ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๖๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้ว ทรงแสดงแยกสิ่งต่างๆ ที่มีโดยสภาพธรรมนั้นๆ เช่น การที่เคย ยึดถือกาย มีใครบ้างที่ไม่เคยยึดถือกาย แต่ไม่เคยระลึก เพราะฉะนั้น ถ้าระลึกก็คือระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมที่เคยยึดถือนั่นเอง จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ทุกอย่างเป็นเพียงสติอาศัยระลึก เพื่อที่จะมีความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ปัญหาทั้งหมดก็จะจบไปได้ ใช่ไหม ถ้าเข้าใจอย่างนี้ แล้วยังจะต้องมีการ ไปคิดอย่างโน้น ไปคิดอย่างนี้ ในเมื่อสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ มี แล้วก็สติอาศัยระลึก

    เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะ ไม่ใช่สติขั้นฟัง ขณะนี้ที่กำลังฟัง เป็นสติแน่นอน เพราะว่าเป็นกุศลจิต ขณะที่เข้าใจก็ไม่ใช่เรา แต่ก็เป็นปัญญาเจตสิก คือเราเรียนเรื่องจิต และ เจตสิก เพื่อให้ทราบว่า ทั้งหมดชีวิตของเราที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นจิตใจของเรา เป็นรูปร่างของเรา เป็นธรรมอะไร เป็นปรมัตถธรรมอะไร

    เพราะฉะนั้น เวลาที่เรามีความเข้าใจถูกต้อง เราก็สามารถที่จะเข้าใจความหมายของ ตัวสภาพธรรม แต่ไม่ใช่เพียงชื่อ เพราะว่าถ้าใช้คำว่า สติ คนที่ไม่ได้ศึกษาก็อาจจะบอกว่าเดินข้ามถนนก็ต้องมีสติ ถ้าไม่มีสติ ก็ต้องหกล้ม หรือถือของเดินไปก็ต้องมีสติ นี่คือเขาไม่เข้าใจลักษณะของสติเจตสิกซึ่งแสดงไว้ โดยการตรัสรู้ว่า หมายความถึงสภาพธรรม ซึ่งต่างกับที่คนอื่นจะใช้ภาษาอะไรก็ได้ ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจผิด

    เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องของการที่เราจะเข้าใจสภาพธรรม แล้วก็รู้ว่าไม่มีภาษาไหน นอกจากภาษาบาลีที่จะตรงกับ ความหมายของสภาพธรรมได้ เพราะว่าขณะนี้ที่กำลังฟัง เป็นสติขั้นฟัง ขณะที่ให้ทานก็เป็นสติที่ระลึก เกิดขึ้นเป็นไปในทาน เพราะวันหนึ่งๆ เราไม่ได้คิดถึงเรื่องทานเท่าไร ใช่ไหม เราอาจจะคิดเรื่องอื่นเท่านั้นเลย นอกจากเรื่องทาน หรือว่าเวลาที่วิรัติทุจริต ขณะนั้นก็เป็นสติขั้นหนึ่ง ขณะที่จิตใจสงบจากอกุศล แม้ว่าขณะนั้นจะไม่รู้ว่า เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ก็เป็นสติขั้นหนึ่ง แต่สติปัฏฐาน ซึ่งเป็นสติสัมปชัญญะ ต้องอีกระดับ ๑ ซึ่งจะใช้คำอะไรก็ไม่มีในภาษาอื่น นอกจากที่จะต้องอธิบายเท่านั้นเอง ก็เป็นเรื่องของภาษา ถ้าเราติดในภาษา เราก็จะไม่เข้าถึงสภาพธรรม แต่ถ้าเราเข้าใจสภาพธรรม เราก็รู้ว่าไม่รู้จะใช้คำอะไร เพราะไม่มีคำอื่น

    ผู้ฟัง ในอกุศลวิตก ๓ มี ๑.กามวิตก ๒.พยาปาทวิตก ๓.วิหิงสาวิตก เรียนถามท่านอาจารย์ว่า วิตก ทั้ง ๓ นี้ มีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วก็ในชีวิตประจำวัน สังเกตได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ กามวิตกผ่านมาแล้วตั้งเท่าไร ที่พูดถึงแต่ว่าไม่รู้ชื่อ ใช่ไหม แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าขณะนั้นเป็นกามวิตก วันนี้ ทุกคนก็มีเห็น มีได้ยิน มีได้กลิ่น มีลิ้มรส มีรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วจะให้คิดเรื่องอะไร นอกจากนี้ ก็ต้องเป็นเรื่องราวของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ลองสำรวจความคิดของเราก็ได้ ว่าความคิดของเราจะไม่พ้นจากสิ่งที่เราเห็น เห็นแล้วหมดแล้วก็เก็บมาคิดต่างๆ นานา แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะคิดด้วยความติดข้องต้องการ เป็นกามวิตก หรือว่าจะคิดด้วยความขุ่นเคืองใจ เป็นพยาปาทวิตก หรือว่าจะคิดด้วยการจะเบียดเบียนบุคคลอื่น ก็เป็น สิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน แต่ว่าอาจจะไม่รู้จักชื่อ แล้วก็ไม่รู้ตัว เช่นขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เป็นกามวิตกหรือเปล่า หรือเป็นพยาปาทวิตก อย่างหนึ่งอย่างใด ใน ๒ ถ้าชอบอย่างหนึ่ง ซึ่งต่างกับฌาน หรือว่ามีวิหิงสาวิตก คิดจะเบียดเบียนใครทางไหนหรือเปล่า นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องตรง เพราะว่าเป็นสภาพธรรม ซึ่ง ไม่ใช่ของใคร มีเหตุปัจจัยกก็เกิด แต่ว่าพระธรรมที่ทรงแสดง แสดงให้เห็นความจริงของสภาพธรรม ที่ควรละ คือปหานสัญญา ไม่ใช่ว่าปล่อยไป มีก็มีไป เพิ่มก็เพิ่มไป อย่างนั้นก็คงจะไม่เป็นประโยชน์ ในการที่จะได้เข้าใจพระธรรม

    ผู้ฟัง การที่ท่านให้ตัวอย่างวิตก คือตรึกขึ้นมาเป็น ๑ ในอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ต้องแสดงให้เห็นว่า อกุศลวิตก มันคล้ายๆ กับว่า เป็นอันแรก มันเป็นสิ่งซึ่งเกิดง่าย จะเราจะตรึกไปในอกุศลจิต ทั้งพยาปาท และวิหิงสา กามวิตก อันนี้ด้วยความสำคัญของวิตกหรือเปล่า ท่านจึงได้ยกตัวอย่างอันนี้เป็น ๑ ในอกุศลธรรมทั้งหลาย

    ท่านอาจารย์ ทรงแสดงธรรมที่มีแล้ว ให้เราเข้าใจให้ถูกต้อง ตั้งแต่เช้ามาจนถึงขณะนี้ วิตกอะไร

    ผู้ฟัง สำหรับวิตกเจตสิกนี่ เรียนถามว่ามันเป็นคล้ายๆ กับว่า มันเป็นสิ่งซึ่งอกุศลจิต ซึ่งเกิดง่ายเหลือเกินในชีวิตประจำวัน ท่านจึงยกอันนี้ขึ้นมา ใช่หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เป็นปกติแล้วไม่รู้ ก็ให้รู้ ว่าควรมีปหานสัญญา

    ผู้ฟัง ถ้าเราได้ละสิ่งต่างๆ ที่ท่านได้เขียนว่า ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น มันยาก

    ท่านอาจารย์ พระพุทธศาสนา ยากหรือง่าย

    ผู้ฟัง ถ้าเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ด้วย

    ท่านอาจารย์ ให้รู้ว่าขณะนี้อาพาธ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง อาพาธทางใจมากเลย ก็มันปหานไม่ไหว

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่ปัญญา ปหานไม่ได้เลย แต่พระธรรมที่ทรงแสดง ไม่ใช่ให้ใคร ไปเร่งรัดให้เกิดปัญญา เพราะเหตุว่าปัญญาก็เป็นสภาพธรรม ที่มีความเห็นถูก ก็ลองคิดดู ว่าเราสะสมอวิชชามามากแค่ไหน แล้วความเห็นถูกของเรา จะเห็นถูกต้อง ว่าขณะนั้นเป็นอวิชชา เพียงแค่เห็นว่าเราตั้งแต่เช้า มาถึงเดี๋ยวนี้ อวิชชา เรามากแค่ไหน ให้เห็นตามความเป็นจริงแค่นี้ก็ยาก แล้วการที่จะเห็นจนกระทั่งละ อวิชชา ตามลำดับขั้น ก็ต้องยากด้วย

    ผู้ฟัง แต่เราปหานไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ต้องเป็นปัญญา ที่อบรมด้วย

    ผู้ฟัง ควรจะพิจารณาจากอย่างไรดี ว่าสถานะขณะนี้มันไม่น่าอยู่ ไม่น่าสัมผัสหรือไม่น่าอะไร เพราะมันเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรๆ ก็ต้องอยู่

    ท่านอาจารย์ ก็นี่เป็นควาามต่างของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาเลย แล้วเราอึดอัดอะไร เราระอาอะไร เราอึดอัดอะไร เราเกลียดชังอะไร ถ้าไม่มีปัญญา นี่เป็นเรื่องของผู้ที่มีปัญญา ถึงระดับที่จะเห็นสังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง เกิดดับ สิ่งที่เกิดดับ เป็นที่พอใจหรือเปล่า งามหรือเปล่า ลองคิดดู ขณะนี้ เราเห็นอะไร แต่ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อกระทบแล้วก็ดับ กว่าจะมีวาระของการเห็นแล้ว เห็นอีก จากความจำ ที่ทำให้มีความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏในรูปร่างสันฐานว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ทำให้เกิดความพอใจว่าสิ่งนั่นนะ เที่ยง แล้วกว่าเราจะมีปัญญาที่ถึงระดับ ที่สามารถที่จะเข้าไปถึง ความไม่เที่ยงจริงๆ ของสภาพธรรม ที่เราเคยยึดถือ แล้วก็เคยเป็นที่พอใจ ก็ต้องเป็นปัญญาที่อบรม ด้วยความเห็นถูก ด้วยความเข้าใจถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม จนกว่าจะมีปัญญาระดับต่างๆ เหล่านี้ ถึงจะเห็นความที่น่ารังเกียจ หรือว่าน่าอึดอัด น่าเบื่อ มิฉะนั้นแล้วก็เราเบื่ออะไร เราเบื่อโต๊ะ เราเบื่อเก้าอี้ เบื่อคนนั้น เราเบื่อคนนี้ แต่เราไม่ได้เบื่อสังขาร คือสภาพธรรมที่เกิดปรากฏแล้วดับไป

    เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญา ให้ทราบว่าปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริง ของสภาพธรรมขณะ หนึ่งขณะใด สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดที่ปรากฏ เมื่อถึงกาลของความสมบูรณ์ของปัญญา ที่จะรู้แจ้งได้ ในครัวกำลังทำอาหาร ก็มีสภาพธรรม แต่ว่ากว่าจะอบรมเจริญปัญญา ถึงกาลที่สามารถจะประจักษ์ แล้วถ้าจะประจักษ์ก็คือว่า ต้องมีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นถูกต้อง ตามลำดับขั้นของปัญญา ไม่ใช่เราไปคิดเอาเอง เราเบื่อ ต้องรับประทานอาหารทุกวัน ตื่นมาก็ต้องรับประทานอีกแล้ว ประเดี๋ยวกลับไปบ้านก็ต้องรับประทานอีกแล้ว นอกอีกแล้ว ตื่นอีกแล้ว รับประทานอีกแล้วก็เป็นเรื่องเราคิด เรายังไมได้เบื่อในสังขารด้วยปัญญา แต่ด้วยความเป็นเรา

    เพราะฉะนั้น ก็ต้องเปรียบเทียบถึงความจริงของการอบรมเจริญปัญญา จริงๆ ไม่ต้องกลัว ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด ที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ ถ้าไม่รู้ อวิชชา เป็นความไม่งามอย่างยิ่ง ตั้งแต่เช้ามาจนถึงขณะนี้ แล้วเราจะมีปัญญาที่ถึงระดับที่สามารถ ที่จะเข้าใจความไม่งาม ของสภาพธรรม ที่เพียงเกิดปรากฏ แล้วก็ดับไป นี่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรมเจริญปัญญา จริงๆ แล้วก็จะรู้ว่า สภาพธรรม ที่มีจริงในขณะนี้ จริงชั่วขณะที่ปรากฏ ชั่วขณะนั้นขณะเดียว แล้วก็หมด แม้ว่าสภาพธรรม ขณะนี้ปรากฏเหมือนไม่ดับเลย ก็เพราะเหตุว่า มีการเกิดดับสืบต่อ สนิทเลย จนกระทั่งไม่เห็นว่าดับ เพราะฉะนั้น ก็ทำให้มีความคิด ความเข้าใจว่าเที่ยง จนกว่าจะประจักษ์ความไม่เที่ยงเมื่อไร เมื่อนั้นจึงจะเห็นความไม่เที่ยง ความไม่งาม แล้วก็ความน่ารังเกียจ

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่ายังเห็นว่าไม่เที่ยง ก็ยังไม่เบื่อ

    ท่านอาจารย์ เบื่ออะไรก็ไม่ทราบแต่ไม่ใช่เบื่อสังขาร เบื่อเรื่องราว

    ผู้ฟัง เมื่อสักครู่นี้อาจารย์กล่าวถึงเรื่องของปัจจุบัน ก็พูดถึงเรื่องการเข้าถึงอยู่ การเข้าถึงตรงนี้ เป็นปัญญาระดับไหน ปัญญาขั้นระดับการฟัง หรือว่าปัญญาขั้นระดับประจักษ์แจ้ง

    ท่านอาจารย์ ถ้าอุบายคำเดียวคือเข้าถึง ทิฏฐิเข้าถึง หรือปัญญาเข้าถึง อวิชชาเข้าถึง กิเลสเข้าถึง หรือว่าปัญญาเข้าถึง เดี๋ยวนี้เองที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ อะไรเข้าถึง

    ผู้ฟัง ขณะที่เข้าถึง หมายความว่า ปัญญานั่นแหละเข้าใจสภาพธรรมขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ ต้องตรง ขณะนี้ที่สภาพธรรม กำลังปรากฏ นี่อะไรเข้าถึงอารมณ์นั้น

    ผู้ฟัง คือขณะที่เข้าถึงก็คือ สหชาตธรรมของจิต นั่นแหละ ที่เข้าถึง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ปกติอะไรเข้าถึง

    ผู้ฟัง หมายความถึงชาติของจิตที่เข้าถึงก็คือ อกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ มีสภาพธรรมปรากฏ ปัญญาเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้น หรืออวิชชา และทิฏฐิ และกิเลส เข้าถึง เพราะว่าคำว่าเข้าถึง แล้วแต่อะไรจะเข้าถึง ใช่ไหม อุ-บา-ยะ หรืออุบาย แล้วแต่อะไร ถ้าอุบายที่ต้องละ หรือละอุบาย อันนั้นละอุบายชนิดไหน อุ-บา-ย หรืออุบาย เข้าถึงด้วยปัญญา ไม่ต้องละ ก็ขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วก็จิตต้องรู้สิ่งนั้น แน่นอน สิ่งนั้นจึงได้ปรากฏได้ แล้วอะไรเล่า ที่กำลังเข้าถึง

    ผู้ฟัง สติปัญญาเกิดขึ้นรู้

    ท่านอาจารย์ ถ้าขณะ เป็นกุศลจิต มีปัญญาก็คือปัญญา แต่ว่าจริงๆ แล้วธรรมดาปกติทุกวันๆ อะไรเข้าถึง

    ผู้ฟัง ก็คือไม่ใช่อกุศลจิตแน่

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องเป็นสิ่งที่จะต้องละ ใช่ไหม ละ อุบาย และ อุปาทานในโลก

    ผู้ฟัง ฟังดูมีคำว่าเข้าถึงปัจจุบันธรรมตรงนี้ จะหมายถึงสติปัฏฐานระลึก สภาพธรรมหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ฟังธรรม ไม่ใช่เราฟังเรื่อง แต่เราต้องรู้ว่าคำนั้นหมายถึง ขณะไหน ตอนไหน

    ผู้ฟัง อาจาร์ชอบใช้คำว่า ความหน่ายในสังขาร เพราะว่าไม่เห็น ถึงอนิจจลักษณะ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างขณะนี้ทุกคนกำลังฟัง ข้อความนี้เรื่องนี้ พูดถึงความไม่เที่ยง จำคำนี้ได้แล้วใช่ไหม แต่ว่าลักษณะที่ไม่เที่ยง จำบ้างหรือยัง เพราะว่าลักษณะที่ไม่เที่ยงก็มี ปรากฏ แต่ว่าการที่เรา คิดถึงความไม่เที่ยง เพียงด้วยการที่ไม่ได้รู้ลักษณะเกิดดับของสภาพธรรม ก็เป็นแต่เพียงสัญญาความจำ อีกขั้นหนึ่งอีกระดับ หนึ่ง

    วันนี้ที่บ้านหรือที่ไหนก็ตาม หรือว่าเวลาสนทนากัน มีใครพูดเรื่องความไม่เที่ยงบ้างหรือเปล่า เมื่อกี้รับประทานอาหารกันหลายคน แล้วก่อนที่จะรับประทาน เราก็มีเรื่องความไม่เที่ยง แต่ว่ามีใครสนทนากันเรื่องความไม่เที่ยงบ้างหรือเปล่า ไม่มี ใช่ไหม แปลว่าห่างกันมาก จากการที่เราได้ฟัง คำว่าไม่เที่ยง จนกว่าจะถึงเวลาที่เริ่มคิดถึงความไม่เที่ยง เพียงแต่เริ่มจะคิดถึง แต่ยังไม่ใช่ประจักษ์ แต่จากการฟังบ่อยๆ เช่น ฟังแล้วไม่ได้สนทนากัน เรื่องไม่เที่ยง ทีนี้เราก็ฟังเรื่องไม่เที่ยงอีกหลายๆ วัน แล้วต่อไปที่เรารับประทานอาหารด้วยกัน สนทนากัน จะมีใครพูดถึงเรื่องความไม่เที่ยงหรือเปล่า ก็ยังไม่มีอีก ก็เป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น ความจำสัญญาเรื่องความไม่เที่ยงของเรา แม้เพียงคำ เราจำได้แค่ไหน สภาพธรรม ก็ไม่เที่ยงตั้งหลายอย่าง ตลอดเวลาที่พูดถึง เมื่อกี้นี้หลายๆ เรื่องก็เป็นเรื่องที่ไม่เที่ยงทั้งนั้น จากความสงบ ไปสู่สงคราม จากความไม่มีโรค ไปสู่ความมีโรค ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องของความไม่เที่ยงทั้งนั้น แต่เราก็ไม่ได้พูดถึง เราก็คิดเป็นเรื่องเป็นราวตลอดเวลา

    เราก็จะมีเรื่องราว ทั้งๆ ที่ไม่เที่ยง ก็ไม่ได้นึกถึงความไม่เที่ยงเลย เพราะฉะนั้น กว่าเราจะฟังกี่ครั้ง ที่เราเริ่มที่จะคิดถึงความไม่เที่ยง ขั้นคิด แล้วก็ฟังอีกจนกระทั่งเข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรมขณะนี้ ซึ่งแม้ ว่าขณะนี้ไม่ได้ประจักษ์การเกิดดับ แต่แท้จริง เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ กว่าจะจำจนกระทั่งเราสามารถที่จะเข้าใจได้จริงๆ เป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง

    แต่อย่าลืม ว่าไม่ใช่เรา แต่ต้องเป็นสติสัมปชัญญะเกิด แล้วระลึก เพราะฉะนั้น จะเป็นปกติธรรมดาไหม ลองคิดดู เหมือนเห็น เหมือนได้ยิน แต่แทนที่จะเห็น หรือได้ยิน ก็มีการระลึก ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งขณะนี้กำลังปรากฏ ทางตา แล้วก็เสียงก็ปรากฏทางหู แข็งก็ปรากฏทางกาย คิดนึกก็มีในขณะนี้

    เพราะฉะนั้น กว่าที่สติสัมปชัญญะจะเกิด แล้วก็ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา จนกระทั่งสามารถที่จะ ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมเป็นวิปัสสนาญาณ ที่เป็นตรุณวิปัสสนา ก็ยังไม่ถึงกับ ปัญญาที่คมกล้าขึ้น ที่สามารถที่จะมี การที่ระอา หรือว่าละคลาย ความยินดี ในสภาพธรรมที่ปรากฏ

    เพราะฉะนั้น ให้คิดว่าการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมจริงๆ ปกติทั้งวัน แล้วเมื่อไร ขณะไหน ที่สมบูรณ์ ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ต้องเลือกไม่ได้เลย ใช่ไหม เพราะเหุตว่าใครจะไปบังคับให้สภาพธรรมไหนเกิด ก็ไม่ได้ ขณะนี้ เกิดแล้วดับแล้ว เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าสติสัมปชัญญะ จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมใด แล้วปัญญาค่อยๆ เพิ่ม แล้วกว่าจะเพิ่ม ก็เป็นเรื่องซึ่งไม่ใช่ตัวตน ที่ต้องการ แต่เป็นเรื่องของปัญญาที่อบรม เพื่อละ ความต้องการ

    ผู้ฟัง สภาพของอนิจจลักษณะ หรือไตรลักษณ์ นี้ก็เป็น สามัญลักษณะ เป็นสามัญลักษณะอย่างไร แล้วเราจะ โยนิโสอย่างไร สติสัมปชัญญะ เข้าถึงลักษณะจริงๆ ของไตรลักษณ์

    ท่านอาจารย์ สิ่งนั้นยังไม่เกิด ใช่ไหม จะโยนิโสก็ยังไม่เกิด เวลานี้มีสภาพธรรม ซึ่งกำลังได้ยินได้ฟัง แล้วก็พิจารณาจนกระทั่ง เป็นความเข้าใจ ในขณะที่เข้าใจ ไม่มีเรา ที่ไปทำโยนิโส แต่เพราะเหตุว่าฟัง แล้วก็มีปัจจัยทำให้ขณะนั้นโยนิโสมนสิการเกิดจึงเข้าใจ เพราะฉะนั้น เราจะไปคิดถึงข้างหน้า จะโยนิโสอย่างไร ไม่ได้เลย ต้องในขณะนี้เอง ที่กำลังได้ฟัง ถ้าขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้น คือโยนิโสมนสิการ

    ผู้ฟัง ไตรลักษณ์ก็เป็นบัญญัติ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไตรลักษณ์ ถ้าไม่มีสภาพธรรม จะมีลักษณะเกิดดับไหม

    ผู้ฟัง มันก็มี ของมัน

    ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง อยู่ที่สติระลึกได้

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นไตรลักษณ์

    ผู้ฟัง ทุกข์

    ท่านอาจารย์ อะไรเป็นทุกข์

    ผู้ฟัง การเกิดเป็นทุกข์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องมีสภาพธรรมที่เกิด แล้วก็มีสภาพธรรมที่ดับ เพราะฉะนั้น ก็เป็นไตรลักษณ์ของสังขารธรรม

    ผู้ฟัง การเกิดการดับสติสัมปชัญญะ ต้องระลึกไปถึง สามัญลักษณะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ถ้าพูดทุกคนไม่มีใคร ปฏิเสธเลย ใช่ไหม ว่าเห็นกำลังดับ คิดนึกดับ ได้ยินดับ ถ้าจริง เข้าใจจริงๆ มั่นคง ถ้ามั่นคงแล้วก็ไม่สงสัยเลย ในเรื่องราวของสภาพธรรม ที่รู้ว่าจะต้องอบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะประจักษ์ได้ ขณะใดที่สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมแล้วดับ อะไรเกิดต่อ คำตอบง่ายมาก คือสภาพธรรมใหม่เกิดต่อ แล้วอะไร ที่เป็นสภาพธรรมใหม่ที่เกิดต่อ

    ผู้ฟัง สังขารปรุงแต่งเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ปกติถ้าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐาน จนกระทั่งมีกำลัง อะไรจะเกิดต่อ

    ผู้ฟัง กุศลกับอกุศล

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการสะสมของการที่จะให้สติสัมปชัญญะ สามารถที่จะเกิดสืบต่อ อะไรจะเกิดต่อ อยากให้สติเกิดต่อไหม อยากรู้ไหม แล้วรู้ไหม ว่าแค่นั้น ต้องละ โลภะ ตรงนั้นเห็นไหม ถ้ายังไม่เห็นแล้วจะมาพูดถึง พวกนี้ได้ไหม ละอุบาย อุปาทานทั้งหลาย ไม่มีทางเลย เพราะเหตุว่า แม้ขณะนั้นโลภะที่เกิดต่อ ก็ยังไม่รู้ ว่านั่นจะต้องละด้วย

    เพราะฉะนั้น เป็นความละเอียดแค่ไหน ที่สามารถที่จะเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ตรงตามความเป็นจริงตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้น เวลานี้ เราพูดถึงท่านที่ได้อบรมเจริญปัญญา ถึงระดับนี้ แต่ว่าสำหรับการอบรมเจริญปัญญา ก็ต้องตั้งต้น ตามลำดับ คือตั้งแต่ต้น

    ผู้ฟัง นี้ไล่มาถึงทุกข์ อนิจจลักษณะ แล้วก็อนัตตลักษณะ

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ไม่เที่ยง ใครบังคับได้ ไม่ให้เกิดได้ไหม ไม่ให้ดับได้ไหม ก็เป็นอนัตตา เป็นธาตุ หรือเป็นธรรม ถ้าใช้คำว่าธาตุหรือธรรมนั่นคือความหมาย ของอนัตตา ถ้าใช้คำว่านามธรรม รูปธรรม ประจักษ์ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ประจักษ์ก็คือว่าลักษณะของธาตุ หรือธรรมนั้นปรากฏ เมื่อลักษณะของธาตุหรือธรรมนั้นปรากฏ ก็คือลักษณะที่เป็นอนัตตาปรากฏ เพราะว่าธรรมกับอนัตตากับธาตุ ความหมายเดียวกัน

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณมาก

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเราไม่ได้ศึกษา ก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนี้ ก็เข้าใจผิดๆ ไป

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทั้งหมดที่เคยเป็นเรา เวลาศึกษาแล้วเราก็เข้าใจ ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง

    ผู้ฟัง ความจำที่มีในสัญญา มีโอกาสที่เจริญ บ้างไหม เป็นต้นว่าผ่านไป ๓ วัน ๗ วัน ๑๐ วัน ๑๐ ปี ก็ลืมไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ เวลานี้จำอะไร

    ผู้ฟัง ก็ยังไม่ได้จำอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เวลานี้จำอะไร เห็นไหม ต้องจำ อย่างไรก็ต้องจำ ต้องจำทุกขณะจิต

    ผู้ฟัง แต่ว่ามันเท่ากับว่า เวลาผ่านไปนานๆ มันก็ลืมได้

    ท่านอาจารย์ ผ่านไปแล้วขณะนี้ สัญญาจำอะไร

    ผู้ฟัง จำปัจจุบัน

    ท่านอาจารย์ แล้วเดี๋ยวนี้ ก็จำไปเรื่อยๆ ทุกขณะจิต

    ผู้ฟัง อย่างสมมติ วันนี้คุยกัน พรุ่งนี้อาจจะลืมแล้วก็ได้ พรุ่งนี้ก็ลืม

    ท่านอาจารย์ แล้วขณะที่ลืม จำอะไร

    ผู้ฟัง จำของใหม่

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องจำ อย่างไรก็ต้องจำ

    ผู้ฟัง สิ่งที่ลืมเคยจำไว้ ตั้งแต่วันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน มันก็ลืม ใช้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้จำอะไร

    ผู้ฟัง ก็จำปัจจุบัน

    ท่านอาจารย์ ทุกขณะ สัญญาต้องเกิดจำทุกขณะ จำเมื่อไร ไม่ว่าเรื่องอดีต หรือว่าคิดไปถึงอนาคต หรืออะไรก็ตาม สัญญา ก็มีลักษณะจำ สิ่งที่จิตกำลังรู้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567