ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
ตอนที่ ๖๐๙
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ นี่คือการศึกษา ที่จะรู้ความจริงว่า ขณะที่เจตสิกเกิด ทำกิจการงาน ต้องทำกิจวิรัติทุจริต ๓ อย่างนั้น แล้วก็ธรรมดามี ๖ ถ้าวิรตีหนึ่งวิรตีใดเกิดขึ้นก็ได้แล้วแต่
เพราะว่าสติปัฏฐานครอบคลุมทุกอย่าง เพราะอะไร เพราะว่าตั้งแต่เกิดจนตาย กี่ภพกี่ชาติ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่รู้ เป็นเราไปทั้งหมด เพราะฉะนั้น ไม่มีการปฏิเสธอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดในสติปัฏฐานเลย ไม่ว่าขณะนั้นมีเหตุปัจจัยที่ให้สภาพของธรรมใดเกิดขึ้นปรากฏ คือจิตชนิดใดหรือรูปชนิดใดก็ตาม สติสามารถที่จะเกิดระลึกเพื่อที่จะรู้ความจริง ซึ่งเป็นเพียงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งเกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างในชีวิตซึ่งไม่เคยรู้ว่าเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม สติปัฏฐานก็เกิดเพื่อระลึกศึกษาเข้าใจให้รู้ขัดในความเป็นสภาพที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ทีละเล็กทีละน้อย จะรู้ทีเดียวไม่ได้ เพราะว่าต้องคิดถึงอุปมาของการจับด้ามมีด
ผู้ฟัง ในอาวัชชนจิตขณะที่รับอารมณ์ทางปัญจทวาร ในขณะที่เป็นอาวัชชนจิต อาวัชชนะนี่จะเลือกส่งไปให้อเหตุกุศลวิบาก หรืออเหตุกอกุศลวิบากได้ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มีเลือก ไม่มีส่ง ไม่มีทำอะไรหมดเลย เพราะเหุตว่าขณะนี้ สภาพธรรมที่ปรากฏ หมายความว่าเกิดแล้ว แล้วจะไปทำอะไรอีก ในเมื่อเกิดแล้วก็ดับ ยอมรับว่าจิตเกิดขึ้นทีละ ๑ ขณะหรือเปล่า ตามเหตุตามปัจจัย เมื่อมีปัจจัยที่เป็นอาวัชชนะ จักขุวิญญาณจะเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ตาเห็นก็ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เมื่อมีปัจจัยที่อาวัชชนจิตจะเกิด จักขุวิญญาณจะเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ก็ยังไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เมื่อมีปัจจัยของสภาพธรรมใด สภาพธรรมนั้นจึงเกิด เมื่ออาวัชชนจิตดับไปแล้ว
ผู้ฟัง มีปัญหาคือ กุศลวิบากกับอกุศลวิบาก ก็เลยผม
ท่านอาจารย์ อะไรก็ตามแต่ ต้องทราบว่า เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แล้วมีปัจจัยมากหลายอย่างที่จะทำให้จิตแต่ละจิตเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง เราจะรู้ได้อย่างไร กุศลวิบากมาก่อน หรือว่า อกุศลวิบากมาก่อน
ท่านอาจารย์ เป็นชื่อหมดเลย ใช่ไหม ขณะนี้เห็นไหม
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นจักขุวิญญาณ
ท่านอาจารย์ เรียกชื่อภาษาไทยได้ไหม เห็น ไม่ใช่ตานะ หลังจากเห็นแล้วเป็นอะไร
ผู้ฟัง เห็นแล้วก็เป็นมโน
ท่านอาจารย์ รู้หรือ จะเห็นได้ว่าการเรียน ความเข้าใจจริงๆ สภาพธรรม กับการรู้จักชื่อ ไกลกันแสนไกล ขณะที่เห็นดับไปแล้ว มีใครรู้เห็นดับก็ไม่มี หลังจากเห็นแล้วเกิดชอบไม่ชอบ จะรู้ไหม เพราะว่าจริงๆ แล้ว สภาพธรรมที่เป็นอกุศล มีตั้งแต่หยาบที่รู้ได้ กับละเอียดที่ไม่รู้ เพราะว่าทรงแสดงไว้ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า เมื่อมีการเห็นแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ต้องเป็นอกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด หรือกุศล แล้วเราก็พิจารณา ตามความเป็นจริง ตามที่ทรงแสดง ผู้ที่ศึกษาธรรมต้องรู้ว่าไม่ได้รู้อะไร กำลังก้าวไปสู่พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงกับบุคคลในครั้งโน้น แล้วก็จารึกสืบต่อมา โดยพระอรหันต์ทั้งหลาย แล้วเราเป็นใคร
เพราะฉะนั้น การศึกษาต้องสอบทานกับตามความเป็นจริงด้วย สำหรับเรามีใครจะไปรู้ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ หรือว่าเพียงเห็น ก็ยังยากที่จะรู้ว่าเห็นแล้วมีความติดข้อง ไม่อย่างนั้นไม่ทรงแสดงไว้เลยว่า ทั้งๆ ที่รูปยังไม่ดับแล้วยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่การสะสมซึ่งเป็นอนุสัยมากที่ยังไม่ได้ดับ ก็ทำให้กามราคานุสัย เป็นปัจจัยให้เกิดโลภมูลจิต คือจิตที่ติดข้องทันทีที่เห็น แล้วทันทีที่เห็น เร็วแค่ไหน ใครจะรู้ ปรากฏว่าขณะนี้เห็นด้วย ได้ยินด้วย เหมือนพร้อมกัน แต่ตามความจริงเมื่อเห็นดับแล้ว ได้ยินจะยังเกิดต่อไม่ได้เลย แล้วในพระสูตรที่ทรงแสดงไว้ ก็ห่าง คือว่า เห็นแล้วชอบหรือชัง ซึ่งเรารู้ไหม ถ้าเรายังไม่รู้ก็หมายความ เราเรียนพระไตรปิฎก โดยการที่ว่าเริ่มจะเข้าใจสภาพธรรม แต่ไม่สามารถประจักษ์ หรือว่ารู้จริงๆ ถ้าไม่ได้อบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ความเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งทรงแสดงไว้ว่า จักขุวิญญาณขณะนี้ดับ เมื่อจักขุวิญญาณดับแล้ว จิตอะไรเกิดต่อ ไม่ต้องมา ไม่ต้องมีใครเตรียม ไม่ต้องมีใครจัด แต่ว่ามีปัจจัยซึ่งเมื่อจิตนี้ดับแล้ว เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเป็นอะไร เกิดขึ้นทำหน้าที่อะไร
การศึกษาธรรมก็เพียงเรียนให้รู้ความเป็นอนัตตา แล้วค่อยๆ อบรมปัญญา เท่าที่สามารถจะเข้าใจลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏก่อน ไม่อย่างนั้นเราพูดตามได้ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา อะไรเป็นธรรม จิต เจตสิก รูป เราก็พูดได้ แต่ว่าประจักษ์ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมที่กำลังเป็นอนัตตาจริงๆ หรือเปล่า
ผู้ที่ศึกษาสามารถจะรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่า ปัญญาของเขาที่ได้ยินคำว่า อนัตตา แล้วก็ยอมรับว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่ตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นความเป็นอนัตตา เพียงแต่ขั้นเข้าใจเท่านั้น เพราะฉะนั้น เป็นผู้ตรงที่ศึกษาธรรมด้วยความละเอียดเป็นผู้ตรงว่า ขณะนี้เป็นปัญญาขั้นฟัง แต่ปัญญาขั้นฟังไม่สามารถจะทำให้ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมได้ ต้องมีปัญญาอีกระดับหนึ่ง
ผู้ฟัง คืออะไร
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐาน ไม่ใช่คิด เพราะขณะนี้ทุกคนกำลังคิด ใช่ไหม พอได้ยินก็คิด แล้วทุกคนก็คิด แต่คิดอย่างนั้น ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ประจักษ์ ลักษณะของสภาพธรรม เพราะว่าสภาพธรรมก็เกิดดับ แล้วความคิดขณะนั้นก็เป็นตัวตนที่คิด ไม่มีการรู้ว่าขณะที่คิดก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง
ผู้ฟัง อนึ่ง มหาบุรุษเป็นผู้ปกปิดความดี เปิดเผยโทษ มักน้อย สันโดษ สงัด อยากเรียนถามว่า ความต่างกันระหว่างมักน้อย กับ สันโดษ แล้วก็ความหมายของคำว่า สงัด
อ. สมพร มักน้อย กับสันโดษ ต่างกันทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ มักน้อย หมายความว่า มีมากก็ยินดีแต่น้อยๆ ท่านเรียกว่ามักน้อย มีความปรารถนาน้อย เรียกว่า มักน้อย ส่วนสันโดษนั้น แปลว่า ยินดีของที่มีอยู่ เรามีมากเราก็ยินดีมาก มีน้อยก็ยินดีน้อย มียินดีเท่าที่มีอยู่ท่านเรียกว่า สันโดษ สัน แปลว่า ตามที่มีอยู่ โดษ แปลว่ายินดี สันโดษยินดีตามที่มีอยู่ ส่วนมักน้อยเป็น อัปปิจฉกถา ปรารถนาน้อย แม้มีมากก็ไม่ปรารถนามาก แต่ปรารถนาน้อย ท่านเรียกว่ามักน้อย ต่างกันอย่างนี้
ผู้ฟัง แล้วความหมายของคำว่า สงัด
อ. นิภัทร คำว่า สงัด ผมเจอในพระไตรปิฎกหลายแห่ง คือ ไม่คลุกคลี ด้วยกิเลส ด้วยหมู่ขณะ
อ. สมพร ก็อย่างเดียวกัน สงัด คือว่า สงัดจากกิเลส เป็นภายใน สงัดจากหมู่คณะ เป็นการสงัดภายนอก
เรื่องศีล รักษายาก ใช่ไหม ในที่นี้ท่านบอกว่าศีลบารมี ลองพิจารณาดู ปกติเหมือนว่าเราจะรักษาศีล ๕ ข้อ รักษาได้ แต่ว่าถ้าเรากำลังหนุ่ม กำลังสาว มันมีอันตรายถึงที่สุด บอกว่า ถ้าไม่ล่วงศีลข้อนี้ เขาจะฆ่าเราทิ้งเสีย อันตรายถึงชีวิตนี้ เราคงรักษาไม่ได้แน่ เว้นแต่พระโสดาบันเป็นต้น พระโสดาบันเป็นต้น ท่านสละชีวิต เพื่อรักษาศีล แต่เรายังไม่ได้ ปุถุชนยังไม่ได้ แต่ว่ามีพระโพธิสัตว์ที่สละได้ แล้วอรรถกถากล่าว ปุถุชนไม่ควรจะกระทำอย่างพระโพธิสัตว์ เพราะว่าเรายังจิตไม่มั่นคงอย่างพระโพธิสัตว์ ท่านมีจิตมั่นคงแล้ว ต้องการอย่างเดียว คือพระโพธิญาณ อย่างอื่นไม่ต้องการ ท่านบอกว่า ภรรยาท่านรักมาก บุตรท่านก็รักมาก แม้ตัวท่านก็รักมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้ ยังไม่เท่าโพธิญาณ นั่นคือพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ สัตว์ผู้ใหญ่อย่างเราก็ไม่ควรทำอย่างนั้น
ผู้ฟัง ผมมีคำถามคือมีพระโพธิสัตว์รูปหนึ่ง ผ่านไปทางปากเหวที่มีเสือพ่อลูกอยู่ในเหว ลูกก็ยังไม่โต เสือหิว เสือจะขึ้นมาจากเหวนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีแรง พระโพธิสัตว์ก็คิดว่า ถ้าหากว่าเสือหิวอยู่นี้ ก็อาจจะกินลูกตัวเอง ก็เลยสละชีวิตลงไปให้เสือกิน เพื่อแม่เสือจะได้ไม่ฆ่าลูกเสือ ตามความคิดผม ผมว่าอันนี้มันเป็นความคิดที่ไม่ค่อยฉลาดเท่าไร เพราะเอาชีวิตของผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์ไป รักษาชีวิตลูกเสือ ขอความคิดเห็นด้วย
ท่านอาจารย์ คุณวิจิตร เมื่อกี้นี้อ่านเรื่องมหาบุรุษ เป็นผู้ปกปิดความดี เปิดเผยโทษ มักน้อยสันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ทนต่อทุกข์ ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ปากร้าย ไม่แส่หาเรื่อง มีอินทรีย์สงบ ฟังอย่างนี้แล้วก็คิดถึงเสือ หรือ
ผู้ฟัง ในฐานะที่เป็นปุถุชน
ท่านอาจารย์ เวลาที่เราพบข้อความที่ว่าเป็นผู้ปกปิดความดี แล้วเราคิดถึงตัวเราหรือเปล่า เปิดเผยโทษ เราคิดถึงตัวเราหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ประโยชน์ สาระจากสิ่งที่เรากำลังอ่าน แต่ถ้าเราอ่านแล้วเราคิดถึงเสือ แล้วเราเป็นอย่างไรก็ยังเหมือนเดิม ในเรื่องของมักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ทนต่อทุกข์ ไม่หวาดสะดุ้ง
เพราะฉะนั้น จริงๆ ถ้าเราศึกษาพระธรรม ทรงแสดงกับบุคคลในครั้งโน้น ๒,๕๐๐ กว่าปี เหมือนแสดงกับเรา ทุกคำมีประโยชน์มาก ถ้าเราจะพิจารณาตนเอง รู้ว่ามีกิเลสขนาดไหน แล้วก็ควรจะเป็นอย่างไร แม้แต่ว่ายังไม่หมดกิเลสก็จริง แต่สิ่งที่ควรจะค่อยๆ คลาย ค่อยๆ ละ ก็ควรจะเป็นอย่างนี้ จะได้ประโยชน์ไหมที่เราเรียนมาทั้งหมด แล้วเรากำลังเรียนสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ มีหนทางใดที่จะทำให้เราพิจารณาเข้าใจรู้ความจริง แม้แต่ขั้นการฟัง เช่น เรื่องปรมัตถธรรม เรื่องจิต เรื่องศีล เรื่องทานพวกนี้ กำลังเป็นเรื่องที่ทรงแสดงเพื่อเราจะเข้าใจขึ้น แล้วก็จะได้ประพฤติปฏิบัติตาม แต่ถ้าเราฟังเรื่องนี้แล้วเราคิดถึงเรื่องอื่น
เรื่องของการฟัง แล้วการศึกษาพระธรรม อย่างที่เรากล่าวถึงว่าทำอย่างไร เป็นประโยชน์ ศึกษาอย่างไรเป็นประโยชน์ ถ้าศึกษาเรื่องนี้ ก็เหมือนกับทรงแสดงเรื่องนี้กับเรา ถ้าทุกคนจะคิดว่า เหมือนกำลังเฝ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่กำลังทรงแสดงพระธรรม พอแสดงจบแล้วเราไม่สนใจสิ่งที่ได้ฟังเลย เราคิดถึงเรื่องอื่น คือผ่านไปๆ แล้วเราได้อะไรจากตรงนี้ กับการที่สิ่งที่มีอยู่ขณะนี้ เราจะพิจารณาไตร่ตรองว่า ยากหรือง่ายสำหรับเรา ควรจะคิด ควรจะเข้าใจ ควรจะประพฤติปฏิบัติ ตามหรือเปล่า หรือทรงแสดงแล้วเราก็ฟัง แล้วก็จบ
ผู้ฟัง ว่าเป็นความเข้าใจจริงๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แต่ละคน พิจารณาได้เลย พิจารณาตัวเอง ไม่ต้องไปคิดถึงคนอื่น เป็นผู้ปกปิดความดีหรือเปล่า หรือว่าพอดีก็ประกาศ ทำความดีที่นั่นตรงนั้นตรงนี้ เมื่อนั่นเมื่อนี่ แล้วก็ลองพิจารณาดู คนที่ประกาศความดี ถ้าลึกลงไปเพื่ออะไร ธรรมมีเหตุผลมากทุกอย่าง ถ้าเราจะเพียงฟังเฉยๆ แล้วก็คิดถึงคนโน้นคนนี้เป็นเรื่องเป็นราว แต่ไม่ได้คิดถึงตัวธรรม แต่ถ้าคิดถึงตัวธรรม แม้แต่ใจที่คิด จนถึงกับเปล่งวาจา ที่เปิดเผยความดีของตน แล้วก็ปกปิดความไม่ดี นี่แสดงว่าเรามีกิเลสมากมาย แต่ไม่เคยพิจารณา ไม่เคยรู้ ไม่เคยแม้แต่ที่จะขัดเกลา ผ่านพยัญชนะใดก็ผ่านไป แต่ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียด เราก็จะได้รู้ว่าตัวเราจริงๆ ทรงเตือนให้รู้แล้วว่า แต่ละคนมีการสะสมอย่างไร แล้วก็ควรจะขัดเกลาอย่างไร ใครบ้างที่เคยอวดความดีของตัวเอง
ผู้ฟัง มีมากมาย
ท่านอาจารย์ แล้วต่อไปนี้ คือที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป เรายังไม่ได้ฟังบ่อยๆ แต่ถ้าฟังแล้วฟังบ่อยๆ แล้วไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ไม่ใช่ไปคิดว่าคนนั้นอวดความดี แต่เรา คือเรื่องของคนอื่น ก็เป็นแต่เพียงเรื่องของความคิดของเรา ขณะที่คิดถึงคนอื่นเมื่อไร ให้ทราบว่าโลกจริงๆ ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ไม่มีอะไรเลย นอกจากจิตเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ขณะใดที่จิตเกิดขึ้น คิดถึงคนอื่น เป็นเพียงความคิด คนอื่นก็เหมือนกับสภาพธรรม ที่เป็นจิต เจตสิก รูป ไม่ว่าเราหรือเขาก็เป็นสภาพธรรม ที่มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ
เพราะฉะนั้น คนจริงๆ ที่เที่ยง ไม่มี แต่เวลาเราไปคิดถึงคน เขาดีหรือไม่ดี เขาปกปิด หรือเขาเปิดเผย เหมือนคนนั้นเที่ยง แต่ความจริงไม่เที่ยงเลย แล้วที่ไม่เที่ยงก็คือความคิดของเรา ขณะนั้นมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้น คิดเรื่องนี้ แล้วทำไมเดี๋ยวเราก็คิดเรื่องอื่น แล้วเดี๋ยวๆ เราก็คิดเรื่องนี้อีก เพราะฉะนั้น แม้แต่ความคิดก็บังคับบัญชาไม่ได้เลย แล้วแต่ว่ามีปัจจัยเกิดขึ้นให้คิดอะไร ขณะนั้นก็คิดอย่างนั้น แต่ในความรู้สึกของคนคิด โดยที่ยังไม่รู้แจ้งสภาพธรรม มีคนจริงๆ กำลังคิดถึงคนอื่น เหมือนมีคนอื่นจริงๆ แล้วก็มีตัวเองจริงๆ ที่กำลังคิด แต่ถ้าตามสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น นอกจากจิตเกิดขึ้น อย่างเช่นในขณะนี้ ไม่มีอะไรเลย นี่คือสิ่งที่เราจะต้องฟัง จนกว่าเราจะเข้าใจ จนกว่าเราจะค่อยๆ เข้าไปใกล้สภาพธรรมด้วยสติแต่ละขั้น ขณะนี้เป็นสติขั้นฟัง แล้วขณะที่ฟังก็กำลังเป็นการพิจารณา เป็นสติขั้นพิจารณา จนกว่าสติที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น ก็แสดงว่า มีสติหลายระดับ แต่ถ้าเราจะรู้ตามความเป็นจริงก็คือว่า ขณะใดที่ไม่มีการระลึกลักษณะของสภาพธรรมเพื่อที่จะศึกษาค่อยๆ เข้าใจลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเท่านั้นเพิ่มขึ้น ถ้าไม่เป็นในขณะนั้น ก็มีความเป็นตัวตนคือเป็นเรา ไม่ว่าจะคิดเป็นกุศล เป็นอกุศล อย่างไรก็คือเรา ถ้าคิดถึงคนอื่น จะคิดถึงว่าเขาเป็นกุศล อกุศลอย่างไรก็คือความคิด เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจแม้แต่ขั้นการฟัง แล้วฟังอีก ฟังบ่อยๆ ว่า ขณะนี้ไม่มีอะไร นอกจากจิตเกิดขึ้น จึงมีสิ่งต่างๆ ปรากฏ เช่น ทางตาในขณะนี้ ถ้าจิตไม่เกิดไม่เห็น สิ่งต่างๆ ขณะนี้ก็ปรากฏไม่ได้ นี่คือโลกหนึ่ง คือโลกเห็น เมื่อเห็นแล้ว ถ้าจิตไม่เกิดสืบต่อ แล้วก็คิดเป็นสัตว์ เป็นบุคคล สัตว์บุคคลทั้งหลาย ในความคิดก็ไม่มี ไม่มีเลย
เพราะฉะนั้น จริงแท้ที่สุดก็คือไม่มีอะไรเลย นอกจากมีนามธรรมซึ่งเป็นจิต เจตสิกเกิดขึ้น แล้วก็แล้วแต่ว่าจะเป็นจิตเห็น ขณะเห็นไม่คิด ขณะได้ยินไม่คิด ขณะได้กลิ่นไม่คิด ขณะลิ้มรส รสปรากฏไม่คิด ขณะกระทบสัมผัสกายที่เย็นร้อน อ่อนแข็งกำลังปรากฏไม่คิด แต่หลังจากนั้นคิดหมด พอเห็นแล้วคิดเลย เป็นดอกกุหลาบ เป็นโต๊ะ เป็นอะไรทั้งหมด ยาวไกลมาก ตามความเป็นจริงซึ่งการเกิดขึ้นและดับไปของจิตแต่ละขณะไม่ได้ปรากฏกับบุคคลนั้น แม้ว่าฟังเข้าใจว่าจิตเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นปัญญาหลายระดับ ซึ่งจะเห็นตัวเองตามความเป็นจริงไม่ว่าจะพิจารณาสภาพธรรมตามที่ทรงแสดง จะน้อย จะมาก จะสั้น จะตื้น หรือว่าจะธรรมดา แต่ที่จริงแล้วเป็นปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่า ไม่ใช่เพียงเท่านี้ เพราะแม้แต่ขณะที่กำลังอวดตัวเอง หรือว่าเปิดเผยความดีของตัวเอง ขณะนั้นถ้าไม่มีสัตว์บุคคลเลยทั้งสิ้น เป็นจิตประเภทไหน
ผู้ฟัง โลภะ
ท่านอาจารย์ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต
ผู้ฟัง อกุศล
ท่านอาจารย์ ของใคร
ผู้ฟัง ของเราเอง
ท่านอาจารย์ นึกว่าเป็นของเรา นึกว่าเป็นของเรา แต่ความจริงก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง นี่เป็นความละเอียดที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น
เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจธรรม ไม่ว่าเราจะอ่านพระสูตร หรือจะอ่านพระวินัย หรือจะอ่านข้อความใดๆ เราก็รู้ความเป็นธรรม ในขณะนั้น แล้วก็รู้ว่าธรรมนั้นที่เกิดกับเรา สืบต่อขณะนี้มากจากขณะก่อน จากขณะก่อนถอยๆ ๆ ไปแสนโกฏิกัปป์ คือเป็นปัจจัยที่จะให้เป็นสภาพจิตที่คิด ด้วยกุศล หรือด้วยอกุศล ในขณะนี้
เพราะฉะนั้น พระธรรมทรงแสดงเพื่อเป็น อนุสาสนี พร่ำสอน ให้เกิดปัญญาให้เข้าใจตามขั้นของการอบรม จนกว่าจะถึงการประจักษ์แจ้งสภาพธรรม ทั้งๆ ที่การประจักษ์แจ้งสภาพธรรม เป็นปัญญาที่ควรจะอบรมสูงสุด แต่ก็ไม่ได้ละเลย เรื่องของสภาพธรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็น เรื่องทาน เรื่องศีล ก็ได้แสดงไว้ แต่ว่าขึ้นอยู่กับระดับความเข้าใจของคนฟังว่า เมื่อฟังแล้ว ความเข้าใจเป็นไปในระดับไหน ระดับยังเป็นตัวตน ยังเป็นเรา หรือว่าส่องไปถึง ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งสะสมมานานแสนนาน นี่ก็เป็นประโยชน์ที่ว่า อย่าเพิ่งผ่านไป แต่ว่าให้พิจารณาตนเองให้ละเอียดขึ้น เช่น เป็นผู้ปกปิดความดี มหาบุรุษ แล้วเราค่อยๆ สะสมได้ไหม ความดีเป็นความดีแน่นอน ใครจะรู้หรือไม่รู้ ความดีก็ไม่ได้เปลี่ยนเป็นความไม่ดี แต่ว่าความดีที่มี เป็นปัจจัยให้เกิดความสำคัญตนได้ไหม ถ้าคิดไม่ถูก
ถ้ายังเป็นเราก็มีความสำคัญตนว่าเราดี แต่ถ้ารู้ว่าเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ความดีก็ไม่ใช่เรา ก็จะมีการละ มีการคลาย ไม่ติดแม้แต่ความดี ซึ่งขณะใดที่มีการละคลายก็หมายความว่า ปัญญาของเราเริ่มเข้าใจธรรม โดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ทรงแสดงโดยละเอียด แม้แต่โดยพยัญชนะที่คล้ายคลึงกัน เปิดเผยโทษ ไม่ใช่เพียงแต่ปกปิดความดีเท่านั้น กล้าที่จะเปิดเผยโทษ ที่เป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะว่าความรักตัวทำให้คนไม่สามารถที่จะเปิดเผยโทษได้ แต่ถ้ามีความรู้ว่าไม่ใช่เราจริงๆ ขณะที่เปิดเผย เป็นจิตที่ตรงแล้วก็จริงใจ สิ่งที่ไม่ดีก็คือไม่ดี เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็มีความกล้าหาญที่จะเปิดเผยโทษ มักน้อย แล้วก็ยังสันโดษ แล้วก็ยังสงัด แล้วก็ไม่คลุกคลี ทนต่อทุกข์ ทุกคำมีประโยชน์ ถ้าค่อยๆ พิจารณา จะผ่านไปไหม ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ปากร้าย สารพัดอย่างที่เป็นกันทั้งนั้นเลย ใช่ไหม หรือใครไม่เป็น ไม่แส่หาเรื่อง มีอินทรีย์สงบ ใจสงบ ปราศจากมิจฉาชีพ มีการหลอกลวงเป็นต้น ค่อยๆ ไป ค่อยๆ อบรม ค่อยๆ เข้าใจ เพราะเหตุว่าพอฟังเรื่องพระเวชสันดรบ้าง หรือเสือบ้าง แล้วอย่างไร ฟังแล้วคิดว่า จะเป็นไปได้ไหม หรือว่าคิดไปเรื่องอื่น หรือว่าเห็นพระมหากรุณา แล้วรู้ว่าใครจะทำได้ถึงอย่างนั้น
ถ้าไม่ใช่เป็นมหาบุรุษ แล้วเราไม่ต้องถึงความเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นแต่เพียงสาวก กระทำตามคำสอนเท่าที่จะกระทำได้ เพราะรู้ว่าถึงจะบอกว่าเป็นอย่างไร จะให้เราเป็นกุศลทั้งวัน เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ามีปัจจัยที่จะให้อกุศลจะเกิด ก็ต้องเกิด แต่รู้ตามความเป็นจริงได้ พร้อมกันนั้นก็เป็นผู้ที่ตรงต่อธรรม ผู้ที่จะเป็นพระโสดาบันบุคคล เป็นพระอริยบุคคล เป็นผู้ตรงต่อธรรม แต่ถ้าขณะใดไม่ตรง หมายความว่าถูกครอบงำด้วยอกุศลประเภทนั้นๆ เช่น โลภะ หรือโทสะ ทำให้ไม่เห็นสภาพนั้นตามความเป็นจริงว่าเป็นอกุศลธรรม ที่จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ทั้งๆ ที่ไม่มีใครสามารถที่จะดับโทสะหรือโลภะได้ ถ้าไม่เป็นพระอนาคามีบุคคล แต่ก็ยังสามารถที่จะอบรมบารมีเพื่อที่ให้ถึงการสามารถที่จะตรงต่อสภาพธรรม แล้วก็ค่อยๆ คลายอกุศลได้
ผู้ฟัง ขณะที่เปิดเผยความดี ก็ปกปิดโทษ ซึ่งเป็นอกุศลธรรมขณะนั้น เราจะมี ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้าไปจำกัดความดีที่เป็นบารมี
ท่านอาจารย์ คนละขณะ เพราะฉะนั้น ถ้าศึกษาเรื่องบารมีแล้ว จะทราบว่ามีโลภะเป็นปฏิปักษ์ทุกบารมี เพราะเหตุว่าเรื่องของตัวตน ทำให้เกิดมีความติดข้อง แต่เรื่องของการที่จะละคลาย ก็คือรู้ความไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ถ้าสามารถที่จะมีความดีเพิ่มขึ้น การติดข้องในตัวตนก็น้อยลง จนกว่าสามารถที่จะดับได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660