ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ผู้ฟัง เมื่อก่อนเราก็ไม่รู้ว่า ถ้าเกิดแข็งตอนที่ระลึกปัจจุบัน กับระลึกเมื่อก่อน มันจะต่างกันอย่างไร แต่ว่าถ้าเกิดฟัง พระธรรมแล้ว จะทราบว่า แข็งเป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน มันก็แค่นี้เอง อาจารย์ มันจะมีระดับความลึกมากกว่า การที่เป็นแข็งว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนมากกว่านี้ ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าแค่นี้เอง เป็นเราที่ว่าแค่นี้เอง หรือเปล่า เป็นเราหรือเปล่า ที่กำลังบอกว่าแค่นี้เอง แค่แข็ง ขณะที่กำลังระลึกแข็ง แล้วบอก ก็แค่นี้เอง คำว่า ก็แค่นี้เอง เป็นเราหรือเปล่า ที่บอกว่าแค่นี้เอง หรือไม่ใช่เราแล้ว หมดแล้ว ความเป็นเราไม่มีแล้ว หมดแล้ว รู้ลักษณะของนาม และรูปทั่วหมดแล้ว ประจักษ์แจ้งแล้ว หรือว่าขณะที่คิดว่า แค่นี้เอง ก็คือเรา คิดว่าแค่นี้เอง ไม่ใช่ปัญญาที่สามารถจะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมโดยละเอียด โดยถี่ถ้วน เพราะว่าเพียงแข็งนิดเดียวก็แค่นี้เอง ใครที่บอกว่า ก็แค่นี้เอง เราหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เรา

    ท่านอาจารย์ เรา แล้วจะเอาเราออกได้อย่างไร จะหมดเราได้อย่างไร

    ผู้ฟัง แต่อาจจะไม่รู้ตัวว่าเป็นเรา

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ตัวก็คือไม่รู้ ปัญญาไม่ใช่ไม่รู้ตัว ปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วก็แข็ง แข็งเป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือเปล่า การอบรมเจริญสติปัฏฐาน รู้อะไร รู้ขันธ์หรือเปล่า รู้อายตนะหรือเปล่า แข็งเป็นโผฏฐัพพายตนะหรือเปล่า รู้หรือเปล่าว่าเป็นอายตนะ ก็แค่นี้เอง หมดแล้ว จะรู้อะไร นอกจากความไม่รู้ กับ ความเป็นเรา ที่ไม่เข้าใจเลย ว่าปัญญาต้องเจริญ ต้องมีความรู้ความเข้าใจ แล้วมีความต่างของระดับที่คิด กับ ระดับที่กำลังค่อยๆ เข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ถ้าเป็นสิ่งที่เข้าใจโดยง่าย พระอรหันต์เต็มบ้านเต็มเมือง

    ผู้ฟัง เพราะคิดว่าการระลึกที่แข็ง มันแค่นี้เอง จึงต้องทำให้เกิดขวนขวายหาวิธีการใหม่

    ท่านอาจารย์ ก็นั่นสิ เพราะไม่เข้าใจความเป็นโผฏฐัพพายตนะ ความเป็นธรรม ความเป็นขันธ์ ความเป็นธาตุ ไม่เข้าใจอะไรเลย เพราะว่ามี เรา ซึ่งบอกว่า ก็เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะเอาเราออกได้อย่างไร แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้าฟังอะไร อย่าเพิ่งจะจบสิ้นง่ายๆ ถ้ามีคนที่บอกว่า ก็แข็งเท่านั้นเอง หมายความว่าคนนั้น ไม่เห็นว่า แข็ง จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น ใช่ไหม เพราะว่า บอกว่า ก็แข็งเท่านั้นเอง ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น ก็จะไม่รู้ลักษณะของสี ของเสียง ของกลิ่น ของรสด้วย เพราะว่าก็สีเท่านั้นเอง ก็เสียงเท่านั้นเอง ก็กลิ่นเท่านั้นเอง ก็รสเท่านั้นเอง ก็แข็งเท่านั้นเอง ก็ต้องเหมือนกันทั้งหมด แล้วเขาจะรู้อะไร

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเขาเรียนพุทธพจน์ แล้วตรึก ความรู้นั้น เขาจะมีมากกว่า

    ท่านอาจารย์ ความรู้ลึก คืออะไร

    ผู้ฟัง รู้ละเอียด ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านอาจารย์ ละเอียดคืออะไร คือคิด หรือว่ารู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วยสติสัมปชัญญะ

    ผู้ฟัง คิด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าคิดไม่สามารถที่จะรู้สภาวะธรรมได้ ลักษณะของสภาพธรรมไม่สามารถจะประจักษ์ ด้วยการคิด แล้วใครคิด

    ผู้ฟัง ก็คนที่คิด

    ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อไรจะเอา ความเป็นเราออก

    ผู้ฟัง ถ้าเรารู้มากขึ้น

    ท่านอาจารย์ รู้อะไร ก็เป็นเรารู้ เพราะฉะนั้น ไม่เข้าใจลักษณะของสติสัมปชัญญะ ไม่เข้าใจวิปัสสนาญาณ ว่าต้องเป็นการอบรมจริงๆ เป็นปัญญาที่เห็น ไม่ใช่เขาอีกต่อไป แต่เป็นธาตุ เป็นอายตนะ เป็นขันธ์ ฟังเหมือนเบื่อใช่ไหม ก็แค่นี้เอง เบื่อหรือเปล่า ไม่เห็นมีอะไรเลย ก็แค่นี้เอง แต่ไม่ใช่ปัญญา

    เพราะฉะนั้น ความเป็นเราเบื่อ เพราะว่าไม่รู้จริงๆ เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมแต่ละอย่าง แต่เป็นเรา เสียแล้ว ที่เบื่อ การหน่าย ต้องด้วยปัญญา แต่การเบื่อด้วยความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น ก็ต้องสามารถที่จะรู้ความต่างกัน ถ้าขณะใดที่เบื่อ คนนั้นก็รู้เอง ไม่ได้รู้อะไรเลยสักอย่างเดียว แต่ก็ แค่นั้นเอง เพราะฉะนั้น จะรู้อะไร ถ้าเพียงอ่อนแข็ง เป็นแค่นั้น สีเป็นแค่นั้น เสียงเป็นแค่นั้น เห็นแป็นแค่นั้น ทุกอย่างเป็นแค่นั้น แล้วจะรู้อะไร ทุกอย่างเป็นแค่นั้นหมด แล้วจะรู้อะไร การฟังต้องละเอียด แล้วต้องคิดด้วย ต้องประกอบกับการศึกษา แม้แต่เรื่องของอายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นสิ่งที่ควรรู้หรือ ไม่ควรรู้ แล้วอ่อนหรือแข็ง เป็นอายตนะหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น แล้วที่เราร่ำรียน ไม่วาจะเป็นปัจจัยก็ดี หรือว่าจะะเป็นปฏิจจสมุปบาท หรือ ปฏิสัมภิทามรรค อะไรก็ดี มันลึกซึ้งมากกว่าที่

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสภาพธรรม อะไรลึกซึ้ง

    ผู้ฟัง ก็ไม่มีอะไร

    ท่านอาจารย์ แต่ขณะนี้มีสภาพธรรม อะไรลึกซึ้ง

    ผู้ฟัง ก็คือสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมลึกซึ้ง ไม่ใช่เรื่องลึกซึ้ง เรื่องมาจากการรู้แจ้งของความลึกซึ้งของธรรม เพราะฉะนั้น ต้องเป็นความรู้ที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นการที่ไปจำแล้วก็ว่าลึกซึ้ง โดยที่ว่าลักษณะจริงๆ ลึกซึ้งจริงๆ เพราะเป็นทั้งขันธ์ เป็นทั้งธาตุ เป็นอายตนะ ก็ไม่รู็

    ผู้ฟัง แต่ว่าการคิดก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า ยิ่งคิดจะยิ่งแตกฉาน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ระดับไหน ขณะที่คิดเป็นสติปัฏฐาน หรือเปล่า เป็นหรือเปล่า แล้วหนทางที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ต้องเป็นสติสัมปชัญญะ และสติปัฏฐานหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ต้องเป็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่สามารถ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่ามีหนทางเดียว

    ผู้ฟัง ดิฉันจะกราบเรียนถามลักษณะของที่กล่าวว่า วิตก คือ การตรึก เวลาที่ตรึก ท่านอาจารย์ ถ้าจะตรึกระลึกถึงคำซึ่งเป็นบัญญัติก็ได้ใช่ไหม ทีนี้ถ้าสมมติสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ ลักษณะของวิตก ก็จะต้องเป็นลักษณะ หนึ่ง แต่ถ้ารู้ลักษณะของบัญญัติ มันก็จะเป็น สภาพรู้ ตรงนี้ ใช่ไหม ที่มันต่างกัน

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ เป็นสภาพธรรมทั้งหมด ซึ่งมีลักษณะที่ต่างกัน ๒ อย่าง คือ นามธรรมกับรูปธรรม ต้องไปคิดถึงคำหรือเปล่า ขณะนี้มีผัสสเจตสิกไหม เวลาเรียนมี แล้วก็จะรู้ลักษณะของผัสสะ หรือว่า จะรู้ลักษณะของชีวิตินทริย หรือจะรู้ลักษณะของมนสิการ เพราะเหตุว่ายัง ไม่รู้ในความเป็นนามธรรมกับรูปธรรมเลย ต่อเมื่อใด ที่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เมื่อนั้นสติสัมปชัญญะก็สามารถ ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นได้

    ผู้ฟัง ดิฉันรู้สึกสับสนเกี่ยวกับที่ว่า ขณะที่ตรึก ตรึกเหมือนกับว่ามันมีบัญญัติ เป็นอารมณ์อยู่ มันจะคู่กันไปอย่างนี้หรือเปล่า ถ้าพูดถึงคำว่า ตรึกเฉยๆ ขึ้นมา

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังเห็น มีไหม ขณะนี้ พูดถึงว่า ขณะนี้ มีเห็นไหม

    ผู้ฟัง มีเห็น

    ท่านอาจารย์ ใช่ ใครรู้ว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วย กี่ดวง

    ผู้ฟัง พระพุทธเจ้า ทราบ

    ท่านอาจารย์ ใครรู้ เดี๋ยวนี้ ที่กำลังเห็น ว่ามีเจตสิกเกิดร่วมด้วยกี่ดวง จำได้

    ผู้ฟัง จำได้ จากการเรียน

    ท่านอาจารย์ บอกได้ ทุกคนตอบได้ ๗ ตอบได้ทุกคน แต่สติสัมปชัญญะ คืออะไร ไม่ใช่ไปจำว่า วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก ปิติเจตสิก หรือว่าจักขุวิญญาณ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวง นั่นไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หนทาง ที่จะสามารถรู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนได้ เพราะแม้ขณะที่คิดก็ไม่ได้รู้เลย ขณะนั้นสภาพคิดไม่ใช่เห็น ถ้าจะรู้ก็ต่อเมื่อสติสัมปชัญญะเกิด แล้วก็ค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ละอย่างเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ขณะที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ จะเป็นลักษณะของอะไรที่ คิดถึงบัญญัติ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต อะไรรู้บัญญัติ โต๊ะรู้บัญญัติได้ไหม

    ผู้ฟัง ทีนี้ขณะที่มีจิต ก็สามารถ จะมีวิตกเกิดร่วมด้วยอยู่แล้ว ใช่ไหม ขณะคิด

    ท่านอาจารย์ ใช่ แล้วจะมีสติสัมปชัญญะ รู้ลักษณะของวิตก หรือเพียงแต่จำ

    ผู้ฟัง สืบเนื่องจาก เรื่องที่พูดกัน ที่ว่า เวลาเราตาเห็นรูปก็บอกว่า ยังไม่ใช่ธรรม

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรม ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีอะไรไม่ใช่ธรรม

    ผู้ฟัง เขาว่าอะไร เพียงแต่เห็น

    ท่านอาจารย์ เห็นก็เป็นธรรม นี่

    ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์บอกว่าต้องมีสติสัมปชัญญะ มันถึงจะอะไร

    ท่านอาจารย์ รู้ลักษณะ

    ผู้ฟัง รู้ลักษณะ เพราะฉะนั้น คำว่า สติสัมปชัญญะ มันเป็นตัวตัด หรือตัวเชื่อมในวงจร

    ท่านอาจารย์ อย่าไปคิดถึง ตัวตัดหรือตัวเชื่อมเลย ขณะนี้มี อวิชชา ความไม่รู้ หรือเปล่า ยังไม่ต้องไปต่อ ไปตัด ไปเชื่อมเลย เพียงแค่รู้ว่าขณะนี้ที่กำลังเห็น รู้ลักษณะของเห็นหรือเปล่า หรือว่ายังคงเป็นเราเห็น

    ผู้ฟัง ผมมีความสงสัย มันมีคำอยู่ ๒ คำ คำว่า กรรมกับจิต วิญญาณ ไม่ทราบว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน หรือมันต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ คำพูดใดๆ ก็ตามซึ่งไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ก็ ไม่น่าที่จะสนใจ คิดเท่าไรก็ไม่เข้าใจ แต่ว่าถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจ สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ได้หรือเปล่า กำลังมีกำลังเผชิญหน้าอยู่เดี๋ยวนี้ เราสามารถจะเข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏหรือเปล่า เช่น ถ้ากล่าวว่าทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม ค่อยๆ ฟัง ขณะนี้ อะไรมีจริง ยังไม่รู้เลย แล้วไปคิดถึงกรรม ไปคิดถึงวิบาก แต่สิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้ เข้าใจหรือยังว่า คืออะไร ทั้งๆ ที่กำลังมีในขณะนี้เอง ต้องเข้าใจว่าสภาพธรรม มี ๒ อย่าง สภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย จริงไหม อย่างแข็ง เสียง สามารถที่จะเห็น สามารถที่จะสุข จะทุกข์หรือเปล่า ลักษณะที่แข็ง แต่ลักษณะนั้นมีจริงๆ ในภาษาบาลี พระผู้มีพระภาค ใช้คำว่า รูปธรรม แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ใช้คำนี้ หรือจะเปลี่ยนเป็นคำอื่น แต่ก็ไม่มีใครสามารถจะเปลี่ยนลักษณะของรูปธรรมได้ สิ่งที่ไม่รู้ก็ยังคงเป็นสภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ แต่ไม่ใช่มี แต่สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร ยังมีสภาพรู้ เรายังไม่พูดถึงวิบาก ไม่พูดถึงกรรม ตัวเชื่อมอะไรทั้งหมด

    สภาพรู้เดี๋ยวนี้ มีไหม ที่ต่างกับรูป สภาพรู้ก็คือสามารถเห็น สามารถได้ยิน เพราะว่ารู้ไม่มีลักษณะ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีเย็นร้อน อ่อนแข็งอะไรเลย เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ เลย แต่ธาตุชนิดนี้ก็เกิดขึ้นรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ทางตา กำลังเห็น มีใช่ไหม ไม่ใช่ตัวตาเห็น ตัวตาเห็นไม่ได้ สิ่งที่ปรากฏก็ไม่เห็นอะไร แต่ขณะนี้ เห็นมี เพราะฉะนั้น ก็เริ่มที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็ยากที่เข้าใจ เพราะว่าไม่มีรูปร่างเลย แต่รู้ว่าสิ่งนั้นมีเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ รู้ว่ามีจริงๆ ก่อน สิ่งนี้มีจริงๆ

    ผู้ฟัง สิ่งที่มีจริง มันเป็นด้วยเจตนาหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องไปถึงเจตนาอะไรเลย เพียงแค่พิจาณาว่าจริงไหม สิ่งนี้มีจริงเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้จริงไหม

    ผู้ฟัง ก็มีจริง

    ท่านอาจารย์ เห็นมีจริง ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม นี่เราเริ่มจะเข้าใจแล้ว เพราะเหตุว่ ธรรมไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา จะเห็นได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุปัจจัย คือต้องมีจักขุปสาท แล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ประชุมรวมกันอยู่ตรงนั้น แล้วก็มีจิตเห็นเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงได้ปรากฏทางตา นี่คือ ธรรม คือต้องเริ่มเข้าใจ คำว่า ธรรม ก่อนหมายความถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงๆ แล้วก็ค่อยๆ รู้ลักษณะของธรรมที่ต่างกัน เป็นนามธรรม กับเป็นรูปธรรม แล้วต่อไปนามธรรมจะละเอียดขึ้นอีก ทุกคำที่พูดมาทั้งหมด มีอยู่ในพระไตรปิฎกที่ทรงแสดงไว้ แต่ต้องเป็นไปตามลำดับด้วย

    ผู้ฟัง มันก็เป็นเรื่องยาก ที่เราศึกษา เรื่องจิต ที่เรามองไม่เห็น อะไรเลย

    ท่านอาจารย์ แต่มีไหม

    ผู้ฟัง ตรงนี้ยาก

    ท่านอาจารย์ แต่ข้อสำคัญคือมี ถ้าพูดถึงเรื่องสิ่งที่ไม่มี จะให้เราไปรู้ได้อย่างไร แต่สิ่งที่มีแล้วไม่รู้ ค่อยๆ ฟังจนกว่าจะรู้ขึ้น

    ผู้ฟัง แล้วก็ซับซ้อน ขึ้นไปอีกคือ รูป มีอยู่ แต่ถ้าจิต ไม่เกิดขึ้นรู้ รูปก็รู้ไม่ได้อีก

    ท่านอาจารย์ รูปก็ปรากฏไม่ได้เลย ก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร ไฟจะไหม้ ฝนจะตก น้ำจะะท่วมก็ไม่เดือดร้อน ถ้าไม่มีสภาพรู้ ไม่เห็นไม่ได้ยิน ก็ไม่เดือดร้อนอะไร

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าจะนึก คิดแต่เพียงอย่างเดียว อันนั้นเป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นอย่างนี้ เพราะว่าที่อาจารย์ กล่าวว่า มันเป็นไปไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ แต่ไม่สามารถจะรู้สภาพธรรมโดยการคิด คิดไปแต่กำลังเห็น แล้วจะรู้ลักษณะของเห็นไหม ในเมื่อกำลังคิดเรื่องอื่น ทั้งๆ ที่กำลังเห็น

    ผู้ฟัง ผมว่า มันน่าจะเนื่องมาจาก สุตมยปัญญา คือ สืบเนื่องมาจากการฟัง เข้าใจก่อน ถึงจะมีสิทธิที่จะพัฒนา จินตามยปัญญาได้ แล้วก็จาก จินตามยปัญญา สามารถที่จะพัฒนาไปสู่ ภาวนามยปัญญาได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ปัญญา ต้องตามลำดับ

    ผู้ฟัง เรื่องของคิด โดยอรรถของกิจอันหนึ่งก็คือว่า ย่อมคิด อันนี้ก็คือ ย่อมรู้ในอารมณ์ เพราะฉะนั้น ขณะที่คิด เป็นขณะที่รู้คำ ใช่ไหม เพราะว่ามีคำเป็นอารมณ์

    ท่านอาจารย์ ถึงอย่างไร จิตก็มีลักษณะรู้แจ้ง อารมณ์ที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ขณะที่คิด อย่างน้อยก็คือเป็น มโนทวาร ทางวิถีจิตทางมโนทวาร ก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็จิตก็มีธรรมทุกอย่างเป็นอารมณ์ได้ แม้แต่บัญญัติ ก็เป็นอารมณ์ของจิต ทางมโนทวารด้วย เพราะฉะนั้น ขณะที่เรารู้คำ หรือว่าเรื่องราวของธรรม ในขณะนั้นก็ไม่มีสภาพธรรม ปรากฏให้เรารู้ ได้ ถ้าเราไม่รู้ลักษณะของสภาพคิด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ วันหนึ่งๆ เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น แต่ไม่รู้ว่าเป็นจิตเลย แต่พอคิด รู้ ใช่ไหมว่าเป็นจิต ที่คิด เพราะฉะนั้น ก็ทรงแสดงโดย สถานะที่จะทำให้สามารถเข้าใจได้ โดยที่ยังไม่ได้กล่าวถึงเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย แต่ว่าลักษณะของจิตก็คือเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ แต่ก็ต้องมีเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วย แล้วไม่ว่าเจตสิกนั้นจะทำหน้าที่อะไร ก็กล่าวถึงจิต อย่างเจตนา บางทีก็กล่าวถึงจิต

    ผู้ฟัง วิตกเจตสิก ก็เป็นเจตสิกที่จรด หรือตรึกในอารมณ์ แล้วถ้าหากว่าเป็นขณะที่คิด ที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ขณะนั้นวิตก ก็จรดหรือตรึก ถึงเรื่องราวที่เป็นบัญญัติ แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน หรือว่าเป็นสัมมาสติ ขณะนั้นต้องจรดในลักษณะสภาพธรรม ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เพราะขณะนี้ มี ลักษณะสภาพธรรม แล้วก็เป็นสภาพธรรมด้วย แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ทางที่จะรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ ตรงตามลักษณะของสภาพธรรมนั้น ด้วยสติสัมปชัญญะ ที่รู้ว่าลักษณะแต่ละอย่าง เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็เป็นสภาพธรรมที่เกิด ซึ่งใครก็เปลี่ยนลักษณะนั้นไม่ได้ แล้วก็บังคับบัญชาไม่ได้

    ผู้ฟัง ทีนี้ปัญญาขั้นสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ถ้าเราฟัง เราก็รู้เรื่องราวของธรรม ขณะนั้นจะมีลักษณะสภาพธรรมปรากฏ หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังคิด ไม่ใช่กำลังเห็น นี่ต้องแจกออกไป แต่ละทวาร ถึงจะละเอียดได้ เพราะว่าจิตเกิดขึ้นจริงๆ แล้วทีละหนึ่งขณะ แล้วก็มีทีละหนึ่งอารมณ์ เช่น ในขณะนี้ที่กำลังเห็น ต้องจากเห็นไม่ปรากฏ แล้วจึงเกิดเห็น แล้วก็หมด ขณะที่จะได้ยิน ขณะนั้นก็ต้องไม่มีอะไร เสียงยังไม่ปรากฏก่อน แล้วก็มีเสียงปรากฏ ขณะนั้นก็เป็นขณะที่จิตมีเสียงเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ขณะที่คิด คือธรรมต้องฟัง แล้วก็ต้องพิจารณา ไตร่ตรอง แล้วก็ตรงตามความเป็นจริงด้วย ขณะนี้ มีเวทนาไหม

    ผู้ฟัง มีก็ต่อเมื่อปรากฏ มีก็ต่อเมื่อรู้

    ท่านอาจารย์ มี แน่นอน แต่ไม่รู้ เพราะว่าเกิดแล้วดับแล้วอย่างเร็วมาก ขณะที่มีเวทนา ต้องไปนึกไหมว่าอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารป็นปัจจัยแก่วิญญาณ วิญญาณป็นปัจจัยแก่นามรูป นามรูปป็นปัจจัยแก่อายตนะ อายตนะเป็นปัจจัยแก่ผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ต้องไปคิดอย่างนั้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้ารู้เวทนาขณะนี้ก็ ไม่จำเป็นต้องไปตรึกถึงเรื่องราว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้เลยว่าการคิด แม้แต่ที่ว่าปฏิจจสมุปบาทลึกซึ้ง ลึกซึ้งไม่ใช่จากคิด แต่จากสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ที่มี แล้วสามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นก่อน แล้วธรรมประการอื่นจะแจ่มแจ้งแม้แต่ความหมายของอายตนะ แม้แต่ความหมายของขันธ์ แม้แต่ความหมายของธาตุ หรือปฏิจจสมุปบาท หรือปัจจัยต่างๆ แต่ถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้เลย คิดยาวสักเท่าไร ขณะนี้เวทนามี ก็ไม่รู้ ในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงเอ่ยชื่อได้

    ผู้ฟัง เพราะว่าขณะนี้อย่างไรๆ ก็ไม่ลึกซึ้ง ก็เลยหาวิธีทางอื่น ที่จะให้รู้ว่ามันลึกซึ้งมากยิ่งกว่านี้

    ท่านอาจารย์ อย่างไร ถ้าไม่มีสภาพธรรมปรากฏ จากการตรัสรู้ จะไม่มีอะไรปรากฏว่าลึกซึ้งเลย แต่เพราะสภาพธรรม ต่างหากที่ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ก็แสดงความลึกซึ้งของสภาพธรรมโดยประการต่างๆ เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ความลึกซึ้งได้ก็มีหนทางเดียว คือรู้ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง อาจารย์จะกล่าวว่าปริยัติลึกซึ้ง พุทธพจน์ลึกซึ้งมากอยู่แล้ว

    ท่านอาจารย์ เมื่อไร

    ผู้ฟัง แต่ว่าสภาพธรรม ขณะนี้จะลึกซึ้งมากกว่าปริยัติ กว่าปฏิจจสมุปบาท

    ท่านอาจารย์ ลึกซึ้งเมื่อไร ปริยัติ นี่ลึกซึ้งเมื่อไร

    ผู้ฟัง เมื่อรู้จักสภาพธรรม เดี๋ยวนี้ว่ามันลึกซึ้ง

    ท่านอาจารย์ เมื่อกล่าวถึง ความลึกซึ้งของสภาพธรรม จากผู้ที่ตรัสรู้ ผู้ที่ไม่รู้จะกล่าวว่าลึกซึ้งได้ไหม เดี๋ยวนี้ อะไรลึกซึ้งบ้างเดี๋ยวนี้ เห็นลึกซึ้ง ไหม เป็นอายตนะ เป็นขันธ์ เป็นธาตุ อย่างไรจะกล่าวได้ไหม ถ้าไม่รู้ แต่ผู้ที่รู้ สามารถที่จะกล่าวความลึกซึ้งโดยนัยประการต่างๆ เพราะฉะนั้น ผู้ฟังที่อบรมเจริญปัญญา จะสามารถรู้ความลึกซึ้งตามกำลังของตนเอง แต่ละบุคคล จะไม่เท่ากัน ไม่ใช่ว่าพระไตรปิฎก กล่าวลึกซึ้งอย่างนี้แล้วเรารู้หมด เท่า ข้อความในพระไตรปิฎก เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

    ผู้ฟัง อย่างนั้นแสดงว่า อย่างแรกเลย ต้องลึกซึ้งขณะนี้ก่อน ขณะที่ปรากฏขณะนี้ ถ้าขณะนี้ ลึกซึ้งแล้วในพระไตรปิฎก ในปริยัติที่ลึกซึ้งนั้น ก็จะพิสูจน์ เป็นตัวพิสูจน์อีกที่ว่าขณะนี้ลึกซึ้ง

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ขณะนี้สภาพธรรม เกิดดับหรือเปล่า เห็นไหม ก็ยังไม่รู้แล้วก็ไปนั่ง คิด คิดอย่างไรก็ไม่ประจักษ์การเกิดดับ

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ ประโยชน์ ๒ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน๑ ประโยชน์ในสัมปรายภพ๑ เรียนถามว่าประโยชน์ในปัจจุบัน อันนี้เป็นผล ใช่ไหม เป็นผล คือเป็นกุศลวิบาก ซึ่งใครได้ประโยชน์

    ท่านอาจารย์ ชาตินี้ ปัจจุบัน คือชาตินี้ ประโยชน์จากการเป็นผู้ที่ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย หมายความว่าประโยชน์ในปัจจุบันนี้คือ ชาตินี้ สิ่งใดๆ ก็ตามที่คุณสุรีย์ทำ สิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ในชาตินี้ แล้วไม่ใช่เป็นประโยชน์ แต่เฉพาะในชาตินี้ เป็นประโยชน์ในชาติหน้าด้วย

    ผู้ฟัง แต่มันก็เป็นผลจากชาติที่แล้ว

    ท่านอาจารย์ กุศลให้ผลในปัจจุบันชาติก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผลในชาติหน้าเท่านั้น ที่เราทำกุศลทั้งหมด เราไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย ว่าขณะนี้เป็นผลของกรรมที่ได้เพิ่ง กระทำในชาตินี้ หรือว่าในชาติไหน เพราะฉะนั้น ประโยชน์ของกุศล ก็ทั้งในชาตินี้ที่ทำ และในชาติหน้าต่อไปด้วย

    ผู้ฟัง แต่อันนี้ถ้าเราเข้าหาพระอภิธรรม มันก็คือ กุศลวิบากนั่นเอง

    ท่านอาจารย์ กุศลวิบากในชาตินี้ก็เกิดได้ ผลของชวนะดวงที่ ๑

    ผู้ฟัง อันนี้ก็ชัดเจน คือ เป็นทั้งผลของกุศลธรรมที่กระทำในชาติที่แล้ว และชาตินี้ ในชวนะดวงที่ ๑ ทีนี้ประโยชน์ในสัมปรายภพ อันนี้แน่นอนที่สุด

    ท่านอาจารย์ ผลของกุศลอย่างไร ต้องมี แล้วก็ต้องเป็นผลที่ดีด้วย เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่ดี ก็ต้องเป็นผลของเหตุที่ดี คือกุศล ถ้าทำกุศลในชาตินี้ แล้วบางคนก็อาจจะคอย เมื่อไรจะได้ผลของกุศล แต่จะรู้ไหมว่า กำลังได้รับผลของกุศล จะเป็นผลของการกระทำที่ได้กระทำในชาตินี้ก็ได้ ใครจะรู้ เพราะเหตุว่าเราไม่สามารถที่จะรู้ ว่ากรรมใดจะให้ผล เมื่อไร แต่ก็ได้ทรงแสดงไว้ว่า กรรมที่ทำแล้ว ให้ผลในปัจจุบันชาติก็ได้ ให้ผลในชาติหน้าก็ได้ ให้ผลในชาติต่อๆ ไปก็ได้

    เมื่อไม่เป็นผู้ที่รู้กรรม และการให้ผลของกรรม ว่าขณะนี้เป็นผลของกรรมไหน แสนโกฏิกัปป์มาแล้วหรือว่า เพิ่งได้กระทำไปแล้วก็ตาม เราก็ไม่สามารถที่จะรู้อย่างนั้น แต่ก็ทราบเพียงว่า กรรมที่ได้กระทำให้ผลในปัจจุบัน และให้ผลในชาติหน้า ในชาติต่อๆ ไปด้วย แต่ข้อสำคัญ กรรมอะไร ใช่ไหมที่เป็นกุศล ข้อความต่อไปมีว่า ที่พระผู้มีพระภาคตรัส ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ในสัมปรายภพ ๑ อันนี้ไม่เป็นที่สงสัยแล้ว ใช่ไหม ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไฉนไหนคือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เราเว้นกุศลธรรมอะไรบ้างหรือเปล่า เราประมาทในกุศลธรรมอะไรบ้างหรือเปล่า เพราะว่าบางคนอาจจะเพียงให้ทาน คิดว่าพอแล้ว ใช่ไหม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567