ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๕๑

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ผู้ฟัง ในใจเรา มันแทบจะรักษาศีล ๕ ตลอดชีวิตแล้ว

    ท่านอาจารย์ โดยไม่ต้องพูดก็ได้ ใช่ไหม

    ถ.โดยไม่ต้องพูด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สมาทานคืออะไร

    ผู้ฟัง เพื่อความจะย้ำให้มันแน่ใจ ว่าเราจะรักษาศีล ๕ เราก็เลยไปสมาทานที่เขาพูดกัน สมาทาน ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน แต่เราเข้าใจว่า สมาทาน คือ การรักษาศีล ๕ ตั้งใจจะไม่รักษา สมาทาน ตั้งใจจะรักษาไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุรา ตั้งใจเป็นวัน เป็นวัน

    ท่านอาจารย์ เราก็ค่อยๆ ไล่มาตั้งแต่ต้น จากไม่รู้เลย คำนี้ เพิ่งได้ยิน ว่าคืออะไร หมายความว่าอะไร ถึงแม้ว่าได้ยินแล้ว คือ การถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เราก็มาสำรวจใจของเรา ว่าก่อนที่เราจะได้ยินคำนี้ เรามีการสมาทานหรือเปล่า เพราะว่าเราเคยมีความคิดไหมว่าเราจะวิรัติทุจริต โดยที่เราไม่ยังไม่เคยได้ยินคำนี้เลย

    นี่คือการที่เราจะเข้าใจธรรม หรือว่าเข้าใจคำ เพราะเหตุว่าบางคนคิดว่า เมื่อรู้คำแปล คือเข้าใจคำแปล แต่ว่าถ้าเราจะมีคิดดูถึงว่า สมาทานคืออะไร ก็ต้องเป็นเรื่องของจิตใจ ที่มีการที่ตั้งใจ หรือว่าคิดที่จะไม่ล่วงทุจริต เรายังไม่เคยฟังธรรมเลยก็ได้ ขณะนั้นเราคิดอย่างไร หรือว่าเราเป็นคนที่มีความตั้งใจ ที่จะไม่ล่วงทุจริตมาโดยตลอด ก่อนที่จะได้ยินได้ฟังพระธรรมก็เป็นได้ เพราะเหตุว่า เป็นผู้ที่มีศีลุปนิสัย สะสมมาในการที่จะมี อุปนิสัยในการรักษากายวาจา ให้เป็นไปในทางสุจริต

    เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ยินคำหนึ่ง คำใด สมมติว่าเรายังไม่เคยได้ฟังธรรมเลย พอได้ยินคำนี้เราเข้าใจว่าอย่างไร ทุกคำที่ได้ยิน ควรที่จะมีความเข้าใจให้ถูกต้อง ซึ่งความเข้าใจนี้เป็นของเราเอง ถ้าสมมติว่าเราไม่พิจารณา ไตร่ตรองถึงความเข้าใจของเรา เราก็คิดว่าเราเข้าใจแล้ว ใช้คำนี้มานานแล้ว คำนี้หมายความว่าไปรับศีลต่อพระบ้าง หรือไปกล่าวคำอย่างนี้บ้าง แต่ถ้าคิดว่าหมายความถึง การที่เราถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เพราะคนเรามี ๒ อย่าง ทำชั่วกับทำดี คนที่ทำชั่วเขาก็ประพฤติปฏิบัติชั่ว ถือเอาเป็นสิ่งที่เขาจะทำ คนที่จะขโมย จะลักเล็กขโมยน้อย เขาก็ถือเอาว่าเขาจะกระทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ แต่คนที่จะวิรัติ เขาก็คือเขาจะไม่ทำอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น โดยความหมายจริงๆ ของคำว่า สมาทาน ในภาษาบาลี หมายความถึงอะไร ก่อนที่จะไปกล่าวเป็นวาจา อันนี้เอาก่อนที่จะกล่าว มีความเข้าใจก่อน แล้วส่วนเรื่องจะกล่าวที่ไหนอย่างไร เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หลังจากที่เรามีความเข้าใจแล้วว่า สมาทานนี้คืออะไร ตอนนี้กำลังเป็นเรื่องที่ว่า ให้เข้าใจความหมายของคำว่าสมาทาน คืออะไร

    ผู้ฟัง สรุปแล้ว สมาทานนี้ก็ไม่จำเป็น ใช่ไหม อยู่ที่ว่าเราจะวิรัติ หรือเราจะงดการกระทำชั่ว ในขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าทุกอย่าง ถ้าเราจะอธิบาย ต้องใช้คำ เราจะพูดอะไรก็ต้อง มีคำ ถ้าไม่มีคำ เราก็พูดไม่ได้ ขณะที่เราคิดอย่างนี้ ถ้าพูดออกมาจะใช้คำอะไร ถ้าเป็นภาษาบาลีก็จะใช้ คำอย่างที่ใช้กันอยู่ ใช่ไหม สมาทิยามิ อย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ มีคำว่า สมาทาน แต่ว่าถ้าเป็นภาษาไทย เราไม่ได้พูดอย่างนี้ ใช่ไหม แต่ทีนี้เมื่อเราได้ยินได้ฟังมา เราก็พูดตามอย่างนี้อีก ใช่ไหม เวลาจะรับศีล เราก็ไม่พูดภาษาไทย แต่เราก็พูดตามภาษาบาลีอย่างนี้อีก ใช่ไหม นี่คือว่าเราก็คงจะต้องค่อยๆ เข้าใจ จริงๆ ว่า คืออะไร แล้วศึกษาศีล ๕ สำหรับอุบาสกนี้ ศึกษาอย่างไร

    วิทยากร. ศึกษาให้เข้าใจ แล้วมันถือเองในตัว ไม่ต้องไปใช้คำอะไร คำว่า ศึกษา นี่ไม่ใช่ฟังตลอด อ่านหนังสือมากๆ จำให้ได้มากๆ ท่องไว้มากๆ คงจะไม่หมายแค่นั้น

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะว่าถ้าคุณกุลวิไล ถูกเพื่อนชวนให้สมาทานสิกขาบท ให้รักษาศีล ๕ คุณกุลวิลัยก็ทราบใช่ไหม เพราะว่าผู้ที่จะรักษาศีล ๕ ให้สมบูรณ์ คือพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพียงแต่รับ พูดว่าจะรักษา หรือว่าจะวิรัติทุจริต ๕ ข้อนั้นใช่ไหม แต่ว่าอกุศลยังมีอยู่ตราบใด บุคคลนั้นก็มีกาล มีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ล่วงทุจริตกรรม

    เพราะฉะนั้น การศึกษาจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่รับ จะจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ทรงแสดงธรรม หรือว่าจากใครก็ตามแต่ แต่ผู้นั้นต้องมีความตั้งใจมั่นด้วย ที่จะไม่เป็นผู้ที่ไม่เพียงประพฤติปฏิบัติไปตลอดชีวิต โดยที่รู้ว่าไม่สามารถที่จะ เป็นอย่างนั้นสมบูรณ์ได้ ถ้ายังไม่ถึงความเป็นพระโสดาบัน

    เพราะฉะนั้น การที่เรามีโอกาสได้ฟังพระธรรมได้เข้าใจเหตุ และผล เราก็จะรู้ว่า แม้คำพูดที่เรารับศีล แต่ตามความเป็นจริงเข้าใจหรือเปล่า ว่าตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ก็มีโอกาสที่จะล่วงศีล เพราะว่าไม่มีใครที่ถึงกาลที่ศีลจะวิบัติ ด้วยอวัยวะ ด้วยชีวิต ด้วยญาติ ด้วยสมบัติ หรือด้วยอะไรก็แล้วแต่ ก็จะมีกาลซึ่งจะทำให้ ล่วงทุจริตกรรม แม้แต่วาจาที่ไม่จริง เพียงเท่านี้ คิดดูสิ ฟังดูเหมือนเล็กน้อยเหลือเกิน ใช่ไหม เพียงแค่วาจานิดๆ หน่อยๆ ที่ไม่จริง

    แต่ถ้าเป็นผู้ที่สมาทาน มีความตั้งใจที่จะรักษาศีล ๕ ก็ต้องเป็นผู้ที่จะศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาจนสามารถที่จะถึงความสมบูรณ์ ที่จะไม่ล่วงศีล ๕ เลย ก็คงจะอธิบายให้เขาฟังได้ ถ้าเขาจะฟัง แต่ถ้าชวนไปรับศีล ๕ เฉยๆ ก็ต้องบอกว่าตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ถึงรับมาก็มีโอกาสที่จะล่วงศีลได้ ท่านผู้ถามคงจะ เข้าใจแล้วใช่ไหม ที่ไปสมาทานรับศีล ที่หน้าพระพุทธรูป

    ผู้ฟัง ของสามเณร คือต้องขาดก่อน สิกขาบทขาดถึงต้องสมาทานใหม่

    ท่านอาจารย์ เวลาบวช

    ผู้ฟัง บวชครั้งแรกก็สมาทาน

    ท่านอาจารย์ บวชครั้งแรกก็สมาทาน ว่าจะรักษาศีล ๑๐ เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าบุคคลนั้น มีเจตนามั่นคงที่จะไปกล่าวคำ สมาทาน ต่อพระภิกษุ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ โดยที่จะไม่ล่วงเลย อันนี้ ใครมีเจตนามั่นคง อย่างนั้นก็ไป สมาทานกับพระภิกษุ

    ผู้ฟัง ทีนี้ตัวสภาพธรรม จะเป็นเจตนา หรือ เป็นวิรตี

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นต้องเป็นเจตนา เพราะว่ายังไม่มีการวิรัติ ต้องเป็นเจตนาศีล

    ผู้ฟัง สำหรับพระภิกษุ เวลาท่านอุปสมบท ท่านก็จะมีการอุปสมบทด้วยการสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา เวลาจบลง พระภิกษุท่านก็ ถือว่ามีศีลครบ ๒๒๗ โดยท่านไม่ต้องไปสมาทานทีละข้อ

    ท่านอาจารย์ การบวชก็แสดงอยู่แล้ว นี่ก็ต้องประพฤติปฏิบัติ ตามพระวินัย

    ผู้ฟัง ตรงนั้นท่านก็คือให้สมาทาน ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย คือประพฤติปฏิบัติตาม ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ไม่ต้องไปสมาทาน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะไปสมาทานก็ต้องเข้าใจด้วยว่าจะต้องมีการศึกษาธรรม จนกระทั่งสมารถที่จะไม่ล่วงศีล ถึงความเป็นพระโสดาบันบุคคล

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็ได้กล่าวแล้วว่า สภาพธรรมปรากฏอยู่ตลอด กราบเรียนถามว่าถ้าเป็นลักษณะที่ อยู่ในภวังคจิต ถ้าสติปัฏฐาน เกิดระลึกรู้ ก็จะรู้ได้เฉพาะว่าเป็นสภาพรู้ เท่านั้นหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้ เว้นภวังค์ ใช่ไหม ที่อารมณ์ไม่ปรากฏ แต่ว่าภวังค์สามารถที่จะเป็นอารมณ์ของ สติปัฏฐาน ได้

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ก็จะเป็นได้เฉพาะเป็นสภาพรู้ อารมณ์เท่านั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณ ทีนี้ก็เมื่อหลายปีมาแล้ว ที่ดิฉันไปเขาเต่า แล้วดิฉันก็เคยบ่นกับท่านอาจารย์บอกว่า ดิฉันเบื่อเหลือเกิน วันๆ หนึ่งมีแต่ความคิดนึก ท่านอาจารย์ก็ตอบมาบอกว่า ก็เพราะว่ายังเป็นเราอยู่ จึงเบื่อ ตรงนี้ ให้เข้าใจ เห็นเลยว่า ธรรมจะต้องค่อยๆ รู้ขึ้นมาทีละขั้น ทีละนิดๆ ตรงนี้เป็นอย่างนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ประสบมาด้วยตัวเอง ใช่ไหม เหมือนกันทุกคน

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า ฟังอยู่เสมอ มันคงเป็นตรงนี้ ที่มันจะคอยที่จะให้รู้ขึ้น รู้ขึ้น เพราะว่าก่อนฟังธรรม ก็คือไม่เคยเข้าใจเลย ว่ามีสภาพคิดนึกอยู่

    ท่านอาจารย์ ก็ส่วนใหญ่ เรามักจะจำชื่อ ชื่อนี้จำได้เลย ใช่ไหม อกุศลจิตมีเท่าไร จำได้กุศลจิตมีเท่าไร แต่อย่างที่คุณบงบอกเมื่อกี้นี้ สิ่งที่มีปรากฏ เช่น ทางตา ทางหู ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ แล้วมีสิ่งที่มีอยู่ในระหว่างนั้น ไหม

    ผู้ฟัง คือภวังค์ หรือ

    ท่านอาจารย์ คำถาม ขณะนี้มีเห็นปรากฏอยู่ตลอดเวลา ใช้คำว่าตลอดเวลาก็ได้ ใช่ไหม เพราะว่าเราไม่ได้กล่าวถึงจิตโดยละเอียด โดยวิถีจิต แต่สภาพที่ปรากฏจริงๆ ก็คืออย่างนี้แหละ คือมีสิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏ เสียงก็ปรากฏใช่ไหม ขณะที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เหมือนไม่ได้ดับไปเลย ไม่ได้หมดไปเลย เหมือนมีอยู่ตลอดเวลา มีสิ่งอื่นอยู่ระหว่างนั้นด้วยหรือเปล่า มีจิตอื่นๆ อยู่ในระหว่างนั้นด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าศึกษาแล้วก็มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ศึกษา

    ผู้ฟัง ไม่ทราบเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ กำลังเห็นอย่างนี้ คิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เห็น ขณะเห็นก็ไม่คิด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ที่กำลังเห็น เราไม่ได้ศึกษาอะไรเลย ไม่ได้ศึกษาเรื่องจิตเกิดดับอะไรทั้งสิ้น แต่รู้ว่าขณะนี้มีเห็น และขณะที่กำลังเห็น แล้วก็มีได้ยินสลับ มีการลิ้มรสสลับ มีการรู้กลิ่นสลับแล้วแต่ ในระหว่างเหล่านั้น มีจิตอะไรหรือเปล่า หรือไม่มีเลย

    ผู้ฟัง ก็ต้องมีจิต จิตต้องมีเกิดอยู่ตลอด

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องมี แต่ไม่รู้ ใช่ไหม

    เพราะฉะนั้น นี่คือประโยชน์ ของการศึกษาว่า สิ่งที่เราเรียนเรื่องกุศลจิต และอกุศลจิต อยู่เมื่อไร ตอนไหน ระหว่างไหน ไม่ใช่ในขณะที่เป็นจิตเห็น แต่ว่าแม้กำลังเห็นอย่างนี้ จิตเห็นก็อย่างหนึ่ง จิตคิดนึกก็อีกอย่างหนึ่ง นี่ก็การเป็นผู้ที่ต้องละเอียดขึ้นๆ ไม่ใช่อยู่แต่ในหนังสือ เราไม่ได้เรียนสิ่งที่มีอยู่ในหนังสือเท่านั้น แต่ว่าสิ่งนั้น กำลังมีจริงๆ ในขณะที่กำลังฟัง เรื่องราว แม้ในขณะนี้เอง

    อย่างที่คุณประทีป บอกว่าไม่เคยคิดเลย เวลาจะพูดต้องมีจิตที่คิดคำนั้นก่อน แล้วถึงจะมีการเปล่งเสียงเป็นคำนั้นออกมาได้ ก็แสดงว่าเป็นการเกิดดับที่รวดเร็วแค่ไหน ทั้งๆ ที่มีเหมือนกับไม่มีการดับไปเลย ติดกันสนิท เห็นแต่วาระ ก็ยังมีจิตที่เกิดดับอยู่ในระหว่างนั้น มากด้วย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวบอกว่า ธรรมไม่ได้อยู่ในหนังสือ ก็อย่างเมื่อสักครู่ท่านอาจารย์ก็บอกว่า เกลียดบาป ก็คืออกุศลเกลียดอกุศล ตรงนี้ถ้าดิฉันไม่ฟัง ดิฉันคิดไม่ได้ ว่าเกลียดบาป ก็คือ อกุศลเกลียดอกุศล

    ท่านอาจารย์ แล้วจริงๆ เกลียดเมื่อไร เกลียดขณะไหน มีอีก ต้องละเอียด ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ เพราะฉะนั้น ก็ยังโง่อยู่มากทีเดียว

    ท่านอาจารย์ ก็ทีละนิด ทีละหน่อย ตรงตามที่บอกว่า การที่จะเข้าใจธรรม ต้องอบรมในขั้นการฟัง การเข้าใจขั้นการฟังก็เพิ่มขึ้น ละเอียดขึ้นทีละนิดทีละหน่อย รวมทั้งจะเป็นเหตุปัจจัยให้สามารถเข้าใจสภาพธรรม ที่เกิดดับอย่างเร็วมากด้วย

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ที่บอกว่า เข้าใจแล้ว ไม่ต้องฟังแล้ว ตรงนี้ก็คงต้องผิดอย่างมหันต์เลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เข้าใจแล้ว พระอรหันต์ท่านยังฟังเลย ท่านหมดกิเลสแล้วด้วย

    ผู้ฟัง ที่กล่าว่ากระทำให้เป็นเรือ เหมือนกับจะข้ามฝั่ง แล้วทำไมต้องติดกรรเชียง และหางเสือ อย่างเราๆ คงยังไม่ต้องติดกรรเชียง และหางเสือ ใช่ไหม ที่มันยังวิ่งไม่ได้เร็ว

    ท่านอาจารย์ อุปมา เครื่องประกอบบารมี กุศลทั้งหลาย

    ผู้ฟัง แต่อย่างปุถุชนอย่างนี้ยังไม่เข้าใจ คงยังไม่ต้องใช้กรรเชียงหรือหางเสือ

    ท่านอาจารย์ ไปคิดถึงเรื่องอุปมา แต่ความจริงแล้วไม่มีอะไรเลย ไม่เห็นโทษของอกุศลเลย อย่างเกลียดๆ นั่น ก็ยังไม่เห็นโทษของอกุศล เพราะฉะนั้น กว่าจะเห็นโทษของอกุศล ทีละเล็กทีละน้อยขั้นฟัง แล้วยังขั้นที่จะระลึก แล้วค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจจริงๆ ก็เป็นเรื่องของการอบรม ซึ่งเร็วไม่ได้แน่นอน

    ผู้ฟัง อีกเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับ เรื่องที่ว่ามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ทางวาจาบริสุทธิ์ ตรงนี้ก็รู้สึกเหมือนจะพอที่จะเข้าใจได้ แต่ประพฤติทางใจให้บริสุทธิ์ ท่านอาจารย์ มันไม่บริสุทธิ์ อยู่เป็นปกติ

    ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไร ถ้าไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ไปตลอด แต่เมื่อมี แล้วก็มีพระธรรม ก็ยังมีหนทางที่จะทำให้จิตค่อยๆ บริสุทธิ์ได้

    วิทยากร. คุณบง ในอรรถกถาท่านใช้คำว่า การทำความเพียรทางกาย และใจ เหมือนการติดกรรเชียง และหางเสือ ในที่นี้ก็คือ สัมมาวายามะนั่นเอง แล้วก็อย่างที่ว่า จะใช้คำว่าทำอย่างไร ทำไม่ได้ ก็ต้องอบรม แล้วก็ต้อง บ่อยๆ เนืองๆ สังเกตสภาพธรรม ตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏ ที่กำลังปรากฏ อันนี้ จะเป็นความจริงที่ถูก อันนั้น คือไม่ได้อยู่ในหนังสือ ถ้าอยู่ในหนังสือแล้ว ไม่ใช่ความจริง ความจริงแล้วต้องกำลังปรากฏ แล้วสังเกตธรรมที่กำลังปรากฏ บ่อยขึ้นๆ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง สังเกตอย่างนี้บ่อยๆ ขึ้น แล้วความไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล มันจะตรงขึ้น เพราะมันไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลจริงๆ ทีนี้ผมก็บอกว่าพระพุทธเจ้า ตรัสสัจจะไว้ ๒ ก็ต้องพยายาม ไม่มีตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ต้องบ่อยๆ เนืองๆ อย่างนี้ก็ทีละเล็กทีละน้อยก็เหมือนจับด้ามมีด

    ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องสมาทาน สักนิด คือที่ฟังท่านอาจารย์กล่าวเหมือนกันว่า ที่จริงแล้วมันต้องมีความตั้งใจอยู่ในใจแล้ว เช่น พอได้ศึกษาธรรมแล้ว พอเราพูดอะไรไม่ดีไป โห ไม่น่าพูดเลย ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าเราอบรมมาแล้ว สิ่งไม่ดี ไม่ควรพูด ใช่ไหม เสร็จแล้วพอถึงโอกาส มันก็หลุดออกมา แต่ถ้าเป็นสมัยก่อนๆ ที่จะศึกษาธรรม โห มันน่าจะพูดให้แรงกว่านี้ นี่มันจะเห็นถึง ความตรงกันข้ามเลยว่า จิตมันอ่อนลงขนาดไหน

    ท่านอาจารย์ ก็เรื่องของความละเอียดที่ปัญญา จะต้องรู้จริงในลักษณะของสภาพธรรมก็พิสูจน์ได้เลย เช่น ในขณะนี้ เมื่อกี้นี้ทุกคนก็คงได้ยินเสียง คุณบง กับคุณอดิศักดิ์ แล้วก็เห็นด้วย หลายๆ คนนั่งอยู่ที่นี่ ก็ให้รู้ความจริงว่า จริงๆ แล้วสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ แต่ดูการสะสมความคิดในความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เมื่อไรจะรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นก็เป็นการคิดเรื่อง สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา และเสียงที่ได้ยินทางหู ตามความเป็นจริงก็คือมีความคิด แทรกคั่นอยู่ตลอดเวลา แล้วก็เป็นความคิดเรื่องสัตว์ เรื่องบุคคล เรื่องความยึดถือสภาพธรรม ที่ปรากฏว่าเที่ยง จนกว่าจะรู้ตามความเป็นจริงว่าจริงๆ แล้วก็คือ การคิดนึกเรื่องของสภาพธรรม ที่มีปรากฏให้เห็นทั้งวันนั่นเอง คิดว่าคิดไปแล้วแค่ไหน คิดไปแล้วแค่ไหน แค่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ยังคิดออกมาเป็นเรื่องอย่างนี้ได้ ยาวมาก

    ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าเป็นขั้นศึกษา ที่จะให้เข้าใจว่า รถยนต์ไม่มีก็คง ต้องไปแยกเรื่องทวารกันอีก รู้สึกต้องคุยกันอีกนาน

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมดที่ทรงแสดง เพื่อให้ปัญญาค่อยๆ เห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม

    วิทยากร. พระพุทธเจ้าบอกต้องละก่อน สักกายทิฏฐิ ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ต้องละก่อน

    ท่านอาจารย์ เรื่องใหม่มาแล้ว ใช่ไหม ไม่ใช่เรื่องรถยนต์แล้ว เห็นไหม ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนเลย แต่เรื่องใหม่มาแล้ว คิดเรื่องอื่นต่อไป ทั้งวันเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็ตาม เหมือนกับว่าถ้าหลับตาเสีย ความคิดก็ยังคิดสัญจรไปได้ ทั่วโลก ที่ไหนก็ได้ ไปเรื่อยๆ ใช่ไหม แต่พอลืมตาสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เพียงเป็นสิ่งที่ปรากฏแยกขาดจากความคิด แต่เพราะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาด้วย แล้วก็คิดเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตา เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่เราก็นั่งอยู่ตรงนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เหมือนเดิม ซึ่งความจริงก็เกิดดับ แต่ว่าลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาไม่เปลี่ยน แต่ความคิดเปลี่ยนไปเท่าไร แต่ถ้าถามเขาว่าเห็นแสงสีอะไรบ้างไหม แค่สีเดียว ลองหลับตาเดี๋ยวนี้ก็ได้ ทุกคน จะตอบว่าเห็นหรือไม่เห็น

    ผู้ฟัง ถึงได้กล่าวว่า มีอะไรอีกมาก ที่ต้องศึกษา แล้วก็ถ้าจะเข้าใจไม่ได้เลย ถ้าท่านอาจารย์ไม่แสดง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจได้เลยว่า อยู่คนละฝั่ง ใช่ไหม ฝั่งกิเลส ฝั่งความไม่รู้ กับฝั่งของความรู้กับฝั่งของการหมดกิเลส ต้องเป็นฝั่งที่ห่างกันแสนไกล เป็นโอฆะ ที่กว่าจะข้ามไปได้ แต่ก็ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ได้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่จริง แต่ว่าต้องไม่ใจร้อน แล้วต้องเป็นผู้ที่ตรง แล้วรู้ว่าสิ่งที่ประเสริฐสุดคือปัญญา ความเห็นถูก ไม่ใช่ความเห็นผิดๆ แล้วโลภะก็ไปต้องการ คิดว่าต้องการที่จะบรรลุขั้นนั้น ขั้นนี้ แต่ไม่มีความรู้อะไรเลย ไม่ได้ละความไม่รู้อะไรเลย แต่ปัญญาจริงๆ แล้วละความไม่รู้ แล้วก็จะรู้ว่ายังมีความไม่รู้อีกมากมายแค่ไหน

    ผู้ฟัง ตามที่ฟังมา เทปนี่ อาจารย์ได้ใช้คำนี้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา บางครั้งใช้คำว่า สี บางครั้งก็ใช้คำว่า รูปารมณ์ บางครั้งก็ใช้คำว่า รูปธรรมทั้งหมดนี้ เวลาอธิบาย ความหมายมันจะ อย่างเดียวกันหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องใช้ชื่อเลย เหมือนอย่างสมาทาน ก็ไม่ต้องใช้ชื่อ แต่เวลาจะพูดก็ต้องมีคำ ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นอะไร เป็นความตั้งใจ ในทางฝ่ายดีที่จะถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติฝ่ายดี หรือว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่ใช้คำนี้ ก็ไม่รู้ว่าหมายความถึงอะไร จึงจำเป็นต้องใช้คำ แต่ว่าคำไหนก็ได้ แต่ให้รู้ว่าหมายความถึง ที่กำลังปรากฏทางตา

    ผู้ฟัง ผมว่าถ้านักศึกษาใหม่นี่ ไปศึกษาอย่างคำว่า สี จะมีอยู่ในปริเฉทที่ ๖ ใช่ไหม ควรจะไปศึกษาปริเฉทที่ ๖ เรื่องรูปให้เข้าใจ จะเกื้อกูลไหม

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ฟังธรรมต้องฟัง เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นคำอะไรก็ตาม แม้แต่คำว่าธรรมก็ต้อง เข้าใจ คำว่ารูปก็ต้องเข้าใจ คำว่านามก็ต้องเข้าใจ

    ผู้ฟัง ก็เบื้องต้น ในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็ต้องเรียนก่อนว่าปริยัติ เรื่องรูป เรื่องนามให้เข้าใจก่อน ก็ง่ายๆ ไม่ง่าย ถ้าง่ายก็ไม่ใช่ธรรม มันยากธรรม แต่ว่า เบื้องต้น ควรจะเรียนจิต เจตสิก รูป ให้เข้าใจก่อน เพื่อให้รู้จักลักษณะของรูปธรรม นามธรรมจริงๆ แล้วก็จะได้อบรมให้เข้าถึงสภาพธรรม ตามที่เรียนมาได้ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ ทุกคนก็ต้องเป็นผู้ที่ตรง วันนี้ทุกคนนั่งที่นี่ ได้ฟังธรรม อดีตใครจะได้ฟังธรรมมากน้อย แค่ไหน เพราะฉะนั้น ขณะนี้ เข้าใจกันเท่าไร แต่ละบุคคลไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ คนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย นอกจากตัวเองซึ่งเป็นผู้ตรงซึ่งจะรู้ว่า เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว ก็มั่นคงต่อสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วปัญญาก็สามารถที่จะเข้าใจ ถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ได้ เมื่อมีการฟังเพิ่มขึ้น เข้าใจเพิ่มขึ้นแล้ว ก็มีการอบรมเจริญถึงขั้น ที่สามารถที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นอนัตตา เป็นลักษณะของสภาพธรรมเฉพาะแต่ละอย่างๆ ซึ่งปรากฏได้แต่ละทาง

    ผู้ฟัง พูดถึงลักษณะสภาพธรรม เบื้องต้นที่จะต้องรู้ชัดเลย หรือเปล่า หรือว่าจะต้องค่อยๆ ศึกษา

    ท่านอาจารย์ ไม่มีใครที่จะบอกให้ทำ อะไรได้เลย จากการเป็นผู้ตรง ว่าขณะนี้มีสภาพธรรม แล้วก็เข้าใจลักษณะนั้น ตามความเป็นจริงหรือยัง รูปารมณ์กำลังปรากฏ ไม่เรียกชื่อนี้ก็ได้ อะไรที่กำลังปรากฏ ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ว่ามีจริงๆ เป็นลักษณะที่สามารถกระทบปรากฏอย่างนี้ ซึ่งต่างกับสภาพธรรมอื่น ซึ่งไม่สามารถกระทบจักขุปสาท ไม่สามารถที่ปรากฏเป็น สีสันวัณณะ ทรวดทรง ความทรงจำต่างๆ ในสิ่งที่ปรากฏทางตา

    วิทยากร. ก็สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นแหละ ถึงจะเป็นสี สิ่งที่ปรากฏทางตานั้น ท่านอาจารย์ ท่านใช้คำรวมๆ ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา คือเฉพาะที่ปรากฏ ถ้าไม่ปรากฏ ไม่ใช่ รูปารมณ์ ภาษาพระท่านใช้ว่ารูปารมณ์ หมายความว่า ต้องมาสู่ครองจักษุ ต้องเป็นอารมณ์ ถ้าอยู่ที่อื่นไม่เรียกว่ารูปารมณ์ เป็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่เรียกว่ารูปารมณ์ สีก็เหมือนกัน เป็นวัณณะเหมือนกัน แต่ไม่เรียกว่ารูปารมณ์ สัทธารมณ์อย่างนี้ เสียง อย่างนี้ เสียงอยู่ที่อื่น มี ก็สัทธ เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นสัทธารมณ์แล้วต้องมาสู่ ครองโสต โสตทวาร ทางหู ต่างกันตรงนี้นิดหน่อยเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง แล้วมีอีกคำหนึ่ง รูปธรรม ถ้าไม่ปรากฏทางตา เรียกอะไร ปรากฏทางตาเรียกอะไร

    วิทยากร. ปรากฏทางตาก็สิ่งที่ปรากฏทางตา

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567