ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๖

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ แม้พระผู้มีพระภาค ก็ตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น แต่ไม่ได้เปลี่ยน หรือไม่สามารถที่จะเปลี่ยนสภาพธรรมนั้นได้ แต่ว่าสภาพธรรมนั้นเป็นจริงอย่างไร ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น โดยละเอียด จึงเป็นอภิธรรม ความหมายก็อันเดียวกัน ใช่ไหม ถ้าบอกว่าธรรม รู้จักธรรม แต่ไม่รู้จักปรมัตถธรรม ถูกหรือผิด ผิด ใช่ไหม เพราะธรรมต้องเป็นปรมัตถธรรม ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย แล้วส่วนของปิฏกทั้ง ๓ พระอภิธรรมปิฏกก็กล่าวด้วย เรื่องของปรมัตถธรรมอย่างละเอียดยิ่ง ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องสิ่งที่ไม่มีจริง แต่กล่าวถึงปรมัตถธรรมนั่นเอง อย่างละเอียดยิ่งคือพระอภิธรรม เพราะฉะนั้น ขณะนี้ที่กำลังฟัง เป็นอภิธรรมหรือเปล่า เป็น จะกล่าวว่าไม่เป็นไม่ได้เลย ยากหรือง่าย พระอภิธรรม

    ผู้ฟัง สภาพธรรมเหล่านั้น ก็คือปรมัตถธรรม

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แล้วขณะที่เข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น ก็คือเข้าใจความยิ่ง หรือ ความละเอียดของธรรมนั้น

    ผู้ฟัง ไม่จำเป็นจะต้องไปคิดอยู่ในชื่อ สิ่งเหล่านั้น

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ชื่อเปล่าๆ แต่ว่ามีสภาพธรรม ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อก็ได้ แต่เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมนั้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ธรรม เป็น ธรรม แล้วจำเป็นต้องใช้ชื่อ อย่างที่พระผู้มีพระภาค ทรงใช้ภาษาบาลี ให้รู้ว่าหมายถึงสภาพธรรมอะไร เช่น ถ้าใช้คำว่า สติ หมายความถึงสภาพธรรมอะไร ถ้าใช้คำว่า ปัญญา หมายความถึงสภาพธรรมอะไร ถ้าใช้คำว่า โทสะ หมายความถึงสภาพธรรมอะไร หมายความว่ามีสภาพธรรมที่แม้ไม่กล่าวถึงชื่อใดๆ ไม่เรียกชื่อเลย สภาพธรรมนั้นก็มี เช่น กำลังเห็น เราไม่ต้องเรียกอะไรเลย เห็น ก็กำลังเห็นอยู่

    ผู้ฟัง สภาพธรรม เหล่านั้นต้องเป็นปัจจัยสืบเนื่องกันด้วยหรือเปล่า ให้รู้ปรมัตถธรรมนั้น หรือไม่จำเป็น

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ทรงแสดงว่า ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ตลอดชีวิตก็จะมี จิต เจตสิก รูป เกิดดับ สืบต่อกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเรายังไม่รู้อย่างนี้ แล้วเราพูดเรื่องขันธ์ เราจะไม่รู้จักขันธ์เลย สักขันธ์เดียว ว่าขันธ์คืออะไร เราก็ได้เอ่ยแต่ชื่อ อริยัสัจ หรือว่าโพชฌงค์ หรือนิวรณ์ หรือขันธ์ หรืออายตนะ แต่ว่าไม่รู้เลยว่า หมายความถึงอะไร แต่ถ้าเราเข้าใจพื้นฐานตั้งแต่ต้น เราจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นอย่างถูกต้อง เพราะว่าจิต เป็นสภาพซึ่งไม่เที่ยง สังขารขันธ์ทั้งหลาย เมื่อเกิด มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดแล้วก็ดับไป ไม่ใช่ตอนเกิดไปดับตอนตาย นั่นยาวมาก แต่ระหว่างที่ยังไม่ตาย ก็เปลี่ยนไป ซึ่งความจริงก็คือเกิดดับอย่างรวดเร็ว ผู้ใดที่สามารถประจักษ์แจ้ง จึงจะรู้ลักษณะของขันธ์ ไม่ใช่ชื่อขันธ์ แต่ลักษณะของขันธ์คือสภาพที่จำแนกเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ถ้าไม่มีขณะปัจจุบัน ขณะนี้ ที่ดับ อดีต ก็ไม่มี แต่ขณะนี้ที่มี ดับ เมื่อดับ จึงรู้ว่าสิ่งที่ดับแล้ว เป็นอดีต แล้วขณะที่กำลังเป็น ปัจจุบัน สิ่งที่ยังไม่มาถึงก็ ยังไม่มาถึง แต่เมื่อสิ่งนั้นดับ เป็นอดีตแล้ว สิ่งที่มาถึง ที่เป็นอนาคต ก็เป็นปัจจุบัน เพราะฉะนั้น จึงเข้าใจความหมายของขันธ์ ว่าขันธ์ก็คือสภาพของธรรม ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะรูป เพราะเมื่อกี้นี้ตอบรูปอย่างเดียว รูปตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าอะไรด้วยซ้ำไป เพียงแต่คิดว่าร่างกายทั้งหมด แต่ความจริงแล้วก็คือจิต เจตสิก รูป เป็นขันธ์ เป็นสังขารธรรม เพราะเหตุว่ามีปัจจัยปรุงแต่ง จึงเกิด ทุกอย่างที่เกิด ผู้ไม่รู้ ก็คิดว่าเกิดขึ้นมา ลอยๆ เกิดขึ้นมาเอง ใช่ไหม แต่ผู้รู้ทรงแสดงปัจจัย ที่จะทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น โดยปัจจัยหลากหลาย โดยละเอียด แม้แต่ในจิตหนึ่งขณะ ซึ่งเกิด ก็มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้เกิดในขณะนั้น แล้วเมื่อจิตดับ จิตทุกขณะเป็น อนันตรปัจจัย ทันทีที่จิตนี้ดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด นี่เป็น สภาพของจิตแต่ละชนิด ซึ่งต้องเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เว้นจุติจิตของพระอรหันต์เท่านั้น

    เพราะฉะนั้น จิตในขณะนี้ ของทุกคน ทุกภูมิ ทุกภพของเทวดา ของพรหม จิตใดๆ ก็ตาม ถ้าพูดถึงธรรม ไม่มีชื่อ อย่างที่เราเคยชื่อนั้น ชื่อนี้ แต่เป็นชื่อ ที่เราใช้แทน เพื่อให้เข้าใจความหมายว่า หมายความถึงสภาพธรรมอะไร เพราะฉะนั้น ที่ใช้คำว่าจิต หมายความถึง สภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีจริงเป็นธาตุรู้ หรือสภาพรู้ เป็นนามธรรม ซึ่งไม่มีรูปร่างใดๆ เจือปนเลย เมื่อเกิดขึ้นต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้เพราะว่าเป็นสภาพรู้ เมื่อเป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ก็ใช้คำ เรียกสิ่งที่ถูกรู้นั้นด้วย ให้รู้ว่าเป็นอารมณ์ หรือเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ถ้าใช้คำว่า อารัมมานะ อาลัมพนะ ก็หมายความว่าเป็นสิ่งที่จิตรู้ จะมีจิตโดยที่ไม่มีอารมณ์ได้ไหม จะมีอารมณ์โดยไม่มีจิตได้ไหม มีจิตโดยไม่มีอารมณ์ ไม่ได้ ใช่ไหม แล้วก็จะมีอารมณ์โดยไม่มีจิต ได้ไหม ไม่ได้ มีรูปโดยไม่มีจิตรู้ได้ แต่จะมีอารมณ์ โดยไม่มีจิตรู้ไม่ได้ เพราะเหตุว่า อารมณ์ต้องหมายเฉพาะรูปซึ่งจิตรู้ หรืออะไรก็ตามที่จิตรู้ ทั้งหมดเป็นอารมณ์ ไม่ใช่หมายเฉพาะแต่รูปอย่างเดียว นี่คือความเข้าใจ นี่เป็นปัญญาที่เป็นประโยชน์ ในชาตินี้ และในชาติต่อไป เพราะว่าถ้าชาตินี้เราสิ้นชีวิตลง ชาติต่อไปเราไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ไม่มีโอกาสจะได้เข้าใจสิ่งที่มีในขณะนี้ แต่กุศลทั้งหลาย ไม่ใช่เฉพาะกุศลเดียว เป็นผู้ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ต้องรวมถึงเรื่องของปัญญา ที่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม เพื่อว่าจะเป็นประโยชน์ ในโลกหน้าหรือในชาติหน้าด้วย เพราะว่าสิ่งที่เราได้ในชาตินี้ สิ่งอื่นที่ไม่ใช่ปัญญา หรือไม่ใช่กุศลธรรม ไม่สามารถจะติดตามเราไปได้เลย ทุกอย่างต้องอยู่ในโลกนี้ ใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็นสมบัติเงินทองต่างๆ ก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่จะติดตามไปได้คือจิตสั่งสม กรรม กิเลส และวิบาก

    ตอนนี้ก็คงจะไม่ต้องไปคิดเรื่องอายตนะ เรื่องขันธ์ เรื่องนิวรณ์ เรื่องอริยสัจ อะไร ใช่ไหม ถ้ายังไม่ได้เข้าใจธรรม แต่ถ้าจะเข้าใจธรรม คือ สามารถที่จะเข้าใจทุกคำว่า ไม่พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพาน

    ธรรมเป็นเรื่อง จริง แล้วก็เป็นเรื่องตรง เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ พิสูจน์ได้ ก่อนที่จะรู้ว่าไม่ใช่เรา ก่อน ก่อน ที่จะรู้ว่าไม่ใช่เราเป็นจิต เจตสิก รูป ยังมีเราหรือเปล่า ยังมี เพราะฉะนั้น ก็จะมีคำว่า ปล่อยจิต เหมือนกับเราปล่อยได้ เพราะเหตุว่า ยังมีเราอยู่ แต่เราศึกษาธรรม ฟังธรรม เพื่อให้เกิด ความเห็นถูกต้องว่า ไม่มีเรา แล้วไม่มีใครสามารถที่จะปล่อย หรือจะไม่ปล่อย อะไรได้เลย แม้แต่ข้อความทั้งหมด ที่ทรงแสดง เหมือนกับว่าให้ทำความเพียรให้ติดต่อ ความประมาทเป็นไฉน การปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕ ในกายทุจริตก็ดี วจีทุจริตก็ดี มโนทุจริตก็ดี นี่ถ้ายังไม่เข้าใจว่าเป็นสภาพธรรม ก็เข้าใจว่าเป็นเรา การเพิ่มพูนจิตให้เป็นไปในอารมณ์ เหมือนกับเราอีกเหมือนกันที่จะไปเพิ่มพูน แต่ความจริง ยับยั้งได้ไหม เพิ่มอยู่แล้ว พูนอยู่แล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรเลย แต่ว่าความจริงเป็นอย่างนั้น การไม่ทำความเคารพในการบำเพ็ญกุศลทั้งหลาย นี่พูดถึงความจริงคือการกระทำ ไม่เคารพ การทำความเพียรไมติดต่อ การทำอันไม่ยั่งยืน ความประพฤติย่อหย่อน นี่พูดถึงความจริงหรือเปล่า จริงอย่างนี้ก็ต้องแสดงอย่างนี้ การหมดฉันทะ บางคนก็ไม่เอาแล้วยากเหลือเกิน พระธรรมนี่ แค่ฟังยังยากอย่างนี้ แล้วการที่จะอบรมค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ค่อยๆ รู้ว่าขณะใด ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็คือขณะนั้นประมาท หรือว่าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ขณะใดที่สติสัมปชัญญะ เกิดก็เป็นความจริง คือแสดงความจริงทั้งหมด เป็นเรื่องที่ว่าไม่ใช่ให้ใครไปทำ แต่ความจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ความประพฤติย่อหย่อน จริงไหม ตามเหตุตามผล จริงแล้ว ใช่ไหม การหมดฉันทะสำหรับบางท่าน การทอดธุระ การไม่คบหา ความเห็นที่ถูกต้อง การไม่เจริญ การไม่ทำให้มาก การไม่ทำ ไม่ทำอยู่แล้ว หรือว่าต้องไปบอกให้ไม่ทำ หรือให้ทำ ตามความเป็นจริงเป็นอย่างไรก็คือว่า การไม่ทำให้มาก การไม่ตั้งใจมั่น การไม่ตามประกอบ ความประมาท ความเลินเล่อ อาการไม่ประมาท ภาวะแห่งบุคคล ผู้ประมาทแล้วเห็นปานนี้ เรียกว่า ประมาท คือเตือนให้รู้ตามความเป็นจริงว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ก็คือเป็นผู้ประมาท แล้วความจริงประมาทหรือเปล่า ก็ประมาท ก็บอกให้รู้ เพราะฉะนั้น ถ้าใครเป็นผู้ที่ประมาท แล้วก็มีผู้บอกว่าประมาท ก็เตือนให้รู้ว่าความจริงเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าไม่ให้รู้ตามความเป็นจริง แต่เมื่อความเป็นจริงอย่างไร จะบอกว่าผู้นั้นมีสติมากๆ ได้ไหม ก็ไม่ได้ ใครจะพูดว่าอย่างไรก็ตามแต่ แต่ละคนก็จะรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร ผู้ที่เป็นอย่างนี้ ก็เป็นประมาท เพราะฉะนั้น พึงทราบความไม่ประมาท โดยตรงกันข้ามกับความประมาท ดังที่กล่าวแล้ว แท้จริง ความไม่ประมาทนั้นโดยอรรถ ได้แก่การไม่อยู่ปราศจากสติ จริงไหม คำนี้ ความไม่ประมาทคือการไม่อยู่ ปราศจากสติ จริง พอได้ยินอย่างนี้ อยากอยู่โดยไม่ปราศจากสติ แล้วใช่ไหม เริ่มหาทางทำ ดิ้นร้นแล้ว จะอยู่โดยที่ไม่ปราศจากสติ แต่รู้ไหมว่าสะสมอะไรมา มีใครไม่เพลิดเพลินในกามคุณบ้าง รับประทานอาหาร เพลิดเพลินในกามคุณหรือเปล่า แต่ถ้ามีผู้ที่บอกว่านี่คือประมาท ก็ยังจะรู้สึกตัว แต่ว่าผู้ที่คิดว่า จะอยู่โดยไม่ปราศจากสติ จะ เป็นไปได้ไหม ถ้าใครได้ฟังแล้ว คิดว่าต่อไปนี้จะอยู่โดยไม่ปราศจากสติ เป็นไปได้ไหม เป็นไปไม่ได้เลย

    นี่คือความจริง แต่จะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีการอบรม มีการฟัง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง แล้วก็มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นอย่างนี้ได้ แต่ต้องรู้ว่า ผู้ที่จะเป็นอย่างนี้ได้ ไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา ที่ไปพยายามที่จะเป็นอย่างนี้ ซึ่งนั่นผิดเพราะเหตุว่า ไม่ได้รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรม แต่ว่าขณะนั้นจะไม่รู้เลยว่า เป็นลักษณะอาการของสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นเรา บางคนมองไม่ออกว่า อยู่ที่ไหน ทุกคนมีการยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา เป็นเราทั้งนั้น สักกายทิฏฐิ แต่เวลากำลังพยายาม เป็นอย่างหนึ่ง อย่างใด ที่จะทำด้วยความเป็นเรา ขณะนั้นไม่เห็นเลย หาสักกายทิฏฐิไม่พ้น เพราะกำลังเป็นสักกายทิฏฐิ

    เพราะฉะนั้น ปัญญา สามารถที่จะเป็น ธรรมตามความเป็นจริงว่าเป็นเรื่องของการอบรม เป็นเรื่องของธรรมที่ทรงแสดงตามความเป็นจริงว่า คำว่าไม่ประมาทนี้ เป็นชื่อของสติที่เข้าไปตั้งไว้ เป็นนิจนั่นเอง ถ้าฟังอย่างนี้เหมือนกับมีใคร เข้าไปตั้งสติ แต่ถ้ารู้ว่าแม้ขณะนี้ สักขณะเดียว ใครจะทำจิต เจตสิก ชนิดไหนก็ทำไม่ได้ เพราะเหตุว่ามีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดขึ้นเมื่อไร ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น มิฉะนั้นก็จะไม่ทรงแสดง อนันตรปัจจัย และอนันตรูปนิสยปัจจัย กำกับไว้ด้วย ว่าเมื่อถึงกาละที่สภาพธรรมใดจะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างไรเป็นอุปนิสสย ที่จะเกิดขณะนั้นก็ต้องเป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ผมขออนุญาตถามท่านอาจารย์สุจินต์ว่า ต่อเนื่องจากการที่ว่า การไม่อยู่ปราศจากสติ ในขณะที่เห็นก็ไม่มีสติเกิดขึ้น อยู่แล้ว ในขณะที่ได้ยิน ก็ไม่มีสติเกิดขึ้น ขณะที่ได้กลิ่นก็ไม่มีสติเกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้น ผมเห็นด้วย ที่ท่านอาจารย์ สุจินต์กล่าวว่า การไม่อยู่ปราศจากสติเป็นไปไม่ได้ ตลอดเวลา หรือว่าเป็นไปได้ตลอดเวลา

    ท่านอาจารย์ อันนี้ มุ่งหมายถึงขณะที่อกุศลจิตเกิด คือ ไม่มุ่งหมายถึงขณะที่เห็น ได้ยิน เพราะว่าการแสดงเรื่องจิต แสดงโดยละเอียด เพราะเหตุว่าจิตเห็น จิตได้ยินเหล่านี้ เป็นชาติวิบาก แล้วก็จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดก็ต้องเกิด แล้วก็ประกอบด้วยเจตสิก ๗ ดวง ไม่ว่าเป็นจิตของใคร จิตของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เห็นก็ คือเจตสิก ๗ ดวงเกิดร่วมด้วย จะเปลี่ยนไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น การที่กล่าวอย่างนี้มุ่งหมายถึงขณะ ที่เป็นอกุศล คือปราศจากสติ ขณะที่เป็นกุศล ก็ไม่ปราศจากสติ หรือขณะที่เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ ก็ไม่ปราศจากสติ เพราะฉะนั้น เว้นจิตพวกนั้นที่เป็น อเหตุก

    ผู้ฟัง คำว่าไม่ประมาทนี้ เป็นชื่อ ของสติที่เข้าไปตั้งไว้ เป็นนิจนั่นเอง เพราะฉะนั้น ตรงนั้น ก็คือว่า ท่านกล่าวในเรื่องของกุศลจิตเท่านั้น หรือกล่าวในเรื่องของจิตที่มีสติเกิดร่วมด้วยเท่านั้น คงไม่ได้หมายความถึงว่า กล่าวให้ใครต่อใครไปตั้งตัว หรือตั้งสติไว้ ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว ว่าเป็นเรื่องของตัวตน

    ท่านอาจารย์ ถ้าเราละเอียด คำว่า ไม่ประมาทนี้ เป็นชื่อของสติ ไม่ใช่เป็นเรา ใช่ไหม ต้องเป็นชื่อของสติ คือเป็นสตินั่นเอง เข้าไปตั้ง ก็คือ เกิดขึ้น ถ้าไม่เกิด ไม่มีการตั้งขึ้น

    วิทยากร.คือเป็นสภาพธรรม ที่มันเกิดขึ้นเมื่อไรก็ถือว่ามัน ไม่ประมาท มันไม่เกิด ก็ถือว่าประมาท เป็นอกุศล ถ้าเป็นกุศลเมื่อไรก็ถือว่าไม่ประมาท

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เราก็ประมาทอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว

    วิทยากร.เรามันแน่นอน มันหลง

    ผู้ฟัง คือเรื่องที่คิด เห็นว่า เป็นเรื่องที่ยาก

    ท่านอาจารย์ แต่ประมาทแล้วรู้ กับประมาทแล้วไม่รู้

    ผู้ฟัง ขณะประมาทก็ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ แต่รู้ว่าไม่ประมาท ภายหลังรู้ได้ หรือฟังขณะนี้ก็รู้ ใช่ไหม นี้คือประโยชน์ ของการฟัง คือความจริงเป็นอย่างไร ก็ต้องรู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ในความเป็นอนัตตา ในความเป็นธรรม แล้วก็มีการเข้าใจผิด ที่ว่าการทำความเพียรไม่ติดต่อ พอได้ยินอย่างนี้ก็จะทำความเพียรให้ติดต่อ โดยที่ไปทำอะไรขึ้น แต่ว่าไม่ใช่สติ หรือว่าไม่ใช่สภาพธรรมที่เกิดขึ้น ตามเหตุตามปัจจัย

    เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องละเอียด ต้องรู้ว่าเป็นธรรมจริงๆ เมื่อเป็นอย่างนี้ก็รู้ว่า อกุศลติดต่อ เพราะเหตุว่ามีปัจจัยที่จะเกิด แล้วผู้นั้นก็รู้ว่า ขณะใดที่สติปัฏฐานเกิดสติสัมปชัญญะเกิด ขณะใดไม่เกิด แล้วก็จะรู้ว่าไม่ติดต่อ แต่ว่าถ้าจะติดต่อหรือไม่ติดต่อก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การ รู้แจ้งอริยสัจจธรรม คือการละ ถ้าติดต่อแล้วยินดี ละหรือเปล่า เป็นเราเข้ามาแล้ว ใช่ไหม ถ้าไม่ติดต่อก็อีก ก็พยายามคิดว่าเป็นเราที่ไม่ติดต่อ เพราะฉะนั้น หนทางซึ่งเป็นทางสายกลาง เป็นทางดำเนินของปัญญาที่ละเอียด แล้วต้องเป็นสภาพธรรม ที่มี แล้วปัญญาสามารถที่เข้าใจถูกต้อง แล้วปัญญาก็ต้องถึงระดับที่ละการยึดถือสภาพธรรมนั้น ตามลำดับขั้นด้วย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์สุจินต์ เพราะฉะนั้น ตรงคำประโยคสุดท้าย ที่กล่าวว่า แต่อาจารย์บางพวกอื่นกล่าวว่า ขั้นที่ไม่ใช่รูป ๔ ที่เป็นไป โดยประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่า ความไม่ประมาท ตรงนี้ ก็หมายความถึงที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวมา ท่านคุณนิพัฒน์ได้กล่าวมา ก็หมายความว่า สิ่งที่ เป็นจิต หรือเป็นเจตสิก เท่านั้น แล้วก็มี ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ก็คือ หมายความว่า มีสติเกิดร่วมด้วย มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ถึงจะเป็นเรื่องของความไม่ประมาท ตรงนี้ก็เป็นสรุป เป็นข้อความสรุป ของท่าน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เฉพาะนั้น แต่อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ขันธ์ (ที่ไม่ใช่รูป) ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะไม่เข้าใจ ขันธ์ ๔ ที่เป็นไปโดยประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ชื่อว่า ความไม่ประมาท คือไม่ว่าจะมีข้อความอย่างนี้ หรือข้อความอย่างอื่นในพระไตรปิฎกก็ตาม แต่ความเข้าใจของเราถูกตรง หรือเปล่า ถ้าข้อความตอนนี้ ถ้าเราจะพิจารณา สติเจตสิกเกิดกับวิบากจิตได้ ใช่ไหม แต่ขณะนั้นจะเป็นสติสัมปชัญญะ หรือเปล่า เช่น ในขณะที่เป็นภวังค์ สำหรับผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ ในสุคติภูมิ เป็นผลของกามาวจรกุศล หรือมหาวิบาก เพราะฉะนั้น ในขณะนั้น ต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย ในขณะที่เป็นภวังค์ จะเป็นสติสัมปชัญญะ หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าใครกล่าว ตรงไหนเมื่อไร จะตรงไหนก็ตามแต่ แต่ความเข้าใจ ที่ถูกต้องของเรา ตรง ตามความเป็นจริงไหม จากการที่ได้ศึกษาธรรม จากการที่ได้พิจารณาโดยรอบคอบโดยละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวโดย นัยนี้ หมายความว่า ถึงอย่างไร ถ้าจะกล่าวโดยนัย ๑ หมายความว่าอย่างไร ก็ต้องเข้าใจด้วย ความหนักเบาของคำ หรือว่าความหมายที่รวมหรือแยก อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะไม่มีปัญาหาเลย

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์หมายถึง มหาวิบาก อาจะมีสติ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่อาจ

    ผู้ฟัง มีแน่ แต่ว่าจะมีปัญญาหรือเปล่า อีกเรื่อง

    ท่านอาจารย์ มิได้ เป็นสติสัมปชัญญะ หรือเป็นสติปัฏฐาน หรือเปล่า เป็นเหมือน ชวนจิตหรือเปล่า

    ผู้ฟัง อย่างที่มนุษย์ ที่เกิดมาก็เป็นมหาวิบาก ตรงนี้ บางพวกก็มีปัญญาร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นมนุษย์ พิการ ขณะนั้นก็ไม่ใช่เป็นมหาวิบาก ที่ทำกิจปฏิสนธิ เป็นผลของมหากุศลจริง แต่ว่าอย่างอ่อน เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นก็ปฏิสนธิ ไม่ใช่ด้วยมหาวิบาก

    ผู้ฟัง ขอแสดงความเห็นนิดหนึ่ง เกี่ยวกับประโยคที่ว่า การไม่อยู่ปราศจากสติ นี่ ถ้าเราจะให้เข้าใจง่ายขึ้น เราบอกว่า การอยู่โดยมีสติ จะได้ ไหม

    ท่านอาจารย์ ความหมายเหมือนกัน ไหม

    ผู้ฟัง ความไม่ประมาท เป็น สัมมาสติได้ไม่

    ส.คำว่า ไม่ประมาท นี้ เป็นชื่อของสติ แล้วแต่ว่าระดับไหน เพราะฉะนั้น บางแห่งแสดงเฉพาะส่วน บางแห่งก็แสดงทั้งหมด ในกุศลกรรม

    ผู้ฟัง เฉพาะส่วนหมายความว่า อย่างไร

    ท่านอาจารย์ บางที่ก็เฉพาะสติปัฏฐาน บางทีก็สติสัมปชัญญะ ถ้าเป็นไปในเรื่องของสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา

    ผู้ฟัง เราถือว่าเป็น สัมมาสติไหม

    ท่านอาจารย์ เราจะถือ หรือว่าความจริงเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง ความจริง

    ท่านอาจารย์ ตอนนี้ไม่ต้องถือ ถือไม่ได้คะ ต้องพูดถึงสภาพธรรมจริงๆ

    ผู้ฟัง ขอถามอีกนิด ที่ว่า ขันธ์ที่ไม่ใช่ รูป ๔ นี้คืออะไร

    ท่านอาจารย์ นามขันธ์ ๔ ขันธ์ (ที่ไม่ใช่รูป)

    วิทยากร. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ผู้ฟัง ที่บอกว่า ธรรมอย่าง ๑ ที่ยึดประโยชน์ ได้ ๒ อย่างที่ว่าประโยชน์ในปัจจุบัน แล้วก็ประโยชน์ในภพหน้า พูดถึงประโยชน์ปัจจุบัน ท่านก็บอกว่าหมายถึง เห็นสิ่งใดที่เป็นสุขในโลกนี้ แล้วสิ่งใดนำความสุขมา ให้ในโลกนี้ ก็คือการ ที่เรารับผลของกรรม นั่นก็คือ การเห็นสิ่งที่ดี ได้ยินสิ่งที่ดี ลิ้มรสสิ่งที่ดี กระทบสัมผัสสิ่งที่ดี ก็คือผลของกุศลวิบากที่เรา ได้รับนี้ก็เป็นประโยชน์ ในปัจจุบัน แต่ธรรมในที่นี้ ที่จะยึดประโยชน์ ให้ได้ประโยชน์ ทั้ง ๒ ก็ต้องเป็นกุศลธรรม แล้วที่ท่านแสดงบอกว่าการที่ไม่อยู่ปราศจากสติ เป็นความไม่ประมาท อันนี้ก็คือว่า ขณะที่จิตเป็นกุศล ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง แล้วสติในที่นี้ เนื่องจากสติ เป็นโสภณธรรมเกิดกับกุศลจิตทุกดวง เพราะฉะนั้น ไม่จำ จะเป็นเพราะว่า จะเป็นกุศลจิตที่มีแต่ปัญญาอย่างเดียว แต่กุศลจิตที่ไม่ได้ประกอบปัญญา ก็เป็นธรรมที่จะนำมาซึ่งให้ได้รับผลประโยชน์ ในปัจจุบันด้วย ในภพหน้าด้วย

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่ได้หมายความว่าเรา จะมีแต่กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเสมอ

    ผู้ฟัง การงานไม่อากูล นี้ หมายความว่าอย่างไร

    วิทยากร. ในมงคลสูตร จะมีมงคล ๑ อะนากุลา จะ กัมมันตา ท่านก็อธิบายว่า การงานที่ไม่คั่งค้างอากูลในที่นี้ก็คือ คั่งค้าง ทำแล้วก็ไม่ทำต่อ ค้างไม่ทำให้เสร็จนั่นเอง

    ผู้ฟัง ผมมีความรู้สึกว่าวัตถุ ภายใน ถึงแม้ว่ามัน จะไม่สะอาดไปบ้าง แต่ถ้าหากว่าจิตใจ เราสะอาดแจ่มใส ผมว่าน่าจะสะอาดกว่า ที่นอนรกรุงรัง จิตใจ มันสะอาดได้ไหม

    ท่านอาจารย์ คุณวิจิตร ต้องไม่ลืมข้อความที่ว่า ความสุขในโลกนี้ คือแต่ละคำต้องพิจารณา ตอนนี้กำลังพูดถึงเรื่องความสุขในโลกนี้ของ คฤหัสถ์ก่อนแล้วต่อไปของบรรพชิต แล้วแต่ไป คือ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ก็ต้องแยกเป็นตอนๆ ความสุขในโลกนี้ วันนี้ที่คุณวิจิตร เป็นคฤหัสถ์คืออะไรบ้าง ของใช้ที่น่าปลื้มใจ การงานไม่อากูล

    ผู้ฟัง ก็ใช่ แต่ทีนี้ ถ้าหากว่าของพวกนี้ สะอาดทั้งนั้นเลย แต่ว่าใจสกปรก มันจะช่วยอะไรได้

    ท่านอาจารย์ ความสุขกาย มีไหม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567