ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ผู้ฟัง พอมาถึงตรงนี้แล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ในส่วน ๓ แล้วท่านก็พูดกล่าวถึงว่า มีการเห็นกายในกาย ภายในก่อน แล้วถึงจะเห็นกายในกายภายนอก หรือเห็นกายในกายทั้งภายนอก และภายใน

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมด ทั้งหมด

    ผู้ฟัง พร้อมกัน ใช่ไหม อะไรก่อนก็ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีกฏเกณฑ์ ถ้าท่านจะระลึก ที่เวทนาก่อนได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้ ที่จิตก็ได้ กายก็ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วระลึกที่ธรรม ที่จิตก็ได้ กายหมวดไหนก็ได้ จริงๆ แล้ว ยึดถือกายไหนว่าเป็นเรา

    ผู้ฟัง ยึดถือกายนี้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีความรู้ในกายนี้ จะรู้ในกายอื่นไหม

    ผู้ฟัง กายอื่น คนอื่น ท่านอาจารย์นิพัฒน์ นี้ก็กายอื่นเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ไปรู้กายอื่นก่อน หรือจะรู้กายนี้ก่อน

    ผู้ฟัง รู้กายนี้ก่อน

    ท่านอาจารย์ เพราะจริงๆ แล้วกายอื่น จริงๆ นะ มีไหม

    ผู้ฟัง กายจริงๆ ไม่มี

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีคิดจะไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ทั้งหมดอยู่ที่ตัวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภายใน ภายนอกก็เพราะคิด แล้วก็ทั้งภายในภายนอกก็รู้ทั้งหมด เพราะแม้แต่คิด ก็คือสภาพธรรม ที่ยึดถือกายภายนอกว่าเป็นกายเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ท่านยกขึ้นมาว่ากายภายในกายภายนอก ซึ่งไม่มี ก็เพื่อให้เรารู้ว่าสิ่งที่ไม่มี มีจริง

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่เคยเข้าใจว่ามีนั้น โดยความเป็นจริงนั้น คืออะไร คุณวานี มีกัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ หรือยัง

    ผู้ฟัง คิดว่ามี

    ท่านอาจารย์ คือเราพูดได้ ใช่ไหม ไม่เห็นจะยากเลย สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน พูดได้ แต่เมื่อไร

    ผู้ฟัง ก็ในขณะที่เห็น เป็นความได้ยิน เป็นกฏแห่งกรรม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ถ้าไม่รู้สภาพธรรม ที่เห็น ว่าต่างกับสภาพธรรมอื่นที่ คิดหรือว่าเป็นกุศล จะรู้ความต่างไหม ว่าขณะไหนเป็นวิบาก ขณะไหนไม่ใช่วิบาก ขณะไหนเป็นผลของกรรม ขณะไหนไม่ใช่ผลของกรรม

    ผู้ฟัง รู้ในขั้นการศึกษา

    ท่านอาจารย์ พูดได้ พูดตาม สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน เวลามีอะไรเกิดขึ้นก็ ถ้าเขาไม่เคยทำกรรมอะไรอย่างนั้นมา เขาก็ไม่ได้รับผลของกรรมนั้น เราก็เข้าใจเหตุการณ์ คร่าวๆ ใช่ไหม แต่ละเอียดจริงๆ ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นผู้ที่มีกัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ มีกัมมัสสกตาญาณ หมายความว่าสามารถรู้ในความเป็นผลของกรรม เพราะเหตุว่า เห็น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง แล้วก็เป็นสภาพรู้ซึ่งเกิดขึ้นเห็นเป็นนามธรรม ซึ่งต่างกับขณะที่เป็นกุศลจิต หรือขณะที่เป็นอกุศลจิต เพราะฉะนั้น ก็รู้ความต่างของสภาพธรรมที่เป็นวิบาก ที่เป็นผลของกรรม และที่ไม่ใช่ผลของกรรม

    ผู้ฟัง ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์ ที่บอกว่าต้องการฟัง ฟังแล้วเราจะลดละความเป็นตัวตน เริ่มจากตรงนี้ เราจะต้องเริ่มจากวิปัสสนาญาณที่ ๔ จึงจะรู้ไตรลักษณ์ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ แต่ก่อนจะถึงนั้น

    ผู้ฟัง รู้รูปนาม ต้องมีศีลบริสุทธิ์ จิตตบริสุทธิ์ ปัญญาบริสุทธิ์ แล้วจึงจะถึงนิพพิทาญาณ จึงรู้ไตรลักษณ์ ยังต้องพิจารณาแล้วๆ เล่าๆ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แต่ต้องมีการเริ่มต้น ใช่ไหม บริสุทธิ์ถึงที่สุดก็คือ ความเป็นพระโสดาบัน แม้แต่ความเห็นตรง ที่จะเป็นทิฏฐิวิสุทธิก็ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้นไป ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ

    ผู้ฟัง ใช่ แต่ทีนี้กว่าจะเบื่อ เบื่อรูปนาม มันจะต้องไปถึงวิปัสสนาญาณที่ ๔

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ว่านิพพิทาญาณ เกิน ๔ แล้ว

    ผู้ฟัง เกินแล้ว

    ท่านอาจารย์ อุทยัพพยาญาณ เป็นที่ ๔

    ผู้ฟัง อุทยัพพยาญาณ เป็นที่ ๔

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ความเห็นกับศีล ที่ว่าจะบริสุทธิ์เมื่อไร แล้วความเห็นจะตรงเมื่อไร ก็ต้องมีการตั้งแต่ขั้นฟัง ฟังนี้ไม่ได้ฟังเพื่อที่จะไปต้องการอะไร หรือแม้แต่ศีลมีการวิรัติทุจริต ก็ไม่ได้เพื่อต้องการอะไร ใช่ไหม ก็เป็นไปตามอัธยาศัย ที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ ถ้ายังมีความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ ก็ต้องเป็นไปที่วัฏฏะ แต่เมื่อไรที่ไม่มีความต้องการ ในวัฏฏะ ก็จึงจะเป็นเพื่อออกจากวัฏฏะ แม้แต่ในขณะที่ฟัง ในขณะที่ฟังต้องการอะไร ถ้าต้องการเก่ง หรือว่าอย่างอื่นก็ตาม ลาภ ยศ สักการะ ขณะนั้นก็ไม่ใช่เป็นความเห็นที่ถูกต้อง มีศีลหรือเปล่า มีสมาธิหรือเปล่า มีปัญญาหรือเปล่า ยังไม่ถึงวิปัสนาญาณเลย แต่ก็เป็นการอบรมที่จะให้ถึงวิปัสนาญาณ คือการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งถ้าไม่มีสติปัฏฐาน ศีลก็วิสุทธิ ไม่ได้ หรือว่าแม้แต่จิต คือสมาธิในขณะนั้นก็ วิสุทธิไม่ได้

    เพราะฉะนั้น ขณะใดที่กำลังอบรม จนกระทั่งถึง นามรูปปริจเฉทญาณ จึงเป็นทิฏฐิวิสุทธิ แม้ศีลขณะนั้น หรือจิตขณะนั้น ที่เป็นสัมมาสมาธิ ก็ไม่ใช่เรา ค่อยๆ เริ่มเห็นถูก

    ผู้ฟัง ที่นี้การเบื่อรูป เบื่อนาม มันมี ๒ ลักษณะ อย่างที่อาจารย์อธิบาย อีกนัย ๑ ตามความเป็นจริงก็คือเบื่อรูปเบื่อนาม แบบ

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วยังไม่ได้เบื่อ

    ผู้ฟัง มันไม่ได้เบื่อจริง นะ

    ท่านอาจารย์ ไม่เห็นมีใครเบื่อเลย ใช่ไหม ถ้าเบื่อต้องเป็นปัญญา ที่เห็นถูกต้อง ไม่ใช้คำว่า เบื่อ ใช้คำว่า หน่าย ก็ได้ เพื่อที่จะไม่ให้ปะปนกัน ถ้าเบื่อ เบื่อได้ง่ายๆ เลย สิ่งที่เราชอบๆ ไม่นานเราก็เบื่อแล้ว อันนั้นก็เป็นของธรรมดา แต่ว่าถ้าจะหน่าย จากความติดข้อง ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งเราติดมากทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องมีปัญญาที่รู้ความจริง แล้วความจริงที่จะละความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะได้ ต้องถึง ความเป็นพระอนาคามีบุคคล

    เพราะฉะนั้น เป็นผู้ตรง เมื่อมีความติดข้อง ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง คือทั้งหมด เป็นสภาพธรรม ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างนี้ ก่อนจะถึงอุทยัพพยาญาณ ทุกอย่างที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องเป็นธรรม ซึ่งเมื่อนามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้ว เมื่อนั้นเวลาที่สติปัฏฐานเกิดระลึก ความรู้ต่างจากก่อนที่นามรูปปริจเฉทญาณเกิด

    เมื่อนามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้ว จึงเป็นญาตปริญญา สามารถที่จะถีงอีกระดับ ๑ ของปัญญาที่เมื่อพิจารณาลักษณะของสภาพธรรม ก็ไม่ลืมสิ่งที่ได้รู้แล้วประจักษ์แล้วจากนามรูปปริจเฉทญาณ แต่ก่อนนั้นจะเป็นญาตปริญญาไม่ได้ เพราะฉะนั้น ยังไม่เบื่อ ยังไม่หน่าย นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ยังไม่หน่าย ความลึกของกิเลส ความเหนียวแน่น ของความเป็นเรา แม้ว่าจะประจักษ์การเกิดดับแล้วก็ยังไม่หน่าย ก็คงจะไม่ต้องจะพูดถึงเวลาที่ยังไม่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมเลย เราเบื่อเพราะความเป็นเราในสิ่งนั้นสิ่งนี้แต่ไม่ใช่เพราะปัญญาที่รู้ว่าไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง อบรมจิต จิตเรามันแปรปรวน มันเร็วมาก แปรปรวน บางครั้งก็หน่าย บางครั้งก็ไม่หน่าย อบรมในลักษณะก็คือจะลดละตัวนี้ ผมว่ามันยังไม่พอจากการฟัง

    ท่านอาจารย์ ฟังเท่าไรก็ไม่พอ พระอรหันต์ท่านก็ยังฟัง แต่คนละอย่างกับผู้ที่ยังมีกิเลส

    ผู้ฟัง มียังมีการหน่าย ก็ไม่ใช่ว่าหน่ายจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ไม่หน่อยจากการฟังแน่นอน

    ผู้ฟัง ความอดทนมันค่อยๆ ลดละลง ลดลงไป

    ท่านอาจารย์ แปลว่า ความอทดทนน้อยลง ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้ว เราจะกังวลถึงกิเลสที่เรามี อย่างไรๆ ก็มี มีแล้วไปกังวล ความกังวลนั้นก็ไปเป็นกิเลสเพิ่มขึ้นอีก นี้แน่นอนที่สุด เพราะฉะนั้น จะกังวลกับกิเลสที่เรามี หรือว่าจะอบรมเจริญปัญญาขึ้น เพื่อปัญญาเขาจะได้ทำหน้าที่ของเขา เพราะว่าจริงๆ แล้วเราคิดว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แค่คิดว่าเป็นอนัตตา ไมใช่การรู้จริงๆ ถ้าเป็นความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ไม่มีการที่เราจะไปทำอะไร ด้วยความเป็นเรากับกิเลสที่มี แต่ว่าต้องรู้ว่าเป็นหน้าที่ของปัญญาเท่านั้น เพราะฉะนั้น เราก็อบรมเจริญปัญญาให้มากขึ้น นี้เป็นหน้าที่ ถ้าไม่มีปัญญา แล้วก็อะไรจะไปละคลาย ไปหน่าย ไปดับกิเลสไม่ได้เลย คิดสักเท่าไรก็ไม่ใช่หนทางที่ละคลาย หรือดับกิเลส ต้องเป็นปัญญา ถ้ารู้จริงอย่างนี้ก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องของกิเลส ซึ่งมีอยู่แล้ว ใช่ไหม แต่ก็สะสมความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ไม่ว่าจะฟังอะไร ได้ยินอะไร พิจารณาไตร่ตรอง จนกระทั่ง เข้าใจในสิ่งนั้น คำนั้นจริงๆ แม้แต่คำว่า อนัตตา เราก็ลืมไปแล้ว เดี๋ยวก็เป็นตัวเราเป็นอัตตา จะไม่มีกิเลสอีกแล้ว เป็นอัตตาที่จะท้อถอยจากความอดทนอีกแล้ว แต่ถ้าเป็นอัตตาก็เป็นธรรมดา ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ก็ไม่มีอะไรที่จะกั้น สติสัมปชัญญะ ซึ่งสามารถเกิดได้แม้ในขณะนี้

    ผู้ฟัง การฟังมันยังไม่พอ ยังไม่พออย่างไรก็ไม่พอ แล้วมันก็เลยหน่ายไป หน่ายไปจนไม่รู้จะทำอย่างไรดี นอนดีกว่า หลับดีกว่า

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร ต้องการแล้วไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

    ผู้ฟัง ขึ้นก็ไม่ได้ ลงก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ความเป็นเรา นี่มาก แล้วความต้องการนี้ก็มาก เริ่มเห็นตัวจริง ว่าตัวจริงของเรา คืออย่างนี้ แต่ละคนจะไม่เหมือนกันเลย

    ผู้ฟัง แล้วทั้งๆ ที่ เวลาหรือ อะไร ต้องคิดถึงนิพพาน ผมคนหนึ่งยอมรับเลย ผมไม่คิดถึงนิพพานเลย มันไกลเหลือเกิน ไม่คิดถึงเลย

    ท่านอาจารย์ แต่ทราบว่าขณะนี้มีธรรม ค่อยๆ ไปทีละก้าวตามลำดับ ขณะนี้มีธรรมซึ่งยังไม่ได้รู้ จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่เมื่อเป็นสิ่งที่มีจริง และมีหนทางที่จะเข้าใจสิ่งที่มีจริงนี้ด้วย ก็ค่อยๆ อบรมความรู้ ความเข้าใจสิ่งที่มีจริง คือไม่ว่าจะเมื่อไรขณะไหนก็มีสิ่งที่มีจริง คือ มีจิต มีเจตสิก มีรูป

    ผู้ฟัง เท่านั้นหรือ

    ท่านอาจารย์ ให้มั่นคง สัจจญาณ จนกว่าจะเป็นสัจจญาณ

    ผู้ฟัง บางทั้งหลายๆ ขั้นทาน ขั้นศีล ก็ต้องให้คิดถึงนิพพาน ผมไม่คิดถึงเลย

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้ว่านิพพานคืออะไร

    ผู้ฟัง ก็ผมก็ไม่คิด

    ท่านอาจารย์ ก็ไปคิดทำไม

    ผู้ฟัง มันไกลเหลือเกิน ยิ่งฟังอาจารย์ หรือดู

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าความรู้ถูก ความเห็นถูก การค่อยๆ เข้าใจธรรม นั่นเอง จะค่อยๆ ก้าวไปสู่นิพพาน โดยไม่มีเรา ต้องตั้งใจที่จะไปถึงนิพพาน เพราะเหตุว่า ถ้าเป็นเราที่ตั้งใจจะไปถึงไม่มีทาง เพราะเราไม่ใช่ปัญญา

    ผู้ฟัง อีกกรณีหนึ่ง ที่บอกว่า ไม่คิดถึงนิพพานแล้วคิดถึงอะไร ก็คิดถึงว่า มันเป็นมนุษย์ มันทุกข์ จริงๆ มันลำบากจริงๆ อย่างโน้น อย่างนี้ ทำมาหากิน ต้องมีโน้น มีอะไรต่ออะไรจิปาถะ คิดถึงสวรรค์ เทวดาไม่ต้องทำมาหากิน ผมก็ไม่คิดถึงนิพพาน บอกว่าให้ไปนิพพาน หรือไปสวรรค์ ผมไปสวรรค์ นี่คือความเป็นตัวตนของผม

    ท่านอาจารย์ เป็นผู้ตรง ทุกคนต้องเป็นผู้ตรง ถ้าหรอกตัวเอง อย่างไรๆ ก็ไม่ถึง แต่ถ้าเป็นผู้ที่ตรงก็รู้ว่า การฟัง เราเพียงแต่ได้ยิน แต่การที่เราไม่ได้ไตร่ตอรอง แล้วการที่ไม่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น โดยประจักษ์จะไม่ทำให้เราเห็นโทษของการเกิด

    อย่างข้อความที่ว่าเวลาเกิดขึ้น นำมาซึ่งทุกข์ทั้งปวง ไม่เห็นเป็นทุกข์เลย เกิดมาแล้วก็ เห็นสนุกๆ ทำอะไรๆ ก็สบายๆ ทั้งนั้นเลย ไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น การที่กว่าที่จะเข้าใจในพยัญชนะ ในคำตรัสที่ว่าการเกิดเป็นทุกข์ แม้แต่การเกิดเป็นทุกข์ เพราะเหตุว่านำมาซึ่งทุกข์ทั้งปวงจริงๆ กว่าเราจะได้เข้าใจคำนี้ได้ ไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา แต่ด้วยปัญญาจริงๆ ที่เข้าใจในความเป็นสังขารธรรม ของธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีปัจจัยเกิดแล้วดับ

    เพราะฉะนั้น ลองคิดดู แค่ฟัง เข้าใจว่าสภาพธรรมทั้งหลาย เกิดแล้วก็ดับ นั่นคือลักษณะของทุกข์ แล้วถ้าประจักษ์จริงๆ ในสภาพที่เป็นจริงอย่างนี้กำลังเกิดแล้วดับ ความรู้ที่มั่นคงกว่า ก็จะทำให้เราสามารถที่จะเห็นได้จริงๆ ว่า การเกิดเป็นทุกข์หรือว่านำมาซึ่งทุกข์ทั้งปวง แต่ถ้ายังไม่ถึงขณะนั้น เราก็ฟังตาม เชื่อตาม ว่าเกิดแล้วก็ตามเป็นทุกข์ จิตที่เกิดก็ดับไปแล้ว ก็มีจิตอื่นเกิดสืบต่อดำรงภพชาติทุกๆ วัน แต่ว่าทุกข์จริงๆ หรือเปล่า ขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน ทุกข์หรือเปล่า ขณะที่ได้กลิ่น ทุกข์หรือเปล่า

    ถ้าไม่ประจักษ์การเกิดดับ ไม่สามารถที่จะรู้ว่าเป็น ทุกขลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งไม่มีทางที่จะจบสิ้นได้ สังขารทุกข์นี้จะหมดต่อเมื่อปรินิพพาน ถึงความเป็นพระอรหันต์แล้วก็ปรินิพพาน เมื่อนั้นก็จะไม่มีสังขารทุกข์อีกต่อไป

    เพราะฉะนั้น เราก็จะรู้ตัวเราเองได้ว่า ใกล้ หรือ ไกล กับการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ยังไม่ต้องไปถึงนิพพาน แม้แต่เพียงธรรมที่มี แล้วก็ปรากฏตลอดเวลาใกล้ต่อการที่เห็น ยินดีในการที่เป็นที่ธรรม เป็นที่โคจรของพระอริยะ คือ สติระลึกรู้ลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏ เรามีความยินดีในสิ่งนี้หรือยัง

    แต่ก็ไม่ต้องไปพยายามเร่งรัด เพราะเหตุว่าก็จะเป็นเรา ซึ่งไม่ได้สิ่งที่ต้องการ อยากจะถึงนิพพานก็ไม่ถึง เพราะเหตุว่าไม่มีเหตุที่จะให้ถึง อยากจะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมก็ไม่ประจักษ์ เพราะไม่มีเหตุที่จะให้ประจักษ์ แต่ว่าถ้ามีการเข้าใจเกิดขึ้น ว่าสภาพธรรมที่มี เป็นสิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประจักษ์ แล้วก็ทรงแสดงหนทาง ที่จะให้รู้ความจริงว่า เป็นทุกข์ เพราะเกิดดับ แม้ว่ายังไม่ประจักษ์แต่ก็ฟัง จนกระทั่งมีความเข้าใจ แล้วรู้หนทางที่จะทำให้สามารถประจักษ์แจ้งได้ หนทางมีแน่นอน สิ่งที่เคยเป็นที่พอใจ จะเป็นที่ยินดี โดยการที่ว่าสามารถที่ให้ สติสัมปชัญญะเกิดระลึก เพราะว่าเป็นอารมณ์ของพระอริยเจ้าๆ ไม่ได้รู้อารมณ์อื่นเลย รู้อารมณ์ธรรมดาที่เราเคยชอบ เคยพอใจนี้แหละ เปลี่ยนจากความพอใจเป็นระลึกลักษณะที่กำลังปรากฏ เปลี่ยนจากความติดข้องด้วยความเป็นเราโดยการรู้ว่าสติสัมปชัญญะ คือ ธรรมดา ธรรมดาจริงๆ มีแข็งปรากฏ ขณะที่รู้ลักษณะที่แข็ง ขณะนั้นคือสติสัมปชัญญะ เพราะมีลักษณะแข็งกำลังปรากฏ แล้วแข็งนี้เกิดดับ เพราะฉะนั้น กว่าปัญญาจะอบรมจนกระทั่งสามารถประจักษ์ในความเกิดดับของสภาพธรรม ที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ ก็ต้องอบรมไป

    ผู้ฟัง ไม่ทราบความหมายของคำว่า มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด

    วิทยากร.มีบางแห่งในพระไตรปิฎกว่า ผู้มีใจแน่วแน่ ปหิตโต ก็คือก็ต้องเจริญสติปัฏฐาน กว่าจะเป็นผู้มีใจแน่วแน่ คือ นั่นแหละเกือบๆ ถึงแล้ว

    ผู้ฟัง มีตนที่ส่งไปอยู่ คือ ส่งไปอยู่ ขั้นสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป

    ท่านอาจารย์ ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้คำแปล แต่ถ้าเราเข้าใจความหมาย เช่น ถ้าเข้าใจเรื่องของ หนทางที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ไม่ใช่หนทางอื่น นอกจากสติปัฏฐาน มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แต่ไม่รู้ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อ สติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ จะสงสัยในข้อความหนึ่ง ข้อความใด ตอนนี้ไหม มีตนส่งไปแล้ว คงจะไม่ได้หมายความว่าส่งไปที่อื่นเลย ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา

    ผู้ฟัง อยากจะถามว่าในกรณีใด นิวรณ์ ๕ มันขวางกั้นกุศล ในขณะเข้าฌาน เขาจะข่มนิวรณ์ ๕ แต่ไม่ได้ข่มอวิชชา ใช่ไหม นี้คือความต่างกัน ถ้าพูดถึงนิวรณ์ ๖ แล้วจะไปถึง วิปัสสนาหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ที่บางแห่งแสดง ๕ เพราะเหตุว่าไม่ได้เป็นเรื่องของการละอวิชชา

    ผู้ฟัง ก็คือพวกฌานนั่นเอง มักจะเห็น

    ท่านอาจารย์ กุศลอื่น ไม่ได้ละ อวิชชาเลย นอกจากเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา

    ผู้ฟัง เท่าที่เห็น มันจะเห็น ในที่ เขาพูดถึงเรื่องทาน แล้วเขาจะพูดแค่นิวรณ์ ๕ เท่านั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าฌาน ไม่ได้ละอวิชชา ทั้งหมดเป็นสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ในวันหนึ่งๆ แล้วเราก็จะไม่รู้สึกตัวเลย ว่าเป็นนิวรณ์ กั้นกุศล แต่ถ้าเราพิจารณาว่า วันหนึ่งๆ เรามีกุศลมากหรืออกุศลมาก เราก็เริ่มจะเห็นว่า ที่เรามีกุศลน้อย เพราะอะไร ขณะใดที่ไม่ใช่กุศล ขณะนั้นก็เป็นอกุศล เพราะฉะนั้น นิวรณ์คือ อกุศลทุกชนิด อกุศลทั้งหมด เป็นนิวรณ์ ถ้าโดยปรมัตถธรรม กามฉันทะนิวรณ์ ได้แก่ ปรมัตถธรรมอะไร

    ผู้ฟัง โลภะ

    ท่านอาจารย์ โลภะทั้งหมดหรือเปล่า กามฉันทะนิวรณ์ ถ้าไม่แยก รวมหมด แต่ที่ใดที่แยก เป็นเรื่องภพเรื่องอะไร อย่างนั้นก็แยกออกว่า ส่วนใดเป็นกาม ส่วนใดเป็นภพ แต่ถ้าที่ใดที่ไม่มีการแยก ให้ทราบว่า ได้แก่โลภะทั้งหมด เพราะฉะนั้น กามฉันทะนิวรณ์ คือ อกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยความาติดข้อง ไม่ว่าจะในภพในรูป ในอะไร ทั้งหมดก็ตามแต่ เพราะว่าขณะนี้ไม่ได้แยก เพียงแต่กล่าวว่า กามฉันทะ

    กาม คือความพอใจ ความติดข้องนั้นเอง เพราะฉะนั้น ขณะใดที่มีความพอใจ ความติดข้อง ขณะนั้นก็เป็นเครื่องกั้น เพราะว่าขณะนั้นไม่ป็นกุศล เป็นกุศลไม่ได้ กำลังชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นกุศลหรือเปล่า ไม่ สละไปเพื่อที่จะทำกุศล หรือให้กุศลจิตเกิด ได้หรือเปล่า เพลินไป หรือว่ารู้สึกตัว เห็นไหม นี่คือชีวิตประจำวันจริงๆ เวลาที่กำลังเพลินไป ทุกคนก็อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ด้วยความเพลิดเพลินไป กามฉันทะนิวรณ์ เกิดจะรู้ไหมว่าขณะนั้นเป็นอกุศล ซึ่งจะละได้ หรือว่าจะบรรเทา หรือว่าไม่ให้เกิดขึ้นได้ ก็โดยการที่ว่าแล้วแต่ว่าปัญญาเป็นระดับใด ถ้าเป็นปัญญาขั้นฟังก็อาจจะนึกขึ้นมาได้ถึงคำว่า นิวรณ์ แตว่าไม่ใช่เพียงคำ เพราะว่าลักษณะของนิวรณ์มีปรากฏในขณะนั้นให้รู้

    ทุกอย่างในชีวิตประจำวันของเรา ให้ทราบว่าเวลาที่เราเรียนธรรม เรามีชื่อทั้งนั้นเลย แต่เวลาที่สภาพธรรม นั้นเกิดจริงๆ ทำหน้าที่จริงๆ มีลักษณะปรากฏ ให้รู้จริงๆ เราลืม ใช่ไหม เพราะเราไปนึกชื่อตอนเรียน อย่างขณะนี้ กามฉันทะนิวรณ์ หรือว่านิวรณ์ทั้งหลาย เราก็นึกถึงชื่อเวลาฟัง เวลาเรียน แต่ว่าเวลาสภาพธรรมของนิวรณ์แต่ละชนิด เกิดขึ้นไม่สามารถที่จะรู้ได้ แสดงให้เห็นว่าปัญญาขั้นฟัง เป็นระดับ ๑ ซึ่งเริ่มที่จะเข้าใจ ความจริงของสภาพธรรม ในชีวิตประจำวันนั่นเอง ไม่ใช่ไปเข้าใจธรรมอื่น ที่อื่นเลย

    แต่ธรรมที่มีจริงของแต่ละคนในชีวิตประจำวัน จากการฟังธรรมก็ทำให้เริ่มเรียน เริ่มรู้ ว่าแท้ที่จริงธรรมก็คือ ลักษณะที่มีอยู่แล้ว เกิดขึ้นแล้ว ถ้าไม่เกิดเราจะรู้ ไหมว่ามี ก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ แต่ที่รู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายมี เพราะเกิดเมื่อไรก็มีเมื่อนั้น ปรากฏให้รู้เมื่อนั้นว่ามี จากการศึกษาปัญญาที่เข้าใจถูกก็จะทำให้สามารถเริ่มเห็นลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ฟัง นี่ก็เป็นการที่จะเข้าใจได้ว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่ถ้าเราเพียงสนใจในชื่อ เราก็งง อย่างที่เรางงเมื่อกี้นี้ ทำไมเป็น ๕ ทำไมเป็น ๖ นั่นเรื่องชื่อ แต่ว่าเรื่องจริงๆ ก็คือธรรมเป็นอย่างไรก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงอย่างนั้นๆ ของธรรม ให้เราเกิดความเห็นถูก มีปัญญาที่จะรู้ว่าเป็นธรรม เมื่อไรที่เราเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ เมื่อนั้นมีความเห็นถูก ซึ่งจะทำให้เรามีความเห็น หยั่งลงถึงความจริงของสภาพธรรม ว่าเป็นธรรมยิ่งขึ้น เพราะขณะนี้ เป็นธรรมโดยฟังแน่นอน ใช่ไหม แต่ว่าเป็นธรรมจริงๆ ขณะที่กำลังเห็น กำลังคิด กำลังมีนิวรณ์เกิดขึ้นหรือเปล่า แม้แต่ว่าถ้าขณะนี้ มีนิวรณ์จริงๆ เกิด มีใครรู้บ้าง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567