ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๒๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ แต่ที่เรากล่าวว่า นะโม ตัสสะ พระพุทธเจ้า พระองค์นี้ ใช่ไหม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ พระพุทธเจ้า พระองค์ไหน พระองค์ ที่เรามีโอกาสได้ฟังพระธรรม แล้วคุณบงก็จะไม่นึกถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ไม่มีความกตัญญู รู้คุณต่อพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ แต่ไปนอบน้อมพระพุทธเจ้า ที่ยังไม่ได้เกิดด้วยซ้ำไป ใช่ไหม

    วิทยากร. คุณบง คือเรารู้ธรรมจากใคร ก็ต้องเคารพนับถือผู้นั้น อันนี้สำคัญที่สุด

    ท่านอาจารย์ อีกประการหนึ่ง ถ้าคุณบงมีความนอบน้อมต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นี้ หรือว่าพระองค์นั้นโดยภาษาบาลีซึ่งหมายความถึงพระองค์นี้ก็ตาม คุณบง จะมีความนอบน้อมต่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์

    ผู้ฟัง คำว่า ทานบดี อาจจะหมายถึง ธรรมทานได้ไหม ให้ทานด้วยธรรม หรือว่าเป็นแค่วัตถุทาน

    ท่านอาจารย์ ทรงแสดงถึงเวลาที่ให้ เรายังคงมีเยื่อใยในการให้ ให้สิ่งที่ไม่ดี เท่ากับที่เราใช้อยู่ หรือสิ่งที่เสมอกัน หรือสามารถจะสละสิ่งที่ดีกว่าได้ เพราะว่าการให้ก็มีลักษณะที่ต่างกัน ให้เพื่ออนุเคราะห์ไม่เหมือนการให้เพื่อสงเคราะห์ หรือการให้เพื่อบูชา

    ผู้ฟัง กิเลสทั้งหมดก็เป็นโจร แล้วก็เป็นโรคจิต เราก็ริษยาคนอื่น เราโกรธ เราเกลียด อยากจะไปแกล้งเขา อะไรทุกอย่าง ก็เป็นโรคจิตทั้งหมดเลย

    ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งซึ่งทุกคนมี แต่ยากแสนยาก ที่จะค่อยๆ ละ จนกว่าจะดับหมดเป็นสมุจเฉท แต่มีหนทาง หนทางก็คือสิ่งที่เรากำลังทำในขณะนี้ คือ เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง จนกว่าเมื่อไรปัญญาสามารถ ที่จะประจักษ์แจ้งได้ ว่าเป็นธรรม หรือเป็นธาตุแต่ละอย่าง เมื่อนั้นก็จะถึงการที่ พวกสิ่งที่ไม่ดีเหล่านี้ ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง จากร้อยก็อาจจะเหลือสักนิดๆ หน่อยๆ

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ ที่ท่านอธิบายไว้ว่า ธรรมกาย และจิตของเธอตั้งมั่นอยู่ภายในอารมณ์ และก็อธิบายว่า สุสันขิตัง ตั้งมั่นด้วยดีด้วยอำนาจกรรมฐาน แล้วบทว่า สุวิมุตตัง ได้แก่ หลุดพ้นดีแล้วด้วยกรรมฐาน นี้จะมีลักษณะเป็นเช่นใด

    ท่านอาจารย์ ถ้าอ่านละเอียด จะเห็นได้ว่าเราใช่ไหม กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือว่า กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เพราะเหตุใด ต้องมีเหตุด้วย เพราะฉะนั้น เวลาที่อ่านพระสูตร ก็ควรที่จะได้เข้าใจว่า เป็นสภาพธรรม ที่มีจริงๆ กับทุกคน เพราะฉะนั้น ก็ต้องอ่านละเอียดมาก แม้แต่ว่าทุจริต ๓ เรามีกาย มีวาจา มีใจ บางคนคิดถึงเพียงแค่กาย ใช่ไหม สุจริตแค่กายพอละ หรือบางทีก็สุจริตแค่วาจาพอแล้ว แต่ใจเป็นอกุศลหรือเปล่า

    เพราะฉะนั้น สุจริตก็มี ๓ และทุจริตก็มี ๓ แล้ววันหนึ่งๆ ตั้งแต่เช้ามาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ พอที่จะรู้ตัวไหม ว่า สุจริต หรือทุจริต ถ้าไม่มีสูตรนี้ก็ไม่มีการเตือนเลย แต่ว่าเมื่อได้ฟังสูตรนี้แล้วก็จะเห็นความละเอียด ว่าแม้แต่อกุศลจิตที่เกิด แล้วก็ยังไม่ล่วงออกไปทางกาย ทางวาจา ก็เป็นมโนทุจริต เพราะฉะนั้น วันนี้ตั้งแต่เช้ามาอะไรมาก

    ผู้ฟัง มโนทุจริตมาก

    ท่านอาจารย์ กายทุจริตมีบ้างไหม เพียงแต่เอื้อมไป ด้วยกาย กายไหวไปด้วยโลภะ ขณะนั้นจะเป็นสุจริตหรือเปล่า ด้วยโลภะ ด้วยโทสะ เพราะฉะนั้น รับประทานอาหาร เท่าไรแล้ว กายทุจริต แต่ในอีกความหมายหนึ่ง หมายความว่า ล่วงเป็นทุจริตกรรม ก็มีหลายระดับ แล้วแต่ความละเอียด ถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาธรรม เป็นผู้ละเอียด ที่จะรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ใครจะละกิเลสได้ เพราะไม่เห็นกิเลส ไม่รู้ว่ากิเลสอยู่ที่ไหน ไม่รู้ว่าอกุศลคืออะไรบ้าง แต่ถ้าฟังพระธรรมก็จะเห็นพระมหากรุณา แม้แต่ใน กุณฑลิยสูตร นี่ก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ผู้ฟังต้องฟังแล้วก็พิจารณา แล้วก็รู้จักตัวเอง เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่เพียงฟังแล้วสงสัยว่าคำนี้ หมายความว่าอะไร เพราะว่าโดยมากการศึกษารุ่นหลัง จะคำนึงถึงคำ พออ่านแล้วตรงนี้ไม่เข้าใจ ตรงนั้นไม่เข้าใจ แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของสภาพธรรม ที่มีในขณะนั้นกับตนเอง

    ถ้าทุกท่านจะเหมือน กุณฑลิยปริพาชก ไปเฝ้าฟังธรรม จบแล้วเป็นอย่างไร ข้อความที่กุณฑลิยปริพาชกกล่าว เวลาที่เป็นนักบวช แสดงว่าเขาต้องมีความคิดที่จะขัดเกลากิเลส คงจะไม่มีนักบวชคนไหนที่ คิดจะสะสมกิเลส ใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นจะบวชทำไม เพราะว่าบวช คือ การสละ ทุกอย่างที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นนักบวชในศาสนาใด ลัทธิใด ก็คงจะต้องการที่จะเป็นผู้ที่หมดจดจากกิเลส หรือว่าขัดเกลากิเลส แต่ถ้าไม่มีปัญญา ไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้น เรื่องของกิเลส เป็นเรื่องที่มี

    การฟังพระธรรมแต่ละครั้งก็ควรที่จะพิจารณาให้ละเอียดถึงธรรมที่ได้ฟังว่า แม้ใน ๒ พันกว่าปีแสดงกับกุณฑลิยปริพาชก แต่ว่าในสมัยนี้ ถ้าผู้ใดได้อ่านก็คือผู้นั้น พิจารณาตามความเป็นจริง เพื่อที่จะได้รู้ว่าการขัดเกลา และการละกิเลสไม่ง่าย ไม่มีทางที่จะหมดไปได้ง่ายๆ เลย ต้องเป็นปัญญาจริงๆ

    เริ่มต้นจากการเห็นถูกว่าสุจริต ๓ ที่มี หมายความถึงสุจริตระดับไหน มีข้อความกล่าวไว้ชัดเจน ใช่ไหม ว่าต้องมาจาอินทริยสังวร ไม่ใช่เพียงแค่ใคร ไม่ประพฤติทุจริตก็เป็นสุจริต

    แต่ว่าสุจริตที่จะทำให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ ต้องหมายความถึง สุจริตนั้น เพราะอินทริยสังวร ถ้าไม่มีสติ ไม่มีการระลึก ไม่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรม มีทางที่จะเห็นอกุศลในขณะนั้น แล้วก็ไม่หวั่นไหว ไหม เช่น ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่พยาบาท หมายความว่า ไม่หวั่นไหวด้วยโทสะ หรือด้วยความขุ่นเคือง นี่ก็เป็นเรื่องที่เห็นว่าถ้าเรามีความเข้าใจ เรื่องสติปัฏฐาน เรื่องสภาพธรรมถูกต้อง ไม่ว่าจะอ่านสูตรไหน เราก็มีความเข้าใจที่ถูกได้ แม้แต่ในสุจริต ๓ เราก็จะไม่หลงไปว่าสุจริต ๓ ที่เป็นปกติ แต่ต้องจากอินทริยสังวร ซึ่งก็ได้แก่สตินั่นเอง

    ผู้ฟัง ที่ท่านผู้ฟังได้ถาม คำว่า กายตั้งมั่น จิตตั้งมั่น ตั้งมั่นด้วยดี หลุดพ้นด้วยดี นี้ หมายความว่าอย่งไร

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นเรื่องของสติปัฏฐาน ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐาน จะหลุดพ้นไม่ได้เลย แล้วจะชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดีก็ไม่ได้

    ผู้ฟัง คำว่า กายตั้งมั่น อาจารย์กรุณาสั้นๆ จะให้ทำอย่างไร จิตตั้งมั่นพอจะนึกออก กายตั้งมั่นไม่รู้จะ

    ท่านอาจารย์ กายเป็นเจตสิก

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ จะตั้งมั่นอย่างไร

    ผู้ฟัง นั่นสิ นึกไม่ออก

    ท่านอาจารย์ ก็เหมือนกับจิต จิตเกิดขึ้นก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าจิตตั้งมั่น เจตสิกไม่ตั้งมั่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ตั้งมั่นให้อยู่นิ่งๆ หรือปล่า

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่

    ผู้ฟัง ไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ ใช่ อยู่นิ่งๆ แล้วไม่มีปัญญามีประโยชน์ ไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่มี

    ท่านอาจารย์ พระพุทธศาสนาจะไม่สอนให้ทำอะไร แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญ ความเห็นถูก ความรู้ถูก คืออบรมเจริญปัญญานั่นเอง ขณะนี้ ใครทำ เดี๋ยวนี้ที่กำลังนั่งอยู่ที่นี่ ใครทำ

    ผู้ฟัง ใครทำ จะให้ตอบว่าอย่างไรดี ใครทำ จิตทำ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เจตสิกด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่มีใครนอกจากจิต เจตสิก ถ้าเราไม่ลืม ว่าจริงๆ แล้วมีจิต เจตสิก รูป จึงเข้าใจว่าจิต เจตสิก รูป นั้นเป็นเรา แต่ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป เลย ไม่มีอะไรเลย ก็ไม่มีเราเลย แต่ว่าเมื่อมีอะไร เช่น จิตมี ก็ยึดถือจิตว่าเป็นเรา เวลาที่เจตสิกเกิดกับจิต ลักษณะต่างๆ ก็ยึดถือว่าเจตสิกลักษณะต่างๆ นั้น เป็นเรา แล้วรูปก็ถือว่าเป็นเรา เพราะมีจิต เจตสิก รูป จึงยึดถือว่าเป็นเราซึ่งไม่ถูก ใช่ไหม เพราะว่าจิตเป็นจิต เจตสิกเป็นเจตสิก รูปเป็นรูป ขณะนี้ใครทำ

    ผู้ฟัง ก็จิตทำ

    ท่านอาจารย์ ใช่ ต้องเป็นจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้นทำกิจการงาน

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น คำว่า และกายของเธอก็ตั้งมั่น

    ท่านอาจารย์ กายที่นี่ คือเจตสิก

    ผู้ฟัง ก็ คือเจตสิก อ๋อ นึกว่า

    ท่านอาจารย์ นามกาย รูปกายมี ๒ อย่าง

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น อรรถกถาจึง มีคำว่า นามกายเกิดขึ้นมา

    ผู้ฟัง คำว่า สุ สันหิตัง ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอำนาจกรรมฐาน และ สุวิมุตตัง ได้แก่ หลุดพ้นด้วยดีด้วย กรรมฐานนี้ จะเป็นอย่างไร

    ส.เวลานี้มีกรรมฐานไหม มี ใช่ไหม เป็นที่ตั้งของสติทั้งนั้นเลย ทุกอย่างที่มีจริง ถ้าสติเกิดจึงระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมี เพราะฉะนั้น ขณะนี้มีกรรมฐานไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าสติเกิดระลึกได้ที่สภาพธรรมใด ขณะนั้นสภาพธรรมนั้นก็เป็นกรรมฐาน ถ้าสติระลึก จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่สติระลึกไหม อย่างแข็ง จะไปเป็นเห็นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เสียงจะไปเป็นคิดได้ไหม ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้น เมื่อสติเกิดจึงระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติในขณะนี้ ด้วยความรู้ถูกความเห็นถูก จึงจะหลุดพ้นได้ จากความเห็นผิด ความเข้าใจผิด มีหนทางเดียว เพราะเหตุว่าสภาพธรรมก็เป็นธรรมอยู่แล้ว แต่ว่าไม่รู้ แต่ว่าเมื่อไรที่สติเกิด สิ่งที่สติระลึกนั้น คือกรรมฐาน

    ผู้ฟัง ผมมีคำถาม ต่อเติมเลย ถามว่าข้าพเจ้าเดินไปเนืองๆ สู่อาราม จากอาราม อธิบายว่า มิได้ด้วยไปภายนอก ผมเข้าใจว่า มิได้ไปภายนอก มันหมายถึงอะไร

    ท่านอาจารย์ ที่อื่น ที่ไม่ใช่อาราม จากอารามสู่อาราม ไปอารามเดียว หรือหลายๆ อาราม พวกที่สนใจธรรม ไปกี่อาราม

    ผู้ฟัง ไปหลายที่ หลายอาราม

    ท่านอาจารย์ ใช่ จากอารามไปสู่อาราม ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าว่าจะตีความหมายว่า ไม่ได้สนใจคำสอนอื่นนอกศาสนา จะได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ปริพาชก นี่เป็นนักบวช ใช่ไหม เขามีอารามไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ แล้วเขาไปสู่อารามอื่นบ้างไหม หรือจะอยู่อารามของตัวเองเท่านั้น

    ผู้ฟัง ก็คงจะไป

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง อาจารย์เคยพูดอยู่เสมอว่า กระทำ กระทำ ไม่อยากให้เรากระทำ ทีนี้ก็มาดูว่า ดูกร กุณฑลิยะ ก็สุจริต ๓ เหล่านั้น อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้มากแล้วในที่นี้ ก็หมายความว่าเจริญ เหมือนกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใครเจริญ ก็มาถึงคำถามเก่า ใครเจริญ

    ผู้ฟัง ก็เราเจริญ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเรื่องถูก ต้องถูกตั้งแต่ต้น จะไม่เปลี่ยนเลย คำใดที่พระผู้มีพระภาคตรัส จะเปลี่ยนไม่ได้ ใช่ไหม แม้แต่ข้อความบางข้อความ ที่บอกว่า ไม่ให้ถือเอาข้อความก่อน ไม่ได้หมายความว่ากล่าวข้อความก่อนผิด ไม่มีทางที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะแสดงแล้ว หรืออรรถกถา แสดงแล้ว แล้วจะกล่าวว่า ใช้ไม่ได้ที่กล่าวมาแล้ว ไม่มี ไม่ถือเอาโดยประการใด โดยคนละนัย นี่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจให้ถูก เพราะว่าธรรมเป็นเรื่องจริง ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องตั้งแต่ต้นว่ามี จิต เจตสิก รูป ถูกไหม ขณะนี้ที่กำลังอยู่ที่นี่ ถ้าถูกก็คือต้องถูกตลอดไป ถ้าถามว่าใครทำ ต้องเป็นจิต เจตสิก แต่ใช้คำบัญญัติสมมติได้ แต่ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ต้องเข้าใจว่าขณะนั้นเป็นจิต และเจตสิก แต่จะใช้คำอะไรก็ได้ ที่เป็นสมมติบัญญัติให้เข้าใจ

    ผู้ฟัง ใช้ คำง่ายๆ ก็คือว่า เจริญ

    ท่านอาจารย์ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเรา เพราะว่าถ้าเข้าใจผิด ใช้คำเดียวกัน คนหนึ่งเข้าใจถูก อีกคนหนึ่งเข้าใจผิดได้

    ผู้ฟัง ในตอนแรกที่กุณฑลิยะปริพาชกได้เล่า ให้พระผู้มีพระภาค ฟังว่า ท่านได้พบเห็นสมณพราหมณ์ เวลาเจอกันก็จะมีการกล่าวถ้อยคำ มีวาทะ เปลื้องวาทะ แล้วก็มีความขุ่นเคือง เป็นอานิสงส์ ก็คงจะหมายถึง มีการโต้เถียงกัน แล้วมีความโกรธ ใช่ไหม แต่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง สูงสุด คือมีวิชชา และวิมุตติ ถ้าต่ำกว่านั้นจะเป็นอะไร เวลาเจอกัน สนทนากัน จะมีอานิสงส์ อะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ ก็เหตุที่จะให้ถึงวิชชา และวิมุตติ ถ้าไม่คุยเรื่องเหตุที่จะให้ถึงวิชชา และวิมุตติ ไม่มีทางที่จะถึงวิชชา และ วิมุตติได้

    ผู้ฟัง คืออะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ ก็ต้องถอยมาตั้งแต่โพชฌงค์ อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ จะสมบูรณ์ได้ด้วยอะไร จนกระทั่งถึง อินทริยสังวร

    ผู้ฟัง การอบรมเจริญสติปัฏฐาน หรือว่าการอบรมเจริญปัญญา ในที่นี้ เพื่อให้มีวิชชา และวิมุตติเป็นอานิสงค์ เหมือนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสตอบแก่ กุณฑลิยะปริพาชก ก็จะเรียงลำดับได้ดังนี้ว่า อินทริยสังวร ต่อมาก็จะเป็น สติปัฏฐาน โพชฌงค์ แล้วก็ วิชชา และวิมุตติ ก็เหมือนกับว่า ถ้าอินทริยสังวรบริบูรณ์ก็เป็นปัจจัยให้ สุจริต ๓ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ก็เป็นปัจจัยให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ก็เป็นปัจจัยให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ก็เป็นปัจจัยให้วิชชา และวิมุตติบริบูรณ์ อันนี้ ถ้าเราไม่ใช่ชื่ออย่างนี้ อยากให้ ท่านอาจารย์ได้กล่าวเป็น

    ท่านอาจารย์ ทำไมถึงจะไม่ใช้ อะไรที่ใช้ก็ต้องใช้

    ผู้ฟัง ใช้ชื่อไป

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่ชื่อเป็นสภาพธรรมด้วย มิฉะนั้นก็จะไม่ทรงแสดงตามลำดับ เราก็จะมาลำดับของเราเอง ข้ามไปข้ามมา ตั้งแต่ประการแรกคืออะไร

    ผู้ฟัง อินทริยสังวร

    ท่านอาจารย์ อินทริยสังวร อย่างที่เราก็ควรจะพิจารณาว่าตั้งแต่เช้า ของเรา ทุจริต หรือสุจริต กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือว่ากายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวถึงการล่วงศีล หรือกรรมบถทางกาย ทางวาจา พูดถึงขณะใดที่อกุศลจิตเกิด แล้วมีการเคลื่อนไหวทางกาย วันนี้มากไหม นั้นแหละ เห็นไหม วาจา พูดอะไรกันบ้างที่ไม่ใช่ธรรม ที่ไม่ใช่สาระ เป็นวจีทุจริต หรือสุจริต

    ผู้ฟัง วจีทุจริต

    ท่านอาจารย์ วจีทุจริต ตั้งแต่มโนทุจริต กายทุจริต วจีทุจริต มากแล้ว ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ที่นี่ ถ้าไม่มีอินทริยสังวร จะมีอะไรที่กันขณะนั้น ที่จะไม่เป็นมโนทุจริต หรือกายทุจริต วจีทุจริต ต้องมีเหตุ ใช่ไหม ไม่มีเราจะทำเลย คุณเด่นพงษ์ ก็เราเป็นไปตามการสะสม ตื่นมากายทุจริต เวลาที่อกุศลจิตเกิด เอื้อมมือไปแปรงฟัน กายทุจริตหรือสุจริต ต้องดูจิตในขณะนั้น ใช่ไหม กายทุจริตทั้งนั้นเลย

    เพราะฉะนั้น จะสุจริตได้เมื่อไร เห็นไหม ต้องมีเหตุ ไม่มีเราจะทำให้สุจริตได้ แต่ต้องมีปัญญาทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องทุกอย่าง นำด้วยความเห็นถูกต้อง ถ้ามีความเห็นที่ถูกต้อง กายวาจาใจ ก็ถูกต้องด้วย ถ้ามีความเข้าใจถูกว่าตลอดวัน ที่ขณะใดไม่เป็นกุศล ขณะนั้นก็เป็นทุจริตทั้งนั้น แล้วที่จะเป็นกุศลได้ ลองคิดดู จะยากไหม เพราะว่า เราว่าเราติดสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนี้ ใช่ไหม แต่ก่อนนั้นเล่า เล็กๆ น้อยๆ เรื่อยมา ตั้งแต่ลืมตา สมมติว่าเราจะรับประทานอาหารที่เราชอบ ตั้งแต่การปรุง จนกระทั่งสำเร็จอยู่บนโต๊ะ ที่จะรับประทานได้ กว่าจะถึงเวลานั้น เล็กๆ น้อยๆ ทางตา ทางหู มีไหม ที่เป็นทุจริต มากแล้ว

    ความติด ความต้องการมากกว่าที่เราคิด เราคิดว่าเราติดในอาหารอร่อย เราคิดว่าเราติดในเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัวที่สวย เพชรนิลจินดา นั่นคือติดใหญ่ ที่รู้ แต่ติดเล็กเพิ่มอีกเท่าไร เพราะฉะนั้น การที่จะละคลาย ความที่เคยยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา ด้วยความไม่รู้ กับด้วยความติดแล้วเรา เพิ่มความเห็นผิดเข้ามาด้วย ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วก็เป็นเรื่องที่จะต้อง รู้เหตุที่ถูกต้องด้วย คือ ถ้าไม่มีอินทริยสังวร จะไม่มีสุจริต โดยนัยนี้

    ผู้ฟัง จะเป็นอกุศลจิต มากกว่าที่จะเป็นทุจริตทางกาย หรือทางวาจา ไม่น่าจะนับว่า เป็นทุจริต

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่อกุศลจิตเกิดแต่ยังไม่มีกาย ยังไม่มีวาจาใดๆ ทั้งสิ้น ขณะนั้นเป็นมโนทุจริต กี่ทวาร กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ทาง ๖ ทวาร ก็นี้คือความจริงก็นี้ความจริง นี่คือความจริง ความจริงที่ทุกคนต้องรู้ ไม่ใช่ทุกคนหลบซ่อน แล้วพยายามที่จะไปทำอื่น แต่ต้องรู้ตามความเป็นจริง ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีอินทริยสังวรเลย คงไม่มีข้อสงสัยในเรื่องนี้

    ผู้ฟัง ขอถามว่าก่อนที่จะมีอินทริยสังวร ผมทราบว่าอินทริยสังวร จะรวมถึง ทานด้วยหรือเปล่า คือพื้นฐานของคนเรา เท่าที่เราได้เรียนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้เริ่มจากทาน มาถึงจะมาถึงอินทริยสังวร ถึงศีล ถึงสมาธิ ถึงปัญญา ก็เลยคิดว่าอินทริยสังวรถ้ารวมทานด้วย หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ มโนสุจริต คือกุศลจิต ใช่ไหม แล้วก็มีการให้ทานเป็นอะไร สุจริตทางไหน ทางไหนมี ๓ ทาง

    ผู้ฟัง มโนสุจริต

    ท่านอาจารย์ ถ้ามโน ก็ไม่มีการกระทำ

    ผู้ฟัง ทางกาย

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นกายสุจริต ก็รวมอยู่ด้วยทั้งหมด

    ผู้ฟัง นัยอื่น ท่านจะกล่าวถึงอินทริยสังวร ท่านจะใช้พยัญชนะว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิตอนุพยัญชนะใช่ไหม แต่ในที่นี้ท่าน ใช้คำว่าภิกษุเห็นรูปที่น่าชอบใจด้วยตาแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังราคะให้เกิด อันนี้จะต่างกับเห็นรูปด้วยตาแล้วไม่ถือโดยนิมิต อนุพยัญชนะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ต่าง

    ผู้ฟัง โดยนัยนั้น โดยตรงจริงๆ จะหมายถึง สติปัฏฐาน ใช่ไหม

    ส.ทั้งนั้น ต้องเป็นสติ ต้องเป็นกุศล

    ผู้ฟัง แต่ในที่นี้ ในพระสูตร นี้ท่านจะกล่าวถึง อินทริย จะเกื้อกูลแก่กุศล ๓ แล้วค่อยไปสติปัฏฐาน

    ท่านอาจารย์ อินทริยสังวร มีหลายระดับ ที่ยังไม่ใช่สติปัฏฐาน แต่เป็นสติก็ได้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ก็โดยนัยนี้หมายถึง ก่อนที่จะเป็นสติปัฏฐาน ขั้นสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖

    ท่านอาจารย์ หลายระดับ เป็นสติปัฏฐานด้วยก็ได้ แล้วแต่ขั้น ไม่ใช่ว่าพอถึงสติปัฏฐาน แล้วจะไม่มี อันนั้น อันนั้นก็จะต้องมีอยู่ด้วย

    ผู้ฟัง เพราะว่าบางนัย ท่านแสดงถึงการสำรวมอินทรีย์ ก็เป็นเหตุ ทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม โดยไม่พูดถึงเรื่องของสุจริต หรือว่าสติปัฏฐานก็ได้

    ท่านอาจารย์ ตอนสุดท้าย สั้นเลย สรุปตอนท้าย เพิ่มเติมเรื่องนี้หน่อย ดูกร กุณฑลิยะ อินทริย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ หมายความถึง ทั้งกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต พึงทราบการยังสุจริตให้บริบูรณ์ด้วยอาการอย่างนี้คือ ด้วยการอินทริยสังวรเท่านั้น จึงจะทำให้สุจริต ๓ บริบูรณ์ได้ พึงทราบทุจริตทั้งหลาย มี ๑๘ ในทวาร ๖ เหล่านี้ก่อน ถามว่ามีได้อย่างไร จะมีทุจริตในทวาร ๖, ๑๘ อย่างได้อย่างไร ตอบว่าเมื่อไม่ยังส่วนของกาย และวาจาให้ไหว ในเมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่ครองในจักษุทวารครั้งแรก แต่ยังความโลภให้เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น จัดเป็นมโนทุจริต แค่นี้เอง เป็นแล้ว

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567