พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 399


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๓๙๙

    ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


    ท่านอาจารย์ นอกจากฟังวันนี้เข้าใจขึ้น ฟังต่อไปก็ค่อยๆ เข้าใจอีก จนกระทั่งมีปัจจัยที่สติสัมปชัญญะจะเกิดรู้ตรงลักษณะธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด ขณะนั้นปัญญาก็สามารถที่จะเห็นถูกต้องว่า ขณะนั้นเกิดแล้วเป็นอย่างนั้นแล้วตามเหตุตามปัจจัย แต่รู้แค่นั้นไม่พอเลย ยังไม่ได้ประจักษ์ความจริง ซึ่งกว่าจะประจักษ์ความจริง ก็ต้องอบรมไปอีกด้วยความละ ไม่ใช่ด้วยการรอ

    ผู้ฟัง มีอะไรปรากฏขึ้นมาก็ระลึกให้รู้ทั่วไปเรื่อยๆ อย่างนี้ก่อน

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ไม่ลืม คือ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไปเพื่อการละ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการติดข้อง ละ เพราะรู้ ไม่ใช่นึกละ แล้วคิดว่าละ แล้วโดยไม่รู้อะไร เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ ถ้าอยาก ต้องการ ทำเพื่อที่จะได้เมื่อไร ปิดกั้นทันที ไม่สามารถที่จะรู้ว่า แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ ควรติด หรือควรละ กำลังปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้เอง ควรติด หรือควรละ ควรรู้แล้วละ หรือว่าไม่รู้ต่อไป แล้วก็ติดต่อไปเรื่อยๆ ด้วยความไม่รู้

    ผู้ฟัง รู้แล้วละ

    ท่านอาจารย์ เป็นทุกข์เพราะการเห็นบ้างไหม

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ มีทุกข์จากการเห็นมากมาย แม้แค่หนังสือพิมพ์ ๑ ฉบับ หรือเสียงที่ปรากฏทางหูไม่กี่คำ ทุกข์ก็เกิดได้ สุขก็เกิดได้ ด้วยความไม่เข้าใจความจริงว่า ไม่มีเราเลย แม้สุข และทุกข์ก็เป็นธรรมซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วเมื่อไรจะทั่ว คิดดู เพราะว่าจากการที่เคยมีสภาพธรรมจากความไม่รู้มากมาย จนเหมือนมืดสนิท และก็ล้วนแต่เป็นสภาวธรรมที่น่ารังเกียจ เป็นโรคภัยชนิดซึ่งเน่า และสกปรก สารพัดอย่าง แล้วก็จะดับหมด ไม่เหลือเลย ลองคิดดู อีกนานไหมกว่าจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเราต้องการผล ไม่อยากมีอย่างนั้นไม่อยากมีอย่างนี้ แต่ก็ต้องมี เพราะเหตุว่ายังไม่ได้ดับเชื้อที่จะทำให้เกิดสภาพธรรมนั้นๆ จนกระทั่งไม่สามารถจะเกิดอีกได้

    เพราะฉะนั้นความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ ต้องประจักษ์แจ้งความจริงระดับไหน จึงสามารถที่จะทำให้สิ่งที่เคยสะสมมานานแสนนาน และก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกชาติ ทุกขณะที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วสิ่งนั้นสามารถที่จะดับไม่เกิดอีกเลย นี่คือคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องเข้าใจ เป็นเรื่องของปัญญาอย่างเดียว ไม่ใช่เป็นเรื่องอื่น

    ผู้ฟัง เพราะว่าเรามีกิเลสเยอะ ถ้าจะละสิ่งที่ติดข้อง ก็คงจะต้องเข้าใจว่า สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว มีอาการอะไรที่เกิดขึ้นกับเราบ้าง เราจะมีโลภะเกิด หรือไม่ การละในลักษณะอย่างนี้ เพื่อรู้เท่าทันสภาวธรรมก็คงเป็นการละอย่างหนึ่งใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เป็นความคิดของเราเอง

    ผู้ฟัง เป็นความคิดของเราเอง

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าศึกษาโดยละเอียด หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่าเพียงแค่คิดอย่างนั้นละได้ วันนี้ทุกคนคิดเลย คิดเยอะๆ

    ผู้ฟัง คงไม่ใช่คิดแล้วละ เป็นรู้สภาพธรรมที่เกิดขึ้น แล้วก็ปิดกั้น

    ท่านอาจารย์ นี่คิด โดยไม่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ทีละลักษณะด้วยสติสัมปชัญญะ หนทางเดียว

    ผู้ฟัง ตรงนี้เป็นการคิด

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง ถ้ารู้ว่า โลภะเกิดขึ้นแล้วเราก็ปิดกั้นเสียก่อน สังวรเสียก่อน

    ท่านอาจารย์ ตัวตนเราทั้งนั้นเลย สังวรก็เป็นเรา มีแต่ชื่อ ต้องละเอียดจนกระทั่งว่าสังวรคืออะไร ทุกอย่างที่ได้ยินได้ฟัง ไม่ใช่งูๆ ปลาๆ แม้แต่ธรรมก็ต้องเป็นสิ่งที่มีจริง มั่นคง ลักษณะนั้นมีแน่นอน ใครจะบอกว่าไม่มี เชื่อเขาไหม นี่คือสิ่งที่จะต้องพิจารณาด้วยตัวเอง แล้วสิ่งที่ปรากฏต้องเกิดขึ้นจึงปรากฏ ถูก หรือผิด

    ผู้ฟัง ถูก

    ท่านอาจารย์ เกิดขึ้นแล้วหมดไปด้วย แต่ว่ายังไม่ประจักษ์ ยังไม่รู้ตามนั้น เพราะฉะนั้นก็รู้ว่า นี่เป็นปัญญาขั้นฟัง ในเมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ แล้วยังไม่ประจักษ์ ก็เป็นผู้ที่ตรง ตราบใดที่เพียงคิดเรื่องราวของสภาพธรรม โดยไม่ได้รู้ตัวธรรม ซึ่งเป็นธาตุรู้ ไม่มีรูปร่างใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่กำลังเห็น อย่างนี้เราจะคิดเองได้ไหม นอกจาก ค่อยๆ เข้าใจลักษณะจากการฟัง แล้วก็มีสภาพนั้นปรากฏให้รู้ว่าเป็นจริงๆ อย่างเห็น ใครจะไปหารูปร่างมาได้ สูงต่ำดำขาวยังไงก็ไม่ได้ และก็ไม่ใช่สภาพที่กำลังรู้เสียงด้วย ขณะนี้ต้องเกิด จึงสามารถเห็น ก็เป็นสภาพธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา แล้วก็ยังมีอีกมากนักทั้งไตรปิฎก และอรรถกถา

    ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่เอง โดยนัยต่างๆ โดยประการทั้งปวง เมื่อรู้ตัวจริงของสภาพธรรมก็รู้ว่าตรงตามทุกคำที่ได้ทรงแสดง ไม่ผิดเลย ไม่ใช่ว่าต้องไปนึกเทียบเคียง แต่ลักษณะความจริงของธรรม เมื่อเป็นอย่างนั้น จึงทรงแสดงโดยหลากหลาย โดยนัยต่างๆ โดยสภาพที่เป็นธาตุ โดยสภาพที่เป็นอายตนะ โดยสภาพที่เป็นขันธ์ ก็คือตัวธรรมเดี๋ยวนี้ทั้งหมด

    ผู้ฟัง กราบเรียนอาจารย์ คือในขณะที่สภาพธรรมเกิดทางตา เมื่อการศึกษาเกิดขึ้น คือระลึกรู้สิ่งซึ่งปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ระลึก หรือไม่

    ผู้ฟัง ผมคงไม่เข้าใจตรงที่อาจารย์ถามว่าระลึกตอนไหน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปคิดเรื่องจะระลึก หรือไม่ระลึก แต่ต้องเป็นผู้ตรงว่าขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แม้กำลังปรากฏ รู้ลักษณะที่ปรากฏ หรือไม่ ตรงลักษณะนั้น ถึงลักษณะที่เป็นธรรม หรือยัง

    ผู้ฟัง ได้แค่เฉพาะคิดนึก

    ท่านอาจารย์ ถ้าคิดนึกก็ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ได้เฉพาะแค่คิดนึก ที่นี่คิดนึกก็อาจจะคิดถูกกับคิดผิดได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใครรู้

    ผู้ฟัง ตัวเองรู้

    ท่านอาจารย์ ทำไมถึงรู้ว่าผิด ทำไมถึงรู้ว่าถูก

    ผู้ฟัง ถ้าผิดก็คือถ้าเห็นเป็นบัญญัติก็ผิด แต่ถ้าถูกก็หมายความว่ารู้ที่ว่าแข็งเป็นรูป ในลักษณะคิดนึก ไม่ใช่ประจักษ์

    ท่านอาจารย์ มีใครบ้างที่ไม่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

    ผู้ฟัง ไม่มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะที่พระโสดาบันเห็น กับขณะคนที่ไม่ใช่พระโสดาบันเห็น มีอะไรที่ต่างกัน

    ผู้ฟัง โสดาบันท่านจะเห็นถูกต้องตามสภาวธรรม

    ท่านอาจารย์ แต่ยังมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ยังรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ อย่างเราก็คิดไป เราก็คิดนึกเกิด เราก็รู้ว่า คิดนึก คิดถูก หรือคิดผิด นี่เป็นการระลึก

    ท่านอาจารย์ แล้วตอนไหนคิดถูก

    ผู้ฟัง คิดถูกก็รู้ว่าเป็นแค่รูป

    ท่านอาจารย์ แล้วตอนไหนคิดผิด

    ผู้ฟัง คิดผิดก็คือเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้

    ท่านอาจารย์ พระโสดาบันก็รู้ว่าเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้

    ผู้ฟัง แต่ท่านรู้เป็นบัญญัติ

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ ท่านก็รู้บัญญัติ พระพุทธเจ้าท่านก็รู้ว่า ท่านพระอานนท์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ

    ผู้ฟัง แต่ท่านรู้บัญญัติ แล้วท่านก็รู้เป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ ท่านก็รู้บัญญัติด้วยแต่ว่าท่านไม่ได้รู้แบบเรา

    ท่านอาจารย์ ต่างกันอย่างไร ระหว่างท่านกับเรา

    ผู้ฟัง เราจะเห็นเป็นโต๊ะ เก้าอี้

    ท่านอาจารย์ ท่านก็เห็นเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้

    ชุนห์ แต่ท่านก็รู้ความเป็นสภาวธรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต่างกันตรงนี้ ก็จะต้องรู้ว่า ความต่าง คือ ผู้ที่รู้แจ้งสภาพธรรมไม่เห็นผิด เพราะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏจนประจักษ์แจ้ง ไม่กลับไปหาความเห็นผิดอีกเลย ทิฏฐิวิปลาสไม่มีเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้ความต่าง

    ผู้ฟัง ที่ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ฟังเข้าใจแบบนี้ แต่เวลาพูด เหมือนกับเราพูดว่าจำมาว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ และความจริงคืออะไร

    ผู้ฟัง ความจริงก็คือเห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เรารู้ว่า..

    ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจความหมายของคำว่า จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ใช่ไหม นี่เป็นคำพูด ถ้าไม่พูดล่ะ เปลี่ยนสภาพของจิตไม่ให้เป็นใหญ่เป็นประธานได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่ว่า จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ไม่ใช่เพราะพูด ต้องประจักษ์ แต่ว่าขณะนี้เห็นไหม

    ผู้ฟัง เห็น

    ท่านอาจารย์ ที่เห็น นั่นแหละมีจริงๆ ไหม

    ผู้ฟัง มีจริง

    ท่านอาจารย์ เป็นสภาพธรรม ไม่ใช้คำว่าจิต ได้ไหม ไม่ใช้คำว่า เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละคือจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน สภาพนั้นแหละที่กำลังเห็น ไม่ต้องไปบอกว่า เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง แล้วไปงง เป็นใหญ่อย่างไร เป็นประธานอย่างไร รู้แจ้งอารมณ์อย่างไร แม้แต่คำแปลแล้วเป็นภาษาไทย อวิชชาก็ยังคงไม่สามารถที่จะไปเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้น เพราะไปติดที่คำ แล้วก็เกิดความสงสัยว่า อันนี้เป็นอะไร ใช่ หรือไม่ เป็นใหญ่ หรือไม่ที่กำลังเห็น เป็นใหญ่ หรือไม่ แต่ถ้ากล่าวถึงเห็น แน่นอน ไม่มีใครที่ไม่รู้จักสภาพเห็น พูดถึงเห็น ขณะนั้นไม่ได้พูดถึงอย่างอื่นเลย ไม่ได้พูดถึงผัสสะ ไม่ได้พูดถึงเวทนา ไม่ได้พูดถึงสัญญา ไม่ได้พูดถึงอะไร เห็นมีจริง แล้วเห็นอะไร เห็นสิ่งที่ปรากฏ เปลี่ยนสิ่งที่ปรากฏที่เห็นให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเพราะจิตเห็นแจ้งในลักษณะ ซึ่งใครก็เปลี่ยนลักษณะนั้นให้เป็นลักษณะอื่นไม่ได้เลย และกำลังเห็นขณะนี้ ถึงไม่กล่าวว่า จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์คือ สิ่งที่ปรากฏ ก็มีสภาพที่เห็นแล้วนั่นเอง ถ้าจะอธิบายก็คือว่าต่างกับสภาพธรรมอื่น เช่น จำ หรือความรู้สึก ก็ไม่ใช่ขณะที่กำลังเห็น แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏ และความจริงก็คือว่าที่เห็น ทุกขณะเห็นแจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ อย่างบางคนบอกว่าเห็นว่ามืดๆ เปลี่ยนไปอีกแล้ว งูๆ ปลาๆ มาอีกแล้ว ใช่ไหม เพราะเหตุว่าเข้าใจว่ามืด ไม่แจ้ง ไม่ชัดเจน แต่ความจริงที่รู้ว่า มืดเพราะจิตเห็นแจ้งลักษณะนั้นใช่ หรือไม่ จึงสามารถที่จะบอกได้ว่าต่างกับขณะอื่น เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องที่เราไปติดที่คำ แล้วไปสงสัย แต่สภาพธรรมมีจริงๆ ปรากฏให้สามารถเข้าถึงคำที่ได้ยินได้ฟัง โดยที่เราไม่ได้ไปติดที่คำเลย เพราะเหตุว่าขณะนี้มีจิตที่กำลังเห็น มีจิตที่กำลังได้ยินเสียง

    ผู้ฟัง กลายเป็นว่า ศึกษาผิดว่า จริงๆ เห็น หรือว่าได้ยิน หรือว่าคิดนึกก็มีอยู่แล้ว ก็มีลักษณะให้รู้อยู่แล้ว เพียงแต่พอเรียนว่า จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ก็ไปติดที่คำว่าเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่จริงๆ ก็ทุกคนก็เห็นอยู่แล้ว ได้ยิน เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินเสียงแล้วก็คิดนึกไปตามการสะสม ตรงนี้ก็ได้ความกระจ่างชัดมาก แต่พออาจารย์อรรณพพูด เราก็ไม่เข้าใจว่าเป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ทั้งๆ ที่จริงๆ มีลักษณะที่เรารู้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเมื่อไม่ได้ศึกษาในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ก็ไม่รู้ความจริงตรงนั้น เป็นอย่างไร ทุกคนก็เห็น ได้ยินอยู่แล้ว วันนี้ก็ชัดเจน เพราะเมื่อสักครู่ไปนึกว่า เราไม่เข้าใจ อาจารย์ก็อธิบาย ก็ชัดเจนมากเลยว่า เขาเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเรามาศึกษาให้เข้าใจ เราก็ไปติดคำ ทำให้ต้องมาอธิบายอีกว่า เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอย่างไร ทั้งที่ลักษณะนั้นมีอยู่แล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อมีความเข้าใจแล้ว ต่อให้ได้ยินคำอื่นๆ ก็ยังสามารถที่จะเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่เข้าใจแล้วได้ ไม่สงสัย ไม่สับสน แต่ถ้าไม่เข้าใจก็ยังคงสับสน สงสัยว่าหมายความถึงอะไร

    อ.กุลวิไล ขณะนี้ก็มีจิต จิตนั้นเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ แล้วอารมณ์ก็แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ และแต่ละทางก็ต้องมีอารมณ์ที่เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้

    ผู้ฟัง อยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ถ้ามีเราเป็นอวิชชา ถ้าไม่มีเรา หรือมีเราแต่ด้วยสติปัฏฐาน ๔ เป็นความถูกต้องไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ “ถ้า” ดีไหม ความจริง ไม่ต้องสมมติว่า ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้

    ผู้ฟัง อยากจะให้เป็นเช่นนั้น

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้อยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง ขณะนี้อยู่ที่ มศพ.

    ท่านอาจารย์ มีอะไรบ้างที่นี่

    ผู้ฟัง ก็มีการศึกษาธรรม เพื่อให้ปัญญารู้แจ้งเจริญขึ้น

    ท่านอาจารย์ มีใครกำลังถาม หรือไม่

    ผู้ฟัง มีใคร มี

    ท่านอาจารย์ เมื่อสักครู่พูดเรื่องจิต เจตสิก รูป แล้วใครกำลังถาม

    ผู้ฟัง ผม ตัวเรานี่

    ท่านอาจารย์ แสดงว่ายังไม่เข้าใจในสภาพที่ไม่ใช่เรา เพราะเป็นจิต เพราะเป็นเจตสิก เพราะเป็นรูป ใช่ไหม ถ้ากล่าวว่า จิต เจตสิกรูป จิตเป็นเรา หรือไม่

    ผู้ฟัง จิตเป็นนาม

    ท่านอาจารย์ เจตสิกเป็นเรา หรือไม่

    ผู้ฟัง เจตสิกเป็นนาม

    ท่านอาจารย์ รูปเป็นเรา หรือไม่

    ผู้ฟัง รูป ถ้าพูดถึงทางโลกก็ใช่

    ท่านอาจารย์ ทำไมทางโลก เป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ทางโลกก็คือสมมติ ไปเป็นนี่ แล้วใครมานั่งอยู่นี่

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ กำลังจะต้องเข้าใจ ใครนั่ง

    ผู้ฟัง ผมครับ ตัวเรานี่

    ท่านอาจารย์ ตกลงไม่ใช่จิตเจตสิกรูป

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก รูป ก็เป็นส่วนประกอบ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นรูปเป็นรูป หรือรูปเป็นเรา

    ผู้ฟัง รูปเป็นรูป แล้วก็เป็นเราด้วย

    ท่านอาจารย์ เพราะเข้าใจผิด ใช่ไหม รูปเป็นรูป ไม่ใช่เรา ต้องมีความเข้าใจที่มั่นคง รูปจะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากเป็นรูป

    ผู้ฟัง คือทำให้ผม คล้ายๆ กับ รู้แจ้ง

    ท่านอาจารย์ ต้องพิจารณาสิ่งที่พูด แล้วพิจารณาก็สิ่งซึ่งได้ยินได้ฟัง แม้แต่ขณะที่ตอบ รูปมีจริง เป็นรูป ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก แล้วรูปนั้นเป็นเรา หรือไม่

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ แปลว่าเห็นผิดแล้วใช่ไหมในรูป เวลาคิดว่าจิตเป็นเรา ก็เพราะมีความเข้าใจผิด ไม่รู้ความจริงว่า จิตเป็นจิต จิตไม่ใช่เจตสิก และจิตไม่ใช่รูป เมื่อมีความเข้าใจผิด ไม่รู้ความจริง ก็ยึดถือจิตนั้นว่าเป็นเรา ด้วยเหตุนี้สภาพธรรมที่มีจริงเป็นที่ตั้งของความเห็นผิด ยึดถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งนั้น แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่ได้เข้าใจลักษณะความจริงของธรรม ซึ่งเป็นธรรมแต่ละอย่างจริงๆ จึงเห็นว่ารูปเป็นเรา รูปไหนเป็นเรา

    ผู้ฟัง ที่นั่งอยู่นี่ เป็นเรา

    ท่านอาจารย์ ที่นั่งอยู่นี่ มีรูปอะไร

    ผู้ฟัง ก็ทั้งหมดนี่ มีหัว หู ตา จมูก ลิ้น

    ท่านอาจารย์ ลองจับหัวสิ เป็นเรา หรือว่าเป็นแข็ง กระทบสัมผัสที่ศีรษะ มีลักษณะอะไรที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง ก็ทั้งหมด

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ทั้งหมด

    ผู้ฟัง แข็ง

    ท่านอาจารย์ แข็งมีจริงๆ หรือไม่

    ผู้ฟัง ก็มีจริง

    ท่านอาจารย์ แน่นอนนะ

    ผู้ฟัง แน่นอน

    ท่านอาจารย์ เป็นเรา หรือเป็นแข็ง

    ผู้ฟัง เป็นแข็งด้วย แล้วก็เป็นเราด้วย

    ท่านอาจารย์ แข็งเป็นเราไม่ได้ แข็งเป็นอื่นไม่ได้ เป็นจิตไม่ได้ เป็นเจตสิกไม่ได้ เปลี่ยนแข็งให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง เปลี่ยนแข็ง

    ท่านอาจารย์ ถามว่า เปลี่ยนลักษณะแข็งที่ปรากฏให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ นั่นคือความหมายของธรรม ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนสภาพจริงๆ ของสิ่งนั้นให้เป็นอย่างอื่นได้ แต่เพราะไม่รู้เลย ก็เข้าใจว่า แข็งนั่นแหละเป็นเรา รูปร่างสัณฐานตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าที่มองเห็น เข้าใจว่าเป็นเรา ทั้งหมดมาจากความไม่รู้ แต่มีผู้รู้ที่ทรงแสดงความจริง

    เพราะฉะนั้นคนที่ยังไม่รู้ต้องฟังความจริง แล้วพิจารณาว่าจริง หรือไม่ ต่อไปนี้เวลาที่กระทบแข็ง ลืมไปแล้วไม่รู้ว่า แข็งเป็นแข็ง ก็เป็นเราต่อไป แต่แข็งจะเป็นเราไม่ได้ แข็งยังต้องเป็นแข็งอยู่ไม่ว่าแข็งเกิดปรากฏเมื่อไร จะเปลี่ยนลักษณะที่แข็งให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย รู้ความจริงอย่างนี้เมื่อไร แข็งนั้นจะไม่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่เป็นนิ้วมือ ไม่เป็นโต๊ะ ไม่เป็นเก้าอี้ แต่เป็นแข็ง เป็นธรรม

    เพราะฉะนั้นจะเข้าใจความหมายของธรรม หมายความถึงสิ่งซึ่งมีจริงปรากฏกับจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ธาตุรู้ขณะนั้น ถ้าจิตไม่รู้แข็ง แข็งไม่ปรากฏเลย ถ้าเสียงไม่ปรากฏ ไม่มีจิตได้ยินเสียง เสียงไม่ปรากฏเลย แม้ว่ามี ก็ปรากฏไม่ได้

    นี่คือธรรม ความเป็นจริงของทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะโลกนี้ที่ไหนๆ ทั้งหมด สภาพธรรมก็เป็นจริงอย่างนั้น แต่ผู้ไม่รู้ก็ยึดถือทุกอย่างที่ปรากฏว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้นก็ต้องฟังจนกระทั่งมีความมั่นคงในสภาพธรรมว่าเป็นแข็ง เพราะฉะนั้น ที่ว่าขณะนี้เรานั่ง มีเราไหม

    ผู้ฟัง ถ้าถามตอนนี้ ก็ต้องตอบว่า ยังคงมีเราอยู่

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นเรา

    ผู้ฟัง ก็ตัวนั่งอยู่

    ท่านอาจารย์ ที่ว่าตัวนี่เป็นอะไร ลักษณะจริงๆ ที่มีเป็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็รูป

    ท่านอาจารย์ รูปอะไร

    ผู้ฟัง รูปคนนี่ ที่นั่งอยู่นี่

    ท่านอาจารย์ รูปคน รูปคนเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ก็มีร่างกาย มีแขน ขา มีตา หู

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีแข็งไม่มีอ่อน ไม่มีเย็น ไม่มีร้อน ไม่มีอะไรเลย ทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง ก็ไม่มีเรา

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่มี

    ผู้ฟัง ก็นั่นนะสิ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่มีจริงๆ คืออะไร

    ผู้ฟัง ก็มีใหญ่ๆ อย่างที่เรียนๆ ท่านอาจารย์ ก็คือเย็น ร้อน อ่อน แข็ง

    ท่านอาจารย์ นั่นจริงใช่ไหม

    ผู้ฟัง จริง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้ความจริงก็ยึดถือว่าเป็นเราทั้งหมด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ทั้งๆ ที่เป็นแข็ง เป็นอ่อน เป็นเย็น เป็นร้อน เท่านั้นเอง ก็ลองคิดดูว่าอันไหนจริง ถ้าไม่มีสภาพธรรมเหล่านี้เลย จะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกไหม ก็ไม่มี แต่เมื่อมีแล้วไม่รู้ ใช่ไหม ก็เข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เที่ยง ไม่เกิดไม่ดับ ยังมีอยู่ขณะนี้ ความจริงสิ่งใดเกิดแล้วดับ เกือบจะเรียกได้ว่าทันที ไม่เหลือเลย แล้วก็ไม่กลับมาอีกด้วย

    เพราะฉะนั้นต้องรู้ความจริง กับการไม่รู้ความจริงว่าต่างกันมาก แล้วเราอยู่ในโลกของการไม่รู้ความจริงมามาก และนาน จนยึดถือ ไม่ปล่อยไปเลย เป็นเราอยู่ที่นี่เดียวนี้ยังมีเรา เพราะฉะนั้นฟังจนกว่าจะเข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้วก็เป็นธรรมแต่ละลักษณะซึ่งต้องเกิดจึงปรากฏได้ ถ้าไม่เกิดก็ไม่ปรากฏ

    ผู้ฟัง แล้วผมที่คิดอยู่นี่ ที่ว่าเจริญสติปัฏฐาน ๔

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ไปเจริญสติปัฏฐานเลย เพราะยังไม่ได้รู้จักสภาพธรรมว่า ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร ที่จะไม่มีเรา

    ท่านอาจารย์ ทำ เป็นความเข้าใจ หรือว่าไม่เข้าใจก็ทำ

    ผู้ฟัง ต้องเข้าใจก่อนถึงปฏิบัติ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นตอนนี้เข้าใจ หรือยัง

    ผู้ฟัง ก็ยังไม่แทงตลอด

    ท่านอาจารย์ เข้าใจ หรือยังว่าไม่มีเรา

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วควรจะเป็นอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นยังไม่ถึงใช่ไหม ที่จะเข้าใจอย่างมั่นคง ไม่ต้องไปคิดเรื่องสติปัฏฐาน เพราะไม่มีความเข้าใจถูกเลยแล้วจะให้สติระลึกอะไร ถ้าสติเกิด สติจะรู้อะไรในเมื่อไม่เคยรู้เลย แม้ขณะที่เห็นเป็นธรรม แข็งก็เป็นธรรม ทั้งตัวที่คิดว่ามี ไม่เหลืออะไรเลย เป็นแต่เพียงสิ่งใดปรากฏ ก็มีเฉพาะสิ่งนั้นเพราะจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะก็ต้องรู้สิ่ง หนึ่งสิ่งใด เพียงอย่างเดียว ทีละอย่าง

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วก็ต้องขออนุญาตนิดหนึ่ง คือลูกชายผม ผมอยากจะให้บวช ตอนปิดเทอม เดือนเมษา เขาบอกว่าที่วัดจะให้ไปอยู่วัดอาทิตย์หนึ่ง แล้วให้บวช ๒ อาทิตย์ แต่ว่าบวชแล้วให้ไปปฏิบัติธรรมที่ต่างจังหวัด อยากจะปูพื้นฐานเอาไว้ให้กับเขา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วต้องเป็นผู้ที่มีเหตุผล เวลาที่ลูกเองถ้าอยากจะบวช คุณชาศักดิ์ ก็น่าจะถามเขาว่าบวชทำไม คือต้องเป็นผู้ที่มีเหตุผล ไม่ใช่ทำอะไรด้วยความอยาก และด้วยความไม่เข้าใจ เพราะเหตุว่าจริงๆ การบวชในพุทธศาสนา คือการประพฤติตามพระวินัยบัญญัติ เพื่อขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตซึ่งสูงกว่าคฤหัสถ์

    เพราะฉะนั้นจะต้องเข้าใจความต่างกันของเพศบรรพชิตกับเพศคฤหัสถ์ ไม่ใช่ว่าเมื่อทำพิธีอุปสมบทแล้วก็เป็นเพศหนึ่ง โดยไม่เข้าใจว่าจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร จึงจะสมควรแก่การที่จะเป็นเพศบรรพชิต เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าลูกเองอยากจะบวช ก็ต้องถามว่า บวชทำไม ใช่ไหม เพราะว่าเป็นการละโดยรอบทุกอย่าง มีอัธยาศัยอย่างนั้น หรือไม่ ถ้าไม่มีอัธยาศัยถึงอย่างนั้น การบวชเพื่ออะไร ถ้าจะเพื่อศึกษาธรรม ศึกษาธรรมให้เข้าใจตัวเองตามความเป็นจริง มีอกุศลประเภทใด มากน้อยอย่างไร ก็สามารถที่จะเห็นอกุศลเป็นอกุศล แล้วก็ละอกุศลต้องด้วยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา อย่างไรๆ จะบอกว่าละอกุศลก็ละไม่ได้

    เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพียงแต่ว่าใครจะทำอะไร แล้วเราก็อนุญาต โดยที่ว่าไม่ให้เขาเข้าใจในเหตุผล เพราะว่าสิ่งที่เป็นสัจจะเป็นความจริง สมบูรณ์ในเหตุ และผล ไม่ใช่เพียงแต่อยากบวช แล้วก็ไม่รู้ ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย นี่ก็ต้องเป็นสิ่งที่ต้องเป็นผู้ที่ตรง สัจจะ ความจริงใจแม้ในการศึกษาธรรม ไม่ว่าจะเป็นในอะไรทั้งสิ้น ต้องเป็นผู้ที่ตรง คือต้องมีเหตุผล


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 168
    11 ม.ค. 2567