉะนั้นการฟังธรรมต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ และสามารถที่จะรู้ได้ว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังถูก หรือผิด เป็นปัญญาของเราเองในขณะที่กำลังฟัง ไม่ใช่ว่าเมื่อเราฟังเข้าใจแล้วถามคนอื่นว่าที่เข้าใจนี่ถูก หรือผิด นั่นไม่ใช่ แต่สิ่งที่กำลังมีจริงๆ ขณะนี้ และได้ฟังเพิ่มขึ้น และเข้าใจเพิ่มขึ้น และรู้ความจริงว่า กำลังเข้าใจเรื่องของสภาพธรรม ทั้งๆ ที่ตัวธรรมมีทั้งเห็น และมีทั้งคิด ไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นคิดแล้ว ก็ไม่ได้แยกกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องฟังขณะที่สภาพธรรมกำลังมีในขณะนี้ ให้รู้ว่า แม้สภาพธรรมมี เกิดแล้วดับแล้ว สืบต่อเร็วมาก แต่ก็ยังไม่รู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง เมื่อวานสงสัยคำนี้ กลับไปก็ไปนั่งฟัง ก็หาไม่เจอว่าอยู่ตรงไหน มากเหลือเกิน ก็เลยคิดว่าไม่ไหว

    ท่านอาจารย์ ธรรมเยอะแล้วไม่รู้จะหาตรงไหน เดี๋ยวนี้เป็นธรรม กำลังฟังธรรม มีธรรมปรากฏให้เข้าใจขึ้น ไม่ต้องไปหาตรงไหน

    ผู้ฟัง ถ้าไม่มีคนช่วย อยู่คนเดียวก็คิดว่านี่ธรรมใช่ หรือไม่ แค่นี้มันพอ หรือไม่ มันรู้สึกว่าง่ายเหลือเกิน

    ท่านอาจารย์ พอคืออะไร สภาพธรรมเกิดดับ และขณะนี้เพียงเข้าใจว่าเป็นธรรม นี่พอ หรือยัง

    ผู้ฟัง คือบางทีก็ไปคิดถึงว่า เดี๋ยวก็มีคำว่าผัสสะ คำว่า อายตนะ

    ท่านอาจารย์ ไปคิดถึงคำ คุณเด่นพงศ์คิดถึงคำ แต่ขณะนี้ขอให้ตั้งต้นศึกษาเพื่อให้เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม ศึกษาธรรมคือศึกษาแล้วเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง คือถ้าไม่คิดอย่างนั้น เวลาไปอ่านหนังสือ.. อย่างเมื่อวานก็มีคำมาก ถ้าเราไม่เข้าใจก็เหมือนไม่รู้อะไร

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังอ่านหนังสือมีเห็นไหม

    ผู้ฟัง มีเห็น

    ท่านอาจารย์ ลืมแล้วใช่ไหมว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ไม่ได้คิดเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นฟังจนกว่าจะไม่ลืม เหมือนก่อนนี้ไม่เคยฟังมานานแสนนาน ไม่เคยรู้ พอถึงเวลาจะให้รู้ทันที เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

    อ.อรรณพ การศึกษาพระอภิธรรมก็เพื่อให้เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลของสภาพธรรม ที่เป็นกุศลธรรมบ้าง อกุศลธรรมบ้าง ที่ไม่ใช่ทั้งกุศล ไม่ใช่ทั้งอกุศล ซึ่งความจริงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ก็เป็นอภิธรรมอยู่แล้ว สนทนาถึงสภาพรู้ทางตา ก็คือจิต การอบรมเจริญปัญญาต่างๆ ก็คือเจตสิก แต่การศึกษาเพื่อให้เข้าใจก็เป็นพื้นฐาน แม้ว่าปัญญาจะไม่สามารถรู้ละเอียดได้ถึงอย่างนั้นว่า แยกจิตกับแยกเจตสิก ก็ไม่ใช่เพื่อให้แยกจิต ให้แยกเจตสิก ไม่ใช่แยกเพื่อให้รู้เจตสิกแต่ละอย่างๆ หรือรู้รูปต่างๆ รู้เหตุปัจจัยตามปัจจัย ๒๔ คงไม่มีใครมีปัญญาประจักษ์แจ้งอย่างนั้น นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกที่ท่านมีคุณขนาดนั้น แต่สภาพธรรมใดกำลังปรากฏในขณะนี้ ก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น อันนั้นก็เป็นการเข้าใจอภิธรรมเท่าที่ปัญญาของผู้นั้นที่จะมี ที่จะรู้ตามที่ได้ศึกษาไป

    ขณะนี้ก็มีอภิธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะรู้ตามความเป็นจริง เพื่อละความติดข้องซึ่งเป็นเหตุทำให้มีสังสารวัฏ จนกว่าจะถึงขณะที่มีความแนบแน่นจริงๆ เมื่อมีการประจักษ์ในพระนิพพาน ก็จะมีการดับกิเลส ความติดข้องทั้งหลายได้ ดับเหตุปัจจัยที่นำมาซึ่งผลทางตา ซึ่งก็คืออาหารปัจจัย ซึ่งก็จะหมด หรือว่าค่อยๆ ดับเป็นขั้นๆ ในอุปาทานทั้งหลาย จนกว่าจะเป็นพระอรหันต์จริงๆ ซึ่งก็ไม่พ้นจากหนทาง คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นเบื้องต้น

    เพราะฉะนั้นการสนทนาพื้นฐานพระอภิธรรม ถึงแม้เราจะไม่สามารถเข้าใจธรรมส่วนละเอียด โดยขั้นการประจักษ์ด้วยปัญญาที่เป็นขั้นภาวนาได้ อย่างนั้นทั้งหมด แต่ความรู้ความเข้าใจเหล่านี้ ถ้ารู้ถูก เข้าใจถูกแม้ขั้นการฟัง ขั้นการพิจารณา ที่เป็นสุตตมยปัญญา และจินตามยปัญญา ก็จะเป็นสัจญาณ คือ เป็นปัญญาที่เข้าใจในความจริงที่จะเป็นพื้นฐานให้มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเท่าที่เป็นไปได้ สำหรับแต่ละบุคคล ไม่ใช่จะรู้ได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นการศึกษาส่วนละเอียด ไม่ใช่ให้ไปรู้อย่างนั้นได้เหมือนกับพระผู้ทรงแสดง หรือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เพื่อความมั่นคงในความเป็นธรรม ที่ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ความจริงในชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น จะไปกล่าวถึงสิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่ได้ปรากฏก็ไม่ได้ จะไปกล่าวถึงสิ่งที่หมดไปแล้วก็ไม่ได้ แต่ว่าขณะนี้สิ่งที่กำลังมี กว่าจะรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราได้ยินชื่อธรรม แล้วเราก็ไปหาธรรมอยู่ที่ไหน วันนี้มีธรรม หรือไม่ ธรรมมีรูปร่างลักษณะอย่างไร ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่สิ่งที่มีขณะนี้เองเป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้นว่าเวลาที่ได้ยินได้ฟังเรื่องสิ่งที่มีจริง ก็ต้องเป็นขณะที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง แต่ว่าสิ่งที่มีจริง แล้วเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ก็ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๔ เท่านั้น

    ท่านอาจารย์ เรียก

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ แล้วเดี๋ยวนี้อะไรเป็นปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง ปรมัตถธรรม ๔ ก็เพียงแค่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องไปหาธรรมที่ไหน หรือไม่

    ผู้ฟัง แต่อย่างสภาพคิดนึก

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรม หรือไม่

    ผู้ฟัง สภาพคิดเป็นธรรม แต่ว่าเรื่องราวที่คิดนึกเป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ คิดเรื่องอะไร

    ผู้ฟัง คิดเรื่องขณะนี้ก็กำลังคิดเรื่องราวของธรรมที่ได้ยินได้ฟัง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นคิดมีจริง เป็นธรรม

    ผู้ฟัง แต่เรื่องราวที่คิดนึกไม่ใช่สิ่งที่มีจริง

    ท่านอาจารย์ เรื่องอยู่ที่ไหน และตัวธรรมอยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง เรื่องก็คือ เป็นเรื่องที่สมมติขึ้นเป็นคำๆ

    ท่านอาจารย์ เป็นความคิด แต่ตัวคิดมี

    ผู้ฟัง ก็เลยทำให้สับสนบ้าง ในลักษณะของความจริงกับความไม่จริง

    ท่านอาจารย์ สับสนขั้นฟัง หรือสับสนที่ไม่รู้ลักษณะของความคิด

    ผู้ฟัง สับสนที่ไม่รู้ว่า ลักษณะของความคิด

    ท่านอาจารย์ ขั้นฟังสับสนไหมว่า สิ่งที่มีจริงๆ คืออะไร

    ผู้ฟัง ขั้นฟังนี่ก็พอจะเข้าใจได้

    ท่านอาจารย์ ว่าคิดมีจริงๆ ทุกอย่างที่เป็นเรื่องของความคิดไม่มีในขณะนั้น เพียงแต่จิตนึกถึง แล้วแต่จะนึกถึงคำ หรือจะนึกถึงรูปร่าง เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก

    ผู้ฟัง ทีนี้เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันก็มีเรื่องไม่จริงมากมายไปหมด

    ท่านอาจารย์ เช่น

    ผู้ฟัง เช่นเรื่องที่คิด

    ท่านอาจารย์ รู้ไหมว่าไม่จริง เพราะเพียงคิด

    ผู้ฟัง แต่ก็หลอกว่าจริง

    ท่านอาจารย์ จนกว่าจะฟังเข้าใจขึ้นว่า แท้ที่จริงถ้าจิตไม่คิด เรื่องใดๆ ก็ไม่มีทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง แล้วจะทำอย่างไร โดนหลอกอยู่ตลอด

    ท่านอาจารย์ ทำ หรือเข้าใจ

    ผู้ฟัง แต่ขณะที่โดนหลอก หลอกไปไกลมากเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่เข้าใจ

    ผู้ฟัง ไม่เข้าใจว่า ไม่ใช่เรื่องจริงใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจว่า ขณะนั้นคิดเป็นธรรม เป็นสภาพคิด หมดแล้ว ไม่ใช่เห็น คิดไม่ใช่ได้ยิน คิดไม่ใช่กำลังรู้แข็งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้นคิดก็เป็นธรรมที่คิดเท่านั้นเอง แล้วแต่ว่าจะคิดเรื่องอะไร ถ้าคิดมี คิดก็เป็นธรรม คิดก็ต้องเกิดขึ้น คิดก็ต้องดับไป

    ผู้ฟัง ทำไมไม่รู้อย่างที่ท่านอาจารย์กล่าว

    ท่านอาจารย์ อวิชชารู้อะไรไม่ได้เลย วิชชาเป็นสภาพที่รู้ถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นขณะใดที่ไม่รู้ ทำให้สามารถเห็นถูกต้องได้ว่า ความไม่รู้มีมากระดับไหน ฟังแล้วฟังอีก อาจจะค่อยๆ เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง เพียงแค่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ตัวสภาพธรรมจริงๆ ที่เป็นอย่างที่ได้ฟัง ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความเป็นธรรมเพียงขั้นฟัง ต้องอาศัยความเข้าใจเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้เราถึงสนทนาธรรม เวลาที่ไม่สนทนาธรรม รู้สึกมีเรื่องอื่นที่จะสนทนากันมากมายเลยใช่ไหม ถูกไหม แต่พอสนทนาธรรม บางคนอาจจะไม่รู้ว่า จะสนทนาอะไรดีที่เป็นธรรม แต่ความจริงกำลังสนทนากันเรื่องอื่นก็เป็นธรรม ไม่มีสักขณะเดียวที่ไม่เป็นธรรม แต่เวลาที่สนทนาเรื่องอื่น ลืมธรรมที่ได้ฟังทั้งหมด และเวลาที่กำลังฟังธรรมก็ยังลืม แสดงให้เห็นว่าสัญญา ความจำ จำในความเป็นตัวตน จำในความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดมานานมาก

    แม้แต่จะได้ยินได้ฟังคำว่า “ธรรม” กว่าจะเข้าใจจริงๆ ว่า ทุกอย่างไม่เว้นเลยเป็นธรรม เพราะฉะนั้นเมื่อทุกอย่างเป็นธรรม แล้วก็ยังไม่รู้ว่า ขณะนั้นๆ เป็นธรรม แล้วจะหมดกิเลส หมดความไม่รู้ได้อย่างไร นี่คือเหตุกับผล เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเมื่อฟังธรรมแล้ว ทำอย่างไรจึงจะเป็นอย่างนั้น ทำอย่างไรจะเป็นอย่างนี้ นั่นคือไม่ได้เข้าใจคำแรกคือ "ธรรมเป็นอนัตตา" ก็ลืมโน่นลืมนี่อยู่ตลอดเวลา พอนึกอยากจะทำก็คือ ลืมแล้วว่าเป็นธรรม แล้วขณะนี้ก็เป็นธรรม ก็ลืมอีก จนกว่าจะมีความเข้าใจที่มั่นคงจริงๆ

    ผู้ฟัง อย่างนั้นพื้นฐานพระอภิธรรมอยู่ตรงไหน

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม เดี๋ยวนี้สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏเป็นธรรม ไม่ใช่ไปจำเป็นตัวหนังสือ แต่มีลักษณะของธรรมปรากฏจนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น นานไหมกว่าจะเข้าใจ นานมาแล้วยิ่งกว่านี้ไหมที่ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า กว่าจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เท่ากับที่ไม่เคยรู้ ก็ต้องนานมาก

    ผู้ฟัง พูดว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” ได้ คิดว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” ได้ แต่เข้าใจว่า “ทุกอย่างเป็นธรรม” เป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ มีลักษณะอะไรที่กำลังปรากฏขณะนี้บ้าง

    ผู้ฟัง มีเห็น

    ท่านอาจารย์ เห็นมี สิ่งที่ปรากฏทางตามีไหมคะ

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ทั้งเห็น และสิ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ ตอบได้ แต่ไม่รู้สภาพจริงๆ ของธรรมเลย เพราะเหตุว่าเพียงแต่ฟัง แล้วก็พิจารณา แล้วก็เข้าใจ แต่ตัวธรรมจริงๆ ที่ปรากฏ จะรู้ได้ต่อเมื่อกำลังมีสภาพธรรมที่รู้ตรงลักษณะนั้น พูดถึงเห็น แต่ไม่ได้รู้สภาพที่กำลังเห็น พูดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ไม่ได้เข้าใจถูกในสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่รู้ว่าทั้ง ๒ อย่างเป็นธรระม มีจริงๆ เพียงแค่นี้ เพียงเข้าใจว่าทั้ง ๒ อย่างมีจริง เห็นก็มีจริง สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีจริง แต่ความรู้ความเข้าใจยังไม่ถึงลักษณะที่เป็นธรรม มีจริงก็มีจริง แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงสิ่งที่สามารถปรากฏ เมื่อปรากฏแล้วหมดไป อันนี้ไม่รู้เลย หลังจากที่เห็นแล้ว ก็จะมีการคิดนึก การจำสิ่งที่ปรากฏ เพราะว่าเห็น เพราะฉะนั้นก็ต้องจำ เมื่อจำแล้วก็ต้องคิด แต่เวลาที่เห็น ไม่ได้เห็นการเกิดดับ ไม่ได้เห็นว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งปรากฏเท่านั้น แต่เมื่อเห็นแล้ว เพราะความไม่รู้ก็จำสิ่งที่ปรากฏสืบต่อ จนกระทั่งเหมือนกับว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ปรากฏสืบต่อเป็นนิมิต เที่ยง ขณะนี้สิ่งที่มาจากการเกิดดับสืบต่อของสภาพธรรมกำลังปรากฏให้เห็นเหมือนเที่ยง เพราะเหตุว่าไม่ดับเลย

    จากการที่จำรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ ก็ยังจำต่อไปอีกถึงความเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เช่น เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นคน มีรูปร่างสัณฐานต่างๆ กัน แต่เวลาหลับตาแล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ไม่ปรากฏ แต่การที่เราจำไว้ยังมี เหมือนกับมีคนจริงๆ มีวัตถุสิ่งนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้นกว่าจะรู้ความจริงของสิ่งที่มีจริง แต่เกิดขึ้นแล้วดับไป แล้วไม่กลับมาอีกเลย

    นี่คือการที่จะเข้าใจคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผิดจากนี้ไม่ได้เลย ถ้าใครกล่าวว่า ไม่เป็นจริงอย่างนี้ คือผู้นั้นไม่ได้ฟังธรรม ไม่รู้จักความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าฟังแล้วรู้ว่า กว่าจะรู้ความจริงนี้ ไม่ใช่รวดเร็ว ต้องอาศัยความดีนานาประการที่เกิดขึ้น ที่จะไม่ให้เป็นอกุศลทับถมมากมาย จนกระทั่งสามารถรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งจนกระทั่งสามารถเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมที่ปรากฏได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ฟังธรรม ไม่ใช่เป็นผู้ประมาทพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาฟังมีความเข้าใจถูก และรู้ว่า สามารถอบรมความเห็นถูกอย่างนี้ได้แน่นอน แต่ไม่ใช่เรา หรือความเป็นตัวตนที่อยากจะรู้ แต่ค่อยๆ ละการที่เคยยึดถือว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ แค่หลับตาก็ไม่มีแล้ว พอลืมตาขึ้นมาก็มีสิ่งที่ปรากฏพร้อมจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วกว่าจะรู้ความจริงว่า ถ้าจำถูกต้องคือจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ปรากฏ กว่าจะถอนความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ซึ่งเคยสะสมมามากในชีวิตประจำวัน

    ผู้ฟัง ในเมื่อเราฟังอย่างนี้แล้ว รู้สึกว่าเป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกัน แต่ในเมื่อสติปัฏฐานไม่เกิด หรือปัญญาไม่รู้ลักษณะที่ปรากฏตามความเป็นจริง ขณะนั้นก็จะเป็นแค่ความเชื่ออยู่ใช่ไหม ยังไม่ใช่ศรัทธา

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า สติปัฏฐานคืออะไร

    ผู้ฟัง ก็ระลึกสิ่งที่ปรากฏขณะนี้เดี๋ยวนี้

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ ถ้าเริ่มเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ไม่ไปนึกถึงอย่างอื่นเลย ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น แล้วก็เริ่มเข้าใจถูกต้องในลักษณะของสิ่งที่เพียงปรากฏ ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็น เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปใช้ชื่อ หรือไปสงสัยใช่ไหมว่า การที่จะรู้ลักษณะ และเข้าใจลักษณะที่มีจริงๆ ได้ เพราะขณะนั้นสภาพนั้นมี และกำลังเริ่มรู้ลักษณะของสิ่งนั้นในขณะนั้น ก็แสดงว่าขณะนั้นที่กำลังเริ่ม ไม่ไปคิดเรื่องอื่น ไม่ไปทำอย่างอื่นเลย แต่มีลักษณะที่ปรากฏให้ค่อยๆ เริ่มรู้ขึ้น ขณะนั้นคือ สติปัฏฐาน เป็นปกติไหม

    ผู้ฟัง เป็นปกติ

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปทำอะไรเลยใช่ไหม

    ผู้ฟัง แต่คำว่า “ค่อยๆ เริ่มรู้ขึ้น” นี้ยังสังเกตไม่ได้ว่า ค่อยๆ เริ่มรู้ขึ้น หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ใครจะสังเกต กำลังค่อยๆ เข้าใจ แล้วต้องมีใครไปสังเกต นอกจากรู้

    ผู้ฟัง ก็ให้เริ่มรู้ขึ้น ในเมื่อยังไม่เห็นความแตกต่างก็ยังเหมือนกับต้องเชื่อไว้ก่อน

    ท่านอาจารย์ รู้ในขณะที่กำลังค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งนี้ที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง แต่ดูเหมือนก็ไม่ค่อยแตกต่างอะไรจากในชีวิตประจำวัน

    ท่านอาจารย์ กำลังเริ่มเข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แสดงว่าขณะนั้นไม่ได้คิดเรื่องอื่นเลย แต่มีลักษณะที่ปรากฏจริงๆ เดี๋ยวนี้ และกำลังค่อยๆ เข้าใจ ถ้ากำลังค่อยๆ เข้าใจ ก็คือว่ามีลักษณะนั้นเองกำลังปรากฏ แล้วก็เริ่มเข้าใจ ไม่ใช่ไปคิด ไม่ใช่ไปได้กลิ่น ไม่ใช่ไปอะไรเลยทั้งสิ้น แต่กำลังมีลักษณะ ที่ใช้คำว่า “ตรงลักษณะ” ก็คือกำลังอยู่ หรือมี หรือระลึกที่ลักษณะนั้นเอง ถ้าจะอธิบาย หรือใช้คำ แต่ตามความเป็นจริงก็คือว่า ไม่ต้องใช้คำอะไร สิ่งนี้มี กำลังเริ่มที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ เป็นธรรมอย่างหนึ่งที่มีจริงแน่นอน นี่คือขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจ ขณะอื่นไม่ใช่สติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง อย่างนั้นก็หมายความว่า ขณะที่ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เริ่มรู้สิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นก็เป็นความเชื่อใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้รู้ลักษณะ

    ผู้ฟัง ก็ต้องเชื่อไว้ก่อน

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เชื่อไว้ก่อน จริง หรือไม่ สิ่งที่กำลังปรากฏมีจริงๆ หรือไม่

    ผู้ฟัง ถ้าทำความเข้าใจในขั้นเรื่องราว

    ท่านอาจารย์ ใครทำ

    ผู้ฟัง ฟัง พิจารณา

    ท่านอาจารย์ กำลังฟังไม่มีเราเลย เจตสิกทั้งหมดที่เกิดพร้อมจิตกำลังทำหน้าที่เกิดดับอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสามารถเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง จะต่างกับคำว่า “งมงาย” อย่างไร

    ท่านอาจารย์ งมงาย มีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ หรือไม่


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 168
    11 ม.ค. 2567